ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 23:34
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ข่าวว่า "เจ๊สด" บล็อค "ป๋าหมาก"แล้ว...คดีหมิ่นฯ "สามารถ" ไม่อาจเป็น รมต. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
ข่าวว่า "เจ๊สด" บล็อค "ป๋าหมาก"แล้ว...คดีหมิ่นฯ "สามารถ" ไม่อาจเป็น รมต.  (อ่าน 4629 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 04-12-2007, 22:38 »

ข่าวว่า "เจ๊สด" บล็อค "ป๋าหมาก"แล้ว...คดีหมิ่นฯ "สามารถ" ไม่อาจเป็น รมต.

ใครมีคำตัดสินหมิ่นสามารถ ราชพลสิทธิ์ บ้างครับ รู้สึกประมาณ เมษา-พฤษภา 50

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 174 (5) น่าจะขัดเต็ม ๆ

เพราะ หมิ่นประมาท ไม่ใช่ลหุโทษ
บันทึกการเข้า

drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #1 เมื่อ: 04-12-2007, 23:10 »

เย้  โดนจริง ๆ ป่าว หรือ ข่าว ลอย

เคยมาโพสต์นะ กระทู้นี้ ใช่หรือไม่ คดี สมัคร ดุสิต   หมิ่น นายสามารถ ราชพลสิทธิ์

http://forum.serithai.net/index.php?topic=18518.0

http://www.manager.co.th

คุก คุก



บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04-12-2007, 23:27 »

ใช่แล้วครับ คุณสมบัติต้องห้าม ตามมาตรา 174 ( 5 )

มาตรา 174 รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีคุณสมบัตรต้องห้ามดังต่อไปนี้

(1)
.
.
.
.
( 5 ) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง
เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

------------------

ติดไม่ติด แค่ต้องคำพิพากษาก็โดนแล้วครับ
บันทึกการเข้า

RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 04-12-2007, 23:29 »

อาจจะตีความได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทหรือเปล่าครับ
คือป๋าหมักแกห้ามสุนัขออกจากปากไม่ทันน่ะ 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04-12-2007, 23:34 »

"หมิ่นประมาท" ไปยกเว้น กรณี "หลุดจาก รมต." ยกเว้นให้ตามมาตรา 182 (3)

หมายความว่า หากเป็น รมต. ไปแล้ว โดนคดีหมิ่นประมาท ก็ไม่หลุดครับ
บันทึกการเข้า

ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #5 เมื่อ: 04-12-2007, 23:40 »

สันดานคน ขุดไม่ง่ายเหมือนสันดอน

แบบนี้เรียกว่า "โอษฐภัย"
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 05-12-2007, 00:29 »

บางทีก็มองได้อีกด้านเหมือนกันว่า บุญของแผ่นดิน ที่มันมีปากแบบนี้
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #7 เมื่อ: 05-12-2007, 00:42 »

บางทีก็มองได้อีกด้านเหมือนกันว่า บุญของแผ่นดิน ที่มันมีปากแบบนี้


อืมม....เป็นมุมมองที่น่าคิดตามค่ะ

งั้นแบบนี้คงแปลว่า....คนที่ชั่วคงต้องแพ้ภัยตัวเอง

โดยเฉพาะกับแผ่นดินเกิดคงน่าจะใช่

แต่ยังเหลืออีกหลายคน ที่ค่อยๆ ทยอยตามมา
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 05-12-2007, 00:42 »



กรณีนี้ กกต.ตีความกฎหมายกันเองไม่ได้หรอกครับ

ต้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-12-2007, 00:46 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 05-12-2007, 00:52 »

เด็กๆ อ่านกฎหมายเป็นครับ

ลหุโทษคือโทษเบา ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือ จำไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่าน มาตรา 174 ( 5 ) ก็ชัดอยู่แล้ว
จะว่าไปกรณีนี้เค้าเคยมีประสบการณ์ตอน อดีตรัฐมนตรีเนวินครับ

เที่ยวนี้เลยแก้กฎหมายไว้ แค่โดนคำสั่งศาลว่าให้มีโทษจำก็ เป็นรอมอตอ บ่ได้แล้ว

นี่คือ ที่มาของ "รรัฐธรรมนูญเฮงซวย" ตามคำจำกัดความของสมัคร

เพราะเท่ากับ สมัครเป็น รมต. ไม่ได้ จนกว่าจะพ้นโทษเกิน 5 ปี
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 05-12-2007, 00:55 »

เด็กๆ อ่านกฎหมายเป็นครับ

ลหุโทษคือโทษเบา ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือ จำไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่าน มาตรา 174 ( 5 ) ก็ชัดอยู่แล้ว
จะว่าไปกรณีนี้เค้าเคยมีประสบการณ์ตอน อดีตรัฐมนตรีเนวินครับ

เที่ยวนี้เลยแก้กฎหมายไว้ แค่โดนคำสั่งศาลว่าให้มีโทษจำก็ เป็นรอมอตอ บ่ได้แล้ว

นี่คือ ที่มาของ "รรัฐธรรมนูญเฮงซวย" ตามคำจำกัดความของสมัคร

เพราะเท่ากับ สมัครเป็น รมต. ไม่ได้ จนกว่าจะพ้นโทษเกิน 5 ปี



ไปบอกกกต. และสส.สิครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 05-12-2007, 00:59 »

เจ๊สดศรี เปิดประเด็นไว้แล้วครับ เมื่อเย็นนี้นี่เอง

เจ๊สดบอกว่า สมัครกับประชัย มีลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรีเหมือนกัน

คือ ต้องคำพิพากษาแล้ว ( แม้ยังไม่รับโทษ )

แต่ไม่เกี่ยวกับ สส. ครับ คนละตำแหน่ง

เป็น สส. ได้ แต่เป็น รมต. ไม่ได้
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 05-12-2007, 01:02 »

เจ๊สดศรี เปิดประเด็นไว้แล้วครับ เมื่อเย็นนี้นี่เอง

เจ๊สดบอกว่า สมัครกับประชัย มีลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรีเหมือนกัน

คือ ต้องคำพิพากษาแล้ว ( แม้ยังไม่รับโทษ )

แต่ไม่เกี่ยวกับ สส. ครับ คนละตำแหน่ง

เป็น สส. ได้ แต่เป็น รมต. ไม่ได้



เขามีอำนาจในหน้าที่กกต. คื่อรับรองรองเฉพาะสส.หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 05-12-2007, 01:21 »

คนอ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็น ก็ให้ความเห็นได้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 05-12-2007, 01:27 »

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A_%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%90/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94_%E0%B9%91%E0%B9%91#.E0.B9.91._.E0.B8.84.E0.B8.93.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.A3.E0.B8.A1.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.80.E0.B8.A5.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.81.E0.B8.95.E0.B8.B1.E0.B9.89.E0.B8.87

๑. คณะกรรมการการเลือกตั้ง

[แก้ไข] มาตรา ๒๒๙
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความ เป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและ กรรมการตามวรรคหนึ่ง


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๐
กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์

(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(๓) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๕ (๑) (๔) (๕) และ (๖)

(๔) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๗ มาใช้บังคับกับกรรมการการเลือกตั้งด้วยโดยอนุโลม


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๑
การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการดังนี้

(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนเจ็ดคน ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคล ซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหา ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๐ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนสามคน เสนอต่อประธาน วุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการสรรหาดังกล่าวต้องมี คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการใน ตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติ ในมาตรา ๑๑๓ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเลือก ตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และต้องไม่เป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งใน องค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นในขณะเดียวกัน

(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๐ ซึ่งสมควร เป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนสองคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอม ของผู้นั้น

(๓) การสรรหาตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุที่ทำให้ไม่อาจดำเนินการสรรหาได้ภายใน เวลาที่กำหนดหรือไม่อาจสรรหาได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตาม (๑) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาสรรหาแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตาม (๑)

(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหา ตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ

(๕) ในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการตาม (๖) แต่ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบ ในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหากรรมการ การเลือกตั้งหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการ สรรหากรรมการการเลือกตั้งหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภา และมีมติยืนยัน ตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์หรือด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการต่อไปตาม (๖) แต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์หรือไม่ได้คะแนน ตามที่กำหนด ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ มีเหตุให้ต้องดำเนินการดังกล่าว

(๖) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบตาม (๔) หรือ (๕) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภานำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๒
กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปจนกว่ากรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๙ (๑) (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) และการขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๓๐ มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้ง ด้วยโดยอนุโลม


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๓
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา รวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อ ร้องขอต่อประธานรัฐสภาว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๓๐ และให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยไปยังประธาน รัฐสภาและประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๒ มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้ง ด้วยโดยอนุโลม


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๔
ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งคณะ ให้ดำเนินการสรรหาตามมาตรา ๒๓๑ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออก ตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหาตามมาตรา ๒๓๑ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว และให้ผู้ได้รับความเห็นชอบอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๕
คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มี การเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหาร ท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง

ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๖
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งและการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความเสมอภาค และมีโอกาส ทัดเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง

(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๘๑ โดยคำนึงถึงการรักษาประโยชน์ของรัฐ และคำนึง ถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาสทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

(๓) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง การสนับสนุน ทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการตรวจสอบบัญชี ทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการควบคุมการจ่ายเงินหรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการ ลงคะแนนเลือกตั้ง

(๔) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง

(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น ตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง

(๖) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียง ประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

(๗) ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

(๙) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานอัยการ พนักงาน สอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์ แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การสืบสวน สอบสวน หรือวินิจฉัยชี้ขาด

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์การเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๗
ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการ อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้ การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา

ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้า พรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหาร พรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๘
คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อหา ข้อเท็จจริงโดยพลันเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(๒) ผู้เข้ารับการสรรหา หรือสมาชิกขององค์กรตามมาตรา ๑๑๔ วรรคหนึ่ง คัดค้าน ว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(๓) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ก่อนได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ใดได้กระทำการใดๆ โดยไม่สุจริต เพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา หรือได้รับเลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่สุจริตโดยผลของ การที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไปโดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น

(๔) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการออกเสียงประชามติมิได้เป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคัดค้านว่าการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งใดเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องพิจารณาวินิจฉัย สั่งการโดยพลัน


[แก้ไข] มาตรา ๒๓๙
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด

ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มี การเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่น คำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก วุฒิสภาในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ มิให้นับบุคคลดังกล่าวเข้าใน จำนวนรวมของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี

ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภา ท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นด้วยโดยอนุโลม โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตามวรรคสองให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ และให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด


[แก้ไข] มาตรา ๒๔๐
ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดเป็นไปโดย ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับการสรรหา สมาชิกวุฒิสภาผู้ใดกระทำการตามมาตรา ๒๓๘ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสืบสวน สอบสวนโดยพลัน

เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยสั่งการเป็นอย่างใดแล้ว ให้เสนอต่อศาลฎีกา เพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยพลัน และให้นำความในมาตรา ๒๓๙ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับ กับการที่สมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยอนุโลม

ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้เพิกถอนการสรรหาหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่ง และให้ดำเนินการสรรหา สมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองประธานกรรมการการเลือกตั้งจะร่วม ดำเนินการหรือวินิจฉัยสั่งการมิได้ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีองค์ประกอบเท่าที่มีอยู่

การคัดค้านและการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิก วุฒิสภา


[แก้ไข] มาตรา ๒๔๑
ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ประกาศให้มีการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวกรรมการการเลือกตั้งไปทำการสอบสวน เว้นแต่ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด

ในกรณีที่มีการจับกรรมการการเลือกตั้งในขณะกระทำความผิด หรือจับ หรือคุมขัง กรรมการการเลือกตั้งในกรณีอื่น ให้รายงานไปยังประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน และประธาน กรรมการการเลือกตั้งอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้ แต่ถ้าประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกจับหรือ คุมขัง ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่เป็นผู้ดำเนินการ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 05-12-2007, 01:38 »



มาตรา ๒๓๙
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด

ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มี การเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่น คำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก วุฒิสภาในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ มิให้นับบุคคลดังกล่าวเข้าใน จำนวนรวมของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
บันทึกการเข้า

\(^_^)/
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 617



« ตอบ #16 เมื่อ: 05-12-2007, 01:53 »

ผมรอ เจ้ สด แก ฟัน ธง ดี กั่ว

กัว หัวเราะ แล้ว ค้างกลาง ทาง ครับ...          
             
บันทึกการเข้า

 
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 05-12-2007, 01:53 »



คือสรุปว่า หากมีการรับรองหรือแต่งตั้งรัฐมนตรีแล้ว

การถอดรัฐมนตรีหรือสส.หรือสว.ออกเป็นหน้าที่ของนายกฯในส่วนรัฐมนตรี หรือ สส. สว. ให้กกต.ยืนคำร้องต่อศาลฎีกา

หรือกลไกอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ..

ส่วนหากผู้ใดมีปัญหาในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ


บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #18 เมื่อ: 05-12-2007, 02:01 »


กรณีนี้ กกต.ตีความกฎหมายกันเองไม่ได้หรอกครับ

ต้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ..


รู้สึกว่าประเด็นนี้จะเกี่ยวเนื่องกันกับกรณีคุณประชัย

อยากจะบอกคุณ Q ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตีความกฎหมายก็จริง
แต่ก็ต้องมีคนไปยื่นขอให้ตีความนะครับ

ขณะเดียวกันในทางกฎหมายลายลักษณ์อักษร มันก็มีกฎเกณฑ์อยู่
ที่ไม่ต้องไปยื่นขอตีความให้เสียเวลา

เช่น ถ้ากฎหมายไม่ได้ระบุขยายความไว้ถือว่าครอบคลุมทั้งหมด
ผมยกตัวอย่างที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า

"ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน"

เราก็ไม่ต้องไปสงสัยเพิ่มว่า "ชายแปลงเพศ" มีสิทธิเท่าเทียมกันไหม

---

กรณี "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" ก็เช่นเดียวกันนะครับ

ไม่ต้องไปสงสัยกรณี "ต้องคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด" หรือกรณี
"ศาลชั้นต้น" หรือกรณี "จำคุกโดยให้รอลงอาญา" ซึ่งทั้งหมด
เนื้อความของกฏหมายได้ครอบคลุมไว้หมดแล้ว
ถ้าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ได้ครับ..
แต่ผมเห็นว่ากรณีนี้แสดงว่าทนายความหลอกกินเงินฟรีๆ
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-12-2007, 02:03 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 05-12-2007, 02:04 »



ความเห็นส่วนตัว ผมตั้งข้อสังเกตสามประเด็น


อันแรก คุณสมบัติ ของสส. ข้าเข้าและขาออก ต้องมีหลักการเดียวกัน

อันที่สอง คุณสมบัติของ นายกฯหรือรัฐมนตรี  ขาเข้าและขาออก ต้องมีหลักการเดียวกัน

อันที่สาม สส.และนายกฯ ,รัฐมนตรี ตามบทบัญญัติฯ มีคุณสมบัติต่างกันครับ
บันทึกการเข้า

cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #20 เมื่อ: 05-12-2007, 02:06 »

ผมก็ชักงง ๆ ว่า เจ๊สด แกจะโอเวอร์แอ๊คชั่น จนเกินไปหรือเปล่า

เพราะดูไปดูมา กกต. มีหน้าที่แค่ควบคุมการเลือกตั้ง
(จริง ๆ จะให้ใบเหลือง ใบแดง ใครก็ไม่ได้เหมือนเดิมด้วยซ้ำ ต้องส่งให้ศาลตัดสิน)

ไม่ได้ไปเกี่ยวกับขั้นตอน ใครจะเป็น รมต. - นายก กับเขาเลย

หมัก เมถุน ถ้ายังมีสิทธิ์สมัครผู้แทนได้ ไม่โดนตัดสิทธิ์
กกต. ก็ควร เงียบ ๆ เฉย ๆ ในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ตน จะดีกว่า
เล่นออกมา "ชี้" ในสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ตนอย่างนี้
มันดู โจ่งแจ้ง เกินไปครับ
สงวนท่าทีไว้หน่อย
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 05-12-2007, 02:06 »

รู้สึกว่าประเด็นนี้จะเกี่ยวเนื่องกันกับกรณีคุณประชัย

อยากจะบอกคุณ Q ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตีความกฎหมายก็จริง
แต่ก็ต้องมีคนไปยื่นขอให้ตีความนะครับ

ขณะเดียวกันในทางกฎหมายลายลักษณ์อักษร มันก็มีกฎเกณฑ์อยู่
ที่ไม่ต้องไปยื่นขอตีความให้เสียเวลา

เช่น ถ้ากฎหมายไม่ได้ระบุขยายความไว้ถือว่าครอบคลุมทั้งหมด
ผมยกตัวอย่างที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า

"ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน"

เราก็ไม่ต้องไปสงสัยเพิ่มว่า "ชายแปลงเพศ" มีสิทธิเท่าเทียมกันไหม

---

กรณี "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" ก็เช่นเดียวกันนะครับ

ไม่ต้องไปสงสัยกรณี "ต้องคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด" หรือกรณี
"ศาลชั้นต้น" หรือกรณี "จำคุกโดยให้รอลงอาญา" ซึ่งทั้งหมด
เนื้อความของกฏหมายได้ครอบคลุมไว้หมดแล้ว
ถ้าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ได้ครับ..
แต่ผมเห็นว่ากรณีนี้แสดงว่าทนายความหลอกกินเงินฟรีๆ
 

เป็นเรื่องของเขตแดนอำนาจครับ อย่าไปพูดตัดสินเกินอำนาจ มันไม่มีผลโดยตรง

และ อาจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลก็ได้..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 05-12-2007, 02:10 »


เป็นเรื่องของเขตแดนอำนาจครับ อย่าไปพูดตัดสินเกินอำนาจ มันไม่มีผลโดยตรง

และ อาจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลก็ได้..


ที่สำคัญออกความเห็นได้ แต่อาจจะผิดกับที่ศาลท่านตัดสินก็ได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าที่อ่านหรือเชื่อหรือตีความนั้นถูกต้องตรงกับศาลแค่ไหน

กระทู้นี้ไม่เกี่ยวอะไรกับประชัย ผมเกรงคนอื่นๆจะเข้าใจไม่กระจ่างเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #23 เมื่อ: 05-12-2007, 02:15 »

นอกจากนี้ในการเขียนกฎหมายเขาจะพยายามไ่ม่ขยายความโดยไม่จำเป็น
ยกตัวอย่างสมมุติมีการออก กฎหมายคุ้มครองสัตว์ปีก

เขาจะพยายามระบุให้สั้นที่สุด เช่น

"คุ้มครองสัตว์ปีก"

เขาจะไม่ระบุขยายความโดยไม่จำเป็น เช่น

"คุ้มครองสัตว์ปีกทุกชนิดยกเว้นค้างคาวและยุง"

เพราะขยายความมากเกินไป อาจกลายเป็นว่าความจริง
ผู้ร่างกฎหมายเห็นว่าค้างคาวและยุงเป็นสัตว์ปีกเข้าไปด้วย

ในทางกลับกันถ้าเขาต้องการรวมสิ่งใดไว้ด้วยเขาจะระบุชัดๆ เช่น

"คุ้มครองสัตว์ปีก รวมทั้งค้างคาวและยุง"

เห็นได้ว่า ค้างคาว และยุง ไม่ใช่สัตว์ปีก แต่คุ้มครองด้วยครับ 


บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 05-12-2007, 02:18 »



อีกประการ รายละเอียดของสำนวนคดีต่างๆ อยู่ที่ศาล

ถ้าจะศึกษาก็ต้องว่ากันข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงเปรียบเทียบกับสำนวนต่างๆ

เพื่อพิจารณาแนวทางการตัดสินของศาล เราหรือสังคม คงจะไปตัดสินกันเองเป็นศาลเตี้ยไม่ได้

ได้แต่เสนอความเห็นกันไป ว่ามันพอดีหรือเกินส่วนของเราครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-12-2007, 02:21 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #25 เมื่อ: 05-12-2007, 02:19 »

ที่สำคัญออกความเห็นได้ แต่อาจจะผิดกับที่ศาลท่านตัดสินก็ได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าที่อ่านหรือเชื่อหรือตีความนั้นถูกต้องตรงกับศาลแค่ไหน

กระทู้นี้ไม่เกี่ยวอะไรกับประชัย ผมเกรงคนอื่นๆจะเข้าใจไม่กระจ่างเท่านั้นเอง


คุณสดศรีก็เป็นอดีตผู้พิพากษานะครับ ไม่ใช่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย
และผมก็เห็นด้วยกับความเห็นของคุณสดศรีในเรื่องนี้ครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 05-12-2007, 02:22 »



คุณสดศรีก็เป็นอดีตผู้พิพากษานะครับ ไม่ใช่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย
และผมก็เห็นด้วยกับความเห็นของคุณสดศรีในเรื่องนี้ครับ 

ไม่มีอำนาจชี้ขาดโดยตรงครับ ถ้าทำเกินอำนาจก็มีความผิด
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #27 เมื่อ: 05-12-2007, 02:23 »

แถมประวัติคุณสดศรีให้สักหน่อย..

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านกิจการพรรคการเมือง

อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อายุ 60 ปี จบนิติศาสตรบัณฑิต จาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เคยเป็น

- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 9
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาพิจารณาคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีปกครองของศาลฎีกา

นอกจากนี้เคยได้รับการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกา ให้เป็น..

ผู้พิพากษาพิจารณาคดีตามข้อตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
ในปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2549
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 05-12-2007, 02:25 »



รอดูต่อไปครับ ระวังคดีที่อยู่ในศาลกันหน่อยเท่านั้นเองที่อยากเตือน

เพราะไม่ทราบพวกเราไปแสดงความเห็นกันที่ไหนบ้าง..

อีกอย่างใครๆอาจจะเห็นต่างกันได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรครับ อยู่ที่ว่าเชื่อเพราะอะไร ฟังขึ้นหรือไม่..?
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #29 เมื่อ: 05-12-2007, 02:27 »


ไม่มีอำนาจชี้ขาดโดยตรงครับ ถ้าทำเกินอำนาจก็มีความผิด

การให้ความเห็นในข้อกฎหมายจะมีความผิดได้ยังไง?

ไม่ได้ใช้อำนาจอะไรสักหน่อย เป็น "ความเห็น" ครับ

คุณ Q เองก็ให้ความเห็นว่าเขาผิดทั้งที่ไม่มีอำนาจ
แต่คุณ Q ก็ไม่มีความผิด เพราะไม่ได้ใช้อำนาจอะไร
ในกระทู้นี้คุณ Q ก็แค่ให้ความเห็น เหมือนคุณสดศรี

เพียงแต่ผมเห็นว่าความเห็นของคุณสดศรีถูกต้อง
ตรงตามวิธีการตีความกฎหมาย
ซึ่งก็คือคุณสมัครขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรีครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 05-12-2007, 02:28 »

แถมประวัติคุณสดศรีให้สักหน่อย..

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านกิจการพรรคการเมือง

อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อายุ 60 ปี จบนิติศาสตรบัณฑิต จาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เคยเป็น

- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 9
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาพิจารณาคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีปกครองของศาลฎีกา

นอกจากนี้เคยได้รับการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกา ให้เป็น..

ผู้พิพากษาพิจารณาคดีตามข้อตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
ในปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2549

ไม่เป็นเหตุให้เนื้อหากระทู้เปลี่ยนอะไรครับ..
บันทึกการเข้า

cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #31 เมื่อ: 05-12-2007, 02:28 »

ผมเห็นด้วยกับความเห็นคุณสดศรี ทุกประการ เหมือนกันครับ คุณจี
เห็นด้วยมาก ๆๆ  ๆ ๆ  ถึงที่สุด

แต่ไม่อยากให้คุณสดศรี ออกมาพูด
เพราะคุณสดศรี สวมหัวโขน เป็น กกต. อยู่นะ

ก็คงเหมือนศาล นั่นแหละ รู้ว่าไอ้ผู้ร้ายคนนี้ มันเลวชาติ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ยังไงก็ต้องโดนประหารชีวิตแน่
แต่ ศาล ก็ไม่ควรจะมาออกความเห็น "เห็นว่ามันต้องถูกประหารแน่"
ในที่สาธารณะ โดยอ้างว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ของประชาชนคนหนึ่ง

เพราะ หัวโขนที่ใส่ มันไม่ควร
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 05-12-2007, 02:29 »

การให้ความเห็นในข้อกฎหมายจะมีความผิดได้ยังไง?

ไม่ได้ใช้อำนาจอะไรสักหน่อย เป็น "ความเห็น" ครับ

คุณ Q เองก็ให้ความเห็นว่าเขาผิดทั้งที่ไม่มีอำนาจ
แต่คุณ Q ก็ไม่มีความผิด เพราะไม่ได้ใช้อำนาจอะไร
ในกระทู้นี้คุณ Q ก็แค่ให้ความเห็น เหมือนคุณสดศรี

เพียงแต่ผมเห็นว่าความเห็นของคุณสดศรีถูกต้อง
ตรงตามวิธีการตีความกฎหมาย
ซึ่งก็คือคุณสมัครขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรีครับ 


นอกประเด็นแล้วมังครับ คงไม่เกี่ยวอะไรกับผมแล้ว..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 05-12-2007, 02:40 »



ความเห็นส่วนตัว ผมตั้งข้อสังเกตสามประเด็น


อันแรก คุณสมบัติ ของสส. ข้าเข้าและขาออก ต้องมีหลักการเดียวกัน

อันที่สอง คุณสมบัติของ นายกฯหรือรัฐมนตรี  ขาเข้าและขาออก ต้องมีหลักการเดียวกัน

อันที่สาม สส.และนายกฯ ,รัฐมนตรี ตามบทบัญญัติฯ มีคุณสมบัติต่างกันครับ



โต้แย้งในประเด็นครับ  อย่าไปอ้างคนที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย..เพราะอ้างรอบเดียวตรงนี้ทุกคนก็ทราบแล้ว..

ใครจะเชื่ออย่างไร มันต้องมีบรรทัดฐาน ที่ถูกต้อง อ้างอะไรมันก็ต้องอยู่ในประเด็น..มีข้อเท็จริงประกอบไม่ขาดไม่เกิน คิดจินตาการไปนอกเรื่อง

ไม่ก็ฟันธงไปเลย ง่ายดี ถ้าไม่กลัวผิดพลาดนะครับ ทำไปแล้วแก้ไม่ได้..

ส่วนการเข้าร่วมสนทนา ก็ต้องฟังให้ดีคู่สนทนาพูดถึงอะไรอยู่..

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 05-12-2007, 02:42 »



ประเด็นของผมคือ คุณสดศรี อย่าทำเกินหน้าที่นะครับ

มีโอกาสถูกฟ้องหรือลงโทษได้เหมือนเจ้าหน้าที่ทั่วไปครับ..
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 05-12-2007, 02:45 »

ถ้าใช้ มาตรฐาน มาตรา 174 ( 5 ) ซึ่งทำให้คุณประชัย เป็นรมต. ไม่ได้

อันเนื่องมาจากต้องคำพิพากษาให้จำคุกและปรับไม่ทราบกี่พันล้าน

ก็ใช้มาตรฐานเดียวกันกับสมัคร แค่นั้นเอง คือ ต้องคำพิพากษา พ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี

ส่วน การเข้าสมัคร สส. แม้ต้องคำพิพากษา แต่หากไม่โดนคุมขัง ก็สมัคร สส. ได้ ไม่ขาดคุณสมบัติ

ส่วน การเข้าสู่ รมต. กำหนด โดย มาตรา 174

การออกจาก รมต. หรือ การพ้นตำแหน่งของ ครม. หรือ รมต.เฉพาะตัว ว่าไว้ตั้งแต่ มาตรา 179 กระมัง

แต่ไปยกเว้น ในมาตรา 182 ( 3 ) ( หมิ่นประมาท ไม่ทำให้หลุดจาก รมต. )

การเข้าสู่ตำแหน่ง คือคุณสมบัติพื้นฐาน ส่วนการหลุดจากตำแหน่ง มีความผิดอื่นๆ มากมายครับ เหมือนกันได้ยังไง

อ้อ...เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการรับรองเป็นสส. หรือไม่ครับ เค้าพูดกันถึง มาตรา 174 ( 3 )

คือกรณีคุณประชัย กับคุณสมัคร


เจ๊สด แกให้ความเห็นในแง่ที่เป็น "นักกฎหมายคนหนึ่ง"
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 05-12-2007, 02:47 »



ตอนนี้แกเป็นกกต.อยู่ ผมห่วงว่าจะฟังผิดคน หรือให้น้ำหนักผิดพลาดครับ
บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #37 เมื่อ: 05-12-2007, 02:51 »

่อาจจะเร็วกว่า 5 ปี หากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับหรือช้ากว่าหากพิพากษายืน ยิ่งต่อถึงศาลฎีกายิ่งยาว งานนี้ยาวครับหาฎีกายืนก็ประมาณ 7 ปี จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมหมักเมถุนถึงได้ด่ารัฐธรรมนูญ ทางรอดทางเดียวคือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้ แต่คนที่คิดแก้ต้องหาเหตุผลให้ดีว่าแก้มาตรานี้ทำไม เอื้อประโยชน์ให้ใคร
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 05-12-2007, 02:56 »



่อาจจะเร็วกว่า 5 ปี หากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับหรือช้ากว่าหากพิพากษายืน ยิ่งต่อถึงศาลฎีกายิ่งยาว งานนี้ยาวครับหาฎีกายืนก็ประมาณ 7 ปี จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมหมักเมถุนถึงได้ด่ารัฐธรรมนูญ ทางรอดทางเดียวคือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้ แต่คนที่คิดแก้ต้องหาเหตุผลให้ดีว่าแก้มาตรานี้ทำไม เอื้อประโยชน์ให้ใคร

คงต้องช่วยกันศึกษาให้ละเอียด ขอสงวนความเห็นส่วนตัวไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 05-12-2007, 02:59 »

กกต. จะทำอะไร ต้องเป็นมติครับ

กรณีนี้ เจ๊สด แกให้ความเห็น ในฐานะ อดีต สสร. คนร่างรัฐธรรมนูญนั่นแหละครับ ( ความเห็นส่วนตัว )

ถึงบอกว่ามีคนถามเรื่องมาตรา 174 ( 5 ) ที่มีผลให้นายประชัย เป็นรมต. ไม่ได้

นักข่าวเลยถามว่า กรณีนายสมัครเป็นยังไง ถ้าดูตามมารฐานเดียวกัน หากนายประชัย ขาดคุณสมบัติ นายสมัคร ก็ขาดคุณสมบัติเช่นกัน

ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สส. เพราะ สส.นั้น แม้ต้องคำพิพากษา แต่หากไม่โดนคุมขังตามคำสั่งศาล ก็ยังสมัคร สส.ได้


การเข้าสู่ตำแหน่งรมต. กับการหลุดจากตำแหน่ง รมต. มันคนละกรณีครับ เพราะเป็นแล้ว มีความผิดอีกมากมายที่ทำให้ต้องหลุดจากความเป็น รมต.
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 05-12-2007, 03:06 »

กกต. จะทำอะไร ต้องเป็นมติครับ

กรณีนี้ เจ๊สด แกให้ความเห็น ในฐานะ อดีต สสร. คนร่างรัฐธรรมนูญนั่นแหละครับ ( ความเห็นส่วนตัว )

ถึงบอกว่ามีคนถามเรื่องมาตรา 174 ( 5 ) ที่มีผลให้นายประชัย เป็นรมต. ไม่ได้

นักข่าวเลยถามว่า กรณีนายสมัครเป็นยังไง ถ้าดูตามมารฐานเดียวกัน หากนายประชัย ขาดคุณสมบัติ นายสมัคร ก็ขาดคุณสมบัติเช่นกัน

ไม่เกี่ยวกับเรื่อง สส. เพราะ สส.นั้น แม้ต้องคำพิพากษา แต่หากไม่โดนคุมขังตามคำสั่งศาล ก็ยังสมัคร สส.ได้


การเข้าสู่ตำแหน่งรมต. กับการหลุดจากตำแหน่ง รมต. มันคนละกรณีครับ เพราะเป็นแล้ว มีความผิดอีกมากมายที่ทำให้ต้องหลุดจากความเป็น รมต.

สส.เองคงต้องศึกษาให้ดีเหมือนกัน และหากกกต.ท่านใด ไม่เป็นกลาง ก็คงเข้าข่ายเดียวกับสามหนาครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 05-12-2007, 03:10 »

อ้อ...ลองไปเปิด มาตรา 102 ซึ่งเป็นคุณสมบัติ ผู้สมัคร สส. นะครับ

พอมาเป็นมาตรา 174 คุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้าม เฉพาะ 174( 4 ) มาจาก 102

แต่ตัดออกหลายวงเล็บ โดยเฉพาะเรื่องการต้องคำพิพากษา กำหนดต่างกันครับ

อย่างที่เราเคยคุยกันนั่นแหละ แม้คุณประชัยเป็น สส. ได้ แต่เป็น รมต. ไม่ได้

หากปรับมาเป็นกรณี สมัคร ก็ต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน คือ "ต้องคำพิพากษา" ( แม้ ยังไม่ถึงที่สุด )

กรณีนี้ สสร. ถกกันมาก เพราะเคยมีกรณีศึกษา ที่ อดีต รมต. เนวิน ไม่หลุดจากความเป็น รมต. ในครั้งนั้น


การให้ความเห็นแง่มุมกฎหมาย จะไปเข้าข่ายสามหนาได้ยังไง ไม่เข้าใจครับ

กรณีสามหนา เป็นมติ กกต. แล้วครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 05-12-2007, 03:15 »

อ้อ...ลองไปเปิด มาตรา 102 ซึ่งเป็นคุณสมบัติ ผู้สมัคร สส. นะครับ

พอมาเป็นมาตรา 174 คุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้าม เฉพาะ 174( 4 ) มาจาก 102

แต่ตัดออกหลายวงเล็บ โดยเฉพาะเรื่องการต้องคำพิพากษา กำหนดต่างกันครับ

อย่างที่เราเคยคุยกันนั่นแหละ แม้คุณประชัยเป็น สส. ได้ แต่เป็น รมต. ไม่ได้

หากปรับมาเป็นกรณี สมัคร ก็ต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน คือ "ต้องคำพิพากษา" ( แม้ ยังไม่ถึงที่สุด )

กรณีนี้ สสร. ถกกันมาก เพราะเคยมีกรณีศึกษา ที่ อดีต รมต. เนวิน ไม่หลุดจากความเป็น รมต. ในครั้งนั้น


การให้ความเห็นแง่มุมกฎหมาย จะไปเข้าข่ายสามหนาได้ยังไง ไม่เข้าใจครับ

กรณีสามหนา เป็นมติ กกต. แล้วครับ


กกต.ต้องเป็นกลาง และทำหน้าที่ของตนโดยสุจริต  ก็คงไม่ใช่เรื่องยกพวงครับ ถ้าไม่เป็นมติ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 05-12-2007, 03:20 »



ส่วนประเด็นในข้อกฎหมาย ก็ถกๆกันไปก่อนครับ..

เรื่องรมต.หรือสส.ที่รับรองแล้วอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแล้ว

กกต.ได้แต่ยื่นเรื่อง แสดงความเห็นไป..

ยังไม่มีแนวตรงนี้ เพราะเรื่องยังไม่เกิด

สสร.ถ้ามีข้อมูลการอภิปรายตรงนี้ประกอบก็ดีกว่า..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 05-12-2007, 03:21 »


ส่วนประเด็นในข้อกฎหมาย ก็ถกๆกันไปก่อนครับ..

เรื่องรมต.หรือสส.ที่รับรองแล้วอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแล้ว

กกต.ได้แต่ยื่นเรื่อง แสดงความเห็นไป..

ยังไม่มีแนวตรงนี้ เพราะเรื่องยังไม่เกิด

สสร.ถ้ามีข้อมูลการอภิปรายตรงนี้ประกอบก็ดีกว่า..


แก้ไข สสร.เป็นกมธ.ยกร่างครับ..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 05-12-2007, 03:23 »





ประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดข้อโต้แย้งไม่ยุติ บ่อยครั้งก็ไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 05-12-2007, 03:27 »



ถ้าสมัครขาดคุณสมบัติสส. ก็แน่นอนกว่าครับ

คือถือว่าถูกเข็คบิลไปก่อนตามกฎหมายเลือกตั้ง ในอำนาจกกต.
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 05-12-2007, 03:31 »



ถ้าพูดถึงประเด็นรมต. ผมโหวตให้กระทูนี้ละกัน

รอดูกันต่อไป ว่าเหตุการณ์จะเป็นเช่นไร?
             
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 05-12-2007, 03:41 »

ที่จริง วงเล็บ 5 มันข้อความเดียวกัน ทั้ง 102 และ 174

หากตัดตอนตั้งแต่ สมัคร สส. ก็จบเกมไปก่อนได้


แต่ กกต. จะกล้าทำหรือเปล่าเท่านั้น ( อาจเกรงว่าเลือกปฏิบัติ - กลั่นแกล้ง )

แต่หากไปถึงขั้น รมต. อาจส่งตีความที่ศาลรัฐธรรมนูญได้
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 05-12-2007, 03:45 »

ที่จริง วงเล็บ 5 มันข้อความเดียวกัน ทั้ง 102 และ 174

หากตัดตอนตั้งแต่ สมัคร สส. ก็จบเกมไปก่อนได้


แต่ กกต. จะกล้าทำหรือเปล่าเท่านั้น ( อาจเกรงว่าเลือกปฏิบัติ - กลั่นแกล้ง )

แต่หากไปถึงขั้น รมต. อาจส่งตีความที่ศาลรัฐธรรมนูญได้


คงได้เฉพาะสส.ครับ..กฏหมายให้อำนาจมาแค่นั้น
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: