ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 22:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... ** 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8
** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... **  (อ่าน 38541 ครั้ง)
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« เมื่อ: 14-10-2007, 22:24 »


เนื่องจากกระทู้ตอนนี้ยาวมาก และมีการเรียบเรียงที่ไม่ดีเท่าไหร่ ผมจึงจะทำสารบัญไว้ให้สำหรับผู้ที่สนใจได้อ่านอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่ายขึ้นนะครับ



คำนำ


ผมพอจับประเด็นคุณPastelSaladได้ดังนี้ครับ

๑.คุณพาสเทลมาแนะนำทางเลือกหรือนวัตรกรรมใหม่ทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยแบบใหม่
   แทนที่ระบบรัฐสภาซึ่งมัน"ห่วยแต๊ก"
๒.การเมืองแบบใหม่เป็นการเมืองภาคประชาชนขนานแท้แบบยาหม้อใหญ่ที่จะแก้ไขปัญหาที่มันเกิดในปัจจุบัน
    (ที่แก้ไม่ได้หากยังยึดระบอบเก่า)
๓.สิ่งที่คิดกันอยู่ยังไม่มีใครทำเพียงแต่เขาเสนอไอเดียให้เราท่านเปิดกว้างรับไอเดียก่อน
    แล้วถกเถียงก่อร่างสร้างโมเดล
"การเมืองใหม่"
๔.คุณพาสเทลเริ่มต้นจาก"วิทยาศาสตร์"ซึ่งเป็นเรื่องพิสูจน์ได้แล้วจะปรับมาเป็น"เรื่องของการเมือง"
    ซึ่งทำคนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุคน
๕.ถ้าพวกเรามัวแต่ถกเถียงแต่เรื่องรายละเอียดปลีกย่อยก็จะเหมือน"ตาบอด คลำช้าง"หรือไม่ไปใหนมาใหน
    แล้วก็จะมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่นอกกะลา

ให้มองในภาพกว้าง"จากมมมองของนก"แล้วปักธงรับหลักการก่อนรายละเอียดจะตามมาโดยการระดมจากเราท่านนี่แหละ
***ผมเสนอให้ทุกท่านต่อจิกซอร์ดูครับอย่าบอกนะครับว่าทุกอย่างเป็นไปไม่ได้(ซึ่งไม่อยู่ในสมองกลวงๆของผม)
     ถ้าเราเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้แล้วมาต่อจิกซอว์กันเป็นโมเดลทางการเมืองโดยพวกเรา
     โดยไม่ต้องสนใจนักการเมืองในปัจจุบัน....โอเชโลด ผมเห็นด้วย..รับหลักการกับคุณพาสเทล


ขอบคุณคุณสกอปี้ สำหรับการสรุปจุดประสงค์ของกระทู้ให้ครับ ตัวคนเสนอเองยังสรุปจุดประสงค์ไม่ได้ชัดเจนขนาดนี้เลย






สารบัญ


อ่านตามลำดับเลยนะครับ

** เปลี่ยนคำศัพท์หน่อยนะครับ จาก "กลุ่มชำนาญการ" เป็น "กลุ่มภารกิจ" (Functional groups) และ "สภาชำนาญการ" เป็น "สภาภารกิจ" (The functional council) ครับ

  • 1. ปัญหาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (ส่วนล่างของโพสต์นี้ครับ)

          **        อ่านเพิ่มเติม ปัญหาเกี่ยวกับระบอบรัฐสภา และแนวทางแก้โดยไม่ต้องรื้อทิ้งทั้งระบบ โดยคุณ bonny (เรียบเรียงดีและละเอียดมาก)    **

ไอเดียและข้อแนะนำที่จะเสนอในการปรับปรุงระบบนี้ จะเป็นแนวทางไหนก็ได้ครับ แต่ขอให้อนุรักษ์ไว้ซึ่งหลักการตามข้อ 2. 3. 4. นะครับ เพราะตรงนี้เป็นความคิดพื้นฐานที่นิยามการปกครองระบอบนี้เลย

ขอบคุณที่ช่วยกันแสดงข้อวิจารณ์ ความคิดเห็น และข้อแนะนำครับ





เพิ่มเติม
Functionalistic Democracy in a Nutshell










**หมายเหตุ** กระทู้นี้ผมยกมาจากบอร์ดอาจารย์อารยานะครับ เนื่องจากอยากได้ความเห็นในวงกว้างขึ้น ถ้าใครเคยอ่านที่บอร์ดดังกล่าวมาแล้ว สามารถสครอลไปล่างๆ เพื่อดูความเห็นใหม่ๆ ได้เลยครับ


ประเทศไทยของเราก็รับเอาระบบประชาธิปไตยแบบสภาผู้แทนมาใช้นานพอประมาณแล้ว

แต่ทุกท่านในที่นี้ก็ตระหนักกันดีอยู่แล้ว ถึงปัญหาการเมืองของไทยที่เรื้อรังมานานแสนนาน 

รัฐบาลเรามีมากี่สมัยแล้ว ขี้เกียจไล่นับ แต่น้อยสมัยมากที่คนทั้งเมืองจะได้ถามคำถามว่า "เราจะทำให้พัฒนามากขึ้นอีกได้ยังไงเนี่ย" ตรงกันข้าม โดยมากเราจะได้ถามคำถามประเภท "ทำไมมันบริหารห่วยจัง" "ทำไมมันโกงจัง" "ทำไมมันไม่ทำอะไรเลย" หรือสุดท้าย "ทำยังไงจะไล่มันลงได้" ฮา

และก็อย่างที่ทุกท่านตระหนักกันดี ว่ารากของปัญหาแท้จริงอยู่ที่ประชาชนคนไทยอย่างเราๆ ท่านๆ นี่เอง ปัญหาการไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดค่านิยม ส่วนหนึ่งจากการขาดศึกษา หรือการศึกษาไร้ประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเกิดจากความยากจน การขาดโอกาส


พ่อเฒ่าแม่เฒ่า ทำนาหลังขดหลังแข็ง เกี่ยวข้าวได้มา ส่วนหนึ่งเก็บไว้กิน ส่วนที่เหลือแบ่งเอาไปขาย ได้เงินมานิดหน่อยหลังถูกกดราคา ก็เก็บไว้เสื้อผ้าของใช้จำเป็น วันหนึ่งมีหัวคะแนนมาหาที่บ้าน บอกจะให้เงินห้าร้อยถ้าไปกาเบอร์นี้ พ่อเฒ่าดีใจจะได้เอาเงินไปรักษาฟันที่ปวดมานานเสียที

ตาสีตาสา ทำไรทำสวน ก็ต้องกู้เงินเขามาซื้อปุ๋ยซื้อพันธุ์ สุดท้ายเก็บเกี่ยวเสร็จกลับขายผักผลไม้ไม่ได้ ต้องขายวัวใช้หนี้ วันดีคืนดี มีท่านผู้สมัครสส. มาหาที่บ้าน บอกว่าถ้าเลือกพรรคเขา เขาจะมีโครงการโคฟรี มีเงินหมู่บ้านให้กู้ ตาสีดีใจจะได้มีวัวมาไว้ใช้ไถพรวน ได้เงินกู้มาซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ลูกชายที่มันรบเร้า

...

นี่คือความเป็นจริงของคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งก็อย่างที่ทุกท่านในที่นี้รู้กันดีนั่นแหละ

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเรายังไม่มีการศึกษา การกระจายโอกาส และคุณภาพชีวิตที่ดีพอ เมื่อท้องยังหิว ตัวยังร้อน ก็ยากที่จะสนใจเรื่องอื่นได้

แต่เรากลับเอาระบอบการปกครองของประเทศตะวันตก ซึ่งประชากรของเขามีคุณภาพกว่ามากมาใช้

ผมว่าประชาธิปไตยที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ไม่เหมาะกับบ้านเราเท่าใดนัก เหมือนมีบ้านหลังหนึ่ง มีลูกสามคน ถ้าให้สิทธิทุกคนเท่าเทียมกัน แล้วให้โหวตการใช้เงินของบ้าน ลูกก็โหวตเอาไปซื้อของเล่นกับไอศครีมหมดแน่นอน

บางคนให้เหตุผลว่า ที่เราใช้ประชาธิปไตยตอนนี้ ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นการปกครองที่ดี แต่มันเป็นการปกครองที่ห่วยน้อยที่สุด

จริงเหรอ?

ผมว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้เป็นการปกครองที่สัมบูรณ์



คำถามก็คือ เราออกแบบการปกครองที่เหมาะสำหรับบ้านเรา -ประเทศไทย- ได้หรือเปล่า

อาจจะคิดขึ้นมาใหม่ก็ได้ หรือเอาระบอบการปกครองที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลง ต่อเติม ตัดแต่ง ผสมผสาน กันก็ได้ ผมว่าโลกนี้ไม่ได้ตายอยู่แค่ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ เผด็จการ ราชาธิปไตย

ในที่นี้เราจะไม่พูดถึงว่า จะเปลี่ยนจากระบอบปัจจุบันเป็นระบอบที่คิดขึ้นมาได้ยังไง ขอให้สมมติว่าเสกเปลี่ยนได้เอาดื้อๆ

และก็ ในที่นี ไม่ได้มีเจตนาจะให้เกิดการรบกันระหว่างค่ายระบอบต่างๆ นะครับ เช่น ถ้ามีใครจะบอกว่า เปลี่ยนไปใช้คอมมิวนิสต์ดีกว่า เป็นต้น อย่างนี้ไม่เอานะครับ  แต่ถ้าจะเสนอไอเดียการปกครองที่คล้ายๆ คอมมิวนิสต์บ้างก็โอเคครับ

เดี๋ยวจะมาเสนอไอเดียของผมเป็นการเริ่มนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2007, 07:55 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #1 เมื่อ: 14-10-2007, 22:29 »


ตรงนี้อยากให้คุยกันถึงหลักการจริงๆเลยครับ ไม่ใช่หลักนิยม หรืออุดมคติอะไร อยากให้เสนอกันเลยว่า ด้วยปัญหาแบบนี้ จะแก้อย่างไร หรือถ้าทำแบบนี้ จะแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง หรือจะมีปัญหาอะไรตามมาบ้าง ตรงนี้อยากให้ละทิ้งไปซึ่งแนวคิดหรือวิถีปฏิบัติเดิมๆ แล้วพูดคุยกันด้วยหลักเหตุผลและหลักฐานของความเป็นจริงกันไปเลย ประมาณว่า ให้ล่องลอยอย่างสนุกสนานในโลกทฤษฎี ทำปัญหาให้ง่ายกันไว้ก่อน จากนั้นเมื่อหลายๆ อย่างเริ่มลงตัวทางทฤษฎีแล้ว เราจึงจะเริ่มยกเอาหลักความเป็นจริงเข้ามาเสริม และปรับปรุงหลักทฤษฎีที่คาดการณ์กันไว้ โดยทุกอย่างนี้ให้ยึดถือสภาพแวดล้อมของความเป็นไทยและสังคมไทย รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เคยเห็นกันมาก่อนหน้าแล้วครับ ถ้าเราคุยกันแบบนี้ได้ เราก็จะไม่ต้องมาถกเถียงกันถึงอุดมการณ์ สำนักความคิด หรืออะไรต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาการเมืองไทยในตอนนี้เลยครับ

ถ้ากระทู้นี้ผิดวัตถุประสงค์ของเว็บบอร์ดก็ต้องขออภัยด้วยครับ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว ลองเปลี่ยนเรื่องคุยบ้างสิน่า 
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #2 เมื่อ: 14-10-2007, 22:31 »

ผมแค่มา............ต้อนรับครับคุณPastelSalad Mr. Green
แล้วจะมาแลกเปลี่ยนด้วยครับ..ยินดีต้อนรับครับ
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #3 เมื่อ: 14-10-2007, 22:35 »

ผมแค่มา............ต้อนรับครับคุณPastelSalad Mr. Green
แล้วจะมาแลกเปลี่ยนด้วยครับ..ยินดีต้อนรับครับ

ขอบคุณมากครับ แหม อบอุ๊น อบอุ่น

ที่นี่ไม่ซีเรียสดีนะครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #4 เมื่อ: 14-10-2007, 23:05 »

ขอบคุณมากครับ แหม อบอุ๊น อบอุ่น

ที่นี่ไม่ซีเรียสดีนะครับ

เพราะผมเป็นน้องใหม่ที่นั่นครับกระทู้ของท่านที่นำมาที่นี่ กระพริบที่เมลผมทุกครั้งที่มีการโพสท์ที่เวบอาจารย์อารยา
แล้วผมจะแวะไปที่อาจารย์อารยาเรื่อยๆนะครับ.........ผมก็ขอเชิญสมาชิกที่นี่ไปร่วมแลกเปลี่ยนกันบ้างก็ได้ความรู้ไม่น้อยเลยครับ

http://aryaforum.freeforums.org/

Scorpio6
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 14-10-2007, 23:22 »

ประเทศไทยของเราก็รับเอาระบบประชาธิปไตยแบบสภาผู้แทนมาใช้นานพอประมาณแล้ว

ประชาธิปไตยประเทศไทยเอามาใช้ มันไปผสมผสานกับระบบอุปถัมภ์เดิมที่มีอยู่
มันยังแบ่งกันอยู่กลายๆหรือซ้อนๆกันอยู่

รูปแบบเป็นประชาธิปไตยแต่พฤติกรรมทั่วไปก็ยังใช้ระบบอุปถัมภ์เหมือนเดิม

ผมว่าประเทศไทยเป็น ประชาธิปไตยแบบอุปถัมภ์

(การออกแบบการปกครอง ... เป็นแนวคิดทฤษฏีครับ..)

1....
สังคมที่มีระบบอุปถัมภ์อาจจะมีได้ทั่วโลก โดยมากมักจะเป็นสังคมที่เกิดความเหลื่อมล้ำความไม่ทัดเทียมกัน ของคนในสังคมในหลายๆด้าน เช่น ฐานะการเงิน บารมีอำนาจ การศึกษา เป็นต้น
+++
2....
บทความเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ ของ ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005march16p1.htm



ทั้ง ระบบอุปถัมภ์ กับ ประชาธิปไตย
มีส่วนที่เข้ากันได้และขัดแย้งกัน
ระบบอุปถัมภ์มีส่วนดี แต่จะทำอย่างไรจะให้ส่วนเสียลดลงเพื่อให้
+++

พอดีเจอ ข้อความนี้ผมว่าอืม...


3...
ตราบที่เรายังไม่มีระบบการทดสอบความเข้าใจ
ทางการเมืองการปกครอง
เพื่อสอบให้ได้บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
เหมือนใบขับขี่รถยนต์..!...ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้งแล้วล่ะก็

บรรดาผู้รู้...ผู้ตื่นตัวทางการเมืองทั้งหลาย..ในเมืองหลวง
ที่รู้ทัน...รู้ลึก...รู้เท่าทุกอย่าง
ในเลศนัยผู้กุมอำนาจรัฐ
คงต้องต่อสู้กับคะแนนเสียงจากชนบทใต้ร่มเงา
ประชานิยม...อย่างหนักแรงยิ่งนัก
(from)


4...
ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน: ระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองและคอร์รัปชัน
http://www.bangkokbiznews.com/2006/07/10/w017_118509.php?news_id=118509


...
ผมว่าการวิจัย วิเคราะห์ ศึกษา ออกวิทยานิพนธ์กันไม่รู้กี่เล่มแล้วหละครับ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการปกครอง
(search ดู google มีบทความดีดีเยอะแยะเลย...)
คือ รู้ปัญหา รู้แม้กระทั่งวิธีแก้ แต่...
.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-10-2007, 23:38 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #6 เมื่อ: 14-10-2007, 23:30 »

** หมายเหตุ ** ผมขอแก้ชื่อกระทู้ใหม่นะครับ เนื่องจากจะเปลี่ยนแนว จากการระดมสมอง เป็นการนำเสนอแทน **



ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้มีความรู้อย่างเป็นทางการในด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือบริหารศาสตร์เลย อาชีพผมนั้นอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์ ความรู้ที่ผมมีที่พอจะเกี่ยวเนื่องในเรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ก็คงจะมีเพียงแค่ ตรรกกะ ปรัชญา และก็การสร้างแบบจำลองเท่านั้นเองครับ ดังนั้น แนวความคิดของผมจึงเป็นแนวความคิดแบบไร้เดียงสาชนิดที่ว่านั่งเทียนเสกมาเลย ซึ่งจริงๆ อาจจะไม่ใช่อะไรใหม่ก็ได้ จึงต้องขอคำวิจารณ์และชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ทั้งหลายด้วย ว่าอะไรน่าจะเป็นไปได้ น่าจะเป็นไปไม่ได้ และทำไม

แนวคิดเบื้องต้นนั้นง่ายๆ แบบที่เด็กคนหนึ่งจะนึกขึ้นมาได้ตามนี้เลยครับ:

พิจารณาตัวอย่างเป็นอาชีพเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศนะครับ สมมติว่าเป็นชาวนาละกัน ถ้าเราลองถามชาวนาคนนี้ดูว่า ทำไมไทยต้องเอาค่าเงินบาทไปผูกกับดอลล่าด้วย ทั้งๆที่ดอลล่าไม่ได้มีทองค้ำประกันและอเมริกาก็กำลังเศรษฐกิจแย่ ก็มีความเป็นไปได้น้อยมากที่ชาวนาคนนี้จะตอบได้ (ผมยังตอบไม่ได้เลย)  จริงๆแล้ว ชาวนาคนนี้อาจฟังคำถามไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ แล้วเช่นนี้ คุณจะให้ชาวนาคนนี้มีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจในประเด็นความเป็นความตายอย่างเรื่องการเงินระหว่างประเทศเทียบเท่ากับผู้ที่มีความรูัทางด้านเศรษฐศาสตร์ได้อย่างไร บางคนอาจบอกว่า อย่างน้อยชาวนาก็รู้ได้ว่า ตอนนี้อยู่ดีกินดีมั้ย เพราะถ้ารัฐบาลบริหารการเงินระหว่างประเทศได้ดีจริง ชาวนาก็ต้องอยู่ดีกินดี ผมก็จะตัวอย่างเรื่องกองทุนหมู่บ้าน จะเห็นได้ว่าความพอใจของชาวนาอาจไม่เกี่ยวกับความอยู่รอดของประเทศเลย

แต่ถึงแม้ชาวนาจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับบ้านเมืองที่กว้างขวางพอ แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถเชื่อใจชาวนาได้และรู้ได้เลยว่าเราไม่เก่งเท่าชาวนาแน่นอน คือ เรื่องข้าว (ถ้าคุณไม่บังเอิญเรียนคณะทรัพยากรธรรมชาติน่ะนะ) ชาวนาจะเป็นผู้ที่รู้ได้เลยว่า จะปลูกข้าวยังไงถึงจะได้ข้าวงาม ต้องให้ฟ้าฝนเป็นอย่างไร ต้องการที่เท่าไหร่ถึงจะพอปลูกข้าวเลี้ยงตน ฯลฯ เราอาจจะเหยียดหยามชาวนาว่าจนโง่ แต่พอเราได้เห็นข้าวหอมมะลิควันฉุยขาวนุ่มในจานข้าวตรงหน้า เราต่างต้องขอบคุณชาวนา



ดังนั้น ถึงแม้ชาวนาจะไม่รู้เมื่อนักการเมืองฮั้วกันค้าดอลล่า แต่ชาวนารู้แน่ว่ามีอะไรแปลกๆเมื่อพบว่านักการเมืองฮั้วกันกดราคาข้าว หรือรัฐบาลไม่ส่งปุ๋ยตามกำหนดให้

ดังนั้น ถึงแม้เราจะไม่สามารถไว้วางใจให้สิทธิในการตัดสินชะตากรรมประเทศแบบเบ็ดเสร็จให้แก่ชาวนาได้ แต่เราสามารถวางใจให้สิทธิในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องกสิกรรมแก่ชาวนาได้


และแน่นอน ในเมื่อคนทุกคนต่างมีอาชีพและความถนัดเฉพาะทางของตนเอง เราจึงสามารถวางใจให้สิทธิในการตัดสินชะตาของประเทศเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ที่แต่ละคนถนัดได้


และนี่คือแนวความคิดหลักของระบบที่ผมจินตนาการไว้ อธิบายอย่างหยาบๆ ก็คือ





แบ่งอำนาจการบริหารประเทศออกเป็นด้านๆ โดยให้ขึ้นอยู่กับความถนัดและกลุ่มอาชีพของประชากรในสังคม เช่น ด้านกสิกรรม ด้านอุตสหกรรม ด้านพาณิชย์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ (ก็คล้ายๆ กับกระทรวงตอนนี้) แล้วให้ประชาชนแต่ละคน ใช้สิทธิเลือกตัวแทนที่จะไปบริหารประเทศ "เฉพาะด้าน" นั้นๆ ได้เฉพาะในอาชีพหรือความถนัดของตนเอง  (ซึ่งคนหนึ่งอาจสังกัดหลายกลุ่มได้)




เมื่อพิจารณาแนวคิดนี้แล้ว ก็จะมีคำถามผุุดตามขึ้นมาเป็นพรวนในใจ ก็ขอให้พักคำถามเหล่านี้ไว้ก่อน เนื่องจากแนวคิดที่เสนอไปได้อธิบายเพียงแค่ "หยาบๆ" เท่านั้น ตอนนี้เราจะสมมติก่อน ว่าหากทำได้ดังที่ว่าจริง จะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ถ้าประโยชน์ฟังดูดีน่าลอง เราจะได้พยายามทำให้ความคิดเป็นรูปเป็นร่างกัน

ในที่นี้ จะบัญญัติศัพท์คำว่า "กลุ่มภารกิจ" (functional groups) เพื่อหมายถึงกลุ่มความรู้ อาชีพ และความถนัด ที่ประชาชนสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกตามความพอใจและความสามารถ เพื่อเข้าไปใช้สิทธิเลือกผู้แทนในกลุ่มภารกิจนั้นๆ

  • เป็นการลดกำไรจากการซื้อเสียงลง เพราะซื้อมาก็ได้อำนาจเป็นกลุ่มภารกิจๆ ไป ในขณะที่บางกลุ่มภารกิจจะไม่สามารถซื้อเสียงได้เลย เพราะฉะนั้น กรณีการซื้อเสียงชาวบ้านมาแล้วทำกำไรกลับด้วยการโกงโครงการเมกะโปรเจ็คจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะโครงการดังกล่าวต้องอาศัยอำนาจจากหลายกลุ่มภารกิจ ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะตัดวงจรการซื้อเสียงได้มาก


  • การหาเสียงลมๆ แล้งๆ จะจบลง ผู้สมัครตัวแทนกลุ่มจะไม่สามารถอาศัยคำว่า จะสร้างความเจริญ ความกินดีอยู่ดี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคอนเซปต์ที่ไม่สามารถวัดและประเมินได้ มาใช้หาเสียงได้อีกแล้ว เช่น นโยบายที่ผู้สมัครกลุ่มเกษตรใช้หาเสียง จะต้องเกี่ยวข้องกับการเกษตรโดยตรง เพราะเรื่องอื่นตนย่อมไม่มีอำนาจไปจัดหามาให้ได้แม้ตนจะได้รับเลือก และด้วยเหตุนี้ ชาวเกษตรกรจะสามารถฟังคำปราศัยได้รู้เรื่อง ลดโอกาสถูกหลอกลวงด้วยเล่ห์ทรชน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนและอาชีพตน และจะสามารถประเมินความสำเร็จตามนโยบายของผู้สมัครหลังได้รับเลือกได้ (ถ้าบอกว่าจะขายข้าวได้แล้วขายไม่ได้ก็รู้ได้ทันที)


  • ต่อเนื่องจากข้อก่อน เมื่อสามารถประเมินผลสำเร็จของผู้แทนได้ ก็สามารถรับรู้ได้ว่าการที่อาชีพตนฝืดเคืองนั้น เนื่องมาจากอะไร ถ้าเป็นความผิดพลาดของผู้แทนกลุ่มตนที่ตนเลือก ก็จะรับรู้ได้ในทันที หรือถ้าเป็นผลจากนโยบายของฝ่ายอื่น (เช่น กลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศติดต่อขายข้าวไม่ได้) ผู้นำของกลุ่มภารกิจที่ได้รับผลกระทบก็จะเป็นผู้ชี้แจงให้ประชาชนกลุ่มตนเข้าใจได้ (ซึ่งผู้นำกลุ่มอื่นก็ตรวจสอบการโบ้ยได้ชัดเจนเช่นกัน จึงสามารถชี้แจงตอบโต้ได้หากไม่เป็นความจริง) ดังนั้นถ้าผู้นำกลุ่มภารกิจตนคนปัจจุบันไม่สามารถทำได้ดังพูด หรือบริหารได้ไม่ดี ก็จะสามารถตัดสินใจเปลี่ยนทางเลือกได้โดยง่ายในสมัยหน้า


  • โครงการประชานิยมเพื่อหาฐานเสียงจะทำไม่ได้อีกต่อไป เพราะกลุ่มการเมืองหนึ่งๆ อาจไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการหว่านผลประโยชน์ระยะสั้นที่ไม่ได้มีประโยชน์กับประเทศชาติโดยรวมอย่างแท้จริง เช่น โครงการหมู่บ้านละล้านที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจจริงๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้หากกลุ่มการเมืองมีเฉพาะฐานเสียงในกลุ่มเกษตรกร และในกรณีนี้ เป็นการยากที่กลุ่มอาชีพเศรษฐศาสตร์จะยอมเลือกผู้นำด้านบริหารเศรษฐศาสตร์ที่ยอมให้เกิดโครงการนี้ ดังนั้น โครงการทุกโครงการที่เกิดขึ้น จะมีความเป็นไปได้มากกว่า ว่าจะเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการและความเจริญก้าวหน้าของประเทศจริงๆ (เพราะโครงการหนึ่งๆ ไม่ได้เกิดจากกลุ่มภารกิจกลุ่มเดียว)


  • การรวมหัวกันโกงจากโครงการของรัฐบาลโดยกลุ่มการเมืองใดๆ จะทำได้ยากขึ้น เพราะโครงการหนึ่งๆ โดยมากต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายกลุ่มภารกิจ และอำนาจอาจไม่ได้อยู่ที่กลุ่มการเมืองใดกลุ่มการเมืองเดียว และเป็นการยากที่จะโกงได้โดยทำให้ทุกกลุ่มภารกิจพอใจ


  • ประชาชนสามารถเลือกคนที่ตนชอบและมีความสามารถได้โดยไม่ต้องพ่วงกลุ่มการเมือง เช่น บางคนอาจถูกใจคุณสมคิดที่มีแนวคิดบริหารเศรษฐกิจดี แต่ไม่ได้ชอบทักษิณมากมายนัก แต่พอไปดูนโยบายเศรษญกิจหอยทากของประชาธิปปัตย์ ก็ต้องจำใจเลือกไทยรักไทย หากใช้ระบอบที่เสนอมานี้ คุณสมคิดก็จะต้องสมัครเฉพาะกลุ่มพาณิชย์หรือเศรษฐกิจ ผู้ที่มีสิทธิเลือกผู้แทนด้านเศรษฐกิจ ก็สามารถเลือกคุณสมคิดได้โดยไม่ต้องเลือกทักษิณ


  • เกิดการมีส่วนรวมในการปกครองมากขึ้น เนื่องจากประชาชนแต่ละคนจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สิทธิของตนมีความหมายโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของตน เพราะถ้าอาชีพก็ตนฝืดเคืองหรือมีปัญหา ก็เนื่องจากมาจากตนเองนั่นแหละ ไม่ออกไปเลือกผู้นำกลุ่มที่ดีเอง ซึ่งต่างจากแต่ก่อนที่การบริหารประเทศเกิดจากระบบนามธรรมขนาดยักษ์ที่เรียกว่ารัฐสภาและสภานิติบัญญัติ ซึ่งตนก็ไม่รู้เลยว่าเสียงของตนที่เลือกสส. พรรคนี้ไปนั้น มันไปทำอะไรในระบบที่ว่า ยกเว้นแต่ตอนเห็น สส. บ้านตัวเองยกมืออภิปราย ซึ่งในความเป็นจริงมีชาวบ้านกี่คนเฝ้าดูการอภิปราย?


  • และด้วยระบบที่แยกการบริหารชัดเจนนี้ เราสามารถจัดรายการและช่วงเวลาให้ (คณะ) ตัวแทนสูงสุดของแต่ละกลุ่มภารกิจ มาพูดคุยกับกลุ่มตนและประชาชนทั่วไปที่สนใจฟังได้ ถึงการทำงานของตน สิ่งที่ได้ทำ สิ่งที่จะทำ ปัญหาที่เกิด ซึ่งเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของปัจเจกชนขึ้นไปอีก มิใช่มีเพียง รมต. หรือผู้นำรัฐบาล ออกมาพูดถึงภาพรวมๆ ที่ตนไม่ได้มีส่วนร่วม


  • ไม่มีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดคนเดียว อาจมีเพียงแต่ประธานสภาภารกิจ ที่จัดการดูแลการประชุมของสภาสภาภารกิจเท่านั้น แต่จะไม่มีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการควบคุมบริหารทุกด้านของประเทศอีกต่อไป


  • จะสามารถทำนโยบายบางอย่างที่ดีตามบรรทัดฐานสังคมแต่ขัดต่อความพอใจของประชาชนได้ เช่น การจำกัดการดื่มสุรา ในระบอบประชาธิปไตยเดิมจะไม่สามารถทำได้ เพราะพรรคใดริจะทำก็เสียฐานเสียงแน่นอน (บรรทัดฐานความดีงามของสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่) แต่ในระบอบนี้จะสามารถทำได้ เพราะผู้นำกลุ่มจริยะคือผู้มีอำนาจในการออกกฏควบคุมนี้ (หลังจากเห็นชอบกับกลุ่มพาณิชย์และอุตสาหกรรม) ในขณะที่ประชาชนไม่สามารถบ่นได้ว่าเป็นการเผด็จการ เพราะผู้ที่ออกกฏจำกัดการดื่มสุรานี้ คือผู้ที่ได้รับเลือกจากกลุ่มคนที่สังคมไว้วางใจให้คุมจริยธรรมของสังคม เช่น พระ นักบวช ครูอาจารย์ ซึ่งเช่นเดียวกับในการบริหารด้านอื่นๆ และถ้าหากประชาชนคนใดไม่เห็นด้วย (ไม่ว่าในนโยบายใดๆ มิใช่แต่เรื่องสุรา) ตนเองก็ต้องไปทำการศึกษาและผ่านการทดสอบเพื่อให้ได้สิทธิในการเลือกผู้บริหารประเทศในเรื่องนั้นๆ แล้วไปโน้มน้าวคนในกลุ่มภารกิจให้ได้  เช่น กลับมาที่เรื่องเหล้า ถ้าใครไม่พอใจในการจำกัดการดื่มสุราและอยากไม่ให้มีการควบคุม ตนก็ต้องไปศึกษาปรัชญาหลักการจัดการสังคมมาให้ดี ให้สามารถผ่านการทดสอบรับสิทธิเลือกผู้แทนกลุ่มจริยะได้ เพราะถ้าคุณคิดว่าเหล้าดีต่อสังคมจริง คุณก็ต้องศึกษาโครงสร้างจริยธรรมของสังคมมาให้ดีก่อน ไม่งั้นก็เป็นแค่เสียงบ่นของขี้เหล้า หรือไม่ก็ไปเผยแพร่แนวคิดว่าเหล้าดีให้กับพระและนักบวชฟัง ถ้าพวกเขาเห็นดี ก็แสดงว่าบรรทัดฐานด้านจริยธรรมของสังคมเห็นดีด้วย


  • ...


ถ้าใครพอนึกประโยชน์ที่น่าจะเกิดอื่นๆ ออกอีก ก็ลองแสดงความคิดเห็นมานะครับ

Edit


ตรงนี้ขอเพิ่มเติมประโยชน์ที่คุณจิรศักดิ์ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนนะครับ (ขอขอบคุณคุณจิรศักดิ์มา ณ ที่นี้ครับ)

อ้างถึง
ผมอยากสรุปถึงข้อดีที่เห็นในระบบที่ จขกท. นำเสนอนะครับ (ก่อนจะพูดถึงสิ่งที่ขาดต่อไป)

- การแบ่งกลุ่มภารกิจตามอาชีพ และความรู้ความชำนาญ สำหรับผมมองว่าเป็นจุดเด่นที่สุด
  ในระบบที่ จขกท. นำเสนอมา เพราะเป็นการเปิดพื้นที่และช่องทางการเข้าถึงอำนาจรัฐ
  แบบใหม่ๆ ที่ต่างจากการแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แบบเดิมที่ผู้ลงคะแนนไม่มีบทบาท
  ในระดับนโยบาย ทำได้เพียงเลือกตัวแทนไปทำงานตามยถากรรม แต่การเลือกตามกลุ่ม
  ทำให้ผู้แทนแต่ละคนมีภารกิจติดตัวเข้าไปด้วย

- การระบุที่มาของสภาบริหาร (ครม.) มาจากกลุ่มภารกิจเป็นอีกจุดเด่น เนื่องจากที่ผ่านมา
  เราจำใจต้องยอมรับรัฐมนตรี ที่เป็นใครก็ไม่รู้มานั่งในตำแหน่งสำคัญของประเทศโดยเรา
  ไม่สามารถทราบล่วงหน้า ไม่ต้องพูดถึงเรื่องไม่รู้ว่ามีนโยบายจะทำอะไรบ้าง และยังต้อง
  ทนกับนโยบายที่คิดได้แบบเฉพาะกิจเฉพาะกาล ไหนยังจะความไม่มั่นคงของตำแหน่ง
  ที่รัฐมนตรีผลัดกันนั่งเหมือนเก้าอี้ดนตรี บางกระทรวงในปีเดียวเปลี่ยนรัฐมนตรีหลายหน

  การที่ผมเสนอให้ทำเป็นรูปแบบการสรรหา มีการแสดงวิสัยทัศน์ และโครงงานที่จะจัดทำ
  ก่อนที่รัฐมนตรีทุกคนจะได้รับเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง เท่ากับทำให้ผู้ได้รับเลือกมีฐานเสียง
  สนับสนุนจากสภาภารกิจ ตัวรัฐมนตรีเองก็เท่ากับได้รับฉันทานุมัติมีอำนาจผลักดันโครงการ
  ให้บรรลุผลอย่างเต็มที่ และในฝั่งประชาชนก็สามารถติดตามตรวจสอบประเมินผลการทำงาน
  ของรัฐมนตรีแต่ละคนได้อย่างชัดเจน

- การระบุไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองเป็นอีกจุดเด่น เนื่องจากที่ผ่านมาพรรคการเมืองต่างๆ
  ไม่สามารถแสดงความแตกต่างในทางนโยบาย และแนวทางการทำงานระหว่างกันได้เลย
  ทุกพรรคเหมือนๆ กันหมด แต่ไปเกาะอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์คือจังหวัดหรือภาคเป็นหลัก
 
  เมื่อพิจารณากลุ่มภารกิจต่างๆ จะพบว่าความจริงแล้วก็คือพรรคการเมืองในแบบที่ควรจะมี
  คือมีภารกิจมีเป้าหมายชัดเจน และไม่ซ้ำกันกับกลุ่มอื่นๆ  โดยมีการสะสมองค์ความรู้และ
  บุคลากรที่จะเข้าบริหารประเทศในส่วนรับผิดชอบของตนเอง และประชาชนทั่วไปสามารถ
  เข้าร่วมในกลุ่มภารกิจที่ตัวเองมีความสามารถ หรือมีความสนใจได้อย่างชัดแจ้ง

[/color]









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 05:43 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 14-10-2007, 23:48 »

ใช้สิทธิเลือกตัวแทนที่จะไปบริหารประเทศ "เฉพาะด้าน" นั้นๆ ได้เฉพาะในอาชีพหรือความถนัดของตนเอง  (ซึ่งคนหนึ่งอาจสังกัดหลายกลุ่มได้)

ผมว่าน่าจะยาก เพราะ ปัญหาเรื่องการแบ่งคนเป็นกลุ่มๆจะแบ่งอย่างไร

การบริหารจัดการของรัฐต้องกระทบด้านใดด้านหนึ่งต่อประชาชน คือมันแบ่งแยกผลกระทบไม่ได้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #8 เมื่อ: 14-10-2007, 23:50 »


1....
สังคมที่มีระบบอุปถัมภ์อาจจะมีได้ทั่วโลก โดยมากมักจะเป็นสังคมที่เกิดความเหลื่อมล้ำความไม่ทัดเทียมกัน ของคนในสังคมในหลายๆด้าน เช่น ฐานะการเงิน บารมีอำนาจ การศึกษา เป็นต้น


2....
บทความเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ ของ ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005march16p1.htm




3...
ตราบที่เรายังไม่มีระบบการทดสอบความเข้าใจ
ทางการเมืองการปกครอง
เพื่อสอบให้ได้บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
เหมือนใบขับขี่รถยนต์..!...ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้งแล้วล่ะก็



4...
ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน: ระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองและคอร์รัปชัน
http://www.bangkokbiznews.com/2006/07/10/w017_118509.php?news_id=118509


1. เป็นจริงอย่างยิ่งครับ เห็นด้วย
2. อ่านที่ 4.
3. ถ้าจำกัดสิทธิโดยทั่วไป คนไม่ยอมแน่ แต่ถ้าเราแบ่งสิทธิออกตามที่ผมเสนอไปล่ะ
4. ตรงนี้ ผมว่ามีสองทาง หนึ่ง คือ ตัดความสามารถในการอุปถัมภ์ของนักการเมืองออก หรือถ้าทำไม่ได้ก็ สอง ควบคุมการอุปถัมภ์ในเหลือเฉพาะการอุปถัมภ์ที่เกิดประโยชน์ (หรือไม่เกิดโทษ) และอยู่ในวงแคบ

ซึ่งข้อสี่ หมายถึงกับหั่นและแยกอำนาจนั่นเอง
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #9 เมื่อ: 14-10-2007, 23:53 »

ใช้สิทธิเลือกตัวแทนที่จะไปบริหารประเทศ "เฉพาะด้าน" นั้นๆ ได้เฉพาะในอาชีพหรือความถนัดของตนเอง  (ซึ่งคนหนึ่งอาจสังกัดหลายกลุ่มได้)

ผมว่าน่าจะยาก เพราะ ปัญหาเรื่องการแบ่งคนเป็นกลุ่มๆจะแบ่งอย่างไร

การบริหารจัดการของรัฐต้องกระทบด้านใดด้านหนึ่งต่อประชาชน คือมันแบ่งแยกผลกระทบไม่ได้ด้วยครับ


นั่นแหละครับ คือสิ่งที่เราน่าจะมาลองคิดกันดูว่า มันยากอย่างไร และถ้าจะทำ จะทำได้อย่างไร จะเกิดปัญหาตรงไหน จะแก้อย่างไร

ถ้าเราเห็นว่าประโยชน์ที่น่าจะได้มันคุ้มค่ากับการลองคิดนะครับ 

การคิดสิ่งใหม่ ไม่มีอะไรง่ายอยู่แล้วล่ะครับ

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #10 เมื่อ: 15-10-2007, 00:02 »

ตอนนี้ขออนุญาตพูดถึงหลักการในรายละเอียดของแนวคิดที่เสนอไปนะครับ

ในโพสต์ก่อนก็ได้เสนอแนวความคิดคร่าวๆ เรื่องการแบ่งกลุ่มไปแล้ว คือ แบ่งออกตามความชำนาญการในอาชีพและความถนัด แต่ตอนนี้จะขอข้ามรายละเอียดของเรื่องการแบ่งกลุ่มนี้ไปก่อนนะครับ อยากจะพูดถึง การสังกัดกลุ่มของประชาชนคนหนึ่งๆ ก่อน เนื่องจากเรื่องนี้จะแสดงให้เห็นถึงสิทธิของประชาชนคนหนึ่งโดยตรง และจะช่วยให้เห็นภาพการแบ่งกลุ่มมากขึ้นด้วยครับ จากนั้นเดี๋ยวค่อยมาพยายามตอบคำถามของคุณนทร์กันว่า จะแบ่งกลุ่มได้อย่างไร

อีกอย่าง เรื่องการสังกัดกลุ่มนี่ จะเป็นการนำแนวคิดข้อสามที่คุณนทร์ชี้ให้เห็นเลยมาใช้ครับ ที่ว่า
อ้างถึง
ตราบที่เรายังไม่มีระบบการทดสอบความเข้าใจ
ทางการเมืองการปกครอง
เพื่อสอบให้ได้บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
เหมือนใบขับขี่รถยนต์..!...ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้งแล้วล่ะก็




การสังกัดกลุ่ม

สมมติว่าเราได้แบ่งกลุ่มภารกิจออกเป็นหลายๆ กลุ่มได้แล้วนะครับ ทีนี้ เราจะพิจารณานาย กอ ซึ่งเป็นคนไทยคนหนึ่ง  นายกอจะสามารถสังกัดกลุ่มได้หลายกลุ่ม แน่นอน ตามความถนัดและสาขาอาชีพ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีเกณฑ์สำหรับการพิจารณาสมาชิกภาพต่างกัน เช่น กลุ่มกสิกรรม อาจจะมีเกณฑ์ง่ายๆ คือ 1. มีที่ดินทำกินที่ใช้ในการกสิกรรม หรือ 2. มีหุ้นส่วนในกิจการด้านกสิกรรม เป็นต้น ในขณะที่กลุ่มภารกิจบางกลุ่มที่มีใบอนุญาตประกอบอาชีพก็สามารถพิจารณาเอกสารดังกล่าวได้เลย เช่น สาธารณสุข วิศวกรรม กฏหมาย เป็นต้น

แต่เกณฑ์การพิจารณาตามอาชีพที่ว่าก็เป็นเพียงเกณฑ์เบื้องต้นครับ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่นายกอนั้นมีความรู้ในบางสาขา แต่ไม่ได้ประกอบอาชีพนั้นๆ ซึ่งนายกออาจจะสนใจในการบริหารประเทศในเรื่องที่ตนไม่ได้ประกอบอาชีพก็ได้ เราจึงต้องเปิดโอกาสสำหรับกรณีเช่นนี้ด้วย อย่างง่ายที่สุด คือการดูจากวุฒิการศึกษา เช่น ปริญญาในสาขานี้ ก็ให้สิทธิในการออกเสียงของกลุ่มนั้นๆไป (ซึ่งอาจมากกว่าหนึ่งก็ได้ สำหรับหลักสูตร multidiscipline) แต่เนื่องจากความรู้และความชำนาญไม่ได้ขึ้นกับปริญญาเสมอไป จึงต้องอาศัยเกณฑ์อีกอย่างหนึ่ง คือ การทดสอบ หรือจะเรียกว่าการสอบก็ได้ ซึงการสอบนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นข้อเขียนนะครับ อาจจะเป็นการสัมภาษณ์ก็ได้ ส่วนการออกแบบข้อสอบเพื่อให้สามารถวัดความรู้ที่มีในสาขาวิชาได้จริงๆ นั้น ผมว่าไม่ใช่เรื่องยากครับ สำหรับบางสาขาที่ต้องอาศัยความรู้มาก เช่น วิทยาศาสตร์ การบริหาร เป็นต้น นั้นค่อนข้างตายตัวอยู่แล้ว แต่สำหรับกลุ่มกสิกรรมหรือแรงงานนี่ อาจเป็นการถามทดสอบประสบการณ์ง่ายๆ ก็ได้ (เพื่อให้คนที่รับจ้างทำกสิกรรมแต่ไม่มีทีทำกินสามารถมีสิทธิได้) เรื่องการทดสอบเพื่อวัดการถือสิทธินี่ ถ้าเป็นสมัยก่อนอาจทำไม่ได้ครับ แต่ในยุคสารสนเทศ (Information Age) นี้ทำได้แน่นอน

ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าการจัดการทดสอบ คือการโกงการทดสอบหรือการโกงสิทธิการสังกัดกลุ่ม ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยการตรวจสอบที่ดีแล้วล่ะครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับองค์กรตรวจสอบที่เราจะพูดกันเป็นเรื่องท้ายๆ แต่ด้วยธรรมชาติของการทดสอบ เราสามารถบันทึกทุกอย่างไว้ได้ครับ และอาจมีการเรียกสุ่มตรวจสอบได้ ทั้งแบบสามัญและวิสามัญ ว่านายกอมีความรู้ดังที่ได้สังกัดไว้ในกลุ่มจริงๆ หรือเปล่า ซึ่งหากพบความผิดปกติมากๆ ในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ก็สามารถทำการสืบสวนต่อไปได้ ซึ่งตรงนี้ง่ายกว่าการตรวจสอบการซื้อเสียงแน่นอนครับ


อาจมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำแบบนี้มันยุ่งยากไปหรือเปล่าสำหรับคนคนหนึ่งที่จะใช้สิทธิ ส่วนตัวผมคิดว่ากระบวนการดังกล่าวน่าจะทำให้ยุ่งยากน้อยกว่าทำใบขับขี่ได้นะครับ และอย่างน้อย ทุกๆ คนในไทยควรจะได้รับสิทธิตามอาชีพโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว (ให้สิทธิตอนเรียนจบ ตอนได้ใบประกอบอาชีพ ตอนจดทะเบียนบริษัท หรือให้เกษตรตำบลออกสำรวจ ) ส่วนการสังกัดกลุ่มที่สองที่สาม ถ้านายกอมีความสนใจชะตาประเทศในประเด็นนั้นจริงๆ แค่รับการทดสอบหรือจดทะเบียน ผมว่าคงไม่เหลือบ่ากว่าแรง (หรือทุกท่านว่าอย่างไร?)


อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงคือ สิทธิพื้นฐานในการตัดสินนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐ เนื่องจากคนไทยทุกคนควรจะมีสิทธินี้ ดังนั้นในการแบ่งกลุ่ม เราต้องแบ่งให้มีอย่างน้อยหนึ่งกลุ่มที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง เช่น สวัสดิการและสังคมสงเคราะห์  และให้สิทธิในการเลือกตั้งพื้นฐานตรงนี้แก่ทุกคนโดยอัตโนมัติครับ


ส่วนอีกเรื่องที่ต้องพิจารณา คือ การจำกัดจำนวนกลุ่มที่สังกัดได้ครับ หนึ่งเพื่อป้องกันการโกง (ย้ายฐานเสียงข้ามกลุ่ม) สองเพื่อป้องกันมิให้มีประชาชนถือสิทธิครอบจักรวาลเช่นเดิม ซึ่งจำนวนที่จำกัดนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มที่แบ่ง ตรงนี้อาจมีการวิจารณ์ว่า อย่างนี้คนที่มีความรู้หลายๆ ทางมากๆ ล่ะ เราก็สามารถให้เหตุผลได้ว่า ถ้าคุณมีความสามารถหลายทาง ก็เลือกความสามารถที่ดีที่สุด x อย่างมา แล้วเลือกใช้สิทธิในกลุ่มที่เลือกสิ ซึ่งเหตุผลตรงนี้ ผมและเพื่อนผมในกลุ่มที่คุยกัน ยอมรับได้ครับ ไม่ทราบว่าทุกท่านว่าอย่างไรบ้าง




ที่พูดมาน่าจะครอบคลุมประเด็นเรื่องการสังกัดกลุ่มได้พอสมควรแล้วนะครับ ใครมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร รบกวนแสดงตามสนุกเลยนะครับ

ต่อไปจะพิจารณาถึงเรื่องหลักการแบ่งกลุ่มครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 05:48 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #11 เมื่อ: 15-10-2007, 00:29 »

เรียนท่านพาสเทลฯ..

ผมอ่านความคิดคุณแล้ว คล้ายคลึงกับที่คุณ *bonny เคยนำเสนอเป็นอย่างยิ่ง...


สำหรับผมขอร่วมคิดง่ายๆ ว่า... รูปแบบที่ยึดเอาอาชีพชำนาญการเป็นหลักนี้ มีจุดแข็งเรื่องการจัดการที่อิง "ความรู้" จากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านนั้นๆ แต่จุดอ่อนของมันก็มีหลายด้านเช่น

1.เราต้องจัดระบบ taxonomy ของ "อาชีพ"... ซึ่งสุดท้ายมันจะมีมากมายมหาศาลและไม่ครอบคลุม
2.เรื่อง "ความรู้สาขาอาชีพ" เป็นเรื่องเทคนิคการจัดการเฉพาะด้าน เหมาะสมกับการเลือกตัวแทนใน "กลุ่มพื้นที่เดียวขนาดใหญ่" แต่ไม่เหมาะกับการเลือกตัวแทนแบบ "แบ่งเขตย่อย" ซึ่งต้องการความรู้แบบบูรณาการรอบด้านเสียมากกว่า... นอกจากนี้ถ้าเราเลือกตัวแทนจากสาขาอาชีพ (สมมติเป็นสาขาเกษตรกรรม) 1,2,3,4,5 หรือ 10 คนก็ตาม.. เมื่อเทียบกับพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับประเทศไทย มันจะดูเล็กลงไปมาก สุดท้ายออกแบบไป ออกแบบมา จะได้ตัวแทนสาขาอาชีพที่พร้อมทำงานได้จริงก็จะได้เป็นสาขาเกษตรกรรม 76 คน 76 จังหวัด (หรือมากกว่านั้น)... ซึ่งเป็นเรื่อง "การจัดการทางเทคนิค" มากกว่าเรื่อง "ตัวแทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" ไป

ผมจะกลับไปที่คำถามตอนเริ่มต้นของท่าน pastelฯ ก็แล้วกันครับ

และก็อย่างที่ทุกท่านตระหนักกันดี ว่ารากของปัญหาแท้จริงอยู่ที่ประชาชนคนไทยอย่างเราๆ ท่านๆ นี่เอง ปัญหาการไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดค่านิยม ส่วนหนึ่งจากการขาดศึกษา หรือการศึกษาไร้ประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเกิดจากความยากจน การขาดโอกาส


ถ้าสาเหตุปัจจัยมันเกิดจากสิ่งเหล่านี้ การออกแบบก็ต้องตอบรับสิ่งเหล่านี้เป็นหลักครับ
ถ้าปัญหาเกิดจากความยากจน หรือขาดการศึกษา.. ระบอบประชาธิปไตยเราต้องอิงรัฐสวัสดิการส่วนหนึ่ง
ถ้าปัญหาเกิดจากการไม่ตระหนักในสิทธิและความถูกต้องทางการเมือง... เป็นเรื่องของระบบคุณธรรม ศีลธรรมทางการเมือง ซึ่งคงต้องเน้นไปที่การส่งเสริมให้เกิดบทบาทความผูกพันตาม "พันธะสัญญาประชาคม"ให้มากขึ้น
เสรีภาพของการสื่อสารที่ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยระบบอำนาจรัฐ แต่ควบคุมด้วยระบบคุณธรรมจรรยาบรรณจะเป็นสิ่งสำคัญทีสุดครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #12 เมื่อ: 15-10-2007, 00:33 »


การแบ่งกลุ่มภารกิจ

หลักการในการแบ่งคนในสังคมออกเป็นกลุ่มภารกิจต่างๆ นั้น มิใช่จะแค่แบ่งตามกลุ่มอาชีพหรือความถนัดได้เพียงอย่างเดียว เรายังต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ด้วย

  • 1. ต้องไม่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม เช่น จะมีกลุ่มใดดูเหมือนเป็นกลุ่มปัญญาชน ในขณะที่อีกกลุ่มดูเหมือนกลุ่มชนชั้นกรรมาชีพ อันจะเป็นเหตุหรือข้ออ้างให้ทะเลาะกันไม่ได้
  • 2. ต้องทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากจะไม่มีพรรครัฐบาลที่จะแบ่งเก้าอี้ รมต.กันเองอีกต่อไปแล้ว ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มอาจจะไม่ได้สังกัดพรรคเลยก็เป็นได้ ดังนั้นการจะให้รัฐบาลที่ไม่ได้เป็นทีมเดียวกันทำงานได้ อาจไม่ใช่เรื่องง่าย
  • 3. กลุ่มย่อยในแต่ละกลุ่มภารกิจต้องมีส่วนร่วม เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่น ผู้นำกลุ่มกสิกรรมมาจากเกษตรกรอ้อย แล้วจะไม่สนับสนุนนโยบายพัฒนายางพาราเลย เป็นต้น



การป้องกันการขัดแย้งกระทบกระทั่งระหว่างกลุ่ม

โดยธรรมชาติของสายอาชีพแล้ว ต้องมีบางกลุ่มที่ดูเหมือนกลุ่มแรงงาน และบางกลุ่มเหมือนกลุ่มปัญญาชนแน่นอน และนี่อาจเป็นชนวนให้ผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ปลุกปั่นสร้างความแตกแยกได้

แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวอาจไม่รุนแรง เนื่องจาก กลุ่มแต่ละกลุ่มจะไม่ได้ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสายอาชีพตรงอย่างเดียว แต่จะมีกลุ่มคนที่ทำงาน "ข้ามสาขา" อยู่ด้วย เช่น กลุ่มเกษตร นอกจากเกษตรกรแล้วยังมีเจ้าของกิจการอุตสาหกรรม นักวิชาการการเกษตร รวมอยู่ด้วย กลุ่มงานยุติธรรมก็จะมีทั้ง ตำรวจ ทนาย ผู้พิพากษา นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ซึ่งโดยรวมแล้วกลุ่มแต่ละกลุ่มจะผสานเข้าด้วยกันในระดับหนึ่ง ไม่ได้แยกจากกันอย่างเด็ดขาด

นอกจากนี้เราสามารถส่งเสริมความเข้าใจและป้องกันความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ดังนี้

  • ไม่บันทึกกลุ่มที่สังกัดลงในบัตรประชาชน ควรออกบัตรรับรองแยกต่างหากหากต้องมี (เพื่อไม่ให้มีการ "ตีตรา")
  • ใช้สื่อสร้างค่านิยมให้ทุกคนในสังคมตระหนักว่า การแบ่งกลุ่มนี้ ไม่ได้แบ่งคนออกเป็นระดับบนล่างต่ำสูง แต่เป็นการแบ่งออกตามความชำนาญและหน้าที่ เหมือนทุกกลุ่มอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่มีกลุ่มใดสูงหรือต่ำกว่าใคร และต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน(ดังรูป)







การแบ่งกลุ่มให้ทำงานร่วมกันได้

นี่เป็นจุดหนึ่งที่น่าจะเป็นปัญหาของระบบประชาธิปไตยตามหน้าที่ เนื่องจาก หากรัฐบาลไม่ได้มาจากพรรคเสียงข้างมากที่มีการจัดการภายในเป็นทีมเดียว แต่ผู้บริหารประเทศในแต่ละกระทรวง มาจากแต่ละกลุ่มภารกิจซึ่งอาจจะมีแนวความคิดไม่เหมือนกันเลย แล้วรัฐบาลจะทำงานบริหารประเทศได้อย่างไร ใครจะเป็นคนประณีประนอมและกำหนดนโยบายหลักของประเทศ?

ตรงนี้ต้องขอความคิดเห็นจากท่านที่มีความรู้ด้านการบริหารและการจัดการความขัดแย้งแล้วล่ะครับ เนื่องจากผมไม่มีความรู้จริงๆ ว่าจะทำได้หรือไม่ สำหรับโมเดลง่ายๆ ของผมดังนี้

(ก่อนอื่นต้องสมมติก่อนว่า ตัวแทนจากแต่ละกลุ่ม ส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนากลุ่มของตนเองเป็นสำคัญ นั่นคือ อย่างน้อย แม้จะไม่ได้ห่วงใยถึงภาพรวมของประเทศ แต่ก็ห่วงใยฐานเสียงหรือการพัฒนาของกลุ่มชำนาญการที่ตนเป็นตัวแทน เพราะฉะนั้น สมมติฐานเราจะไม่รวมถึงกรณีการฮั้วกันโกงของผู้แทนหลายกลุ่ม )

ขั้นแรกก่อนอื่น เราจะกำหนดให้แต่ละกลุ่ม มีทรัพยากรร่วมที่ต้องจัดสรร คือ งบประมาณรายปี และเวลาในที่ประชุมนะครับ

เพื่อให้ตัวแทนกลุ่มร่วมกันบริหารประเทศได้ ไม่ทะเลาะแย่งงบประมาณกันตายซะก่อน เราต้องแบ่งกลุ่มให้ได้หมวดหมู่กลุ่มที่มีสมบัติดังนี้:

  • 1. ไม่มีความขัดแย้งแบบอยู่ร่วมกันไม่ได้ คือ จะต้องไม่มีกลุ่ม A และ B ที่ถ้า A ได้ประโยชน์ แล้ว B จะเสียประโยชน์อย่างชัดเจน เช่น จะตั้งกลุ่มบันเทิงเสรี แยกขึ้นมา โดยรวมให้มีผู้ประกอบการสถานบริการและธุรกิจแอลกอฮอล อย่างนี้ไม่ได้ เพราะมันขัดกับกลุ่มศาสนาและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน
  • 2. ไม่มีกลุ่มใดอยู่ได้อย่างอิสระ คือ สำหรับกลุ่ม A หนึ่งกลุ่ม จะต้องมีกลุ่ม B และ C ที่มีประโยชน์ร่วมกันและเสียประโยชน์ร่วมกันโดยตรง เช่น กลุ่มเกษตร ก็จะขึ้นกับพาณิชย์และอุตสาหกรรม ถ้าอันใดอันหนึ่งล้ม อีกสองสามกลุ่มก็จะล้มไปด้วย ในขณะที่ถ้าอันใดอันหนึ่งพัฒนา อีกสองสามกลุ่มก็จะได้รับประโยชน์ด้วย
  • 3. สำหรับกลุ่มสองกลุ่มใดๆ จะต้องสามารถไล่ความสัมพันธ์แบบในข้อ 2 ไปถึงกันได้ เช่น พิจารณากลุ่ม A กับ Z คู่กัน เราต้องพบกลุ่ม B ที่ขึ้นกับ A, กลุ่ม C ที่ขึ้นกับ B, กลุ่ม D ที่ขึ้นกับ C ... ไปเรื่อยๆ จนถึงกลุ่ม Z ขึ้นกับ Y ได้ในที่สุด


ด้วยวิธีการแบ่งกลุ่มดังนี้ ทุกกลุ่มก็จะพึ่งพากันเป็นโดมิโนวงกลม หากกลุ่มใดคิดจะดูดงบประมาณ (ซึ่งเป็นทรัพยากรจัดสรร) มาพัฒนาแต่ด้านตนเองเยอะๆ เช่น วิทยาศาสตร์อาจไม่สนใจกลุ่มศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น สุดท้ายก็จะต้องรับผลกระทบด้วยในที่สุด เพราะฉะนั้น โครงการต่างๆ ส่วนใหญ่ที่เสนอโดยแต่ละกลุ่ม จึงจะเป็นโครงการที่ไม่ได้พัฒนาแต่กลุ่มตน แต่เป็นการพัฒนาที่ให้ประโยชน์แก่กลุ่มอื่นๆ บางกลุ่มด้วย ดังนั้น ในความขัดแย้งใดๆ ของสภาบริหาร เราจะสามารถยกหลักการนี้มาใช้ประนีประนอมได้

การจัดการข้อขัดแย้งด้วยแนวคิดนี้ มีโมเดลและทฤษฎียืนยันว่าทำงานได้จริง แต่จะสามารถแบ่งคนในสังคมไทยออกเป็นกลุ่มต่างๆ ที่มีสมบัติดังกล่าวได้จริงหรือไม่ ถ้าได้จะแบ่งอย่างไร นั่นเป็นอีกคำถามหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยการระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญแล้วล่ะครับ

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการบริหารโครงการของรัฐบาล เนื่องจากไม่มี "ลูกพี่ใหญ่" (นายก, ประธานาธิบดี) มาตัดสินใจโครงการแล้ว ผมจึงคิดว่า ในการจัดการโครงการนั้น ต้องมีการกันงบประมาณกลางไว้ส่วนหนึ่ง (ซึ่งเหลือมาจากการจัดสรร "งบบริหารและตามความจำเป็น" ให้แต่ละกลุ่มในขั้นแรกไปแล้ว) ทีนี้ ในการบริหารโครงการใดๆ ที่ถูกเสนอ จะต้องมีการจัดตั้ง คณะเฉพาะกิจ (task force) ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนกลุ่มจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ หลายๆ กลุ่ม ซึ่งการตัดสินใจใดๆ ในโครงการนั้นๆต้องอาศัยการโหวตจากคณะเฉพาะกิจของโครงการ (โดยไม่จำเป็นที่เสียงของแต่ละกลุ่มต้องมีอำนาจเท่ากัน) เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งเพื่อการเกษตร อาจมีเสียงหลักเป็น กลุ่มกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชย์ ในขณะที่เสียงย่อยอาจมี กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งใครใหญ่ใครย่อยก็ต้องอาศัย "สภาบริหาร" ในการจัดตั้งคณะเฉพาะกิจนั้นๆ ขึ้น ซึ่งสภาอาจประกอบด้วยตัวแทนทั้งหมดจากทุกกลุ่มภารกิจก็ได้

ดังนั้น ในการเสนอโครงการใดๆ (หรือของบประมาณก็แล้วแต่)  ผู้แทนของกลุ่มที่เสนอ จะต้องนำเสนอให้กลุ่มอื่นๆ คล้อยตามและเข้าใจได้ ถึงความจำเป็น และประโยชน์ที่กลุ่มอื่นๆ จะได้รับ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มต่างๆ ก็จะพัฒนาได้ร่วมกัน ส่วนนโยบายที่เป็นแผนการเดินเรือของประเทศนั้น อาจทำการตกลงกัน (คล้ายๆ ที่สภาพัฒน์ทำ) ให้เป็นแผนที่ชัดเจนและอ้างอิงได้ ตั้งแต่ต้นสมัยรัฐบาลเลยก็ได้

เรื่องหลักการบริหารนี้ผมก็พูดลอยๆ มั่วๆ ไป จริงๆ ต้องอาศัยหลักการมากกว่านี้ นี่ยังไม่ได้คำนึงถึงอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ เลยว่าจะกลายเป็นอะไร แต่ผมคนเดียวคงไม่สามารถคิดเรื่องพวกนี้ได้ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญช่วนกันระดมสมองล่ะครับ




การมีส่วนร่วมของกลุ่มย่อย

แน่นอนว่าในกลุ่มใหญ่ต้องมีกลุ่มย่อย เช่น กลุ่มกสิกรรม ก็ต้องมีกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มอ้อย กลุ่มข้าว กลุ่มยาง กลุ่มมัน ฯลฯ ดังนั้น สำหรับแต่ละกลุ่มภารกิจ เพื่อให้การบริหารงานมีการคำนึงถึงทุกๆ กลุ่มย่อย จึงไม่ควรให้มีผู้แทนกลุ่มคนเดียว แต่ให้มี "สภาเฉพาะกลุ่ม" ที่รวมตัวแทนจากหลายๆ กลุ่มย่อยขึ้นมา โดยอาจแบ่งเขตผู้แทนออกเป็นหลายๆ เขต ตามเงื่อนไขของกลุ่มย่อยในแต่ละกลุ่มใหญ่ก็ได้ เช่น กลุ่มกสิกรรมก็อาจแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และชนิดของผลผลิต กลุ่มวิทยาศาสตร์อาจเป็นตามสาขาวิชา กลุ่มงานยุติธรรมอาจแบ่งเป็น สืบสวน สอบสวน ตุลาการ การบังคับกฏหมาย เป็นต้น จากนั้นการตัดสินใจใดๆ ของกลุ่มภารกิจนั้นๆ ในสภาผู้แทนใหญ่ อาจต้องอาศัยการโหวตภายในจากสภาย่อยของแต่ละกลุ่มก่อน (โดยอาจมีการเลือกประธานสภาเฉพาะกลุ่มได้) ก็เป็นได้

จริงๆ แล้วสภาย่อยของแต่ละกลุ่มภารกิจก็มีอยู่แล้วในปัจจุบัน คือบรรดาสมาคมหรือสหกรณ์ของแต่ละอาชีพนั่นเอง เพียงแต่ไม่มีอำนาจทางการเมืองเท่านั้น






แนวความคิดเรื่องการบริหารประเทศของกลุ่มต่างๆ นี่ ผมเสนอแบบพื้นฐาน ตื้นๆ เลยนะครับ ตรงนี้ต้องอาศัยทุกท่านช่วยกันคิดล่ะครับ ว่าทำได้หรือไม่ เพราะอะไร หรือเปลี่ยนตรงไหนได้บ้าง โดยหลักสำคัญเลยคือ การรักษาแนวคิดการใช้้สิทธิตามความถนัดไว้ ส่วนการบริหารนั้นจะเป็นยังไงก็ได้ ที่รองรับแนวคิดนี้และใช้บริหารประเทศได้ และไม่ทำให้ผลดีที่คิดกันไว้ตอนแรกเสียไปครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 05:53 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 15-10-2007, 00:35 »

เท่าที่อ่านดูผมคิดว่ากำลังนำเสนอ "สภาอาชีพ" ใช่มั๊ยครับ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #14 เมื่อ: 15-10-2007, 00:52 »



1.เราต้องจัดระบบ taxonomy ของ "อาชีพ"... ซึ่งสุดท้ายมันจะมีมากมายมหาศาลและไม่ครอบคลุม
2.เรื่อง "ความรู้สาขาอาชีพ" เป็นเรื่องเทคนิคการจัดการเฉพาะด้าน เหมาะสมกับการเลือกตัวแทนใน "กลุ่มพื้นที่เดียวขนาดใหญ่" แต่ไม่เหมาะกับการเลือกตัวแทนแบบ "แบ่งเขตย่อย" ซึ่งต้องการความรู้แบบบูรณาการรอบด้านเสียมากกว่า... นอกจากนี้ถ้าเราเลือกตัวแทนจากสาขาอาชีพ (สมมติเป็นสาขาเกษตรกรรม) 1,2,3,4,5 หรือ 10 คนก็ตาม.. เมื่อเทียบกับพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับประเทศไทย มันจะดูเล็กลงไปมาก สุดท้ายออกแบบไป ออกแบบมา จะได้ตัวแทนสาขาอาชีพที่พร้อมทำงานได้จริงก็จะได้เป็นสาขาเกษตรกรรม 76 คน 76 จังหวัด (หรือมากกว่านั้น)... ซึ่งเป็นเรื่อง "การจัดการทางเทคนิค" มากกว่าเรื่อง "ตัวแทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" ไป

ผมจะกลับไปที่คำถามตอนเริ่มต้นของท่าน pastelฯ ก็แล้วกันครับ



ขอตอบคุณพระพายนะครับ

1. ตรงนี้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงแต่การแบ่งตามอาชีพอย่างเดียวครับ แต่สามารถแบ่งกลุ่มโดยคำนึงถึงอำนาจในเชิงองค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารประเทศได้ครับ ซึ่งก็ควรมีเป้าหมายการแบ่งดังที่ผมได้โพสต์ไว้ในโพสต์บน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว taxonomy เดียวที่ต้องทำคือ สำหรับอาชีพหนึ่งๆ จะให้สังกัดกลุ่มอะไร

2. การแบ่งเขต -- กลุ่มย่อยนั้น ได้แสดงแนวคิดเริ่มต้นไว้แล้วในโพสต์ด้านบนนะครับ แต่เป็นไปได้ที่ผมจะเข้าใจนิยามของตัวแทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตยผิดไป ตรงนี้ต้องรบกวนคุณพระพายหรือท่านที่มีความรู้ช่วยอธิบายนิยามของตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย และความต่างของอำนาจในการบริหารประเทศกับอำนาจการจัดการเชิงเทคนิคแล้วล่ะครับ ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไปนะครับ


ส่วนเรื่องการปลูกจิตสำนึกเพื่อให้ประชาธิปไตยมีผลใช้ได้จริงนั้น จะขอยกข้อชี้แจงที่ได้กล่าวไปในบอร์ดอ. อารยามาแล้วกันนะครับ

อ้างถึง
ที่อาจารย์อารยากล่าวว่า "อยู่ที่เราจะทำอย่างไรให้ผู้นำและหรือผู้มีอำนาจที่รับมอบอำนาจไปจากประชาชน ด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่ ไม่เอาอำนาจไปใช้เพื่อพวกพ้องในการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่กลับมาสู่ประชาชน" คือจุดศูนย์กลางของแนวความคิดผมเลยครับ แต่แนวความคิดของผม จะไม่พยายามฝากความคาดหวังไว้ที่ตัวผู้นำผู้มีอำนาจ แต่จะพยายามจำกัดอำนาจแทน

ในส่วนของแนวคิดของอาจารย์ที่ว่า อำนาจทางการเมืองในปัจจุบันอยู่ที่ชนชั้นกลาง ผมว่าถูกส่วนเดียวครับ เพราะถ้าอ้างอิงตามระบอบประชาธิปไตยตอนนี้อยู่ เสียงส่วนมากยังเป็นเสียงของชนชั้นล่างครับ ซึ่งเป็นอำนาจที่ทำให้ผู้แสวงหาเข้าสู่อำนาจทางการเมืองได้ ในขณะที่ชนชั้นกลางมีแค่อำนาจในการคัดค้านครับ ซึ่งกว่าอำนาจคัดค้านนี้จะสำแดงเดชได้ ทรราชก็อิ่มหมีพีมันไปแล้วครับ และที่สำคัญจะก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ ซื้อ เข้า ไล่ ซื้อ เข้าไล่ ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่ครับ ดังนั้น ตรงนี้ควรจะเป็นจุดที่เราจะแก้ปัญหาด้วย ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ทรราชสามารถ "ฉกฉวย" ผลประโยชน์จากชนชั้นล่างได้

ที่คุณผบ.กรม (ถ้าผมจำสไตล์การเขียนไม่ผิด ถ้าผิดก็ขออภัย) กล่าวไว้ว่า

"ความจริงแล้วนั้นประชาธิปไตยในประเทศต่างๆที่มีความเจริญในระบอบค่อนข้างสูงและมีความเสถียรดีนั้น ทุกประเทศเหล่านั้นต่างก็ผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านการพัฒนามาทีละขั้น ผ่านการมีปัญหา ผ่านการต่อเติมเสริมแต่ง ผ่านอะไรต่อมิอะไรมามากมาย เราจึงได้เห็นประชาธิปไตยในรูปลักษณ์และรูปแบบต่างๆแตกต่างกันออกไปในโลก"

นั้นผมเห็นจริงแท้ครับ และนี่คือประเด็นว่าไทยเรายังไม่ได้สร้างระบอบการปกครองขึ้นมาเอง แต่เอาของเขามาใช้ ในขณะที่การพยายามเปลี่ยนแปลง (ไม่รู้จะใช้คำว่า customize หรือ localize ดี) ก็ถูกพยายามขัดขวางโดยกลุ่มอุดมคติ แต่ที่ร้ายกว่าคือ กลุ่มทรราชที่ฉกฉวยผลประโยชน์จากความไม่เหมาะสมดังกล่าวแล้วกดหัวประชาชนจน ทำให้พัฒนาการของการเมืองไทยสะดุดลง

เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่า เราน่าจะเน้นหาทางปิดโอกาสของผู้ไม่หวังดีก่อน เพื่อให้เด็กชายสยามโตพอดูแลตัวเองได้

ในเรื่องจิตสำนึกที่คุณลุงต้อยพูดมานั้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุดทีเดียว เพราะการศึกษาเป็นแค่เครื่องมือสร้างความรู้เท่านั้น แต่ไม่ได้สร้างจิตสำนึกได้ ทุกระบอบการปกครองจะสำเร็จได้ ต้องมีจิตสำนึกของประชาชนร่วมด้วย นี่อาจเป็นอีกสาเหตุที่ประชาธิปไตยไม่ได้ผลดีกับไทยเหมือนที่ใช้ได้กับฝรั่ง เหมือนสะพานลอยที่ฝรั่งคิดทำขึ้น เพราะเซ็งกับปัญหาข้ามถนนไม่ได้ ไม่ก็ลูกหลานโดนรถเฉี่ยวตาย แต่พอเอามาตั้งช่วงแรกๆที่ไทย ซึ่งรถไม่มากจนเป็นปัญหา คนก็ไม่ตระหนักว่านี่คือสิ่งที่จะช่วยเหลือเขาให้ข้ามถนนได้ แต่กลับคิดว่า เป็นกฏข้อบังคับที่ใครไม่รู้มาบังคับตน คนไทยเราจึงไม่มีค่านิยมขึ้นสะพานลอย

ปัญหาของการสร้างจิตสำนึกตอนนี้คือ ระบบประชาธิปไตยควบทุนนิยมตอนนี้ ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างจิตสำนึก ลองยกตัวอย่างสะพานลอยต่อ สมมติมีรัฐบาลสมัยหนึ่ง บังคับใช้กฏจราจรเข้มงวดมาก ไม่ข้ามสะพานลอย ตามตัวจากกล้องวงจรปิดไปจับถึงบ้านเลย ในขณะเดียวกันก็รณรงค์ทุกสื่อ ท่านคิดว่าผลเป็นอย่างไร เชื่อขนมกินได้ว่าจะมีคนกลุ่มใหญ่บ่นว่า อะไร เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตามจับ ไปจับโจรไม่ดีกว่าเรอะ แล้วอะไร โฆษณาอยู่ได้ เรื่องเล็กๆน้อยๆ น่าเบื่อ ผลต่อมาคืออะไร? ผลคือ สมัยหน้าพรรครัฐบาลนั้นเสียงลดแน่นอน

และนี่เป็นอีกศูนย์กลางหนึ่งของแนวคิดของผมครับ (ศุนย์กลางมีหลายอันแล้วยังเรียกว่าศูนย์กลางได้มั้ยเอ่ย ฮ่าๆ)


กล่าวสรุปคือ ผมไม่เชื่อใจว่าการสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ภายในสภาพแวดล้อมทางการเมืองแบบนี้ตอนนี้ครับ ผมจึงพยายามหยิบสิ่งที่เชื่อถือได้มากกว่า คือ ความรู้ตามความถนัด แล้วหยิบมาเป็นโมเดลในการบริหารปกครองครับ

ดังนั้น ต่อเมื่อเราเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางการเมืองได้ เราจึงจะสามารถเริ่มทำการปลูกจิตสำนึกได้ และเมื่อประเทศเราพัฒนา คนมีการศึกษา ไม่มีปัญหาความยากจน เมื่อนั้น เราค่อยเปลี่ยนมาใช้ระบอบประชาธิปไตย จึงจะเหมาะครับ

ปล. เดี๋ยวผมจะลองเข้าไปอ่านแนวคิดของคุณ bonny ครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #15 เมื่อ: 15-10-2007, 00:56 »

เท่าที่อ่านดูผมคิดว่ากำลังนำเสนอ "สภาอาชีพ" ใช่มั๊ยครับ


ถ้าเรียกว่า "สภาอาชีพ" จะเป็นความหมายที่แคบไปครับ เนื่องจากสภาอาชีพเป็นแค่แนวคิดเบื้องต้น

แนวคิดจริงๆ เลยคือ สลายระบบรัฐสภาและรัฐบาล แบบที่ใช้ในปัจจุบันให้หมด แล้วแบ่งอำนาจใหม่ให้มีผู้แทนตาม "องค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารประเทศ"

ด้วยเหตุนี้ อำนาจและสิทธิจะกระจายไปในมือของผู้ที่รู้จักใช้จริงๆครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 15-10-2007, 01:06 »

ขออ่านก่อนครับ รู้สึกหนักหัวมาก

เพราะมองไม่ออกว่า จะวางโครงสร้างอำนาจแบบใหน

ผู้แทนตามอาชีพ จะเข้าไปบริหารประเทศอย่างไร

เทคโนแครต ที่เป็นข้าราชการจะทำอย่างไร

ผมมองว่า สังคมไทย มันซับซ้อนเอามาก ๆ

เพราะความรู้ในแต่ละสาขา มันมากจนคิดค่าตอบแทนกันลำบากอย่างยิ่ง


บันทึกการเข้า

พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #17 เมื่อ: 15-10-2007, 01:10 »

เกรงว่าเดี๋ยวคุณ pastel จะหากระทู้คุณบอนนี่ไม่เจอ... ผมเลยหามาให้ครับ
 **รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย 2550 ที่..อยากเห็น**
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8939.0

เนื้อหาของกระทู้แบ่งเป็นตอนๆ กล่าวถึงสาเหตุที่ประชาธิปไตยไทยไม่พัฒนา มีโยงใยไปเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษา และสาขาอาชีพ.. ค่อยๆ อ่านนะครับ


ขอตอบคุณพระพายนะครับ

กล่าวสรุปคือ ผมไม่เชื่อใจว่าการสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ภายในสภาพแวดล้อมทางการเมืองแบบนี้ตอนนี้ครับ ผมจึงพยายามหยิบสิ่งที่เชื่อถือได้มากกว่า คือ ความรู้ตามความถนัด แล้วหยิบมาเป็นโมเดลในการบริหารปกครองครับ

ดังนั้น ต่อเมื่อเราเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางการเมืองได้ เราจึงจะสามารถเริ่มทำการปลูกจิตสำนึกได้ และเมื่อประเทศเราพัฒนา คนมีการศึกษา ไม่มีปัญหาความยากจน เมื่อนั้น เราค่อยเปลี่ยนมาใช้ระบอบประชาธิปไตย จึงจะเหมาะครับ

ปล. เดี๋ยวผมจะลองเข้าไปอ่านแนวคิดของคุณ bonny ครับ


เรื่องของจิตสำนึกคงไม่มีรูปแบบตายตัวนัก... สภาพแวดล้อมแบบพราหมณ์ยังเกิดพุทธได้...

ผมเชื่อว่าเรื่องของจิตสำนึกนั้นต้องไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทางการเมือง จะไปเร่งร้อนไม่ได้...
ผมเชื่อว่าใน "จุดเริ่มต้น" ของทุกเรื่องนั้น .. "คุณภาพ" สำคัญกว่าปริมาณ... ต่อจากนั้นจึงเกิดการแผ่ขยายในเชิงปริมาณ
และผมเชื่อว่า "คน" มีความสำคัญพอๆ กับ "ระบบ"... ซึ่งปัจจัย "คน" นั้น เราทำได้แต่ "เข้าใจ" ครับ ไม่ใช่การออกแบบบังคับเขา.. แบบ "you จงมีจิตสำนึก เดี๋ยวนี้!"

ผมไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าเสกสภาพแวดล้อมดีเลิศในครั้งเดียว แล้วทุกอย่างก็ราบรื่นตามที่เราคิด... แบบเดียวกับปฏิวัติ 2475 ผลที่ได้คือสภาพแวดล้อมแบบ "พานรัฐธรรมนูญ" เต็มไปหมด... แต่โอเคว่ามันอาจเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้นได้ แบบติดๆ ดับๆ

life find the ways.... เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะชั่วหรือดีก็ตามครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 01:15 โดย พระพาย » บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #18 เมื่อ: 15-10-2007, 01:21 »

ขออ่านก่อนครับ รู้สึกหนักหัวมาก

เพราะมองไม่ออกว่า จะวางโครงสร้างอำนาจแบบใหน

ผู้แทนตามอาชีพ จะเข้าไปบริหารประเทศอย่างไร

เทคโนแครต ที่เป็นข้าราชการจะทำอย่างไร

ผมมองว่า สังคมไทย มันซับซ้อนเอามาก ๆ

เพราะความรู้ในแต่ละสาขา มันมากจนคิดค่าตอบแทนกันลำบากอย่างยิ่ง




ผมเขียนยังหนักหัวเลยครับ 

ยังมีประเด็นอีก หลายยยยยย เรื่องมากๆ ที่ยังต้องคิดกัน

แต่ถ้าจะเริ่มต้นกัน ก็ต้อง simplify ปัญหาก่อนล่ะครับ เอาองค์ประกอบแคบๆ ก่อน

แล้วถ้ามันน่าจะเป็นไปได้ และน่าสนใจ เราค่อยมาทำให้มันยากขึ้นเรื่อยๆ ครับ ขยายแนวคิดและโครงสร้าง โดยมีจุดประสงค์คือ ให้ซัพพอร์ตแนวคิดพื้นฐานนี้อยู่

แล้วสุดท้ายจะได้สรุปกันว่า มันเป็นไปได้ หรือไม่ได้





เรื่องของจิตสำนึกคงไม่มีรูปแบบตายตัวนัก... สภาพแวดล้อมแบบพราหมณ์ยังเกิดพุทธได้...

ซึ่งปัจจัย "คน" นั้น เราทำได้แต่ "เข้าใจ" ครับ ไม่ใช่การออกแบบบังคับเขา.. แบบ "you จงมีจิตสำนึก เดี๋ยวนี้!"

life find the ways.... เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะชั่วหรือดีก็ตามครับ

ใช่ครับ เราก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากทีเดียวว่า จิตสำนึกจะไม่เกิดเลยในสภาวะนี้

แต่ถ้าเราเห็นว่า น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ ที่ส่งเสริมได้

นั่นก็เป็นการพัฒนาครับ

การที่บอกว่า เดี๋ยวระบบมันจะวิวัฒนาการไปเอง

สิ่งที่เรากำลังทำตอนนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการ "วิวัฒนาการ" ดังกล่าวก็ได้นี่ครับ? เพราะเราก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเหมือนกัน


เดี๋ยวขอตัวไปชงมาม่ากินระหว่างอ่านกระทู้คุณ bonny ก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 15-10-2007, 01:58 »



ยินดีต้อนรับครับ..

เชิญนำเสนอแนวคิด และถกเถียงกันตามสบายครับ


บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #20 เมื่อ: 15-10-2007, 03:58 »

ขอบคุณสำหรับการต้อนรับครับ คุณคิว...สตาร์?


แหม ขอบคุณคุณพระพายมากๆ เลยครับ ที่แนะนำกระทู้คุณบอนนี่ให้ รู้สึกว่ามีแนวคิดหลายๆ อย่างตรงกันดี เดี๋ยวผมไปลากเขามาร่วมวงสนทนาด้วยดีกว่า

ถ้าจะมีความต่างก็ตรงที่ ผมไม่ความรู้ทางการเมืองใดๆ เลยครับ ฮ่าๆๆ เลยเขียนได้มั่วๆ ไร้หลักการอ้างอิง   

คือจริงๆ แล้วผม do not give a f*** เกี่ยวกับเรื่องการเมืองเลยครับ ใครจะโกงกันแค่ไหนผมก็ไม่เดือดร้อนหรอก แต่พอดีรำคาญเท่านั้นเอง ว่าอะไรนักหนาวะ ประเทศนี้มันจะมีการปกครองที่ดีไม่ได้เลยหรือไง 

แต่ผมว่านี่เป็นข้อดีอย่างหนึ่งสำหรับตัวผมนะครับ การที่ไม่มีความรู้ทางการเมืองใดๆ เลยนี่ ผมเลยไม่ติดกับแนวคิดหรือข้อจำกัดอะไรเลย เพราะไม่รู้ว่า อะไรทำได้ ทำไม่ได้ จึงคิดอะไรก็ได้ แล้วยกหน้าที่ปวดหัวให้คนอื่นแทน ฮ่าๆๆ

ส่วนต่อไปที่จะเขียนนี่ ถือว่าเป็นดราฟท์นะครับ เพราะตอนนี้ง่วงและมึนแล้ว อาจจะอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่อยากจะเขียนทิ้งให้ครอบคลุมพอที่จะมองเห็นภาพระบอบที่นำเสนอได้ก่อน เผื่อกลางวันจะมีคนมาอ่าน จะได้ไม่เข้าใจผิดกัน

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 15-10-2007, 04:30 »

ที่จริงแนวคิดเรื่องการเมืองการปกครอง ตั้งแต่โบราณ มาจนปัจจุบัน

มีนักคิดหลายร้อยสำนักครับ ตอนผมเรียนวิชาพวกนี้สนุกมาก

อาจารย์นำมาเป็นหลักสูตร ประมาณ 8-10 แนวคิด ( สำนัก )

เดี๋ยวนี้ชักเลือน ๆ เพราะตอนนั้นเค้าบอกว่าให้เรียนเพื่อรู้ ไม่ได้เรียนเพื่อให้เชื่อ

จะว่าไป ระบอบประชาธิปไตยที่ใช้ ๆ กันอยู่นี้ เป็นระบอบที่ได้รับความนิยมสูงสุด

หลักคิดที่ยังเป็นอมตะอีกแนวทางหนึ่งคือหลักคิดของ มาร์ก เดี๋ยวนี้ทั่วโลกยังเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ "คลาสสิค"

คนที่เรียนสายสังคมจะเข้าใจการเมืองง่ายกว่าสายวิทย์ เพราะเรียนพวกวิชาพื้นฐาน เช่น ปรัชญา สังคมวิทยา มนุษยวิทยา

ยังไม่พอต้องไปเรียน เศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาค ภูมิศาสตร์ ประวัติศาตร์กฎหมายเบื้องต้น กฎหมายมหาชน

เรียนการเมืองการปกครองแล้วต้องไปเรียน การปกครองเปรียบเทียบอีก

ผมคิดว่า บางทีพวกลูก ๆ นักการเมืองไม่ค่อยได้เรียนวิชาพวกนี้

ระบบพ่อเป็นนักการเมือง เป็นสส. แล้วส่งลูกลงเลือกตั้ง โดยมีวิชาเดียวที่เรียนรู้จากพ่อ

คือวิชาซื้อเสียง วิชาหาเสียง พอไปทำงานในสภาก็คอยยกมือตามพรรคอย่างเดียว

การกำหนดให้ สส. มีอายุเริ่มต้นที่ 25 ปี บางทีผมคิดว่า ประสบการณ์แค่นั้น

จะไปเข้าใจอะไรลึกซึ้ง จนถึงขั้นไปออกเสียง สร้างกฎระเบียบให้กับสังคม
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #22 เมื่อ: 15-10-2007, 05:56 »

ส่วนที่จะนำเสนอนี้ น่าจะเป็นส่วนที่สนุกที่สุดแล้วล่ะมั้งครับ



บทบาทของนักการเมือง

** ขอแก้คำว่า นักการเมือง ในหัวข้อย่อยนี้เป็น นักการเมืองแบบระบบรัฐสภา นะครับ**

ไม่มีครับ


เนื่องจากนักการเมืองจะสูญพันธุ์ภายใต้ระบอบนี้ จึงไม่มีบทบาทของนักการเมืองเหลืออยู่


ว่าแต่ว่า นักการเมืองนี่ คืออาชีพอะไรหรือครับ?

เปล่า นี่ไม่ได้ล้อเล่น ช่วยให้คำนิยามของคำว่านักการเมืองหน่อยสิครับ ถ้าจะนิยามว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่่ทำหน้าที่เข้าต่อสู้ในระบบการเมือง เพื่อสิทธิในการบริหารประเทศ งั้นผมมีคำถามว่า เราจำเป็นต้องมีคนที่ต่อสู้ในระบบการเมือง เพื่อที่จะมาบริหารประเทศ ด้วยหรือครับ?

ในการบริหารงานด้านต่างๆ ของประเทศ เราสามารถใช้ผู้แทนกลุ่มภารกิจที่มีองค์ความรู้ด้านนั้นๆ ที่ได้รับการเลือกมาจากกลุ่มประชาชนที่มีองค์ความรู้ดังกล่าวทั้งหมด มาบริหารได้โดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เราได้คนมีความสามารถในการจัดการงานสาขานั้นโดยตรงมาบริหารประเทศได้ดีกว่าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคเสียงข้างมาก ด้วยเหตุนี้ ผมจึงตั้งคำถามคุณพระพาย (และทุกคน) เกี่ยวกับความสามารถ้ในการบริหารประเทศ กับความสามารถในการจัดการเชิงเทคนิคไงครับ

หากมีข้อโต้แย้งว่า ถ้าพรรคเสียงข้างมากเลือกคนไม่ดีไม่มีความสามารถจริงๆ มาเป็นรัฐมนตรี ครั้งต่อไปพรรคนั้นก็ต้องไม่ได้รับเลือกไปเอง ผมก็จะชี้ให้เห็นว่า ข้อโต้แย้งนี้ ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติครับ เพราะไม่มีอะไรรับรองว่าเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจะสามารถประเมินผลการทำงานของ รมต. ในด้านหนึ่งๆ ได้

ยกตัวอย่างประสบการณ์กรณีที่ผมประสบมา

อ้างถึง
ในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหนึ่ง คุณกร ทัพพะรังศี รมต. สมัยนั้น มีนโยบายว่า ให้ทำการพัฒนาวิทยาศาสตร์ที่มีมูลค่าเท่านั้น นั่นคือ ต้องประเมินคุณค่าเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ได้ (อาจเพราะเคยเป็น รมต. กระทรวงอุตสาหกรรม) ซึ่งนโยบายนี้ เหล่านักวิทยาศาสตร์ ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ต่างร้องยี้กันทั้งประเทศ เนื่องจากทุกคนตระหนักดีว่า การพัฒนาวิทยาศาตร์เฉพาะในส่วนของการประยุกต์นั้น จะทำให้ประเทศไม่มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง ทำให้ไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ได้ และต้องเป็นทาสเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งทางคนและทางวัตถุกับประเทศตะวันตกไปตลอด  ฉะนั้น นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ถูกต้อง จะต้องเป็นการสร้างองค์ความรูัใหม่ควบคู่ไปกับการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาทำให้เกิดมูลค่า และไม่สามารถวัดค่าของงานวิทยาศาสตร์ด้วยค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ ส่วนนโยบายที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างคน กลับไม่มีการใส่ใจและพูดถึงเลย

 ทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนต่างรู้ว่า การดำเนินงานเช่นนี้ ประเทศย่อมดิ่งเหวแน่นอน แต่ทำอะไรได้? คำตอบคือ นั่งบ่น และพยายามจัดสรรทรัพยากรที่มีในเกิดผลดีที่สุดเท่าที่ทำได้ เนื่องจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์พวกนี้ เสียงของตนเทียบกับเสียงทั้งประเทศ กระจ้อยร่อยมาก แต่ตำแหน่ง รมต. กลับได้มาจากการแบ่งเก้าอี้กันในพรรคเสียงข้างมาก

ฉะนั้น ผมจึงเสนอแนวคิดว่า ผู้บริหารประเทศจะต้องมาจากสภาภารกิจโดยตรง กล่าวโดยหยาบๆ มั่วๆ อาจมีระบบเช่นนี้




โครงสร้างของสภา


ยกเลิกรัฐสภา สภานิติบัญญัติ และโครงสร้างรัฐบาลเสียงข้างมากแบบเก่าออกให้หมด เนื่องจากขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของแนวคิดนี้

จัดให้มีสภาภารกิจ ทำหน้าที่แทนสภานิติบัญญัติเดิม โดยสภาภารกิจ จะไม่แบ่งที่นั่งออกเป็นพรรคการเมือง แต่จะแบ่งที่นั่งออกตามกลุ่มภารกิจ (ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว)

สมาชิกสภาในแต่ละกลุ่มภารกิจ จะมาจากเลือกตั้งโดยประชาชนในกลุ่มภารกิจนั้นๆ โดยอาจให้โควต้าจำนวนผู้แทนทั้งหมด ตามความหลากหลายของกลุ่มย่อย (ไม่จำเป็นต้องแบ่งตามภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว)

เพราะฉะนั้น สภาภารกิจ จะประกอบไปด้วยกลุ่มผู้แทนจากกลุ่มภารกิจต่างๆ โดยแต่ละกลุ่มผู้แทนก็จะผสมมาจากกลุ่มย่อยหลายๆ กลุ่มเช่นกัน

หน้าที่ของสภาภารกิจ คือ การผ่านกฏหมายเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับสภานิติบัญญัติ โดยกฏหมายต่างๆ ที่ผ่าน จะต้องได้รับเสียงโหวตไม่ต่ำกว่า x % เสียง จากเสียงทั้งหมดของสภาภารกิจ และ

ตรงนี้ต้องช่วยกันคิดแล้วล่ะครับว่า กฏหมายจะผ่านได้ ต้องได้รับการยอมรับจากทุกกลุ่มภารกิจ หรือเฉพาะบางกลุ่มภารกิจก็พอ ถ้าเป็นกรณีแรก ก็ต้องได้รับเสียง y% จากทุกกลุ่มในสภา แต่ถ้ากรณีหลัง ก็ต้องได้รับเสียงโหวต y% จากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายนั้นๆ หรือเราอาจใช้ระบบเสียงถ่วงน้ำหนักก็ได้ คือ สำหรับกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฏหมาย ก็ให้เสียงน้ำหนักมาก ส่วนกลุ่มที่ไม่เกี่ยว ก็ให้เสียงน้ำหนักน้อย  ส่วนใครมากใครน้อย อาจต้องตกลงกันในสภา ซึ่งไม่น่าจะตกลงยาก (ตามโมเดลการแบ่งกลุ่มที่มีสมบัติสามข้อ ตามที่ให้ไว้)

ไม่มีการให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง

สำหรับอำนาจบริหารนั้น เราสามารถเลือกคนส่วนหนึ่ง จากแต่ละกลุ่มในสภาภารกิจ มาอยู่ในตำแหน่งบริหารได้ โดยการเลือกสามารถทำได้ทั้งการคัดเลือกจากสมาชิกสภาของกลุ่ม หรือจะสุ่มมาก็ได้ โดยหลักสำคัญคือ ผู้บริหารแต่ละกระทรวงไม่ควรมีคนเดียว แต่ต้องมีหลายคนจากทุกกลุ่มย่อย (อาจจะกลุ่มย่อยละคน) แล้วใช้การอนุมัติงานโดยการโหวต (ซึ่งถ้าหากการทำงานโดยการโหวตนั้นช้า อาจเปลี่ยนเป็น ให้หนึ่งคนเป็นรมต. ให้คนที่เหลือเป็นรอง โดยตกลงกันเอง ตรงนี้ต้องขอความเห็นจากผู้มีความรู้ด้านการบริหาร)   

จากนั้นในส่วนของการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง ก็ใช้วิธ๊การจัดตั้ง task force ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว (ปัญหา?)

โดยอายุการทำงานของ (กลุ่ม) รมต. อาจไม่จำเป็นต้องเท่ากับอายุสภาภารกิจก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการผลัดเปลี่ยนกัน

สำหรับการถอดถอนรมต. อาจทำได้โดยอาศัย

  • เสียงส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้แทนภารกิจที่รับผิดชอบกระทรวงนั้น หรือ
  • เสียงที่มากพอจากสภาภารกิจ (เพื่อไว้ถ่วงดุลย์อำนาจกัน เผื่อกรณีที่ผู้แทนทั้งกลุ่มฮั้วกันหมด)
  • จากการเข้าชื่อกันโดยตรงของประชาชนผู้สังกัดกลุ่มภารกิจนั้นๆ


หรือถ้าในโมเดลนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องแยกระหว่างอำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ ก็อาจรวมงานบริหารของแต่ละกระทรวงให้กับแต่ละคณะผู้แทนกลุ่มจากสภาภารกิจก็ได้ โดยให้มีการจัดการภายในกันเอง เหมือนสมาคม แต่ตัวกฏหมายยังต้องผ่านการเห็นชอบจากทั้งสภาอยู่ (ซึ่งอาจถ่วงน้ำหนักเสียงของแต่ละกลุ่ม)


แผนผังโครงสร้างครับ
**แก้คำว่า สภาชำนาญการ เป็น สภาภารกิจ และกลุ่มชำนาญการ เป็นกลุ่ม ภารกิจ นะครับ**







ขั้นตอนในการเป็นผู้แทน


ถ้านายกอ อยากมีส่วนร่วมเป็นผู้แทนในการบริหารประเทศเรื่องหนึ่ง จะทำได้อย่างไร

1. นายกอต้องมีสิทธิเลือกตั้งในกลุ่มภารกิจนั้นๆ ก่อน แต่จะต้องเลิกประกอบอาชีพดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย x เดือน เพือกันการเข้ามาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว (สิทธิการเลือกตั้งติดตัวตลอด แม้เลิกประกอบอาชีพนั้นๆ แล้ว)
*ตรงนี้น่าจะแก้เป็น ให้เลิกประกอบอาชีพเมื่อได้รับเลือก น่าจะดีกว่าครับ ไม่งั้นถ้าสอบตกก็หมดตัวพอดี

2. จากนั้น นายกอจะต้องเลือกสมัครเป็นผู้แทนสังกัดหนึ่งกลุ่มย่อย (ผู้แทนต้องเลือกสังกัดหนึ่งกลุ่มย่อย แต่ตอนประชาชนเลือก จะเลือกโดยไม่เกี่ยวกับกลุ่มย่อย เพื่อให้ได้จำนวนผู้แทนตามสัดส่วนเสียงของกลุ่มย่อยต่างๆ) 

3. หากนายกอเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มภารกิจ (อาชีพ) นั้นๆ อยู่แล้ว ก็จะสบายหน่อย แต่ถ้าไม่ นายกอจะต้องพยายามหาเสียงในกลุ่มนั้น  (ซึ่งตรงนี้ รัฐอาจต้องช่วยจัดการและสนับสนุน เช่น อาจจัดการประชุมกลุ่มภารกิจขึ้น ให้กระจายในทุกท้องที่ที่มีประชาชนกลุ่มนั้น เนื่องจากการสังกัดพรรคจะหมดความสำคัญแล้ว ทำให้ผู้สมัครอาจไม่สามารถหาทุนหาเสียงได้)

4. หลังการเลือกตั้ง หากนายกอได้เสียงติด y อันดับแรกในกลุ่มภารกิจที่ลงสมัคร ก็จะได้สิทธิเป็นผู้แทนนั่งในสภาภารกิจ เพื่อพิจารณาร่างกฏหมาย

5. และหากนายกอ ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนผู้แทนร่วมกลุ่มในสภาภารกิจ นายกอ ก็จะได้เป็นผู้บริหารกระทรวงนั้นๆ เป็นเวลา z ปี (เดือน)

6. สมมตินายกอเป็น(หนึ่งใน) รมต. ของกระทรวงหนึ่ง เมื่อนายกอ คิดโครงการหนึ่งขึ้นมาได้ จะต้องนำเรื่องเข้าสภาบริหาร (หรือสภาภารกิจ ถ้าไม่แยกอำนาจบริหารกับอำนาจนิติออกจากกัน) เพื่อขอจัดตั้ง คณะทำงานเฉพาะ (task force) จากหลายกลุ่มภารกิจขึ้น ทำการศึกษาและออกแบบโครงการที่ตนเสนอ หากโครงการที่ทำต้องการออกกฏหมาย ก็ต้องนำกฏหมายดังกล่าว ไปนำเสนอสภาภารกิจ (ที่ทำหน้าที่เหมือนสภานิติบัญญัติ) เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนทั้งหมด

7. หากนายกอบริหารงานห่วย นายกออาจถูกถอดถอน อาจจะออกจากการเป็นรมต. หรือออกจากการเป็นสมาชิกสภาภารกิจเลยก็ได้

8. เมื่อหมดสมัยสภาภารกิจนายกอก็ต้องไปลงเลือกตั้งใหม่ ไม่ก็กลับไปเลี้ยงหลาน เสร็จสมบูรณ์วัฏจักรการทำงานในการเมืองการบริหารประเทศของนายกอ




โมเดลที่ผมเสนอ แน่นอนว่านั่งเทียนเสนอเอาเหมือนเดิม ไม่มีหลักการใดๆ อ้างอิงทั้งสิ้น ถ้าผู้มีความรู้ในด้านรัฐศาสตร์หรือการบริหารมาช่วยแก้ไข จะดีไม่น้อย ขอบคุณครับ





















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 06:01 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #23 เมื่อ: 15-10-2007, 06:00 »

ที่จริงแนวคิดเรื่องการเมืองการปกครอง ตั้งแต่โบราณ มาจนปัจจุบัน

มีนักคิดหลายร้อยสำนักครับ ตอนผมเรียนวิชาพวกนี้สนุกมาก



เยี่ยมไปเลยครับ ถ้าเช่นนั้น ต้องรบกวนคุณแคนแคนนำความรู้ที่ได้เรียนมาช่วยกันวิเคราะห์แนวคิดที่ผมเสนอแล้วล่ะครับ ใช้จริงไม่ได้ก็ถือว่าเอาสนุกแล้วกัน 


ส่วนเรื่องเกณฑ์อายุนั่น ผมว่า ไปปิดกั้นเขาก็ไม่ดีนะครับ อาจมีคนที่อายุน้อยแต่มีความสามารถจริงๆ ก็ได้
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #24 เมื่อ: 15-10-2007, 08:42 »

การปกครองด้วยระบอบ คณา(ศักดินา)ธิปไตย (Oligarchy, Aristocracy) แบบไทยๆ
ประกอบด้วยสามห่วง
1. ความเป็นชนชั้นปกครองสืบทอดทางสายเลือด โดยไม่ต้องพิสูจน์
2. กลุ่มผู้ปกครองตัวจริงจะเลือกกลุ่มผู้ปกครองตัวแทน ด้วยวิธีพิเศษ
3. แสดงภาพเป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุดเพื่อความเชื่อถือของชาวโลก
สองเงื่อนไข
1. ความไม่รู้ของประชาชนโดยเฉพาะชนบทเป็นหลัก ถึงรู้ก็ต้องบอกว่ามันไม่รู้ มันโง่
2. คุณธรรม อันนี้สำคัญมาก ต้องพูดต้องออกข่าวทุกวัน เปิดมันทุกห้าง

อำนาจการปกครองในระบอบนี้อยู่ในกลุ่มมนุษย์คุณธรรมแต่กำเนิดโดยไม่ต้องพิสูจน์
กลุ่มมนุษย์คุณธรรมพวกนี้จะนำพาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า(แบบอดอยากหรือเปล่า
ไม่รู้) ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกล ไม่สนับสนุนให้ประชาชนในประเทศ(ที่อยู่นอกกลุ่มตัว
เอง)ฟุ้งเฟ้อใช้เงินเกินตัว และสนับสนุนให้จนดักดานต่อไปเพื่อกระบวนการให้และรับ
ถุงมหัศจรรย์จะได้ดูขลังตลอดไป

อริสโตเติลแบ่งการปกครองแบบนี้เป็นสี่แบบ
1. แบบอ่อนๆ มีเกณฑ์แบบที่สมัยนี้เรียกว่าไล่กุ๊ย คือ คนจนห้ามยุ่ง
2. เกณฑ์คุณสมบัติสำหรับการมีสิทธิ์ในตำแหน่งทางการเมือง จะถูกกำหนดไว้สูงมากขึ้น
    และการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ๆ ก็กระทำโดยผู้เคยอยู่ในตำแหน่งทางการเมือง
3. กลุ่มผู้ปกครองเป็นแบบสืบทอดกันทางสายเลือดหรือเครือญาติ
4. เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกแถมอยู่เหนือกฎหมาย เรียกว่าแบบเพียวเลยนะนั่น

แบบไทยๆ ไม่ใช่สี่แบบนี้แต่เป็นการผสมผสาน โดยมีชื่อเรียกให้แตกต่างว่า แบบไทยไทย
มาจากกลุ่มที่ 4 แฝงตัวอยู่ในกลุ่มที่ 3 ผสมผสานกับกลุ่มที่ 2 แต่แสดงเกณฑ์ให้เหมือน
กับเป็นกลุ่มที่ 1 พร้อมประกาศก้องโลกว่าไม่ได้ปกครองทั้งสีแบบนี้แต่เป็นประชาธิปไตย
ต่างหาก เพียงแค่พฤติกรรมมันไม่ใช่ กลุ่มที่ 3 นี้จะรับใช้กลุ่มที่ 4 และทำตัวแบบโม่ง โลว์
โพรไฟล์ไร้ร่องรอย เรียกว่าผู้ใหญ่ประจำสำนัก และมีกลุ่มที่ 2 คอยเป็นหูเป็นตาเป็นมือเป็น
ตีนให้ โดยได้รับเศษอำนาจเพื่อลูกหลานจะได้กร่างตามผับตามบาร์เป็นผลตอบแทน และ
เพื่อการกระจายอำนาจแบบไทยๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ก็กลุ่มที่ 2 ก็กระจายอำนาจอีกนิด
ไปยังกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นนักเลือกตั้งภูธรมืออาชีพ ก็เป็นแบบไทยๆ ได้อย่างสมบูรณ์

การปกครองรูปแบบนี้เหมาะสมกับประเทศไทยมาก เพราะปกครองกันมาหลายปีสงบสุขร่ม
เย็น มีปัญหากระทบกระทั่งกันมั่งก็พอขำๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เปลี่ยนบรรยากาศเล่นลิเก เล่น
ละครปาหี่แบบเรียลลิตี้กันเป็นพักๆ ฆ่ากันยิงกันตายก็หลักพันศพไม่เป็นหลักหมื่นหลักล้าน
ก็ขอเสนอความเห็นเป็นบทความทางวิชาการไว้แต่เพียงนี้ ขอให้ทุกท่านสวัสดี

หมายเหตุ แบบไทยๆ = The bottle head regime
บันทึกการเข้า
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #25 เมื่อ: 15-10-2007, 10:36 »

แปะโป้งไว้ก่อน เดี๋ยวจะมาถกด้วยนะครับ

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 15-10-2007, 11:57 »

อ่านผ่านๆ เดี๋ยวขอกลับไปเก็บรายละเอียดอีกทีนึง

ว่าแต่ใครเอาไอ้แก๊สเน่านี่ลบออกไปทีได้มั้ย เห็นแล้วไม่สบอารมณ์เลย เหมือนคุยอยู่กับตัวอะไรไม่รู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 16:21 โดย meriwa » บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #27 เมื่อ: 15-10-2007, 15:12 »

อ่านผ่านๆ เดี๋ยวขอกลับไปเก็บรายละเอียดอีกทีนึง

ว่าแต่ใครเอาไอ้แก๊สเน่านี่ลบออกไปทีได้มั้ย เห็นแล้วไม่สบอารมย์เลย เหมือนคุยอยู่กับตัวอะไรไม่รู้

ไม่เอาน่า เรียนมาน้อยก็ต้องยอมรับหน่อย ความเห็นที่เป็นวิชาการหนะ
อ่านไม่รู้เรื่องแล้วอย่าพาล ว่าแต่คำว่า อารมย์ เนี่ย เรียนชั้นประถมไหนเหรอ 
บันทึกการเข้า
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #28 เมื่อ: 15-10-2007, 15:19 »

อ่านผ่านๆ เดี๋ยวขอกลับไปเก็บรายละเอียดอีกทีนึง

ว่าแต่ใครเอาไอ้แก๊สเน่านี่ลบออกไปทีได้มั้ย เห็นแล้วไม่สบอารมย์เลย เหมือนคุยอยู่กับตัวอะไรไม่รู้


ครับ จะรอความเห็นนะครับ

ส่วนคุณแก๊สเน่านั่น ปล่อยไว้ฮาๆ ก็ดีครับ ผมว่าสำนวนดูเหมือนประชดประชันมากกว่า คงไม่ได้เห็นดีด้วยหรอก
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 15-10-2007, 16:23 »


ครับ จะรอความเห็นนะครับ

ส่วนคุณแก๊สเน่านั่น ปล่อยไว้ฮาๆ ก็ดีครับ ผมว่าสำนวนดูเหมือนประชดประชันมากกว่า คงไม่ได้เห็นดีด้วยหรอก

เข้ามาแก้คำผิดให้แก๊สเน่ามันหน่อย  แด๋วมันจะฮาขี้แตกขี้แตน
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #30 เมื่อ: 15-10-2007, 16:36 »

เข้ามาแก้คำผิดให้แก๊สเน่ามันหน่อย  แด๋วมันจะฮาขี้แตกขี้แตน

สายไปเสียแล้วครับ โดนโควตไปแล้ว
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #31 เมื่อ: 15-10-2007, 17:37 »

อ้างถึงคุณPastelSalad
แหม ขอบคุณคุณพระพายมากๆ เลยครับ ที่แนะนำกระทู้คุณบอนนี่ให้ รู้สึกว่ามีแนวคิดหลายๆ อย่างตรงกันดี เดี๋ยวผมไปลากเขามาร่วมวงสนทนาด้วยดีกว่า

ผมขอตอบและแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
ผมคิดว่าคุณบอนนี่อยู่ในช่วงเว้นวรรคทางเวบบอร์ครับ
ผมขอแสดงความคิดเห็นเป็นข้อๆครับ
๑.สภาผู้ชำนาญการที่ท่านเสนอหากเป็นไปได้ก็จะถือว่าเมืองไทยได้มีการทะลุทะลวงเรื่องประชาธิปไตยแบบใหม่(ตามที่ผมเข้าใจ)
ซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงในอนาคตโดยระบอบการปกครองไทยอาจต้องถึงจุดเปลี่ยนแล้วจึงจะไปถึงยุคที่ท่านเสนอมาได้...ผมมองแค่ให้ถึง"ประชาธิปไตยแบบสังคมประชาธิปไตย"(ผมคิดตามกระแส)ที่เห็นคุยกันจังในช่วงปัจจุบันก็ดีแล้ว(แต่ความหมาย กรอบความคิด วิธีการดำเนินนโยบายจะอย่างไร?คงต้องระดมความ คิดกันอีกเยอะให้ตกผลึก) และยังคงสถาบันฯ มีนายกรัฐมนตรี มีอำนาจบริหาร ตุลาการและนิติบัญญัติแบบไทย
๒.ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ผมคิดว่าก็ยังคงมีพรรคการเมือง นักการเมืองอยู่ครับแต่ถ้าให้ความความสำคัญกับ"ผู้เชี่ยวชาญ"ในแต่ละสาขามาอยู่ใน
สภาผู้ชำนาญการก็เข้าเกณฑ์ข้อ๑แล้วครับแต่คงอำนาจตุลาการ บริหารและอำนาจนิติบัญญัติไว้
๓.โจทก์ก็คือทำอย่างไรระบอบการปกครองของไทยในปัจจุบันอันใกล้จะมีนักการเมืองประเภทเลือกตั้งน้อยลง? แล้วมีความเป็น"สภาผู้ชำนาญการ"มากขึ้น(น่าจะพอคิดอ่านกันได้) แต่ถ้าปฏิเสธนักการเมืองเลยก็คงต้องย้อนไปอ่านข้อ๑,๒และ๓ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 17:47 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #32 เมื่อ: 15-10-2007, 18:09 »

อ้างถึงคุณPastelSalad
แหม ขอบคุณคุณพระพายมากๆ เลยครับ ที่แนะนำกระทู้คุณบอนนี่ให้ รู้สึกว่ามีแนวคิดหลายๆ อย่างตรงกันดี เดี๋ยวผมไปลากเขามาร่วมวงสนทนาด้วยดีกว่า

ผมขอตอบและแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
ผมคิดว่าคุณบอนนี่อยู่ในช่วงเว้นวรรคทางเวบบอร์ครับ
ผมขอแสดงความคิดเห็นเป็นข้อๆครับ
๑.สภาผู้ชำนาญการที่ท่านเสนอหากเป็นไปได้ก็จะถือว่าเมืองไทยได้มีการทะลุทะลวงเรื่องประชาธิปไตยแบบใหม่(ตามที่ผมเข้าใจ)

๒.ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ผมคิดว่าก็ยังคงมีพรรคการเมือง นักการเมืองอยู่ครับแต่ถ้าให้ความความสำคัญกับ"ผู้เชี่ยวชาญ"ในแต่ละสาขามาอยู่ใน
สภาผู้ชำนาญการก็เข้าเกณฑ์ข้อ๑แล้วครับแต่คงอำนาจตุลาการ บริหารและอำนาจนิติบัญญัติไว้
๓.โจทก์ก็คือทำอย่างไรระบอบการปกครองของไทยในปัจจุบันอันใกล้จะมีนักการเมืองประเภทเลือกตั้งน้อยลง? แล้วมีความเป็น"สภาผู้ชำนาญการ"มากขึ้น(น่าจะพอคิดอ่านกันได้) แต่ถ้าปฏิเสธนักการเมืองเลยก็คงต้องย้อนไปอ่านข้อ๑,๒และ๓ครับ


คุณสกอปิโอ้หก ตั้งข้อสังเกตุได้ตรงประเด็นมากครับ ซึ่งตรงนี้จะนำไปสู่อภิคำถาม (grand question) ของผม คือ

ทำไมการบริหารบ้านเมืองต้องอาศัยนักการเมือง

หรือถามใหม่ให้ง่ายขึ้น

นักการเมืองคืออะไร


นี่ไม่ได้กวนนะครับ สงสัยจริงๆ (นึกภาพลูกหมาหน้าตาไร้เดียงสา เอียงคอมอง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 18:11 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 15-10-2007, 18:11 »

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เชื่อในเรื่องสิทธิ์มนุษยชนหรือไม่

เชื่อในเรื่อง เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือเปล่า

โครงสร้างเดิม เช่น สภา รัฐบาล ศาล ข้าราชการ ยังคงเดิมหรือไม่

คำว่าผู้ชำนาญการ ปัจจุบันคือพวกข้าราชการ หรือครูบาอาจารย์ นักวิจัย นักธุรกิจ

ถ้า 1 คนอยู่หลายกลุ่มได้ ก็ไม่น่าจะใช่ 1 คน 1 เสียง ( เสมอภาค )

หากใช้การกำหนดสัดส่วนอาชีพ พวกผู้ชำนาญการจะเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุด โอกาสที่จะเข้มาในสภา คงเป็นไปได้ยาก

ถ้าหากใช้คำว่า สภาผู้ชำนาญการ ผมมองเห็นสภาพัฒน์ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาปราชญ์ชาวบ้าน

อ้อ...อาจารย์ธีรยุทธ์ เคยเสนอ "สภาอาวุโส" หรือ "สภาคุณธรรม"

ผมมองว่า เจ้าของไอเดีย น่าจะเขียนเค้าโครงการเมืองการปกครองให้เป็นแผนภาพ มาดู จะเข้าใจง่ายกว่า
บันทึกการเข้า

meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 15-10-2007, 19:08 »

อ่านจบแล้วครับ  

ผมว่าแนวคิดนี้เป็นไปได้ยากนะครับ เพราะต้องรื้อรัฐธรรมนูญโครงสร้างประเทศกันใหม่หมดเลย กฏหมายประกอบอื่นๆอีก
การจะจำแนกตามอาชีพ คงไม่ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพแน่นอน  เพราะทุกวันนี้ก็มีอาชีพใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ผมยังมองว่ายังไงระบอบประชาธิปไตยก็ยังเป็นระบบที่ดีที่สุดในตอนนี้  
ปัญหาสำคัญน่าจะเป็นที่คนมากกว่า  

แต่ถ้าจะทำตามแนวความคิดนี้ผมก็ว่ามันก็ทำได้ โดยไม่ต้องไปรื้อโครงสร้างเดิมซึ่งทำได้ยาก
โดยการรวมตัวของภาคประชาชนในพื้นที่เดียวกัน ในการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ เพื่อบริหารกิจกรรมต่างๆในพื้นที่
เช่น การรวมตัวของชาวนา ชาวประมง กลุ่มอาชีพต่างๆ ในเขตพื้นที่เดียวกัน เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
มีการวางแผนการจัดการผลผลิตต่างๆ ฤดูไหนควรจะทำอะไร การหาตลาด ฯลฯ  โดยไม่ต้องรอส่งพ่อค้าคนกลางอย่างเดียว
ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มีหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้กับคนในพื้นที่อยู่แล้ว เช่นขุดบ่อน้ำ เก็บขยะ สร้างถนน ฯลฯ งานก็ไม่น่าจะซ้ำซ้อนกัน

ส่วนแต่ละสาขาอาชีพจะรวมตัวกันในระดับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสาขาอาชีพของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกัน และคอยเสนอความต้องการของกลุ่มให้กับรัฐบาล
รัฐบาลก็จะใช้ข้อมุลจากแต่ละสาขาอาชีพมาวางแผน กำหนดนโยบายต่อไป
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #35 เมื่อ: 15-10-2007, 19:49 »

อารยา เอฮาเก็ต รึป่าวครับ (ชมพู่)
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #36 เมื่อ: 15-10-2007, 20:01 »

ต่อภาคสองกันนะครับพี่น้อง ถ้าจะพูดถึงระบอบการปกครองแล้วก็ต้องพูดถึงระบบการศึกษาที่เหมาะ
สมกันด้วย อย่างการปกครองระบอบคณาเทพธิปไตยแบบไทยๆ นั้น จำเป็นต้องให้การศึกษาอย่าง
พอเพียง เหมาะสม แก่ประชากรด้วยวิธีแบบภาษาอังกฤษเค้าว่า learn by heart หรือแปลว่าเรียนด้วย
หัวใจ(ไม่ต้องใช้หัวสมอง) ยัดๆ ความรู้เข้าไปในหัวพร้อมกับสิ่งที่ให้ประชาชนเชื่อได้ว่า เทพมีจริงคอย
ดลบันดาลปัดเป่าสิ่งร้ายๆ ในประเทศให้รอดพ้นความเลวร้ายโดยประชาชนไม่ต้องพยายามมาก แค่
เชื่อและทำตัวว่าง่ายก็พอ แม้ว่าประเทศไทยจะนับถือศาสนาพุทธเป็นหลักที่สอนให้ผู้นับถือมีเหตุผล
ใช้หัวสมองในการคิด แต่การศึกษาระบบยัดด้วยหัวใจแก่ไทยทั้งชาตินี้เมื่อดำเนินระบบจนถึงชั้นเทพ
แล้ว ประชาชนจะหลอมความเชื่อเป็นหนึ่งเดียวระหว่างเทพและศาสนาพุทธโดยไม่มีตะเข็บ(seamless)
และเมื่อนั้นการปกครองระบอบคณาเทพธิปไตยก็จะอยู่ในภาวะสมบูรณ์ไร้ที่ติ

อุปสรรคของการปกครองระบอบนี้คือการที่ต้องติดต่อกับต่างชาติซึ่งมีแนวการศึกษาแบบ tutorial ทำ
ให้คนบางกลุ่มออกจากสภาพภวังคจิต เริ่มมีการคิดได้และไม่เดินไปในทางเดียวกัน กลุ่มนี้สร้างปัญหา
อย่างมากในอดีต การปรับตัวแบบไทยๆ จึงเกิดขึ้น คือ ปรับให้มีระบบการศึกษาแบบ tutorial in a
Bottlehead style ซึ่งแก้พวกหัวก้าวหน้าอย่างได้ผลแทบไม่น่าเชื่อเหมือนเอาพิษขจัดพิษ พวกที่ผ่าน
การศึกษาแบบนี้มีลักษณะที่ว่า สามารถให้เหตุผลได้ทุกชนิด แต่เมื่อต้องเจอกับข้อมูลชั้นเทพแล้วจะ
มองข้ามด้วยตรรกะที่ว่าเทพถูกเสมอโดยไม่ต้องพิสูจน์ หวังผลความสำเร็จมากกว่าการพัฒนาอย่างเป็น
ระบบ เพียงแค่นี้การเมืองของไทยก็จะวนลูปได้ไม่ต้องก้าวหน้าไปไกลเกินควบคุม เมื่อฝ่ายหัวก้าวหน้า
ปล่อยผีรากหญ้ามาหลอกหลอนเมื่อไหร่ ก็จะมีม็อบและฝ่ายคุมกำลังมาจัดการล้มล้างระบบใหม่แบบที่
ฝรั่งเรียกว่า Reinventing the wheel ออกแบบวนเวียนกันอยู่นั่นแหละไม่ไปไหน ไม่รู้จักคำว่าต่อยอด
พัฒนาปรับปรุงจากของเดิม เห็นมั้ยครับว่าระบอบการปกครองนี้เหมาะกับประเทศไทยแค่ไหน อย่าคิด
ลมๆ แล้งๆ จะเปลี่ยนแปลงอะไรเล้ย เสียเวลาเปล่าๆ เหอ เหอ

หมายเหตุ เทพมีไว้ให้เชื่ออย่าเสร่อพิสูจน์
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 15-10-2007, 20:04 »

"นักการเมือง" ก็คือผู้ที่มุ่งหวังเข้าไปทำงาน ทั้งด้านนิติบัญญัติ และ บริหาร ในองค์กรการเมืองทุกระดับ

สภาอาชีพ หรือ สภาผู้ชำนาญการของคุณนั่นแหละครับ คือ องค์กรการเมือง
บันทึกการเข้า

Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #38 เมื่อ: 15-10-2007, 20:08 »

หากเราให้ความหมายของ"มนุษย์" คือ "สัตว์สังคม" นักการเมืองก็จะเป็น"สัตว์"ประเภทหนึ่งในสังคมครับ
แล้วก็มี"นักการเมืองบางจำพวก(ไม่ใช่ทั้งหมด)"คิดว่าตัวเองมีสิ่งที่"บรรพบุรุษ"ให้มาเป็น"สัตว์พิเศษ"คือ
๑.มี"อำนาจ"ที่จะ "บันดาล"อะไรก็ได้ใส่งที่ตัวเองได้รับ "เลือกตั้ง"โดยการ"ซื้อ"เสียงประชาชน หรือได้รับความไว้วางใจจาก"คนส่วนใหญ่"เข้ามารับตำแหน่งใน"สังคม"โดยกินเงินเดือนจากภาษีของประชาชน
๒.มี"อิทธิพล"เหนือคนอื่นใน"สังคม"เช่นเลี่ยงกฎหมายเพราะคิดว่าตนเองเป็นคนออกกฎหมายเอง...แล้วเรื่องอะไรกรูต้องไปทำตามกฎซึ่งกรู""สำเร็จความใคร่"ออกมาเอง..สัตว์ประเภทนี้ถ้ามีปัญหาจะไม่ยอมรับความจริงแล้วหนีออกไปจากการงาน(ไม่ได้บอกว่าออกนอกประเทศนะครับ)หากมีพวกรับความจริงก็จะติดคุกหัวโตหรือโดนขังเป็นที่อับอายพวกนี้เลือกที่จะหนีมากกว่า
๓.มี"ผิวหนาและหน้าด้าน"กว่าสัตว์ประเภทอื่นๆในโลก...ยิ่งกว่าตัวเงินตัวทองหรือสัตว์ในไฟลัมเดียวกัน นี่แค่สามประการนะครับที่ผมกล่าวมาเป็นเชิงเปรียบเทียบให้เห็นว่าเขาต่างอย่างไรแค่นั้น...ซึ่งที่เขียนมาเป็นเพียงนักการเมืองบางจำพวกเท่านั้นนะครับ
ส่วนสปีชี่ดีๆก็มีอยู่แต่น้อยแค่คิดยกมือก็แพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้คิดจะยกมือแล้ว
ในอนาคตผมมีความเห็นว่าไม่ควรมีสัตว์ประเภทที่ผมกล่าวมานี้หลงเหลืออยู่ในเมืองไทยครับ Mr. Green
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 23:00 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 15-10-2007, 20:15 »

รัฐธรรมนูญใหม่ กำหนดให้มีกฎหมายจริยธรรมนักการเมือง

หากกระทำผิดก็จะถูกถอดถอนได้ หรือหากผิดกฎหมายอื่น ก็จะต้องรับโทษทางอาญา


การตรวจสอบนั้น ทำได้ทั้งจากประชาชนเองหรือสมาชิกในองค์กรการเมืองนั้น ๆ
บันทึกการเข้า

พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #40 เมื่อ: 15-10-2007, 20:19 »

ผมคิดว่าคุณพาสเทลฯ กำลังสับสนในเรื่องของ "การจัดการทางเทคนิค" กับ "อำนาจในการเลือกทิศทางพัฒนา"

ถ้ามีความรู้มันมีวิธีจัดการได้ทุกเรื่องครับ แต่ทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมีทุนและทรัพยากรเพียงพอหรือไม่?

ในความเป็นจริง... ทุกประเทศในโลกไม่เคยมีเงินและทรัพยากรเพียงพอสำหรับ "ความต้องการ" ของคนทุกกลุ่ม (ไม่ว่าจะมองกลุ่มในแง่ของพื้นที่หรือวิชาชีพก็ตาม) คนกรุงเทพอาจต้องการพัฒนารถไฟฟ้า ทุกจังหวัดต้องการมหาวิทยาลัย บางแห่งต้องการสร้างเขื่อน ในพื้นที่เดียวกันก็อาจมีบางกลุ่มไม่ต้องการสร้างเขื่อน...

สำหรับทุกกลุ่มในสถานการณ์ขัดแย้งกันนั้น ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลความจำเป็นของตนทั้งสิ้น... เกณฑ์วัดใดให้ประโยชน์ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็สนับสนุนว่าเกณฑ์นั้นมีความยุติธรรม มีความถูกต้อง

ความขัดแย้งดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคหรือความรู้จะจัดการได้ง่ายๆ ... เราจึงต้องมีกลไก "การเมือง" เพื่อให้มี "อำนาจในการเลือกทิศทางการพัฒนา" ครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 15-10-2007, 20:32 »

อ่อผมเพิ่งนึกได้ว่านักการเมืองไทยมันเหมือนกับอะไร  เห็นตัวประหลาดๆ แล้วนึกได้

นักการเมืองไทยมักจะทำแต่ในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ อยากเสนอ โดยไม่ค่อยสนว่าปัญหาที่แท้จริงของคนอื่นคืออะไร

แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่ทำมักจะตอบสนองเพียงตัณหาความใคร่ของตัวเองเท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหาของคนอื่น




บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #42 เมื่อ: 15-10-2007, 20:33 »

เค้กชอคโกแลต กับโกโก้ ของ จขกท. น่ากินจัง  Razz

ชมแล้วเลยต้องหาภาพมาประดับกระทู้บ้าง
จะได้ไม่มีแต่ตัวหนังสือน่าเบื่อ


บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #43 เมื่อ: 15-10-2007, 20:33 »

เขียนต่อนะครับ

ดังนั้น... กลไกการเมืองในบางครั้งจึงไม่ใช่กลไกที่สนใจ "เหตุผล" นัก... แม้ว่าบางเรื่องจะถูกต้องเช่นภาวะโลกร้อนต้องลดการใช้พลังงาน แต่ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องการขยายกิจกรรมนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะลดพลังงาน.. จริงหรือไม่?... สุดท้ายกลไกการเมืองจึงเป็นกลไกที่เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มได้มีโอกาส "สู้" เพื่อแนวทางของตน และลดปัญหาความขัดแย้งด้วย "เสียงส่วนใหญ่" แต่ไม่ได้ช่วยลดปัญหาระยะยาวหรือโดยรวมแต่อย่างใด

"ความต้องการ" VS "อารมณ์" VS "เหตุผล"... บางครั้ง บางสถานการณ์ เราจึงให้น้ำหนักที่ใดที่หนึ่งโดยชัดแจ้งไม่ได้... คนที่รู้ทั้งรู้ว่าบางอย่างไม่ยั่งยืน บางอย่างมีผลเสีย แต่ก็ตรูจะทำ... พวกพ้องของตรูจะทำ... และถ้าหากพวกของเขามากพอ มีอำนาจมากพอ... ในบางครั้ง เหตุผลที่ดี อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้... ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ความไม่สงบในพม่า เป็นต้น

เพื่อหลีกเลี่ยงการแตกหักเช่นนั้น... การมีอาชีพนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

โลกนี้.. เหตุผลเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่มีน้ำหนักมากที่สุดครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #44 เมื่อ: 15-10-2007, 20:39 »

ขอคั่นรายการครับ....ผมชอบอ่านหนังสือใครที่เป็น"พวกนอกกะลา"แต่ไม่นอกคอกนะครับก็ไปอ่านด้วยกันนะครับ Wink

เล่มนี้ชื่อ Leadership on the Line: Staying Alive Through the Dangers of Leading By Ronald Abadian Heifetz
เขาเขียนหลายเรื่องครับเกี่ยวกับLeadership

http://books.google.co.th/books?id=c3mYE7jNvn0C&dq=leadership+on+the+line&pg=PP1&ots=b6yn_BRMEP&sig=XYeTYQ_Cy9KWdRJUfo2RJpEYkHM&prev=http://www.google.co.th/search%3Fsourceid%3Dnavclient%26aq%3Dt%26ie%3DUTF-8%26rlz%3D1T4ADBF_enPH242PH242%26q%3Dleadership%2Bon%2Bthe%2Bline&sa=X&oi=print&ct=title&cad=one-book-with-thumbnail

อีกเล่มครับ Emotion Intelligenceของ Daniel Goleman

http://webhome.idirect.com/~kehamilt/ipsyeq.html

หรือเข้าไปอ่านที่บลอกเขาเลยนะครับ
http://www.danielgoleman.info/blog/


เล่มสุดท้ายในช่วงนี้ครับ Heroic leadership
ผมไม่แนะนำให้เป็น "Hero"นะครับเพราะที่ผ่านๆมาHeroโดยส่วนใหญ่ตายแล้วเขาถึงให้เป็นครับ Mr. Green

http://books.google.co.th/books?id=0CXjV3UBELYC&dq=heroic+leadership+by+chris+lowney&pg=PP1&ots=SCMds0EXdJ&sig=xGtw7UFc6acLoLi2rERv-BDmghg&prev=http://www.google.co.th/search%3Fsourceid%3Dnavclient%26aq%3Dt%26ie%3DUTF-8%26rlz%3D1T4ADBF_enPH242PH242%26q%3DHeroic%2Bleadership%2Bby%2Bchris%2Blowney&sa=X&oi=print&ct=title&cad=one-book-with-thumbnail

เล่มแรกสนุกเข้าบรรยากาศตอนนี้มาก  ขอให้พวกเรารวมกันไว้นะครับให้แน่นๆแล้วทำงานร่วมกันสักวันก็จะเป็นผลสำเร็จ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-10-2007, 17:33 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #45 เมื่อ: 15-10-2007, 20:49 »

ความขัดแย้งในเชิง "ความรู้" เอง.. ที่จริงก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ อยู่ตลอดเวลา... และบางครั้งการตัดสินเลือกใช้ทางใดก็ไม่ได้ใช้ตัวเหตุผลของความรู้เอง แต่ใช้กลไกทางการเมืองเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น... คนที่มีความรู้ดีด้านทรัพยากรน้ำสองคน คนหนึ่งอาจบอกว่าเราจำเป็นต้องมีกระทรวงน้ำขึ้นมาจัดการระบบการใช้น้ำ อีกคนหนึ่งอาจบอกว่าไม่จำเป็นแต่กระทรวงน้ำจะเป็นต้นเหตุของปัญหาน้ำในประเทศ... สุดท้ายการตัดสินใจอาจขึ้นอยู่ที่การเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายน้ำตามที่ตนต้องการเข้าไปบริหารประเทศ...

กลับมาที่ตัวอย่างที่ท่านสนใจก็ได้ครับ... ระบอบปกครองใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด?... นี่ก็ไม่ใช่คำตอบง่ายๆ และบางครั้งอาจไม่ได้มีคำตอบเดียว หรืออาจไม่มีคำตอบ... ประเทศไทยเมื่อ 50 ปีก่อน... ประเทศไทยเมื่อปัจจุบัน.. และประเทศไทยอีก 100 ปีข้างหน้า... คุณคิดว่าระบอบที่เหมาะสมมันมีหน้าตาเหมือนเดิมหรือครับ?

ผมคิดว่า... ถ้าเราจะแก้ปัญหาในเรื่องของระบอบการปกครองจริง.. ควรกลับมาที่ประเด็น "การใช้อำนาจ" มากกว่าการออกแบบสภาวิชาชีพที่เป็นการ "ให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค" เข้ามาทำหน้าที่แทน "การใช้อำนาจ" ของนักการเมืองแต่โดยตัวมันเองก็ต้องอาศัยกลไก "การเมือง" ในการจัดการเหมือนงูกินหาง

จริงอยู่ที่กลไกการเมืองนำมาซึ่ง "การใช้อำนาจ"... แต่คงไม่ใช่มีอำนาจล้นฟ้าในทุกประเด็น... สิ่งที่คานการใช้อำนาจที่ดีที่สุดก็คือการเปิดโอกาสให้ "ความรู้-หลักเหตุผล" ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในเชิงคัดค้าน ป้องกัน... ซึ่งผมคิดว่าสภาวิชาชีพจะมีบทบาทตรงนี้ครับ ... ซึ่งเราก็มีบัญญัติอยู่ในส่วนของวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 20:57 โดย พระพาย » บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 15-10-2007, 20:55 »

ที่คุณพระพายนำมาบอกกล่าว คือเรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากรอันเป็นส่วนกลาง

ตรงนี้คือ การหากระบวนการมาจัดสรรให้ลงตัว เป็นธรรมต่อทุกคนในสังคม

"องค์กรการเมือง" ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใหน มันก็คือองค์กรจัดสรรอำนาจในการจัดการทรัพยากรทั้งนั้น

ดังนั้นคำว่า อะไรเหมาะสม อะไรเป็นธรรม เป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันต่อไป

ที่สำคัญเราต้องไม่ลืมว่า การจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากร มันมีความสลับซับซ้อน

จะใช้การแก้ปัญหาแบบมิติเดียวไม่ได้ ต้องใช้มุมมองจากทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์ จริยศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ

การประสานประโยชน์ของชนทุกกลุ่มจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการจัดสรรที่ถูกต้องชอบธรรม

ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลการจัดสรรผลประโยชน์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ก็คือ สภา หรือ นักการเมือง นั่นเอง
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #47 เมื่อ: 15-10-2007, 22:49 »

ครับ ตอนนี้ผมจะโต้แย้งแนวคิดและหลักเหตุผล หรือขอเหตุผลสนับสนุนเพิ่มนะครับ

ขอออกตัวก่อนว่า วิธีการโต้เถียงของผมอาจจะน่ารำคาญบ้าง เพราะผมนิยมโต้แบบ point by point argument และ ตอบคำถามด้วยคำถามครับ ก็ขอให้มองข้ามรูปแบบแล้วพยายามคิดตามในสิ่งที่ผมต้องการสื่อนะครับ


อ้างถึง
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เชื่อในเรื่องสิทธิ์มนุษยชนหรือไม่

เชื่อในเรื่อง เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือเปล่า

ผมเชื่อในเรื่อง สิทธิมนุษยชน เสรีภาค เสมอภาค และภราดรภาพครับ

แต่ผมไม่คิดว่าสิ่งที่ผมเชื่อจะเป็นนิยามเดียวกับที่คุณแคนแคนและอีกหลายๆ คนเชื่อ

จุดที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ความเสมอภาคครับ

แน่นอนว่าคนทุกคน เป็นคนเหมือนกัน และคนทุกคนควรเสมอภาคกันในความเป็นคน

คนทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการหาสิ่งที่ดีให้ตนเอง ภายใต้บรรทัดฐานที่ดีงามของสังคม

แต่ความเสมอภาคไม่ได้แปลว่าทุกคนจะเหมือนกัน

ไม่ใช่ว่าต่างกันแนวดิ่ง เป็นชนชั้น แต่ต่างกันในแนวระนาบ ตรงหน้าที่ และความถนัด

คนทุกคนไม่ได้เหมือนกันหมด ที่จะจัดเป็นกลุ่มเดียวกันได้ แต่ในความเป็นจริง จะกระจายกันไปในระนาบ กระจุกตัวตามที่ที่หน้าที่ของตนเองอยู่

ไม่มีใครเหนือกว่าใคร แต่ไม่มีใครที่เหมือนกัน*


ดังนั้น การคาดหวังจะให้คนทุกคนทำสิ่งเดียวกันได้ ถ้าสิ่งที่หวังนั้น ไม่ใช่การ กิน ขี้ ปี้ นอน แล้วล่ะก็

นับว่าเป็นอุดมการณ์ที่... เป็นเด็กสิ้นดี


เช่นเดียวกับการคาดหวังที่จะให้คนทุกคนมีความสามารถในการที่จะเลือกผู้นำประเทศที่ดีได้

ด้วยเหตุผลอะไร คุณถึงบอกว่า การให้คนกลุ่มใหญ่มหาศาลมารวมกัน ให้เสียงทุกคนเท่ากัน แล้วผู้นำที่ดีจะ "emerge" ขึ้นมา

คุณกล่าวด้วยเหตุผลอะไร? มีโมเดลอะไรมารองรับ? สำนักอะไรบอกคุณ? สำนักนั้นเคยทดลองมั้ย? เคยนำไปทดลองกับคนทุกกลุ่มมั้ย?

คนไม่ใช่มด ที่ทุกๆ ตัวจะทำเผื่อเผ่าพันธุ์ตนเอง และคนไม่ใช่เทวดา ที่จะมีความรู้แจ้ง ตั้งตนในธรรมทุกตน (หรือส่วนใหญ่ก็เถอะ)** 

แต่ตรงนี้ ที่นี่ วันนี้ ผมมีตัวอย่างค้านที่ดี คือประเทศไทยเรานี่แหละ ส่วนของความล้มเหลวนี้ คุณ bonny เรียงเรียงไว้ได้ดีมาก แนะนำให้ไปลองพิจารณาอีกที

ส่วนตัวผมคิดว่าเราให้เวลาทดลองประชาธิปไตยแบบรัฐสภากับประเทศไทยมากพอที่จะสรุปได้ว่า มันล้มเหลว แล้ว

แต่ผมไม่ได้การันตีว่า สิ่งที่ผมเสนอจะทำงานได้ ผมแค่บอกว่ามันอาจจะน่าลอง ถ้าใครมีไอเดียอะไรดีกว่านี้ ผมก็ยินดีร่วมวิเคราะห์ร่วม

คิดนอกกรอบ



อ้า ผมไม่ได้ heat นะครับ เดี๋ยวนึกว่าจะกลายเป็นการโต้เถียงอย่างรุนแรงอีก


* หรือกล่าวให้ง่าย นี่คล้ายหลัก functionism แต่ไม่ใช่ elitism กรุณาอย่าสับสน
**(แนวคิดนี้ คล้ายๆ แนวคิดของท่านพุทธทาส แนะนำให้อ่านหนังสือ "ธรรมะกับการเมือง ของ พุทธาสภิกขุ" เรียบเรียงโดยอ.วีระ สมบูรณ์ เล่มละ 78 บาทครับ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม)



อ้างถึง

คำว่าผู้ชำนาญการ ปัจจุบันคือพวกข้าราชการ หรือครูบาอาจารย์ นักวิจัย นักธุรกิจ

ถ้า 1 คนอยู่หลายกลุ่มได้ ก็ไม่น่าจะใช่ 1 คน 1 เสียง ( เสมอภาค )

หากใช้การกำหนดสัดส่วนอาชีพ พวกผู้ชำนาญการจะเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุด โอกาสที่จะเข้มาในสภา คงเป็นไปได้ยาก



ตรงนี้คุณแคนแคนกำลังตีความผิดไปแล้ว (หรือไม่ผมก็ใช้คำไม่เหมาะสม)

ใครทำอาชีพอะไร ก็เป็นผู้ชำนาญการทางด้านนั้น

หรือต่อให้ไม่ต้องทำอาชีพ ถ้า "ใส่ใจ" และ "รู้เรื่อง" ที่ตัวเองกำลังใส่ใจ ก็มีสิทธิเป็นผู้ชำนาญการด้านนั้นได้

จริงๆ แล้ว น่าจะใช้คำอื่น เพราะผู้ชำนาญการ มันฟังดูความหมายเป็น "expert" แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ "functional unit" ครับ ไม่ทราบใครพอนึกศัพท์สั้นๆ ที่ดีกว่านี้ออกบ้าง?

ไม่ได้จำกัดแค่ ครูบาอาจารย์ นักวิจัย นักธุรกิจครับ ในที่นี้ ใครก็ตามที่สนใจอยากพัฒนา "สาขาอาชีพ หรือสภาพของประเทศในด้านที่ตนมีภุมิปัญญา และใส่ใจ" ก็สามารถเป็นผู้แทนได้ครับ

แต่ใครจะเป็นผู้แทนคน ไม่ว่าในด้านไหนได้ ก็ต้องมีความรู้ทั้งนั้นแหละครับ (มิได้หมายถึงปริญญา) ถ้าไม่มีความรู้ในสิ่งที่ตนจะพัฒนาแล้วจะมา "พัฒนาให้ดีขึ้น" ได้ยังไง

และความรู้ที่ว่า ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เป็นสมบัติของนักวิชาการ ครูบาอาจารย์ นักธุรกิจ ครับ*


*(ย้ำอีกครั้งว่าแนวคิดที่นำเสนอไม่ใช่ elitism)



อ้างถึง
ส่วนแต่ละสาขาอาชีพจะรวมตัวกันในระดับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสาขาอาชีพของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกัน และคอยเสนอความต้องการของกลุ่มให้กับรัฐบาล
รัฐบาลก็จะใช้ข้อมุลจากแต่ละสาขาอาชีพมาวางแผน กำหนดนโยบายต่อไป

ที่คุณ meriwa ว่ามา ตอนนี้ก็มีทำอยู่แล้วครับ คือสภาพัฒน์ และพวกสมาคมอาชีพต่างๆ

ปัญหาคือ องค์กรทางกลุ่มอาชีพเหล่านี้ ไม่มีอำนาจทางการเมืองครับ

ส่วนการนำเสนอข้อมูลจากความชำนาญของตนให้รัฐบาลนั้น จะมีผลจริงๆ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลทั้งองค์รวมสนใจจะพัฒนาชาติเป็นอันดับหนึ่งครับ

ซึ่งตรงนี้คุณ bonny ได้เสนอวิธีแก้โดยให้สภาอาชีพมีอำนาจในการยับยั้งนักการเมือง ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

แต่ตัวผม ด้วยความที่ไม่มีความรู้ทางด้านการเมืองเลย เลยคิดต่อว่า อ้าว แล้วยังงั้น จะเอานักการเมืองไว้ทำไม

ถ้าจะต้องมีนักการเมืองมาบริหารประเทศในแต่ละด้าน ทำไมถึงไม่เอาผู้มีความรู้ในทางนั้นมาบริหารซะเลยล่ะ นักการเมืองมีอะไรพิเศษกว่าหรือ (ทักษะการบริหารเรียนกันได้ไม่ยาก)

ผู้มีความรู้ที่อยากบริหารมีเยอะครับ แต่ไม่เข้ามาทำงานระดับประเทศ เพราะมัน "สกปรก" (อ่านรายละเอียดได้ในกระทู้คุณ bonny)

ซึ่งนี่นำไปสู่ข้อโต้แย้งถัดไปที่ผมอยากจะกล่าว


อ้างถึง
"นักการเมือง" ก็คือผู้ที่มุ่งหวังเข้าไปทำงาน ทั้งด้านนิติบัญญัติ และ บริหาร ในองค์กรการเมืองทุกระดับ

สภาอาชีพ หรือ สภาผู้ชำนาญการของคุณนั่นแหละครับ คือ องค์กรการเมือง

ถ้าสภาผู้ชำนาญการมีจริง ก็จะเข้ามาแทนที่นักการเมืองครับ แต่ไม่น่าจะถือเป็นนักการเมืองเหมือนในระบบปัจจุบัน เพราะ

ผู้แทนในสภาชำนาญการ ไม่ได้สนใจในการทำงานด้านการจัดการผลประโยชน์ครับ แต่สนใจในการนำผลประโยชน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในสาขาของตนเอง ต่างหาก

ที่ทำตัวหนาไว้นั้น แน่นอน เป็นอุดมคติครับ แต่ด้วยโครงสร้างของการแบ่งอำนาจที่กล่าวไว้ น่าจะทำให้ตรวจสอบลับลมคมในได้ง่ายกว่านักการเมืองในระบอบปัจจุบันครับ

คำถามแดงตัวใหญ่ๆ ที่ผมถามไว้ข้างบน หมายถึง นักการเมืองในปัจจุบันครับ What do they exactly do?





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2007, 22:53 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 15-10-2007, 23:07 »

ถ้าผู้ชำนาญการ นำทรัพยากรมาใช้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตัวเอง

มันก็เข้าเค้า กลุ่มผลประโยชน์ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ใครมีเสียงดัง ใครมีพลังทางเศรษฐกิจคนนั้น-กลุ่มนั้นก็ได้เปรียบ

ถ้าคนที่นำทรัพยากรมาใช้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนเอง...ก็คือกลุ่มการเมือง นักการเมืองนั่นแหละครับ

บางคนเรียก การเมืองในระบบ หรือ การเมืองนอกระบบ ( ผู้สนับสนุนการเมืองในระบบ "นอมินี" ทางการเมือง )

ลอง ๆ จับเอา สภาที่ปรึกษา สภาปราชญ์ สภาพัฒน์ มารวม ๆ กันแล้วเขย่าดูนะครับ

ปัญหา "ที่มาของ - ผู้แทน" จะเป็นตัวบอกว่า มาโดยชอบธรรมหรือไม่

มองยังไง สภาผู้ชำนาญการ ก็คือ "ผู้แทน" อยู่ดี

มิเช่นนั้นก็ต้องไปใช้ระบบ การเมืองทางตรง แบบกรีกโบราณ
บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #49 เมื่อ: 15-10-2007, 23:16 »



มองยังไง สภาผู้ชำนาญการ ก็คือ "ผู้แทน" อยู่ดี

มิเช่นนั้นก็ต้องไปใช้ระบบ การเมืองทางตรง แบบกรีกโบราณ


ผมเคยคิดเล่นๆ ว่า การเมืองแบบไม่มีผู้แทนแบบกรีกโบราณ
อาจจะเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้นะครับ

หวยออนไลน์ยังมีได้ ทำไมการเมืองออนไลน์จะมีไม่ได้
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8
    กระโดดไป: