ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 20:13
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==กกต.เคาะส.ส.สัดส่วน"แบบ1" อ้างมี21พรรคการเมืองหนุน== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==กกต.เคาะส.ส.สัดส่วน"แบบ1" อ้างมี21พรรคการเมืองหนุน==  (อ่าน 1892 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 18-10-2007, 09:24 »

การแบ่งเขตเลือกตั้ง สส.ปาร์ตี้ลิส ออกมาแล้วครับ เขาว่างานนี้ไม่ถูกใจพลังประชาชนเท่าไหร่ 

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0106171050&day=2007-10-17&sectionid=0101

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กกต.เคาะส.ส.สัดส่วน"แบบ1" อ้างมี21พรรคการเมืองหนุน

ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อบ่ายวันที่ 16 ตุลาคม ที่อาคารศรีจุลทรัพย์ มีมติเอกฉันท์เลือกการแบ่งเขต ส.ส.
แบบสัดส่วนแบบที่ 1 โดยนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่ประชุม กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก
แบบที่ 1 นี้ หลังจากสอบถามความเห็น แล้วพรรคการเมืองเห็นชอบมากที่สุด 21 พรรค ที่เห็นของกับรูปแบบที่ 1 ประกอบด้วย

1.พรรคไทเป็นไท 2.พรรคประชากรไทย 3.พรรคประชาราช 4.พรรคประชาธิปัตย์ 5.พรรคธรรมชาติไทย 6.พรรคประชาชาติไทย
7.พรรครักษ์ไทย 8.พรรคดุลยภาพแห่งประเทศไทย 9.พรรคชีวิตที่ดีกว่า 10.พรรคประชามติ 11.พรรคนำวิถี 12.พรรคแรงงาน
13.พรรคสหธรรม 14.พรรคอยู่ดีมีสุข 15.พรรคทางเลือกใหม่ 16.พรรคความหวังใหม่ 17.พรรคพลังแผ่นดิน 18.พรรคมัชฌิมา
19.พรรคจงมีสยาม 20.พรรคเพื่อนเกษตรไทย และ 21.พรรคเกษตรกรไทย

"เหตุที่ กกต.เห็นว่าแบบที่ 1 มีความเหมาะสม เนื่องจากมีพรรคการเมืองเห็นชอบมากที่สุด และถือว่าแบ่งสัดส่วนจำนวนประชากร
ใกล้เคียงกันมากที่สุดและใกล้หลักเกณฑ์ที่สุด หลังจากนี้ กกต.จะนำประกาศนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้
ในทันที อีกทั้งภายหลังมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งก็จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง" นายประพันธ์กล่าว

นอกจากนี้ กกต.ยังมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง คือ ร่างระเบียบ กกต.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการลงคะแนน การจับเบอร์ของผู้สมัคร ส.ส.เขต และ ส.ส.สัดส่วน ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขต กรรมการการเลือกตั้งประจำเขต ร่างระเบียบค่าตอบแทนกรรมการ
ประจำเขต ซึ่ง กกต.จะนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ส่วนการพิจารณาแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. 157 เขตที่ และต้องแบ่งใหม่ 45 จังหวัดนั้น ขณะนี้ กกต.จังหวัดได้ส่งมาแล้ว ดังนั้น กกต.จะทยอยพิจารณาและประกาศให้ทราบต่อไป

นายประพันธ์กล่าวถึงการกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งว่า ขณะนี้ต้องรอดูว่าร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด แต่คาดว่าวันสมัครรับเลือกตั้งน่าจะเป็นช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่ง กกต.และที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเห็นว่าการกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องอยู่ในช่วงระยะเวลา 30 วันก่อนวันเลือกตั้ง แม้บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ที่จะมีสิทธิสมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วัน จนถึงวันเลือกตั้ง เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องคุณสมบัติ แต่การประกาศรับสมัครเป็นหน้าที่ของ กกต.และที่ปรึกษา ก็มองว่าไม่น่าจะนำเรื่องนี้มาฟ้องร้องจนเกิดปัญหาในอนาคตได้

อนึ่ง รูปแบบของการแบ่ง ส.ส.สัดส่วนแบบที่ 1 จะมีการแบ่งพื้นที่ ส.ส.แบบสัดส่วนออกเป็น 8 เขต คำนวณจากประชากร
ทั้งประเทศ 62,828,706 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีประชากรเฉลี่ย กลุ่มละ 7,853,589 คน



โดยกลุ่มที่ 1 มีประชากรทั้งสิ้น 7,615,610 คน ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด ประกอบด้วย แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่
พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร

กลุ่มที่ 2 มีประชากรทั้งสิ้น 7,897,563 คน ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์
อุทัยธานี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และขอนแก่น

กลุ่มที่ 3 มีประชากร 7,959,163 คน ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม สกลนคร
กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู และเลย, กลุ่มที่ 4 มีประชากร 7,992,434 คน ครอบคลุมพื้นที่
6 จังหวัด ประกอบด้วย บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร และร้อยเอ็ด

กลุ่มที่ 5 มีประชากร 7,818,710 คน ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย สระแก้ว นครราชสีมา ปทุมธานี นครนายก
ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด, กลุ่มที่ 6 มีประชากร 7,802,639 คน ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด
ประกอบด้วย กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ

กลุ่มที่ 7 มีประชากร 7,800,965 คน ครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัด ประกอบด้วย ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี
สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี

และกลุ่มที่ 8 มีประชากร 7,941,622 คน ครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล สงขลา
พัทลุง ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และพังงา
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 18-10-2007, 09:28 »

อันนี้ คมชัดลึก วิเคราะห์ฐานเสียงในแต่ละเขตปาร์ตี้ลิสครับ

http://news.sanook.com/politic/politic_195008.php
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประเทศของเรากำหนดเลือกตั้ง50-พปช.อ่วมสัดส่วนปาร์ตี้ลิสต์ จับตาดาบสองสนธิ คุมซื้อเสียง
โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 03:17 น.

   ในที่สุดคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้มีมติเลือกรูปแบบแบ่งเขต ส.ส.สัดส่วน แบบที่ 1
โดยอ้างว่ามีพรรคการเมืองเห็นชอบมากที่สุด กว่า 21 พรรค อาทิ พรรคประชาราช พรรคประชาธิปัตย์
ประชามติ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคจงมีสยาม

ขณะที่พรรคชาติไทย เลือกแบบที่3 และแบบที่5

ส่วนพรรคพลังประชาชน เห็นด้วยกับแบบที่3

ตรงนี้แหละคือประเด็นเพราะเป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่ในการต่อสู้ เมื่อมีโอกาสเลือกก็ย่อมเลือกสนาม
ที่ตนเองถนัด หรือได้เปรียบคู่ต่อสู้

นี่ย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนในระดับหนึ่งแล้วว่าประชาธิปัตย์มีภาษีดีกว่าพลังประชาชน และชาติไทย

ถึงแม้ว่าพลังประชาชนจะมีอิทธิพลในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกจังหวัด
จะเป็นของพลังประชาชนทั้งหมด หาไม่แล้ว ทำไมพลังประชาชนถึงไม่เลือกแบบที่ 1

ทั้งนี้ในแบบที่ 1 นั้น ประกอบไปด้วย 8 กลุ่มจังหวัด เมื่อดูรายละเอียดแล้ว น่าเชื่อว่าจำนวน ส.ส.
บัญชีรายชื่อที่พรรคไทยรักไทยเคยได้นั้น จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจหวนคืนได้อีก

กลุ่มที่หนึ่งแม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร
กลุ่มนี้ มีหลายจังหวัดที่เป็นพื้นที่แย่งชิงทั้งกับพรรคประชาธิปัตย์ และกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
หรือกระทั่งมัชฌิมาธิปไตย

ยิ่งดูกลุ่มที่สอง ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะประกอบด้วย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี
เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และขอนแก่น ซึ่งชัดเจนว่า พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา น่าจะแบ่งสัดส่วนไปได้มากพอสมควร
เนื่องจากแน่นปึ้กที่นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี ส่วนขอนแก่นนั้น ยังต้องแบ่งเป็นหลายเสี้ยว

ส่วนประชาธิปัตย์มีส.ส.เดิมเป็นฐานอยู่แล้ว ที่ พิษณุโลก พิจิตร

กลุ่มที่สามอำนาจเจริญมุกดาหาร นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู
และเลย กลุ่มนี้เมื่อแต่ละพรรคเปิดตัว ก็จะเป็นว่า แทบไม่มีพื้นที่ใดที่ถือได้ว่าเป็นสิทธิขาดของแต่ละพรรค

อย่างไรก็ดีพลังประชาชน จะได้เปรียบในจังหวัดแถบที่ติดกับแม่น้ำโขงเกือบทั้งหมด

กลุ่มที่สี่บุรีรัมย์สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร และร้อยเอ็ด กลุ่มจังหวัดนี้ก็เช่นกัน แนวโน้มที่จะแบ่งคะแนนกัน
มีอยู่มาก โดยเฉพาะที่บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ โดยพลังประชาชนมีแต้มต่อเหนืออยู่เล็กน้อย

กลุ่มที่ห้าสระแก้วนครราชสีมา ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
กลุ่มนี้พรรคชาติไทยจะเป็นพรรคที่สร้างสีสัน แต่ก็มีบางจังหวัดที่เป็นพื้นที่ต่อสู้ เช่น จันทบุรี ระยอง และ จ.ตราด
ที่ประชาธิปัตย์ ก็คงจะไม่ยอมเสีย

ส่วนนครราชสีมานั้นน่าจะเป็นสนามที่น่าจับตาที่สุด เพราะกลุ่มลำตะคองของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่ย้ายมารวมกับ
รวมใจไทยฯ ประกาศแล้วว่า จะให้โคราชเป็นเมืองหลวงของรวมใจไทยฯ

กลุ่มที่หกกทม.นนทบุรี และสมุทรปราการ กลุ่มนี้น่าสนใจก็ตรงที่ กทม.นั้นคะแนนเสียงไม่อาจคาดคำนวณได้
ในเวลาอันใกล้นี้ ส่วน นนทบุรี และสมุทรปราการนั้น ถึงจะมีหลายก๊กหลายเหล่า แต่กลับไปกองอยู่ที่พลังประชาชน

กลุ่มที่เจ็ดระนองชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี
ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี กลุ่มจังหวัดนี้น่าจับตาที่ประชาธิปัตย์ รวมใจไทยฯ
โดยมีพลังประชาชนเป็นตัวสอดแทรก

กลุ่มที่แปด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และพังงา
กลุ่มนี้มองเผินๆ อาจไม่ต้องไปประเมินคะแนน แต่แท้จริงแล้ว ที่ จ.พังงา จะเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์อีกครั้งหลังจาก
ไทยรักไทยปักธงได้มาแล้ว

เมื่อดูปัจจัยพื้นที่โดยรวมแล้วน่าจะทำให้พลังประชาชนประชาธิปัตย์ ชาติไทย รวมใจไทยฯ มัชฌิมา เป็นพรรค
ที่น่าจะเก็บเกี่ยวเอาสัดส่วน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ติดไม้ติดมือไปได้

แต่ทั้งนี้ต้องดูปัจจัยอื่นอีกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในวันเดียวกันนี้ ครม.มีมติแต่งตั้ง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติ ว่าด้วยการรณรงค์ และแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง

จุดนี้แหละที่น่าจะเป็นจุดพลิกผันจุดสำคัญเพราะ พล.อ.สนธิ แย้มมาแล้วว่า มีแผนที่มากกว่าบันได 4 ขั้น ที่จะ
จัดการกับอำนาจเก่า

ส.ส.สัดส่วน8 โซน ตาม รธน.มาตรา 96

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่2550 กำหนดให้มี ส.ส. 480 คน โดยมาจาก ส.ส. 2 แบบ

1.มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน โดยแบ่งเขตให้มี ส.ส.ได้เขตละ 1-3 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
เลือกได้ไม่เกินจำนวน ส.ส.ที่มีอยู่ในเขตของตน บางเขตมี 1 บางเขตมี 2 และบางเขตมี 3 คน

2.มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน โดยแบ่งเขตเป็น 8 กลุ่มจังหวัด จังหวัดละ 10 คน พรรคการเมือง
ส่งผู้สมัครได้บัญชีละ 10 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกได้ 1 บัญชี

และกรณีส.ส.แบบสัดส่วน 80 คน 8 โซน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 96 ระบุว่า การกำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส.
แบบสัดส่วน ให้ดำเนินการดังนี้

1.ให้จัดแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยแต่ละ
เขตเลือกตั้งให้มีจำนวน ส.ส.ได้ 10 คน

2.การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัด ให้จัดกลุ่มจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน และในกลุ่มจังหวัด
ทุกกลุ่มต้องมีจำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
รวมกันแล้วใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยให้จังหวัดทั้งจังหวัดอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียว

ที่ผ่านมากกต.ได้ทดลองแบ่งเขตพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 8 เขตเลือกตั้ง โดยคำนวณจากประชากร
ทั้งประเทศ 62,828,706 คน และยึดแผนที่ประเทศไทยเป็นหลัก และส่งให้พรรคการเมืองพิจารณา
5-6 รูปแบบให้พิจารณา

และในที่สุดวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ประชุม กกต.ลงมติเห็นว่าแบบที่ 1 มีความเหมาะสม ซึ่งจะนำ
ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในทันที
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #2 เมื่อ: 18-10-2007, 09:44 »

 

อนิจจาการเมืองไทย "คิดได้ ทำไม่เป็น"
ไม่ใช่รูปแบบใหม่ไม่ดี แต่การปฏิบัติที่จะทำให้เห็นผลล้มเหลว

ฟันธง เลือกตั้ง 23 ธ.ค. "ไม่ล้มก็เหลวแน่ๆ"
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 18-10-2007, 09:46 »

ต้องชมคนคิดร่างรัฐธรรมนูญครับ

แบบซอยย่อยเป็น 8 เขตใหญ่ พรรคเล็ก ๆ มีโอกาสเกิดได้มากขึ้น

ผมมองว่า โอกาสของพรรคเล็ก ๆ ในกลุ่มจังหวัดย่อยสามารถใช้ คะแนนนิยมในตัวบุคคลได้มากขึ้น

อาจมองว่าช่วยพรรคเล็ก ก็เป็นไปได้ครับ

เพราะพรรคใหญ่นั้น มักจะมี สส.เขตเป็นตัวยืนอยู่แล้ว

ผมมองว่า สส.ปาร์ตี้ลิสต์ ลักษณะนี้ หากคนดีที่ไม่มีทุน แต่มีชื่อเสียง มีโอกาสติดกลุ่มได้ไม่ยาก

เพราะอาจติด 1 ใน 10 ได้ไม่ยาก เพราะ ประชาชน 1 คน เลือกได้เพียง 1 เบอร์

หากพรรคใหญ่จะกวาดหมดทั้ง 10 คน ในเขตนั้น ต้องแบ่งคะแนนจัดตั้งกระจายไปทั้ง 10 ผู้สมัครของตัวเอง

ซึ่งอาจไม่ได้ผลตามที่หวัง


หมายเหตุ...ผมนึกถึงคะแนนเสียงของพรรคมหาชน เมื่อคราวเลือกตั้ง 2548 ครับ
 ถ้าใช้ระบบนี้ พรรคมหาชนในครั้งนั้นน่าจะได้สส.พรรคไม่น้อย
บันทึกการเข้า

Anthony
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 296



« ตอบ #4 เมื่อ: 18-10-2007, 10:32 »

ผมมองตรงกันข้ามกับคุณ CanCan นะ

ผมไม่ค่อยชอบแบบสัดส่วนนี้สักเท่าไหร่ เพราะดูแล้วมันไม่ค่อยแตกต่างจากระบบเขตสักเท่าไหร่เลย และดูแล้วไม่ใช่เป็นการหาเสียงระดับชาติด้วย เป็นการเน้นเฉพาะกลุ่มมากเกินไปซึ่งผมมองว่า มันจะซ้ำซ้อนกับระบบเขตซึ่งเน้นเฉพาะบางกลุ่มอยู่แล้ว

ใจจริงผมอยากให้ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเหมือนเดิมมากกว่า แต่ลดเปอร์เซนต์ต่ำสุดจากร้อยละ 5 ให้เหลือร้อยละ 1 มากกว่า เพื่อช่วยพรรคเล็ก
บันทึกการเข้า

ขอต่อต้านสื่อชั่วอย่าง ไทยรัฐ โลกวันนี้ และประชาทรรศน์

คนไทยจะฉลาดขึ้นต้องเลิกบริโภคสื่อในเครือเหล่านี้ทั้งหมด
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 18-10-2007, 10:48 »

ครับ เพราะมันไม่ต่างจากระบบเขตนี่แหละครับที่ผมมองว่า เปิดโอกาสให้พรรคเล็ก ๆ มีโอกาสเกิด

ถ้าผู้สมัครในเขต 8 จังหวัด เด่นพอ และไม่ง้องบโฆษณาทางทีวี ที่แพงแสนแพง

หากค่าโฆษณาผ่านสื่อทางโทรทัศน์ยังแพงอยู่แบบนี้พรรคเล็ก ๆ ไม่มีทางอัดสื่อสู้เค้าได้ครับ

ดังนั้นระบบสส.พรรค 100 คน ตามแบบเก่า

โอกาสพรรคใหญ่ กระหน่ำโฆษณา มีโอกาสโน้มน้าวได้มาก

พรรคเล็ก ๆ ทางอีสาน ไม่มีทางได้คะแนนภาคใต้

พรรคใหญ่ ๆทางภาคใต้ กลับมีโอกาสทางภาคเหนือเป็นต้น

ผมลอง ๆ ให้เราคิดถึงพรรค NGO ( เช่นพรรคลุ่มน้ำมูล หรือพรรคสมัชชาคนจน หรือ พรรคต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือพรรคลุ่มน้ำอื่น ๆ รวมทั้ง NGO ต้านท่อแก๊ส หรือพวกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางภาคตะวันออก )

หากพรรคกรีน หรือไม่กรีน ในกลุ่มลุ่มน้ำ กลุ่มทรัพยากรบางจุด เช่นพวกต้านเหมืองโปแต๊ส ก็อาจสร้างความนิยมในกลุ่มจังหวัดได้ไม่ยาก
เราต้องไม่ลืมว่า โดยระบบเก่า พรรคเล็ก ๆ ที่เป็นกลุ่มคนเล็กคนน้อย ที่ทำงานมาตลอดเวลาอันยาวนาน ไม่มีทางเกิดได้
ไม่มีทางแสดงบทบทในสภาได้เลย เว้นแต่ใช้พลังการเมืองนอกสภา

พวกอาจารย์มหาวิทยาลัย ปราชญ์ชาวบ้าน ประกบ NGO มีโอกาสเกิดได้ไม่ยากในระบบนี้

ยังไงก็ขอดูตอนผลออกมาละกันครับ...ผมอาจมองผิดก็ได้


ระบบเขต 2 คน 3 คน พรรคใหญ่เอาไปกินหมดครับ ทั้งๆ ที่แต่ละเขตจะมีคนสมัคร 20-30 คนก็เถอะ
คะแนนจัดตั้ง เอาหัวน้ำไปกินหมด เพราะอิทธิพลพรรคใหญ่ ทั้งเงิน ทั้งโฆษณา
ผมมองแค่ว่า ลูกเมียนักการเมืองเก่าบางคน จะเอาความรู้ความสามารถ ไปสู้กับพวกเป็นครูบาอาจารย์ หรือพวกที่มีประสบการณ์สูงๆ ได้ยังไง
ดังนั้นระบบนี้เป็นโอกาสของคนดี ที่ไม่มีทุนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-10-2007, 11:01 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Anthony
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 296



« ตอบ #6 เมื่อ: 18-10-2007, 11:14 »

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าหากบางพื้นที่ที่ฐานเสียงพรรคการเมืองแข็งมากๆ เช่น ภาคใต้ ระบบนี้จะยิ่งทำให้พรรคเล็กสอดแทรกยากกว่าเดิมครับ

คะแนนคนภาคใต้ที่เลือกพรรคอื่นจะไม่มีความหมายเลย ถ้าใช้ระบบนี้ ในทางตรงข้ามถ้าใช้ระบบเดิม คะแนนคนภาคใต้ที่เลือกพรรคอื่นก็ยังมีความหมายเอาไปนับรวมกันได้
บันทึกการเข้า

ขอต่อต้านสื่อชั่วอย่าง ไทยรัฐ โลกวันนี้ และประชาทรรศน์

คนไทยจะฉลาดขึ้นต้องเลิกบริโภคสื่อในเครือเหล่านี้ทั้งหมด
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 18-10-2007, 11:37 »

ผมว่าไม่แน่นะครับ

ถ้าเกิดประชาชนใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ อยากได้ 2 พรรค เช่นทั้ง ปชป. และ กลุ่มวาห์ดะ
เค้าอาจจะตกลงกันได้ ในหมู่ประชาชน

หรือ หากพรรคชาติไทย ของคุณนิกร จำนง ไปลง ปาร์ตี้ลิสต์ตรงนั้น( ภาคใต้ )
คุณนิกร และสหายอีก 2-3 คน อาจสอดแทรกได้

หรือแม้แต่ พลังประชาชนหรือ ไทยรักไทยเก่า ก็มีโอกาสสอดแทรกเช่นกัน

ในความแข็งแกร่ง ย่อมต้องมีจุดอ่อน ในกำแพงหนาแน่น ควรมีช่องทางให้คนอ่อนกว่าบ้าง

และเช่นกัน...ในภาคเหนือที่เป็นเขตไทยรักไทยเก่า พรรค ปชป. อาจไปได้สส.ปาร์ตี้ลิสต์ตรงนั้นก็ได้
ถ้าผู้สมัครเด่นพอ...และสู้ในเขต 3 คน ปชป.ไม่มีทางสู้ได้

การเปิดช่องน้อยตรงนั้น คนดังๆ ในจังหวัดก็หนีไปลงปาร์ตี้ลิสต์ ก็มีสิทธิ์ติด 1 ใน 10 ก็เป็นได้

จะว่าไป การเปิดตัวผู้สมัคร 80 คน ของพรรคใหญ่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ว่าที่ สส.ที่พรรคเลือกมานั้น
มาโดยความรู้ความสามารถหรือมาจากการอุดหนุนพรรคหรือมาโดยความมีชื่อเสียงด้วยความรวยเพียงอย่างเดียว
หรือเป็น "นอมินี" ของนักธุรกิจ( ที่ไม่กล้าลงการเมือง )

การให้ สส. ปาร์ตี้ลิสต์ ต้องลงพื้นที่ ก็คือการให้ สส.ทุกคนต้องสัมผัสประชาชน
มิใช่ใส่เงินแล้วรอรับอานิสงค์จากชื่อเสียงพรรคแต่เพียงอย่างเดียว

เอาไว้เค้าประกาศรายชื่อ สส.ปาร์ตี้ลิสต์ครับ เรามาวิเคราะห์การจัดทัพ สส. อีกที
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: