ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 18:08
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... ** 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8
** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... **  (อ่าน 38545 ครั้ง)
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #50 เมื่อ: 15-10-2007, 23:20 »

พักดื่มน้ำปัสสาวะมา จะขอชี้แจงและโต้แย้งต่อครับ




อ้างถึง
รัฐธรรมนูญใหม่ กำหนดให้มีกฎหมายจริยธรรมนักการเมือง

หากกระทำผิดก็จะถูกถอดถอนได้ หรือหากผิดกฎหมายอื่น ก็จะต้องรับโทษทางอาญา

การตรวจสอบนั้น ทำได้ทั้งจากประชาชนเองหรือสมาชิกในองค์กรการเมืองนั้น ๆ

ตรงนี้เป็นแนวคิดแบบแก้ปัญหาเอาที่ปลายเหตุแล้วล่ะครับ  ผลร้ายของแนวคิดนี้ ให้ลองนึกถึงผลงานคุณทักษิณที่ทำไว้ครับ แน่ล่ะเราขับไล่เขาได้จริง แต่ประเทศต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ ถึงจะเยียวยาตัวเองได้ ความสามัคคีที่หายไปจะกลับมาเหมือนเดิมได้มั้ย

จริงๆ แล้วตอนนี้ คมมีดของคุณทักษิณยังคงกรีดเนื้อประเทศอยู่ด้วยซ้ำ


อ้างถึง
ผมคิดว่าคุณพาสเทลฯ กำลังสับสนในเรื่องของ "การจัดการทางเทคนิค" กับ "อำนาจในการเลือกทิศทางพัฒนา"

ถ้ามีความรู้มันมีวิธีจัดการได้ทุกเรื่องครับ แต่ทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมีทุนและทรัพยากรเพียงพอหรือไม่?

ในความเป็นจริง... ทุกประเทศในโลกไม่เคยมีเงินและทรัพยากรเพียงพอสำหรับ "ความต้องการ" ของคนทุกกลุ่ม (ไม่ว่าจะมองกลุ่มในแง่ของพื้นที่หรือวิชาชีพก็ตาม) คนกรุงเทพอาจต้องการพัฒนารถไฟฟ้า ทุกจังหวัดต้องการมหาวิทยาลัย บางแห่งต้องการสร้างเขื่อน ในพื้นที่เดียวกันก็อาจมีบางกลุ่มไม่ต้องการสร้างเขื่อน...

สำหรับทุกกลุ่มในสถานการณ์ขัดแย้งกันนั้น ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลความจำเป็นของตนทั้งสิ้น... เกณฑ์วัดใดให้ประโยชน์ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็สนับสนุนว่าเกณฑ์นั้นมีความยุติธรรม มีความถูกต้อง

ความขัดแย้งดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคหรือความรู้จะจัดการได้ง่ายๆ ... เราจึงต้องมีกลไก "การเมือง" เพื่อให้มี "อำนาจในการเลือกทิศทางการพัฒนา" ครับ

ในทางกลับกันก็มีอำนาจในการเลือกที่จะไม่พัฒนาด้วยครับ

และถ้าคุณเชื่อว่า นี่คือเสียงของคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเท่ากัน เหมือนกัน ดังนั้น คุณก็ต้องยอมรับในการที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนิยมทักษิณด้วยประชานิยมครับ แน่นอนว่าคุณมีสิทธิเผยแพร่ความชั่วของทักษิณและเข้าชื่อถอดถอนได้ แต่ก็ไม่ได้ปรากฏว่าคุณทำได้นี่ครับ การที่คุณสนับสนุนการโค่นล้มด้วยกำลังทหาร นั่นแปลว่า คุณก็ไม่ได้ศรัทธาในเสียงส่วนใหญ่ครับ

พูดถึงเรื่องกลไกในการจัดสรรทรัพยากร ก็ขอให้กลับไปดูตัวอย่างลูกซื้อไอติมครับ ให้เป็นรูปธรรมกว่านั้น ก็นโยบายประชานิยม จะเห็นได้ว่า การอาศัยเสียงคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก* ที่สำคัญ ไม่ได้มีตัวแบบหรือเหตุผลสนับสนุนเชิงทฤษฎีบอกเลยครับ ว่าทำตามเสียงส่วนใหญ่แล้วเผ่าพันธุ์จะไม่ชิบหาย (หรือถ้ามีรบกวนขอวิทยาทานด้วยครับ) สิ่งที่คุณเชื่อตอนนี้ เป็นแค่ "สำนักความเชื่อ" เท่านั้นล่ะครับ ว่าต้องมีคนมาจัดการการจัดสรรทรัพยากร โดยคนดังกล่าวมาจากเสียงส่วนใหญ่ แล้วจะดี

ตรงจุดนี้อาจแย้งว่า ตัวอย่างที่สำเร็จมีให้เห็นแล้วในประเทศพัฒนา ผมก็จะบอกว่า *นั่น* ประเทศพัฒนา *นี่* ประเทศไทย

ตรงนี้ผมกลับมาถามตัวเองว่า เราจำเป็นต้องมีคนกลางที่ได้รับการคัดเลือกมาจัดสรรทรัพยากรจริงหรือ ซึ่งด้วยความรู้ที่ผมมี ผมว่าอาจไม่จำเป็น ดูในเวทีประชาคมโลกเป็นตัวอย่าง เอาง่ายๆ ดูสหภาพยุโรป เขาให้คนทั้งยุโรปเลือกประธาน EU รึก็เปล่า แต่การตกลงงานต่างๆ เกิดขึ้นได้ โดยการอาศัยหลักการทางการจัดการความขัดแย้ง (เหมือนที่ผมกำหนดหลักการแบ่งกลุ่ม) ซึ่งทำให้ผู้นำทุกประเทศเห็นจริง และทำการประนีประนอมจัดสรรทรัพยากร (และการสูญทรัพยากร) กันได้ โดยไม่ต้องมีคนที่มีอำนาจสูงสุดมาจัดการ

ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ มีจริง พิสูจน์ได้ ถือเป็นกฏธรรมชาติ (ตราบใดที่ยังไม่มีทฤษฎีที่ดีกว่า) ไม่ได้ยกมาให้คาดหวัง หน้าที่ของเราคือ จัด "สภาพแวดล้อมของระบบ" ให้เข้ากับสมมติฐานของทฤษฎีให้ได้มากที่สุด

เพราะฉะนั้น ตราบใดที่คณะผู้แทนกลุ่มคมนาคมสนใจพัฒนาการคมนาคมของประเทศจริง เขาย่อมตัดสินใจได้ดี ว่าควรสร้างถนนในชนบทหรือรถไฟฟ้าก่อน (โดยการร่วมตัดสินใจของผู้แทนเกษตร อุตสหกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ) และด้วยตัวแบบที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด สำหรับทุกฝ่าย โดยไม่ต้องมีใครมากำหนดนโยบายเพียงเพื่อ "รักษาฐานเสียง"






บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #51 เมื่อ: 15-10-2007, 23:24 »

ถ้าผู้ชำนาญการ นำทรัพยากรมาใช้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตัวเอง

มันก็เข้าเค้า กลุ่มผลประโยชน์ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ใครมีเสียงดัง ใครมีพลังทางเศรษฐกิจคนนั้น-กลุ่มนั้นก็ได้เปรียบ


โน่วโน่ว ลองอ่านข้อโต้แย้งล่าสุดดูครับ ขออภัยด้วยที่ไม่ได้แจ้งว่ายังอธิบายไม่ครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #52 เมื่อ: 15-10-2007, 23:34 »



มองยังไง สภาผู้ชำนาญการ ก็คือ "ผู้แทน" อยู่ดี



ถูกครับ เป็นสภาผู้แทนแน่นอน

ถ้าไม่มีผู้แทน ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยสิครับ*

ประเด็นคือ ผู้แทนนี้ มีอำนาจแค่ไหน และอะไรที่เป็นตัวตัดสินการเข้ามา การดำรงอยู่ และการออกไป ของผู้แทน

ซึ่งในความคิดผม สิ่งที่เสนอไป น่าจะดีกว่าระบบที่ใช้่กันในปัจจุบัน ตามตรรกะในโพสต์บนๆๆ

ซึ่งยังไง ไม่น่าจะเลวร้ายกว่าในปัจจุบันครับ จุดที่เป็นปัญหา คือการบริหารและการแบ่งกลุ่มเท่านั้นเอง


ขอรีแคปอีกครั้ง ตอนนี้เรากำลังถกกันในเรื่อง ความจำเป็นของสภาผู้แทนแบบเก่า ใช่นะครับ

ผมเสนอไปแล้วว่า วิธีบริหารโดยไม่ต้องอาศัยรัฐบาลรวม น่าจะมี ดังที่ได้อธิบาย

คุณแคนแคนว่า ไม่น่าจะทำได้ ถ้าไม่ใช้สภาผู้แทนแบบเก่า ถ้าเช่นนั้น ทำไมครับ ขอเหตุผลเป็นรูปธรรม


*(ลืมบอกไปครับ ผมพิจารณาว่า วิธีการปกครองที่เสนอนี่ เป็นประชาธิปไตยนะครับ แต่เป็น ประชาธิปไตยตามหน้าที่ - Functionalistic democracy)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 23:38 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 15-10-2007, 23:58 »

ตกลงว่า จะยึดรูปแบบประชาธิปไตยนะครับ

ทีนี้ เราจะตรวจสอบ สภาผู้ชำนาญการอย่างไรครับ

การตรวจสอบและการลงโทษผู้แทน ไม่ใช่เรื่องปลายเหตุ แต่เป็นการถ่วงดุลธรรมดา ๆ

เพราะในสัญชาตญาณของมนุษย์ ย่อมหนีไม่พ้นความโลภ โกรธ หลง

ไม่เช่นนั้น สภาผู้ชำนาญการ คงเป็นผู้ละแล้วซึ่งกิเลส ยังงั้นหรือไม่


ถ้าหากไม่มีการควบคุมกาใช้อำนาจ ก็เหมือนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านไปเลือกตั้งแล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่นักการเมืองกระทำตามอำเภอใจ

เหมือนที่เค้าบอก ประชาธิปไตย 4 วินาที ในคูหาเลือกตั้ง
บันทึกการเข้า

พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #54 เมื่อ: 15-10-2007, 23:59 »

คุณพาสเทลฯ ครับ... ยังจำได้ไม๊ว่าในกระทู้นี้คุณเริ่มต้นแย้งผมด้วยประเด็น "การปลูกจิตสำนึก" เป็นไปไม่ได้ในสภาพแวดล้อมทางการเมืองปัจจุบัน... แต่โต้แย้งทีละประเด็นไปเรื่อยๆ สุดท้ายคุณก็หลุดประเด็น... เหมือนโต้แย้งผมแต่ที่จริงตอบเหมือนผมก็คือสรุปไปที่ การปลูกจิตสำนึกควรวิวัฒนาการไปพร้อมกับการพัฒนาระบบ

ถ้าคุณตอบผมแบบนี้... คุณก็กำลังหลุดประเด็นแบบนั้นอีก.. ขอให้ปักหลักให้มั่นคงนิดนึงครับ

สิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้น แย้งประเด็นแรกของคุณในเรื่อง "ไม่จำเป็นต้องมีนักการเมือง" ซึ่งระบบปัจจุบันใช้นักการเมืองที่ยึดโยงกับ "เสียงส่วนใหญ่" แต่ผมไม่ได้บอกสักคำว่าบูชากับระบบเสียงส่วนใหญ่นี้... แต่ผมอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันต่างหาก.. เรื่องเสียงส่วนใหญ่เป็นปัญหาใหญ่จุดหนึ่งของปัจจุบัน.. ถ้าคุณอ่านดีๆ จะเห็นว่าผมเน้นในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจ... ที่คุณเขียนแย้งผมมานั้น มันก็คือมุมมองเดียวกับผมนั้นแหละ

ที่ต่างกันก็ยังคงเป็นประเด็นเดิมคือ คุณคิดว่าไม่จำเป็นต้องมี "คนกลาง"... แต่คุณคงลืมไปกระมังว่า คุณพยายามผลักดัน "คนกลาง-สภาวิชาชีพ" และพยายามให้มันทำงานแทนคนกลางเดิมอยู่

กลับมาที่ปัญหาหัวใจกันเลยดีกว่าครับ...

คุณคิดว่าระบอบที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั้น ที่ว่า "เหมาะสม" คุณใช้อะไรวัด... มีเกณฑ์เดียวหรือไม่... ถ้ามีหลายเกณฑ์คุณจะเลือกได้อย่างไร?

ระบอบที่ "เหมาะสม" กับประเทศไทยนั้น มีคำตอบเดียว มีหลายคำตอบ หรือไม่มีคำตอบ... และคำตอบนั้นยั่งยืนหรือไม่? อีกร้อยปีหน้าตามันจะเหมือนเดิมไหม? แล้วเมื่อ 50 ปีก่อนหล่ะระบอบที่เหมาะสมมันควรเป็นอย่างไร ? มันเหมือนกับคำตอบในปัจจุบันหรือไม่?

แล้วคุณรู้หรือยังว่าโมเดลของคุณเรื่องสภาวิชาชีพ - กลุ่มชำนาญการ อะไรเนี่ย... มันมีจุดอ่อนอะไรบ้าง? จุดอ่อนของมันเหมาะสมที่จะประยุกต์ใชักับประเทศไทยแบบ "เอนกประสงค์-สารพัดนึก" จริงหรือ?

ถ้าเราตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้... ต่อให้เรามีคำตอบออกมา เราก็จะไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าคำตอบของเรานั้นถูกต้อง
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #55 เมื่อ: 16-10-2007, 00:16 »

ประชาธิปไตยตามหน้าที่ หากไม่มีการรวมศูนย์ ก็จะตีกันตาย เพราะต่างคนต่างทำ

การแก่งแย่งทรัพยากรที่ทับซ้อนกันในแต่ละหน้าที่ เราจะจัดการอย่างไร

หากให้ 2 หน้าที่มารวมกัน ก็คือต้องมีการประสานกัน

เราจะใช้องค์กรใด ทำหน้าที่ประสาน ผมว่ายุ่งไปกันใหญ่

ไม่มีหน้าที่ใด หน้าที่หนึ่ง ที่สามารถทำงานคนเดียว เพียงกลุ่มเดียวได้

โดยไม่อาศัยการพึ่งพาจากคนนอกหน้าที่ หรือนอกสายวิชาชีพ
บันทึกการเข้า

พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #56 เมื่อ: 16-10-2007, 00:20 »

อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นชัดเจนนะครับ


ตรงนี้ผมกลับมาถามตัวเองว่า เราจำเป็นต้องมีคนกลางที่ได้รับการคัดเลือกมาจัดสรรทรัพยากรจริงหรือ ซึ่งด้วยความรู้ที่ผมมี ผมว่าอาจไม่จำเป็น ดูในเวทีประชาคมโลกเป็นตัวอย่าง เอาง่ายๆ ดูสหภาพยุโรป เขาให้คนทั้งยุโรปเลือกประธาน EU รึก็เปล่า แต่การตกลงงานต่างๆ เกิดขึ้นได้ โดยการอาศัยหลักการทางการจัดการความขัดแย้ง (เหมือนที่ผมกำหนดหลักการแบ่งกลุ่ม) ซึ่งทำให้ผู้นำทุกประเทศเห็นจริง และทำการประนีประนอมจัดสรรทรัพยากร (และการสูญทรัพยากร) กันได้ โดยไม่ต้องมีคนที่มีอำนาจสูงสุดมาจัดการ

ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ มีจริง พิสูจน์ได้ ถือเป็นกฏธรรมชาติ (ตราบใดที่ยังไม่มีทฤษฎีที่ดีกว่า) ไม่ได้ยกมาให้คาดหวัง หน้าที่ของเราคือ จัด "สภาพแวดล้อมของระบบ" ให้เข้ากับสมมติฐานของทฤษฎีให้ได้มากที่สุด

เพราะฉะนั้น ตราบใดที่คณะผู้แทนกลุ่มคมนาคมสนใจพัฒนาการคมนาคมของประเทศจริง เขาย่อมตัดสินใจได้ดี ว่าควรสร้างถนนในชนบทหรือรถไฟฟ้าก่อน (โดยการร่วมตัดสินใจของผู้แทนเกษตร อุตสหกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ) และด้วยตัวแบบที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด สำหรับทุกฝ่าย โดยไม่ต้องมีใครมากำหนดนโยบายเพียงเพื่อ "รักษาฐานเสียง"

คุณพาสเทลอ่านทบทวนดูดีๆ นะครับ... คุณเริ่มต้นที่ "ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง" แต่ตัวอย่างที่คุณยกมาทั้งสองตัวอย่างนั้นใช้ไม่ได้

ตัวอย่างแรกเรื่อง EU คุณแย้งที่ไม่เห็นต้องมี "ผู้นำสูงสุด"... แล้วที่คุณเขียนว่า "ผู้นำประเทศ" ทำการประณีประณอมทรัพยากรนั้น... ใช่ "ตัวแทน" หรือคนกลางหรือไม่?

ตัวอย่างที่สอง... อันนี้คุณเขียนไว้ชัดเจนมากว่าควรให้ "คณะผู้แทนกลุ่มคมนาคม" ทำการตัดสินใจแทนนักการเมือง (อนุมานจาก "รักษาฐานเสียง")... นั่นก็คือคุณตีเขาเรื่องไม่จำเป็นต้องมี "คนกลาง" แต่คุณกำลังผลักดัน "คนกลางคนใหม่" ขึ้นมาแทนเขา

รอบคอบนิดนึงครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #57 เมื่อ: 16-10-2007, 00:36 »

ตกลงว่า จะยึดรูปแบบประชาธิปไตยนะครับ

ทีนี้ เราจะตรวจสอบ สภาผู้ชำนาญการอย่างไรครับ

การตรวจสอบและการลงโทษผู้แทน ไม่ใช่เรื่องปลายเหตุ แต่เป็นการถ่วงดุลธรรมดา ๆ

เพราะในสัญชาตญาณของมนุษย์ ย่อมหนีไม่พ้นความโลภ โกรธ หลง

ไม่เช่นนั้น สภาผู้ชำนาญการ คงเป็นผู้ละแล้วซึ่งกิเลส ยังงั้นหรือไม่


ถ้าหากไม่มีการควบคุมกาใช้อำนาจ ก็เหมือนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านไปเลือกตั้งแล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่นักการเมืองกระทำตามอำเภอใจ

เหมือนที่เค้าบอก ประชาธิปไตย 4 วินาที ในคูหาเลือกตั้ง


ต้องอาศัยการตรวจสอบเหมือนกันแหละครับ เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว ทุกอย่างที่ผมพูดมา ก็เป็นอุดมคติเหมือนกันครับ

แต่ข้อดีของมันก็คือ มันทำให้การเข้ามาของผู้แทน น่าเชื่อใจกว่า การปล่อยให้ประชาชนมีเสียงเท่ากัน เหมือนกัน ทุกคน (ลองย้อนกลับไปอ่านโพสต์บนๆ ตรงประโยชน์ครับ)

ส่วนเรื่องการตรวจสอบ ก็ต้องว่ากันต่อไป แต่ก่อนอื่นผมต้องแสดงให้ผู้ร่วมสนทนาเห็นได้ก่อนว่า แนวความคิดพื้นฐานนี้น่าสนใจพอที่จะลองพิจารณา

ส่วนเรื่องโครงสร้างอะไรทั้งหมด นอกเหนือจากแนวความคิดพื้นฐาน และประโยชน์ที่น่าจะได้ เป็นเพียงการเสนอเพื่อการเริ่มต้นและแสดงให้เห็นความเป็นไปได้เท่านั้นครับ มิได้ยึดว่าจะต้องเป็นแบบที่ผมเสนอมาอย่างเดียว

ถ้าใครช่วยคิดโครงสร้างที่ดีกว่า โดยไม่ทำลายแนวคิดพื้นฐานและประโยชน์ไป ก็จะดีมากๆๆ ครับ


อ้างถึง

คุณพาสเทลฯ ครับ... ยังจำได้ไม๊ว่าในกระทู้นี้คุณเริ่มต้นแย้งผมด้วยประเด็น "การปลูกจิตสำนึก" เป็นไปไม่ได้ในสภาพแวดล้อมทางการเมืองปัจจุบัน... แต่โต้แย้งทีละประเด็นไปเรื่อยๆ สุดท้ายคุณก็หลุดประเด็น... เหมือนโต้แย้งผมแต่ที่จริงตอบเหมือนผมก็คือสรุปไปที่ การปลูกจิตสำนึกควรวิวัฒนาการไปพร้อมกับการพัฒนาระบบ

ถ้าคุณตอบผมแบบนี้... คุณก็กำลังหลุดประเด็นแบบนั้นอีก.. ขอให้ปักหลักให้มั่นคงนิดนึงครับ

ไม่เชิงครับ ผมกำลังบอกว่า ให้เปลี่ยนระบบ แล้วจะปลูกจิตสำนึกได้ง่ายขึ้นครับ หรืออย่างน้อยก็ไม่เลวร้ายกว่าที่ทำได้ในตอนนี้

ยกเว้นแต่คนแต่ละกลุ่มจะแบ่งฝ่ายแล้วฆ่ากันตายเป็นล้านเหมือนรวันดา



อ้างถึง
สิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้น แย้งประเด็นแรกของคุณในเรื่อง "ไม่จำเป็นต้องมีนักการเมือง" ซึ่งระบบปัจจุบันใช้นักการเมืองที่ยึดโยงกับ "เสียงส่วนใหญ่" แต่ผมไม่ได้บอกสักคำว่าบูชากับระบบเสียงส่วนใหญ่นี้... แต่ผมอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันต่างหาก.. เรื่องเสียงส่วนใหญ่เป็นปัญหาใหญ่จุดหนึ่งของปัจจุบัน.. ถ้าคุณอ่านดีๆ จะเห็นว่าผมเน้นในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจ... ที่คุณเขียนแย้งผมมานั้น มันก็คือมุมมองเดียวกับผมนั้นแหละ

ที่ต่างกันก็ยังคงเป็นประเด็นเดิมคือ คุณคิดว่าไม่จำเป็นต้องมี "คนกลาง"... แต่คุณคงลืมไปกระมังว่า คุณพยายามผลักดัน "คนกลาง-สภาวิชาชีพ" และพยายามให้มันทำงานแทนคนกลางเดิมอยู่


อ้า ถ้าผมพูดเหมือนกล่าวหาคุณพระพายเช่นนั้น ก็ต้องขอโทษด้วยครับ ผมมีนิสัยแย่อยู่อย่าง คือ ชอบโต้แย้งแบบ aggressive

งั้นขอให้คุณพระพายเข้าใจว่า ผมชี้แจงให้เห็นถึงข้อเสียของการใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่ "แบบไม่ลืมหูลืมตา" แล้วกันครับ

เราไม่ได้แย้งกันในจุดนี้นะครับ

แต่ตอนนี้สิ่งที่ผมกำลังเสนอ คือ "สิ่งที่ดีกว่า" ตามที่ได้ชี้แจงให้คุณแคนแคนในส่วนบนของโพสต์นี้ครับ


ส่วนเรื่องคนกลาง

ผมอาจสื่อสารไม่ชัด แต่ผมหมายถึง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ที่ทำหน้าที่แบ่งสรรทรัพยากรครับ ซึ่งส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องรวบอำนาจไว้ที่นายกรัฐมนตรี and the gang พวกเดียว แต่สามารถโอนอำนาจให้ผู้บริหารจากสภาชำนาญการแทนครับ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็น the gang น้อยกว่าครับ และที่สำคัญตรวจสอบได้ง่าย

พูดง่ายๆ คือ แยกกระจายอำนาจนั่นแหละ ส่วนระบบที่ผมเสนอยังถือว่าเป็นคนกลางอยู่มั้ย นั่นก็เรื่องของนิยามแล้วครับ


อ้างถึง
กลับมาที่ปัญหาหัวใจกันเลยดีกว่าครับ...

คุณคิดว่าระบอบที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั้น ที่ว่า "เหมาะสม" คุณใช้อะไรวัด... มีเกณฑ์เดียวหรือไม่... ถ้ามีหลายเกณฑ์คุณจะเลือกได้อย่างไร?

ระบอบที่ "เหมาะสม" กับประเทศไทยนั้น มีคำตอบเดียว มีหลายคำตอบ หรือไม่มีคำตอบ... และคำตอบนั้นยั่งยืนหรือไม่? อีกร้อยปีหน้าตามันจะเหมือนเดิมไหม? แล้วเมื่อ 50 ปีก่อนหล่ะระบอบที่เหมาะสมมันควรเป็นอย่างไร ? มันเหมือนกับคำตอบในปัจจุบันหรือไม่?

แล้วคุณรู้หรือยังว่าโมเดลของคุณเรื่องสภาวิชาชีพ - กลุ่มชำนาญการ อะไรเนี่ย... มันมีจุดอ่อนอะไรบ้าง? จุดอ่อนของมันเหมาะสมที่จะประยุกต์ใชักับประเทศไทยแบบ "เอนกประสงค์-สารพัดนึก" จริงหรือ?

ถ้าเราตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้... ต่อให้เรามีคำตอบออกมา เราก็จะไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าคำตอบของเรานั้นถูกต้อง

นี่แหละครับ คือสิ่งที่ผมอยากให้เป็นหัวใจของกระทู้นี้ 

คือผมอยากให้เปิดใจลองตัดคำว่าเป็นไปไม่ได้ หรือไม่เคยมีคนทำ ออกไป แล้วมาช่วยพิจารณากันว่าถ้าจะทำ จะทำยังไง ถ้าเห็นว่าประโยชน์ที่กล่าวมามันน่าจะเกิดขึ้นจริงถ้าทำได้นะครับ

ลำพังปัญญาผมเอง ก็ไม่รู้ได้หรอกครับ ว่ามันจะเหมาะจริงมั้ย  แต่ผมเห็นด้วยตรรกะของผมคือ "มันน่าจะดีกว่าที่ใช้กันอยู่ตอนนี้"

และนั่นคือสิ่งที่ผมอยากสนทนากันในที่นี้

ถ้ามีตรรกะและเหตุผลบอกได้ว่า มันน่าจะไม่ได้จริงๆ โดยไม่น่าจะมีทางแก้ ก็ต้องยอมรับกันไปครับว่า ไม่น่าจะใช้ได้ 

แต่ถ้ามันน่าจะใช้ได้ ก็ลองมาคิดกันดู ว่าทำยังไงจะใช้ได้จริง จะมีปัญหาอะไร จุดอ่อนอะไรบ้าง จะแก้ยังไง จะขยายแนวคิดนี้ต่อได้ยังไง โดยไม่ให้เสียพื้นฐานความคิด และประโยชน์ที่เสนอให้ในตอนแรกไป 


จริงๆ ชื่อกระทู้ของผมตอนแรกคือ "ถ้าเราจะออกแบบการปกครองให้เหมาะกับประเทศไทย..."

แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไหร่ที่บอร์ดอาจารย์อารยา เลยลองเปลี่ยนแนวนำเสนอดู เป็นแนว proposal

ซึ้่งปรากฏว่าได้ผลครับ ได้รับความสนใจ แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นเหมือนผมกำลังป้องกันวิทยานิพนธ์เลย ฮ่าๆ

งั้นขอทำความเข้าใจตรงนี้นะครับว่า

"นี่เป็นกระทู้ขอความเห็นในการออกแบบการปกครองใหม่สำหรับประเทศไทย โดยอาศัยแนวความคิดพื้นฐานที่ผมเสนอ" ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 00:48 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #58 เมื่อ: 16-10-2007, 00:42 »

ประชาธิปไตยตามหน้าที่ หากไม่มีการรวมศูนย์ ก็จะตีกันตาย เพราะต่างคนต่างทำ

การแก่งแย่งทรัพยากรที่ทับซ้อนกันในแต่ละหน้าที่ เราจะจัดการอย่างไร



นี่แหละคือปัญหาใหญ่ของระบอบประชาธิปไตยตามหน้าที่ครับ จะบริหารบ้านเมืองอย่างไร

ซึ่งผมได้เสนอไปแล้วในโพสต์กลางๆ เรื่องการบริหารและประสานงานระหว่างกลุ่มนะครับ

รบกวนช่วยเสนอความเห็นกับแนวคิดดังกล่าวด้วยครับ

(จริงๆ คำถามแบบนี้ล่ะครับ ที่อยากสนทนากันในกระทู้นี้ ไม่อยากมาเถียงกันเรื่องการเมืองระบอบเก่าเลย) 



สำหรับโพสต์ล่าสุดของคุณพระพาย ผมคิดว่าคำตอบน่าจะอยู่ในโพสต์บนของผมแล้วนะครับ

ถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจ หรือผมสื่อสารไม่ชัด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ ต่อไปจะได้รอบคอบรัดกุมขึ้น
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #59 เมื่อ: 16-10-2007, 00:45 »



มาให้กำลังใจ จขกท.และทุกท่านครับ..
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #60 เมื่อ: 16-10-2007, 00:46 »

ผมเคยเสนอให้เจ้าของกระทู้ ลอง ๆ เขียนแบบจำลอง ระบอบการปกครองใหม่ให้ดูเพื่อที่จะไม่สับสน ไม่งั้นคุณก็วน ๆ ติ๊ดชึ่ง

พอผมบอกว่า รัฐธรรมนูญใหม่ ให้มีการตรวจสอบผู้แทนเข้มแข็งขึ้น คุณบอกว่าแก้ปลายเหตุ

พอผมบอกว่า แล้วตัวแทนผู้ชำนาญการ ใช้อะไรตรวจสอบ คุณก็บอกว่าค่อยคิดกัน..เอ๊ะยังไง

ผมถึงบอกว่า ลอง ๆ วาดโครงร่าง องค์กรปกครอง มาให้ดูก่อน ไม่งั้น คุยกันไม่จบแน่

ที่คุณจะนำเสนอ จะนำเสนอส่วนใหน ขอแบบเป็นระบบเลยครับ จะได้ไม่สับสน เช่น

ที่มาของครม.
ที่มาของสภาผู้แทน
ที่มาของศาล
ที่มาขององค์กรตรวจสอบ

การยึดโยงอำนาจของแต่ละองค์กรเป็นอย่างไร
จะให้มีการออกกฎหมายเป็นระบบอย่างไร
ใครเสนอกฎหมายได้บ้าง

การตรวจสอบระหว่างองค์กรมีการเชื่อมโยงอย่างไร

คุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้ชำนาญการเป็นอย่างไร ในกลุ่มนั้นคัดเลือกประธานอย่างไร

ขอแค่นี้ก่อนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 00:51 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #61 เมื่อ: 16-10-2007, 00:52 »

ผมเคยเสนอให้เจ้าของกระทู้ ลอง ๆ เขียนแบบจำลอง ระบอบการปกครองใหม่ให้ดูเพื่อที่จะไม่สับสน ไม่งั้นคุณก็วน ๆ ติ๊ดชึ่ง

ผมผมบอกว่า รัฐธรรมนูญใหม่ ให้มีการตรวจสอบผู้แทนเข้มแข็งขึ้น คุณบอกว่าแก้ปลายเหตุ

พอผมบอกว่า แล้วตัวแทนผู้ชำนาญการ ใช้อะไรตรวจสอบ คุณก็บอกว่าค่อนคิดกัน..เอ๊ะยังไง

ผมถึงบอกว่า ลอง ๆ วาดโครงร่าง องค์กรปกครอง มาให้ดูก่อน ไม่งั้น คุยกันไม่จบ

ที่คุณจะนำเสนอ จะนำเสนอส่วนใหน ขอแบบเป็นระบบเลยครับ จะได้ไม่สับสน เช่น

ที่มาของครม.
ที่มาของสภาผู้แทน
ที่มาของศาล
ที่มาขององค์กรตรวจสอบ

ขอแค่นี้ก่อนครับ


เอ๋า แสดงว่า โพสต์บนๆ ผมอธิบายได้ห่วยแตกมาก

งั้นผมจะพยายามเรียบเรียงใหม่

ต้องขอเวลานิดนึงนะครับ ทักษะทางด้านนี้ห่วย

ในระหว่างนี้ ถ้ามีเวลายังไม่หนักหัวเกินไป รบกวนช่วยขึ้นไปอ่านส่วนการบริหารที่เสนอไปแล้วพยายามทำความเข้าใจสำนวนยุ่งๆ ของผม (ตรงรูปผังที่เพิ่มมาใหม่ สองรูปติดกันน่ะครับ) ก็จะช่วยได้มากครับ


อ้อ ผมต้องการสื่อว่า การจะใช้ระบอบเก่า แล้วอาศัยการเพิ่มการตรวจสอบ เป็นการหวังแก้ปัญหาที่ปลายเหตุครับ
ไม่ใช่ว่าการตรวจสอบไม่ต้องทำ
แต่ถ้าเราเพิ่มการสกรีนที่การเข้ามาของผู้แทนได้ด้วย (โดยอาศัยแนวคิดที่ผมว่า)
จะดีกว่าเดิมครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #62 เมื่อ: 16-10-2007, 00:57 »

เมื่อซัก 2 คืนที่แล้ว มีโอกาสได้ฟัง โต๊ะครู หรือโต๊ะอีหม่าม ก็ไม่ทราบ
ท่านอธิบาย การปกครองระบอบประชาธิปไตย ในประเทศปากีสถานให้ฟัง ก็ดีไปอีกแบบ

เรื่องพวกนี้ มันก็เหมือนทำรัฐธรรมนูญนั่นแหละครับ หากคุณไม่วางโครงก่อน ก็คุยกันยาก มันจะสับสนปนเปกันไปหมด

ค่อย ๆ เรียบเรียงนะครับ องค์กรการเมืองมันหนีไม่ออกหรอกครับ
ต้องทำแผนภูมิ มาดูกัน


ผมดูแผนภูมิข้างบน คุณไม่มีสภานิติบัญญัติ ไม่มี ครม.

แล้วจะอาศัยอำนาจอะไรออกกฎหมาย จะอาศัยอำนาจอะไรให้สภาผู้ชำนาญการบริหารงาน

ดู ๆ แล้วรู้สึกจะคล้าย ๆ ให้กรรมาธิการแต่ละคณะ ไปบริหารงานใช่มั๊ยครับ

แล้วใครจะควบคุมดูแลการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการ ที่มาจากสภาผู้ชำนาญการ

หรือว่าต้องตั้งกรรมาธิการตรวจสอบขึ้นมาอีก

แล้วมันแตกต่างจากคณะกรรมาธิการในปัจจุบันตรวจสอบ ครม. อย่างไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 01:03 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #63 เมื่อ: 16-10-2007, 01:05 »

แผนภูมิหมายถึงเข้ามาแทนครับ ไม่ใช่ว่าไม่มี

ลูกศรชี้ไป คือ เข้าไปแทน

ส่วนก. ตรวจสอบ น่าจะใช้สภาชำนาญการนั่นแหละครับ

ขอตัวไปเรียบเรียงต่อครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #64 เมื่อ: 16-10-2007, 01:08 »

อ้อ..สภาบริหาร ของคุณมีหน้าที่อะไรครับ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #65 เมื่อ: 16-10-2007, 02:12 »

ผมไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลยนะครับ จะคาดหวังให้ผมอธิบายอย่างมีหลักการ คงต้องพยายามช่วยผมหน่อยล่ะครับ

จริงๆ ต้องอย่าทำเหมือนผมมาป้องกันวิทยานิพนธ์สิ ผมแค่นักเรียนที่ยกมือถามอาจารย์ในห้อง "อาจารย์ครับ ทำไมทำแบบนี้ไม่ได้ล่ะครับ?"

และนี่คือผลลัพธ์หลังจาก อ. แคนแคนบอกว่า "งั้นเธอลองไปเขียนมาให้เป็นเรื่องเป็นราวสิ เขียนโดยใช้ไกด์ไลน์นี้นะ แล้วเราจะมาวิเคราะห์กัน "

(child centered แท้ๆ เลย ฮ่าๆ)




**แก้คำว่า สภาชำนาญการ เป็น สภาภารกิจ และกลุ่มชำนาญการ เป็น กลุ่มภารกิจ นะครับ**

ที่มาของสภาผู้แทน


สภาผู้แทนราษฎรในที่นี้ จะถูกแทนที่ด้วย สภาภารกิจ

สภาภารกิจ ไม่ใช่สภาผู้ชำนาญการนะครับ ถ้าเรียกแบบหลังจะกลายเป็น expert council ไป ซึ่งไม่ใช่ในความหมายนี้

สภาภารกิจ จะแบ่งที่นั่งตามกลุ่มภารกิจ ซึ่งมีเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มตามที่ได้เสนอไปในความเห็นที่ 12 

ผู้แทนแต่ละคนในสภาภารกิจ จะต้องสังกัดกลุ่มภารกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (เพียงกลุ่มเดียว) และต้องเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งใน X ลำดับแรก ของกลุ่มนั้นๆ (ซึ่งการเลือกตั้งจะจัดแยกแต่ละกลุ่ม และผู้มีสิทธิเลือกคือผู้ที่มีสมาชิกภาพในกลุ่ม )

นอกจากนี้ ในแต่ละกลุ่มผู้แทนของสภาภารกิจ จะต้องประกอบไปด้วยผู้แทนจากทุกกลุ่มย่อยอย่างน้อยกลุ่มละ X คน เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มย่อยต่างๆ ในกลุ่มภารกิจหนึ่งๆ

ส่วนประธานสภา ผมคิดว่า ควรมาจากการแต่งตั้งโดย... กษัตริย์? เพื่อให้ถือได้ว่าเป็นคนกลาง แต่ประธานสภาจะไม่มีอำนาจอะไรนอกจากการจัดสรรเวลาและดูแลความสงบเรียบร้อยในการประชุม






ที่มาของสภาบริหาร (ครม.)

การแบ่งกระทรวง จะแบ่งให้ตรงกับกลุ่มภารกิจพอดี

คณะบริหารของแต่ละกระทรวง จะทำการเลือกมาจากผู้แทนจำนวนหนึ่งในกลุ่มภารกิจนั้นๆ ในสภาภารกิจ โดยการเลือก อาจทำโดยการแต่งตั้งกันภายในหมู่ผู้แทนกลุ่ม หรือการสุ่มเอาก็ได้ (ตรงนี้ต้องขอความเห็น) โดยการเลือกต้องมีผู้แทนจากทุกกลุ่มย่อยได้เข้าไปทำงานบริหารด้วย

โดยคณะบริหารของแต่ละกระทรวงนี้ อาจทำงานโดยจัดให้มีอำนาจในการบริหารเท่ากัน (คือ ใช้อำนาจการโหวตภายในอนุมัติเรื่องต่างๆ คล้ายกรรมการบริษัท) หรือจะให้แต่งตั้งผู้หนึ่งเป็น รมต. ในขณะที่เหลือเป็นรองด้านต่างๆ ก็ได้ (ความเห็น?)

โดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจบริหารนี้ จะไม่มีอำนาจนิติบัญญัติในสภาภารกิจอีกต่อไป

อายุของคณะบริหาร อาจไม่จำเป็นต้องเท่ากับอายุสภาภารกิจก็ได้ เพื่อเป็นการเปลี่ยนผู้บริหาร หากคณะบริหารชุดเก่าไม่ประสบความสำเร็จ

ดังแผนผังนี้




โดยครม. คนใดคนหนึ่ง หรือทั้งชุด อาจถูกถอดถอนได้โดย

  • เสียงส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้แทนกลุ่มภารกิจที่รับผิดชอบกระทรวงนั้น หรือ
  • เสียงที่มากพอจากสภาภารกิจ (เพื่อไว้ถ่วงดุลย์อำนาจกัน เผื่อกรณีที่ผู้แทนทั้งกลุ่มฮั้วกันหมด)
  • จากการเข้าชื่อกันโดยตรงของประชาชนผู้สังกัดกลุ่มภารกิจนั้นๆ


Edit**
ตรงนี้ขอเพิ่ม กระบวนการคัดเลือก รมต. โดยคุณจิรศักดิ์ นะครับ (ขอขอบคุณ คุณจิรศักดิ์ มา ณ ที่นี้ครับ)

อ้างถึง
ที่สำคัญการเสนอตัวจะต้องได้รับการรับรองจากบรรดาสมาชิก
(ในที่นี้คือสมาชิกสภาภารกิจกลุ่มนั้นๆ) เช่น สมัครกระทรวงวิทย์
ก็ต้องให้สมาชิกสภาภารกิจกลุ่มวิทย์ ให้การรับรองผู้สมัคร รมต.
เป็นจำนวนมากพอ ถ้าไม่มากพอก็สมัครไม่ได้ครับ

เมื่อมีผู้ให้การรับรองแล้ว จะต้องมาผ่านคณะกรรมการสรรหา
ก็จะต้องกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครก่อนอีกชั้น
ว่าครบถ้วนถูกต้องตามเกณฑ์หรือไม่ หลังจากนั้นจึงจะเข้ารอบ
มาแสดงวิสัยทัศน์ นำเสนอโครงการกันต่อไป

*****

ที่มาของศาล

ในส่วนของโครงสร้างศาลนี้ ผมไม่เห็นปัญหาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีความรู้ด้านนี้ ท่านผู้ใดมีความเห็นว่ามีอะไรต้องเปลี่ยนแปลงบ้าง?
(เราอาจจะต้องเชิญเสธ.แดง มาช่วยคิดเรื่องนี้ ฮ่าๆ)



ซึ่งหน้าที่ของสภาภารกิจและสภาบริหาร มีดังแผนภาพนี้ครับ

ลูกศรที่ชี้ไป หมายถึง เข้าไปแทนที่นะครับ ส่วนบล็อกสีเทา คือ สภาบริหารครับ ขี้เกียจแก้รูป





ที่มาขององค์กรตรวจสอบ

ส่วนนี้ผมไม่มีความรู้อีกเหมือนกัน แต่มีความเห็น (ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยตามหน้าที่) ว่า ควรมีองค์กรตรวจสอบการทุจริตที่มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างของทางราชการในทุกหน่วยงาน (ยกเว้นงานด้านความมั่นคง ซึ่งมีอายุความลับ) โดยองค์กรดังกล่าว ต้องมีกำลังอาวุธเป็นของตนเองพอสมควร ไม่ใช่เสือกระดาษที่ต้องไปกราบขอข้อมูลจากผู้มีอิทธิพล โดยการเคลื่อนกำลังดังกล่าว ต้องมีการอนุญาตจากผู้พิพากษา และทุกการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ที่ติดอาวุธ ต้องมีการบันทึกเก็บไว้ (ด้วยกล้องวิดีโอติดหมวก ซึ่งไม่สามารถตัดต่อได้ และมีลายเซ็นดิจิตอลของผู้พิพากษากำกับ) ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสร้างกองกำลังแหวนเพชร

ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบครม. อาจใช้การตรวจสอบจากสภาภารกิจได้ (ไอเดีย?)



การทำงานและร่วมมือกันระหว่างกระทรวง

โครงการต่างๆ ที่ไม่ต้องเสนอกฏหมายและไม่ใช่การบริหารภายในกระทรวง ต้องจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ หรือ task force ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนกลุ่มจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ  ซึ่งการตัดสินใจใดๆ ในโครงการต้องอาศัยการโหวตจากคณะเฉพาะกิจของโครงการ (โดยไม่จำเป็นที่เสียงของแต่ละกลุ่มต้องมีอำนาจเท่ากัน) เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งเพื่อการเกษตร อาจมีเสียง major เป็น กลุ่มกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชย์ ในขณะที่เสียง minor อาจมี กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งใครใหญ่ใครย่อยก็ต้องอาศัย "สภาบริหาร" ในการจัดตั้งคณะเฉพาะกิจนั้นๆ (โดยอาศัยโมเดลการพึ่งพากันที่เสนอไป ใช้ในการประณีประนอม และใช้การโหวตหากไม่มีฉันทานุมัติ)

ในขณะที่การบริหารภายในกระทรวง ไม่ต้องอาศัย task force

การจัดสรรงบประมาณจำเป็นพื้นฐานของแต่ละกระทรวง เช่น เงินเดือน เงินสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง ต้องทำกันโดยอาศัยความเห็นจากทุกๆ กระทรวงในต้นปีงบประมาณ (โดยอาศัยโมเดลการพึ่งพากันในการประณีประนอมเช่นเดิม โดยทุกๆ กระทรวงมีโอกาสนำเสนอผลงานและอธิบายถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ส่งผลถึงกลุ่มอื่น ก่อนการตกลงงบประมาณโดยการโหวต)



การออกกฎหมาย

กฏหมายลูกทั้งหมดจะถูกเสนอโดยคณะบริหาร (ครม.)  โดยการเสนอกฏหมายต้องผ่านทางคณะทำงานเฉพาะกิจ (task force) ซึ่งมาจากผู้บริหารในกลุ่มภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือโครงการที่กำลังพิจารณา

จากนั้นจะถูกส่งไปโหวตในสภาชำนาญการ โดยเสียงอาจมีการถ่วงน้ำหนักได้ เช่น กลุ่มที่เกี่ยวกับกฏหมายโดยตรงได้น้ำหนักมาก กลุ่มอื่นๆ ได้น้ำหนักน้อย โดยใครมากใครน้อย อาจจะพิจารณาตามการจัดตั้ง task force ได้

ส่วนกฏหมายปกครอง ต้องผ่านสภาภารกิจเช่นกัน แต่ผู้เสนอกฏหมาย ควรเป็นใครดีครับ ความเห็น?





**เรียบเรียงใหม่แถมให้

การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มภารกิจ

ประชาชนไทยคนหนึ่ง ที่มีอายุครบ X ปีบริบูรณ์ สามารถได้รับสมาชิกภาพของกลุ่มภารกิจใดๆ ได้ด้วยหนทางดังต่อไปนี้

  • 1. โดยอัตโนมัติทันทีที่อายุตามเกณฑ์ กลุ่มภารกิจเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มภารกิจในประเภทสิทธิและสวัสดิการสังคม
  • 2. โดยอัตโนมัติตามวุฒิการศึกษา กลุ่มภารกิจเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มภารกิจทุกกลุ่ม โดยสาขาการศึกษาที่เป็นสหวิชา อาจได้รับสิทธิมากกว่าหนึ่งกลุ่ม
  • 3. สังกัดตามกลุ่มอาชีพ กลุ่มภารกิจเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มภารกิจทุกกลุ่ม โดยอาจพิจารณาอาชีพตามใบอนุญาตประกอบอาชีพ หรือสินทรัพย์สำหรับประกอบอาชีพ เช่น ที่ทำกิน พาหนะหรือหน้าร้านสำหรับขายสินค้า เป็นต้น
  • 4. โดยการทดสอบ ซึ่งการทดสอบไม่จำเป็นต้องเป็นข้อเขียนเสมอไป ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของกลุ่มภารกิจนั้นๆ

อนึ่ง ประชาชนหนึ่งคน สามารถสังกัดกลุ่มได้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม แต่ไม่เกิน X กลุ่ม หากมีสิทธิสังกัดมากกว่า X กลุ่ม ต้องแจ้งความจำนงเลือกกลุ่ม X กลุ่มที่ต้องการสังกัดเท่านั้น





ตรงไหนไม่ชัดเจนหรือไม่เข้าใจ รบกวนบอกด้วยนะครับ

เอ่าล่ะ ทีนี้ อาจารย์ทั้งหลายต้องช่วยกันดูแล้วนะครับว่า ดีไม่ดียังไง ตรงไหนทำได้ ทำไม่ได้ แล้วจะแก้ยังไง หรือถ้าสงสัยว่าทำไมตรงนี้ต้องเป็นแบบนี้ ก็ถามได้เลยนะครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-12-2007, 16:39 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #66 เมื่อ: 16-10-2007, 02:27 »

ถ้าใจร้อนขี้เกียจรอผมมาตอบ ก็สครอลไปคุ้ยๆ ดูโพสต์ข้างบนๆ ได้เลยนะครับ หลักการและเหตุผลอยู่แถวนั้นหมดแล้ว

จริงๆ ผมต้องเอาโครงนี้ให้ดูก่อนสิเนอะ แล้วค่อยอธิบาย motivation


พอดีติดรูปแบบรายงานทางวิทยาศาสตร์มากไปหน่อย



เดี๋ยวสักพัก ได้ฤกษ์ ค่อยย้ายไปตั้งกระทู้ใหม่ แล้วเรียบเรียงให้ดีกว่าเดิม จะได้อ่านเข้าใจกันง่ายๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 02:29 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #67 เมื่อ: 16-10-2007, 03:20 »

ฟัง ๆ ดู คล้าย ๆ การจัดรูปแบบบริษัทนะ แบ่งเป็นแผนก ๆ

แต่ฝ่ายต่างประเทศ หรือ ฝ่ายกระทรวงพัฒนาสังคม พวกนี้หาผู้ชำนาญการจากใหนดีครับ

หรือพวกทำสื่อล่ะ เอาไงดี

ผมมองว่ามันออกจะลักลั่นกันอยู่นา...บางอาชีพ มันมีผู้ชำนาญการจริงหรือ

ถ้าคนพวกที่ชำนาญการพวกนี้ตายลง เราจะหาผู้ชำนาญการเฉพาะแบบนี้ได้จากใหน


กฎหมายเก่า ๆ ทั้งหมดจะแก้ไขกี่ร้อยปีดีครับ ถึงจะครบถ้วนกระบวนความ

แนวคิดของคุณ ลอง ๆ ค้นคำว่า "อรรถประโยชน์นิยม" ภาษาอังกฤษผมลืม ๆ ไปแล้ว

ทฤษฎีของสำนักคิดนี้ มีผลทางด้านเศรษฐศาสตร์พอสมควร ลอง ๆ เทียบเคียงดูนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 03:24 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #68 เมื่อ: 16-10-2007, 03:36 »

พูดไปพูดมา มันก็คือ การหาทางเข้าสู่ "อำนาจรัฐ" ด้วย "วิธีแปลก ๆ ใหม่ ๆ" เท่านั้นเอง แหละครับ

จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ สำหรับผม

ผมสนใจ ความเข้มแข็งในระดับการเมืองภาคประชาชน มากกว่า

อีกอย่าง ที่สนมาก แต่คิดว่า เมืองไทย คงไปถึงจุดนั้นยาก
คือ การมองไม่เห็นประโยชน์หรือความสำคัญของอำนาจรัฐ หรือจะเรียกว่า ปฏิเสธความมีอยู่ของอำนาจรัฐ ก็ได้
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #69 เมื่อ: 16-10-2007, 04:06 »

ฟัง ๆ ดู คล้าย ๆ การจัดรูปแบบบริษัทนะ แบ่งเป็นแผนก ๆ

แต่ฝ่ายต่างประเทศ หรือ ฝ่ายกระทรวงพัฒนาสังคม พวกนี้หาผู้ชำนาญการจากใหนดีครับ

หรือพวกทำสื่อล่ะ เอาไงดี

ผมมองว่ามันออกจะลักลั่นกันอยู่นา...บางอาชีพ มันมีผู้ชำนาญการจริงหรือ

ถ้าคนพวกที่ชำนาญการพวกนี้ตายลง เราจะหาผู้ชำนาญการเฉพาะแบบนี้ได้จากใหน


กฎหมายเก่า ๆ ทั้งหมดจะแก้ไขกี่ร้อยปีดีครับ ถึงจะครบถ้วนกระบวนความ

แนวคิดของคุณ ลอง ๆ ค้นคำว่า "อรรถประโยชน์นิยม" ภาษาอังกฤษผมลืม ๆ ไปแล้ว

ทฤษฎีของสำนักคิดนี้ มีผลทางด้านเศรษฐศาสตร์พอสมควร ลอง ๆ เทียบเคียงดูนะครับ



  ไม่ใช่ผู้ชำนาญการครับ

แต่เป็นผู้แทนกลุ่มชำนาญการ

คุยกันด้วยภาษาอังกฤษดีมั้ยเนี่ย


ฝ่ายต่างประเทศ ถ้ากลุ่มนี้จะอยู่โดดๆ เท่าที่คิดได้ น่าจะมี กลุ่มคนทำงานด้านการฑูต การเงินการธนาคารระหว่างประเทศ นักธุรกิจไทยข้ามชาติ คนเล่นหุ้น นักวิชาการ แล้วก็ประชาชนทั่วไปที่ "concern" เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครับ

ฝ่ายพัฒนาสังคม เอาตรงๆ ก็คนทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ครับ นอกจากนั้นก็ นักสิ่งแวดล้อม นักการศาสนา(นักบวช) นักวิชาการ(พวกนี้เข้าทุกกลุ่มอยู่แล้ว) แล้วก็ประชาชนทั่วไปที่ "concern" ด้านพัฒนาสังคมครับ อย่างตัวผมเองนี่ ถ้าใช้ระบอบนี้จริง ผมเข้ากลุ่มนี้ด้วย สอบเข้าเลย เพราะรู้สึกอยากแก้ปัญหาขอทานและการทารุณเด็กมาก อ้อ จริงๆแล้วสวัสดิการและสิทธิมนุษยชนนี่ ทุกคนในประเทศได้เข้ากลุ่มอัตโนมัติครับ

ส่วนกลุ่มสื่อนี่ต้องละเอียดอ่อนหน่อย อาจแยกสื่อรายงานข่าวออกจากระบบ แต่ควบคุมเฉพาะสื่อเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ได้ครับ (เผื่อใครอยากปรับสาระสื่อไทย เอาละครน้ำเน่าออก (หรือเอาเพิ่ม))

ไม่ว่ากลุ่มใด ถ้าประชาชนคนไหนสนใจจริงๆ ก็เข้าร่วมได้หมดครับ ขอให้ผ่านการทดสอบเหอะ

บล้าก

ถ้าผู้แทนมันตาย ก็เลือกใหม่สิครับ คนสมัครมีอยู่แล้ว

นี่ไม่ใช่สภาองคมนตรีนะครับ 

กฏหมายเก่าๆ ถ้าต้องแก้ก็ต้องแก้ครับ ใช่ว่าระบบนี้จะทำได้ในปีสองปี อีกอย่างตอนนี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องการปรับจากปัจจุบันไปใช้ระบบนี้ครับ เรื่องนั้นค่อยว่ากันตอนไอเดียเราเป็นรูปเป็นร่างกว่านี้ ค่อยมารวมหัวปฏิวัติกัน

จะเปลี่ยนอะไรก็ต้องเหนื่อยหน่อยสิครับ คำถามที่ควรถามคือ ประโยชน์ที่ได้จากการเปลี่ยนมันคุ้มมั้ยต่างหาก


ส่วนเรื่อง อรรถนิยมนี่คือ utility-ism ประมาณนี้ใช่มั้ยครับ

ผมว่าไม่น่าจะเกี่ยว แต่เดี๋ยวจะลองไปค้นอีกที

ถ้าจะใกล้เคียง ผมว่าใกล้เคียง functionalism + corporatism + democracy มากกกว่า
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #70 เมื่อ: 16-10-2007, 04:12 »

ก็บอกแล้ว ทฤษฎีการเมืองการปกครอง ผ่านการค้นคิดมานับหลายร้อยปี หรือพันปี

ปรับปรุง แก้ไข จนในที่สุด ทั้งโลก มานิยมทฤษฎี ประชาธิปไตย และสังคมนิยม

ซึ่งแบ่งสาย ได้ ไม่กี่สาย เช่นระบอบรัฐสภา ระบอบประธานาธิบดี

ระบอบประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยแบบไม่มีกษัตริย์

ระบอบประชาธิปไตยในโลกมุสลิม ซึ่งก็ยังมีแตกต่างกันอยู่อีก 2 -3 แนวทาง ( มีกษัตริย์ กับไม่มีกษัตริย์ )

ประชาธิปไตยแบบมุสลิม ยึดเอาพระคัมภีร์เป็นรัฐธรรมนูญสูงสุด กฎหมายใดขัดต่อพระคัมภีร์ ถือว่าใช้ไม่ได้

ในขณะที่ประชาธิปไตยทั่ว ๆ ไปยึดเอาเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" เป็นเรื่องใหญ่สุด

การเมืองการปกครอง มันมีองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ประกอบอยู่ด้วย

ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวโดด ๆ

การคิดค้นระบอบการปกครองใหม่ซักระบอบ คงต้องอาศัยเวลาตลอดชีวิตกระมังครับ

ยังไงก็สงสาร กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ พวกที่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่บ้างก็แล้วกันครับ


เหนื่อยแทนจริง ๆ ครับ อิ อิ

การที่มาชวนพรรคพวก คิดสร้างโลกใหม่ มันยากอยู่เหมือนนาครับ

เพราะตำราเรียนต้องมาเพิ่มระบอบการปกครองใหม่หมด ต้องเรียนกันทั้งประเทศ ...

แค่ทำให้ประชาชนรู้จักความสำคัญของสิทธิของตัวเองก็ยากแล้ว...


อย่างผมเนี่ยยังไม่รู้จัดเข้ากลุ่มอาชีพใหน เพราะเป็นพวกตกงานอ่ะ

แล้วพวกนักบวช จะมีตัวแทนอาชีพ หรือผู้ชำนาญมั๊ยครับ

 
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #71 เมื่อ: 16-10-2007, 04:14 »

พูดไปพูดมา มันก็คือ การหาทางเข้าสู่ "อำนาจรัฐ" ด้วย "วิธีแปลก ๆ ใหม่ ๆ" เท่านั้นเอง แหละครับ

จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ สำหรับผม

ผมสนใจ ความเข้มแข็งในระดับการเมืองภาคประชาชน มากกว่า

อีกอย่าง ที่สนมาก แต่คิดว่า เมืองไทย คงไปถึงจุดนั้นยาก
คือ การมองไม่เห็นประโยชน์หรือความสำคัญของอำนาจรัฐ หรือจะเรียกว่า ปฏิเสธความมีอยู่ของอำนาจรัฐ ก็ได้

ถูกต้องเลยครับ

ผมจึงแค่เสนอให้เป็นระบอบใช้ชั่วคราว ก่อนที่การเมืองภาคประชาชนของไทยจะแข็งแรงพอที่จะรองรับระบอบประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์จริงๆ

เพราะสภาพที่เป็นอยู่ตอนนี้ ผมเห็นว่า พัฒนาภาคประชาชนได้ยาก

แล้วที่เสนอๆ แนวคิดกันอยู่ ผมเห็นแต่เสนออุดมคติกัน ไม่มีเหตุผลอะไรเลยว่าจะช่วยให้ประชาชนทีส่วนร่วมขึ้นจริงๆ ครับ

ประมาณ ท่านพุทธทาสเสนอว่าให้เผด็จการโดยคนดีเลย แต่ไม่ได้บอกว่า จะหาคนดีมาจากไหน แล้วมั่นใจได้ยังไงว่าดี

ไอ้การเมืองภาคประชาชนนี่ ก็ไม่ได้บอกเหมือนกันว่า จะเอาอะไรไปสู้อำนาจหัวละห้าร้อย

ผมจึงเสนอหนทางกำจัดไอ้หัวละห้าร้อยนี่ก่อน

แล้วค่อยว่ากันเรื่องการพัฒนาภาคประชาชนอีกที

หวังว่าคุณเฟรดดี้คงได้มีโอกาสกลับมาอ่านนะครับ อยากชี้แจงมาก
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #72 เมื่อ: 16-10-2007, 04:22 »



  โห คุยกันซะผมรำคาญแล้วนะครับ อ่านแล้วสุดแสนเซ็งครับ

  อะไรใครมาเป็นหัวแถว แล้วห้ามหางแถว อย่าคอรัปชั่นจริงๆจังๆ 

  เท่านี้จบแล้ว  จะระบอบแนวเก่า หรือว่าใหม่ จะสนมันทำไม  งง งง ครับ



                จขกท. เนี่ยปัญญานิ่มไปไหมครับ

บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #73 เมื่อ: 16-10-2007, 04:27 »

นั่งอ่านอยู่ครับ
แต่ไม่รู้จะออกความเห็นอะไร เป็นชิ้นเป็นอัน ได้
เพราะผม คิดเหมือนที่หลายคนคิดไปแล้วว่า

"ระบบดี-ไม่ดีไม่มีผล อยู่ที่คนมากกว่า"

ฟังดูอาจเป็นการสรุปแบบ กำปั้นทุบดิน
แต่มันเป็นเรื่องจริง

จะปกครองด้วยระบอบไหน รูปแบบอะไร ใช้กฎเกณฑ์ โครงสร้าง หรือระบบตรวจสอบ ยังไง
ถ้าคนมันห่วยเสียอย่าง (รวมหมดทั้งคนปกครองและคนถูกปกครอง)
มันก็ ไปไหนไม่รอด
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #74 เมื่อ: 16-10-2007, 04:27 »

ก็บอกแล้ว ทฤษฎีการเมืองการปกครอง ผ่านการค้นคิดมานับหลายร้อยปี หรือพันปี

ปรับปรุง แก้ไข จนในที่สุด ทั้งโลก มานิยมทฤษฎี ประชาธิปไตย และสังคมนิยม

ซึ่งแบ่งสาย ได้ ไม่กี่สาย เช่นระบอบรัฐสภา ระบอบประธานาธิบดี

ระบอบประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยแบบไม่มีกษัตริย์

ระบอบประชาธิปไตยในโลกมุสลิม ซึ่งก็ยังมีแตกต่างกันอยู่อีก 2 -3 แนวทาง ( มีกษัตริย์ กับไม่มีกษัตริย์ )

ประชาธิปไตยแบบมุสลิม ยึดเอาพระคัมภีร์เป็นรัฐธรรมนูญสูงสุด กฎหมายใดขัดต่อพระคัมภีร์ ถือว่าใช้ไม่ได้

ในขณะที่ประชาธิปไตยทั่ว ๆ ไปยึดเอาเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" เป็นเรื่องใหญ่สุด

การเมืองการปกครอง มันมีองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ประกอบอยู่ด้วย

ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวโดด ๆ

การคิดค้นระบอบการปกครองใหม่ซักระบอบ คงต้องอาศัยเวลาตลอดชีวิตกระมังครับ

.....



ถ้าคุณแคนแคนพูดเล่นๆ ก็ฮาดีครับ

แต่ถ้าหมายความอย่างที่พูดจริงๆ ผมต้องขอโทษที่ต้องใช้ที่ค่อนข้างรุนแรงหน่อย คือ .... เอ่อ ไม่พูดดีกว่า


เอาเป็นว่า อย่าให้กรอบมาเป็นข้อจำกัดสิครับ

ต่อไปเราอาจจะได้ตั้งลัทธิ พาสเทล-แคนแคนนิสซึมก็ได้ อันนี้เพ้อเจ้อเล่น



คำถามคือ คุณแคนแคนรู้ได้อย่างไรว่าไอ้ระบอบนี้ ยังไม่มีคนคิด

ผมไต่วิกิในหัวข้อการเมืองมาสักพักแล้วล่ะครับ ยังไม่เคยเห็นระบอบนี้แบบตรงตัวเลย (ถ้าใครเคยเห็นขอวิทยาทานด้วย)

อาจเป็นเพราะเคยมีคนลองแล้ว พบว่าใช้ไม่ได้ เลยไม่มีใครใส่ใจจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว

หรือไม่แน่ อาจเป็นเพราะ เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยก่อน ไม่เอื้อให้เกิดระบอบปกครองแบบนี้ได้?

ใครจะคิดล่ะครับว่าเราจะทดสอบความถนัดคนทั้งประเทศได้ เมื่อคนสมัยก่อนรู้จักอุปกรณ์เก็บข้อมูล คือ กระดาษ และอุปกรณ์สื่อสารคือ โทรเลข?

ใครเป็นบิดาประชาธิปไตย ยุคไหน ยุคไหน เกิดทันอินเตอร์เน็ตมั้ย?

เลนิน เหมา จะคิดหรือว่า เราจะจัดการบริหารโดยไม่ต้องมีผู้นำสูงสุดได้ ในเมื่อสมัยนั้น ทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งของจอห์น แนช ยังไม่มีคนรู้จัก ยังไม่มีคนศึกษาทฤษฎีเกม?

???????



?



ทฤษฎีการเมืองใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาครับ literature การเมืองหลายๆ แบบ ก็มีออกมาทุกปี ที่รู้จักกันดีก็ green politic ที่ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความสัมพันธ์ โดยอิงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เป็นระบบบูรณาการเดียวกัน ใครจะคิดล่ะครับ ว่าการเมืองเอาไปโยงกับสิ่งแวดล้อมได้ เช่นเดียวกัน ใครจะคิดล่ะครับ ว่าจะเอาการเมืองไปโยงกับ funtionalism ได้?


อย่าประเมินตัวเองต่ำสิครับ เราอาจจะเป็น corner stone ของการเมืองไทยก็ได้


ปล. เพิ่มเติมว่า นักบวช น่าจะสังกัดกลุ่มจริยธรรมและวัฒนธรรม ทำนองนี้ครับ
ตรงนี้ต้องช่วยกันคิดสิครับ ผมไม่ได้บอกว่าผมดีไซน์ทั้งหมดไว้แล้วนะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 04:38 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #75 เมื่อ: 16-10-2007, 04:33 »



"ระบบดี-ไม่ดีไม่มีผล อยู่ที่คนมากกว่า"


จะปกครองด้วยระบอบไหน รูปแบบอะไร ใช้กฎเกณฑ์ โครงสร้าง หรือระบบตรวจสอบ ยังไง
ถ้าคนมันห่วยเสียอย่าง (รวมหมดทั้งคนปกครองและคนถูกปกครอง)
มันก็ ไปไหนไม่รอด


จะมองด้านเดียว ผมว่า แคบไปนะครับ

ผมว่า มันน่าจะเป็นระบบแบบ feedback มากกว่า คือ

คนมีผลกับระบบ ระบบก็มีผลกับคน

คนแย่ เข้าไปในระบบแย่ๆ มันก็ส่งผลกลับมาให้คนรุ่นถัดไป แย่ลงอีก

ในขณะที่ ถ้าพยายามแก้คน แต่คนมันป้อนเข้าไปในระบบแย่ กลับมาก็เท่าทุน เผลอๆ อาจแก้ไม่ได้ เพราะระบบมันกดหัวอยู่

ผมอยากให้เปิดใจครับ


** เพิ่มเติมว่า ถ้าจะแก้ ต้องแก้ทั้งสองอย่างพร้อมๆกันครับ

ที่ตรงนี้ผมเสนอวิธีการแก้ที่ตัวระบบ เพื่อยกปัญหา bottleneck ที่ทำให้การพัฒนาคนทำได้ยากออกไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 04:36 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #76 เมื่อ: 16-10-2007, 04:37 »

ถ้าการเมืองไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เราจะมีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติไปทำไมครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #77 เมื่อ: 16-10-2007, 04:44 »

การแบ่งอาชีพคนแบบของคุณ มันจะล้าสมัยไปเรื่อย ๆ

อาชีพใหม่ ๆ มันเกิดขึ้นตลอดเวลา ลอง ๆ แบ่งแยกอาชีพที่คุณรู้จัก มาให้ดูหน่อยครับ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #78 เมื่อ: 16-10-2007, 04:45 »

ถ้าการเมืองไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เราจะมีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติไปทำไมครับ


ชักแตกประเด็นแล้ว แต่ถือว่าคุยเล่นละกัน

ไอ้กระทรวงสิ่งและทรัพที่คุณแคนแคนว่า มันเป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวครับ

แต่ green politic กว้างกว่านั้น รวมถึงนโยบายทางเศรษฐศาสตร์ อาทิเช่น หลัก strong sustainability ที่คิดรวมต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ เข้าไปในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการพยายามหาดัชนีชี้วัด ความพัฒนาของชาติใหม่แทน GDP เช่น Index of Sustainable Economic Welfare หรือ ISEW ซึ่งมีการรวมต้นทุนหลายๆอย่างรวมทั้งสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่ไม่สามารถวัดเป็นค่าเงินได้ เข้าไปด้วย ซึ่งสามารถชี้วัดความเป็นอยู่ของคนในชาติได้ดีกว่า GDP เพราะ green economic ไม่ได้มองว่าเราจะขยายการผลิตทางเศรษฐกิจหรืออำนาจการตลาดไปได้เรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด แต่จะต้องหยุดตามขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กลุ่ม green movement จึงต้องมีอำนาจในนโยบายรวม หลายๆอย่างของประเทศนอกจากเรื่องสิ่งแวดล้อมครับ เพื่อการการันตีความอยู่รอดของมนุษย์
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #79 เมื่อ: 16-10-2007, 04:52 »

การแบ่งอาชีพคนแบบของคุณ มันจะล้าสมัยไปเรื่อย ๆ

อาชีพใหม่ ๆ มันเกิดขึ้นตลอดเวลา ลอง ๆ แบ่งแยกอาชีพที่คุณรู้จัก มาให้ดูหน่อยครับ


คุณแคนแคนถามแบบนี้ แปลว่ายังไม่เข้าใจหัวใจของหลักการผมอยู่ดี

แต่ไม่เป็นไร เป็นหน้าที่ที่ผมต้องนำเสนออยู่แล้ว


ไม่ได้แบ่งคนออกเป็นอาชีพครับ

แต่แบ่งออกเป็น องค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารประเทศ

ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างตายตัวพอสมควร จนกว่าจะมีอะไรใหม่จริงๆ เกิดขึ้น อย่างเช่น การเกิดของกระทรวง ICT ไงครับ

ต่อไปเราอาจต้องมีกระทรวงอาณานิคมอวกาศด้วยก็ได้ ใครจะไปรู้

แต่เท่าที่อาชีพของมนุษย์ในไทย หรือในโลก จะมีได้ มันจัดประเภทได้ไม่ยากหรอกครับ วุฒิการศึกษามันก็ช่วยในการแจกแจงได้เยอะแล้วเหมือนกัน

ส่วนจะให้ผมมาลิสต์ชื่ออาชีพทั้งหมด ผมทำไม่ได้หรอกครับ ตรงนี้ต้องใช้คนเป็นสภา เหมือนสภาร่าง ช่วยกันคิด

คุณแคนแคนก็รู้ว่าตอนฝรั่งเศสร่างกฏหมายหลังปฎิวัติชาวนา ตอนอเมริการ่างรัฐธรรมนูญหลังปลดแอกจากราชวงศ์อังกฤษได้ เขาไม่ได้มีพระเจ้าโยนรัฐธรรมนูญมาให้หรอกครับ

ผมทำได้ก็แค่ เสนอแนวคิดพื้นฐาน แล้วก็ให้เหตุผลความน่าจะเป็นให้กับคุณแคนแคนและคนอื่นๆ เท่านั้น ส่วนจะให้ผมมาร่างให้เป็นเรื่องเป็นราว ทำคนเดียวไม่ได้หรอกครับ


ไม่งั้นป่านนี้ผมร่างแล้วส่งไปขอเอกรัฐศาสตร์ที่ฮาวาร์ดแล้ว
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #80 เมื่อ: 16-10-2007, 05:09 »

ครับ ๆ ผมเรียนนิเทศ แล้วมาเป็นชาวนา ให้ผมอยู่กลุ่มใหนดีครับ

เอ้อ...แล้วจะแบ่ง "ค่าตอบแทนจากการทำงาน" แบบใหนดีครับ

กลุ่มที่มีจำนวนน้อย แต่ทำเงินมาก กับกลุ่มที่มีจำนวนมากแล้วทำเงินน้อย

จะแบ่งผลประโยชน์ยังไงดีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 05:13 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #81 เมื่อ: 16-10-2007, 05:16 »

คุณแคนแคนถามแบบนี้ แปลว่ายังไม่เข้าใจหัวใจของหลักการผมอยู่ดี

แต่ไม่เป็นไร เป็นหน้าที่ที่ผมต้องนำเสนออยู่แล้ว


ไม่ได้แบ่งคนออกเป็นอาชีพครับ

แต่แบ่งออกเป็น องค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารประเทศ

ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างตายตัวพอสมควร จนกว่าจะมีอะไรใหม่จริงๆ เกิดขึ้น อย่างเช่น การเกิดของกระทรวง ICT ไงครับ

ต่อไปเราอาจต้องมีกระทรวงอาณานิคมอวกาศด้วยก็ได้ ใครจะไปรู้

แต่เท่าที่อาชีพของมนุษย์ในไทย หรือในโลก จะมีได้ มันจัดประเภทได้ไม่ยากหรอกครับ วุฒิการศึกษามันก็ช่วยในการแจกแจงได้เยอะแล้วเหมือนกัน

ส่วนจะให้ผมมาลิสต์ชื่ออาชีพทั้งหมด ผมทำไม่ได้หรอกครับ ตรงนี้ต้องใช้คนเป็นสภา เหมือนสภาร่าง ช่วยกันคิด

คุณแคนแคนก็รู้ว่าตอนฝรั่งเศสร่างกฏหมายหลังปฎิวัติชาวนา ตอนอเมริการ่างรัฐธรรมนูญหลังปลดแอกจากราชวงศ์อังกฤษได้ เขาไม่ได้มีพระเจ้าโยนรัฐธรรมนูญมาให้หรอกครับ

ผมทำได้ก็แค่ เสนอแนวคิดพื้นฐาน แล้วก็ให้เหตุผลความน่าจะเป็นให้กับคุณแคนแคนและคนอื่นๆ เท่านั้น ส่วนจะให้ผมมาร่างให้เป็นเรื่องเป็นราว ทำคนเดียวไม่ได้หรอกครับ


ไม่งั้นป่านนี้ผมร่างแล้วส่งไปขอเอกรัฐศาสตร์ที่ฮาวาร์ดแล้ว



  ครับท่าน PastelSalad ผมชักหงุดหงิดนะครับ  ประชาธิปตรง  ประไตยของคุณเนี่ย

  คงอาจใช้ได้ตอนชาติหน้าบ่ายๆ ว๊อยยยย   



  (ไม่งั้นป่านนี้ผมร่างแล้วส่งไปขอเอกรัฐศาสตร์ที่ฮาวาร์ดแล้ว) 5555 ขากถุย เสลดพันคอเอ็งก็มาทำไมเมืองไทย ทุเรศจัง



บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #82 เมื่อ: 16-10-2007, 05:25 »

ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม มันสลับซับซ้อน

คุณเล่นเอาอาชีพมาแบ่งกลุ่ม ผมไม่เห็นด้วยแต่แรกอยู่แล้ว

เพราะบางกลุ่มเค้าไม่เรียกกลุ่มอาชีพ เช่น นักบวช เป็นต้น

คุณจะจัดความสัมพันธ์เอง ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม กลุ่มนี้ยังไง

อีกหน่อยก็จะมีแนวคิดใหม่ ให้ออกเสียงเป็นครอบครัว ดีมั๊ยครับ

หรือออกเสียงตามนามสกุลก็ไม่เลว เพราะเป็การแบ่งแยกได้อีกแบบ

หรือจะแบ่งตามเพศ วัย การศึกษา ศาสนา จัดรูปแบบการปกครองได้ทุกแบบถ้าคุณจะคิด

ถ้าเอาความแตกต่างทางด้านอาชีพ มาเป็นตัวตั้งในการบริหาร ผมว่าคุณยุ่งยากแน่นอน

นี่เค้ากำลังมี สภาเด็ก คุณไม่คิดตั้งระบอบการปกครองแบ่งแยกตามวัยดีมั๊ยครับ

ขนาดธีรยุทธ์ ยังเสนอ สภาอาวุโส หรือ สภาคุณธรรม


บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #83 เมื่อ: 16-10-2007, 05:30 »

ว่าง ๆ ลองเสิร์ชคำว่า "สภา" ดูนะครับ มีหลากหลายอาชีพ เช่น

สภาทนายความ สภาวิศวกรรม แพทยสภา สภากาชาดไทย สภาสังคมสงเคราะห์ สภาพัฒน์ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯ

สภาคนพิการ สภาครู ( คุรุสภา) สภาคนพิการ สมาคมสามล้อ สมาคมคนอกหัก สมาคมคนกลัวเมีย สมาคมคนปลดหนี้ สมาคมคนหนีหนี้

ใช้ผู้ชำนาญการพวกนี้บริหารประเทศเลยครับ...เจ๋ง ๆ ทั้งนั้นเลย
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #84 เมื่อ: 16-10-2007, 06:36 »



  ครับท่าน PastelSalad ผมชักหงุดหงิดนะครับ  ประชาธิปตรง  ประไตยของคุณเนี่ย



อยากให้ผมสนใจคุณมั้ยครับ

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #85 เมื่อ: 16-10-2007, 06:56 »

ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม มันสลับซับซ้อน

คุณเล่นเอาอาชีพมาแบ่งกลุ่ม ผมไม่เห็นด้วยแต่แรกอยู่แล้ว

เพราะบางกลุ่มเค้าไม่เรียกกลุ่มอาชีพ เช่น นักบวช เป็นต้น

คุณจะจัดความสัมพันธ์เอง ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม กลุ่มนี้ยังไง




คุณแคนแคนเริ่มไม่พูดด้วยเหตุผลแล้วครับ

ประชดไปก็ไม่ได้ทำให้ผมเข้าใจแนวคิดคุณได้หรอกนะครับ


ผมบอกเป็นครั้งที่สี่แล้วครับ ว่าไม่ได้แบ่งตามอาชีพ แต่อาชีพช่วยเป็นเกณฑ์แบ่งอย่างหนึ่ง

แบ่งตามหน้าที่ในสังคมครับ ซึ่งวัดด้วยองค์ความรู้ในการบริหารประเทศ

หรือคุณจะบอกว่า คนคนนึงเกิดมา ถึงวัยทำงานทำการ วัยหาความรู้ แล้วจะบอกไม่ได้ว่าเขามีหน้าที่อะไรในสังคม


นักบวช ก็อยู่จริยธรรมและวัฒนธรรมสิครับ
ถ้าคุณจบนิเทศน์ และเป็นชาวนา ก็อยู่กลุ่มสื่อสารมวลชนกับกสิกรรมทั้งสองกลุ่มสิ
ถ้าคุณเรียนจบแล้ว งานก็มีทำ แต่ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีหน้าที่อะไรในสังคม ก็อย่ามีสิทธิมันเลยครับ เอาไปเฉพาะสิทธิสวัสดิการมนุษย์พอ


กลุ่มต่างๆ ต้องรวมพลังสมองนักวิชาการและนักรัฐศาสตร์และนักหลายๆ อย่าง มาช่วยกันคิดว่า

ว่าจะแบ่งยังไงให้พอใจและครอบคลุมมากที่สุด โดยยังมีสมบัติที่ผมกำหนดไว้อยู่
ส่วนไหนไม่ครอบคลุมก็ใช้การเข้าสอบเอา ถ้าเขามีความสามารถในการทำหน้าที่นั้นๆ ในสังคมจริง เขาย่อมทดสอบผ่าน ผมบอกแล้วว่าทำให้ยุ่งยากน้อยกว่าใบขับขี่ได้


ส่วนไอ้แบ่งตามครอบครัว ตามเด็ก ตามอะไรที่คุณว่ามานั่น
ถ้าท่าทางมันจะใช้ได้ดีจริง ก็ต้องพิจารณาครับ
คุณมีเหตุผลที่ดีพอมาสนับสนุนหรือเปล่าล่ะ

การที่คุณมาบอกว่า แบ่งไม่ได้ๆ โดยอ้างแค่ว่า อาชีพในโลกนี้มีมากมายหลายหลากเหลือคณานับ
ไม่ใช่เหตุผลที่บอกว่าแบ่งไม่ได้เลยครับ เพราะเกณฑ์ที่คุณเอามาค้านก็ไม่ใช่เกณฑ์ของผมแล้ว
ต่อให้ผมบอกว่า ใช้เกณฑ์อาชีพ เหตุผลคุณก็ยังค้านผมไม่ได้อยู่ดี เพราะเป็นความเชื่อของคุณเท่านั้น
จนกว่าคุณจะยกอาชีพทั้งหมด แล้วเอามาแบ่งให้ดูด้วยทุกวิธีที่แบ่งได้ แล้วพบว่าไม่มีวิธ๊ไหนแบ่งลงตัวเลย
นั่นแหละครับ ผมถึงยอมรับเหตุผลคุณ

เพราะฉะนั้น สถานะผมตอนนี้ ถึงผมยังไม่ได้แบ่งให้ดูจริงๆ ว่าทำได้ แต่ก็ยังไม่แปลว่าจะทำไม่ได้ ถ้าคุณอยากค้าน คุณต้อง disprove ผมด้วยวิธีการที่บอกด้านบนแล้วล่ะครับ (หรือวิธ๊อื่นตามตรรกะ)

ถ้าคุณไม่ลองพิจารณาเพียงเพราะไม่เคยมีใครพิจารณามาก่อน ไม่เคยมีใครบอกมาก่อน โดยยังไม่ลองทำพิเคราะห์ดู ทำดู

ผมก็จะบอกคีย์เวิร์ดกุเกิลที่วิเศษกว่าที่คุณให้ผมนะครับ "กาลามสูตร" ครับ



ผมต้องขอถามคุณแคนแคนแล้วล่ะครับว่า ก่อนคุณแคนแคนถามคำถามผมนี่ คุณลองคิดหาคำตอบเองหรือยัง

เพราะผมรู้สึกว่า การที่คุณมาถามผมกลับด้วยคำถาม "ผมจบนิเทศและทำนา จะให้สังกัดอะไร" นี่ แปลว่า คุณยังไม่ได้ลองคิดถึงหลักการของผมเลย แล้วมาโต้เถียงกันแล้ว

ถ้าเช่นนั้น ผมรู้สีกเสียดายเวลาครับ




บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #86 เมื่อ: 16-10-2007, 07:37 »

ผมขอกลับมาพูดถึงอะไรที่สร้างสรรค์ต่อนะครับ



ผมสนใจ ความเข้มแข็งในระดับการเมืองภาคประชาชน มากกว่า



ตรงนี้ผมติดใจแนวคิดของคุณเฟรดดี้มาก เลยลองไปค้นคว้าเรื่องการเมืองภาคประชาชนแบบเป็นเรื่องเป็นราวมา

ปรากฏว่าเซอร์ไพรส์มากครับ ที่หลักการที่ผมเสนอ กลับสนับสนุนการเมืองภาคประชาชนอย่างไม่น่าเชื่อ

การเมืองภาคประชาชนที่ผมจะพูดต่อไปนี้ พูดตามนิยามของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์นะครับ




ประชาธิปไตยตามหน้าที่กับการเมืองภาคประชาชน

ประชาธิปไตยตามหน้าที่ ส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนมากกว่าที่คิดครับ

ผมเกือบจะสรุปด้วยซ้ำว่า ประชาธิปไตยตามหน้าที่ คือการเมืองภาคประชาชน

ที่คิดเช่นนั้น เพราะว่า การเข้าถึงอำนาจในการบริหารและดำเนินนโยบายของประเทศสำหรับประชาชนนั้น ทำในระบอบตามหน้าที่ได้ง่ายกว่าในระบอบรัฐสภาครับ

สมมติว่าเราเป็นประชาชนคนไทยธรรมดา ไม่มีทุน ไม่มีชื่อเสียง ที่ต้องการนำนโยบายบางอย่าง (ที่เราและชุมชนหรือกลุ่มคน เห็นว่าดี) ให้มีการปฏิบัติในระดับประเทศ เราจะได้ประโยชน์จากระบอบตามหน้าที่เมื่อลงสมัครเป็นผู้แทน ดังนี้

  • 1. เราไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง จึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการหากลุ่มทุนและกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้เรายังสามารถคงหลักการของตัวเองได้ โดยไม่ต้องโอนอ่อนตามนโยบายกลุ่มการเมือง แต่ในขณะเดียวกันยังสามารถ-
  • 2. แข่งขันกับผู้สมัครพรรคการเมืองได้ เพราะรัฐบาลช่วยอุดหนุนงบประมาณและโอกาสในการหาเสียงให้ และการหาเสียงทำในวงแคบกว่า นอกจากนี้ ระบอบยังสามารถช่วยการเมืองภาคประชาชนได้อีก ถ้ากำหนดให้มีการห้ามจัดการหาเสียงเอง แต่ให้รวมหาเสียงตามโอกาสที่กกต. จัดให้ (แต่ตรงนี้อาจเป็นการบังคับไป)
  • 3. ไม่ต้องคำนึงถึงเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ต้องคำนึงถึงเสียงส่วนใหญ่ในกลุ่มภารกิจที่เกี่ยวกับนโยบายที่เราต้องการเสนอแทน ซึ่งเป็นการรักษาผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยไว้
  • 4. ไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับนโยบายส่วนอื่นของประเทศที่ตนไม่ได้นำเสนอ เนื่องจากเราแค่นำเสนอสิ่งที่เราเห็นว่าดีเฉพาะกับกลุ่มภารกิจ ก็เพียงพอต่อการได้รับเลือกเข้าไปทำหน้าที่ตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มภารกิจที่เราสมัครแล้ว

อาจจะยังมองไม่เห็นภาพครับ จะยกตัวอย่างเรื่องเขื่อนให้ สมมติว่าเราเป็นแกนนำกลุ่มชาวบ้านคัดค้านการสร้างเขื่อนนะครับ ถ้าเป็นสมัยนี้ นอกจากการประท้วงและการเล่นสื่อแล้ว เราแทบไม่มีหนทางในการต่อสู้กับอำนาจรัฐเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราได้เลย ไม่ว่าผลประโยชน์ของท้องถิ่น หรือของประเทศ (ทรัพยากรสัตว์ ป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ)
เนื่องจาก เราแทบจะหาพรรคสังกัดไม่ได้ ถ้าเป็นการยื่นเรื่องร้องทุกข์เข้าสภา ก็จะถูกดองไว้นานมาก (อ่านคำอธิบายปัญหาที่ละเอียดกว่านี้ได้ในบทสัมภาษณ์อาจารย์นิธิ และคณะนักวิชาการ จากรายการทีทรรศน์ครับ)

แต่ด้วยระบอบตามหน้าที่นี้ เราซึ่งเป็นแกนนำชาวบ้าน จะสามารถลงสมัครเป็นผู้แทนได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยพรรคการเมืองเห็นชอบกับนโยบายเรา ไม่ต้องอาศัยนายทุนให้ทุนหาเสียง สิ่งที่เราควรทำเพื่อไม่ให้มีการสร้างเขื่อน คือ เข้าสมัครผู้แทนในกลุ่มสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

จากนั้นเราให้ชาวบ้านแนวร่วมเข้าทดสอบรับสิทธิกลุ่มสิ่งแวดล้อมฯ (ถ้าร่วมประท้วงด้วยความรู้จริง ย่อมพร้อมจะเรียนรู้เรื่องที่ตนกำลังประท้วง) เราก็จะได้ฐานเสียงอย่างต่ำคือกลุ่มผู้เดือดร้อน จากนั้นเราก็เข้าร่วมการประชุมหาเสียงของกลุ่มภารกิจสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจให้นักสิ่งแวดล้อมทั้งหลายเห็นความสำคัญของป่าที่เรากำลังปกป้อง ซึ่งถ้ามีความสำคัญจริง นักสิ่งแวดล้อมย่อมสนับสนุนแน่นอน ตรงนี้นายทุนป่า นายทุนโรงไฟฟ้าทำอะไรไม่ได้ (นอกจากจ้างคนมายิง กับจ้างนักวิชาการขายตัวมาลงสมัครแข่ง) 

เมื่อเราได้เป็นผู้แทนมีอำนาจในสภาภารกิจแล้ว หากเราได้รับเลือกเป็นฝายบริหาร ก็สามารถชักจูงคณะบริหารในกระทรวงเรา ให้ผลักดันเรื่องนี้ได้ โดยการเตรียมการนำเสนอโครงการกับคณะบริหารกลุ่มภารกิจอื่นให้ดี ว่าการตัดป่าบ้านเราทำเขื่อน ส่งผลเสียต่อ "เศรษฐกิจในระยะยาวตามระบบยั่งยืน" ต่อกระทรวงเศรษฐกิจ "การแพทย์ในเรื่องยาจากป่าฝน" กับกระทรวงสาธารณสุข "การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ์" ต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเสนอทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การทำเขื่อนที่บ้านเราให้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเศรษฐกิจ ถ้าเหตุและผลเราดีพอ การนำเสนอน่าสนใจ เราสามารถได้คะแนนไม่เอาเขื่อนเพิ่มจาก ก.เศรษฐกิจ สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ได้ ในขณะที่เราก็ลดเสียงให้สร้างเขื่อนจาก ก.อุตสาหกรรม ก.พลังงาน และก. เศรษฐกิจได้ ซึ่งย่อมส่งผลเป็นนโยบายอย่างชัดเจน

หรือถ้าเราได้อำนาจนิติบัญญัติในสภาภารกิจ เราก็สามารถขอให้คณะบริหารของกลุ่มสิ่งแวดล้อมเสนอโครงการดังกล่าว หรือไม่ก็นำเสนอเพื่อขอโหวตล้มกฏหมายหรือโครงการสร้างเขื่อนได้ โดยวิธีการจูงใจที่กล่าวไปแล้ว


จะเห็นได้ว่า ระบอบนี้ เป็นระบอบที่สนับสนุนการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง

แต่ผมไม่ได้บอกว่า ทำได้ด้วยวิธีนี้วิธีเดียว ผมแค่บอกว่า ระบอบประชาธิปไตยตามหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนได้อย่างจริงจัง มีทางปฏิบัติชัดเจน เท่านั้นเอง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 06:18 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #87 เมื่อ: 16-10-2007, 08:09 »


 


คุยกันไปพักกันไปครับ..

จะได้คุยกันได้นานๆ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #88 เมื่อ: 16-10-2007, 08:26 »

กลุ่มผู้แทนสิ่งแวดล้อม มีใครบ้างครับ

คุณต้องไปจำแนกมาก่อนซีครับ คุณสมบัติยังไง ถึงจะอยู่ในกลุ่มนี้ได้

ตกลงว่า...ตัวแทนสิ่งแวดล้อม สมัครเข้าไปเพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนว่างั้นเถอะ

ประเด็นเขื่อน ไม่ได้กระทบเฉพาะกลุ่มคนเล็ก ๆ แต่มันกระเทือนตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ

คนแจวเรือ คนที่ทำคมนาคมทางเรือ ประชาชนชาวกทม. ประชาชน ทั้งลุ่มน้ำที่โดนน้ำท่วม อยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด

ตกลง 1 คน จะให้สังกัดกี่กลุ่มครับ

บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #89 เมื่อ: 16-10-2007, 09:03 »

กลุ่มผู้แทนสิ่งแวดล้อม มีใครบ้างครับ

คุณต้องไปจำแนกมาก่อนซีครับ คุณสมบัติยังไง ถึงจะอยู่ในกลุ่มนี้ได้

ตกลงว่า...ตัวแทนสิ่งแวดล้อม สมัครเข้าไปเพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนว่างั้นเถอะ

ประเด็นเขื่อน ไม่ได้กระทบเฉพาะกลุ่มคนเล็ก ๆ แต่มันกระเทือนตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ

คนแจวเรือ คนที่ทำคมนาคมทางเรือ ประชาชนชาวกทม. ประชาชน ทั้งลุ่มน้ำที่โดนน้ำท่วม อยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด

ตกลง 1 คน จะให้สังกัดกี่กลุ่มครับ



คุณแคนแคนครับ seriously

กลับไปอ่านที่ผมสรุปให้อ่านใหม่ จะทำให้ถกกันได้ง่ายกว่านี้นะครับ

สำหรับข้อสงสัยตรงนี้ จะตอบให้

หนึ่งคนได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มครับ แต่จำกัดไว้ ให้เลือกเฉพาะกลุ่มที่อยากสังกัดที่สุด x กลุ่ม

และเรื่องที่เขื่อนกระทบหลายสาขาหน้าที่ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำนั้น

คือหลักการสำคัญที่ทำให้ระบบนี้บริหารได้เลยครับ

ส่วนถ้าจะเข้าไปคัดค้านเขื่อนอย่างเดียว ถ้าเขื่อนมันสำคัญมาก คนสิ่งแวดล้อมก็เลือกครับ ถ้าไม่สำคัญมาก ก็ต้องหาเสียงโดยนโยบายอื่นด้วย

ตรงนี้อำนาจในการพิจารณา อยู่ที่กลุ่มสิ่งแวดล้อมและทรัพฯ ครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #90 เมื่อ: 16-10-2007, 09:20 »

โอ ผมไปได้คำศัพท์ที่ดีกว่าคำว่า กลุ่มชำนาญการ และสภาชำนาญการมาแล้ว


คือ กลุ่มภารกิจ และ สภาภารกิจ (Functional groups and The functional council)




เอาคำแปลว่า functional มาจากในเว็บมหาลัยเที่ยงคืนเลย เครดิตอ.สักคน จำชื่อไม่ได้ ต้องขออภัยด้วยครับ

จริงๆ อยากใช้คำว่า หน้าที่ แต่เดี๋ยวก็แคบไปอีก กลัวจะเอาไปโยงกับ หน้าที่พลเมืองดี หน้าที่เลือกตั้ง อะไรเทือกนั้น


เอ๊ะ ว่าแต่ เขาใช้คำว่า senate หรือ council ครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 09:22 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #91 เมื่อ: 16-10-2007, 09:36 »

1 คน สังกัดได้มากกว่า 1 กลุ่ม แล้วความเสมอภาค มาจากใหนครับ

ช่วยอธิบาย สมบัติส่วนกลาง หรือ สมบัติสาธารณะ ให้ฟังหน่อยซีครับ

ชาวนาแบบผม สามารถกำหนดราคาขายข้าวได้มั๊ย

คนสวนยาง กำหนดราคายางได้มั๊ย

ราคาสินค้า ใช้อะไรเป็นตัวกำหนด ผู้ชำนาญการด้านใหน

หรือให้ผู้ชำนาญการจากทุกอาชีพ อยู่ในกระทรวงพานิชย์


ถ้าผมอยู่ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผมมีสิทธิ์กำหนดค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ อย่างไร

ถ้าผมอยู่ในภาคข้าราชการ ผมมีสิทธิ์อะไรบ้างสามารถเป็นผู้ชำนาญการข้าราชการได้หรือไม่ กำหนดค่าจ้างและสวัสดิการได้มากน้อยแค่ใหน

ใครเป็นคนดูแลด้านการเงินการคลัง ใครดูแลการเงิน

ใครดูแลต่างประเทศ ขึ้นกับใคร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 09:47 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #92 เมื่อ: 16-10-2007, 09:41 »

1 คน สังกัดได้มากกว่า 1 กลุ่ม แล้วความเสมอภาค มาจากใหนครับ

มีความเสมอภาคในพื้นฐานความเป็นมนุษย์ คุณภาพชีวิต และโอกาสในการหาสิ่งที่ดีๆให้กับชีวิตตามบรรทัดฐานอันดีงามครับ

แต่ไม่เหมือนกันในหน้าที่ที่มีต่อสังคม

เรื่องนี้ผมตอบคุณแคนแคนไปแล้วนิครับ ในตอนกลางๆกระทู้

ลองสครอลขึ้นไปอ่านนะครับ

สงสัยอะไรถามได้ครับ แต่ขอให้รบกวนลองคิดเองก่อนสักนิด
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #93 เมื่อ: 16-10-2007, 09:49 »

เดี๋ยวสักพักผมจะกลั่นกรองและเรียบเรียงแนวคิดให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วนำไปแปะกระทู้ใหม่ ตั้งชื่อกระทู้ว่า ระบอบประชาธิปไตยตามหน้าที่ ไปเลยนะครับ

เพราะกระทู้นี้มันยาวยืดและโต้เถียงกันมาก จนคาดว่า คนเข้ามาใหม่น่าจะท้อก่อนติดตามจนจบ 

เดี๋ยวผมจะสังเคราะห์รายการ FAQ ไว้ด้วย

น่าจะดีนะครับ

แต่รอผมไปคุยกับอ. คณะรัฐศาสตร์ก่อน จะได้เรียบเรียงแบบมีหลักการหน่อย ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ น่าจะจัดทำได้



อีกไอเดียหนึ่ง ไม่ทราบว่าคุณแคนแคน คุณพระพาย หรือคุณสกอปิโอ้ และผู้สนใจท่านอื่นๆ จะมีเวลาว่าง และอยู่ในเมืองสะดวกเดินทางกันหรือเปล่า

ผมว่า ออกมากินเค้กกับโกโก้กันพลาง คุยกันพลาง สดๆ ไปเลย น่าจะออกรส และเข้าใจได้ง่ายกว่า

ถึงแม้สุดท้ายจะคุยกันไม่ได้เรื่อง ก็ถือว่ามาพบปะพูดคุยกันก็แล้วกันครับ คุยเรื่องอื่นด้วย



ส่วนสมบัติสาธารณะ แปลว่าอะไรครับ กลัวเข้าใจคำถามไม่ถูก

ถ้าแปลว่า ทรัพยากรส่วนรวมที่ต้องบริหารแบ่งปันระหว่างกระทรวงแล้วล่ะก็ ผมโมเดลให้เป็น งบประมาณ กับเวลาในการนำเสนอในสภาครับ

ซึ่งตรงนี้คุยเรื่องการจัดการโดย task force และหลักผลประโยชน์ร่วมกันไปแล้วครับ ถ้าจะขาดก็แต่ moderator ซึ่งเรื่องนี้ค่อยว่ากัน

ถ้านี่ไม่ใช่สิ่งที่คุณแคนแคนถาม ก็รบกวนอธิบายคำถามด้วยครับ อย่าลืมว่า ผมไม่มีความรู็
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 09:51 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #94 เมื่อ: 16-10-2007, 09:54 »

ผมว่าคุณลองไปศึกษารัฐธรรมนูญ 2550 ใหม่ดีกว่ากระมังครับ

เอาเฉพาะหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ก็พอ ลอง ๆ ร่างตรงนั้นออกมานะครับ

หรือจะร่างใหม่ทั้งฉบับก็ได้ ตั้งแต่หมวดพระมหากษัตริย์ เรื่อยไป

เพราะในรัฐธรรมนูญ มีโครงร่างอยู่แล้ว

หรือคุณจะไปทำ สมุดปกเหลือง แบบโครงร่างเศรษฐกิจ แบบของนายปรีดี ออกมาดูก็ได้ครับ

ผมบอกแล้วไง โครงสร้างของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ มีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกันหมด

ไม่ได้แยกได้เฉพาะอาชีพ หรือผู้ชำนาญการอะไรของคุณ


บันทึกการเข้า

Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #95 เมื่อ: 16-10-2007, 09:59 »

ผมพอจับประเด็นคุณPastelSaladได้ดังนี้ครับ
๑.คุณพาสเทลมาแนะนำทางเลือกหรือนวัตรกรรมใหม่ทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยแบบใหม่แทนที่ระบบรัฐสภาซึ่งมัน"ห่วยแต๊ก"
๒.การเมืองแบบใหม่เป็นการเมืองภาคประชาชนขนานแท้แบบยาหม้อใหญ่ที่จะแก้ไขปัญหาที่มันเกิดในปัจจุบัน(ที่แก้ไม่ได้หากยังยึดระบอบเก่า)
๓.สิ่งที่คิดกันอยู่ยังไม่มีใครทำเพียงแต่เขาเสนอไอเดียให้เราท่านเปิดกว้างรับไอเดียก่อนแล้วถกเถียงก่อร่างสร้างโมเดล"การเมืองใหม่"
๔.คุณพาสเทลเริ่มต้นจาก"วิทยาศาสตร์"ซึ่งเป็นเรื่องพิสูจน์ได้แล้วจะปรับมาเป็น"เรื่องของการเมือง"ซึ่งทำคนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุคน
๕.ถ้าพวกเรามัวแต่ถกเถียงแต่เรื่องรายละเอียดปลีกย่อยก็จะเหมือน"ตาบอด คลำช้าง"หรือไม่ไปใหนมาใหนแล้วก็จะมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่นอกกะลา
ให้มองในภาพกว้าง"จากมมมองของนก"แล้วปักธงรับหลักการก่อนรายละเอียดจะตามมาโดยการระดมจากเราท่านนี่แหละ
***ผมเสนอให้ทุกท่านต่อจิกซอร์ดูครับอย่าบอกนะครับว่าทุกอย่างเป็นไปไม่ได้(ซึ่งไม่อยู่ในสมองกลวงๆของผม)
     ถ้าเราเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้แล้วมาต่อจิกซอว์กันเป็นโมเดลทางการเมืองโดยพวกเรา
     โดยไม่ต้องสนใจนักการเมืองในปัจจุบัน....โอเชโลด ผมเห็นด้วย..รับหลักการกับคุณพาสเทล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2007, 10:08 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #96 เมื่อ: 16-10-2007, 10:03 »

ผมบอกแล้วไง โครงสร้างของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ มีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกันหมด

ไม่ได้แยกได้เฉพาะอาชีพ หรือผู้ชำนาญการอะไรของคุณ

What the f***....

ผมกำลังจะตอบคำถามคุณข้่างบน แต่มาเห็นโพสต์นี้ ไม่ตอบดีกว่า เพราะท่าทางการถามของคุณ ไม่ได้ต้องการคำตอบ

ผมสรุปว่า คุณไม่ได้มาฟังผมนำเสนอ แต่มาเกรียนการนำเสนอของผม

ผมบอกแล้วว่า ไม่ได้มาป้องกันวิทยานิพนธ์ แต่มาเสนอแนวความคิด ถ้าเรามีแนวความคิดตรงกัน และเห็นดี ก็ช่วยกันร่างให้เป็นรูปธรรมต่อ


แต่คุณแคนแคนมา แล้วก็ ค้านๆๆๆ แต่ค้านนี่ค้านแบบส้นตี* คือค้านแล้วไม่ฟังคำตอบอธิบาย ค้านแล้วไม่ช่วยคิด ค้านแล้วไม่นำเสนอกลับ ไอ้ที่ค้านมาก็ยังไม่ได้เข้าใจที่ผมเสนอเลยด้วยซ้ำ สรุปคือ ค้านแค่ขอให้ได้ค้าน ถ้าเป็นเช่นนี้ รบกวนเชิญออกจากกระทู้ผม จะเป็นพระคุณมากครับ เพราะไม่ได้อยู่สร้างสรรค์อะไรเลย 
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #97 เมื่อ: 16-10-2007, 10:05 »

ผมพอจับประเด็นคุณPastelSaladได้ดังนี้ครับ
๑.คุณพาสเทลมาแนะนำทางเลือกหรือนวัตรกรรมใหม่ทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยแบบใหม่แทนที่ระบบรัฐสภาซึ่งมัน"ห่วยแต๊ก"
๒.การเมืองแบบใหม่เป็นการเมืองภาคประชาชนขนานแท้แบบยาหม้อใหญ่ที่จะแก้ไขปัญหาที่มันเกิดในปัจจุบัน(ที่แก้ไม่ได้หากยังยึดระบอบเก่า)
๓.สิ่งที่คิดกันอยู่ยังไม่มีใครทำเพียงแต่เขาเสนอไอเดียให้เราท่านเปิดกว้างรับไอเดียก่อนแล้วถกเถียงก่อร่างสร้างโมเดล"การเมืองใหม่"
๔.คุณพาสเทลเริ่มต้นจาก"วิทยาศาสตร์"ซึ่งเป็นเรื่องพิสูจน์ได้แล้วจะปรับมาเป็น"เรื่องของการเมือง"ซึ่งทำคนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุคน
๕.ถ้าพวกเรามัวแต่ถกเถียงแต่เรื่องรายละเอียดปลีกย่อยก็จะเหมือน"ตาบอด คลำช้าง"หรือไม่ไปใหนมาใหนแล้วก็จะมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่นอกกะลาให้มองแล้วปักธงรับก่อนรายละเอียดจะตามมา
ผมเสนอให้ทุกท่านต่อจิกซอร์ดูครับอย่าบอกนะครับว่าทุกอย่างเป็นไปไม่ได้(ซึ่งไม่อยู่ในสมองกลวงๆของผม)ถ้าเราเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้แล้วมาต่อจิกซอว์กันเป็นโมเดลทางการเมืองโดยพวกเราโดยไม่ต้องสนใจนักการเมืองในปัจจุบัน....โอเชโลด ผมเห็นด้วย..รับหลักการกับคุณพาสเทล

ไอ้ย่า มีคนเข้าใจเราแล้ว 

มากินโกโก้ด้วยกันดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #98 เมื่อ: 16-10-2007, 10:10 »

อุ๊ย อ่านอีกที พูดเหมือนทักษิณเลยเรา 

เอ้า เอาให้ครบ ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ โจรกระจอก เก้าลอเก้า

หน้าเหลี่ยมนี่มายฮีโร่นะครับ ถ้าเขาไม่ดันเสร่อไปโกงน่ะนะ




ถ้าคุณสกอปิโอ้หก ยังไม่ได้อ่านบทสรุปโครงสร้างอย่างย่อและไร้คำอธิบายเหตุผลนี้ ก็รบกวนช่วยอ่าน และถ้ามีข้อสงสัยหรือข้อเสนอในรายละเอียดที่ดีกว่ายังไง ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

จริงๆ มีคนมาค้านแบบคุณแคนแคนนานๆ ทีบ้างก็ดีนะ

จะได้ refine ข้อเสนอตัวเองได้ อย่างบทสรุปนี่ ก็อานิสงค์คุณแคนแคน


บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #99 เมื่อ: 16-10-2007, 10:15 »

อิ อิ เสนอแบบซ่งติง แล้วมาบอกว่าค้านแบบซ่งติง... ตลกแล้วคุณ

คุณไม่ได้มีพื้นฐานอะไรเลย ดั้นมาเสนอระบอบการปกครองแบบใหม่

ไม่ได้รู้แม้รากฐานของประชาธิปไตยมาจากแนวคิดอะไร

เสนอไปเถอะครับ เผื่อจะมีคนเข้าใจ ไม่ก็ไปเปิดเกาะอยู่ใหม่

ตอนนี้เค้าพัฒนาแวทางปฏิรูปการเมือง ส่งเสริมประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

ตอบคำถามพื้นฐานไม่ได้ซักอย่าง ใครจะไปเล่นกับคุณ อิ อิ

ผมว่า หาวัด นั่งทำสมาธิ หรือ หาเวลานั่งอ่านทฤษฎีการเมืองทั้งหมดที่มีในโลกให้จบก่อนดีกว่า

เผื่อจะเจอช่องว่าง ให้คิดระบอบใหม่ได้

หรือจะหาเวลาว่าง ๆ เขียนความต้องการพื้นฐาน แบบ "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ออกมาดูซิ

บอกความต้องการของตัวเองด้มั๊ย ถ้าบอกความต้องการพื้นฐานไม่ได้ อย่าเพื่งไปคิดอะไรที่มันเกินสติปัญญา

เข้าใจนะจ๊ะ...อ้อ...เวลาโดนโต้แย้ง อย่าทำแต๋วแตก..โอเค้..
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8
    กระโดดไป: