ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 00:58
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สื่อค้านกม.คุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สื่อค้านกม.คุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว  (อ่าน 2818 ครั้ง)
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« เมื่อ: 11-10-2007, 20:27 »

โดย Post Digital 11 ตุลาคม 2550 18:00 น.

บก.อาชญกรรม หลายสำนัก ชี้ มาตรา 9 พ.ร.บ.คุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว ลิดรอนสิทธิสื่อมวลชน

นายอลงกฎ จิตต์ชื่นโชติ บรรณาธิการข่าวอาชญากรรม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระบุ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ที่ระบุโทษจำคุกและปรับการเผยแพร่ภาพเรื่องราว หรือ ข้อมูลใดๆอันน่าจะทำให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือ ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวนั้น ถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานและดูถูกสื่อมวลชนอย่างรุนแรง อีกทั้ง ยังถูกมองว่า การนำเสนอของข่าวของสื่อมวลชนไม่มีการกลั่นกรองและตรวจสอบก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชน


ขณะที่ นายปรีชา สอาดสอน บรรณาธิการข่าวอาชญากรรมสำนักงานข่าวเนชั่น มองว่า มาตรา 9 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ลิดรอนสถานภาพของสื่อมวลชน ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ให้มีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาและเหยื่อความรุนแรง ก็อาจจะถูกเพิกเฉยไป หากไม่มีการนำเสนอข่าวทั้งยังจะทำให้สถิติของคดีที่เกิดจากความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกด้วย


นายสฤษดิ์เดช มฤคทัต บรรณาธิการข่าวอาชญากรรม หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กล่าวว่า หากหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังแล้ว ก็คงยังไม่มีผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงเข้ามาร้องขอความช่วยเหลือจากสื่อมวลชนให้นำเสนอข่าว เพื่อสะท้อนปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้น


ด้านพล.ต.ท.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ผบช.สำนักงานกฎหมายและสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน เกี่ยวกับ ความรุนแรงในครอบครัวว่า สื่อมวลชน ควรจะต้องคำนึงถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ รวมถึง ครอบครัวและคนใกล้ชิดของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะสื่อมวลชนถือว่า มีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างมากบางครั้งการนำเสนอข่าวเพียงด้านเดียว เพื่อต้องการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ก็จะเป็นการตัดสินอีกฝ่ายให้กลายเป็นจำเลยของสังคมไปโดยปริยาย พร้อมนำเสนอให้มีวิธีการนำเสนอต่อสาธารณในเชิงสกู้ป หรือ บทความสมมุติแทนการนำเสนอเรื่องจริงและถ่ายทอดสด เพื่อลดผลกระทบ และความเสียหายที่จะเกิดขึ้น


อย่างไรก็ตาม หากการนำเสนอของสื่อมวลชนในเรื่องของความรุนแรงได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย ก็สามารถนำเสนอได้

http://www.posttoday.com/breakingnews.php?sec=breaking&id=196877
**********************************************************


เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๐

พระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป



มาตรา ๕ ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ที่พบเห็นหรือทราบการกระทำ
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้กระทำโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครอง
และไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง

มาตรา ๖ การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕ อาจกระทำโดยวาจา เป็นหนังสือ
ทางโทรศัพท์ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้ง
ตามมาตรา ๕ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ที่เกิดเหตุเพื่อสอบถาม
ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่อยู่ใน
สถานที่นั้นเกี่ยวกับการกระทำที่ได้รับแจ้ง รวมทั้งให้มีอำนาจจัดให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
ในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือ
นักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวประสงค์จะดำเนินคดี ให้จัดให้ผู้นั้น
ร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือมีโอกาสที่จะร้องทุกข์
ได้ด้วยตนเองให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา ๙ เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา ๕ หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา ๖ แล้ว ห้ามมิให้
ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลใด ๆ
อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
ในครอบครัวในคดีตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/041/1.PDF
***********************

มาคุยกันเรื่องความรุนแรงในครอบครัว และสื่อบ้างน่ะครับ

ไม่ได้เว้นบรรทัดวรรคตอนให้อ่านง่าย แนะนำว่าคลิ๊กลิ้งค์ต้นฉบับ จะอ่านชัดกว่าครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12-10-2007, 00:13 »

ไม่ทราบเรื่องเดียวกับที่ ครูหยุย พูดเมื่อคืนหรือเปล่าครับ

รู้สึกเรื่องราวมากมายจนตามไม่ไหว อิ อิ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12-10-2007, 01:45 »



เรื่องครอบครัว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน..


ต่างคนต่างพื้นฐาน

คนรวยมากๆ คนจนมากๆ คนจบสูงมากๆ มักมีปัญหา


แต่ผมเห็นว่าการตีลงโทษเด็กหรือคนดื้อมากๆอย่างมีสติ โดยไม่ได้ยึดอารมณ์โกรธเป็นที่ตั้ง ไม่ถือเป็นความรุนแรงครับ

ถือเป็นการตีสอน สื่อและบุคคลภายนอกครอบครัว บ่อยครั้งก็จุ้นจ้าน หวังว่าเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงนะครับ.ไม่อย่างนั้นแก้ไม่หาย ปัญหาไม่ยุติ อาจเพิ่มขึ้นได้ด้วย
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #3 เมื่อ: 12-10-2007, 14:15 »

เอาอย่างนี้ดีกว่า ในฐานะที่ตามมานาน

ผมบอกได้ว่า การที่เอากฎหมายนี้ขึ้นมา มันเป็นการลิดรอนสื่ออย่างเห็นได้ชัด

เพราะการกระทำที่เป็นรุนแรง หากสื่อไม่นำสเนอเท่าที่เป็นจริง

แล้วใครจะมาสนใจ หลายๆข่าวสื่อนำเสนอจึงเกิดเป็นประเด็นสังคม

ที่ควรควบคุมคือสื่อโทรทัศน์ มากกว่าสื่อที่นำเสนอข่าว
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 12-10-2007, 14:28 »

นายอลงกฏ จิตต์ชื่นโชติ หน.ข่าวอาชญากรรม นสพ.ไทยรัฐ แสดงความคิดเห็นว่า ทุกวันนี้นักข่าวระมัดระวังเรื่องการเสนอข่าวเด็กและสตรีเป็นอย่างมาก แต่ภาครัฐมักมองสื่อว่าเป็นคนขาดจริยธรรม ซาดิสต์ ขาดการศึกษา เป็นขยะสังคม มองว่าเป็นอะไรที่ต้องควบคุม จึงพยายามออกกฎหมายมาควบคุม อีกทั้งใช้บทลงโทษที่รุนแรง คือปรับผู้กระทำผิดหกพันบาท แต่ปรับนักข่าวหกหมื่นบาท จึงมองว่าออก พ.ร.บ.มาควบคุมสื่อแน่นอน ซึ่งตามช่องทางของรัฐธรรมนูญแล้ว สามารถคว่ำ พ.ร.บ.ได้ มีข้อสงสัยว่าอย่างข่าวหมอผัสพรถูกสามีฆ่า เป็นเรื่องในครอบครัว ต่อไปจะไปเสนอข่าวคงไม่ได้ 

ผมอ้างคำพูดของ คุณอลงกฎ หน่อย คือหากว่าเราใช้เซ็นเซอร์ สื่อนั้น ป่านนี้ คดีหมดผัสพร ไม่จบแน่นอน

เพราะการทำงานของตำรวจไทยเป็นอย่างไรเรารู้ดี

ยังมีอีกคดีคือคดีดาบยิ้ม หากสื่อไม่เสนอความลำบากของครอบครัว ป่านนี้พวกเฉลิมจะดูดีกว่านี้เยอะ

เพราะฉะนั้น การเสนอข่าวของสื่อยังคงไม่สามารถริดรอนได้ เพราะเรายังเชื่อเจ้าหน้าที่รัฐได้ไม่เต็มร้อย

ยังต้องมีสื่อที่นำเสนอต่อไป ในแนวทางเต็มที่

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12-10-2007, 15:20 »

สังคมทราม ดันไปโทษคนรายงานข่าว

พ่อข่มขืนลูก แบบนั้น ก็เป็นเรื่องในครอบครัวใช่มั๊ย
บันทึกการเข้า

eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #6 เมื่อ: 12-10-2007, 15:34 »

อ่านแล้วนึกถึงการกระทำ "ข่มขืนศพ" ของสื่อ
ผมว่า เขาไม่ค่อยเซ็นเซอร์กันเลย คนก็ตายไปแล้ว
แถมยังตกเป็นเหยื่อ ดันเอารูปขึ้นประจานซ้ำอีก
แล้วก็อ้างว่าเซ็นเซอร์แล้ว

ขอความพอดีได้ไหม!!!
บันทึกการเข้า
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12-10-2007, 15:51 »

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 11 ต.ค. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน โดยความร่วมมือกับสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ร่วมกันจัดสัมมนา

เรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 กับผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อ


 ผู้ร่วมสัมมนา อาทิ พล.ต.ท.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ผบช.สำนักงานกฎหมายและสอบสวน สตช. คุณจิตราภา สุนทรพิพิธ รอง ผอ.สำนักงานกิจการ-สตรีและสถาบันครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก นายอลงกฏ จิตต์ชื่นโชติ หน.ข่าวอาชญากรรม นสพ.ไทยรัฐ นายปรีชา สอาดสอน หน.ข่าวอาชญากรรม เครือเนชั่น น.ส.บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ บก.ข่าวต่างประเทศ นสพ.คมชัดลึก นายสฤษดิ์เดช มฤคทัต บก.บางกอกโพสต์ น.ส.ชวิดา วาทินชัย ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี


พล.ต.ท.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ผบช.สำนักงานกฎหมายและสอบสวน สตช. กล่าวว่า กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 พ.ย.50 ซึ่งการจะทำข่าวอย่างเดิมคงไม่ได้ แล้ว  ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ หากสื่ออยากช่วยก็ช่วยโดยไม่ต้องทำข่าว อาจทำเป็นสกู๊ป หรือเป็นละคร ซึ่งหากมี การฟ้องร้องต่อสื่อ ตำรวจก็ต้องใช้ดุลยพินิจ โดยมีหลักอยู่ว่าเป็นเรื่องส่วนตัวในครอบครัวเขาหรือไม่ ทำให้เขาเสียชื่อเสียงเกียรติยศหรือไม่ และสื่อทำตามจริยธรรมประกอบวิชาชีพแล้วหรือไม่ รวมทั้งข่าวนั้นเป็นประโยชน์ กับสาธารณะหรือไม่ ยอมรับว่าพูดยากเกี่ยวดุลยพินิจในเรื่องเหล่านี้



นายอลงกฏ จิตต์ชื่นโชติ หน.ข่าวอาชญากรรม นสพ.ไทยรัฐ แสดงความคิดเห็นว่า

ทุกวันนี้นักข่าวระมัดระวังเรื่องการเสนอข่าวเด็กและสตรีเป็นอย่างมาก แต่ภาครัฐมักมองสื่อว่าเป็นคนขาดจริยธรรม ซาดิสต์ ขาดการศึกษา เป็นขยะสังคม มองว่าเป็นอะไรที่ต้องควบคุม จึงพยายามออกกฎหมายมาควบคุม อีกทั้งใช้บทลงโทษที่รุนแรง คือปรับผู้กระทำผิดหกพันบาท แต่ปรับนักข่าวหกหมื่นบาท จึงมองว่าออก พ.ร.บ.มาควบคุมสื่อแน่นอน ซึ่งตามช่องทางของรัฐธรรมนูญแล้ว สามารถคว่ำ พ.ร.บ.ได้ มีข้อสงสัยว่าอย่างข่าวหมอผัสพรถูกสามีฆ่า เป็นเรื่องในครอบครัว ต่อไปจะไปเสนอข่าวคงไม่ได้




ขณะที่ น.ส.ชวิดา วาทินชัย ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ให้ความเห็นว่า


ในฐานะคนทำข่าวผู้หญิง พ.ร.บ.นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่เราต้องการ บาง ข่าวที่ลงไปนั้นเหมือนฆ่าเขาให้ตายไม่รู้กี่รอบ เงินหก หมื่นที่ถูกปรับเทียบไม่ได้กับชีวิตของเขาที่เสียไป หากอยากช่วยเหลือ จะช่วยได้แบบไหน เจตนาดีของสื่ออาจเป็นตราบาปเขาก็ได้ หากเป็นลูกเมียของนักข่าวจะคิดอย่างไร จึงอยากเรียกร้องสมาคม องค์กรที่เกี่ยวข้อง ช่วยสร้างข่าวอาชญากรรมแนวใหม่ สร้างนักข่าวอาชญากรรมมุมใหม่



ด้าน น.ส.บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ บก.ข่าวต่างประเทศ นสพ.คมชัดลึก กล่าวว่า

สังคมมักโทษสื่อ โดย ส่วนตัวชอบ พ.ร.บ.เรื่องสิทธิในการปกป้องครอบครัว แต่ การฆ่าตัดตอนไม่ให้นำเสนอข่าวนั้นไม่ถูกต้อง หากไม่ เสนอข่าวแต่ความรุนแรงยังคงอยู่ จึงมองว่าเป็นการแก้ ปัญหาที่ปลายเหตุ เหมือนการติดกระดุมเม็ดผิด ซึ่งจรรยาบรรณสื่อนั้น เรามีสภาการหนังสือพิมพ์คอยควบคุมอยู่แล้ว จึงมองว่าสื่อตกเป็นแพะรับบาป ส่วนตัวแล้วตนยังทำงานเพื่อผู้หญิงมาโดยตลอด ซึ่งสื่อช่วยเหลือเยอะมาก และให้ความรู้ที่ถูกต้องอีกด้วย



นายสฤษดิ์เดช มฤคทัต บก.บางกอกโพสต์ แสดงความเห็นว่า


โดยปกติแล้วนักข่าวก็ไม่อยากโดนฟ้อง เพราะเรื่องยาวกว่าจะจบ พ.ร.บ.นี้อาจเกิดจากความเข้าใจผิดของคนเขียน เป็นการดีที่ไม่อยากตราบาป แต่หากรัฐไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานอื่นพึ่งไม่ได้ ต้องไปพึ่งสื่อจะทำอย่างไร อย่างไรก็ตาม สื่อต้องระวังตัวมากขึ้น และต้องมีพัฒนาในการทำข่าวด้วย การเขียนข่าวเกินจริงจะทำไม่ได้


http://www.norsorpor.com/go2.php?u=http%3A%2F%2Fwww.thairath.com%2Foffline.php%3Fsection%3Dhotnews%26content%3D64281

---
 
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #8 เมื่อ: 12-10-2007, 16:04 »

คนเสนอข่าวต้องระมัดระวังมากๆอยู่แล้วครับ

แล้วตอนนี้มี กม. เพื่อจัดการกับสื่ออีก ต้องระมัดระวังมากเป็นสองเท่า

และที่สำคัญคือตอนนี้ข่าวเกี่ยวกับเยาวชน นั้นมีมากขึ้น

ผมว่าอย่างไรก็ตาม คนข่าวก็ยังต้องเสนออยู่ เพื่อให้ภาครัฐมองมายังปัญหามากขึ้น

ไม่งั้นก็คงยังเป็นปัฐหาต่อไปโดยไม่มีคนแยแส

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #9 เมื่อ: 12-10-2007, 16:10 »

การตรากฎหมายเพื่อป้องกันนการก่อความรุนแรงนั้นเป็นปลายเหตุ

ต้นเหตุอยู่ที่ การทำอย่างไรให้สังคมปลอดความรุนแรง

ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ หรือการเปลี่ยนแนวคิด และลดความต่ำทราม เสริมจริยธรรมของชาติมากกว่า

การที่จะมาริดรอนสิทธิสื่อ ที่ต้องนำเสนอ

บางทีการเสนอข่าวตามเนื้อผ้าให้เห็นความรุนแรง  เป็นการเตือนสติสังคมด้วย
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #10 เมื่อ: 12-10-2007, 16:35 »

อ้างถึง
       เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 7 ก.ค. นายมนตรี สินทวิชัย ส.ว. สมุทรสงคราม ในฐานะเลขาธิการ มูลนิธิคุ้มครองเด็ก ได้พา ด.ญ.เอ (นามสมมติ) อายุ 8 ขวบ นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนแห่งหนึ่งย่านบางเขน เข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ต.นพดล ดอนสีจันทร์ พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง เพื่อให้ ดำเนินคดีกับนายสมชาติ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 305/37 หมู่ 3 แขวงบางเขน เขตหลักสี่ กทม. พ่อแท้ๆของ ด.ญ.เอ ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราบุตรสาว ของตัวเอง เป็นเวลานานติดต่อกันเกือบ 2 ปี โดย ด.ญ.เอให้การว่า เดิมทีพักอาศัยอยู่กับพ่อแม่และน้องที่ย่านดินแดง ต่อมานายสมชายผู้เป็นพ่อติดยา และมีปากเสียงทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรง แม่จึงพาน้องหนีไปอยู่ที่อื่น ส่วนพ่อนำตนมาอยู่บ้านปู่กับย่า แต่หลังจากนั้นไม่นานพ่อถูกตำรวจจับติดคุก ปู่จึงส่งเข้าเรียนในศูนย์เด็กอ่อน ใกล้บ้าน กระทั่งปี 45 พ่อออกจากคุกมาประกอบอาชีพขี่ซาเล้งเก็บของเก่าขาย แต่ติดเหล้าและดมกาว ทุกเย็นหลังเลิกเรียน จะพาตนไปนั่งขอทานที่บริเวณศูนย์การค้าบิ๊กซี ตลาดสะพานใหม่ และศูนย์การค้ามาบุญครอง


http://www.mthai.com/webboard/5/119305.html

แบบนี้คนละแวกบ้านรู้หมด แล้วเด็กจะอยู่ยังไง
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #11 เมื่อ: 12-10-2007, 20:33 »

สื่อบ้านเรามันยังละเมิดสิทธิส่วนบุคคลกันแทบทุกสื่อ
ผู้ต้องหายังไม่ได้ผ่านการพิจารณาทางขบวนการยุติธรรมทางกฎหมายว่าเขาผิดจริงหรือไม่
แต่สื่อบ้านเรา เอารูป-ชื่อเสียงเรียงนามไปยำจนเสียผู้เสียคนกันไปหมดแล้ว
  โดยเฉพาะกรณีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ก็เอารูปเด็กปิดตาหน่อยหนึ่ง
มาลง และก็บอกที่อยู่ไว้พร้อมสรรพ เรียกว่าพอลงแล้วคนในย่านนั้นทั้งซอยก็รู้กันหมดว่าเป็นลูกหลานใคร
  รูปผู้ที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือถูกฆาตกรรม ก็ไปเอาของเขามาลงโดยไร้มารยาท ถ้าเป็นบิดามารดา
ญาติพี่น้องของมันเอง มันจะกล้าเอามาหลงกันบ้างหรือเปล่า
  สื่อทั้งหลายได้กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยของเราย่อยยับ
ไปนานแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกันเสียที
  ต้องใช้วิธีการฟ้องเรียกค่าเสียหายกันบ่อยๆ ต้องเรียกกันให้หนักๆ จะได้เข็ดกันเสียบ้าง

 
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
หน้า: [1]
    กระโดดไป: