ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 17:27
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  หลักการเลือกผู้แทน ถ้าขาดหลักนี้ เลือกตั้งกี่ทีก็ไร้ค่า 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
หลักการเลือกผู้แทน ถ้าขาดหลักนี้ เลือกตั้งกี่ทีก็ไร้ค่า  (อ่าน 2239 ครั้ง)
suetawan
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« เมื่อ: 25-11-2007, 12:45 »

หลักการเลือกผู้แทน  ถ้าขาดหลักนี้  เลือกตั้งกี่ทีก็ไร้ค่า
อ่านรายละเอียดได้ในลิงค์นี้ครับ

http://www.suetawan.com/wotsoso.htm
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 25-11-2007, 15:21 »

ยินดีต้อนรับคุณ suetawan นะครับ 

ไหนๆ มาแนะนำบทความแล้ว (คิดว่าเป็นความเห็นของคุณ suetawan เอง) ก็เอามาลงที่นี่เลยนะครับ
พวกเราที่เสรีไทยเว็บบอร์ดจะได้คุยถึงความเห็นของคุณ suetawan ด้วยกัน

คุณ suetawan ลงชื่อจริง e-mail และเบอร์มือถือ ไว้ด้วย ถ้าท่านใดอยากติดต่อโดยตรง
ก็ไปได้ตามลิงค์ที่คุณ suetawan แนะนำนะครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักการเลือกผู้แทน

1. ดูความเสียสละ เพราะความเสียสละเป็นยอดของความดี
ผู้แทนดีต้องมีจิตคิดเสียสละ จนมาก็ต้องจนต่อไป ภูมิใจในความจน
รวยมาก็ต้องรวยเท่าเดิมหรือจนลงเพราะความเสียสละก็ยิ่งชัดเจน
ภูมิใจที่ตัวเองจนลง แล้วเห็นประชาชนร่ำรวยขึ้น
ถ้าจนมาแล้วรวยไป หรือรวยมาแล้วยิ่งรวยไปใหญ่ ก็แสดงว่าโกง ไม่ควรเลือก
บ้านเมืองไม่ใช่ขนมเค๊กสำหรับให้ใครมาแบ่งกันกิน (มาแบ่งกันโกง)
แต่บ้านเมืองคือเรื่องของคนทั้งประเทศ ที่มีปัญหาสารพัดให้ต้องแก้ไข
การเมืองจึงเป็นเรื่องของความเสียสละ ลักษณะของผู้เสียสละก็คือจนทรัพย์
แต่ร่ำรวยด้วยคุณงามความดีและสติปัญญา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้แทนดี
จะร่ำรวยขึ้น เคยรวยได้ ไม่ผิด แต่ถ้ารวยขึ้น ผิดศีลธรรมอย่างแน่นอน
ถ้าประชาชนหันมาเลือกคนจนแต่มีสติปัญญา บ้านเมืองจึงจะไปรอด
หรือถ้าร่ำรวยก็ดี แต่ต้องมีความเสียสละ คือกล้าที่จะจนลง
รวมถึงบุตรภรรยาที่จะต้องกล้าจน เพื่อเกียรติยศ ไม่คด ไม่โกง

2. ดูความสามัคคี เพราะความสามัคคีเป็นยอดของความเจริญ
ผู้แทนดีต้องมีวาจาสุภาษิต พูดคำจริง อ่อนหวาน สมานสามัคคี และมีประโยชน์
คนที่พูดคำเท็จ หยาบคาย ทำลายสามัคคี และมีโทษ ไม่ควรเป็นผู้แทน
บ้านเมืองจะล่มจม ก็เพราะผู้แทนพูดเท็จ ใช้วาจาหยาบคายด่ากันไปด่ากันมา
ใส่ร้ายป้ายสีทำลายสามัคคีของคนในชาติ เพราะเอาประชาชนเป็นเครื่องมือ
เพื่อเอาชนะคะคานกันและกัน เหมือนช้างชนกัน กอหญ้าคือประชาชนก็ป่นปี้
ผู้แทนที่ดีจะต้องพูดคำมีประโยชน์ มีเหตุมีผล และเป็นไปเพื่อส่วนรวม
ไม่ใช่หมกเม็ดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง ปกป้องประโยชน์ของชาติ
แม้อาจจะเสียประโยชน์ส่วนตัวก็ยอมได้ เพราะมีจิตใจที่เสียสละดังกล่าวแล้ว
สภาใดไร้ผู้แทนที่พูดคำจริง อ่อนหวาน สมานสามัคคี และมีประโยชน์
สภานั้นไม่ใช่สภา แต่เป็น "ซ่องโจรที่ถูกต้องตามกฎหมาย" อันตรายยิ่งนัก

ประเทศชาติของเรายังแย่ ก็เพราะมีแต่คนรวยเท่านั้นเป็นผู้แทน คนจนจริงๆ หมดสิทธิ์
แม้เป็นคนมีหัวคิด มีความรู้ มีความดี มีความเสียสละแค่ไหน ก็ไม่มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง
ความจริงรวยหรือจนไม่ใช่คนน่ารังเกียจ แต่ที่ทำให้ประเทศชาติของเราแย่คือคนเห็นแก่ตัว
ตลอดระยะเวลาที่เราหลงกันว่า "เป็นประชาธิปไตย" แต่ผู้แทนที่เราได้มีแต่คนเห็นแก่ตัว
ส่วนคนเสียสละ มีปะปนเข้าไปบ้าง แต่กลายเป็นคนส่วนน้อย สุดท้ายก็เลยกลายพันธ์ไปด้วย
เพราะมิฉะนั้นก็หมดสิทธิ์มีอำนาจ แล้วประเทศชาติ หรือแม้แต่ทั้งโลก จะอยู่รอดได้อย่างไร ?
ถ้ายังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ จะเลือกตั้งกี่ครั้งก็ไม่มีความหมาย นายตะวันก็จะ "โนโวต" ต่อไป

ประเทศชาติของเรายังแย่ ก็เพราะเรามีแต่ผู้แทน "ปากเสีย" ประเภทมีวาจาเป็นทุภาษิต
สื่อมวลชนก็ยิ่งทำผิด เพราะนิยมทำข่าวแต่เรื่องรุนแรง ฉาวโฉ่ น้ำเน่า ด่ากันไปด่ากันมา
ประชาชนเป็นคนผิดที่สุด เพราะชอบเสพแต่ข่าวดังกล่าวนั้น ข่าวดีๆ ของคนดีๆ ขายไม่ออก
หนักเข้าก็เลยพากันเห็นเป็นเรื่อง "ปรกติ" ทั้งๆ ที่นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศชาติแย่
และโลกทั้งโลกใกล้จะย่อยยับ เอาแค่ปัญหาโลกร้อนอย่างเดียวก็ท้าทายปัญญามนุษยชาติแล้ว
ขืนพากันหลับหูหลับตาเห็นแก่ตัวแตกสามัคคีกันอยู่อย่างนี้ โลกใบนี้ไม่มีไว้สำหรับลูกหลานแน่
แค่ภายในศตวรรษ (100 ปี) นี้ จะไปรอดหรือเปล่า ยังไม่รู้เลย คนใจเสีย คนปากเสีย
ช่วยชาติไม่ได้ ช่วยโลกไม่ได้ มีแต่จะซ้ำเติมให้เลวร้ายลงไปอีก นี่คือสถานการณ์ที่เป็นจริง
ถ้ายังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ จะเลือกตั้งกี่ครั้งก็ไม่มีความหมาย นายตะวันก็จึง "โนโวต" ต่อไป


โปรดอย่าทำให้รัฐสภา กลายเป็นซ่องโจรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยกันช่วยกันไปเลือกคนดี หรือถ้าไม่มี ไม่รู้ ก็อย่าเลือกใครเลย
การไม่เลือกใครเลย อาจจะเป็นการสูญเปล่า แต่ก็ดีกว่าเลือกคนผิดแน่ๆ
การไม่เลือกใคร อาจจะทำให้ได้ฉุกคิด แต่เลือกคนผิด ชาติพังยับเยิน
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็อย่าเลือก นายตะวันสนับสนุนการไม่เลือกใครเลย
มากกว่าการเลือกคนผิด บ้านเมืองกำลังวิกฤติ ก็เพราะเลือกคนผิดมาช้านาน
ความเสียสละเป็นยอดของความดี ความสามัคคีเป็นยอดของความเจริญ
อยากให้ชาติบ้านเมืองดีงาม ร่มเย็นเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง ก็ต้องเลือก
คนที่เสียสละและรู้รักสามัคคี เป็นผู้แทน เป็นผู้บริหารประเทศ จึงจะไปรอด


(โนโวตของนายตะวันไม่ได้เอาอย่างใคร และโนโวตต่อโครงสร้าง ไม่ใช่ต่อพรรคหรือต่อบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น)
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 25-11-2007, 15:31 »

เริ่มที่ผมก่อนเลยก็แล้วกัน...

ผมไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจ No Vote ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนะครับ
ตำแหน่งทางการเมืองก็เหมือนการทำหน้าที่ขับรถ แต่เป็นรถที่วิ่งไปเรื่อยๆ
โดยไม่มีการหยุด (คล้ายๆ เกือบทั้งเรื่องในหนัง Speed ที่ คีนู รีฟ เล่น)

เราจะบอกว่าไม่ไว้ใจใครเลยไม่เลือกใครมาเป็นคนขับ แต่ในความเป็นจริง
ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีคนขับ โดยผู้โดยสารทุกคนมีหน้าที่ช่วยเหลือให้นำพา
รถไปถึงจุดหมายโดยปลอดภัย และควบคุมคนขับไม่ให้พารถออกนอกทาง
หรือไปประสบอุบัติเหตุ

และต่อให้เราไม่เลือกใคร ก็ยังมีคนถูกเลือกไปนั่งเป็นคนขับอยู่ดี หรือต่อให้
คนที่เราเลือกไม่ได้ชนะเลือกตั้งไม่ได้เป็นคนขับก็ต้องมีคนอื่นมาเป็นเช่นกัน

ซึ่งเราก็ต้องมีหน้าที่คอยดูแลช่วยเหลือ และควบคุมตรวจสอบการทำหน้าที่
อีกนั่นแหละ หรือถ้ามีโอกาสเราเองอาจจะขอสมัครเป็นคนขับคนใหม่ก็ได้

---
ที่ผ่านมาที่มีการ No Vote ในการเลือกตั้ง 2 เมษา 49 แตกต่างกับครั้งนี้
เพราะเป็นการแสดงออกไม่ยอมรับการจัดเลือกตั้ง และไม่ยอมรับพรรคใหญ่
ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสภาพที่ถือได้ว่าลงสมัครเพียงพรรคเดียว

---
..ดังนั้นผมไม่เห็นด้วยกับการ No Vote ตามที่นำเสนอมาครับ.. 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 25-11-2007, 15:40 »

สำหรับเรื่อง ความเสียสละ ผมเห็นด้วยใ่นหลักการที่ว่าผู้แทนควรพร้อมเสียสละ
ไม่ได้หวังดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์ใส่ตัว

แต่ผมไม่เห็นด้วยว่าทำงานการเมืองแล้วจะต้องยากจน เพราะกฎหมายเปิดช่อง
เอาไว้แล้วว่าสามารถให้มีผู้ดูแลที่แยกเป็นอิสระจากผู้แทน ทำหน้าที่ดูแลกิจการ
ระหว่างที่ผู้แทนดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ซึ่งถ้าบริหารจัดการดี ก็อาจร่ำรวยขึ้นกว่าเดิมหลังจากพ้นตำแหน่งก็ได้
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 25-11-2007, 15:56 »

สำหรับเรื่อง ความสามัคคี ที่มีการกล่างถึงในบทความ และที่มีการกล่าวอ้าง
กันโดยทั่วไป และมีบ่อยครั้งอ้างถึงพระราชดำรัสเรื่องความ "รู้รักสามัีคคี"

ผมเห็นด้วยว่านักการเมือง โดยเฉพาะที่ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ ผู้บริหารประเทศ
จะต้องเป็นผู้สร้างความสามัคคีขึ้นในชาติ ผู้นำประเทศที่ทำลายความสามัคคีในชาติ
ยุยงให้คนแบ่งเป็นฝักฝ่าย ไม่สมควรดำรงตำแหน่งใดๆ ในทางการเมือง หรือแม้แต่
ทางสังคม เศรษฐกิจ .. ที่ถูกต้องคือไม่ควรได้มีบทบาทใดๆ ทั้งสิ้น

ผมเคยยกตัวอย่าง อดีตนายกฯ ทักษิณ ว่าเหมือนกับผู้จัดการโรงงาน ที่มีกลุ่มคนงาน
ไม่พอใจและชุมนุมประท้วง แต่แทนที่ผู้จัดการจะเจรจาทำความเข้าใจกลุ่มผู้ประท้วง
เคลียร์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ จนคนงานกลับเข้าทำงาน แบบที่ผู้จัดการดีๆ เขาทำกัน
แต่กลับไปยุยงคนงานที่เหลือให้มองผู้ประท้วงเป็นศัตรู ในที่สุดเกิดการปะทะขัดแย้งกัน
จนโรงงานเกิดความเสียหาย ธุรกิจประสบปัญหาการดำเนินงาน

ผู้จัดการแบบนี้สมควรถูกไล่ออก.. โดยไม่ต้องพิจารณาว่าทุจริตในหน้าที่ด้วยหรือเปล่า

...

แต่ผมมีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากน้องคนหนึ่งทักขึ้นและผมรู้สึกเห็นด้วยกับเขา
ก็คือเราเข้าใจคำว่า "สามัคคี" กันถูกต้องหรือไม่?

(น้องที่ว่าเขาทำบล็อกอยู่ที่ http://chalita.exteen.com เขียนอะไรหลายอย่าง
ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับการเมือง จะลองแวะไปอ่านก็ได้นะครับ)  Very Happy


..เพราะเหมือนกับว่า "ความสามัคคี" ในปัจจุบัน จะหมายถึงการรักกัน ไม่ทะเลาะกัน
การทำความดีต่อกัน เช่น พูดเพราะๆ ทำตาหวาน ยิ้มให้กัน โอบกอดกัน ฯลฯ

ขณะที่ความจริงแล้ว "ความสามัคคี" น่าจะหมายถึงการ "มีเป้าหมายร่วมกัน"
และ "ร่วมแรงร่วมใจกัน" เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายร่วมกันนั้นๆ

..ไม่ใช่การรักกัน พูดเพราะๆ ทำตาหวาน ยิ้มให้กัน โอบกอดกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน..

...

คำถามคือตอนนี้คนไทยเรา "สามัคคี" กันหรือเปล่า..
ถ้าใช่.. "เป้าหมายร่วมกัน" ของเราคืออะไร?
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-11-2007, 16:05 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #5 เมื่อ: 25-11-2007, 16:26 »

ลูกหิน ขอสนับสนุน กับของพี่จีฯ ข้างบนทั้งหมดฮะ
ความสามัคคี = สามัคคี คือพลัง
"ร่วมแรงร่วมใจกัน"
เสียสละ   ผู้นำ ต้องเสียสละ เพื่อ ผู้ตาม

***** ทั้งหมด นี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของ คุณธรรม ด้วย ถึงจะเรียกว่า ทำดี*****

  ลูกหินขอ + บวกเพิ่ม อีกอัน..ด๊วยคน

เพราะอันนี้ ที่ LEADER SHIP ขาดไม่ได้
นั่นคือ " คำ สัตย์ "
หรือ
" สัจจะ "
ฮะ

" ฮ่องเต้ ตรัสแล้ว ไม่คืนคำ "
  " เสียชีพ อย่าเสีย สัตย์"

  ตย..เช่น  ..." ไม่มีสัจจะ ในหมู่โจร " =ใครไม่มีสัจจะ ก็ เปรียบ เสมือน โจรนั่นเอง



-----------------------------------------------------------

" ผม วางมือทางการเมืองแล้ว "
" ผม จะ ไม่มีวัน ยุบสภา  "
" ใคร มีหุ้นใน อิมเพิ้ลรส ถือว่าเป้นพวกขายชาติ "
แบร์ๆๆๆ....แอร์ตอหลี ..




" เรา ชอบ ผู้นำฯ ที่ไร้สัจจะ กับ ประชาชน หรือไม่? ."

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-11-2007, 16:41 โดย ลูกหินฮะ๛ » บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 25-11-2007, 16:40 »

ลูกหิน ขอสนับสนุน กับของพี่จีฯ ข้างบนทั้งหมดฮะ
ความสามัคคี = สามัคคี คือพลัง
"ร่วมแรงร่วมใจกัน"
เสียสละ   ผู้นำ ต้องเสียสละ เพื่อ ผู้ตาม


  ลูกหินขอ + บวกเพิ่ม อีกอัน..ด๊วยคน


เพราะอันนี้ ที่ LEADER SHIP ขาดไม่ได้
นั่นคือ " คำ สัตย์ "
หรือ
" สัจจะ "
ฮะ

" ฮ่องเต้ ตรัสแล้ว ไม่คืนคำ "
  " เสียชีพ อย่าเสีย สัตย์"

  ตย..เช่น  ..." ไม่มีสัจจะ ในหมู่โจร " =ใครไม่มีสัจจะ ก็ เปรียบ เสมือน โจรนั่นเอง



-----------------------------------------------------------

" ผม วางมือทางการเมืองแล้ว "
" ผม จะ ไม่มีวัน ยุบสภา  "
" ใคร มีหุ้นใน อิมเพิ้ลรส ถือว่าเป้นพวกขายชาติ "
แบร์ๆๆๆ....แอร์ตอหลี ..





ขอบคุณ คุณลูกหินมาช่วยเพิ่มเติมภาษิตอีกหลายประโยค

ความสามัคคี = สามัคคี คือพลัง
เสียสละ = ผู้นำ ต้องเสียสละ เพื่อ ผู้ตาม
ความสัตย์ = " ฮ่องเต้ ตรัสแล้ว ไม่คืนคำ " และ "เสียชีพ อย่าเสีย สัตย์"
สัจจะ = " ไม่มีสัจจะ ในหมู่โจร " = ใครไม่มีสัจจะ ก็ เปรียบ เสมือน โจรนั่นเอง

ลืมบอกไปว่าถ้าใครอยากอ่าน entry เรื่องความสามัคคีของน้องที่ผมพูดถึง
ก็ไปอ่านกันได้ที่ลิงค์ exteen ข้างล่างนี้นะครับ..

ความสามัคคีคืออะไร  http://chalita.exteen.com/20070111/entry
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 25-11-2007, 17:17 »

เห็นด้วยและยอมรับครับ

แต่ช่วงนี้ ผมคิดว่าพวกนักการเมือง กำลังเข้าสู่ห้วง "ค่ำคืนแห่งการหลอกลวง"

ทุกพรรคที่ไปหาเสียงในอีสาน ชูนโยบายเก่า ๆ เป็นมิตรกับทักษิณ

อะไรก็ได้ที่จะทำให้ตนเองได้คะแนนเสียง แต่ไม่มีพรรคใด พวกใด เสนอแนวทางที่แตก่างหรือข้อเสียของประชานิยม
บันทึกการเข้า

suetawan
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #8 เมื่อ: 26-11-2007, 19:25 »

ตอบความเห็นนี้นะครับ  จาก..นายตะวัน

ผมไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจ No Vote ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนะครับ
ตำแหน่งทางการเมืองก็เหมือนการทำหน้าที่ขับรถ แต่เป็นรถที่วิ่งไปเรื่อยๆ
โดยไม่มีการหยุด (คล้ายๆ เกือบทั้งเรื่องในหนัง Speed ที่ คีนู รีฟ เล่น)

เราจะบอกว่าไม่ไว้ใจใครเลยไม่เลือกใครมาเป็นคนขับ แต่ในความเป็นจริง
ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีคนขับ โดยผู้โดยสารทุกคนมีหน้าที่ช่วยเหลือให้นำพา
รถไปถึงจุดหมายโดยปลอดภัย และควบคุมคนขับไม่ให้พารถออกนอกทาง
หรือไปประสบอุบัติเหตุ

และต่อให้เราไม่เลือกใคร ก็ยังมีคนถูกเลือกไปนั่งเป็นคนขับอยู่ดี หรือต่อให้
คนที่เราเลือกไม่ได้ชนะเลือกตั้งไม่ได้เป็นคนขับก็ต้องมีคนอื่นมาเป็นเช่นกัน

ซึ่งเราก็ต้องมีหน้าที่คอยดูแลช่วยเหลือ และควบคุมตรวจสอบการทำหน้าที่
อีกนั่นแหละ หรือถ้ามีโอกาสเราเองอาจจะขอสมัครเป็นคนขับคนใหม่ก็ได้

---
ที่ผ่านมาที่มีการ No Vote ในการเลือกตั้ง 2 เมษา 49 แตกต่างกับครั้งนี้
เพราะเป็นการแสดงออกไม่ยอมรับการจัดเลือกตั้ง และไม่ยอมรับพรรคใหญ่
ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสภาพที่ถือได้ว่าลงสมัครเพียงพรรคเดียว


ความเห็นของคุณถูกต้องแล้ว  ทุกคนมีสิทธิ์จะเลือก  คนขับรถที่ตนเองไว้ใจที่สุด
ผมขอเปรียบเทียบเพิ่มเติมว่า  รถเช่าคันนี้มีคนโดยสาร 6 (สิบล้าน) คน
โดยทางบริษัทจัดคนขับมาให้ผู้โดยสารมีสิทธิ์เลือก 2 คน (สองขั้วการเมือง)
ที่ถูกต้องก็อย่างคุณว่า  ผู้โดยสาร 6 คนนั้น  ควรช่วยกันพิจารณาว่า ไอ้ 2 คนนี้
คนไหนมันเมาอยู่หรือเปล่า  อีกคนละเป็นอย่างไร  แล้วก็ตัดสินใจเลือกคนขับให้ดี
ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยว่าจำเป็นต้องเลือก  เพื่อให้ได้คนใดคนหนึ่งที่น่าจะขับรถได้ดีกว่า

แต่บังเอิญใน 6 คนนี้  มีคนคิดมากอยู่คนหนึ่ง  คือนายตะวัน  มองไปจนถึงตัวรถ
ที่บริษัทเจ้าของรถเช่าและถูกคนขับก่อนๆ ไม่รู้จักรักษา  ทำให้สภาพทรุดโทรมเต็มที
จนไม่น่านำออกมาวิ่งด้วยซ้ำไป  แต่นายตะวันก็จำเป็นต้องร่วมเดินทาง  หลีกเลี่ยงไม่ได้
ก็เลยหมดอารมณ์ที่จะเลือกคนขับ  เพราะคิดมากไปเอง  หรือมองด้วยความสลดใจว่า
"สภาพรถแบบนี้" ต่อให้คนขับดีแค่ไหน  ก็ไม่น่าจะพาไปรอด  เพลาจะขาด ล้อจะหลุด
ที่ไหนก็ไม่รู้  จึงแสดงความไม่พอใจเจ้าของบริษัท  ไม่ได้มีอคติกับคนขับรถ 2 คนนั้น
เมื่อไม่มีทางแสดงออกทางอื่น  ก็เลยไม่เลือกคนขับคนไหน  เอาซะดื้อๆ
ทำนองว่า "ใครจะขับก็ช่างมันเถอะ.. เสี่ยงพอกันนั่นแหละ..  ถ้าจะให้ดีต้องเปลี่ยนรถ"

คำว่าเปลี่ยนรถในที่นี้  ก็ไม่ใช่แค่เปลี่ยนกติกา  (รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)
นายตะวันหมายถึง  ทุกภาคส่วนของสังคมต้องช่วยกัน  เปลี่ยนทัศนะในการเลือกต้องใหม่
เช่น  มุ่งแต่ว่า  ใครจะมาพาให้เศรษฐกิจดี  ใครจะมาแจกให้อะไรตัวเอง  ซึ่งไปไม่รอดแน่
ควรจะเปลี่ยนจุดเน้นเป็น  ใครจะมาพาให้ศีลธรรม  อันเป็นรากฐานของทุกสิ่งทุกอย่างดี
เพราะถ้าศีลธรรมดี  เช่น  ขยัน  มันก็ไม่อดอยาก  ซื่อสัตย์ มัก็ไม่โกงกัน ไม่คอรัปชั่น
มีสติปัญญาก็แก่ปัญหาได้ทุกอย่าง (สติปัญญาก็เป็นส่วนหนึ่งของศีลธรรมด้วย)  เป็นต้น

นายตะวันเห็นว่า  สื่อมวลชน  คือผู้มีอิทธิพลที่สุดในยุคนี้  ถ้าตราบใด  เอาแต่ขายข่าว
ประชาชนโง่เขลาชอบเสพข่าวรุนแรงและลามก  ก็สนองความต้องการของประชาชนแบบนี้
นายตะวันก็หมดหวัง  และไม่รู้จะทำอะไรกับสถานการณ์แบบนี้ได้  ก็เลย "โนโวต" เท่านั้นเอง
เป็นแค่การแสดงออกส่วนตัว  และทำมาตั้งแต่ใช้สิทธิ์ครั้งแรก (8 ปีที่แล้ว  หลังจากสึกออกมา)
ซึ่งก็คงต้องทำอย่างนี้ต่อไป  ถ้าจะจับเป็นข่าว  ก็ช่วยผมหน่อยสิ  ใครสามารถเปลี่ยนใจผมได้
ให้เลือกเขา  ให้เลือกพรรคของเขา  วันนั้นจะเป็นวันที่ "นายตะวัน" อาจลงเล่นการเมืองก็เป็นได้

เพราะการเมืองที่ดี  เป็นเรื่องของความเสียสละและความสามัคคี  เป็นโจทย์ที่จะต้องตีให้แตก
ตอนนี้บ้านเมืองกำลังแตกแยก  และยังมองไม่เห็นว่า "จะสามัคคีกันได้อย่างไร ?"  น่าปวดหัว

จบความเห็นแค่นี้ก่อนครับ  ..  ขอบคุณที่แสดงทัศนะตอบ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: