ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 22:42
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "ออหมัก" จะกล้าตอบคำถามนี้หรือไม่..... 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"ออหมัก" จะกล้าตอบคำถามนี้หรือไม่.....  (อ่าน 2989 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 01-10-2007, 00:30 »

วิชิตชัย อมรกุล วีรชน ๖ ตุลา

พิชิต  ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วิชิตชัย อมรกุล...ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูผู้คนเลยสักนิด  เป็นใครบางคนที่สังคมไทยไม่รู้จัก แต่สำหรับศิษย์เก่าชาวเดือนตุลาคม ชื่อนี้คุ้นหูอย่างยิ่ง เป็นชื่อที่ตราตรึงอยู่ในหัวใจและความทรงจำมิลืมเลือน

วิชิตชัยเป็นบุตรคหบดีตระกูลอมรกุลแห่งจังหวัดอุบลราชธานี แม้เขาจะมาจากต่างจังหวัดไกลถึงสุดแดนอีสาน แต่เขามีอะไรบางอย่างที่พิเศษยิ่งกว่าเด็กวัยเดียวกัน เขาเป็นผู้ใหญ่เกินตัวมาตั้งแต่เล็ก เป็นเด็กฉลาด สุขุม เรียนดีเยี่ยม ขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบ รักเพื่อน รักครอบครัว รักทุกคนที่อยู่รอบข้าง และมีรอยยิ้มอ่อนโยนบนใบหน้าอยู่เป็นนิตย์ วิชิตชัยสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยปี ๒๕๑๘ และด้วยความเฉลียวฉลาด ทุ่มเท เขาก็เข้ามาเป็นนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จท่ามกลางความปลาบปลื้มของบิดามารดาและญาติพี่น้อง.... วิชิตชัยได้เป็นหนึ่งในชาวสิงห์ดำรุ่นที่ ๒๘

นอกจากการเรียนที่มีผลคะแนนยอดเยี่ยมทุกวิชาตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกของปี ๒๕๑๘ วิชิตชัยยังได้เป็นนักกีฬาประจำทีมฟุตบอลของคณะรัฐศาสตร์ด้วยร่างกายที่แข็งแรงว่องไวและปฏิภาณไหวพริบที่ดีเลิศ ในฐานะนักกีฬาตัวจริงของคณะ เขาฝึกซ้อมอย่างรับผิดชอบ ตรงตามนัด และไม่รู้จัดเหน็ดเหนื่อย

ปี ๒๕๑๘  นั้นเป็นเวลาเพียงสองปีหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๑๖  มหาวิทยาลัยได้กลายเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นโรงบ่มเพาะความคิดประชาธิปไตย และเป็นฐานแห่งการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่รักชาติ รักประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคม ด้วยพื้นฐานเดิมที่เป็นคนเฉลียวฉลาด ตื่นตัว รักเพื่อน รักสังคม และรักความเป็นธรรมอยู่แล้ว วิชิตชัยจึงกระโจนเข้าสู่กระแสคลื่นประชาธิปไตยในเวลานั้นอย่างไม่ลังเลเหมือนกับคนหนุ่มสาวรุ่นเดียวกันจำนวนมาก เขาร่วมเคลื่อนไหวขับไล่ฐานทัพอเมริกาในประเทศไทย สนับสนุนชาวนาชาวไร่ที่เข้ามาเรียกร้องความเป็นธรรมในกรุงเทพฯ ช่วยเหลือกรรมกรคนงานที่ต่อสู้เพื่อค่าแรงและสวัสดิการอันชอบธรรม

ความหวังอันเต็มเปี่ยมในหัวใจของวิชิตชัยคือสังคมไทยที่มีเสรีภาพ เป็นประชาธิปไตยให้ความเป็นธรรม และความอยู่ดีกินดีแก่มวลพี่น้องทุกหมู่เหล่าโดยไม่แยกเชื้อชาติ ศาสนาหรือชนชั้น แม้ว่าเขาจะมีภารกิจเพื่อสังคมเต็มมือ แต่เขาก็ยังเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีผลการเรียนดีเยี่ยมโดยตลอด และยังคงฝึกซ้อมลงแข่งฟุตบอลให้แก่คณะรัฐศาสตร์อย่างครบถ้วน อีกทั้งความรักเอื้ออาทรของเขาที่มีต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อนร่วมทีมฟุตบอล และเพื่อนร่วมกิจกรรม วิชิตชัยจึงเป็นที่รู้จักและที่รักของทุกคน

แต่วิชิตชัยและเพื่อนๆ นิสิตนักศึกษากลับเป็นที่เกลียดชังเคียดแค้นของผู้มีอำนาจที่สูญเสียผลประโยชน์ กลุ่มขวาจัดได้รวมกำลังกันใช้กลอุบายสกปรกนานัปการใช้สื่อมวลชนบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสถานีวิทยุยานเกราะ ทำการกระพือข่าวลือและข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีวิชิตชัยและเพื่อนให้เป็น  "พวกบ่อนทำลายชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์"  เป็น  "คอมมิวนิสต์"  "พวกขายชาติ"  กระทั่ง  "ไม่ใช่คนไทย"  แต่เป็น  "พวกต่างชาติจีนญวน"  กระทั่งประกาศผ่านวิทยุยานเกราะอย่างเปิดเผยว่า จะฆ่านักศึกษาจำนวนถึง ๓๐,๐๐๐ คน  "เพื่อปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"

พวกขวาจัดลงมือเข่นฆ่าอย่างไม่ปรานี พวกเขาลอบฆ่าผู้นำชาวนาชาวไร่หลายสิบคนทั่วประเทศภายในเวลาไม่กี่เดือน ลอบสังหารฆ่าผู้นำกรรมกร คนงาน ลอบฆ่าผู้นำนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย...ศพแล้วศพเล่า กลุ่มกระทิงแดงอันเป็นกลุ่มอันธพาลการเมืองถึงกับย่ามใจ รวมกำลังบุกเข้ายิงถล่มและเผาทำลายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเดือนสิงหาคม ๒๕๑๘

พวกขวาจัดเริ่มลงมือตามแผน  "ยุทธการฆ่านกพิราบ"  ด้วยการนำเอาจอมพลถนอม  กิตติขจร กลับเข้ามาประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๙  กันยายน ๒๕๑๙  ในคราบของสามเณร เข้าพักและอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยอ้างว่าเข้ามาเยี่ยมบิดาที่กำลังป่วยหนัก และเมื่อนิสิตนักศึกษาประชาชนเคลื่อนไหวคัดค้านการกลับมาของจอมพลถนอม พวกขวาจัดก็ตอกย้ำความโกรธของประชาชน ด้วยการฆ่าแขวนคอสมาชิกแนวร่วมประชาชนสองคนที่จังหวัดนครปฐม เป็นภาพสองคนถูกซ้อมและแขวนคอตายอย่างทารุณตรงประตูเหล็ก ตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ

นิสิตนักศึกษา ประชาชน จึงถึงจุดสุดท้ายของความอดกลั้น และระดมพลชุมนุมต่อต้านจอมพลถนอมในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๑๙ อีกทั้งจัดการแสดงละครกลางแจ้งเรื่องการฆ่าแขวนคอสองศพที่นครปฐม

แต่อนิจจา ภาพถ่ายการแสดงละครฆ่าแขวนคอในครั้งนั้น ได้ถูกนำไปดัดแปลงให้กลายเป็นภาพแขวนคอบุคคลระดับสูงขึ้น ตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับ และได้กลายเป็นเครื่องมือของพวกฝ่ายขวาจัดใช้ปลุกระดมความเกลียดชังนิสิตนักศึกษาระดมกำลังกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มนวพล ประกอบกับกองกำลังตำรวจนครบาล ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจพลร่ม และตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งล้วนติดอาวุธปืนกลหนักเบา เครื่องยิงลูกระเบิด กระทั่งปืนต่อสู้รถถังและปืนไร้แรงสะท้อน รวมศูนย์เข้าปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกลางดึกคืนวันที่ ๕ ตุลาคม ทั้งที่นิสิตนักศึกษาที่ถูกปิดล้อมมีเพียงสองมือเปล่าที่ปราศจากอาวุธใดๆ
ช่วงเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙  ฝ่ายปิดล้อมเริ่มใช้อาวุธทั้งหนักเบา ยิงถล่มเข้ามาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถี่ยิบรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที กระทั่งถึงช่วงสายก็กลายเป็นการยิงถล่มอย่างบ้าเลือดเมามัน นิสิตนักศึกษาบางส่วนเริ่มหาทางหลบหนี คนที่ถูกจับได้ก็ถูกทรมาน ถูกยิงทิ้ง ถูกฆ่าอย่างทารุณกลางถนน ต่อหน้าสายตาผู้คนที่มุงดู บางคนถูกจับแขวนคอใต้ต้นไม้แล้วเอาท่อนไม้ เก้าอี้เหล็ก ระดมตีอย่างบ้าคลั่ง บางคนถูกเอาลิ่มตอกอก ถูกราดน้ำมัน หรือเอายางรถวางทับแล้วจุดไฟเผาทั้งเป็น นักศึกษาหญิงถูกฆ่า แล้วเอาท่อนไม้กระแทกใส่ช่องคลอด ฯลฯ

วิชิตชัย  อมรกุล  เข้าร่วมการต่อสู้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งนี้ตั้งแต่ต้น และด้วยความเป็นนักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรงปราดเปรียว เขาจึงอาสาเข้าประจำหน่วยรักษาความปลอดภัยแนวหน้าสุดเฉกเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา วิชิตชัยทำหน้าที่อย่างถึงที่สุด ทั้งหมอบ ทั้งวิ่งฝ่าห่ากระสุนเข้าช่วยเพื่อนๆ ที่บาดเจ็บคนแล้วคนเล่า แต่...ขณะที่วิชิตชัยวิ่งเข้าไปช่วยเพื่อนอีกคนที่ถูกยิงล้มคว่ำอยู่ตรงหน้าประตูใหญ่ ตัวเขาทรุดฮวบลงทันที... อนิจจา วิชิตชัย ถูกยิงด้วยปืนเอ็ม ๑๖ เข้าที่ท้อง กระสุนทะลุหลังเลือดสาดกระเซ็นเต็มพื้นซีเมนต์ กลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพลที่กระหายเลือดสุดขีด พากันเข้ารุมทึ้งวิชิตชัย เอาเชือกเข้าผูกคอ ลากเอาร่างของเขาไปตามพื้นแล้วเอาท่อนไม้ เก้าอี้เหล็ก ฟาดซ้ำไม่นับครั้งอย่างเมามัน จากนั้นก็เอาเชือกคล้องเข้ากับกิ่งไม้ กระตุกดึงเอาร่างของเขาขึ้นไปแขวนคอห้อยอยู่กับกิ่งไม้ใหญ่ ถึงกระนั้นก็ยังมิหนำใจ ยังใช้ท่อนไม้ เก้าอี้เหล็ก ฟาดซ้ำอีกนับครั้งไม่ถ้วน พร้อมคำก่นด่าอย่างหยาบคายไม่หยุดปาก ท้ายสุดก็ปลดเชือกทิ้งร่างของวิชิตชัยลงมา เอาน้ำมันราดและยางรถวางทับแล้วจุดไฟเผา ทั้งหมดนี้ต่อหน้าฝูงชนที่มุงดูแน่นขนัด และต่อหน้ากองกำลังตำรวจผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ไทย ที่กำลังปิดล้อมยิงถล่มนักศึกษาที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณพ่อของวิชิตชัย เร่งรุดเดินทางจากอุบลราชธานีเข้ากรุงเทพฯ ตั้งแต่เหตุการณ์เริ่มส่อเค้าความรุนแรง แต่ไม่พบลูกชายที่รัก เพราะวิชิตชัยไปประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ต้นเสียแล้ว หลังจากการเข่นฆ่าสังหารหมู่ในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม คุณพ่อก็ออกค้นหาลูกชายที่โรงเรียนตำรวจบางเขน ซึ่งเป็นที่คุมขังนิสิตนักศึกษากว่า ๓,๐๐๐ คน ที่ถูกจับกุมในวันนั้น แต่ก็ไม่พบชื่อวิชิตชัย อมรกุล แต่อย่างใด คุณพ่อจึงหันไปค้นหาลูกชายตามห้องผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาลทั่วกรุงเทพฯ แต่ก็ไม่พบแม้แต่เงาร่างของลูกชาย

ด้วยหัวใจที่เจ็บปวดและพรั่นพรึง คุณพ่อตัดสินใจเข้าดูศพผู้เสียชีวิต ดูแม้แต่ศพที่เหลวแหลกเพราะถูกทารุณกรรมสุดป่าเถื่อนหลายสิบศพ แต่ก็หาไม่พบอีก...ดูเหมือนความหวังที่จะพบลูกชายสุดที่รักจะเลือนรางเต็มที

เพื่อนสนิทของวิชิตชัย  ซึ่งเป็นนิสิตรัฐศาสตร์และเป็นนักกีฬาในทีมเดียวกันอาสาช่วยคุณพ่อดูศพอีกรอบ ในที่สุด เพื่อนก็มาหยุดอยู่ที่ร่างหนึ่ง ใบหน้าเหลวเละ มีเชือกผูกที่คอ มีรูกระสุนปืนที่ท้อง และร่างกายแหลกช้ำ เพื่อนสังเกตเห็นร่างนั้นใส่รองเท้ากีฬาที่ชำรุดและมีรอยซ่อมแซม ...นั่นมันรองเท้ากีฬาคู่โปรดของวิชิตชัย... คุณพ่อเข่าอ่อน น้ำตาพรั่งพรูออกมาอย่างหมดกลั้น

ครอบครัวจัดงานทำบุญศพอย่างเงียบๆ ให้แก่วิชิตชัยที่วัดธาตุทอง เพื่อนนิสิตนักศึกษามากราบศพกันเพียงประปราย เพราะบางส่วนถูกจับกุมคุมขัง และบางส่วนกำลังหลบหนีเอาชีวิตรอดจากการตามล่าของรัฐ  เพื่อนอีกคนของวิชิตชัยซึ่งถูกซ้อมถูกจับกุมในเช้าวันที่  ๖ ตุลาคม และได้รับการประกันตัว พาร่างและใบหน้าอันบอบช้ำมากราบศพเพื่อน แต่ก็มิอาจกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้ นั่งลงร้องไห้คร่ำครวญอย่างเจ็บปวดที่สุดหน้าโลงศพนั่นเอง

คุณพ่อของวิชิตชัยหัวใจแหลกสลาย นั่งซึม น้ำตาคลออยู่ที่เก้าอี้ พร่ำถามผู้คนที่มางานศพ...
"วิชิตชัย...ลูกชายผม... คนหนุ่มหน้าตาดีที่สุดในละแวกบ้าน.... เขาถูกกระทำ จนแม้แต่ผมผู้เป็นพ่อยังจำเขาไม่ได้เมื่อไปเห็นหน้าเขาที่โรงพยาบาล..."

"ลูกชายผม...  คนหนุ่มมองโลกในแง่ดี รักเพื่อน รักครอบครัว และรักชาติ เรียนเก่งและมีอนาคตยาวไกล... เขามีความผิดอะไรหรือ ถึงต้องกระทำกับเขาอย่างป่าเถื่อนถึงเพียงนี้...."

นายสมัคร  สุนทรเวช มีคำตอบให้แก่คุณพ่อของวิชิตชัยบ้างหรือไม่?

นายสมัคร  สุนทรเวช มีความกล้าเหมือนปากหรือไม่ที่จะตอบคำถามของคุณพ่อวิชิตชัยอย่างตรงประเด็น และตอบคำถามอีกหลายข้อจากผู้คนชาวเดือนตุลาคม

ใครคือคนที่เดินทางไปต่างประเทศในช่วงปี ๒๕๒๐  เที่ยวพร่ำพูดว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นฝ่ายยิงปืนออกมา มีตำรวจเสียชีวิตจำนวนมาก และผู้ชุมนุมในธรรมศาสตร์ในวันที่ ๖  ตุลาคม ๒๕๑๙  ไม่ใช่คนไทย  แต่เป็นญวน

ใครคือคนที่ขว้างแฟ้มเอกสารอย่างโกรธเกรี้ยวใส่ผู้หญิงต่างชาติที่ตะโกนถามถึงข้อเท็จจริงในการฆ่าหมู่วันที่ ๖ ตุลาคม  ๒๕๑๙

ใครคือคนที่พูดปกป้องและสนับสนุนสถานีวิทยุยานเกราะว่า มีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เมื่อสถานีวิทยุแห่งนั้นประกาศที่จะฆ่านักศึกษาถึง ๓๐,๐๐๐ คน

ใครคือคนที่ออกมาบริภาษ ป้ายสีอย่างเคียดแค้นเกลียดชังว่า อาจารย์ป๋วย  อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ยุยง ให้ท้าย และอยู่เบื้องหลังนิสิตนักศึกษาให้  "ทำลายชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์"

บางทีคำถามเหล่านี้คงไม่มีวันที่จะได้คำตอบที่ชัดเจนจากนายสมัคร สุนทรเวช เพราะนายสมัคร ปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆ ตลอดมา


คำถามของคุณพ่อวิชิตชัย จึงยังดังก้องอยู่ในศาลาสวดศพวัดธาตุทอง โดยไม่มีคำตอบ

ตราบจนบัดนี้


ที่มา : จุลสาร “ตุลาชน ตุลาชัย” ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543) หน้า 48-53
http://www.2519.net/newweb/doc/content3/27.doc



"พิชิต  ลิขิตกิจสมบูรณ์" เป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันนี้วิพากษ์วิจารณ์คณะ คมช.และรัฐบาลนี้ ถือว่าเป็น"สงวนจุดต่าง แสวงจุดร่วม"กับกลุ่มอำนาจเก่าได้ กระมั่ง.....


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #1 เมื่อ: 01-10-2007, 00:48 »

มีอีกอันนึงเดี๋ยวผมหามาเพิ่มให้
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #2 เมื่อ: 01-10-2007, 00:52 »

บทความ ถอดเทปจากการอภิปรายเรื่อง
"ภาระของเดือนตุลา ในวาระครบรอบ 25 ปี 6 ตุลาคม 2519
จัดขึ้นที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2544

ศ.ดร. ธงชัย วินิจจะกูล



 

คุณจินดา ทองสินธุ์ บิดาของจารุพงษ์ ทองสินธุ์ หนึ่งในผู้เสียชีวิตในอาชญากรรมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้ปรารภกับเพื่อนฝูงของจารุพงษ์ ว่าอยากได้กระดูกลูกชายกลับไปไว้ที่บ้าน

คุณจินดา เฝ้ารอลูกชายเป็นเวลา 20 ปีจึงได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตแล้ว แต่ 5 ปีต่อมาก็ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าร่างของเขาอยู่ที่ไหนนับแต่เวลาที่เขาจากไป


 
คุณแม่ลิ้ม - คุณพ่อจินดา ทองสินธุ์
พ่อและแม่ของจารุพงษ์ ทองสินธุ์

ผู้รอคอยการกลับบ้านของลูกถึง 20 ปี กว่าจะทราบว่าลูกชายคนนี้เสียชีวิตแล้ว
ในเหตุการณ์นองเลือดวันที่ 6 ตุลาคม 2519


วันนี้เรารู้แล้วว่า จารุพงษ์ เป็นหนึ่งใน "ชายไทยไม่ทราบชื่อ" ผู้ถูกทำร้ายจนจำหน้าไม่ได้ และไม่มีหลักฐานอื่นระบุตัวผู้ตายจึงไม่ได้รับศพไป ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกับมูลนิธิปอเต็กตึ้งจึง "จัดการตามประเพณี" ไปตั้งแต่ ปี 2519.

ผมพบคุณพ่อ จินดา เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา เรียนให้ท่านทราบว่าผมเชื่อว่าผมรู้แล้วว่าศพของจารุพงษ์อยู่ที่ไหน แต่คงไม่มีใครหากระดูกของเขาเจออีกแล้ว.

25 ปีหลัง 6 ตุลา คุณพ่อจินดา เดินทางกลับสุราษฎร์มือเปล่าอีกครั้ง.

ถึงเดือนตุลาของทุกปี มีการรำลึกเหตุการณ์เดือนตุลาทั้งสองกรณีกันอีกครั้ง.

ปีนี้เข้าใจว่าคงทำกันเอิกเกริกเป็นพิเศษเพราะตัวเลข 25 สำหรับ 6 ตุลาและเพราะจะมีการเปิดอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
คงมีปาฐกถา สุนทรพจน์ กล่าวย้ำถึงการสืบทอดเจตนารมณ์เดือนตุลาตามแต่จะให้ความหมายกัน และคงมีการอภิปรายถึงปัญหาในปัจจุบันและอานาคตว่า "คนเดือนตุลา" น่าจะทำอะไรบ้างในขอบข่ายของเจตนารมณ์นั้น เช่น ปัญาหาเอกราช ประชาธิปไตย คนยากจน สิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน ฯลฯ

เรามักเน้นย้ำเสมอว่า คนเดือนตุลา หมกมุ่นอยู่กับอดีตไม่ได้ ต้องเดินหน้าสืบทอดเจตนารมณ์ มีบทบาทแข่งขันในปัจจุบันและอนาคต บางคนเรียกว่าเป็น "กรรม" อย่างหนึ่งของคนเหล่านี้ที่รู้สึกต้องแบกโลกไว้ตลอดชีวิต ทิ้งไปไม่ได้ และไม่อยากทิ้ง.

ปณิธานมุ่งมั่นดังกล่าวเป็นเรื่องดีจนไม่จำเป็นต้องขยายความอีก

ปัญหามีอยู่ว่าการหมกมุ่นกับปัจจุบันและอนาคต ทำให้เราดูเบาต่อภาระกิจในอดีตไปหรือเปล่า?

คนจำนวนมาก (รวมทั้งคนเดือนตุลาจำนวนหนึ่ง) อาจเห็นการชำระสะสางอดีตเป็นแค่เรื่องทางวิชาการที่ไม่มีผลรูปธรรมชัดเจนต่อ ปัจจุบันและอนาคตหรืออาจขัดขวางเสียด้วยซ้ำ

นายสมัคร สุนทรเวช จึงชนะเลือกตั้งท่วมท้น !

หลายคนจึงมักพูดทำนองว่า บ้านเมืองดำเนินมาดีเข้ารูปเข้ารอยแล้ว จะย้อนอดีตทำไมกัน

คนเหล่านี้คงเห็นการหากระดูกเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ
เรื่องราวอีกสักร้อยสองร้อยกระดูกที่จบชีวิตไปท่ามกลางการเมืองเมื่อ 20-30 ปีก่อนก็คงไม่สลักสำคัญนักสำหรับพวกเขา

แต่คนเหล่านี้มิได้ปฏิเสธความสำคัญของอดีตอย่างที่มักเข้าใจกัน พวกเขาชื่นชมภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ (ของเจ้า) อย่างเอิกเกริกจนโลกแทบจะหยุดหมุน ขะมักเขม้นกับการประท้วงและขัดขวางประวัติศาสตร์ที่ไม่เข้าหูเข้าตาของพวกเขา ไม่ว่าจะผลิตโดย ฝรั่ง พม่า เขมร หรือ คนไทยเอง

พวกเขาพอใจที่จะเสพประวัติศาสตร์ที่เป็นยากล่อมประสาทให้เคลิ้มไปตามๆกันและปฏิเสธอดีตที่เขาอยากจะถือว่าเป็น ฝันร้าย

สงครามความทรงจำยังไม่สิ้นสุด มันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น

รำลึก 6 ตุลา (อีกแล้ว) ทำไมกัน ?

หนึ่ง เพราะการสะสางอดีตที่เป็นบาดแผล เป็นการต่อสู้ในปริมณฑลของความทรงจำทางสังคมที่เพิ่งเริ่มต้น

สอง เพราะการชำระความเจ็บปวดค้างคาใจ เป็นเงื่อนไขสำคัญแก่ผู้คนนับหมื่นที่ถูกทำร้ายในวันนั้น และกลายมาเป็นกำลังสำคัญของสังคมไทยในแทบทุกวงการ เพื่อเรียกพลังชีวิตของเขากลับคืนมาและเติมพลังให้พวกเขายินดีรับกรรมแบกโลก ต่อไปตามแต่ปรารถนา

สาม-สี่-ห้า หลายคนอาจต้องการทำความจริงให้กระจ่างอย่างหมดจด อาจต้ดงการหาตัวผู้รับผิดชอบต่ออาชญากรรม และอื่นๆ

บาดแผลในอดีตกลายเป็นพลังสำหรับปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร?

ผมเรียกความเจ็บปวดอันเป็นประสบการณ์ร่วมของผู้ถูกทำร้ายโดยตรงโดยอ้อม เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ว่าเป็น "บาดแผล" หรือ "trauma" ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็นความเจ็บปวดที่ค้างคาใจ.

ความเจ็บปวดที่ค้างคาใจของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นโศกนาฏกรรมระดับส่วนบุคคล ครอบครัว หรือใหญ่โตอย่าง 6 ตุลา คือสภาวะที่ชีวิตของเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องๆหนึ่ง จากนั้นบาดแผลหรือเรื่องค้างคาใจเกิดได้ 2 แบบ

1 เรื่องๆนั้นไม่มีใครอยากฟัง ไม่มีใครยอมฟัง ไม่มีพื้นที่ ไม่มีที่ยืน ขืนเล่าให้ใครฟัง ก็อาจกลายเป็นตัวประหลาด ถูกรังเกียจ เป็น*****จั*** ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เรื่องของเรา จากมุมมองของเรา ตามที่เราเข้าใจ ถูกกดเก็บไว้ ถูกปิดบัง ถูกปราบปราม ถูกลืมหรือหลบเลี่ยงไม่ยอมรับว่ามีอยู่จริง ไม่ยอมให้เราเล่าเรื่องที่เราต้องการจะเล่า แต่สังคมปฏิเสธเรื่องและปฏิเสธเรา

2 เรื่องที่เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งนั้น ดำเนินไปอยู่ดีๆ ก็ถูกตัดบท หยุดมันเสียดื้อๆ แขวนเท้งเต้งไม่มีตอนจบ มนุษย์เราอยู่ได้ด้วยการฟังเรื่องราวต่างๆและเข้าใจโลกด้วยเรื่องราวนับร้อยนับพัน วันแล้ววันเล่า เราอยู่ไม่ได้โดยไม่มีเรื่องราวที่ช่วยหล่อหลอมชีวิตปกติ เรามักอึดอัดเวลาที่เราได้ฟัง ได้ดู ได้อ่านเรื่องราวที่ค้างเติ่งไม่มีตอนจบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นฝ่ายคุณธรรม (ตามสายตาเรา) ถูกรังแกสารพัด แล้วถูกตัดบทสั่งให้จบแค่นั้น เราคงเขียนประท้วง ด่าผู้เขียนหรือคนจัด ในกรณีของพวกเรายิ่งทารุณกว่านั้น คือเราเป็นสาวนหนึ่งของเรื่องที่ฝ่ายของเรา (ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าเป็นฝ่ายธรรมะ) ถูกทำร้ายรังแก แล้วรัฐไทย สังคมไทย บอกว่าพอแล้ว ปล่อยมันค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น

ครั้นจะขอต่อเรื่องให้จบ หรือขอแค่เล่าเรื่องของเราให้สังคมไทยได้ฟัง ก็มักถูกปราบปรามให้หยุดพูดเรื่องเก่าๆเสียที

เรื่องคาใจนับร้อยนับพันในชีวิตปกติก็น่าอึดอัดพออยู่แล้ว ครั้นเรื่องคาใจนั้นคือ โศกนาฏกรรมที่เกิดกับคนนับหมื่น ที่เราเองเป็นส่วนหนึ่ง นี่คือบาดแผลที่เป็น trauma

นี่คือ บาดแผล 6 ตุลา

สังคมไทยไม่รู้จักว่าจะจัดการกับ trauma อย่างไร ผมไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเขายอมรับว่ามีอยู่หรือเปล่า ดีแต่บอกปัดความเจ็บปวดค้างคาใจของคนนับหมื่นเพื่อความสงบสุขลมๆแล้งๆของคนจำนวนล้าน

พวกเราแต่ละคนดำเนินชีวิตมาได้ด้วยการรู้จักจัดการกับบาดแผลค้างคาใจไปในแบบ ต่างๆกัน ต่างคนต่างมรทางของตนเอง แต่ส่วนมากเก็บเรื่องของเราที่เราอยากจะบอกแก่สังคมไทยไว้ในซอกหลืบที่คนอื่ นเข้าไม่ถึงเพราะไม่รู้ว่าเข้าจะเห็นเราเป็น*****แผ่นดินหรือเปล่า นานวันเข้า บางคนก็ปฏิเสธแม้กระทั่งเรื่องของตนเอง ทั้งๆที่เรื่องที่ถูกซุกเก็บไว้เงียบๆนั้นอาจเป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตเข า

การเคลื่อนไหวและการรำลึก 20 ปี 6 ตุลา คือ ภาวะที่เราพร้อมใจกันออกมาเล่าเรื่องของเราที่ถูกฆาตกรรมทำร้ายโดยรัฐ จนกระทั้งสังคมยอมรับฟังและยอมให้เราเล่าเรื่องของเราได้อย่างมั่นใจเป็นตัวของตัวเอง เราช่วยกันสร้างพื้นที่ สร้างที่ยืนของความทรวจำแบบของเราเองขึ้นมาในสังคมไทย

และที่สำคัญยิ่งกว่าคือการที่เราแต่ละคนเดินออกมาจากซอกมุมที่ขังตัวตนของเราไว้เสียนาน ออกมาฟ้อง ออกมาร้องไห้อย่างไม่ต้องอาย ไม่ต้องแคร์ว่าใครจะคิดอย่างไร

ในครั้งนั้นการที่หลายคนรู้สึกว่า "ดีใจที่มีวันนี้จนได้" คือภาวะที่แต่ละคนเรียกความเป็นตัวตนของตนเองกลับมาอย่างครบถ้วน ในเมื่อไม่ต้องซุกซ่อนอดีตหรือตัดมันขาดจากปัจจุบัน ในเมื่อชีวิตไม่หายไปครึ่งหนึ่ง อดีตกับปัจจุบันของแต่ละชีวิตสมานกันเข้าเป็นตัวตนของชีวิตหนึ่งๆอย่างครบถ้วน คนๆนั้นย่อมมีพลัง ความเข้มแข็งที่จะดำเนินชีวิตในปัจจุบัน และกลายเป็นพลังที่มีคุณค่า แก่การจะทำอะไรก็ตามในปัจจุบันและอนาคต

การต่อสู้กับความเจ็บปวดในอดีต เป็นสงครามความทรงจำที่แยกไม่ได้ระหว่างการต่อสู้ระดับสังคมกับระดับปัจเจก เพราะทั้งสาเหตุ กระบวนการ และผลการต่อสู้นี้มีอยู่ในทั้ง 2 ระดับอย่างแยกกันไม่ออก

เกิดอะไรขึ้นในการำลึก 20 ปี 6 ตุลา เมื่อ ปี 2539

ขออธิบาย การสะสางอดีตที่เป็นบาดแผลด้วยการย้อนพิจารณาการรำลึก 20 ปี 6 ตุลาเมื่อ ปี 2539. ประเด็นสำคัญที่สุด คือความสัมพันธ์ระหว่างการบุกเบิกพื้นที่ของความทรงจำทางสังคม กับบทบาทของความทรงจำของชีวิตเล็กๆน้อยๆ จำนวนมาก

มีเหตุปัจจัยทางการเมือง สังคมและเวลาอันเหมาะเจาะหลายประการ ที่ช่วยให้เกิดการยอมรับพื้นที่ของความทรงจำและเรื่องเล่า 6 ตุลา จากมุมมองของผู้รับเคราะห์ในการเคลื่อนไหวเมื่อปี 2539 แต่ในที่นี้ขอข้ามประเด็นไป ขอพิจารณาเฉพาะกิจกรรมการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น
ท่ามกลางการทะเลาะเบาะแว้งอย่างหนักในหมู่ผู้จัดงาน กิจกรรมต่างๆสามารถก่อให้เกิดการปฏิบัติการของความทรงจำ 2 แบบ 2 ระดับ

ระดับที่ 1 (แบบที่ 1) คือการประมวลรื้อฟื้น และพยายามสถาปนาภาพรวม หรือภาพหลักๆของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือ เรียกว่า เรื่องเล่าหลักของบรรดาผู้รับเคราะห์ (master narrative of the victims)
นิทรรศการ วิดิโอ และเรื่องราวมากมายในสื่อมวลชน หน้าหนังสือพิมพ์ หลายเดือนก่อนหน้างานรำลึกและระหว่าง 2 วันที่จัดงาน นำเสนอภาพหลักๆของเหตุการณ์ว่าเกิดการฆ่าสังหารโหดอย่างเหลือเชื่อโดยกลไกของรัฐ

เรื่องหลัก ของ 6 ตุลา คือ เรื่องของอาชญากรรมโดยรัฐไทย
(นี่ตรงข้ามสุดขั้วกับเรื่อง 6 ตุลา ฉบับทางการเมื่อ ปี 2519 และระยะใกล้หลังจากนี้)

แต่การสถาปนาภาพรวมเรื่องเล่าหลักของเรา ไม่ได้หมายความว่าความจริงถูกเปิดเผยหมด มิได้หมายความว่าเกิดความกระจ่างหมด น้ำยังท่วมอยู่เต็มปาก

ขีดจำกัด ณ วันนี้ ยังอยู่ตรงนั้น 1

สังคมไทยยอมรับฟังเรื่องอัปลักษณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่สังคมไทยกลับไปต้องการให้จัดการกับอาชญากรรมด้วยการหาคนรับผิดมารับผิดชอบ

ขีดจำกัด ณ วันนี้ ยังอยู่ตรงนั้น 2

เพราะสังคมไทยยอมให้เรื่องเล่าของเราพอมีที่ยืนได้อย่างไม่ต้องหลบซ่อน แต่กลับไม่ต้องการให้อดีตเกี่ยวข้องกับปัจจุบัน

ขีดจำกัด ณ วันนี้ ยังอยู่ตรงนั้น 3

กล่าวอีกอย่างได้ว่า เราสามารถทะลุทลวงความเงียบที่ปกคลุมมา 20 ปี พอที่จะสามารถเล่าเรื่องของเราได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกลัวจะถูกปฏิเสธ

แต่ยังอีกไกลกว่าขีดจำกัดทั้งหลายจะหมดไป หรืกอาจไม่มีทางหมดไป ก็เป็นได้

ระดับที่ 2 (แบบที่ 2) คือการเปิดโอกาสให้ความสำคัญแก่ความทรงจำ เรื่องราวของบาดแผลระดับปัจเจก เฉพาะราย เฉพาะคน ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพหลักเล่าเรื่อง

ในความเป็นจริง เรื่องเล่าหลักก่อรูปร่างด้วยพลังของเรื่องราวเฉพาะรายจำนวนมาก ที่ได้รับการถ่ายทอดทั้งในหมู่พวกเราเองและที่รายงานออกสู่สาธารณะ

การรำลึกที่มีแต่เรื่องใหญ่ๆภาพรวม จะจืดเป็นแค่พิธีกรรมที่ไม่ค่ยมีพลัง ไม่ค่อยมีชีวิต กลายเป็นงาน "พอเป็นพิธี" จริงๆตามตัวอักษร

การรำลึกที่มีพลังและสำเร็จ จะต้องสามารถทำให้ผู้เข้าร่วม (ทั้งผู้มีประสบการณ์โดยตรงด้วยตัวเอง และผู้มารับรู้) สามารถรับรู้และรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่ละคน ( ขอย้ำว่า แต่ละคน) สามารถเข้าใจ เข้าถึงความรู้สึกของผู้คนได้ในแบบของตนเอง เรื่องเล่าระดับเล็กๆ ของผู้คนเล็กๆที่มีหน้าตา ชีวิตจิตใจ มีครอบครัว เดินเหินปกติ มีพลังที่สามารถเชื่อมต่อกับประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมแต่ละคนได้เอง

สำหรับพวกเรา การรำลึกที่มีพลังและสำเร็จ จะต้องเปิดโอกาสให้เราผูกพันเรื่องราวของตัวเองเข้ากับภาพรวมหรืกเรื่องเล่า หลักได้ จะต้องเปิดโกาสให้เรามีที่ยืนอยู่ภายในเรื่องใหญ่ เพื่อที่เราจะสามารถดำเนินเรื่องต่อไปตามความเข้าใจของแต่ละคนเองไม่ว่าจะพบ คำตอบแล้วหรือยังแสวงหาอยู่ ก็สามารถต่อชีวิตอดีตกับปัจจุบันได้อย่างพอใจไม่โดดเดี่ยว

งานรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นชัยชนะ มักละเลยความทรงจำระดับปัจเจกเพราะเรื่องเล่าหลักพบตอนจบแล้วไม่ค้างเติ่ง จึงมักเป็นงานเฉลิมฉลองเอิกเกริก

แต่เหตุการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรมค้างเติ่ง มักทำให้แต่ละชีวิตที่เสียไปหนักอึ้ง และชีวิตที่ยังอยู่อ่อนเรี่ยวแรงด้วยความเจ็บปวดคาใจ การรำลึกจึงต้องสนใจให้ความสำคัญกับความทรงจำของแต่ละคน

หยุดแค่เรื่องหลักๆไม่ได้

เมื่อ 5 ปีก่อน กิจกรรมที่มีพลังมีผลต่อเราแต่ละคน และยังส่งผลต่อเรื่องเล่าหลัก คือ การเสวนาที่แต่ละคนได้เล่าเรื่องของเราอย่างเปิดเผย มีคนฟัง ร่วมรับรู้ความรู้สึก และสังคมรับฟัง

คือ การตระเวนขุดหากระดูกสหายที่เสียไปที่ละคนที่ละคน ใส่โกฎิเล็กๆเก็บไว้ แล้วสร้างสถูปให้พวกเขา อันนี้เริ่มมาตั้งแต่ก่อนรำลึก 20 ปีเสียอีก และเป็นตัวอย่างดีมากๆแม้จะไม่เคยเป็นข่าวเลยก็ตาม เป้าหมายอยู่ที่แต่ละคนที่เข้าร่วม สาธรณชนรู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ไม่ป็นไร

คือการตามหา พ่อ-แม่ จารุพงษ์ และครอบครัวญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต ที่เราละเลยมาเป็นเวลานาน

คือพิธีศพสัญญลักษณ์ ผู้เสียชีวิตแต่ละคนที่ชื่อ มีชีวิต มีหน้ตา เป็นมนุษย์เหมือนคนไทยอื่นๆ ไม่ใช่*****ศัตรูหรือผีคอมมิวนิสต์ พวกเราได้มีโอกาสร่วมงานศพให้เกียรติเขาอย่างสง่างาม เปิดเผยเสียที มีโอกาสวางดอกไม้จันทร์ด้วยมือของเราเอง บอกลาเขาอีกครั้งด้วยตัวเราเอง

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์ที่มีพลังจะต้องสามารถสื่อถึงภาพรวม เรื่องเล่าหลักของเหตุการณ์หรือบุคคลที่เราต้องรำลึกถึง และจะต้องมีวิธีการที่สามารถทำให้ผู้ดู ผู้มารับรู้ และผู้มีประสบการณ์ร่วมในเหตุการณ์นั้น สามารถเชื่อมเรื่องราวของตนเอง ความทรงจำของตนเองเข้าไปอยู่ในเรื่องใหญ่นั้นได้ในแบบที่ตนต้องการ จนสามารถรู้สึกถึงคุณค่าและความหมายที่ตนเข้าใจ

เราควรเอาใจใส่เรื่องราวระดับเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวหรือไม่ก็ตาม จะต้องไม่หยุดแค่ภาพใหญ่ หรืกงานพิธี ที่ดีที่สุดคือ การเพิ่มพลังตอกย้ำภาพใหญ่ เรื่องหลักด้วยเรื่องราวเล็กๆ ของชีวิตเล็กๆ ที่มีชีวิตจิตใจเหมือนผู้คนธรรมดา ทั้งหลายในโลกเพราะนี่คือวิธีที่ความทรงจำและเรื่องราวของเราจะสามารถสื่อกับสาธารณชนเดินดินเหมือนกัน

การรำลึก 6 ตุลาปีนี้ ปีหน้า ปีต่อๆไป จึงไม่ควรหยุดที่ภาพรวม เรื่องราวหลักๆของเหตุการณ์ แต่ควรให้ความสำคัญกับ แต่ละชีวิต ที่เสียไปและที่มาเข้าร่วม เราควรให้ครอบครัวของผู้ที่เสียไปรู้ว่า เรารำลึกถึงคนที่เขารัก และเราพยายามทำให้สังคมรู้จักรำลึกถึงเขาด้วย ไม่ใช่แค่ภาพรวมในนาม วีรชน 6 ตุลา (หรือ อะไรก็ตามที)

นี่คือ 20 ปี 6 ตุลา เมื่อ 5 ปี ก่อน

ภาระของ "คนเดือนตุลา" ขณะนี้และอนาคตใกล้ๆ "คนเดือนตุลา" เป็นชุมชนที่ผูกพันกันด้วยอดีต

ความคาดหวัง เสียงเรียกร้อง ความผิดหวัง เสียงประชดประชัน ต่อคนเดือนตุลา มีอยู่บ่อยๆ หลายคนคงนึกหมั่นใส้คนพวกนี้มานานแล้ว

ร้อยทั้งร้อยเป็นความคาดหวังและผิดหวังกับหมั่นใส้กับบทบาทของพวกเขาในปัจจุบัน

คนเดือนตุลาก็มักคาดหวังและผิดหวังกันเองว่าน่าจะทำโน่นไม่ทำนี่ในปัจจุบัน

แต่ "คนเดือนตุลา" เป็นชุมชนอุปโลกน์ที่ผูกพันกันด้วยอดีต พวกเขามีปัจจุบันและอนาคตที่แตกต่างกันมากมายลิบลับจนยากจะหาจุดร่วมที่สามา รถเป็นปฏิบัติการที่ร่วมกันได้

ความสำคัญของชุมชนที่ผูกพันกันด้วยอดีต คือการแปรประสบการณ์ร่วมที่เจ็บปวดให้กลายเป็นพลังชีวิตที่มีคุณค่าสำหรับแต่ละคน อันผูกพันกับอดีตนั้น พลังชีวิตนี้ย่อมมีคุณูปการต่อปัจจุบันและอนาคต

อย่างที่คนเดือนตุลามักกล่าวว่า พวกเขามีกรรมที่ยินดีรับคือ ทำยังไงๆก็สลัดความรับผิดชอบแบกโลกเอาไว้ออกไปไม่ได้

แต่ชุมชนนี้มิได้ผูกพันกันด้วยปัจจุบันและอนาคต พวกเขาจึงแปรพลังชีวิต ออกไปแบกโลกในวิถีทางต่างๆด้วยความคิดต่างๆนาๆ จนแทบจะเรียกว่า ต่างคนต่างเดิน

ยิ่งความเป็นคนหัวแข็ง กรำมาแล้วหลายศึก ทำให้พวกเขาต่างมีความเป็นตัวของตัวเองสูง (ซึ่งต่างสุดขั้วกับชีวิตภายใต้การนำพรรคเมื่อ 20 กว่าปีก่อน) อาจเรียกได้ว่ามีทางเดิน 11 ทาง สำหรับคนเดือนตุลา ทุกๆ 10 คน

แม้แต่เจตนารมณ์ ก็เป็นแนวทางกว้างๆที่เข้าใจตีความและแปรเป็นปฏิบัติการไปได้ต่างๆนาๆลิบลับ สมมติว่าไม่มีใครละทิ้งวิญญาณเดือนตุลาเลยสักคนเดียว พวกเขาก็ยังสามารถสังกัดพรรคการเมืองได้ทุกพรรค และกลุ่มองค์กรเอกชนอีกหลายร้อย บวกกับผู้ไม่ต้องการเข้าข้างใครเลยอีกหลายพัน

ใครพยายามเอาความเป็น "คนเดือนตุลา" ที่หมายถึงชุมชนหรือคนกลุ่มนี้โดยรวมไปผูกพันกับภาระกิจปัจจุบันและอนาคต จึงประสบปัญหา ดูไม่เข้าท่าสักเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจับคอรัปชั่นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณีใดๆ

ความคาดหวังคนกลุ่มนี้โดยรวมว่า ควรทำอะไรในปัจจุบันและอนาคต มีแต่จะจบลงด้วยความผิดหวังและการเสียดสีเย้ยหยัน เพราะในขณะที่บางคนอาจคล้อยตามความคาดหวังนั้น จะพบว่าอีกหลายคนไม่เอาด้วยอย่างแข็งขัน

แต่นี่กลับมิได้หมายความว่า คนเดือนตุลา แต่ละคนควรตัดขาดตนเองออกจากปัจจุบันและอนาคต
ตรงกันข้าม

การยอมรับกรรมอย่างร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเป็นทรัพย์อันหาค่ามิได้

แต่เราควรเลิกคาดคั้นและคาดหวังคนเดือนตุลาในเชิงองค์รวม กับภารกิจในปัจจุบันและอนาคตเสียที เลิกจับแพะชนแกะว่ากรณีพวกเขาบางคนในคณะรัฐบาลจะหมายถึงจะก่อให้เกิดอะไรขึ้นแน่ๆ

ปล่อยให้พวกเขาเป็นปัจเจกบุคคลที่มีทั้งพลังความคิดและยินดีอุทิศชีวิตรับกรรมเพื่อรับใช้ประชาชนตามที่เขาเข้าใจ ก็น่าจะเกินพอแล้ว

อดีตของพวกเขาจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้พวกเขาอยู่เฉยไม่ได้ และไม่ยอมแพ้ชีวิตง่ายๆอีกต่อไป ไม่ว่าพวกเขาจะขัดแย้งแตกต่างกันขนาดไหนในปัจจุบัน พวกเขาเปลี่ยนอดีตที่ผูกพันอยู่ด้วยกันไม่ได้เสียแล้ว

แต่ไม่ว่าจะมีอดีตผูกพันกันขนาดไหน ปัจจุบันและอนาคตเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล

อาจมีภารกิจปัจจุบันและอนาคตที่ คนเดือนตุลา สามารถร่วมเดินทางเดียวกันได้อีกอย่างมีเอกภาพมีพลัง ก็มักจะเป็นสิ่งที่ผูกโยงกับอดีตอยู่ดี (เช่น กรณี ถนอม สมัคร เป็นต้น) หรือตรงกับเจตนารมณ์พื้นฐาน (เช่นต่อต้าน เผด็จการทหารในเดือน พฤษภาคม 2535 ศัตรูเก่าของความเป็นคนเดือนตุลา) หรือสอดคล้องกับอุดมคติอย่างกว้างขวางที่สุด (เช่น สนับสนุนสมัชชาคนจน)

แน่นอนว่า กิจกรรมประเภทเปิดเวทีพูดคุยกัน ฟังเสกสรรค์อีกสัก 10 รอบเกี่ยวกับปัจจุบันและอนาคตก็ย่อมทำได้และมีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่อย่าคาดหวังว่าจะเกิดขบวนการแจ่มชัดของคนเดือนตุลา(ยกเว้นเฉพาะกิจเฉพาะก รณีดังตัวอย่างในย่อหน้ก่อน)

ในอีกด้านหนึ่ง ภาระของชุมชนคนเดือนตุลา น่าจะเป็นภาระเกี่ยวกับอดีต

สงครามความทรงจำยังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเอง

การต่อสู้เพื่อความทรงจำในอนาคต

1 ผมไม่ค่อยห่วงการสร้างความยอมรับด้วยภาพใหญ่ หรือเรื่องหลัก

เชื่อว่าการรำลึกทุกครั้ง เราจะทำสิ่งนี้ คิดกิจกรรมเพื่อการนี้ออกไม่ยาก การพูดถึง 6 ตุลาไม่ว่าระดับใดจะตอกย้ำภาพใหญ่เรื่องเล่าหลัก ยังไงๆก็จะยังได้รับการถ่ายทอดตอกย้ำเสมอๆ

การค้นหารายละเอียดของเรื่องใหญ่ เช่น รูปการแสดงละคร ใครสั่ง ตชด เข้ากรุง ฯลฯ ก็ยังน่าค้นหากันต่อไป

ภาวะน้ำท่วมปากยังเป็นขีดจำกัดที่ต้องต่อสู้ท้าทาย

2 ผมอยากให้พวกเราใส่ใจกับเรื่องราวระดับเล็กๆ ความทรงจำของแต่ละคน และเอาใจใส่กับชีวิตความเป็นไปของผู้รับเคราะห์แต่ละรายๆ

- เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตและครอบครัวที่ถูกทำร้ายอย่างรุนแรงจากวันนั้นถึงวันนี้
- ตกลงเรารู้ไหมว่า ตายกี่คน? บ้านเขาอยู่ไหน? ครอบครัวเขาเป็นอย่างไร?
- เรื่องเล็กๆเช่น ช่วยกันหากระดูกจารุพงษ์ให้คุณพ่อของเขา

พลังของเรื่องเล็กๆจะช่วยตอกย้ำและสร้างที่ยืนให้แก่เรื่องใหญ่ว่าด้วยอาชญากรรมของรัฐให้สังคมรับรู้และดำรงอยู่ต่อไปได้อีกนาน

ในอีกแง่หนึ่ง เหตุผลที่เราควรสนใจเรื่องของชีวิตเล็กๆจำนวนมากมายก็คือเราไม่ทำไม่ได้

เรื่องราวของหลายชีวิตหลายครอบครัวที่มีบาดแผลค้างคาใจ การทั้งการที่เราน่าจะพยายามช่วยกันหาตอนจบให้กับชีวิตเหล่านั้น แม้ว่าจะจบอย่างเศร้าๆก็ตามที จะเป็นสิ่งเตือนใจเราไปตลอดชีวิตว่า เรามีหนี้ต้องชดใช้ไม่มีวันหมดสิ้น แผ่นดินนี้ยังมีบัญชีตามค้างชำระอีกมากมายเหลือเกิน

นี่เป็นภาระของเราแต่ละคนในฐานะคนเดือนตุลาที่ยังมีชีวิตอยู่

3 ผมเสนอให้ขยายขอบข่ายชุมชนคนเดือนตุลา คืออยากให้คิดถึงผู้รับเคราะห์เสียหายไม่ใช่แค่เช้าวันที่ 6 เท่านั้น
เหตุการณ์ 6 ตุลา แยกไม่ออกจากความรุนแรงและฆาตการรมทางการเมืองมากมายก่อนหน้านั้น พื้นที่และการยอมรับที่เราเริ่มจะได้รับไม่ควรทำให้เรามองข้าม หลงลืมกรณีอื่นๆที่เล็กและเงียบเสียยิ่งกว่า 6 ตุลา

- เรื่องราวของ อาจารย์ บุญสนอง บุณโยทยาน
- อมเรศ ปรีดา สำราญ หลวงพ่อ อินถา วิชัย เกตุศรีพงษา ชุมพร ทุมไมย 4 คนที่สยามแสควร์ อีก 30-40-50 คนหรือมากกว่านั้น

เราน่าจะช่วยรวบรวม เขียนเล่าเรื่องราวของพวกเขาให้สังคมไทยรับรู้ด้วยหรืออย่างน้อยก็บันทึกไว้ เป็นหลักฐานให้ลูกหลานมีโอกาสรับรู้มากขึ้น

เราน่าจะเชิญครอบครัวของเขาเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกเดือนตุลาทุกครั้ง

4 ผมอยากเห็นพวกเราเองที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่าปล่อยให้ความทรงจำส่วนตัวของเราเอง เลือนหายหรือถูกลบด้วยเรื่องหลักๆ เราควรบันทึกเรื่องราวของเราเองด้วย 5 ปีก่อน ผมเคยคิดว่าจะมีการเขียนออกมามากมาย แต่การเขียนเป็นเรื่องยาก ผมคาดหวังมากเกินไปเอง การสืบพยานอย่างที่ อ.ชลธิชา และ อ.ใจ ได้ทำไปก็เป็นการบันทึกเรื่องราวเล็กๆ 60 กว่าเรื่อง

เรามาสร้างโครงการกันไหม เช่น "5 ตุลา : 1 คน : 1 ตลับ อดีต เพื่อวันข้างหน้า" วันที่ 5 ตุลาปีนี้ พร้อมใจกันต่างคนต่างนั่งลง บันทึกลงเทปเรื่องราวของตนเอง แล้ววันที่ 6 ตุลา เราเอามารวมกัน

ทำไม วันที่ 5?

อยากให้อาศัยการรำลึกถึงวันรุ่งขึ้น เป็นเครื่องเตือนใจว่าถ้าเราไม่ทำ แล้วเกิดพรุ่งนี้ มันหายไปเฉยๆ เรื่องเราของเรา ความทรงจำของเรา ก็จะหายไปพร้อมกับชีวิตเรา (ถ้าเห็นด้วย เราอาจฝากกรรมการตั้งคำถามง่ายๆ แค่ 2-3 ข้อพอเป็นแนวให้ เริ่มพูดออก เช่น

-คุณ อยู่ตรงไหน เช้าวันนั้น
-คุณเห็นอะไร หรือรู้ข่าวแล้วรู้สึกอย่างไร
-ก่อน 6 ตุลา คุณ ทำอะไร
-หลัง 6 ตุลา ชีวิตของคุณเป็นอย่างไร เป็นต้น)
จากนั้นใครจะพูดอะไรลงเทป ขอเชิญตามสบาย

5 ในเมื่อสงครามความทรงจำ จะสู้กันระยะยาว เราต้องอาศัยการสร้างฐานข้อมูล การสะสมเรื่องราว และการผลิตสื่อที่ทรงอิทธิพล กว่างานวัฒนธรรมประจำปีที่ธรรมศาสตร์

เรื่องสื่อ เช่น สารคดีเล่าเหตุการณ์ หรือเล่าเรื่องชีวิตต่างๆ ในแง่มุมต่างๆ หลายคนคงเข้าใจดีกว่าผมมากนัก
นอกจากเรื่องสื่อแล้ว สถาบันที่มีไว้สู้กันในเรื่องความทรงจำระยะยาว อย่างเช่น การสะสมและบริการเอกสารข้อมูล มีความสำคัญมาก

หอจดหมายเหตุ ธรรมศาสตร์ เก็บเอกสาร โปสเตอร์ เทป ที่เป็นข้อมูลแก่อนาคต เราน่าจะคิดถึงภาระกิจระยะยาว รู้กันอีกหลายรุ่นในประวัติศาสตร์ ใครที่ไม่เข้าใจว่าการต่อสู้กันยาวๆด้วยเอกสารข้อมูลจะส่งผลอะไร ขอให้คิดถึงการรื้อฟื้นความสำคัญของ ปรีดี พนมยงค์

น่ายินดีที่ระยะหลัง หอจดหมายเหตุ เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น และมีผู้ที่ส่งเอกสารเข้าไปเก็บไว้ที่นั่นมากขึ้น เน้นความสำคัญของหอจดหมายเหตุมากขึ้น

แต่ยังมีอีกมากที่น่าจะทำได้

บันทึกเทป 5 ตุลา รวบรวมเสร็จ ส่งเข้าไปเลย แต่ละคน มีอะไรอยากส่งเข้าร่วมสงครามความทรงจำระยะยาวไหม?
ยังมีเอกสารข้อมูลสำคัญๆ เกี่ยวกับ 6 ตุลา ที่รอการเก็บรักษาไม่ให้ชำรุดทรุดโทรม และรอการรวบรวมเข้ามาเพื่อเปิดบริการและเผยแพร่ให้กว้างขวาง

สงครามความทรงจำเรื่อง 6 ตุลา ต้องต่อสู้กันยาวๆ

ถ้าคุณจะสู้กันถึงลูกหลาน เราต้องพูดต้องบันทึกเรื่องราวของเรา

เราไม่ควรห่วงว่าเด็กรุ่นหลัง จะเข้าใจถูกหรือผิด เราควรเชื่อมั่นว่า เราเล่าเรื่องของเราอย่างซื่อสัตย์ ไม่ต้องเสแสร้ง ไม่ต้องบันทึกเรื่องที่เราไม่ได้รู้เห็นเองเพียงเพื่อหวังให้อนาคตเข้าข้างเรา ถ้าเราเชื่อมั่นว่า เราไม่ผิด ความซ้ายสุดกู่สักแค่ไหนก็ตามที และการมีอุดมคติไม่ใช่ความผิดที่รัฐต้องเข่นฆ่า เราเล่าเรื่องของเราอย่างบริสุทธิ์ใจ ปล่อยให้อนาคตตัดสิน

เราต้องเชื่อมั่นว่า ความทรงจำวันนี้ คือ อาวุธที่ดีที่สุดสำหรับวันข้างหน้า
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #3 เมื่อ: 01-10-2007, 01:00 »

ขอเอาบางส่วนไปโพสต์นะครับ
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 01-10-2007, 01:06 »

กระทู้นี้หลุดรอดมาได้ ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา

แต่ถ้าในวันนี้พรุ่งนี้ถูกลบจากราชดำเนินก็ทำใจนะครับ


http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/P3402329/P3402329.html

แต่ไม่ต้องห่วง มีคนเก็บข้อความในกระทู้ไปฝากไว้ใน WOM แล้ว

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=5379.0



* mak.JPG (62.36 KB, 800x421 - ดู 330 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #5 เมื่อ: 01-10-2007, 01:14 »

กระทู้นี้หลุดรอดมาได้ ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา

แต่ถ้าในวันนี้พรุ่งนี้ถูกลบจากราชดำเนินก็ทำใจนะครับ


http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/P3402329/P3402329.html

แต่ไม่ต้องห่วง มีคนเก็บข้อความในกระทู้ไปฝากไว้ใน WOM แล้ว

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=5379.0



ต้องให้ลุงแคนเล่าให้ฟังแล้ว เพราะลุงแคนข้อมูลเยอะมากๆ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Gamobank
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #6 เมื่อ: 01-10-2007, 01:20 »

ไอ้พวกนาซีย้อนยุคกลับชาติมาเกิด


เวรกรรมต้องตามมันทันในชาตินี้แน่ๆเลย


ถ้าผมเกิดเป็นลูกหลานมันคงต้องเดินเอาปี๊บคลุมหัว


เพราะไม่กล้าสบตาใคร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2007, 01:41 โดย Gamobank » บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 01-10-2007, 01:39 »

กระทู้หมักรวมฮิต ในราชดำเนินผมเล่นไว้เยอะ

บางกระทู้ก็โดนลบไปบ้างเหลือรอดบ้าง

เรียบเรียงใหม่ในโอเคเนชั่น ( เนื้อหาอยู่ในความเห็นที่ตอบด้วย อย่าลืมกดอ่านความเห็นทั้งหมด )

http://www.oknation.net/blog/canthai/2007/07/31/entry-2

ใน WOM ก็เก็บ ๆ ในกระท่อมน้อยของลุงแคน

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=2723.0

ที่ยังกระจัดกระจายมีอีกเยอะ ว่าง ๆ จะขอให้อัพเดทเค้าเก็บมารวม ๆ เป็นหน้าพิเศษซักตั้ง อิ อิ
บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #8 เมื่อ: 01-10-2007, 11:42 »

ลิ่วล้อ ขี้ข้าทักษิณ จำเลยหนี"หมายจับ"ของศาลยุติธรรมไนย
อ้างพวกตนเป็น "คนรักประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ"..........

คนพวกนี้ คิดว่า "ออหมัก" เป็น"นักรักประชาธิปไตย" คนหนึ่ง
พวกเขาจึงยอมรับ และเชิดชูให้เป็น "หัวหน้าพรรคพลังประชาชน"..........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #9 เมื่อ: 01-10-2007, 13:19 »

สมัคร สุนทรเวช ต้องชดใช้เวรกรรมที่มันได้ก่อขึ้นในชาตินี้แน่นอน
ความHEREของคนๆนี้ มันมีมากมายเหลือเกิน
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #10 เมื่อ: 01-10-2007, 14:41 »

ลิ่วล้อ ขี้ข้าทักษิณ จำเลยหนี"หมายจับ"ของศาลยุติธรรมไนย
อ้างพวกตนเป็น "คนรักประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ"..........

คนพวกนี้ คิดว่า "ออหมัก" เป็น"นักรักประชาธิปไตย" คนหนึ่ง
พวกเขาจึงยอมรับ และเชิดชูให้เป็น "หัวหน้าพรรคพลังประชาชน"..........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า





    คนที่เชิดชูและยอมรับ ออ หมัก เป็นหัวหน้าพรรคฯ

     คงจะจ้องมองเงิน หมัก  จนลืมความเป็นจริงมากกว่า




               


บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #11 เมื่อ: 01-10-2007, 18:52 »


    คนที่เชิดชูและยอมรับ ออ หมัก เป็นหัวหน้าพรรคฯ

     คงจะจ้องมองเงิน หมัก  จนลืมความเป็นจริงมากกว่า


    


จ้องหมักคงเห็นแต่รูจมูกบาน ๆ แต่กระเป๋าแฟบ ๆ

ตอนนี้ทุกสายตาต้องจับจ้องแม้ว ซินาตร้า "The Living ATM" เจ้าของเงินตัวจริงมากกว่า อิอิ..... 

บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #12 เมื่อ: 01-10-2007, 22:16 »

ลิ่วล้อ ขี้ข้าทักษิณ จำเลยหนี"หมายจับ"ของศาลยุติธรรมไนย
อ้างพวกตนเป็น "คนรักประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ"..........

คนพวกนี้ คิดว่า "ออหมัก" เป็น"นักรักประชาธิปไตย" คนหนึ่ง
พวกเขาจึงยอมรับ และเชิดชูให้เป็น "หัวหน้าพรรคพลังประชาชน"..........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า







    คนที่เชิดชูและยอมรับ ออ หมัก เป็นหัวหน้าพรรคฯ

      คงจะจ้องมองเงิน หมัก  จนลืมความเป็นจริงมากกว่า




               




  คงจะจ้องมองเงิน หมัก  จนลืมความเป็นจริงมากกว่า.....

"ออหมัก" ไม่มีวันควักเงินจากกระเป๋าตังค์ของตนเองหรอกครับ...
เป็น"เงินสด"จากลอนดอน และ "หุ้นส่วนธุรกิจการเมือง" ในประเทศไทย....


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2007, 22:20 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #13 เมื่อ: 07-10-2007, 00:24 »

เดือนตุลาแล้ว

มาขุด ครับ 
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #14 เมื่อ: 07-10-2007, 00:50 »

อายุขัยก็มากมายยังไม่คิดจะกลับตัวกลับใจ

คนแถวบ้านเค้าเรียก "แก่กะโหลกกะลา"
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 07-10-2007, 03:58 »

ลองสืบค้นดูสิ พวกที่ชอบอ้างตัวเป็นคนเดือนตุลา ในพรรคพลังประชาชน

มีข้อเขียนหรือเรื่องอะไรที่พอจะให้เว็บ 14 ตุลา หรือ เว็บ 6 ตุลา ยอมรับนับถือบ้าง
บันทึกการเข้า

นกกระสากวนน้ำ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 140


"ผมจะทำให้คนไทยรวยแต่เขือ"


« ตอบ #16 เมื่อ: 07-10-2007, 04:18 »

คนดมตูดลาในพรรคพลังจังรัยอยู่รวมกับสัตว์นรกจมูกหมูปาก***ได้
ด้วยความเหมือนกัน 2 อย่าง คือ
เป็นเดรัจฉานการเมืองเหมือนกัน และมีสันดานโกหกตอแหล ตลบแตลงเยี่ยงเดียวกัน
แม้ว่าจะมาจากต่างกำพืดก็สามารถประสานเข้ากันได้ดี
ประดุจเดียวกับขี้ เยี่ยว พยาธิ เชื้อโรค
ที่ไม่ว่าจะพ่นพุ่งออกมาจากตูดหมาหรือตูดแมว ซึ่งแม้ว่าอาจจะเคยกัดกันมาก่อน
ทึ่สุดแล้วก็กลายเป็นภาระให้ผู้คนต้องกำจัดชำระล้างไปจากบ้านเรือนหรือถนนหนทาง
อย่างไม่ต่างกัน
บันทึกการเข้า

ประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยม
คือ  การปกครองที่ผู้คนจำนวนน้อยซึ่งมีสติและความรับผิดชอบ จำต้องอดทนและรับผลกรรมจากกระทำของผู้คนจำนวนมากกว่าซึ่งไม่เคยรู้สึกรู้สาและจมปลักอยู่กับตัณหาทิฐิ
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #17 เมื่อ: 07-10-2007, 18:40 »

คนเดือนตุลาฯ พันธุ์"หน้าเหลี่ยม"
คนเดือนตุลาฯ พันธุ์"หน้ากลม"
คนเดือนตุลาฯ พันธุ์"หน้ายาว"
คนเดือนตุลาฯ พันธุ์"หน้าแหลม"
ฮืมม์......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: