ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 02:33
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประธานศาลฎีกา สั่งพักราชการ “พินิจ สุเสารัจ” เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ถูกสอบ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประธานศาลฎีกา สั่งพักราชการ “พินิจ สุเสารัจ” เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ถูกสอบ  (อ่าน 9854 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 11-10-2007, 01:48 »

ข่าวการเมือง 
 
ประธานศาลฎีกา สั่งพักราชการ “พินิจ สุเสารัจ” เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ถูกสอบวินัยวิ่งเต้นสินบนยุบพรรค
http://www.naewna.com/news.asp?ID=78369
 
 
จากการที่นายปัญญา ถนอมรอด อดีตประธานศาลฎีกาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมาให้สำนักงานศาลยุติธรรม แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยข้าราชการสำนักงานศาลยุติธรรมระดับสูงซึ่งเกี่ยวข้องในกรณีที่มีการร้องเรียนพยายามวิ่งเต้นเสนอสินบนให้ตุลาการรัฐธรรมนูญพิพากษาคดียุบพรรคการเมือง โดยคณะกรรมการ 3 คนฯ ประกอบด้วย นายธีระวัฒน์ ภัทรานวัช ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา ปัจจุบันเป็นรองประธานศาลฎีกาคนที่ 2 เป็นประธาน และนายสุมิตร สุภาดุลย์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และนายเกษม เกษมปัญญา ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นกรรมการเกี่ยวกับ ความคืบหน้าเรื่องนี้นั้น
               
ที่สำนักงานศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก วันที่  10 ต.ค. 50  แหล่งข่าวศาลฎีกากล่าวว่า  ขณะนี้มีกระแสข่าวว่านายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ได้ลงนามคำสั่งพักราชการ นายพินิจ สุเสารัจ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นผลจากกรณีที่นายพินิจถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย
               
แหล่งข่าวศาลฎีกา กล่าวด้วยว่า ไม่น่าแปลกที่นายวิรัชใช้อำนาจประธานศาลฎีกาลงนามพักราชการนายพินิจ ซึ่งนายวิรัชขณะดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานศาลฎีกา ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและชี้ว่าคดีมีมูลจนทำให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย ดังนั้นถ้านายพินิจซึ่งอยู่ระหว่างถูกสอบสวนวินัยร้ายแรง ยังคงดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งบริหารที่มีความสำคัญควบคุมดูแลงานบริหารศาลทั่วประเทศ ก็จะเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ซึ่งก่อนลงนามคำสั่งพักราชการนั้นทราบว่านายวิรัช นำเรื่องนี้ไปหารือกับคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) หลายคนด้วย

“เมื่อประธานศาลฎีกาตัดสินใจมีคำสั่งดังกล่าวก็จะมีผลทำให้ นายพินิจต้องพักราชการทันที แม้จะอยู่ระหว่างการสอบสวนวินัยซึ่งยังไม่ทราบผลการสอบสวนก็ตาม” แหล่งข่าวศาลฎีกากล่าวตอนท้าย
 
 
วันที่ 10/10/2007
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 11-10-2007, 01:54 »



ไปดูคุณภาพสาวกประชาไท ตอบกระทู้กันหน่อย

แถ ทองเทพจริง..เป็นทั้งเว็บหรือเปล่า?


http://www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=489168
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 11-10-2007, 01:56 »


น้องโน กลับบ้านด่วน

ทางบ้านทุกคนให้อภัยยินดีต้อนรับ..นายจารัญก็ไม่เอาความแล้ว
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12-10-2007, 02:46 »



สินบนวิ่งเต้นไม่ให้ยุบพรรค เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 05-12-2007, 05:02 »




วันพุธที่ 5 เดือนธันวาคม พศ. 2550    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=12623

มติ ก.ศ.เอกฉันท์ 10 เสียง'พินิจ สุเสารัจ'พ้นมลทิล คดีสินบนตุลาการ รธน.ยุบพรรคฯ

'พินิจ สุเสารัจ'พ้นมลทิลถูกสอบคดีสินบนตุลาการ รธน.ยุบพรรคการเมือง 'ก.ศ.'มีมติเอกฉันท์ 10 เสียง ชี้พยานหลักฐานฟังไม่ได้มีความผิดวินัย กก.อีก 4 คน งดออกเสียง เร่งส่งผล ปธ.ศาลฎีกาลงนาม


นายประสงค์ มหาลี้ตระกูล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.) วันที่ 4 ธันวาคม ซึ่งมีนายพิชิต คำแฝง รองประธานศาลฎีกาคนที่ 1 กับคณะรวม 14 คน ร่วมกันพิจารณากรณีนายพินิจ สุเสารัจ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์เสนอให้สินบนแก่ตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อจูงใจในการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง

ทั้งนี้ นายประสงค์ แถลงว่า ในที่ประชุม ก.ศ.มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะมีความเห็นว่าพยานหลักฐานยังรับฟังไม่ได้ ว่า นายพินิจเสนอให้สินบนตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นการกระทำผิดวินัย โดยจำนวนกรรมการ ก.ศ.ทั้งหมดมี 15 คน เข้าประชุม 14 คน ขาดไป 1 คนคือ นายพินิจ สุเสารัจ โดยเสียงข้างมาก 10 คนเห็นว่าไม่ผิด ส่วนกรรมการอีก 4 คนรวมถึงประธาน ก.ศ.งดออกเสียง ดังนั้น เมื่อที่ประชุมมีมติเห็นว่าไม่มีความผิดถึง 10 คน จึงถือว่าเสียงเป็นเอกฉันท์ ส่วนผลการสอบสวนวินัยมีมติอย่างไรนั้น ถือเป็นความลับที่ส่งให้ ก.ศ.พิจารณา เมื่อ ก.ศ.ลงมติแล้วว่าพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าผิด ก็ถือเป็นยุติไม่สมควรเปิดเผย

นายประสงค์ กล่าวว่า ตามระเบียบข้าราชการศาลยุติธรรม กำหนดว่า เมื่อ ก.ศ.มีมติอย่างไรแล้ว ให้ประธานศาลฎีกาถือปฏิบัติตาม ดังนั้น หลังจาก ก.ศ.มีมติแล้วจะรีบส่งมติให้นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ลงนามคำสั่ง ขณะเดียวกัน เมื่อนายพินิจไม่มีความผิด ประธานศาลฎีกา ซึ่งมีคำสั่งพักราชการนายพินิจไว้ระหว่างถูกสอบสวนวินัยก็จะมีคำสั่งยกเลิกการพักราชการ เพื่อให้นายพินิจกลับมาทำงานตามหน้าที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต่อไป และสามารถเรียกร้องสิทธิต่างๆ ที่ต้องเสียไปกลับมาได้ตามกฎหมาย

'กรณีที่ว่าผู้ถูกสอบสวนไม่มีความผิดแล้ว จะดำเนินคดีต่อผู้กล่าวหาให้ท่านได้รับความเสียหายได้หรือไม่ ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ถูกกล่าวหาว่าจะใช้สิทธิทางศาลดำเนินคดีหรือไม่' โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าว

ส่วน ก.ศ.มีการล็อบบี้กันหรือไม่ นายประสงค์ กล่าวว่า ที่ประชุม ก.ศ.ไม่ได้มีแค่ผู้พิพากษาและข้าราชการศาลยุติธรรมเป็นกรรมการเท่านั้น ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายจุลยุทธ์ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นายกำชัย จงจักรพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น ก.ศ.ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ร่วมด้วย ยืนยันว่า องค์กรศาลยุติธรรมเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความยุติธรรม ย่อมตระหนักในการทำหน้าที่ให้ความยุติธรรม ไม่เช่นนั้นคงอยู่ไม่ได้

สำหรับความคิดเห็นที่ว่ามติ ก.ศ.ลงโทษข้าราชการระดับล่างถึงไล่ออกเพราะผิดวินัย แต่ข้าราชการระดับสูงมักไม่ได้รับการลงโทษ นายประสงค์ กล่าวว่า การสอบสวนวินัยข้าราชการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดมีหลายคนและข้อเท็จจริงก็แตกต่างกันไป ไม่ว่าข้าราชการระดับสูงหรือข้าราชการระดับล่าง ถ้าพบว่าทำผิดจริง ก.ศ.ย่อมลงโทษ ไม่สามารถให้พ้นผิดไปได้ ซึ่งการลงโทษจะเป็นสถานใดก็แล้วแต่สัดส่วนของการทำความผิด

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ก.ศ. 15 คน มีนายพิชิต คำแฝง รองประธานศาลฎีกาคนที่ 1 ในฐานะประธาน ส่วนกรรมการมีนายพงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ ประธานศาลอุทธรณ์ นายพินิจ สุเสารัจ นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการ ก.พ. นายจุลยุทธ นายปิยพันธุ์ รศ.กำชัย นายสมศักดิ์ ตันติภิรมย์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา นายอุดม วัตตธรรม ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ นายธงชัย ฉัตรเพิ่มพร ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นางรุ่งทิพย์ พูนผลกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายบรรหาร จงเจริญประเสริฐ ผู้ตรวจราชการ 9 นายวิทยา ทิพย์เนตร ผู้อำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 5 และนายสิทธิพล สิทธิมารพ ผู้ตรวจราชการ 9


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 06-12-2007, 06:08 »




ประเด็นที่ผมอยากจะเปิดทิ้งค้างเอาไว้ก็คือ

ศาลต่างๆของไทย พร้อมที่จะเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้หรือยัง?

หรือเพียงแต่จะสงวนไว้ตัดสินกันเองได้เท่านี้น นั่นมันจะเพียงพอหรือสำหรับระบบยุติธรรมาภิวัฒน์ของไทยเรา

ท่านแน่ใจหรือว่าระบบความเชื่อพื้นฐานของท่านเองไม่สับสน ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกับแวดวงการเมืองของไทย

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 06-12-2007, 06:16 »



ประเด็นที่ผมอยากจะเปิดทิ้งค้างเอาไว้ก็คือ

ศาลต่างๆของไทย พร้อมที่จะเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้หรือยัง?

หรือเพียงแต่จะสงวนไว้ตัดสินกันเองได้เท่านี้น นั่นมันจะเพียงพอหรือสำหรับระบบยุติธรรมาภิวัฒน์ของไทยเรา

ท่านแน่ใจหรือว่าระบบความเชื่อพื้นฐานของท่านเองไม่สับสน ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกับแวดวงการเมืองของไทย




หากพวกท่านพร้อม ส่งสัญญาณให้กับสังคมโดยตรง ไม่ต้องผ่านรัฐบาลใดย่อมจะดีกว่า..
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 06-12-2007, 06:23 »

"ข้อกฎหมาย" ที่เป็นประเด็นโต้แย้งทางวิชาการ ศาลท่านปล่อยอยู่แล้ว

ส่วน "ข้อเท็จจริง" คงไปก้าวล่วงไม่ได้ เพราะท่านใช้การพิจารณาในศาล ตามที่มีการนำสืบของทั้งสองฝ่าย
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #8 เมื่อ: 06-12-2007, 08:23 »

ในระบบตุลาการ ก็เป็นแบบนี้แหละ ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องหนึ่ง .....หลักฐาน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง.......

หลักการก็มีอยู่ว่า ปล่อยคนผิดสิบคน ดีกว่า จับคนผิดหนี่งคน
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #9 เมื่อ: 06-12-2007, 11:03 »



ประเด็นที่ผมอยากจะเปิดทิ้งค้างเอาไว้ก็คือ

ศาลต่างๆของไทย พร้อมที่จะเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้หรือยัง?

หรือเพียงแต่จะสงวนไว้ตัดสินกันเองได้เท่านี้น นั่นมันจะเพียงพอหรือสำหรับระบบยุติธรรมาภิวัฒน์ของไทยเรา

ท่านแน่ใจหรือว่าระบบความเชื่อพื้นฐานของท่านเองไม่สับสน ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกับแวดวงการเมืองของไทย



นี่ก็คือ "อำนาจตุลาการ" ของศาลไงครับคุณ Q

ถ้าปล่อยให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ยอมรับคำตัดสิน
ก็จะกลายเป็นคำตัดสินไม่สามารถ "ยุติ" อะไรได้

ถ้าจะวนมาให้คนนอกตรวจสอบศาลอีก
แล้วใครจะ "ตรวจสอบ" คนนอกที่ว่าครับ
ว่าไม่ได้สับสน ไม่มีวัตถุประสงค์แอบแฝง
เป็นที่มาของการคุ้มครองศาลไม่ให้มีการละเมิดครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 06-12-2007, 13:54 »




คดีต่างๆที่เป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้างอย่างมาก

เป็นไปไม่ได้ที่ศาลจะไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ปากต่อปาก

ความเสื่อมของสถายันศาสจะเกิดขึ้น หากไม่เป็นที่ยอมรับในการยุติปัญหา


จะทำให้สังคมยอมรับได้นั้น ส่วนหนึ่งศาลต้องแสดงให้เห็นว่า

หลักการที่เลือกมาใช้นั้นถูกต้องทุกอย่างในพฤติการณ์แห่งคดี

และบุคคลากรในวงการศาล มีชีวิตและลักษณะนิสัยที่ดีโดยเปิดเผยได้


ความเข้าใจและยอมรับจากสังคม จะทำให้การติดสินคดีความได้ข้อยุติเสมอ

แม้ว่าปากและใจของหลายคนจะไม่ยอมรับก็ตาม นั่นไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลง

โดยเฉพาะในกรณี ของบรรทัดฐานของสถาบันศาลต่างๆเองครับ



นี่ก็คือ "อำนาจตุลาการ" ของศาลไงครับคุณ Q

ถ้าปล่อยให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ยอมรับคำตัดสิน
ก็จะกลายเป็นคำตัดสินไม่สามารถ "ยุติ" อะไรได้

ถ้าจะวนมาให้คนนอกตรวจสอบศาลอีก
แล้วใครจะ "ตรวจสอบ" คนนอกที่ว่าครับ
ว่าไม่ได้สับสน ไม่มีวัตถุประสงค์แอบแฝง
เป็นที่มาของการคุ้มครองศาลไม่ให้มีการละเมิดครับ 


คงตอบได้ดังนี้ครับ ว่าสังคมสามารถตรวจสอบในหลักการ

และตรวจสอบในกฏต่างๆ ที่ใช้ว่าถูกต้องเหมาะสมเพียงไร?

ศาลในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจัก ท่านเชื่ออะไรบ้าง?

หากความเชื่อของท่านไม่เป็นที่ยอมรับท่านนำมาใช้ตัดสินคดีความหรือไม่?

หากบรรทัดฐานที่มีในอดีตผิดพลาดและไม่เหมาะสม ท่านจะนำมาพิจารณาแก้ไขได้หรือไม่?

ทั้งนี้ หากศาลฎีกา เที่ยงตรง การใช้ศาลสามชุด หรือห้าชุดตัดสินคดีที่ซับซ้อนเรื่องเดียวกันโดยอิสระไม่ได้ปรึกษาระหว่างแต่ละคณะ

ย่อมจะต้องให้ผลและแนวทางในการตัดสินที่แทบจะไม่แตกต่างกันในภาพรวมหรือคำวินิจฉัยกลางครับ..
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #11 เมื่อ: 06-12-2007, 22:04 »

ผมเห็นว่าที่คุณ Q พูดมาศาลก็ทำแล้วทั้งหมดนะครับ

ในกรณีเป็นองค์คณะก็เป็นไปได้ที่ศาลจะวินิจฉัยไม่เหมือนกัน
แต่ก็จะสรุปออกมาเป็นคำวินิจฉัยกลาง ซึ่งถือเป็นที่สุด

การวิพากษ์วิจารณ์ศาล ถ้าทำแบบปากต่อปากก็ทำได้ครับ
แต่ถ้าโจมตีศาล หรือวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินต่อสาธารณะ
ก็ต้องถูกจำกัดโดยกฎหมายที่คุ้มครองศาล

ไม่อย่างนั้นก็อาจไ่ม่มีคดีใดยุติ เพราะคนแพ้อาจไม่ยอม
รวมทั้งกองเชียร์ก็อาจไม่ยอม ถึงต้องมีข้อหา"หมิ่นศาล"
เอาไว้ใช้อำนวยความสงบเรียบร้อยของสังคม

ที่คุณ Q ตั้งประเด็นว่า ศาลพร้อมจะเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์
อย่างสร้างสรรค์ได้หรือยัง
ผมว่าโดยหลักการ
ไ่ม่สามารถเปิดกว้างขนาดนั้น เพราะคำว่าสร้างสรรค์นั้น
ไม่มีข้อยุติว่าตรงไหนสร้างสรรค์หรือไม่ รังแต่จะก่อให้เกิด
ความวุ่นวายกับกระบวนการยุติธรรมเปล่าๆ

สมมุติถ้าเปิดให้วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้ ก็ต้องให้อำนาจ
ศาลวินิจฉัยได้ว่าสร้างสรรค์หรือไ่ม่ หากไม่สร้างสรรค์ถือว่า
"หมิ่นศาล" มันก็ไปเข้าวงจรเดิมอีก สุดท้ายก็ต้องจบที่ศาล
ดังนั้นไม่ต้องให้วิจารณ์ตั้งแต่แรกแบบปัจจุบันนี้ก็ดีแล้วครับ 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 06-12-2007, 22:20 »

ผมเห็นว่าที่คุณ Q พูดมาศาลก็ทำแล้วทั้งหมดนะครับ

ในกรณีเป็นองค์คณะก็เป็นไปได้ที่ศาลจะวินิจฉัยไม่เหมือนกัน
แต่ก็จะสรุปออกมาเป็นคำวินิจฉัยกลาง ซึ่งถือเป็นที่สุด

การวิพากษ์วิจารณ์ศาล ถ้าทำแบบปากต่อปากก็ทำได้ครับ
แต่ถ้าโจมตีศาล หรือวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินต่อสาธารณะ
ก็ต้องถูกจำกัดโดยกฎหมายที่คุ้มครองศาล

ไม่อย่างนั้นก็อาจไ่ม่มีคดีใดยุติ เพราะคนแพ้อาจไม่ยอม
รวมทั้งกองเชียร์ก็อาจไม่ยอม ถึงต้องมีข้อหา"หมิ่นศาล"
เอาไว้ใช้อำนวยความสงบเรียบร้อยของสังคม

ที่คุณ Q ตั้งประเด็นว่า ศาลพร้อมจะเปิดรับการวิพากษ์วิจารณ์
อย่างสร้างสรรค์ได้หรือยัง
ผมว่าโดยหลักการ
ไ่ม่สามารถเปิดกว้างขนาดนั้น เพราะคำว่าสร้างสรรค์นั้น
ไม่มีข้อยุติว่าตรงไหนสร้างสรรค์หรือไม่ รังแต่จะก่อให้เกิด
ความวุ่นวายกับกระบวนการยุติธรรมเปล่าๆ

สมมุติถ้าเปิดให้วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้ ก็ต้องให้อำนาจ
ศาลวินิจฉัยได้ว่าสร้างสรรค์หรือไ่ม่ หากไม่สร้างสรรค์ถือว่า
"หมิ่นศาล" มันก็ไปเข้าวงจรเดิมอีก สุดท้ายก็ต้องจบที่ศาล
ดังนั้นไม่ต้องให้วิจารณ์ตั้งแต่แรกแบบปัจจุบันนี้ก็ดีแล้วครับ 


ผมไม่ได้สนใจรายคดีมากนักหรอกครับ ผมสนใจมาตรฐานของศาลต่างๆมากกว่า

หากมีมาตรฐาน คดีเดียวกันจะใช้ศาลกี่ชุด โดยมิ"ด้นัดหมายก็จะได้ผลออกมาเหมือนกัน

ศาลเองต้องปรับปรุงสิ่งผิดพลาดกับสาธารณชน และ มีมาตรฐานที่สอดคล้องกันเป็นสากลได้จะยิ่งดีมาก

เพราะการตัดสินจะทำได้เร็วถูกต้อง โดยสามารถเข้าใจบรรทัดฐานดุลยพินิจของศาลได้ไม่ยาก ขณะเดียวกัน

มาตรฐานของประจักพยานที่จะนำส่งศาลก็จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก  ความรู้ต่างๆที่ก้าวหน้าขึ้นอาจจะต้องทำให้ศาล

เองไม่เพียงแต่ตัดสินตามหลักการเดิมๆเท่านั้น ต้องอำนวยความยุติธรรมได้ดีกว่าเดิมครับ..


ผมเชื่อว่าศาลบ้านเราเอง มีการทำงานที่ล้าสมัยอยู่มาก แม้หลักความเชื่อก็อาจจะล้าสมัย เช่นเดียวกับตัวบทกฎหมายที่ล้าสมัยไปแล้วมากมาย
บันทึกการเข้า

ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #13 เมื่อ: 06-12-2007, 23:12 »

จุดบอดขององค์กรศาลคือการใช้ดุลพินิจ ซึ่งผู้พิพากษาทั่วประเทศ 3000 เศษย่อมมีมุมมอง

และประสบการณ์ชีวิต ที่แตกต่างกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะดุลพินิจเหมือนกันทุกคน จึงทำให้

ดูมีหลายมาตรฐาน ซึ่งปัญหานี้ยากแก่การแก้ไข เพราะดุลพินิจยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับศาล

หากศาลไม่มีโอกาศใช้ดุลพินิจ การใช้คอมพิวเตอร์ตัดสินคดีแทนก็น่าจะดีกว่า...
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 07-12-2007, 00:20 »

ปกติ ศาลจะใช้แนวทางการพิจารณาตัดสิน ตามแนวทางที่ศาลฎีกา ทำเอาไว้

ถึงบอกว่า มีที่สิ้นสุดแน่นอน ทุกคนต้องยอมรับในผลของการตัดสินเมื่อสิ้นสุด

หากไม่ยอมรับคำตัดสินก็เท่ากับไม่ยอมรับ "ผลของกฎหมาย" ซึ่งจะสร้างความสับสนขึ้นในบ้านเมือง

ดังนั้นหากผลของศาลออกมาแล้ว อย่างมากก็พูดได้แต่เพียงว่า จะต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ หรือ ฎีกา ก็ว่ากันไป

นายประชัยให้สัมภาษณ์หรือแถลงข่าว เมื่อ 2 วันก่อนเข้าใจว่า ศาลท่านมีหมายเรียกไปสอบถามเหมือนกัน


จริงอยู่ "ศาล" เป็นปุถุชน แต่เมื่อจะใช้วิจารณญาณในเรื่องใดบนบัลลังก์

ต่างก็ใช้หลักการและเหตุผล ตลอดจน ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง ที่รับฟังจากการนำสืบ

ที่สำคัญมีความเป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้ความกดดันใดๆ

ส่วนผ้ได้รับผลจากคำตัดสิน จะคิดยังไงในใจ มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล

ศาลท่านก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์ของท่านตามอำนาจที่มีนั่นแหละ ไม่เสื่อมแน่นอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-12-2007, 00:26 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 07-12-2007, 00:32 »

ด้วยหลักการว่า ศาล คือ ปุถุชน ย่อมมีมาตรฐานต่างกัน

ปัจจุบัน ศาลได้ใช้หลักวิชาที่ว่า "หลายหัวดีกว่าหัวเดียว"

ดังนั้น ปัจจุบัน ศาลจะตัดสิน หรือรับฟังเป็นองค์คณะ

เพื่อตัด อคติ ออกให้มากที่สุด เพราะการทำงานของศาลที่เป็นเป็นองค์คณะ ย่อมรอบคอบมากกว่าคนเดียว

แต่ต้องไม่ลืมว่า ทุกองค์คณะ จะตัดสินตรงกันทั้งหมด

แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีคำวินิจฉัยส่วนตนที่ไม่เหมือนกัน

แต่เมื่อ ตัดสินเป็นคำวินิจฉัยกลางออกมาแล้ว ทุกคน แม้แต่ตัวตุลาการเองยังต้องยอมรับในมตินั้น
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #16 เมื่อ: 07-12-2007, 01:58 »

ต้องวิจารณ์คำพิพากษาได้ แม้มิใช่เชิงวิชาการ

ชำนาญ จันทร์เรือง

เราจะได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอๆ ว่า การวิจารณ์คำพิพากษานั้นสามารถทำได้ แต่
“ต้องเชิงวิชาการ” นะ ไม่เช่นนั้นอาจจะโดนข้อหาละเมิดอำนาจศาลหรือหมิ่น
ศาลได้ ซึ่งปัญหาก็คือว่าอะไรคือ “วิชาการ” แล้วถ้ามิใช่วิชาการล่ะ จะวิจารณ์
ไม่ได้เลยหรือ

คำว่า “วิชาการ” นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมาย
ไว้ว่า “วิชาการ น. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่ง หรือหลายสาขา เช่น บทความวิชาการ
สัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ”
ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ ต้องเกี่ยวข้องกับ “ความรู้”
และเป็นที่เข้าใจว่าต้องมีระบบระเบียบวิธีการวิจารณ์อย่างเป็นทางการหรือกระทำโดย
นักวิชาการเท่านั้น  หากเป็น “ความเห็น” ของประชาชนคนธรรมดาก็จะไม่ถือว่า
เป็นวิชาการ
                 
เมื่อเรากลับมาดูรัฐธรรมนูญทุกฉบับในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ซึ่งแม้ว่าฉบับ
ถาวรที่กำลังร่างอยู่ยังไม่เสร็จก็ตาม แต่ก็คงมีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างไปจากของเดิม
เป็นแน่ เพราะแทบจะไม่มีใครที่ให้ความสนใจใยดีกับเนื้อหาสาระในหมวดนี้ โดยคิด
ว่าเป็นเพียงแต่การเขียนให้สวยหรูเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามเราจะพบว่าในเนื้อหาสาระของหมวดนี้มีขอบเขตแห่งสิทธิเสรีภาพที่
ผูกพันกับการใช้อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจ
ตุลาการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงขอบเขตแห่งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอยู่
หากประชาชนหรือผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแล้วย่อมไม่อาจนำกฎหมาย
ที่มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งมิใช่กฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ไว้ไปลงโทษลงทัณฑ์ได้
เช่น กฎหมายว่าด้วยความสะอาดเรียบร้อย หรือกฎหมาย
ห้ามการใช้เสียงที่ไปจำกัดสิทธิการชุมนุมโดยสงบและสันติ ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานตาม
รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ฯลฯ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ “หมิ่นศาล”
เท่านั้น
         
ผมเชื่อว่ารัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้ต่อไปไม่ว่าจะเป็นฉบับ สสร. หรือฉบับ คมช.
บวกกับ ครม. หยิบขึ้นมาประกาศใช้ในกรณีที่ไม่ผ่านประชามติก็ตาม ก็จะมีหลักการ
ไม่ต่างไปจากบทบัญญัติ มาตรา 29 และ มาตรา 39 ของรัฐธรรมนูญปี 40  ซึ่งก็คือ
       
“มาตรา 29 วรรคหนึ่ง การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่
รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้ และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญ
แห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้”
                 
“มาตรา 39 วรรคหนึ่ง
บุคคลจะย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด
การเขียน
การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น”


แต่ที่ผ่านมา เราไม่เคยนำบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเหล่านี้
ขึ้นมาพิจารณาเลย การติชมหรือแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์คำพิพากษานั้นเรา
จะดูแต่เพียงว่าเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่
เข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นตามกฎหมายอาญาหรือไม่ เข้าข่ายละเมิดตามกฎ-
หมายแพ่งหรือไม่ ฯลฯ และว่ากันโดยเฉพาะแล้วการวิจารณ์เชิง “วิชาการ” นั้น ก็
มีแต่เฉพาะกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 64 เท่านั้นที่บัญญัติยกเว้นไว้ว่า
หากวิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษาคดีของศาลปกครองโดยสุจริตหรือวิธีการ
เชิงวิชาการ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือดูหมิ่นศาลหรือตุลาการ
ซึ่งการติชม แสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์คำพิพากษาของศาลนั้น อาจเป็นการติ
ชม แสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์คำวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยไม่เกี่ยวกับศาลหรือ
ตุลาการซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยนั้นเลยก็ได้

ความผิดฐานหมิ่นศาลหรือตุลาการนั้นมีในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 กับ
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามมาตรา 136 ฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326
ถึงมาตรา 328 และฐานดูหมิ่นตามมาตรา 393 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ความผิด
ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นการกล่าวใส่ความดูหมิ่นตัวบุคคลโดยตรง แม้ฐานดูหมิ่นเจ้าพนัก-
งานตามมาตรา 136 นั้น จะมีองค์ประกอบที่ว่าซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะ
ได้กระทำการตามหน้าที่ก็เป็นการกระทำต่อตัวเจ้าพนักงานโดยตรง คือดูหมิ่นเจ้า-
พนักงานนั้นโดยตรง ซึ่งผู้พิพากษาหรือตุลาการเป็นเจ้าพนักงานตามมาตรานี้

คำพิพากษาเป็นผลผลิตของการกระทำการตามหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ซึ่งมีตำแหน่ง
เป็นตุลาการหรือผู้พิพากษา ไม่มีบทกฎหมายฉบับใดห้ามการติชมแสดงความเห็น
หรือวิจารณ์คำพิพากษาและกำหนดโทษอาญาไว้

แต่การกระทำดังกล่าวอาจเป็นการใส่ความผู้พิพากษาหรือตุลาการต่อบุคคลที่สาม
ซึ่งเป็นได้แต่เพียงความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
326 ถึง มาตรา 328 ซึ่งความผิดฐานนี้มีการยกเว้นความผิดไว้ในมาตรา 329 ซึ่ง
บัญญัติไว้ว่า

                        “ผู้ใดแสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริต

                        (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนเอง หรือป้องกันส่วนได้เสีย
                             เกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

                        (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

                        (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของ
                             ประชาชนย่อมกระทำ หรือ

                        (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอัน
                              เปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

                        ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท”

                       
ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า หากกระทำโดย “สุจริต” และการแสดงความเห็นหรือข้อความ
โดยสุจริตนั้นเป็นไปเพื่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งในสี่อนุมาตรานี้ ผู้นั้นย่อมได้รับยกเว้น
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งผมเห็นว่าย่อมหมายรวมถึงการยกเว้นความผิดฐาน
“หมิ่นศาล” ด้วยเช่นกัน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การติชม แสดงความเห็นหรือการ
วิจารณ์คำพิพากษาโดยสุจริตนั้นย่อมกระทำได้ แม้มิใช่ “เชิงวิชาการ” ที่จำกัด
เฉพาะผู้ที่อยู่ในแวดวงอันจำกัด และเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เป็นเจ้าของ
อำนาจตุลาการที่เป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ด่าเสียๆ
หายๆ อย่างที่บางกลุ่ม บางคนเขากระทำกัน
                   

---------------------------

เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2550


 http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=8714&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 07-12-2007, 02:12 »

ก็คงได้ครับ แต่อาจโดนศาลเรียกไปชี้แจง

ก็ต้องไปแก้ตัวกับศาลเองครับ เพราะเรื่องแบบนี้เป็น "อำนาจศาล" ความเห็นใครก็พูดได้ครับ ผิดถูก ศาลท่านจะบอกเอง

พรุ่งนี้ 9 โมงเช้า นายประชัย ก็ต้องไปชี้แจงต่อศาลครับ กรณีให้สัมภาษณ์หลังต้องคำพิพากษา

ที่จริง นายประชัยลืมไปว่า คดีนี้ มีมาตั้งแต่ปี 46 กรณี "อินไซด์เดอร์" เมืองนอกเค้าเรียก "โจรทางธุรกิจ"

โทษหนักครับ

ถ้าแน่จริงก็อย่าไปขอโทษศาลเข้าล่ะ ให้แน่จริงซักหน่อย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 07-12-2007, 02:24 »


ก็คงได้ครับ แต่อาจโดนศาลเรียกไปชี้แจง

ก็ต้องไปแก้ตัวกับศาลเองครับ เพราะเรื่องแบบนี้เป็น "อำนาจศาล" ความเห็นใครก็พูดได้ครับ ผิดถูก ศาลท่านจะบอกเอง

พรุ่งนี้ 9 โมงเช้า นายประชัย ก็ต้องไปชี้แจงต่อศาลครับ กรณีให้สัมภาษณ์หลังต้องคำพิพากษา

ที่จริง นายประชัยลืมไปว่า คดีนี้ มีมาตั้งแต่ปี 46 กรณี "อินไซด์เดอร์" เมืองนอกเค้าเรียก "โจรทางธุรกิจ"

โทษหนักครับ

ถ้าแน่จริงก็อย่าไปขอโทษศาลเข้าล่ะ ให้แน่จริงซักหน่อย


ประเด็นที่เปิด ไม่ได้เจาะจงเรื่องประชัยครับ

เป็นเรื่องประชาชนทั่วไป..ต้องทราบมาตรฐานของศาลในระบอบประชาธิปไตย..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 07-12-2007, 02:42 »




อีกประการ ศาลที่มีความเข้าใจเฉพาะทางก็มีเช่นเดียวกับแพทย์เฉพาะทาง

ซึ่งนอกจากมีแพทยสภาดูแลแล้ว ก็มีโอกาสถูกคนไข้หรือผู้เสียหายอื่นๆฟ้องได้เช่นกัน

แต่มันมีปัญหาว่า สังคมค่อยๆเปลี่ยนไป ดังนั้นทุกบทบาทก็ต้องถูกสังคมตรวจสอบได้

หากไทยเราจะมุ่งไปในทิศทางประชาธิปไตย.. ซึ่งทุกองค์กรต้องปรับตัว..

เราจะเห็นกรณีขึ้นเงินเดือนตัวเองที่ กำลังจะพิพากษากันต่อมา มีที่ติดร่างแหมาทุกองค์กรครับ.

ทุกองค์กรมีทั้งคนที่ประมาท และคนดีรอบคอบ..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 07-12-2007, 02:54 »



ระบอบทักษิณทำให้สังคมไทยสับสนในความสุจริตของตนเองอย่างหนักอยู่ช่วงหนึ่ง

นั่นเป็นคุณประโยชน์ของระบอบทักษิณ ในการเร่งปฏิกิริยาปรับตัวของสังคม

ให้สามารถแยกแยะดีเลวได้มากขึ้น จากประเด็นปัญหาที่ซับซ้อน เกินความรู้ความเข้าใจของสังคมดั้งเดิม

และลักษณะของสังคมศรีธนญชัย กอรปด้วยระบบอุปถัมป์ อำนาจนิยม ธนานิยม ปัญหาจึงระเบิดตัวออก

เมื่อมีการเร่งปฏิกิริยา ด้านได้อายอด บิดเบือนและใช้ทุกยุทธวิธีเพื่อเอาชนะทางการเมือง

เผอิญทักษิณและพวกลุแก่อำนาจ จึงได้ล่มสลายพรรคการเมืองไทยรักไทยไปได้อย่างรวดเร็ว และไม่เสียเลือดเนื้อ..

ในอนาคต ศูนย์อำนาจทุกชนิด พึงเอาระบอบทักษิณเป็นอุทาหรณ์ในการทำงาน..รวมทั้งภาคธุรกิจอุตสาหกรรมด้วย

ตลอดจนเศรษฐีและผู้มีศักดิ์สูงทางสังคมทั้งมวล ยกเว้นสังคมจะปฏิเสธระบอบประชาธิปไตยฯ และมีระบอบที่คิดว่าดีกว่าเข้ามาแทนที่ได้ในอนาคต
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: