ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
14-05-2025, 12:22
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สัมนา "การเมืองหลังเลือกตั้ง" น่าสนใจครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สัมนา "การเมืองหลังเลือกตั้ง" น่าสนใจครับ  (อ่าน 1863 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 07-12-2007, 23:59 »

มธ.จัดเวทีถกหลังเลือกตั้ง

7 ธันวาคม 2550 19:14 น.

“มธ.”จัดเวทีถก ฟันธงหลังเลือกตั้ง ประชาธิปไตยไทยยังไม่เกิด ยกแนวโน้มภาคประชาชนสดใส ส่วน “แก้วสรร”ชี้เตรียมขอมติ คตส.ลงดาบเชือดทักษิณโกงสัมปทานสัปดาห์หน้า


มธ.- 7 ธ.ค. 50 --มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ จัดโครงการสัมมนาวิชาการโดย สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตยเรื่อง “การเมืองไทย : ความเป็นประชาธิปไตยภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส.” ณ ห้องประชุมวรรณไวทยากร ตึกโดม

โดยนางสาวรสนา โตสิตระกูล กล่าวว่า การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่โอนอำนาจมาสู่มือกลุ่มข้าราชการที่เรียกว่าอมาตยาธิปไตย ที่มีกลุ่ม ตุลาการ ทหาร และข้าราชการฝ่ายพลเรือน เห็นได้จากกระบวนการที่มาการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา( ส.ว.) นอกจากนั้นจะเห็นได้จากโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ 2550 หากพิจารณาชัดเจนว่า ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง รัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาจะเป็นรัฐบาลในลักษระเบี้ยหัวแตก

ดังนั้นผู้ที่ร่างรธน.เหมือนกับคำที่กล่าวว่า “อภิสิทธิ์ชนใดร่างกฎหมายจะสะท้อนประโยชน์ของกลุ่มชนนั้น” ซึ่งสำหรับประชาชนคงเป็นเพียงพิธีกรรมในประชาธิปไตยเท่านั้น แม้ว่าจะตื่นตัวแต่ถูกสกัดกั้นด้วยระบบต่างๆ หากจะทำได้ก็เป็นเพียงคนเคาะประตู ไม่สามารถผลักดันประเด็นต่างๆ ได้ ต้องเป็นแค่การเมืองข้างถนนแทน

นายพิภพ ธงไชย กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ คงไม่ใช่หนทางสู่ประชาธิปไตย แต่การภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธ.ค.นั้น ถือเป็นสงครามการเมืองระหว่างกลุ่มทักษิณ และกลุ่มทหาร ที่อาจส่งผลให้เป็นสงครามภาคประชาชน ทั้งนี้ลักษณะของจะกินระยะเวลาประมาณ 3 ปี โดยที่จะไม่มีประชาธิปไตยเกิดขึ้นอย่างทันที ที่เห็นในช่วงดังกล่าวจะเป็นทหารสกัดไม่ให้ทักษิณกลับมา ขณะที่ทักษิณก็ต้องพยายามเต็มที่ที่จะหวนกลับมา เพราะสงครามครั้งนี้มีการเดิมพันถึงชีวิต และครอบครัวของเขา อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญประชาชนต้องระวังไม่ให้เกิดสงครามแห่งความรุนแรง ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจที่ต้องทุกคนร่วมมือร่วมใจ

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการซ้อนอำนาจกันมาก ทำให้ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนไม่สามารถห้ามทหารไม่ให้ทำการปฏิวัติ การรัฐประหาร19 ก.ย. ไม่ได้สกัดทักษิณเท่านั้น แต่ยังสกัดการเติบโตของภาคประชาชน ซึ่งในครั้งนั้นหากมีการปล่อยให้พลังประชาชนเคลื่อนตัวไปก็จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการเมืองไทยได้เหมือนในช่วง 14 ตุลา อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า อำนาจของประชาชนยังมีความหมายที่ยังสามารถสกัดการใช้อำนาจของทหารได้ แต่เจตนารมณ์ของประชาชนถูกบิดเบือนโดยสิ้นเชิง เพราะอำนาจรัฐไม่ต้องการให้ฝ่ายประชาชนเติบโตทางปัญญา

ส่วนการเมืองหลังการเลือกตั้ง จะเป็นสงครามการเมืองระหว่างอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ และการต่อสู้ครั้งนี้จะมีการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมด้วย ต้องถามตุลาการว่า พร้อมที่จะเป็นตุลาการภิวัฒน์ ที่ยืนข้างความถูกต้องหรือไม่ สำหรับการเมืองภาคประชาชน ต้องเป็นการเมืองของประชาชน และไม่ใช่ของนักการเมืองอีกต่อไป และควรเริ่มพูดถึงสังคมการเมืองแบบสังคมนิยมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ แต่อย่ามองว่า ทหาร จะอยู่ข้างประชาชน เพราะไม่เป็นความจริงและแน่นอนว่า ทหาร ข้าราชการ เขาต้องอยู่ข้างราชการและกลุ่มทุน

“ผมมองว่า ประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้ง เชื่อว่าพ.ต.ท. ทักษิณ ต้องการยึดอำนาจนิติบัญญัติเพื่อเคลียคดีทั้งหมด แล้วค่อยกลับมาสู่อำนาจในโอกาสต่อไป ส่วนความรุนแรงจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งตุลาการ ราชการ ดูเหมือนว่า จะไม่กล้าใช้กฎหมายเพื่อดำเนินคดีต่าง ๆ ตุลาการที่มีจำนวนกว่าครึ่งยังไม่เป็นประชาธิปไตย ยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง แต่คงมีการพัฒนามากขึ้น เพราะที่ผ่านมาตุลาการอยู่ในที่มืดมานาน แต่ตอนนี้เริ่มออกมาที่สว่างมากขึ้น เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันนี้คำพิพากษาของศาลจะอยู่ข้างประชาชนมากขึ้น

สรุปได้ว่าภายใน 3 ปีนี้การจะมีประชาธิปไตยคงเป็นเรื่องยาก ขณะที่การเมืองภาคประชาชนมีแนวโน้มจะมีพื้นที่ตัวตนมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้การเมืองภาคประชาชนเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงตามเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ได้ให้อำนาจภาคประชาชนมากทำให้การต่อสู้ครั้งนี้ของภาคประชาชนชิงพื้นได้ ไม่ใช่เป็นแค่เป็นเหยื่อของการแย่งอำนาจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กล่าวว่า หลังการเลือกตั้ง 23 ธ.ค. จะนำประเทศไทยกลับมาสู่ประชาธิปไตยหรือไม่นั้น ตนเห็นว่ายังมีความหวังอยู่ แม้ที่ผ่านมาจะมีการถอยหลัง เพราะมีการปฏิวัติรัฐประหารบ่อยครั้ง ซึ่งหลังการเลือกตั้งจะมีเหตุโกลาหลพอสมควร

ดังนั้นกตต.ต้องมีมาตรการป้องกัน เพราะพรรคการเมืองนักการเมืองจะมีการกลั่นแกล้งกันมาก เนื่องจากระเบียบของกกต.หยุมหยิม ที่อาจนำมาเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองได้ และถือเป็นโทษที่แรงมาก นอกจากนี้เห็นได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครจำนวนมากถึง 3894 คน คาดว่าจะมีบัตรเสียจำนวนมาก

ดร.ปริญญา มองว่า การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งผู้ที่จะมาเป็นนายกฯนั้น หากพิจารณาคุณสมบัติแล้ว เห็นได้ว่า ผู้ที่จะนั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องเป็น ส.ส.ลงสมัครรับเลือกตั้งทนั้น ขณะที่นายประชัย และนายสมัคร เป็นที่น่ากังวล เพราะมาตรา 182 บัญญัติว่า หากต้องคดีแม้ไม่ติดคุกจริงก็ไม่สามารถเป็นนายกฯได้ ซึ่งข้อบัญญัติที่สำคัญให้มติของ ส.ส. เลือกคนที่มีจะมาเป็นนายกฯ ต้องมีจำนวน ส.ส. มากกว่ากึ่งหนึ่งหรือ 241 จาก 480 คน ซึ่งคาดว่าจะไม่มีพรรคใดได้คะแนนมากแบบนี้

อย่างไรก็ตามกติกาของรัฐสภาไม่ได้ระบุว่า พรรคที่ 2 ไม่สามารถแข่งจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยกติกาบอกว่า ต้องได้เสียงข้างมากเด็ดขาดเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นต้องพรรคอันดับหนึ่งเท่านั้นที่จาสามารถตั้งรัฐบาลได้ เพราะพรรคที่ได้คะแนนอันดับที่ 2 สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เช่นกัน หากสามารถรวบรวมเสียงเกินว่ากึ่งหนึ่งของส.ส.ทั้งหมดได้

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย แต่ขอร้องว่า คนที่ชอบนอกเล่นกติกาอย่ามาตุกติก เพราะแม้ว่า จะเป็นรัฐบาลผสมก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย เพราะจะอยู่ได้นานหรือสั้นอยู่ที่การใช้อำนาจของรัฐบาลในการบริหาร ไม่ใช่ว่า เป็นรัฐบาลผสมแล้วจะต้องอายุสั้นเสมอไป

รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวยอมรับว่า การเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่เดายาก แต่หลังการเลือกตั้งจะทำให้สภาวะของชาติบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ไม่มากนัก เหมือนกับคนที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลที่ต้องการมีการพักฟื้น แต่ก็ยังทำงานได้ เพราะการเมืองไทยหลายเรื่อง เราไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่เห็นว่า เหตุการณ์ที่ผ่านในทางการเมืองเราไม่ได้ยืนอยู่กับที่ แต่เราเดินไปข้างหน้า แต่การเติบโตในลักษณะไม่มีความแน่นอน ไม่เหมือนของใคร เพราะปัญหาของไทยเรามีระบบรัฐบาลผสมที่ต้องมีการเปิดช่องทางให้ฝ่ายต่างๆมาปะทะสังสรรค์กันในทางอำนาจ

“ถ้าต้องการให้กลไกเหล่านี้เกิดขึ้น อาจจะต้องมีการใช้กลไก มาตรการทางกฎหมาย พลเมืองต้องเป็นพลเมืองสมัยใหม่ รู้จักเอะอะโวยวาย เฝ้าระวังพฤติกรรมชั่วร้ายของนักการเมืองและกองทัพ การปะทะกันของอำนาจที่สุดท้ายแล้วจะเกิดการ ประนีประนอมในแบบไทยในที่สุด”


คมชัดลึก
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: