ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 09:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==ยุทธศาสตร์ประเทศไทย : มิติไร้พรมแดนประเทศไทยบนเวทีโลก-ดร.เคนอิจิ โอมาเอะ== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==ยุทธศาสตร์ประเทศไทย : มิติไร้พรมแดนประเทศไทยบนเวทีโลก-ดร.เคนอิจิ โอมาเอะ==  (อ่าน 2464 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 26-09-2007, 17:37 »

ผ่านมาประมาณหนึ่งปีแล้วนะครับ สำหรับการบรรยายหัวข้อ "Thailand @ the Next global Stage"
ที่ประเทศไทยของ ดร. เคนอิจิ โอมาเอะ "Mr. Strategy" ที่เคยได้รับเลือกเป็น 1 ใน 5 Guru ของโลก
ด้านการบริหารจัดการ จาก The Economist ปี 1994

ลองมาอ่านทบทวนกันดูสักหน่อยนะครับ ว่ามีไอเดียอะไรของ ดร.โอมาเอะ ที่น่าสนใจบ้าง
เท่าที่ผมจับประเด็นน่าสนใจได้ เช่น

- ในอนาคตประเทศอินเดียจะได้เปรียบจีนด้านประชากร  ซึ่งจากการตรวจสอบของผม ประเทศไทยเรา
แทบไม่ได้ทำอะไรเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของเรากับประเทศอินเดียเลย (ความจริงทุกประเทศตอนนี้
เหมือนกับมุ่งไปทางจีนกันทั้งหมด)

- เรื่องการเป็นศูนย์กลางการบินโดยใช้สนามบินสุวรรณภูมิ (อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะทำได้ดีแค่ไหน
เพราะพอเปิดใช้จริงๆ หลังจาก ดร.โอมาเอะ บรรยายก็มีปัญหาติดขัดมากมาย แต่ผมกลับมองว่า
ไทยเราน่าจะผลักดันด้านศูนย์กลางการขนส่งทางบกและทางทะเลมากกว่า เพราะเราได้เปรียบ
ด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ชัดเจนกว่าทางอากาศ ซึ่งเรื่องนี้ ดร.โอมาเอะ ไม่ได้พูดถึง และที่บอกว่า
จะประหยัดเวลาการบินได้ถึง 5-6 ชั่วโมงผมยังนึกไม่ออกว่าทำได้อย่างไร)

- เรื่องการปรับปรุงการศึกษา และภาษาของแรงงานไทยเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน (อันนี้เห็นได้
ว่าเวียดนามกำลังมีนโยบายสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ไทยเรายังเฉยๆ)

- นอกจากนี้ก็มีเรื่องการมองกลุ่มประเทศต่างๆ เช่นกลุ่ม OECD ที่จะเป็นลูกค้าเป็นแหล่งเงินหมุนเวียน
และกลุ่ม BRIC’s (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง
กลุ่มนี้ที่ประเทศไทยควรหาช่องทางเพื่อเติบโตไปด้วยกัน และกลุ่ม TVT (ไทย เวียดนาม และตุรกี)
ที่น่าจะนับเป็นคู่แข่งขันในปัจจุบัน

- อีกเรื่องคือตลาดบริการที่ไทยควรจะทำเพื่อรองรับประชากรญี่ปุ่นที่จะทยอยเกษียณอายุประมาณ
8 ล้านคนในช่วง 4-5 ปีนี้ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงถึง 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (28 ล้านล้านบาท!!!)
และมีเงินออมมากถึง 5.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (17.85 ล้านล้านบาท!!!)

ที่สำคัญที่สุดคนกลุ่มนี้ชอบเมืองไทย เมื่อมาเที่ยวประเทศไทยจะพักอยู่นาน (เรื่องนี้ ดร.โอมาเอะ
ซึ่งเป็นคนญี่ปุ่นพูดเองเลยนะครับ ไม่ใช่คนไทยเราเป็นคนพูด และผมคิดว่าให้คนแก่ญี่ปุ่นมาเที่ยว
ดีกว่าให้พวกฝรั่งแย่ๆ มาเที่ยวราคาถูกๆ เยอะัๆ)

- ดร.โอมาเอะ ย้ำว่า ไทยควรสนใจเรื่องส่งออกบ้านสำเร็จรูปไปญี่ปุ่น ปัจจุบันญี่ปุ่นมีความต้องการบ้านสำเร็จรูป
คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (1.6 ล้านล้านบาท!!!!) ซึ่งไทยมีความได้เปรียบด้าน ต้นทุนการผลิตต่ำ
และแรงงานมีฝีมือ เพราะหากเทียบกับการส่งออกข้าวไทยไปญี่ปุ่นแล้ว พบว่าไทยมี ส่วนแบ่งตลาดข้าวในญี่ปุ่น 10%
แต่กลับมีมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดเพียง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ก็ฝากเอาไว้เป็นไอเดีย สำหรับผู้สนใจเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศไทยนะครับ 

http://www.businessthai.co.th/content.php?data=409766_Business%20Exellence
--------------------------------------------------------------------------------------------------

ยกเครื่อง Thailand สู้คู่แข่งในศตวรรษ 21
โดย บิสิเนสไทย [25-9-2006] 
 
เคนอิจิ โอมาเอะ (Mr. Strategy) กูรูบริหารการจัดการ ชี้ทางรอดประเทศไทย แข่งสู้คู่แข่งในยุค
การค้าไร้พรมแดนบนเวทีโลก


ไอเดีย จับคู่แข่งกลายเป็นคู่ค้า พร้อมดันจุดแข็ง โลเกชัน + ฝีมือ แรงงาน และพัฒนาการศึกษา-ภาษา
เป็นกุญแจเพิ่มสมรรถนะการ แข่งขัน โดยให้เรียนรู้ต้นแบบ “เดนมาร์ก” และ “ฟินแลนด์” เป็น กรณีศึกษา

ดร. เคนอิจิ โอมาเอะ เป็นที่รู้จักและกล่าวขานจากสื่อมวลชนในสมญานามของ “Mr. Strategy”
เขาเป็นทั้งวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการบริหาร วารสาร The Financial Times ของอังกฤษเรียกเขา
เป็นปรมาจารย์แห่งการบริหารหนึ่งเดียวของประเทศญี่ปุ่น และในปี 1994 The Economist เลือกเขา
เป็น 1 ใน 5 Guru ของโลกด้านการบริหารจัดการ

23 ปี ในการทำงานที่บริษัทที่ปรึกษา Mckinsey & Company, Inc. และผลงาน หนังสือกว่า 140 เล่ม
รวมถึงเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ และบทความ
ลงตีพิมพ์ในนิตยสารชื่อดัง อาทิ Wall Street Journal, Harvard Business Review, Foreign Affairs,
New York Times

ดร. เคนอิจิ โอมาเอะ จบการศึกษาด้านปริญญาตรี (BS) จาก Waseda University ปริญญาโท (MS)
จาก Tokyo Institue of Technology และปริญญาเอก (Ph.D. ด้าน Nuclear Engineering)
จากMassachusetts Institue of Thecnology

ก่อนหน้าที่เขา จะทำงานกับบริษัทที่ปรึกษา Mckinsey เขาทำงานในบริษัท Hitachi ในตำแหน่ง
Senior Design Engineer ในการสร้าง Prototype Fast Breeder Reactor ของญี่ปุ่น เขาได้รับ
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ Honorary doctorate จาก Notre Dame University ในปี 1955
ปัจจุบัน ดร. เคนอิจิ โอมาเอะ อาศัยอยู่ในกรุงโตเกียวกับภรรยา Jeanette และ บุตรชาย 2 คน
และใช้เวลาว่างกับการเล่นสกี เรือใบ จักรยานยนต์ ดำน้ำ ศิลปะการ ต่อสู้ และเล่นดนตรี

โอกาสเยือนประเทศไทย ฐานะรับเชิญของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ดร. เคนอิจิ โอมาเอะ หรือที่รู้จักดีในวงการบริหารการจัดการ นักพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก (Mr. Strategy)
มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง Thailand@the Next Global Stage ....” มิติไร้พรมแดนประเทศไทยบนเวทีโลก”


ดร.เคนอิจิ โอมาเอะ กล่าวถึงโอกาสแข่งขันระหว่างประเทศไทยในศตวรรษ 21 ว่า ประเทศไทย
ควรจะใช้โอกาสจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะเปิดให้บริการปลายเดือนนี้ เชื่อมเป็นประตูการค้า
ระหว่างตะวันออกและตะวันตก ใช้เมืองหลวง “กรุงเทพฯ” เป็นสำนักงานใหญ่ เชื่อมศูนย์กลางของภูมิภาค
ให้อยู่ใกล้กับสุวรรณภูมิ

“ประเทศไทยได้เปรียบเรื่องระยะทางการเดินทาง ควรกระจายเป็นวงกลม ประหยัดเวลาการบินได้ถึง
5-6 ชั่วโมง หากเทียบกับคู่แข่งที่มีสนามบินในย่านเอเชีย และอาเซียน จุดนี้ ถือว่าเป็น ยุทธศาสตร์
และข้อได้เปรียบสำคัญของไทย รวมถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรอบๆ รองรับ ลูกค้า เช่น ควรจัด
ให้มีสถานที่จัดประชุมระดับนานาชาติ เพื่ออำนวยความสะดวกตรงกับความ ต้องการกลุ่มเป้าหมาย”

นอกจากนี้ ไทยควรมีบริษัทส่งออกรายใหญ่ (Exporter) เข้ามาปักฐานให้มากขึ้น โดยอาจจะ ดึงดูด
นักลงทุนจากสิงคโปร์ รวมทั้งดึงอุตสาหกรรมบางอย่างจากญี่ปุ่นเข้ามาให้ได้ เพราะนั่นจะช่วยสร้าง
รายได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

โอกาสนี้ ดร.โอมาเอะ ยกตัวอย่างให้ฟังว่า ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นให้ ความสำคัญ
กับไทย ในฐานะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกมากกว่าประเทศใดๆ ในโลก และกว่า ทศวรรษที่ผ่านมา
พบว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยต่างประสบผลสำเร็จ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์
และงานบริการต่าง ๆ

แต่รัฐบาลไทยควรจะมีแผนฉุกเฉินไว้รองรับในอนาคตด้วย เช่น ค่าแรงงานไทยเพิ่มสูงขึ้น ควรจะกระจาย
แหล่งผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

“ประเทศไทยมีภาครัฐที่เข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งแรงงานของประเทศไทย
เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ และธุรกิจด้านการบริการ งานช่างฝีมือ ซึ่งไม่มีที่ไหนทำได้ ควรจะใช้จุดแข็ง
ในสิ่งเหล่านี้ ที่สำคัญไทยควรมองเวียดนามเป็นคู่แข่ง ไม่ต้องไปแข่งกับจีนหรืออินเดียแต่ควรมอง
ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา แทน เพราะประเทศเหล่านี้ กำลังกลายเป็นม้ามืด”


ปรับปรุงการศึกษา-ภาษา เพิ่มขีดการแข่งขัน

ดร.โอมาเอะ กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา และทักษะ-
ภาษา โดยแนะให้ศึกษาต้นแบบการศึกษาจากการเรียนรู้จากเดนมาร์กและฟินแลนด์ ใน ด้านโทรคมนาคม
หรือเรียนรู้จากจากสิงคโปร์เกี่ยวกับระบบลอจิสติกส์ โดยระบุว่า ไทยเป็นประเทศ ที่มีโอกาสเลือกอนาคต
ได้ตามใจชอบ

เพียงแต่รัฐบาลต้องส่งเสริมโอกาสในการศึกษา และการ เข้าถึงแหล่งความรู้ พร้อมยกเคสกรณีศึกษา
ประเทศจีน และอินเดีย เป็นตัวอย่าง ในปี 2553 เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และ
ในปี 2550-2551 ขนาด ของเศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยมีอัตราเติบโตทาง
เศรษฐกิจปีละ 8% เชื่อว่า ในอนาคตจีนจะเป็นประเทศที่มีปัญหาประเทศ หนึ่งจากนโยบายมีลูกคนเดียว
และคนจีนขาดทักษะ ในการจัดการ

ขณะที่อนาคตของอินเดียซึ่งเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีขนาดใหญ่สุดในโลก จะมีประชากรมากกว่าจีน
และที่เหนือกว่าจีน คือ ประชากรมีความสามารถด้านไอทีและมีไอคิวมากกว่า โดย เฉพาะคนชั้นกลาง
มีการศึกษาถึง 120 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเท่ากับประชากรญี่ปุ่นทั้งประเทศ รวมทั้งจะมีประชากรที่เป็นคน
ในวัยทำงานระหว่าง 14-35 ปีมากกว่าจีน

“เราจะรียนรู้อะไรได้บ้างจากประเทศจีน การกระจายอำนาจไม่ใช่การรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ เพียงอย่างเดียว
อีกต่อไป ต้องกระจายไปยัง เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ และต้องมีเสรีภาพในการ จัดการตลาดของตนเอง ดึงเอา
เงินลูกค้าเข้ามา โดยเฉพาะเงินจากกลุ่ม OECD สามารถดึงเอาเงิน เหล่านี้มาใช้ให้ได้“

นอกจากนี้ ดร.โอมาเอะ ชี้เทรนด์การเปลี่ยน แปลงเศรษฐกิจโลก และบทบาทของภูมิภาคเอเชีย โดยเขาระบุ
ว่าเดิมทีการเติบโตของเศรษฐกิจโลกกลุ่มประเทศ G7 และกลุ่ม OECD แม้จะเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโต
เศรษฐกิจสูง แต่ประเทศเกิดใหม่ ประกอบด้วย BRIC’s (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) เป็นประเทศที่มีศักยภาพ
ในการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต และอาจจะรวมถึง กลุ่มประเทศ TVT (ไทย เวียดนาม และตุรกี) ด้วย

ข้อได้เปรียบเรื่องของประชากรรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก กลายเป็นประเด็นท้าทายของ กลุ่มประเทศ
เหล่านี้ในเชิงการแข่งขันในอนาคต ดังนั้น หากประเทศไทย ต้องการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในโลก
ไร้พรมแดน ไทยควรจะหันหน้าหาคู่ค้าหลักเป็นพันธมิตร โดยยกตัวอย่าง “ความสัมพันธ์พิเศษ” กับประเทศญี่ปุ่น
เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตของรายได้ต่อหัวของประชากรไทย โดยใช้โอกาสทั้งจากการที่ประเทศไทย
มีภาพลักษณ์ในการลงทุนที่ดีต่อนักลงทุนญี่ปุ่น และการที่ประเทศไทยจะต้องเข้าใจภาคบริการของญี่ปุ่น
อย่างแท้จริง (Insider of Japanese Service Sector: Insiderization) โอกาสการเพิ่มรายได้ของประเทศไทย
ดร.โอมาเอะ ยกตัวอย่างให้ฟังว่า เศรษฐกิจของเม็กซิโก ต้องพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯถึง 90% การพึ่งพา
ดังกล่าวทำให้ปัจจุบันรายได้ต่อหัวของประชากร เม็กซิโกสูงถึง 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ปัจจุบันรายได้
ต่อคนต่อปีของชาวญี่ปุ่นสูงถึง 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีสูงกว่าไทยถึง 7 เท่า


ดึงคู่ค้า ญี่ปุ่น หนุนเพิ่มรายได้

การเพิ่มรายได้ต่อหัวประชากรไทยต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปัจจุบันได้ หรือเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันดอลลาร์สหรัฐ
ต่อคนต่อปี หรือประมาณ 2 แสนบาทต่อคนต่อปี ดร.โอมาเอะ เสนอว่าไทยควร จะมีความสัมพันธ์ ที่เรียกว่า
“ความสัมพันธ์พิเศษ” กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างโอกาสในการ เติบโตของรายได้ต่อหัวของประชากรไทย
โดยเน้น 3 เรื่องสำคัญๆ ได้แก่ เป็นฐานการผลิตเพื่อส่ง ออกสินค้ายานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการ
ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แก่ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น และ การส่งออกผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เช่น บ้านประกอบสำเร็จรูป

3 เรื่องสำคัญๆ ที่ไทยต้องเน้นเป็นพิเศษ คือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) หรือ การจัดบ้านพัก
ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นขึ้นในประเทศไทย และเพิ่มทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ รวมถึงการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน
นานาชาติมากขึ้น “ความสัมพันธ์แบบพิเศษ จะเป็นช่องทางทำให้ไทยได้เปรียบกว่าคู่แข่งประเทศอื่นๆ และความ
สัมพันธ์พิเศษนี้ เป็นสิ่งที่มากกว่าการเจรจาเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ ปัจจุบันจีนใช้การเจรจา เอฟทีเอ เป็นเกม
ทางการเมือง ที่ยังไม่มีผลอะไร

ที่ชัดเจน เช่น กรณีเอฟทีเอจีนกับอาเซียน” ดร.โอมาเอะ กล่าวว่า ในปี 2550-2554 จะมี ชาวญี่ปุ่นทยอยเกษียณอายุ
ประมาณ 8 ล้านคน คนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูงถึง 8 แสนล้านดอลลาร์ สหรัฐ ในจำนวนนี้เป็นเงินออมถึง 5.1 แสนล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ ที่สำคัญ คนกลุ่มนี้ชอบเมืองไทย เมื่อมาเที่ยวประเทศไทยจะพักอยู่นาน

ซึ่งไทย ต้องคิดว่าจะทำอย่างไร..? เพื่อจะดึงเงินเหล่านี้ เข้ามาให้ได้ โดยผ่านธุรกิจโรงแรม และการ ท่องเที่ยว
รวมไปถึงการสร้างแหล่งพักผ่อนให้ ผู้สูงอายุญี่ปุ่น ที่จะพักอาศัยในเมืองไทย เช่น จ.เชียงใหม่ และจ.เชียงราย
เป็นต้น ดร.โอมาเอะ ย้ำว่า ไทยควรส่งออกบ้าน สำเร็จรูปไปญี่ปุ่น ปัจจุบันญี่ปุ่นมีความต้องการ บ้านสำเร็จรูป
คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งไทยมีความได้เปรียบด้าน ต้นทุนการผลิตต่ำและแรงงาน-
มีฝีมือ หากเทียบกับการส่งออกข้าวไทยไปญี่ปุ่นแล้ว พบว่าไทยมี ส่วนแบ่งตลาดข้าวในญี่ปุ่น 10% แต่กลับมี
มูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดเพียง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-09-2007, 18:27 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #1 เมื่อ: 28-09-2007, 11:09 »



    ต้องขอขอบคุณคุณ jerasak  เป็นอย่างสูงครับ ที่ได้นำคำบรรยาย

    ของ ดร. เคนอิจิ โอมาเอะ  ในหัวข้อเรื่อง   "Thailand @ the Next global Stage"

    รู้สึกว่าเป็นไอเดียที่ดีแนวทางหนึ่ง  ขอบคุณครับ

                                                                                   
                                                                                   
บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
หน้า: [1]
    กระโดดไป: