==ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF เป็นผลงานคุณทักษิณ: จริงแท้แน่นอน OKติดแก๊ส==

(1/35) > >>

อยากประหยัดให้ติดแก๊ส:
ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีผลงานชำระหนี้คืนไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด

1. สาเหตุของวิกฤตการณ์จนต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF
1.1 การเปิดเสรีภาคการเงินโดยขาดมาตรการรองรับและขาดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ
1.2 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนที่ผิดพลาด
1.3 การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ไม่เด็ดขาด
1.4 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูงมาก
1.5 การขาดเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในรัฐบาลและการเมืองไทย
http://www.mof.go.th/fpobul/FFU001.htm

ตารางการเบิกจ่ายเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะต้องเบิกจ่ายเป็นงวด รวม 12 งวด โดยประมาณ ดังนี้
งวดที่ วันที่ จำนวนล้าน SDR เงื่อนไข1 สิงหาคม 2540 1,200 วันที่คณะกรรมการบริหารกองทุนอนุมัติคำขอกู้ 2 30 พ.ย. 2540 600 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2540 การประเมินครั้งที่ 13 28 ก.พ. 2541 200 ปฏิบัติการเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2540 การประเมินครั้งที่ 24 31 พ.ค. 2541 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 การประเมินครั้งที่ 3 5 31 ส.ค. 2541 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2541 การประเมินครั้งที่ 4 6 30 พ.ย. 2541 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนกันยายน 2541 การประเมินครั้งที่ 57 28 ก.พ. 2542 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนธันวาคม 2541 การประเมินครั้งที่ 6 8 31 พ.ค. 2542 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนมีนาคม 25429 31 ส.ค. 2542 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนมิถุนายน 2542 การประเมินครั้งที่ 7 10 30 พ.ย. 2542 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนกันยายน 2542  11 28 ก.พ. 2543 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนธันวาคม 2542 การประเมินครั้งที่ 812 31 พ.ค. 2543 100 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดทางการเงินการคลัง ประจำเดือนมีนาคม 2543รวม 2,900

ทำไมรัฐบาลชวนถึงไม่สามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้
- เพราะเงินไม่พอและหมดวาระการบริหารเสียก่อน ประชาชนส่วนมากไม่เชื่อถือความสามารถว่าบริหารต่อไป
  จะทำอะไรดีๆ ได้ เลยเลือกพรรคไทยรักไทยซะถล่มทลาย ประชาธิปัตย์แพ้ราบคาบ และพรรคไทยรักไทย
  โดยการนำของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนด
- สมัยชวนทำได้ดีที่สุดแค่ไม่เพิ่มหนี้ แต่ก็ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมด

ถึงแม้ว่าภาระหนี้ภายใต้โครงการของ IMF จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2540-2542 แต่ภาระหนี้ดังกล่าวเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นนับตั้งแต่ปี 2543 สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันหลายปี ขณะที่การไหลออกสุทธิของเงินทุนต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลง ส่งผลให้รายรับเข้าประเทศในรูปของเงินตราต่างประเทศสุทธิปรับตัวดีขึ้น ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยจึงเพิ่มขึ้น ทำให้ภาระหนี้ภายใต้โครงการของ IMF ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบัน (สิ้นเดือนมิถุนายน 2545) หนี้ดังกล่าวคงเหลืออยู่ในระดับ 6.789 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแบ่งตามแหล่งที่มาของเงินกู้ได้ดังนี้ (1) ยอดหนี้คงค้างที่ต้องชำระคืน IMF จำนวน 1.014 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2) ยอดหนี้คงค้างที่ต้องชำระคืนธนาคารกลางประเทศต่างๆ จำนวน 2.316 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3) ยอดคงค้างหนี้ที่ต้องชำระคืน J-EXIM มีจำนวน 3.459 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทำไมรัฐบาลทักษิณจึงสามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดได้
- แม้ว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะมีมากในสมัยชวน แต่ก็ไม่ได้แสดงว่า มีความสามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟคืนได้

สำหรับการวิเคราะห์แผนการชำระคืนหนี้ในอนาคตว่าจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใด หรือสามารถชำระคืนได้ก่อนกำหนดหรือไม่ ประการแรกคงต้องมองย้อนไปถึงความจำเป็นในการกู้เงินภายใต้โครงการ IMF ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยหากพิจารณาถึงขนาดของทุนสำรองระหว่างประเทศ พบว่า ในช่วงปี 2543-2545 ซึ่งแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีการทยอยชำระคืนหนี้เงินกู้ตามโครงการของ IMF แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น จาก 32.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2543 เป็น 38.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความมั่นคงมากขึ้น จึงทำให้มีความจำเป็นลดลงในการกู้ยืมภายใต้โครงการของ IMF

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีทุนและการเงินยังมิได้มีแนวโน้มที่สดใสเท่าใดนัก เนื่องจากการชะลอตัวของความต้องการสินค้าจากทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯและญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อดุลการค้าของไทย ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับการเกิดสงครามก็อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ด้านการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งจะทำให้ดุลบริการเกินดุลน้อยลง ในส่วนของดุลบัญชีทุนและการเงิน แม้ว่าปริมาณการไหลออกสุทธิของเงินทุนต่างประเทศได้ชะลอตัวลง แต่ยังมีฐานะของเงินทุนไหลออกสุทธิติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งส่งผลในทางลบต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก การเร่งชำระคืนหนี้ต่างประเทศจึงเป็นประเด็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันผลกระทบทางลบที่มีต่อการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
http://www.kasikornbank.com/Publication/DeTail/1,1053,f~145-TH-1,00.html

- เพราะการวางแผนการบริหารจัดการที่ดี

เพราะหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระเบิดแนวคิดดังกล่าวออกมาเมื่อประมาณกลางปี 2545 เพื่อต้องการจุดพลุความเป็นไท โดยหวังจะเป็นไฮไลต์ที่จะมาประกาศก้องหลังเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เสมือนหนึ่งจะให้เป็นของขวัญรับวันปีใหม่แก่คนไทย

แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย กลับต้องทำงานอย่างหนักเพื่อจะชี้แจงให้ซีกทำเนียบรัฐบาลเข้าใจว่า แม้การชำระหนี้ก่อนกำหนดจะมีผลดี แต่ก็ต้องมีจังหวะเวลาที่เหมาะสม เพราะสถานการณ์สงครามระหว่างสหรัฐกับอิรัก ที่ยังอึมครึม ไม่รู้จะออกหัวออกก้อยอย่างไรนั้น ไทยยังจำเป็นต้องเตรียมทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศไว้รับมือในกรณีที่เงินตราต่างประเทศไหลออกด้วย

เพราะแม้ว่าจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ไทยจะมีทุนสำรองทางการอยู่ถึง 3.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐที่จะชำระคืนแล้ว ถือว่าเล็กน้อยมาก เพราะเรายังมีทุนสำรองเหลือประมาณ 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วทุนสำรองที่มีอยู่นั้น กลับมีภาระผูกพันอยู่เกือบทั้งหมด โดยทุนสำรองหน้าตักที่มีอยู่ 3.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐนั้น เป็นทุนสำรองในฝ่ายออกบัตรธนาคารที่มีไว้เพื่อหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรออกใช้ 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะอยู่ จะนำออกมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อขออนุมัติจากสภาแล้วเท่านั้น

เมื่อหักทุนสำรองในส่วนของฝ่ายออกบัตรไป ก็จะเหลือ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่เนื่องจาก ธปท. ยังมีภาระที่หนี้เงินตราต่างประเทศล่วงหน้าหรือที่เรียกว่าภาระสว็อปอยู่ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหากชำระหนี้ไอเอ็มเอฟงวดเดียว 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไทยก็จะมีทุนสำรองทางการจริงๆ เหลืออยู่เพียง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

ในภาวการณ์ปกติ ทุนสำรอง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้นก็น่าจะเพียงพอ เพราะในแต่ละเดือนเราจะมีเงินดอลลาร์จากการเกินดุลชำระเงินไหลเข้ามาเป็นทุนสำรองทางการอยู่ ซึ่งปี 2546 นี้ ธปท. คาดการณ์ว่าเราจะเกินดุลชำระเงินประมาณ 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งก็จะทำให้ทุนสำรองทางการรวมในช่วงปลายปี 2546 ขยับมาอยู่ 3.5-3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

แต่ปัญหาคือ ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีนี้ มีแนวโน้มว่าสงครามอิรัก-สหรัฐที่ระอุมานานจะปะทุขึ้น และจากบทเรียนเมื่อครั้งสงครามอ่าวเปอร์เชีย ประเทศไทยมีเงินไหลออกประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากมองในแง่อนุรักษนิยมว่า สงครามอิรัก-สหรัฐงวดนี้ จะทำให้เงินไหลออกใกล้เคียงกับสงครามอ่าวเปอร์เชีย ไทยก็ควรจะมีทุนสำรองไว้รองรังไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐเช่นเดียวกัน

ซึ่งหากชำระหนี้ไอเอ็มเอฟรวดเดียวจบอย่างที่ท่านผู้นำคิดใหม่ทำใหม่ต้องการ ทุนสำรองฯ ที่เหลืออยู่ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐจะไม่พอรับมืออย่างแน่นอน

รายการเจรจาต่อรองจึงเกิดขึ้น และผลก็ออกมาอย่างที่เห็นคือ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2546 ออกมาว่าจะให้มีการชำระหนี้ก่อนกำหนด โดยการให้ ธปท. ทยอยชำระเป็นงวด อาจจะเป็น 3 งวดหรือ 6 งวดแล้วแต่สถานการณ์ และให้เสร็จสิ้นภายในกลางปี 2546 ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด

เพราะการทยอยชำระเป็นงวดนั้น จะทำให้ ธปท. มีเวลาสะสมทุนสำรองจากการเกินดุลชำระเงิน ซึ่งประเมินว่าไตรมาสแรกปีนี้จะเกินดุลชำระเงินประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาส 2 อีก 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อถึงสิ้นปีแล้ว ไทยจะมีทุนสำรองทางการรวมแล้วอย่างต่ำประมาณ 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ ธปท. เห็นว่าเหมาะสมกับการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

การชำระหนี้คืนไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดจึงจบลงด้วยดี
เศรษฐกิจ มติชนรายสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2546 ปีที่ 23 ฉบับที่ 1169 หน้า22

สรุป แม้จะมีคนขี้อิจฉาพยายามบอกว่าการชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดไม่ใช่ผลงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ถ้ามองด้วยมุกหากินซ้ำซากก็ต้องบอกว่า เป็นเพราะทุกภาคส่วนช่วยกัน แต่อย่างไรก็เหอะทุกอย่างมันต้อง
ขึ้นกับความเป็นผู้นำที่มีความสามารถเท่านั้น ถึงจะดึงทุกภาคส่วนให้ทำงานสอดคล้องกันจนสามารถ สร้าง
รายได้เข้าประเทศในภาวะที่มีสงครามจากการก่อการร้ายระดับสากลในหลายประเทศ นโยบายหลักและการ
แก้ปัญหาที่รู้จริงและทันท่วงทีจึงสามารถทำให้ตัวเลขทุนสำรองฯ เพิ่มจนอยู่ในระดับที่ชำระคืนไอเอ็มเอฟ
แล้วประเทศยังอยู่ได้อย่างสบาย ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม และปลดภาระสัญญาต่างๆ ที่ต้องทำไว้ด้วย

การอ้างตัวเลขไร้สาระที่เป็นแค่ส่วนประกอบปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละจุด มันไม่ได้เกี่ยวกับความจริงที่
ว่า สมัยชวนมีเงินไม่พอที่จะชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ แม้จะบริหารต่อก็ไม่แน่ว่าจะพอ เพราะปัจจัยภายนอกประเทศ
และภายในประเทศที่คาดไม่ถึงอีกตั้งเยอะ เช่น โรคซาร์ สงครามอัฟกานิสถาน การก่อการร้าย เนื่องด้วยเป็น
อดีตที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง ก็จะมีคนจินตนาการไปเรื่อยเหมือนต่อยอดกราฟว่าต่อไปก็ชำระได้ แต่ชีวิตจริงมันดัน
ไม่เหมือนกับเส้นกราฟ ประชาชนส่วนมากเห็นแววอดอยากไม่จบไม่สิ้น ความสามารถก็แค่ไม่มีหนี้เพิ่มคงไม่
พอ เลยไม่ยอมเลือกอีก เหลือไว้เป็นแค่ฝ่ายค้านเล็กๆ ประดับสภา ปล่อยให้ทักษิณแสดงความสามารถเต็มที่
และก็ทำได้ไม่เป็นที่ผิดหวังของคนที่เลือก ด้วยผลงานดังที่กล่าวมา สำหรับ ชวน เหรอ ไม่มีปัญญาก็เรียกว่า
อิจฉาอะดิ จริงมั้ยคร้าบ พี่น้อง :slime_bigsmile:

http://www.bot.or.th/BOTHomepage/BankAtWork/AboutBOT/InternationalAffairs/InterCentralBank/IMF/8-11-2000-Th-i/imf.htm

Cherub Rock:
 :slime_whistle:

northstar:
 :slime_sleeping:

ชัย คุรุ เทวา โอม:
ทั้งหมดนี้มีอะไรมั้ยนอกจาก คำแถลงของพรรคไทยรักไทย

และการโฆษณาที่เราเคยได้ยินมา มีอะไรใหม่มั้ย :slime_evil:

Sweet Chin Music:
 :slime_sleeping: :slime_sleeping: :slime_sleeping:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป