ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
01-07-2025, 08:26
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  การผลักดันให้การเมืองไทยดีขึ้น.. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
การผลักดันให้การเมืองไทยดีขึ้น..  (อ่าน 8122 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 26-10-2007, 14:12 »


ทักษิณ เคยพูดว่า ให้การเมืองนิ่ง

มันก็ดีระยะสั้น

เมื่อเขาและพวกเหิมเกริม ผูกขาดทางการเมือง ปัญหาก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


ผมจึงเสนอว่าต้องต่อต้านการผูกขาดทางการเมือง ทั้งตัวบุคคลและพรรค

ดังนั้นงานจะต่อเนื่องได้ ต่อเมื่อพรรคการเมืองเขียนนโยบายการทำงานชัดเจน

ไม่ขัดกับแผนระยะยาวของประเทศ แผนระยะยาวของประเทศจึงไม่ควรให้นักการเมืองที่ลงเล่นการเมืองแตะต้องเปลี่ยนแปลงได้

ควรเป็นเรื่องขององค์กรอิสระในความดูแลของรัฐและกฎหมายเท่านั้น


เชิญเสนอแนะ ตามประเด็นกระทู้ได้ครับ ไม่ถือว่านอกประเด็นอะไร?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-10-2007, 14:14 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26-10-2007, 14:21 »

 


เสนอให้ควบรวม สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมฯ เป็นองค์กรอิสระในการกับกับดูแลของภาครัฐครับ..

ทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวของชาติ ที่นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งและคนไทยทุกคนจะมีนโยบายเบี่ยงเบนออกจากแผนหลักนี้ไม่ได้
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26-10-2007, 14:28 »




แผนที่กำหนดขึ้นแล้วจะต้องผ่านการลงประชามติ และจะเปลี่ยนแปลงได้จากการจัดทำแผนใหม่

และจะต้องผ่านการลงประชามติที่ได้คะแนนสนับสนุนมากกว่าเดิมเท่านั้น ก่อนการลงประชามติก็ให้จัดให้มีการตอบข้อซักถามประชาชนและสื่อมวลชนในวงกว้าง

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26-10-2007, 14:51 »


แถวนี้มีอีแอบ สมุนนักการเมืองที่มีหน้าที่เชียร์นักการเมืองคนหนึ่งคนใด

พรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใด แบบสุดลิ่มทิ่มประตูหรือเปล่า?

หากมีก็ขอให้ไปประจำอยุ่ที่เว็บไซท์ที่เป็นทางการของพรรคหรือนักการเมืองเหล่านั้น

เอาลิงค์มาวาง และจะตามไปอ่าน ถ้าหากสนใจครับ

ไม่ต้องมาใช้สิทธิแปะพร่ำเพรื่อ รบกวนสังคมหรือสมาชิกบอร์ด

เพราะที่นี่เรา มีความเสมอภาคกันในการเสนอความเห็นอยู่แล้ว

ไม่ได้อุ้มกระทู้แบบพันทิป มากมายอะไร?

อย่างไรก็ตามขอต้อนรับสุภาพชนและวิญญูชนทุกท่านครับ..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-10-2007, 15:11 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26-10-2007, 21:45 »



อืมม นักการเมือง ที่อยู่ท่ามกลางแสงไฟ กับดารา นี่แสดงบทบาทกันเก่ง

จนบางครั้งก็ปกปิดตัวจริงเกือบมิด

 
อยากเจอรายที่หลอกทุกคนได้ตลอดเวลาจัง..

น่าจะใกล้เคียงกับซาตาน
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #5 เมื่อ: 27-10-2007, 11:12 »

ถ้าทำเช่นนี้ ประเด็นสำคัญคือเรื่องที่มาและหลักการคัดสรรสมาชิกสภาพัฒน์แล้วล่ะครับ

เพราะถ้าทุกกลุ่มคนในประเทศไม่มีส่วนร่วมในการร่างนโยบายระยะยาว ความขัดแย้งจากการไม่ยอมรับนโยบายดังกล่าวก็จะเป็นระยะยาวด้วย


อีกประเด็นหนึ่งที่ควรให้มี คือการเจรจานโยบาย

ทุกๆ นโยบายของรัฐที่มีผลกระทบในวงกว้าง ต้องมีการเลือกผู้แทนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาทำการเจรจาเพื่อปรับนโยบายให้ได้ฉันทามติก่อน

ด้วยวิธีนี้ จะสามารถคุมนโยบายรัฐบาล ให้เป็นไปตามแผนพัฒน์ได้จริงครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 27-10-2007, 13:53 »


อ้างถึง
ถ้าทำเช่นนี้ ประเด็นสำคัญคือเรื่องที่มาและหลักการคัดสรรสมาชิกสภาพัฒน์แล้วล่ะครับ

เพราะถ้าทุกกลุ่มคนในประเทศไม่มีส่วนร่วมในการร่างนโยบายระยะยาว ความขัดแย้งจากการไม่ยอมรับนโยบายดังกล่าวก็จะเป็นระยะยาวด้วย

อันนี้ มีสภาที่ปรึกษาเดิม ที่มีความหลากหลายครับ การผนวกกับสภาพัฒน์เดิมก็น่าจะพอเพียง เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำแผนระยะยาวอยู่แล้ว

ส่วนความขัดแย้งแบบค้านตะบันอย่างเดียว ตรงนี้ต้องใช้เหตุใช้ผล ใช้ความรู้ ที่สำคัญมีการลงประชามติในที่สุดด้วย..ซึ่งหมายถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ



อ้างถึง
อีกประเด็นหนึ่งที่ควรให้มี คือการเจรจานโยบาย

ทุกๆ นโยบายของรัฐที่มีผลกระทบในวงกว้าง ต้องมีการเลือกผู้แทนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาทำการเจรจาเพื่อปรับนโยบายให้ได้ฉันทามติก่อน

ด้วยวิธีนี้ จะสามารถคุมนโยบายรัฐบาล ให้เป็นไปตามแผนพัฒน์ได้จริงครับ


อันนี้ถ้าเป็นระดับประชามติที่มีคะแนนมากกว่าประชามติเดิมในขั้นสุดท้ายเห็นด้วยครับ เป็นทางเดียวที่เปลี่ยนแผนระยะยาวให้สมบูรณ์และเป็นที่พอใจทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้นได้
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 27-10-2007, 14:26 »

การทำงานลักษณะที่เสนอ ยังคงอยู่ภายในหลักการกระจายอำนาจ

และหลักตัวแทนตามความเชี่ยวชาญในภารกิจต่างๆ

เป็นสมดุลย์ที่พัฒนาไปข้างหน้าได้ ไม่ใช่การหยุดนิ่งหรือพายเรือในอ่างจากการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ ใช้พวกมากลากไปด้วยกระแสทางการเมืองแบบวูบๆวาบๆ

แม้แต่นิติบัญญัติ จะเขียนกฎหมายใหม่ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าอยู่ในกรอบประชามติระยะยาวหรือไม่?

ฝ่ายบริหารไม่ต้องพูดถึงหากไม่มีความสามารถจะมั่วเพื่อเบี่ยงเบนแบบเอาแต่ความคิดของตนเองและพวกไม่ได้อีกต่อไป..ยุติธรรมกับทุกฝ่ายครับ.

การเมืองส่วนท้องถิ่นก็ยังเดินต่อไปได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบประชามติของทั้งประเทศว่าให้ขอบเขตไว้มากเพียงใดในแต่ละประเด็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 14:31 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 27-10-2007, 18:07 »

 

มีการพูดถึง คุณภาพ นักการเมือง

เราต้องเปิดใจให้กว้าง แล้วเข้าใจกระบวนการเกี่ยวกับคุณภาพ

ซึ่งก็ต้องมีมาตรฐานและมีการสอบให้ผ่านมาตรฐานสากลของระดับประเทศ ไม่ใช่นายหมูในแมวอ้างว่ามีประชาชนในพื้นที่หนุนหลัง

แต่คุณสมบัตรไม่ได้มาตรฐาน เช่น นับเลขไม่ถ้วน มาสมัครเป็นตัวแทนประชาชน..

คุณสมบัตริทางคุณภาพที่ใช้วัดประชากรทั่วไปเมื่อนำมาวัดผู้สมัคร ควรอยู่เหนือเกณฑ์เฉลี่ยเป็นอย่างน้อย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 27-10-2007, 18:16 »

 

สำหรับกรณี อ่านภาษาไทยไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยไม่พิการทางสมอง ต้องให้โอกาส อาจจะต่อจากนี้ไปสักไม่เกินห้าปี

จำเป็นต้องจำกัดสิทธิ์การออกเสียงเลือกตั้งเหลือไว้เพียงสิทธิ์ในการรับสวัสดิการสังคมเท่านั้น

นี่จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคุณภาพประชากรด้วย
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #10 เมื่อ: 27-10-2007, 18:21 »

เรื่องประชามตินี่ ผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ครับ

เพราะถ้าเราอยู่ในกลุ่มคน 49% ที่ไม่เห็นด้วย (หรือกี่ % ก็ตาม ที่เป็นส่วนน้อย) เราก็ไม่มีสิทธิมีเสียงแล้วครับ


ทางเลือกที่ดีกว่า คือการคัดเลือกตัวแทนจากคนทุกกลุ่มที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบกับนโยบาย แล้วมาเจรจาให้ได้ผลนโยบายที่่ทุกคนพอใจดีกว่าครับ

ด้วยวิธีนี้ ถึงแม้นโยบายที่ออกมาจะไม่ตรงกับที่เราต้องการ แต่อย่างน้อยเราก็พอใจได้ว่า เราได้มีส่วนร่วมแล้ว



(แต่บางเรื่องจริงๆ ก็ต้องทำประชามติถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้)
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #11 เมื่อ: 27-10-2007, 18:27 »



สำหรับกรณี อ่านภาษาไทยไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยไม่พิการทางสมอง ต้องให้โอกาส อาจจะต่อจากนี้ไปสักไม่เกินห้าปี

จำเป็นต้องจำกัดสิทธิ์การออกเสียงเลือกตั้งเหลือไว้เพียงสิทธิ์ในการรับสวัสดิการสังคมเท่านั้น

นี่จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคุณภาพประชากรด้วย


ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวังครับ เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหวมาก

ถ้าไปจำกัดมาก จะมีคนออกมาร้องว่า เป็นการกีดกัน เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม

พาลๆ ไปออกเป็นสังคมนิยมอีก เดี๋ยวจะมีคำว่า ปราชญ์ กับ ควาย ตามมา =_=




โจทย์คือ ทำยังไง ให้ทุกคนพอใจได้

ตรงนี้ผมจึงเสนอเรื่อง ตามหน้าที่ มาไงครับ เพราะคิดว่าคนส่วนใหญ่คงพอรับได้


เริ่มออกนอกประเด็นกระทู้แล้วครับ ขอโทษด้วย


ถ้ากลับมาเรื่องประเด็นสภาพัฒน์ ให้มีอำนาจตรวจสอบและนำมาใช้กับการเมืองปัจจุบันได้ ผมว่าคุณบอนนี่เสนอไว้ได้ดีมากแล้วครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 27-10-2007, 18:29 »

เรื่องประชามตินี่ ผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ครับ

เพราะถ้าเราอยู่ในกลุ่มคน 49% ที่ไม่เห็นด้วย (หรือกี่ % ก็ตาม ที่เป็นส่วนน้อย) เราก็ไม่มีสิทธิมีเสียงแล้วครับ


ทางเลือกที่ดีกว่า คือการคัดเลือกตัวแทนจากคนทุกกลุ่มที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบกับนโยบาย แล้วมาเจรจาให้ได้ผลนโยบายที่่ทุกคนพอใจดีกว่าครับ

ด้วยวิธีนี้ ถึงแม้นโยบายที่ออกมาจะไม่ตรงกับที่เราต้องการ แต่อย่างน้อยเราก็พอใจได้ว่า เราได้มีส่วนร่วมแล้ว



(แต่บางเรื่องจริงๆ ก็ต้องทำประชามติถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้)

คงต้องโต้แย้งว่า ทุกคนได้รับผลกระทบเสมอครับ เมื่อเป็นคนถือสัญชาติไทย เพราะหลักเลี่ยงไม่ได้

และเมือไม่ผ่านประมติ สิ่งที่ตามมาก็คือการต่อต้านในที่สุด รวมทั้งระบบที่คิดว่าดีก็ไม่ผ่านการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริงในเบื้องต้นด้วยครับ

คงไม่มีใครกล้าใช้ระบบนั้นแน่ หากมีทางเลือกอื่น.
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 27-10-2007, 18:45 »

 

อ้างถึง
สำหรับกรณี อ่านภาษาไทยไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยไม่พิการทางสมอง ต้องให้โอกาส อาจจะต่อจากนี้ไปสักไม่เกินห้าปี

จำเป็นต้องจำกัดสิทธิ์การออกเสียงเลือกตั้งเหลือไว้เพียงสิทธิ์ในการรับสวัสดิการสังคมเท่านั้น

นี่จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการคุณภาพประชากรด้วย



อ้างถึง
ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวังครับ เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหวมาก

ถ้าไปจำกัดมาก จะมีคนออกมาร้องว่า เป็นการกีดกัน เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม

พาลๆ ไปออกเป็นสังคมนิยมอีก เดี๋ยวจะมีคำว่า ปราชญ์ กับ ควาย ตามมา =_=


อ้างถึง
โจทย์คือ ทำยังไง ให้ทุกคนพอใจได้

ตรงนี้ผมจึงเสนอเรื่อง ตามหน้าที่ มาไงครับ เพราะคิดว่าคนส่วนใหญ่คงพอรับได้


ประเด็นหลักๆที่สำคัญต้องอยู่ในรัฐธรรมนูญครับ หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติก็ต้องยอมรับในเบื้องต้น


อ้างถึง
เริ่มออกนอกประเด็นกระทู้แล้วครับ ขอโทษด้วย

ไม่เป็นไรครับ

อ้างถึง
ถ้ากลับมาเรื่องประเด็นสภาพัฒน์ ให้มีอำนาจตรวจสอบและนำมาใช้กับการเมืองปัจจุบันได้ ผมว่าคุณบอนนี่เสนอไว้ได้ดีมากแล้วครับ



ผมไม่ได้พูดถึงอำนาจตรวจสอบโดยตรงครับ หมายถึงอำนาจในการจัดทำแผนระยะยาวของประเทศมากกว่า ซึ่งของเดิมไม่ผ่านประชามติ..

ไม่เห็นคุณพูดถึงสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมเลยนี่ครับ?  ส่วนข้อเขียนคุณบอนนี่ผมขอผ่านนะครับ เพราะไม่ได้มาถกเถียงกันในประเด็นตรงนี้
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #14 เมื่อ: 27-10-2007, 18:47 »

ทำประชามติแล้วก็ต่อต้านได้ครับ เพราะเสียงส่วนน้อยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ การบอกว่า ต้องยอมตามเสียงส่วนใหญ่ ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เสียงส่วนน้อยยอมรับได้ครับ

จริงๆ แล้วประชามติ ถ้าใช้ในบริบทอย่างบ้านเรา จะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้กับนักการเมืองมากกว่าครับ อย่างที่เราเห็นทักษิณอ้าง 19 ล้านเสียง เป็นต้นถ้าคาดหวังประชามติอย่างเดียว โครงการประชานิยมผ่านฉลุยแน่



จริงๆ แล้วตอนนี้มีงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ออกมาแล้วนะครับ ว่าในบริบทของนโยบายสาธารณะนั้น การเจรจานโยบาย (regulatory negotiation) เพื่อหาฉันทามติ มีประสิทธิภาพกว่าประชาธิปไตย

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 27-10-2007, 18:52 »

ทำประชามติแล้วก็ต่อต้านได้ครับ เพราะเสียงส่วนน้อยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ การบอกว่า ต้องยอมตามเสียงส่วนใหญ่ ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เสียงส่วนน้อยยอมรับได้ครับ

จริงๆ แล้วประชามติ ถ้าใช้ในบริบทอย่างบ้านเรา จะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้กับนักการเมืองมากกว่าครับ อย่างที่เราเห็นทักษิณอ้าง 19 ล้านเสียง เป็นต้นถ้าคาดหวังประชามติอย่างเดียว โครงการประชานิยมผ่านฉลุยแน่



จริงๆ แล้วตอนนี้มีงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ออกมาแล้วนะครับ ว่าในบริบทของนโยบายสาธารณะนั้น การเจรจานโยบาย (regulatory negotiation) เพื่อหาฉันทามติ มีประสิทธิภาพกว่าประชาธิปไตย




เรื่องเจรจาต้องมี และอยุ่ในกระบวนการจัดทำครับ ส่วนต่อต้าน ถึงแม้ไม่ผ่านประชามติก็ต่อต้านกันได้อยู่แล้ว แต่หากผ่านประชามติก็ควรเป็นกติกาที่เสียงส่วนน้อยยอมรับ

แผนจะดีหรือไม่อยู่ที่ความเป็นมืออาชีพของกลุ่มผู้จัดทำแผน  ก็คือหน่วยงานควบรวมที่ผมเสนอขึ้นมาในรูปองค์กรอิสระนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #16 เมื่อ: 27-10-2007, 18:56 »

ถ้าผมจำความไม่ผิด คุณบอนนี่ได้กล่าวถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมอำนาจบริหาร รวมถึงการตรวจสอบ ของสภาคล้ายๆ สภาพัฒน์รวมกับสภาที่ปรึกษาฯ ครับ



ส่วนแผนการพัฒนาประเทศระยะยาวนี่ ผมมองว่าการออกแบบโดยอาศัยการยอมรับจากประชามติจะทำได้ลำบากหรือไม่มีประสิทธิภาพด้วยสาเหตุเหล่านี้ครับ

1. ประชาชนทั่วไป ทำความเข้าใจแผนได้ยาก

2. ประชาชนไทยส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกร หรือกลุ่มคนชั้นหาเช้ากินค่ำ ดังนั้นนโยบายส่วนใหญ่ที่จะยอมรับ จะต้องเป็นนโยบายเพื่อปากท้อง ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล

3. หากประชาชนไม่ยอมรับ ก็ไม่มีหนทางจะเสนอแนวคิดที่ดีกว่า ทำได้เพียงกา "ปฏิเสธ" เท่านั้น


ดังนั้น การเน้นที่การทำประชามติอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอครับ ต้องเน้นวิธีการการจัดหาผู้แทนประชาชนตามกลุ่มความสนใจเพื่อจัดตั้งสภาร่างแผน จะเป็นการดีกว่า เพราะจะได้ใช้อำนาจและแสดงความเห็นผ่านทางผู้แทนตนได้
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #17 เมื่อ: 27-10-2007, 18:58 »




แผนจะดีหรือไม่อยู่ที่ความเป็นมืออาชีพของกลุ่มผู้จัดทำแผน


เห็นตรงกันครับ   
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 27-10-2007, 18:59 »


ต้องเข้าใจธรรมชาติของประชานิยมให้ถ่องแท้ว่า

หากไม่ยั่งยืน หรือ ไม่มีธรรมมาภิบาล ถือว่าเป็นข้อห้าม จะมาอ้างเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้

มาตรฐานทางด้านธรรมมาภิบาลจะต้องนำมาพิจารณาในการจัดทำแผนด้วย

ซึ่งก็ต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด

การบิดเบือนจากแผนระยะยาวโดยนักการเมือง ต้องมีโทษทางอาญาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 19:04 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 27-10-2007, 19:12 »

ถ้าผมจำความไม่ผิด คุณบอนนี่ได้กล่าวถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมอำนาจบริหาร รวมถึงการตรวจสอบ ของสภาคล้ายๆ สภาพัฒน์รวมกับสภาที่ปรึกษาฯ ครับ



ส่วนแผนการพัฒนาประเทศระยะยาวนี่ ผมมองว่าการออกแบบโดยอาศัยการยอมรับจากประชามติจะทำได้ลำบากหรือไม่มีประสิทธิภาพด้วยสาเหตุเหล่านี้ครับ

1. ประชาชนทั่วไป ทำความเข้าใจแผนได้ยาก

2. ประชาชนไทยส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกร หรือกลุ่มคนชั้นหาเช้ากินค่ำ ดังนั้นนโยบายส่วนใหญ่ที่จะยอมรับ จะต้องเป็นนโยบายเพื่อปากท้อง ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล

3. หากประชาชนไม่ยอมรับ ก็ไม่มีหนทางจะเสนอแนวคิดที่ดีกว่า ทำได้เพียงกา "ปฏิเสธ" เท่านั้น


ดังนั้น การเน้นที่การทำประชามติอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอครับ ต้องเน้นวิธีการการจัดหาผู้แทนประชาชนตามกลุ่มความสนใจเพื่อจัดตั้งสภาร่างแผน จะเป็นการดีกว่า เพราะจะได้ใช้อำนาจและแสดงความเห็นผ่านทางผู้แทนตนได้

ผมก็เห็นเช่นนั้น แต่มองว่าเป็นกระบวนการเช่นเดียวกับกระบวนการคุณภาพของผู้แทนครับ

จะแบ่งด้วยวิธีการเช่นไรในที่สุดก็ต้องควบคุมคุณภาพให้สอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 27-10-2007, 19:22 »

ตอบตามประเด็นนะครับ

1. ประชาชนทั่วไป ทำความเข้าใจแผนได้ยาก  อันนี้เป็นข้อเท็จจริง ต้องมีการทำให้เข้าใจภาพรวมได้ง่ายๆ รํฐมีผลงานดีคนจะเชื่อได้ง่ายกว่า

2. ประชาชนไทยส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกร หรือกลุ่มคนชั้นหาเช้ากินค่ำ ดังนั้นนโยบายส่วนใหญ่ที่จะยอมรับ จะต้องเป็นนโยบายเพื่อปากท้อง ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล

   ต้องปรับความคิด คนปรับได้ครับ

3. หากประชาชนไม่ยอมรับ ก็ไม่มีหนทางจะเสนอแนวคิดที่ดีกว่า ทำได้เพียงกา "ปฏิเสธ" เท่านั้น เป็นเพียงสมมุติฐานที่โต้แย้งได้ตลอดเวลา ต้องดูของจริงครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 27-10-2007, 19:45 »



กรอบของแผนใหญ่เป็นเรื่องของประชาชนทั้งประเทศ ในชั้นสุดท้ายก่อนลงมือปฏิบัติ แต่ต้องจัดทำล่วงหน้าระยะยาว

ลองนึกถึงโรงพยายาลกับคนไข้และญาติคนไข้ก็ได้ครับ

ส่วนการทำงานภายในกรอบเป็นหน้าที่ของรัฐบาลครับ จะหานโยบายหรือยุทธศาสตร์อะไรก็ตาม นึกภาพทีมแพทย์หรือโค๊ชกีฬา

หากไม่มีใครยอมมาเป็นรัฐบาล แสดงว่าแผนตามกรอบใหญ่นั้นเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องปรับแผนกันใหม่..เจ้าภาพคือองค์กรอิสระที่ว่ามา

ความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระต้องมีมากพอที่จะดูแลจัดทำแผนนั้นให้ผ่านคณะกรรมการภายในและผ่านประชามติในที่สุด

ซึงเป็นการตรวจสอบที่กว้างที่สุดในทุกด้าน อย่างน้อยก็ต้องเสียงเกินครึ่งสังคมจึงจะเดินต่อไปตามแผนได้

การตรวจสอบกระจายไปตามหน้าที่ที่ว่าจะตรวจสอบรํฐบาลในแง่มุมใด
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 27-10-2007, 20:34 »


รัฐบาล และฝ่ายนิติบัญญัติ จะทำงานได้สะดวกมาก


ถ้าหากแต่ละฝ่ายไม่ออกนอกลู่นอกทางที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญ



ดังนั้นรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร แลฝ่ายนิติบัญญัติ ควรสมัครและรับเลือกตั้งกันคนละส่วนครับ ถึงแม้จะเลือกตั้งพร้อมกันก็ตาม

การถ่วงดุลย์จะดีกว่าการปล่อยให้ผู้สมัครสส. เปลี่ยนมามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลได้..

ประชาชนมีความยืดหยุ่นในการเลือกตั้งมากกว่าด้วยในการเปลี่ยนฝ่ายออกกฎหมาย หรือฝ่ายรัฐบาลเท่านั้นก็ได้

ตามลักษณะเปรียบเทียบของผู้สมัครเพื่อเข้าทำงานแยกตามความถนัดและผลงานในหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

รัฐบาลอาจจคว่ำกฎหมายที่ออกโดยสภานิติบัญญัติโดยการวีโต้คัดค้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องยุบสภา

ส่วนสภาฯอาจยับบั้งการตัดสินใจของรํฐบาลเฉพาะเรื่องก็ได้ผ่านกลไกการออกกฏหมายและทางศาล ตลอดจนการขอทำประชามติถอดถอน ซึ่งงต้องใช้เสียงประชามติมากพอสมควร







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 21:28 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 27-10-2007, 21:25 »

เค้าสังเคราะห์ปัญหาไปถึงเรื่อง "ชุมชนเข้มแข็ง" แล้วครับ

หากไปเริ่มเดินจากตรงนั้น จะเป็นหนทางแก้ปัญหาของประเทศชาติ


ธรรมชาติของการเมืองจะไม่มีวันนิ่งครับ "การเมือง" มันเป็นเรื่องของกระแส

หากการเมืองนิ่ง ก็เหมือนกับสังคมตายแล้ว การเมืองต้องมีการขยับ

แต่ขยับไปในทิศทางที่สังคมรับได้และไม่ขยับไปสู่แนวทางรุนแรง

การเมืองขยับได้ แต่ต้องออกไปในแนวทางสันติวิธี ไม่แสวงหาความรุนแรงเด็ดขาด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 21:28 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 27-10-2007, 21:33 »

เค้าสังเคราะห์ปัญหาไปถึงเรื่อง "ชุมชนเข้มแข็ง" แล้วครับ

หากไปเริ่มเดินจากตรงนั้น จะเป็นหนทางแก้ปัญหาของประเทศชาติ


ธรรมชาติของการเมืองจะไม่มีวันนิ่งครับ "การเมือง" มันเป็นเรื่องของกระแส

หากการเมืองนิ่ง ก็เหมือนกับสังคมตายแล้ว การเมืองต้องมีการขยับ

แต่ขยับไปในทิศทางที่สังคมรับได้และไม่ขยับไปสู่แนวทางรุนแรง

การเมืองขยับได้ แต่ต้องออกไปในแนวทางสันติวิธี ไม่แสวงหาความรุนแรงเด็ดขาด


ก็ไม่มีปัญหาอะไรนี่ครับ ชุมชนเข้มแข็งการกระจายอำนาจและงบประมาณอย่างเป็นระบบสู่ท้องถิ่นก็ทำได้ง่ายขึ้น..

ไม่ต้องมาพึ่งพารัฐบาลกลางทุกเรื่อง สามารถนำส่งภาษีได้มากด้วย อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นก็ต้องใช้กฎหมายและมีรัฐบาลกลางร่วมกัน

และต้องอยู่ในกรอบตามแผนระยะยาวว ตลอดจนเดินตามนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 21:37 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

อธิฏฐาน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,912


รักษาประเทศชาติ เป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน


« ตอบ #25 เมื่อ: 27-10-2007, 21:42 »


และสิ่งที่สำคัญที่สุด คืออย่าให้มีการแทรกแซงองค์กรกลางได้ค่ะ
บันทึกการเข้า

หยุด...สัมปทานอุทยานแห่งชาติ
http://www.oknation.net/blog/sandstone
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 27-10-2007, 21:45 »




จะผลักดันให้การเมืองไทยดีขึ้น คุณภาพของทั้งสังคมต้องดีขึ้นตามไปด้วย จะผลักภาระให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งหมดไม่ได้

และจะต้องมีแผนและโครงสร้างทางสังคมที่ชัดเจน ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญก็ต้องศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนทุกคน และองค์กรกลไกต่างๆต้องปฏิบัติตามครับ ขณะที่มีแรงจูงใจและความเชื่อในการพัฒนาประเทศมากพอ

ไม่เพียงปากท้องความเป็นอยู่ของตนเอง เช่นเดียวกับที่คาดหวังจากนักการเมือง
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 27-10-2007, 21:52 »

ต้องติดตาม "พรบ. องค์กรสภาชุมชน" ด้วยครับ อำนาจหน้าที่ คล้าย ๆ สภาที่ปรึกษาฯระดับชาติ

ตอนนี้ผมไม่ทราบทำไปถึงใหน...ข่าวว่าร่างนั้น แก้กันหลายครั้ง เพราะถูกคัดค้านจากมหาดไทย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 27-10-2007, 21:54 »

และสิ่งที่สำคัญที่สุด คืออย่าให้มีการแทรกแซงองค์กรกลางได้ค่ะ

ที่ผ่านมาฝ่ายบริหารแทรกแซงได้อย่างไร ก็เพราะคุมอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติได้หมด คุมอำนาจธุรกิจเอกชน

ผ่านการมีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาผู้แทน การคดโกงทางนโยบาย และนำเงินนั้น มาซื่อเสียงผ่านนโยบายประชานิยมสามานย์

เช่นหวยบนดิน ขายสัมปทาน  เก็งกำไรหุ้น กู้เงินและใช้เงินกู้นอกงบประมาณ  เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจแก่พวกพ้อง

ใช้เงินจ้างวานให้เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ เช่นการพยายามวิ่งเต้นติดสินบนในวงการศาล เป็นต้น

ทำให้รัฐบาลมีอำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระ และตัวบุคคลในองค์กรอิสระไปโดยปริยาย เช่นเดียวกับการซื้อเสียงเพื่อให้ผ่านการเลือกตั้งกลับเข้ามาได้ใหม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 22:07 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 27-10-2007, 22:03 »

ต้องติดตาม "พรบ. องค์กรสภาชุมชน" ด้วยครับ อำนาจหน้าที่ คล้าย ๆ สภาที่ปรึกษาฯระดับชาติ

ตอนนี้ผมไม่ทราบทำไปถึงใหน...ข่าวว่าร่างนั้น แก้กันหลายครั้ง เพราะถูกคัดค้านจากมหาดไทย


อารีย์กระเด็นไปแล้ว แต่ปัญญาของมหาดไทยและสตช. ยังคงอยู่ครับ

การเมืองระดับชาติเองก็ยังคงไว้ใจไม่ได้ เพราะกรรมาธิการยกร่าง เขียนได้แต่รัฐธรรมนูญเฉพาะหน้า ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมือง

ตลอดจนรูปแบบการหาผลประโยชน์จากการเมืองของนักการเมืองเลวๆทั้งหลายยังไม่เปลี่ยน พูดง่ายๆ ยังไม่มีคนใหม่ๆมากนัก

และนักการเมืองก็ยังไม่ได้เปลี่ยนนิสัยสันดานได้ในเวลาอันใกล้ จากสภาพแวดล้อมและระบบปัจจุบัน ต้องดูว่าผลการเลือกตั้งและการทำงานของผู้แทนและรัฐบาลชุดใหม่เป็นที่พอใจ

ในระดับประเทศโดยภาพรวมหรือไม่?
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 27-10-2007, 22:19 »


ถ้าพูดถึงโครงสร้างต่างๆทางอำนาจหน้าที่ และสิทธิต่างๆ คงต้องว่ากันที่รัฐธรรมนูญ

ส่วนการพัฒนาตามกรอบกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร การออกกฎหมายปรับปรุงกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

ไม่ควรปะปนและก้าวก่ายกันโดยไม่จำเป็น รัฐสภามีหน้าที่ยับยั้งและซักฟอกการทำงานของฝ่ายบริหารโดยตรง ก่อนที่จะส่งเรื่องให้องค์กรอิสระต่างๆ

ส่วนการเมืองทางตรงของประชาชน ก็คือการเข้าชื่อต่างๆตามกลไก หากเป็นเรื่องท้องถิ่นก็เข้าชื่อตามกฎหมายส่วนท้องถิ่นครับ

การประท้วงหรือขับไล่จากจำนวนคนมากๆก็จะไม่มี หากกลไกต่างๆทำงานตามปกติ มีความยุติธรรมและเจริญก้าวหน้า สวัสดิภาพและมาตรฐานชีวิตที่ดีทัดเทียมประเทศต่างๆ และมีความสุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2007, 22:43 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Gamobank
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #31 เมื่อ: 27-10-2007, 22:48 »

ทฤษฏีกับภาคปฏิบัติทางการเมืองของไทยมักสวนทางกับตรรกกะที่ควรจะเป็น




เพราะระบบอุปถัมภ์ที่ฝังลึกมานาน



กอรปกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมยังน้อยมาก



รัฐบาลที่ผ่านมายังไม่เคยพยายามยกระดับจิตสำนึกของคนไทย



เพื่อส่วนรวมอย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นระบบ



ผลที่ได้ก็คืออย่างที่เห็นรัฐบาลที่อ่อนแอกับวงจรอุบาทว์ที่ไม่สิ้นสุด
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 27-10-2007, 22:54 »

หากการวางแผนการพัฒนาของภาครัฐได้ผล การควบคุมการเงินดี

ก็จะสามารถมีการบริการที่ดีแก่ประชาชน มีรัฐสวัสดิการที่ดีแก่ประชาชน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนกลับมาที คุณภาพครอบครัว คุณภาพคนคุณภาพการศึกษา การคิดและสติปัญญา ลักษณะนิสัยต่างๆ

คุณภาพเทคโนโลยีที่สูงขึ้น คุณภาพกิจการเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่ดีขึ้น

เมื่อมีความพอเพียง พึ่งตนเองได้ทุกภาคส่วน มีภูมิคุ้มกันสูงทางสังคมและเศรษฐกิจ และการเมือง

ก็จะเข้าสูวงจรวิวัฒน์ซึ่งเป็นวงจรขาขึ้นสม่ำเสมอได้ในที่สุด
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 27-10-2007, 23:03 »

ทฤษฏีกับภาคปฏิบัติทางการเมืองของไทยมักสวนทางกับตรรกกะที่ควรจะเป็น



เพราะระบบอุปถัมภ์ที่ฝังลึกมานาน


กอรปกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมยังน้อยมาก


รัฐบาลที่ผ่านมายังไม่เคยพยายามยกระดับจิตสำนึกของคนไทย


เพื่อส่วนรวมอย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นระบบ


ผลที่ได้ก็คืออย่างที่เห็นรัฐบาลที่อ่อนแอกับวงจรอุบาทว์ที่ไม่สิ้นสุด



แก้ไขด้วยการจัดระบบและหมั่นกระตุ้น

ตลอดจนการบังคับตามกฎหมาย อาจมีการจูงใจและลงโทษตามความเหมาะสม

ระบบบันทึกข้อมูลทั่วไปต้องสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องละเอียดมากจนเกินไปในเบื่องต้น

อุตสาหกรรมซอฟแวร์ต้องพัฒนาต่อไป ควบคู่กับการพัฒนานานักคิดสังเคราห์ระบบที่ฉลาละเอียดอ่อนมากขึ้น

รัฐบาลหรือผู้บริหารต้องมีคุณภาพมีทักษณะในการพัฒนาระบบและคนสูงๆครับ ไม่ใช่โกงตบตาชาวบ้านแบบนักมายากล
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 27-10-2007, 23:50 »



กล่าวโดยสรุป คือแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพื่อ

จัดระเบียบอำนาจทางการเมืองจากการเลือกตั้งให้อยู่ในขอบเขตที่มุ่งการทำงานให้ได้ผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

แยกหน่วยงานวางแผนออกมาให้ชัดเจนเป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจในการจัดทำแผนระยะยาวที่ ฝ่าบบริหารและนิติบัญญัติต้องปฎิบัติตาม

เนื่องจากมีการะบุไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ ฉบับต่อไป..


หากท่านสื่อสารมวลชน นักกฎหมายมหาชนรายใดห็นดีด้วยจะนำไปต่อยอด ข้าพเจ้ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
 
บันทึกการเข้า

Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #35 เมื่อ: 28-10-2007, 15:08 »

ผมคิดว่า
๑ ในฐานะผมเป็นประชาชน ผมจะเลือกคนดีเพื่อส่งเสริม"คนดี"ในท้องถิ่นตนให้เข้าไปเป็นตัวแทนทุกระดับ
๒.นักวิชาการต้องรวมตัวกันสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองที่ชัดเจน...ไม่แบ่งฝ่าย สถาบัน เป็นหนึ่งเดียว
๓.ชาวบ้านต้องเลือกอ่าน ฟัง วิเคราะห์จากสื่อมวลชนมาปรับใช้ บอกกล่าว ชุมชน สังคมเรื่องการเมืองได้
เริ่มต้นที่ตัวเราครับ
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 28-10-2007, 22:47 »

ผมคิดว่า
๑ ในฐานะผมเป็นประชาชน ผมจะเลือกคนดีเพื่อส่งเสริม"คนดี"ในท้องถิ่นตนให้เข้าไปเป็นตัวแทนทุกระดับ
๒.นักวิชาการต้องรวมตัวกันสร้างองค์ความรู้ทางการเมืองที่ชัดเจน...ไม่แบ่งฝ่าย สถาบัน เป็นหนึ่งเดียว
๓.ชาวบ้านต้องเลือกอ่าน ฟัง วิเคราะห์จากสื่อมวลชนมาปรับใช้ บอกกล่าว ชุมชน สังคมเรื่องการเมืองได้
เริ่มต้นที่ตัวเราครับ


คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี สังคมไทยต้องการคนแบบนี้

อย่างไรก็ตามการเมืองในอีกด้านหนึ่งนั้นสกปรก และเห็นแก่ตัว

คนที่เติบโตมาในหมู่สังคมที่สภาพแวดล้อมเลว ส่วนใหญ่จึงไปไม่ได้ไกลจากสิ่งที่เคยเป็นกันมา

เหมือนอยู่ในบ่อโคลน ทีเปรอะเปื้อนจนมองไม่เห็นสีเนื้อเดิม การทำงานโดยกระโดดลงไปคลุกโคลนยิ่งต้องใช้ความระมัดระวัง

อย่าให้โคลนสกปรกกัดกินผิวหนัง จนลุกลามกลายเป็นเนื้อร้าย


ทุกคน ต้องมีเวลาอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและจิตใจบ้าง..

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 28-10-2007, 23:06 »


 




ทัศนคติส่วนตัวที่ผมสังเกตเห็นคือ

นักการเมืองรายใหญ่ของไทย ที่มีตำแหน่ง

ส่วนใหญ่พังเพราะหลังบ้านทั้งนั้น

จะมียกเว้นก็พวกที่หลังบ้านไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

หรือต่างคนต่างยุติบทบาททางการเมืองไปก่อน

บันทึกการเข้า

cafein
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96



« ตอบ #38 เมื่อ: 29-10-2007, 00:32 »

ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับสังคมไทยหรอกครับ ออกจะเป็นสิ่งที่ดีและควรรักษาไว้ด้วยซ้ำไป
ที่น่ารังเกียจคือผู้ที่อยุ่ในระบบอุปถัมภ์ที่แยกแยะไม่ออกว่า หน้าที่ต่อประเทศชาติต่อสังคมส่วนรวม ต้องมาก่อนระบบอุปถัมภ์ในวงแคบๆของเขามากกว่า
ผมรังเกียจพวกนักวิชาการที่ชอบโยนว่าระบบอุปถัมป์เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเสียจริงๆ ทั้งๆที่ความเป็นจริงมันคือความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อสังคมและประเทศชาติมากกว่า
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 29-10-2007, 00:59 »



ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับสังคมไทยหรอกครับ ออกจะเป็นสิ่งที่ดีและควรรักษาไว้ด้วยซ้ำไป
ที่น่ารังเกียจคือผู้ที่อยุ่ในระบบอุปถัมภ์ที่แยกแยะไม่ออกว่า หน้าที่ต่อประเทศชาติต่อสังคมส่วนรวม ต้องมาก่อนระบบอุปถัมภ์ในวงแคบๆของเขามากกว่า
ผมรังเกียจพวกนักวิชาการที่ชอบโยนว่าระบบอุปถัมป์เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเสียจริงๆ ทั้งๆที่ความเป็นจริงมันคือความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อสังคมและประเทศชาติมากกว่า


คุณคงต้องขยายความมากหน่อย

อย่างพ่อแม่รังแกฉัน ไปจนถึงการก้าวก่ายหน้าที่ทางสังคมนั้น มันเป็นการโยงใย และแพร่เชื้อปัญหา ต้องแยกแยะตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

สังคมที่หนาแน่น ในเมือง การติดต่อสื่อสารดี  เสถียรภาพคือสิ่งที่ควบคุมได้ยาก รวมทั้งการวางตัว การตัดสินใจทำอะไรในฐานะของความสัมพันธ์ต่างๆ ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ ฯลฯ
บันทึกการเข้า

cafein
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96



« ตอบ #40 เมื่อ: 29-10-2007, 02:04 »


คุณคงต้องขยายความมากหน่อย

อย่างพ่อแม่รังแกฉัน ไปจนถึงการก้าวก่ายหน้าที่ทางสังคมนั้น มันเป็นการโยงใย และแพร่เชื้อปัญหา ต้องแยกแยะตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

สังคมที่หนาแน่น ในเมือง การติดต่อสื่อสารดี  เสถียรภาพคือสิ่งที่ควบคุมได้ยาก รวมทั้งการวางตัว การตัดสินใจทำอะไรในฐานะของความสัมพันธ์ต่างๆ ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ ฯลฯ


กรณีหนูเอมคงจะยกมาอันนี้ได้เช่นเดียวกัน และคำตอบก็คือในทำนองเดียวกัน
คือความรับผิดชอบและหน้าที่ต่อส่วนรวมเป็นสิ่งที่สมควรต้องมาก่อน ไม่ใช่การมาอ้างหน้าที่เสมือนลูกกตัญญูให้สังคมเห็นใจ
ในประเทศประชาธิปไตยจ๊ะจ๋าอย่างอเมริกา สิ่งที่เขาขาดอย่างมากมายก็คือระบบอุปถัมภ์นี่แหละครับ ปัญหาของผู้สูงอายุของเขาจึงมีมาก
ยังไม่รวมถึงความผูกพันของพนักงานที่มีต่อที่ทำนที่ตนเองได้ทำมาระยะเวลายาวนาน แล้วมีเหตุต้องออกจากงานด้วยเหตุผลบางประการอาทิเช่นการลดค่าใช้จ่าย หรือจะเป็นความผิดพลาดอะไรก็ตามทีเถอะ
รวมไปถึงปัญหาครอบครัวต่างๆความอบอุ่นบรรยากาศของการมีชีวิตที่มิใช่เสมือนเพียงแค่เครื่องจักรกลทางเศรษฐกิจ

ถ้าจะว่าโดยรวมๆผมว่าระบบอุปถัมภ์ของไทยเป็นระบบที่มีเสน่ห์ เพียงแต่ว่าต้องใช้อย่างมีเหตุผลที่ดีต่อสังคมและส่วนรวม
ซึ่งนี่แหละผมถึงว่าแท้จริงแล้ว มันเป็นความรับผิดชอบของบุคคลหนึ่งที่มีต่อสังคมในแต่ละมิติ โดยยึดตามระด้บต่อส่วนรวมมาเป็นอันดับต้นๆ
ที่เป็นปัญหาก็คือบุคคลมักจะยึดคความรับผิดชอบโดยนับจากตัวเองและญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงคนรู้จัก แล้วค่อยถึงส่วนรวมและประเทศชาติมาเป็นอันดับท้ายๆ

ผมจึงสรุปว่าปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ตามที่เรามักจะได้ยิน แต่เป็นที่ความรับผิดชอบของบุคคลมากกว่า
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 29-10-2007, 02:26 »

กรณีหนูเอมคงจะยกมาอันนี้ได้เช่นเดียวกัน และคำตอบก็คือในทำนองเดียวกัน
คือความรับผิดชอบและหน้าที่ต่อส่วนรวมเป็นสิ่งที่สมควรต้องมาก่อน ไม่ใช่การมาอ้างหน้าที่เสมือนลูกกตัญญูให้สังคมเห็นใจ
ในประเทศประชาธิปไตยจ๊ะจ๋าอย่างอเมริกา สิ่งที่เขาขาดอย่างมากมายก็คือระบบอุปถัมภ์นี่แหละครับ ปัญหาของผู้สูงอายุของเขาจึงมีมาก
ยังไม่รวมถึงความผูกพันของพนักงานที่มีต่อที่ทำนที่ตนเองได้ทำมาระยะเวลายาวนาน แล้วมีเหตุต้องออกจากงานด้วยเหตุผลบางประการอาทิเช่นการลดค่าใช้จ่าย หรือจะเป็นความผิดพลาดอะไรก็ตามทีเถอะ
รวมไปถึงปัญหาครอบครัวต่างๆความอบอุ่นบรรยากาศของการมีชีวิตที่มิใช่เสมือนเพียงแค่เครื่องจักรกลทางเศรษฐกิจ

ถ้าจะว่าโดยรวมๆผมว่าระบบอุปถัมภ์ของไทยเป็นระบบที่มีเสน่ห์ เพียงแต่ว่าต้องใช้อย่างมีเหตุผลที่ดีต่อสังคมและส่วนรวม
ซึ่งนี่แหละผมถึงว่าแท้จริงแล้ว มันเป็นความรับผิดชอบของบุคคลหนึ่งที่มีต่อสังคมในแต่ละมิติ โดยยึดตามระด้บต่อส่วนรวมมาเป็นอันดับต้นๆ
ที่เป็นปัญหาก็คือบุคคลมักจะยึดคความรับผิดชอบโดยนับจากตัวเองและญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงคนรู้จัก แล้วค่อยถึงส่วนรวมและประเทศชาติมาเป็นอันดับท้ายๆ

ผมจึงสรุปว่าปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ตามที่เรามักจะได้ยิน แต่เป็นที่ความรับผิดชอบของบุคคลมากกว่า


ผมเข้าใจว่าคุณคิดถึงความผูกพันธ์ มีความกตัญญู ความใส่ใจ ความอบอุ่นของครอบครัว ความเอื้ออาทร มีน้ำใจต่อกันของสังคม

ส่วนการอุปถัมป์ที่เขาพูดถึงกันของเรา จะเป็นเรื่องขึ้นชื่อว่าพวกกันก็ไม่สนใจว่าอะไรถูกอะไรผิด ซึ่งไม่ดี

ของเราซับซ้อนเพราะมีอีกหลายอย่างที่ไม่ดี และเรามีพัฒนาการไปจนถึงขั้นสังคมสับสนในสีขาวและสีดำ คือมองทุกอย่างเป็นสีเทา ไม่เชื่อว่ามีสีขาวและดำ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-10-2007, 02:51 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 01-11-2007, 14:17 »


สิ่งซึ่งจะเสนอแนะต่อไปก็คือ

การตรวจสอบเหตุการณ์และเหตุผลทางการเมือง อย่างเป็นระบบเชิงรุก และอย่างเป็นธรรม

สิ่งนี้ไม่ใช่นามธรรม หากเราสามารถจัดระบบข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ให้ทันต่อการปั่นข่าวสร้างกระแสการเมืองไม่สร้างสรรค์ของผู้ใด คณะบุคคลใดๆก็ตาม

การกระทำผิดจะถูกจำกัดลงให้กระทำการด้วยความยากลำบาก และเสี่ยงต่อการถูกเปิดโปงถึงทีสุดและถูกจับกุมได้ง่ายเป็นอย่างมาก

สิ่งเหล่านี้ประชาชนต้องเรียกร้องให้มีการเปิดกว้างและจัดระเบียบของข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ  โดยราชการและรัฐบาลจะต้องนำร่องสร้างตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-11-2007, 14:28 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 01-11-2007, 16:47 »


แหม ถ้าผมจะก้าวหน้าสักหน่อย จะเสนอให้

นายกฯและครม.ทุกท่านต่อจากนี้ไป ก่อนเข้ารับตำแหน่งแต่ละสมัย

ให้เขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้า โดยระบุเงือนไขและเวลาที่ตนเองจะลาออกไว้ชัดเจน

มอบให้ไว้กับศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กร...

แบบนี้ฝ่ายบริหารก็โปร่งใส นายกฯและคณะจะเข้มแข็งทำงานงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีใครเอาผิดได้..

ความนิยมก็จะมาจากแผนงานและผลงานอย่างแท้จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-11-2007, 18:01 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 01-11-2007, 18:09 »


แต่ถ้าหากโกง หรือไม่ทำงาน บางทีก็แกว่งปากไปวันๆ

ก็คงเอาตัวไม่รอด  ถึงแม้ใช้ประชานิยม มันก็ได้ผลช่วงสั้นแค่ครั้งเดียว

เพราะคนไม่ได้เชื่อแบบแยกส่วน เขาช่างน้ำหนักจากภาพรวม

ที่สับสนกัน เพราะมีผู้พยายามปั่นกระแสเบี่ยงประเด็น เพื่อให้สาธารณชนโฟกัสและใช้ดุลยพินิจ

วินิจฉันนโยบายและผลของนโยบายผิดพลาดจากความเป็นจริง..ทำให้ได้รับความรู้ที่ผิดๆไปจากสังคมกันเอง


ตรงนี้สาวกเว็บบอร์ดการเมืองเก่าแก่จะต้องถามตัวเอง และบางท่านอาจจะตอบได้ดี จึงได้ถอนตัวออกมา..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-11-2007, 02:03 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 02-11-2007, 02:13 »



สังคมการเมืองไทยประนีประนอมไม่ถูกเรื่อง เอาจริงเอาจังไม่ถูกเรื่อง

ทำไม? ก็เพราะขาดความรู้ลึกที่ผ่านการใคร่ครวญด้วยสติปัญญาตนเอง

มักใช้ความรู้สำเร็จรูปในการยกขึ้นอ้างโดยขาดความเข้าใจลึกซึ่งในแต่ละเรื่องที่ต่อสู้ทางความคิด

ที่สำคัญขาดการรับฟังอย่างแท้จริง มีลักษณะเหมือนผีเจาะปากให้พูด ถือเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง

การสื่อสารทางการเมืองที่ดีต้องสลับการใช้ภาษาให้ตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ และตัวสารก็สำคัญ

มิฉะนั้น ผู้ส่งและผู้รับจะไม่ได้รับประโยชน์เลย เสียเวลาและทรัพยากรทั้งสองฝ่าย


ส่วนเทคนิคของสือสารมวลชนที่ดีนั้น ต้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น ในการส่งสารที่ดีให้ถึงมือผู้รับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

แต่หลักการนั้นก็ไม่ต่างกันจากกรณีทั่วไป
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 07-11-2007, 13:04 »



ย้อนกลับมาดู สังคมไทยส่วนใหญ่ เราจะเห็นปัญหาหลัก

คือระเบียบวินัย ที่ขาดไปแบบเป็นธรรมชาติ

ไม่มีทางเลือกสังคมเราขาดพลังงานของตนเอง

เราจำเป็นต้องเปิดรับโลกาภิวัฒน์

การรวมศูนย์ด้วยวิธีง่ายๆ ดั้งเดิมกำลังแตกกระจายและใช้ไม่ได้ผล

ว่าไปแล้ว  ก็คงต้องกลับมาฝากความหวังกับนักพัฒนาเท่านั้น

การพัฒนา ต้องพัฒนาในระดับลึก ซึ่งก็คือ ความเชื่อพื้นฐานของคนไทย..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 07-11-2007, 13:49 »


ขอโยงกระทู้อีกครั้งครับ


ใครมีส่วนแบ่งในวงการ หากินกับความเชื่อของคนไทยบ้าง..  (อ่าน 316 ครั้ง)
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 20-11-2007, 19:00 »


กลุ่มทุนต้องเข้าใจว่า การผูกขาดทางการเมืองเป็นการเพิ่มต้นทุนตนเอง

ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับทุนข้ามชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

เป็นการทำลายประเทศระยะยาวทางอ้อม 

ทางที่ดี กลุ่มทุนต้องช่วยกันเปิดโปงกลุ่มทุนที่สนับสนุนนักการเมืองให้เข้าสู่สภาอย่างผิดกฎหมายเลือกตั้ง



คำถามของผมคือ แต่ละพรรคการเมือง มีองค์กรใดเป็นกลุ่มทุนเพื่อการเลือกตั้งบ้าง..

ตรงนี้กกต. สมควรตรวจสอบการเงินและการหาเสียงของแต่ละพรรคด้วยว่าได้จ่ายเงินหรือเอื้อประโยชน์อะไรให้กับผู้สมัครสส.แต่ละรายในการแข่งขันหรือไม่?

กฎหมายหรือนโยบายใดบ้างที่ออกมารับใช้กลุ่มทุนที่สนับสนุน? ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในระยะสั้นและระยะกลาง..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2007, 19:11 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 21-11-2007, 03:59 »




สยอง! เสือโคร่งไซบีเรียหิวโซรุมกินโต๊ะพวกเดียวกัน
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2550 17:19 น.
 
 

   
 
 
   
เหยื่อเสือโหย
 
  เอเจนซี – เกิดเหตุสลดเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเจ้าหน้าที่สวนสัตว์เอกชน “ปิงชวนปาร์ค” ในเมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน พบภาพเสือโคร่งไซบีเรีย 4 ตัว กำลังรุมกินโต๊ะจีนเพื่อนเสือวัย 12 ปี ที่อยู่ร่วมกรงกันมานานถึง 5 ปี อย่างเอร็ดอร่อย
       
       หลี่เหวินซุ่ย รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการสวนสัตว์แห่งนี้ เปิดเผยว่า “เมื่อตอนที่เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ไปถึงก็พบเสือทั้ง 4 ตัว กำลังกินซากของเสือเคราะห์ร้ายอยู่เลย ผมรู้สึกตกใจมาก เสือทั้ง 5 ตัวอายุเท่ากัน และอยู่ร่วมกันมานานถึง 5 ปี เหตุการณ์เสือกินเสือแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นที่นี่มาก่อน”
       
       ขณะที่ หลิงเซี่ยตัน หญิงสาวผู้เข้าชมสวนสัตว์และเห็นเหตุการณ์ เล่าว่า “ฉันเห็นเสือนอนตายจมกองเลือดอยู่ ขาและหูซ้ายของมันถูกกระชากออกไปแล้ว แทบไม่อยากเชื่อเลยว่าจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นถ้าไม่เห็นด้วยตาตัวเอง”
       
       ส่วนสาเหตุของเรื่องสลดครั้งนี้นั้น หลี่ เชื่อว่า มาจากปัญหาเรื่องวิกฤตการเงินของสวนสัตว์ เขาเล่าว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาทางสวนสัตว์ประสบปัญหาด้านการเงิน จึงไม่สามารถจัดหาอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของเสือได้ “เสือที่โตเต็มวัยแล้วจะกินเนื้อประมาณวันละ 20 ปอนด์ (9 กิโลกรัม) แต่เสือที่นี่ต้องแย่งกินไก่เพียงตัวเดียวเพื่อประทังความหิวต่อวันหรือบางทีก็วันเว้นวัน”
       
       ด้าน ฟั่นจื้อหยง ผู้อำนวยการโครงการพันธุ์สัตว์จากกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) กล่าวตำหนิการบริหารจัดการของสวนสัตว์ ว่า “โศกนาฏกรรมเสือกินเสือกันด้วยกันเองแบบนี้ผมไม่เคยได้ยินมาก่อน เรื่องนี้แทบไม่เคยเกิดขึ้นในป่า เห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหาของการบริหารจัดการสวนสัตว์”
       
       ปัจจุบันสวนสัตว์ปิงชวนปาร์ค มีสัตว์อยู่ในครอบครองทั้งสิ้น 2,000 ตัว ในจำนวนนี้รวมไปถึงสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 300 ตัว มีทั้งเสือขาว เสือดาว และช้างเอเชีย ซึ่งรายได้เพียงทางเดียวของสวนสัตว์ได้มาจากค่าเข้าชม และในช่วงอากาศหนาวเย็นเช่นนี้เป็นเหตุให้ผู้มาเยี่ยมชมบางตาลงไปมาก หลี่ กล่าว
       
       “ในช่วงหน้าหนาวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนนั้นหนาวเหน็บมาก ไม่มีใครต้องการออกจากบ้าน หรือแม้แต่มาเที่ยวสวนสัตว์ ดังนั้นแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีผู้เข้าชมเลยในช่วงนี้” หลี่ ให้สัมภาษณ์
       
       เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นข่าวท้าทายความพยายามของจีนในการรักษาจำนวนประชากรเสือที่หายากนี้ โดยปัจจุบันเชื่อกันว่า มีเสือโคร่งไซบีเรีย ซึ่งเป็นเสือโคร่งพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหลืออยู่ในป่าจีนไม่ถึง 50 ตัว อีกประมาณ 5,000 ตัว ถูกเลี้ยงไว้ในฟาร์มและสวนสัตว์ป่า ซึ่งมักจะประสบปัญหาเรื่องการจัดที่อยู่อาศัยและอาหาร
       
       ผู้จัดการของสวนเสือหูหลิงหยวน ในเมืองตงเป่ย มณฑลเฮยหลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเสือทั้งสิ้น 800 ตัว กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเงินทองของสวนสัตว์ต่างๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เสือตายทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และไม่ธรรมชาติ ผู้จัดการเผลอแย้มพลายข้อมูลมาว่า ทางสวนเสือได้มีการแช่แข็งซากเสือกว่า 200 ซาก แต่ปฏิเสธจะให้รายละเอียดสาเหตุการตายและเหตุผลที่เก็บรักษาร่างของพวกมันไว้ อีกทั้งยังไม่ยอมเปิดเผยชื่อ โดยให้เหตุผลว่าเขาไม่ได้รับอนุญาตให้คุยกับนักข่าว
       
       ด้าน เจฟ เหอ ผู้จัดการด้านการสื่อสารขององค์กรคุ้มครองสัตว์นานาชาติประจำประเทศจีน กล่าวว่า สวนเสือกำลังใช้เหตุการณ์นี้กดดันรัฐบาลให้ยกเลิกการห้ามการค้าอวัยวะเสือ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำยาจีนโบราณ ที่กำหนดเมื่อปี 1993
       
       อย่างไรก็ตาม เหอ เสนอว่า “ผมเชื่อว่า หากบรรดาสวนสัตว์ป่าเหล่านี้ไม่สามารถเลี้ยงเสือจำนวนมากได้ ทางที่ดีคือการหาวิธีควบคุมสวนสัตว์เหล่านี้อย่างจริงๆ จังๆ จะได้ไม่เกิดเรื่องเศร้าแบบนี้อีก”
 
 
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: