ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 21:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==เปิดวิสัยทัศน์ ผู้ว่าฯ กฟผ.คนใหม่-ภารกิจฝ่าด่าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==เปิดวิสัยทัศน์ ผู้ว่าฯ กฟผ.คนใหม่-ภารกิจฝ่าด่าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์==  (อ่าน 1930 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 18-11-2007, 10:09 »

ระหว่างนี้รู้สึกว่าพรรคการเมืองต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องแผนพลังงานของประเทศเท่าไหร่นัก

ผมไปเจอบทความนี้เข้าก็ลองอ่านวิสัยทัศน์ของ ผู้ว่า กฟผ. คนใหม่ดูนะครับ สรุปหลักๆ ก็คือ เรื่อง
การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน (ผมต้องย้ำเองด้วยว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน และถ่านหินชนิดที่นำมาใช้
ไม่ได้มีมลพิษมากมายอย่างที่ชอบยกกรณีเหมืองแม่เมาะมาอ้างกัน) นอกจากนี้มีพูดเรื่องโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์นิดหน่อย (เรื่องนี้ผมเองยังอยากให้รอเทคโนโลยีไปก่อน ไม่อยากให้สร้างตอนนี้)
เรื่องที่ผมเพิ่งรู้ก็คือเขามีการเตรียมตั้งบริษัทลูก เพื่อจัดการด้านจัดหาพลังงานจากต่างประเทศด้วยครับ 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปิดวิสัยทัศน์...ผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่ สมบัติ ศานติจารี ภารกิจฝ่าด่าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=10525&catid=29
วันที่ 13 พฤจิกายน 2550 เวลา 10:39:27 น.

หมายเหตุ : หลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน
วันแรกของการทำงาน สมบัติ ศานติจารี เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์เป็นครั้งแรกถึงแนวทางการบริหารงานท่ามกลาง
ความท้าทายเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและการเตรียมความพร้อม
สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นเพื่อรับทราบทิศทางกิจการพลังงานของประเทศ มติชน จึงขอนำสาระสำคัญมานำเสนอ


ถาม - วิสัยทัศน์การทำงาน

ตอบ - ตอนแสดงวิสัยทัศน์ให้คณะกรรมการสรรหาฟัง มีอยู่ 4 ข้อ คือ

1.การสานต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ได้ตามแผนที่วางไว้ ทั้งโรงไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างแล้ว 4 แห่ง คือโรงไฟฟ้าจะนะ
พระนครเหนือ พระนครใต้ และบางปะกง และโรงไฟฟ้าใหม่ ที่นับวันจะก่อสร้างยากขึ้น

2.การดำเนินยุทธศาสตร์ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยเฉพาะการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
ซึ่งตามแผนพีดีพี 2007 (แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ 2550-2564) กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง
นิวเคลียร์ 4 โรงในช่วงปี 2563 เพราะปัจจุบันใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสูงถึง 70% นับวันก็จะยิ่งร่อยหรอ และแพงขึ้น
ตามราคาน้ำมัน จึงต้องกระจายใช้เชื้อเพลิง

3.พัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน ซึ่ง กฟผ.สนองนโยบายได้ดี ทั้งฉลากเบอร์ 5 ก็ประสบผลสำเร็จ ที่กำลังทำอยู่
คือรณรงค์เปลี่ยนหลอดไส้ มาเป็นหลอดตะเกียบ ในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดผอมมาก หรือ
ที่เรียกว่า ที 5 ซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟใน กทม.ได้อีกมาก ช่วยลดการใช้เงินลงทุนของ กฟผ.และของประเทศ

4.ให้ความสำคัญกับ CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ กฟผ. กฟผ.ต้องติดต่อ
กับชาวบ้านมากขึ้น ที่ผ่านมาก็ทำแล้ว แต่การสื่อสารอาจจะน้อย ต้องทำมากขึ้น โดยฉพาะชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า ให้ชุมชน
มีสิทธิมีเสียง


ถาม-เตรียมความพร้อมเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน

สิ่งสำคัญคือการเลือกสถานที่ เตรียมเชื้อเพลิง ซึ่งการเลือกสถานที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน เข้าใจว่ามีความเป็นห่วง
ว่าถ่านหินจะทำให้เกิดมลภาวะ แต่เทคโนโลยีไปไกลมากแล้ว มาตรฐานควบคุมสิ่งแวดล้อมสูงมาก ดูอย่างแม่เมาะเป็นต้น เราต้อง
เร่งสื่อสารว่าถ่านหินจำเป็นสำหรับประเทศขนาดไหน เราต้องใช้เชื้อเพลิงอื่น และในทางธุรกิจ ก็มีแค่ถ่านหินและนิวเคลียร์ แต่เรื่อง
นิวเคลียร์คงไม่พูด เพราะเป็นนโยบายของรัฐ

เข้าใจว่ากลุ่มไม่เห็นด้วย อยากให้ใช้พลังงานทดแทน แต่พลังงานทดแทนมีไม่เพียงพอ ทุกประเทศก็ใช้ถ่านหินกันหมด แต่ของเรา
ใช้ก๊าซ เพราะเจอในประเทศและเร่งใช้ของในประเทศ แต่ราคาแพงขึ้นมาก ปัจจุบันอยู่ที่ 220-230 บาทต่อล้านบีทียูแล้ว หากจะ
นำเข้ามาอีกก็แพงขึ้น ในตลาดโลกราคาแอลเอ็นจี (ก๊าซธรรมชาติเหลว) 10 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู (340 บาทต่อล้านบีทียู)
ยังไม่รวมค่าละลาย ทางเลือกที่ดีที่สุด คือถ่านหิน


ถาม-หากแผนโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป้าหมายจะทำอย่างไร

ถ้าสร้างไม่ได้ก็มีทางเลือก รัฐมนตรี (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) และปลัดกระทรวงพลังงาน ( นายพรชัย รุจิประภา) ก็คุยกับผม
เรื่องนี้ นโยบายกระทรวงคือ ให้รับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ขณะนี้ได้เพิ่มการรับซื้อจากลาว จาก 5,000 เมกะวัตต์
เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ตอนนี้ก็รับซื้อใกล้เต็มแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ถ้าไทยไม่ได้สร้างถ่านหิน 4 โรง (รวม 2,800 เมกะวัตต์)
ก็ต้องหาทางอื่นด้วย และต้องในราคาที่รับได้ ตอนนี้มีเอกชนจะไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน กฟผ.ก็จะ
รับซื้อทั้งหมด เร็วๆ นี้ก็มีหลายบริษัทติดต่อขายไฟให้ โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่ต้องได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก และสินค้า
มีคุณภาพ แต่ต้องยอมรับว่าการซื้อของเมืองนอกมีปัญหาว่าเราไม่ได้เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า การบริหารและควบคุมก็ทำไม่ได้


ถาม-ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศมากๆ อาจเสี่ยงต่อความมั่นคงพลังงาน

เราเคยมีการศึกษาว่า นโยบายการรับซื้อไฟต่างประเทศต้องไม่เกิน 20% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ปัจจุบันรับซื้อเพียง 5%
ที่เหลือเป็นก๊าซธรรมชาติ 70% ถ่านหินรวมลิกไนต์ 12% พลังงานน้ำ 5-6% ซึ่งหากรับซื้อเพิ่มขึ้นมาแทนในส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทั้งหมด อาจจะเกิน 20% บ้างในช่วงแรก แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะในช่วงที่โรงไฟฟ้าถ่านหินจะเข้าระบบ ปี 2010 ระบบไฟฟ้า
จะใหญ่ขึ้นมาก


ถาม-เตรียมเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างไร

นิวเคลียร์เป็นเรื่องของรัฐ ขณะนี้ก็ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมกับอนุมัติงบฯสำหรับ 3 ปีแรกให้แล้ว
กฟผ.ก็เตรียมตัวไว้ในฐานะที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ก็หาความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้ จัดหาบุคลากรมารองรับ แต่การจะ
สร้างหรือไม่สร้าง อยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลใหม่ในขณะนั้น ยอมรับว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ง่าย อาจจะยาก
กว่าถ่านหิน แต่พลังงานทางเลือกก็มีไม่มาก ถ้าสร้างไม่ได้ก็ต้องซื้อจากต่างประเทศ ค่าไฟที่ได้จะแพง ก็ต้องให้รัฐบาล
ตัดสินใจ เพราะต้นทุนแอลเอ็นจี ประมาณ 2.60-2.70 บาทต่อหน่วย ขณะที่ถ่านหินอยู่ที่ 2.10-2.20 บาทต่อหน่วย
ต่างกันเยอะมาก ส่วนนิวเคลียร์แม้ค่าก่อสร้างแพง แต่เชื้อเพลิงถูก


ถาม-เตรียมแผนรองรับไว้หรือยังถ้าสร้างนิวเคลียร์ไม่ได้

นิวเคลียร์ แม้ตามแผนจะสร้างถึง 4,000 เมกะวัตต์ แต่ก็เป็นเรื่องระยะยาว กว่าจะถึงเวลานั้น อาจจะมีทางเลือกใหม่
หรือแหล่งพลังงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม กฟผ.ก็ตั้งเป้าไว้ว่า ในอนาคตก็คงจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าให้ได้
ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ถ้าสร้างไม่ได้ก็ลำบาก


ถาม-สิ่งที่วัดความสำเร็จคือโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์

ไม่ใช่ แต่เป็นการผลักดันบริษัท กฟผ.อินเตอร์ให้เกิดมากกว่า เพราะ กฟผ.อินเตอร์จะเป็นตัวจัดหาพลังงานไฟฟ้าต่างประเทศ
ของ กฟผ. ยิ่งมีความเสี่ยงในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศ การลงทุนในต่างประเทศก็ยิ่งมีความจำเป็น โดยในอนาคต
วางแผนจะให้เป็นเหมือนบริษัท ปตท.สผ. (บริษัทผลิต และสำรวจปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน))


ถาม-แต่ถ้าในอนาคตรัฐบาลอยากให้กฟผ.แปรูป

ปัญหาคือ ถ้าเป็นนโยบายรัฐแล้วเกิดประโยชน์กับ กฟผ.และประชาชน การทำความเข้าใจกับพนักงานก็คงจะง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่
ก็คงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจพอสมควร อย่างไรก็ตามถ้าเป็นนโยบายรัฐผู้บริหารก็คงจะสนอง แต่คงยาก เพราะร่าง พ.ร.บ.
ประกอบกิจการพลังงาน และรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้เงื่อนไขไว้ชัดเจน การจะทำอะไรต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน
ดังนั้นจะทำให้ขั้นตอนการแปรรูปจะยากขึ้น
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #1 เมื่อ: 18-11-2007, 10:28 »

ลูกหินม่ายรู้เรื่อง.. พลังงาน หง่ะ ในประเทศไทย
ขออ่าน เฉยๆ หล่ะกันฮะ( โม้มาหลาย กระทู้แล้ว ..เหนื่อย..วุ๊ย)

แต่ก็ เห้น... ข่าวแว๊บๆ ว่า ชาวบ้าน ชาวช่อง..เมืองจิงโจ้ เอง
เขา กำลังจะเลิกใช้ ..พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน..แล้วนี่นา???

และปีที่แล้ว ก็ เห้น เวียดนาม เขา ..สรุปกันแล้วนะฮะ
จะเริ่ม ต้น ..พลังงานเพื่อ พัฒนาประเทศด๊วย
พลังงานจาก..นิวเคลียร์. ด๊วยซ้ำ


  จะมี ก็ อาแม๊ว เรานี่แหละ.. จะให้ ใช้ พลังงานจากถ่านหิน..บ้าอยู่ คนเดียว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2007, 10:29 โดย ลูกหินฮะ๛ » บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #2 เมื่อ: 18-11-2007, 12:06 »

ภูมิประเทศที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงถ่านหินแม่เมาะ อยู่ในหุบเหมือนแอ่ง
บางช่วงที่อากาศหนักไม่มีลม ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เช่นซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ก็อาจจะลอยปกคลุมอยู่ในหุบ
ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าโครงการใหม่ในที่มีการถ่ายเทระบายอากาศได้ดี ก็จะทำให้ก๊าซที่
ไม่พึงประสงค์เจือจางระดับที่ไม่ก่ออันตรายหรือความรำคาญมากนัก

โรงไฟฟ้าพลังถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง รวมค่าก่อสร้างและค่าเชื้อเพลิง น่าจะถูกกว่า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตรงค่าก่อสร้างและค่าจัดเก็บหรือกำจัดกากสารกัมมันตรังสี สูงมาก

ถ้าไปค้นดูประว้ติอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความบกพร่องของคน
อุบัติเหตุรองลงมาคือ ปั๊มน้ำระบายความร้อนขัดข้องหรือไม่ทำงาน

ถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองไทย อยากให้ดูความสะเพร่าของคน เช่น

1. ซาเล้งพลังโคบอลท์ 60
2. ถังเก็บน้ำมันความจุล้านลิตรเกิดเพลิงไหม้ที่ศรีราชา อาจจะเกิดจากน้ำมันล้นถัง
3. คลังแสงระเบิดที่โคราชขณะกำลังขนย้ายวัตถุระเบิด
4. พนักงานขับรถไฟฟ้า ใช้ขบวนรถดันอีกขบวนที่จอดเสียอยู่รางบนดิน ไหลลงไปชน
กับรถไฟฟ้าใต้ดิน

ฯลฯ   

...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2007, 12:11 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #3 เมื่อ: 18-11-2007, 12:15 »

ภูมิประเทศที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงถ่านหินแม่เมาะ อยู่ในหุบเหมือนแอ่ง
บางช่วงที่อากาศหนักไม่มีลม ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เช่นซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ก็อาจจะลอยปกคลุมอยู่ในหุบ
ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าโครงการใหม่ในที่มีการถ่ายเทระบายอากาศได้ดี ก็จะทำให้ก๊าซที่
ไม่พึงประสงค์เจือจางระดับที่ไม่ก่ออันตรายหรือความรำคาญมากนัก

โรงไฟฟ้าพลังถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง รวมค่าก่อสร้างและค่าเชื้อเพลิง น่าจะถูกกว่า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตรงค่าก่อสร้างและค่าจัดเก็บหรือกำจัดกากสารกัมมันตรังสี สูงมาก

ถ้าไปค้นดูประว้ติอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความบกพร่องของคน
อุบัติเหตุรองลงมาคือ ปั๊มน้ำระบายความร้อนขัดข้องหรือไม่ทำงาน

ถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองไทย อยากให้ดูความสะเพร่าของคน เช่น

1. ซาเล้งพลังโคบอลท์ 60
2. ถังเก็บน้ำมันความจุล้านลิตรเกิดเพลิงไหม้ที่ศรีราชา อาจจะเกิดจากน้ำมันล้นถัง
3. พนักงานขับรถไฟฟ้า ใช้ขบวนรถดันอีกขบวนที่จอดเสียอยู่รางบนดิน ไหลลงไปชน
กับรถไฟฟ้าใต้ดิน

ฯลฯ   

...




 อิอิ งั้น ก็ ยึด เอา สิงค์โปร์ มาเป็น เมืองขึ้น...
ที่ แสนสวย เหมาะ ..แก่การทำโรงงาน..
ทำ โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ ที่นี่น ..ก็ให้
เจ๊ก ลีกวนยู มันเก็บขวด.. เอาหนุ่มๆสิงคืโปร์ มาทำงาน..
เอาสาสวๆ มาดเป้น หมอนวด..น่าจะดี



  (ไหนๆ เราก็ เป็น เผด็จการแร๊วนี่นา..เล่นซะเร๊ยย)

  ลุงหมัก กู้ชาติด่วน! ซู่ๆ ซู่ๆ ฆ่ามัน ..ฆ่ามัน ...
บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 18-11-2007, 13:51 »

ลูกหินม่ายรู้เรื่อง.. พลังงาน หง่ะ ในประเทศไทย
ขออ่าน เฉยๆ หล่ะกันฮะ( โม้มาหลาย กระทู้แล้ว ..เหนื่อย..วุ๊ย)

แต่ก็ เห้น... ข่าวแว๊บๆ ว่า ชาวบ้าน ชาวช่อง..เมืองจิงโจ้ เอง
เขา กำลังจะเลิกใช้ ..พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน..แล้วนี่นา???

และปีที่แล้ว ก็ เห้น เวียดนาม เขา ..สรุปกันแล้วนะฮะ
จะเริ่ม ต้น ..พลังงานเพื่อ พัฒนาประเทศด๊วย
พลังงานจาก..นิวเคลียร์. ด๊วยซ้ำ


  จะมี ก็ อาแม๊ว เรานี่แหละ.. จะให้ ใช้ พลังงานจากถ่านหิน..บ้าอยู่ คนเดียว

ยังไงก็ไม่ทราบสิครับ ออสเตรเลียเขาจะเลิกใช้ถ่านหินแล้วเหรอครับ
คุณลูกหินทราบไหมว่าเขาไปใช้อะไรแทน หรือว่าใช้นิวเคลียร์?

เรื่องเวียดนามเขาได้ทุนต่างประเทศมาช่วยสร้างครับ และประเทศเขา
ไม่มีทีมประท้วงต่อต้านเข้มแข็งแบบไทย ลองมาตั้งเมืองไทยผมว่า
ต้องเป็นเรื่องประท้วงต่อต้านกันหนักหนากว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก

เอาแค่เตาปฏิกรณ์เพื่อการทดลองของเราที่ศูนย์นิวเคลียร์องครักษ์
ตอนนี้ได้ติดตั้งแล้วหรือยังครับ ขนาดเครื่องเล็กๆ ไม่ได้ใช้ผลิตไฟฟ้า
ถ้าตั้งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผมนึกภาพไ่ม่ออกจริงๆ ว่าจะโดนอะไร
จะเหมือนตอนโรงงานแทนทาลัมหรือเปล่า

และไม่ว่าอย่างไรตอนนี้ถ่านหินก็คือแหล่งพลังงานที่มีปริมาณสำรอง
สูงสุดขนาดใช้ไปได้อีก 500 ปี ในขณะที่อย่างอื่นเช่นน้ำมัน หรือ
ก๊าซธรรมชาติแค่ไม่กี่สิบปีก็จะหมดแล้ว แนวโน้มคงเป็นว่าไทยเรา
ต้องไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้านอกประเทศ เพื่อซื้อไฟฟ้ากลับเข้ามาใช้

...

ความคิดผมน่าจะใช้วิธีสร้างโรงไฟฟ้าขนาดไม่ใหญ่ แต่อยู่กระจายกัน
ไปตามชุมชน หรือนิคมอุตสาหกรรม แบบของใครของมันคงจะดีกว่า
ไม่ต้องวางสายส่งไกลๆ ด้วย ถ้าไฟฟ้าเหลือใช้ก็ขายเข้าระบบสายส่ง
เป็นรายได้ไปอีกทาง

ที่น่าสนใจคือระบบแก๊สซิไฟเออร์ ที่ใช้เชื้อเพลิงในท้องถิ่นได้หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น ฟางข้าว ชานอ้อย แกลบ เปลือกมัน ถ่านฟืนฯลฯ ไม่จำเป็น
ต้องพึ่งแต่น้ำมันอย่างเดียวเพื่อปั่นไฟ เห็นซีพีทำขนาดเล็กๆ ออกมาขาย
และมีรายย่อยอื่นๆ อีก (ใครจะ่ว่าก่อปัญหาโลกร้อน ผมเองไม่ค่อยเชื่อ
ว่าโลกร้อนเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก)

ถ้าทำเป็นโรงไฟฟ้าเล็กๆ ก็หมดปัญหาต่อต้าน และถ้าใช้แก๊สซิไฟเออร์
ก็เท่ากับเป็นอิสระจากการใช้น้ำมันไปเลย แต่จะใช้น้ำมันก็ได้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Puggi
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 182


« ตอบ #5 เมื่อ: 18-11-2007, 14:45 »

เห็น UMS จะสกัดถ่านหินเป็นแก๊สปีหน้า ไม่รู้ว่าผลจะเป็นยังไง

ยังไงตอนนี้ต้องใช้ถ่านหิน ทำโรงไฟฟ้าแล้วครับ  เราใช้แก๊สเยอะเกินไป 

พวก ngo ก็ กล่อมได้แต่คนไม่ประสีประสา  รัฐควรเด็ดขาดได้แล้วครับ ไม่งั้น อีกหลายปี ความมั่นคงด้านพลังงานไทย วิกฤตแน่นอน
บันทึกการเข้า
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #6 เมื่อ: 18-11-2007, 15:05 »

ยังไงก็ไม่ทราบสิครับ ออสเตรเลียเขาจะเลิกใช้ถ่านหินแล้วเหรอครับ

  ดูข่าว เมื่อ อาทิตย์ ก่อน ..ว่า เขามีปัญหาเรื่อง โลกร้อน..
และ นายกฯ เขาบอกว่ากำลังจะค่อยๆ ลด การ ผลิต ด้วย ถ่าน.. (กระมัง)
คงหลังจากโดนประท้วง และ ผลรายงานของ ขั้วโลกใต้ ( กระมัง)
ส่วน จะเลิก ยังไง จริงไม่จริง ม่ายทราบฮะ


 คุณลูกหินทราบไหมว่าเขาไปใช้อะไรแทน หรือว่าใช้นิวเคลียร์?
 บอกไปแต่แรก แล้วฮะ .. ว่าลูกหิน ม่ายรู้เรื่อง พลังงานดอกฮะ
เพราะ ไม่ได้ ทำงานทางด้านนี้ ..ต่อให้ลูกหินเรียน Machanical มาลูกหินก้ม่ายรู้จริงฮะ (ถ้ารู้จริง จะโม้ให้ฟังแน่น๊อน)
  แต่ ออสเตเลีย ก็ เป็น ดินแดน ที่มี ถ่านหิน แยะ มากที่สุด แห่งนึง( น่าเสียดายเช่นกันฮะ )


เรื่องเวียดนามเขาได้ทุนต่างประเทศมาช่วยสร้างครับ และประเทศเขา
ไม่มีทีมประท้วงต่อต้านเข้มแข็งแบบไทย ลองมาตั้งเมืองไทยผมว่า
ต้องเป็นเรื่องประท้วงต่อต้านกันหนักหนากว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก

  อันนี้ แน่นอน เพราะลูกหิน ทำงานอยู่ เวียดนาม ปีก่อนไงฮะ(2ปี) เลย ทราบข่าวตลอด
..
( ..  คือ ลูกหินจะ โม้โชว์อ๊อฟ ในเรื่อง ที่ตัวเอง มีส่วนร่วมหรือ สัมผ้สจากสถนะการณ์จริง มันน่าภูมิใจส่วนตัว ดังนั้น บางกรณี พี่จีฯ อย่า หมั่นไส้ หรือ เคืองลูกหิน นะฮะ ..  ..หากเป้น เรื่อง พวก เนื้อหาความรู้ข้อมูล จริง ..พวกตัดแปะ ..เอามาโชว์พราวเพื่อตัวเอง หน่ะ..รับรองฮะ... ม่ายมี ให้เห็น เสียฟร์อม ป่าวๆ ลูกหินกลัว     )
..
ที่น่าสนใจคือระบบแก๊สซิไฟเออร์ ที่ใช้เชื้อเพลิงในท้องถิ่นได้หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น ฟางข้าว ชานอ้อย แกลบ เปลือกมัน ถ่านฟืนฯลฯ ไม่จำเป็น
ต้องพึ่งแต่น้ำมันอย่างเดียวเพื่อปั่นไฟ เห็นซีพีทำขนาดเล็กๆ ออกมาขาย
และมีรายย่อยอื่นๆ อีก
(ใครจะ่ว่าก่อปัญหาโลกร้อน ผมเองไม่ค่อยเชื่อ ว่าโลกร้อนเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก)

ถ้าทำเป็นโรงไฟฟ้าเล็กๆ ก็หมดปัญหาต่อต้าน และถ้าใช้แก๊สซิไฟเออร์
ก็เท่ากับเป็นอิสระจากการใช้น้ำมันไปเลย แต่จะใช้น้ำมันก็ได้ด้วยครับ


ทำให้ ลูกหิน ..นึกถึง เวลากรีดยาง เขาจะใช้ ถ่าน แก๊ส อะไรสักอย่าง?
และ การเผาไหม้ ค่อนข้าง  ควันน๊อย ..ทำนองนั้น ใช่ไหมฮะ?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2007, 15:32 โดย ลูกหินฮะ๛ » บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #7 เมื่อ: 18-11-2007, 15:36 »

เห็น UMS จะสกัดถ่านหินเป็นแก๊สปีหน้า ไม่รู้ว่าผลจะเป็นยังไง

ยังไงตอนนี้ต้องใช้ถ่านหิน ทำโรงไฟฟ้าแล้วครับ  เราใช้แก๊สเยอะเกินไป 

พวก ngo ก็ กล่อมได้แต่คนไม่ประสีประสา  รัฐควรเด็ดขาดได้แล้วครับ ไม่งั้น อีกหลายปี ความมั่นคงด้านพลังงานไทย วิกฤตแน่นอน

เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ปัจจุบันพัฒนาไปมากแล้วแต่คนไทยไม่ค่อยได้ทราบข่าวกันนัก
ที่คุณ Puggi พูดถึงก็คือระบบแก๊สซิไฟเออร์อย่างหนึ่งครับ แต่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงตั้งต้น
การทำแบบนี้ทำได้ทั้งเตรียมให้เป็นแก๊สตั้งแต่ก่อนใช้ หรือเปลี่ยนเป็นแก๊สในห้องเผาไหม้
ถือเป็นแนวโน้มอย่างหนึ่งของระบบเครื่องยนต์และระบบกำเนิดไฟฟ้า

ความจริงเขาทำกันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกที่น้ำมันขาดแคลน รถยนต์ในไทยก็เคยใช้ครับ
จะมีส่วนเปลี่ยนเชื้อเพลิงเช่นถ่านไม้ ให้กลายเป็นแก๊ส แล้วก็ส่งเข้าห้องเครื่องยนต์ตามปกติ
เพียงแต่หลังสงครามราคาน้ำมันเข้าสู่ภาวะปกติก็เลยเลิกรากันไป

ตอนนี้ราคาน้ำมันทำท่าจะวิ่งทะลุ 100 ดอลลาร์/บาเรลแน่ๆ มีโอกาสเห็นกลับมาใช้กันอีก
และน่าจะทำได้ดีกว่าเทคโนโลยีสมัยสงครามโลกครับ

...

เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดกับประชาชน ยิ่งกว่าเรื่องแก๊สโซฮอล์
เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันไปไกลมากแล้วจริงๆ
ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องออกเงินสร้างโรงไฟฟ้านอกประเทศ แล้วซื้อไฟฟ้ากลับมาใช้ในประเทศอีกที  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
mebeam
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 634


Fear can hold you prisoner. Hope can set you Free.


« ตอบ #8 เมื่อ: 19-11-2007, 19:56 »

เห็นเค้าประท้วง โรงงานไฟฟ้าล่าสุด แล้วคิดว่า
ไม่น่ามี่ได้ ในเมืองไทยอีกแล้ว ทั้งโรงถ่านหิน หรือว่านิวเคลียร์
คงประท้วงกันแหลกราญ แถมรัฐบาลจะไปหักหาญก็ไม่ได้
รัฐธรรมนูน ปี 50 ก็ให้ท้ายไว้เต็มที่  เคยคิดเหมือนกัน คิดแล้วเศร้า

  สงสัยต้องซื้อไฟฟ้าจากเวียดนาม ลากสายผ่านลาว มั๊งจ่ายมันทั้ง2 ต่อเลย
  หรือไม่ก็ ทำสัญญา ซื้อไฟฟ้าโรงงานนิวเครียร์จากพม่า แล้วขอให้เค้าสร้าง
  สร้างมันตรงชายแดนแหละ
 
บันทึกการเข้า
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #9 เมื่อ: 19-11-2007, 21:31 »

ผมอยากถามคนที่ประท้วง คัดค้านเรื่องพลังงาน...

เพราะพลังงานมันเป็นของที่ยังไงก็ต้องใช้...

คุณยังต้อง เปิดไฟตอนกลางคืน ดูทีวี เปิดตู้เย็นกินเบียร์ นอนเปิดแอร์ ฯลฯ

แล้วก็เป็นหน้าที่การไฟฟ้าจะต้องไปจัดหา

เขื่อน...ก็ไม่เอา ตัดต้นไม้เยอะ รุกที่

นิวเคลียร์...ก็ไม่เอา กลัว คนไทยมันชุ่ย

ขยะ...มีเยอะแต่ดันไม่มีใครสนใจเอามาผลิตพลังงาน ก็ทุนมันสูงแอบขนไปทิ้งลำปางเหมือนเดิมดีกว่า

พลังงานทดแทนจากพืช...เกษตรกรก็ไม่ยอมเพราะจะขายเป็นอาหารจนมันล้นเน่าอยู่กลางตลาด ไม่ส่งเข้าโรงโซฮอล์หรอก

ถ่านหิน...โหย ซัลเฟอร์ โลกร้อนไม่เอา

แล้วพวกท่านจะเอาพลังงานจากใหนดีครับ เมื่อท่านยังต้องใช้...

ยังไงซักวันเราก็ต้องทำซักอย่างนึง มันหลีกเลี่ยงไม่ได้...

นอกจากเราท่านจะยอมกลับไปไสช้าง จุดไต้คบ หุงถ่านเตาไฟ...

น่าจะมีความสุขไปอีกแบบ ไม่เลวนะครับ
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 19-11-2007, 21:50 »



ทำเลตั้งโรงไฟฟ้าต้องมีการกระจายโหลด คงเลี้ยงโหลดขั้นต่ำเอาไว้ด้วย

อีกหน่อยอาจจะต้องแบ่งเขต จัดระเบียบ เขตไหนไม่ผลิตก็ไม่ต้องใช้

ไม่ก็ต้องซื้อแหงกว่าจากเขตอื่น ส่วนพวกประท้วงให้ไปตกลงกันเองในท้องถิ่น..

หรือจะให้ทำประชามติก็ได้..



สนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะของเรายังมีน้อย ต้นทุนไฟฟ้าเราสูงเพราะใช้ก๊าซมากจนเกินไป

เรื่องเทคนิคแบบนี้เอาแต่แย้วๆไม่ส่งตัวแทนที่เข้าใจมาตกลงทำความเข้าใจกลับไปอธิบายท้องถิ่น

เหมือนส่งเสริมให้ประชากรของเราไม่ใช่สติปัญญา

และขอสนับสนุนพลังงานทางเลือกในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมในทางปฏิบัติทุกชนิดด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-11-2007, 22:08 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: