ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 04:04
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  การก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อการพัฒนา หรือ เพื่อนายทุน?? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
การก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อการพัฒนา หรือ เพื่อนายทุน??  (อ่าน 5710 ครั้ง)
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« เมื่อ: 05-09-2007, 19:12 »

หลังจากการชุมนุมประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ ท้องถิ่นต่างๆ

เป็นการแสดงถึงการที่กลุ่มชนท้องถิ่นต่างๆ เล็งเห็นถึงผลในอนาคต

เนื่องจากในปัจจุบันนั้น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าในแต่ละที่นั้น

เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น

การก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น จึงก่อให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนทั่วไป

ที่จะเห็นได้จากการประท้วงคัดค้านในแต่ละครั้ง

ที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่ภาครัฐให้การสนับสนุนการทำ โรงไฟฟ้านั้น

อาจจะมีอะไรแอบแฝงอยู่ เช่นเดียวกับการเข้ามาของทุนข้ามชาติ

สิ่งจำเป็นของการที่เราจะช่วยสิ่งแวดล้อมของชาติได้นั้น

คือต้องคัดค้าน เพื่อไม่ให้เกิดการณ์ทำลายสิ่งแวดล้อม จากโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือ จากสารเคมีต่างๆ

แต่อย่างไรก็ตามการที่มีโรงไฟฟ้านั้น อาจจะเห็นได้ว่ามีคนเห็นด้วย

เพราะพวกนายทุนที่ต้องการทำ ยังคงส่งข่าวในแนวว่า จะมีการจ้างงาน มีเงินเข้ากระเป๋า เข้าชาติ ไฟฟ้าจะมีใช้อย่างดี

แต่สิ่งเหล่านั้นก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่อของนายทุน เช่นเดียวกับทุนข้ามชาติทั้งสิ้น

แต่ที่สำคัญที่เราควรพิจารณาคือการที่เราจะได้รับประโยชน์เพียงใดจากการทำครั้งนี้ ประเทศชาติจะพัฒนา หรือ สิ่งแวดล้อม จะแย่ลง เป็นสิ่งที่คุ้มกันหรือไม่

ดั่งที่การสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สัตว์ป่า เสียพื้นที่แหล่งอาหารไปนับหลายร้อยหลายพันไร่

หรือการคัดค้านโรงไฟฟ้า ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูด ซึ่งชาวบ้านตะหนักถึงภัยสิ่งแวดล้อมที่มาเยือน

หรือล่าสุดการคัดค้านการเข้ามาทำโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แสนล้าสมัยของ IRPC ในศรีราชา

ดั่งเช่นนี้จะเห็นได้จากคนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม มีมากมาย เช่นเดียวกับคนที่มีอุดมการณ์



ขอคารวะ แด่คุณ เจริญ วัดอักษร

เจริญ วัดอักษร นักอนุรักษ์บ้านบ่อนอก คือ แรงบันดาลใจหนึ่งในตำนานประชาชนหลาย ๆ บทของ ‘คน’ ธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่ลุกขึ้น ‘สู้-ปกป้อง’ ทรัพยากรท้องถิ่นจากอภิมหาโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ การฉกฉวยเอาประโยชน์และความพยายามอนุมัติโครงการโดย ‘รัฐ’ ปรนเปรอ ‘ทุน’ อุตสาหกรรม ด้วยเหตุผลสุดคลาสสิกเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานสำรองของคนทั้งประเทศ…

สู้ต่อไปเถิด ผู้กล้าทั้งหลาย ........


ขอขอบคุณ www.thaingo.org

http://www.oknation.net/blog/amalit1990
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-09-2007, 19:16 โดย amalit1990 » บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05-09-2007, 20:52 »

ความจริงแล้วการสร้างโรงไฟฟ้า ชาติและประชาชนจะได้ประโยชน์สูงนะครับ

อาจจะสร้างขึ้นรองรับการใช้ไฟฟ้าของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น แต่เห็นด้วยครับที่โรงไฟฟ้าหลายแบบทำลายสภาวะแวดล้อม

ตอนนี้ยังได้ยินมาอีกด้วยว่า จะมีการผลักดันสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ไม่ทราบว่าจังหวัดไหนจะเจอแจ็คพอร์ต

ส่วนเรื่องการแปรรูป รัฐบาลต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ละครับ คงจะหน้าด้านแปรรูปเหมือนสมัยทักษิณไม่ได้แล้ว

ถ้าศาลเล็งเห็นว่าการแปรรูปทำให้ประเทศชาติเสียเปรียบพวกเอกชนก็อาจจะสั่งระงับเอาไว้เหมือนตอนสมัยทักษิณก็ได้ใครจะรู้
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #2 เมื่อ: 05-09-2007, 21:35 »


ตามปกติแล้ว กระทรวงพลังงาน จะวางแผนการใช้ไฟฟ้าล่วงหน้ามากกว่า 15 ปี ในที่นี้หมายถึงทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว

ด้วยความที่ประเทศไทยห่างไกลการเป็นประเทศเกษตรกรรมเพียวๆ มีส่วนผสมทั้งการเกษตรและการอุตสาหกรรม

จึงหนีไม่พ้นที่การประเมินอัตราการใช้กระแสไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยใช้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องวางแผนสร้างโรงไฟฟ้ารองรับความต้องการ

มีทั้งการสร้างโรงงานในประเทศ และการรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และพม่า

แต่สำหรับพม่า เหตุลอบทำร้ายด้วยการปาระเบิดใส่แคมป์ที่พักของพนักงานการไฟฟ้าในเขตชายแดนพม่าเมื่อต้นเดือน

ทำให้การไฟฟ้า และรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน จำเป็นต้องชะลอโครงการร่วมลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าตามแนวแม่น้ำสาละวิน

และเปลี่ยนเป็นการซื้อกระแสไฟฟ้าจากประเทศลาวทดแทน (ความจริงแล้วเราก็มีแผนจะซื้อจากลาวแล้วก่อนหน้านี้)
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #3 เมื่อ: 05-09-2007, 21:42 »


สำหรับ จ.ระยอง จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้า เพราะเป็นจังหวัดแห่งนิคมอุตสาหกรรม

แต่ท่านทราบกันหรือไม่ว่า ชาวระยอง ทุกข์ทรมานกับมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกว่า 10 ปี แล้ว

หลายๆ ชีวิต กำลังนับถอยหลังรอวันตาย เพราะโรคมะเร็ง เด็กๆ หลายโรงเรียนประสบปัญหาการเรียน

เพราะเขม่าควันจากโรงงานเข้าไปในห้องเรียน

ความอดทนสิ่นสุดลงเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เพราะภาครัฐไม่เหลียวแลแก้ไขปัญหา

ปล่อยให้มีการอนุมัติขยายพื้นที่โรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คำนึงถึงการถ่วงดุลระหว่างอุตสาหกรรมกับชีวิตมนุษย์

ไม่ใส่ใจว่าประชาชนในพื้นที่จะทรมานเพียงใด เนื่องจากผู้บริหารประเทศไม่ได้มีบ้านที่นั่น จึงไม่เข้าใจความรู้สึก

ณ วันที่ความอดทนสิ้นสุด ประชาชนนึกขึ้นได้ว่า ในเมื่อเราพึ่งผู้บริหารประเทศไม่ได้ เราก็ต้องพึ่งตัวเอง

ด้วยการออกมาคัดค้าน จาก 10 คน ขยายเป็น 100 เป็น 1000 เป็น 10000

เราควรน่าดีใจหรือไม่ ที่ประชาชนตระหนักถึงวาระแห่งหลังพิงฝา เหลือทางเดียว คือ ต้องสู้เท่านั้น
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #4 เมื่อ: 05-09-2007, 21:51 »


จริงอยู่ที่ว่า เราไม่สามารถปฏิเสธการใช้พลังงานได้ เราไม่สามารถปฏิเสธโรงไฟฟ้าได้

แต่โรงไฟฟ้าที่รัฐจัดให้ ต้องมาพร้อมกับความไว้วางใจว่า

ในเมื่อท่านจะให้ตั้งโรงไฟฟ้าในเมือง ประชาชนรอบๆ โครงการ ต้องปลอดภัย

เพราะคุณค่าของชีวิต สุขภาพ ของคน ล้ำค่ายิ่งกว่า GDP

หากรัฐจะให้สร้างโรงไฟฟ้า ต้องสร้างในมาตรฐานสูง ซึ่งต้นทุนย่อมสูงไปด้วย

เราจะไม่ปฏิเสธโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน หากมีกระบวนการกลั่นกรองเขม่าควันที่มีมาตรฐาน

ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็มีโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินกลางเมือง อยู่ร่วมกับชุมชน ถามน้องใบไม้ทะเลดูก็ได้

แต่ประเทศเรา เอามักง่ายเข้าว่า เอาถูกเข้าว่า เอากำไรสูงสุดเข้าว่า ลืมนึกถึงต้นทุนชีวิตมนุษย์

ก่อนจะตั้งโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ โปรดตรวจสอบโรงไฟฟ้าที่กำลังเริ่มเดินเครื่อง ที่ซื้อถ่านหินจากออสเตรเลียก่อน

ถ้าคุมมลพิษในระดับที่ยอมรับได้ ค่อยมาคุยกันใหม่

คนระยองที่นั่งชุมนุมข้างถนนสุขุมวิทอยู่ขณะนี้ มีรายหนึ่ง ตะโกนบอกว่า

one man one teen ฮิ
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #5 เมื่อ: 05-09-2007, 22:06 »

เคยเห็น UN กับพวก NGO ไปช่วยสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโซล่าเซลล์ตามหมู่บ้านในทาจิกิสถานครับ ทำให้ชาวบ้านมีไฟฟ้าใช้มีคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนในโรงเรียน ชุมชนพัฒนาขึ้นชาวบ้านเค้ามีรายได้เพิ่มก็เอาเงินมาลงขันช่วยกันปรับปรุงและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของชุมชนตัวเอง เค้าสามารถใพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรู้คุณค่าของมัน เพราะต้นทุนส่วนหนึ่งก็มาจากกระเป๋าของพวกเค้าเอง

เห็นด้วยว่าการพัฒนาน่าจะพิจารณาความเจริญแบบจีรังยั่งยืนอย่างท่านไทมุงว่าไว้ มากกว่าจะเน้นต้นทุนถูกเข้าว่าแต่หายนะรออยู่ข้างหน้าครับ ชุมชนที่เป็นเมืองใหญ่อยู่แล้ว เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ แต่ในพื้นที่ห่างไกลน่าจะพยายามทำให้ชุมชนย่อยมีแหล่งพลังงานของตัวเองมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #6 เมื่อ: 05-09-2007, 22:36 »


คุณ so what? ผู้กำหนดนโยบายประเทศของเราเป็นพวกมักง่าย

ชอบแต่ของถูกๆ ของถูก ใครๆ ก็ชอบ แต่ของถูกอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีราคาค่าใช้จ่ายมหาศาลตามมา

หากใครมีญาติพี่น้องชาวระยองที่กำลังเป็นโรคมะเร็งปอด จะรู้ซึ้งถึงคำว่า "มีเงินแค่ไหนก็ซื้อชีวิตไม่ได้"

เผลอๆ "ยื้อ" ชีวิตยังไม่ได้เลย โหดร้ายไปรึเปล่า กับการเกิดมาเป็นชาวบ้าน

สิ่งที่คุณso what? พูดถึง คือ แนวทาง feed in law คือการผลิตกระแสไฟฟ้าเอง ใช้เอง ที่เหลือป้อนขายเข้าสายส่ง

แต่วิธีนี้ ไม่อาจสร้างกำไรให้แก่ กฟผ.และ ปตท.ได้เท่ากันลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน

กฟผ.เสียเงินเยียวยาชาวแม่เมาะไปเท่าไหร่ เงินหลายร้อยล้านนี้ สุดท้ายก็ย้อนกลับมาเป็นต้นทุนอยู่ดี

ก่อนการวางนโยบาย รัฐต้องคำนึงถึงต้นทุนในอนาคตด้วย อย่าลำพองว่ามีโครงการ 30 บาท

เพราะค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขอันเกิดจากปัญหามลพิษนั้น ก้อนเบ้อเริ่ม

อย่าเอาใจพวกเอกชนที่ประมูลได้ให้มาก อย่าเห็นแก่เศษเงินที่โยนมาให้

นึกถึงหัวใจของคนสูญเสียบ้าง เลิก "นิสัยนักการเมือง" ได้แล้ว

วันนี้ หากเลิกไม่ได้ ก็ "ลด" เสียก่อน หัดไว้ ช่วงแรกนักการเมืองอาจหิวโซ

แต่นานๆ ไปจะชิน ติดเป็นนิสัย แล้วเมืองไทยจะก้าวเข้าสู่ความเจริญทางจิตซักที
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #7 เมื่อ: 06-09-2007, 00:40 »

ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจอย่างกฟผ.เค้าต้องพยายามสร้างกำไรให้กน่วยงานครับ ท่านไทมุง อันนี้ก็เพื่อความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน รู้ทั้งรู้ว่ามันไม่ดีแต่ก็ยังตัดสินใจทำโครงการ ไม่งั้นไม่มีผลงาน

แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนพลังงานมันก็มาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างรวดเร็ว และการขยายตัวของเศรฐกิจ ถ้าประชากรเพิ่มแบบนี้ การพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นไปไม่ได้หรอกครับ มัน ideal เกินไป เหมือนกับไอ้เหลี่ยมมันเห่าหอนว่าอีกหกปี (ตอนนี้เหลือไม่ถึงสามแล้ว) คนจนจะหมดประเทศนั่นแหละครับ ตอนนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมันเริ่มเห็นชัดขึ้นมากแล้ว อย่างปัญหาน้ำท่วมหลายๆที่ที่ทำให้คนตายเป็นเบือนี่ก็ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต ทุกคนก็รู้ว่าเกิดจากโลกร้อน น้ำแข็งละลาย เอาเป็นว่าถ้าไม่รีบกลับตัวกลับใจกันซะก่อนตอนนี้ อีกหน่อยคงได้สูญพันธุ์กันแบบไดโนเสาร์ครับ   Mr. Green
บันทึกการเข้า
หาเพื่อนหยิงคุยแก้เหงาครับ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,131


กูรู้มึงต้องอ่าน ฮ่าๆ ขำขำนะจ๊ะ


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 06-09-2007, 00:47 »

อื้ม.........นี่ก็สะท้อนให้เห็นถึงพวกพวกที่ทำงานใหญ่ๆมักง่ายขอแค่ถูกแต่กำไรเนอะไว้ก่อนเป็นหลัก
บันทึกการเข้า

ขอมอบ เพลงนี้ให้กับพี่น้อง พันธมิตรทุกคนฮะ


http://www.imeem.com/sakujo/music/04_GaHIQ/09_avenged_sevenfold_strength_of_the_worldmp3/

strength of the world
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #9 เมื่อ: 06-09-2007, 01:42 »

ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าแบบที่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดก็ทำได้ แต่นี่เล่นกำหนดสเปคว่าต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถ้าให้เลือกผมเลือกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #10 เมื่อ: 06-09-2007, 06:09 »

ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าแบบที่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดก็ทำได้ แต่นี่เล่นกำหนดสเปคว่าต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถ้าให้เลือกผมเลือกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ได้ แต่ต้องมาตรฐานปานกลางขึ้นไป

ไม่ใช่มาตรฐานต่ำแบบที่กำหนดสเปคไว้
บันทึกการเข้า
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 06-09-2007, 08:56 »

ชาวสมุทรสงครามชุมนุมประท้วงคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่

ประชาชนนับหมื่นคน ในจังหวัดสมุทรสงครามชุมนุมประท้วงคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่   พร้อมขู่จะเผาทิ้งทันที  หากเริ่มโครงการ

ที่หน้าหอประชุมองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม  ประชาชนและนักเรียนนับหมื่นคน 

ใช้โอกาสที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. และบริษัทเอกชนที่ร่วมผลิตไฟฟ้า เชิญประชาชนในพื้นที่ มาร่วมทำประชาพิจารณ์

รับฟังความคิดเห็น และศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหิน ในพื้นที่ตำบลบางแก้ว  อำเภอเมือง 

การแสดงพลังคัดค้านการก่อสร้าง โดยมีทั้งการถือป้ายประท้วง  และวางพวงหรีด พร้อมขู่จะเผาทิ้งทันทีที่มีการก่อสร้างโครงการ เบื้องต้น

เจ้าหน้าที่ได้กั้นพื้นที่ และไม่อนุญาตให้กลุ่มผู้ประท้วง เข้าไปภายในหอประชุม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้ประท้วงเป็นอย่างมาก 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น ล่าสุด จึงอนุญาตให้กลุ่มผู้ประท้วง ส่งตัวแทนเข้าร่วมฟังการทำประชาพิจารณาได้

ขณะเดียวกันก็ยังมีประชาชน ที่ไม่เห็นด้วยเดินทางมาร่วมชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่อง


[ 2007-09-05 : 12:04:24 ]

   
   
   
Copyrights © MCOT 
------

3. ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสมุทรสงคราม



พื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มริมทะเลโดยตลอด สภาพของดินเป็นดินเหนียวปนทราย ไม่มีภูเขาหรือเกาะ

เดิมเคยมีป่าโกงกาง ไม้แสม ตามชายฝั่งทะเลและมีป่าจากตามปากแม่น้ำ

แต่ปัจจุบันได้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเกือบทั้งหมด ต่อมาการเลี้ยงกุ้งได้เกิดการขาดทุน

ทำให้ปล่อยบ่อกุ้งรกร้างจำนวนมากแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่าน คือ แม่น้ำแม่กลองผ่านบริเวณท้องที่อำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา

ไปออกทะเลอ่าวไทย ที่บริเวณปากแม่น้ำแม่กลองในเขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม นอกจากนี้มีลำคลองใหญ่น้อยมากมาย

แยกจากแม่น้ำแม่กลอง 338 คลอง ลำประโดง 1,947 ลำประโดง กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จากสภาพภูมิประเทศเช่นนี้

ทำให้เกิดความสะดวกในด้านการคมนาคมทางน้ำ และการประกอบอาชีพด้านกสิกรรม


http://www.samutsongkhram.go.th/place.htm


อ่านแลวคิดว่าไงครับ... คิดว่าใครกันเเน่ที่มันบ้า...บ้าที่เอาไอ้ของแบบนี้มาตั้งในลักษณะพื้นแบบนี้..
   
พื้นที่คนในจังหวัดนี้ส่วนมากก็ทำอาชีพเกษตรกรรมทั้งสิ้น..ที่ว่าใครอยู่เขตสวนก็ทำสวน..ใครอยู่เขตชายทะเลก็ประมง...

ใครอยู่ดอนก็ทำนาเกลือ.ก็ไอ้เเถวที่เขาจะตั้งโรงไฟฟ้านั้นเเล....


แล้วจะเอาไอ้ของแบบนี้มาไว้ที่จังหวัดนี้มาหาพระเเสงอะไร..รึว่าจะให้เเม่นำลำคลองมันเน่าพอกะคลองในมหาชัยสมุทรงสาคร.

ทั้งที่ในคลองเเม่กลองเขาก็เลี้ยงปลากระพงกันทั้งริมสองฝั่ง..


ปล.

เดี๋ยวนี้ป่าโกงกางนะมันก็ยังมีอยู่แต่ไม่มากเท่ากะของเดิมเท่านั้น...มิใช้ว่าไม่มีเลย..ตามที่ไอ้ข้อมูลในเวปมันว่ามา..
 
ผมก็เลยสงสัยว่าไอ้คนข้อมูลนี้มันจังหวัดไหนกันเเน่ฟระ


และก็ไอ้เขาตรง วัดเขายี่สารน่ะเขาเรียกว่าอะไรอีกล่ะฟระ ผมล่ะหน่ายใจกะไอ้คนอัพเดทข้อมูลจริงๆ

เนี๊ยจากข้อมูลของเวปทรท.

http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Samutsongkram/data/place/pic_wat-khao-yisarn.htm
 
บันทึกการเข้า
ใบไม้ทะเล
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,321


In politics stupidity is not a handicap


« ตอบ #12 เมื่อ: 06-09-2007, 09:08 »

โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ระยอง แปลกใจ คือตอนนี้อยู่ระหว่างทำ EIA  แต่ทำไมบริษัททำเหมือนจะสร้างได้  

เมื่อประเทศเรามีการพัฒนา ทุกอย่างก็ต้องมีการพัฒนาควบคู่กับไปหมด เมื่อเราได้สิ่งหนึ่ง เราก็มักจะเสียสิ่งหนึ่งควบคู่กันเสมอ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆๆค่ะ ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรักชาติ เห็นประโยชน์ของชาติมากน้อยแค่ไหนกัน ยอมเสียสละกันมากแค่ไหน.......

ตอนสมัยเรียนวิชา EIA  ไม่เอาดีกว่า เขียนไหม ตอนเรียน EIA นั้น   มีเจ้าหน้าที่จาก หน่วยงานแห่งหนึ่งมาให้คำบรรยาย เห็นเขาบอกว่า เรามีโครงการสร้างเขื่อนเยอะมาก เกือบร้อยกว่าที่ (ถ้าอนาจำไม่ผิดนะ) แต่โดนสกัดกั้นเกือบหมด  แต่อย่าลืมต่อไปประเทศจะพัฒนามากขึ้น ความต้องการพลังงานย่อมสูงขึ้น เราจะทำยังไง ไปซื้อไฟฟ้าจากเขมร พม่า เวียดนามอย่างงั้นเหรอ เหมือนที่ทุกวันนี้ตอนนี้เราซื้อไฟฟ้าจากลาว

ทรัพยากรธรรมชาติใครๆๆก็รักค่ะ เพราะเราอยู่กับมันทั้งชีวิต ถึงพวกเราเป็นนักอนุรักษ์ ก็พยายามทำในส่วนที่ไม่กระทบการพัฒนาของชาติของส่วนรวม แล้วเราเป็นมนุษย์ผู้มีกิเลศอยากพัฒนาตนแบบไม่หยุดยั้ง เราต้องยอมเสียส่วนหนึ่งแต่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด สงสารประเทศค่ะ ป่าไม้ ป่าชายเลน เราสูญเสียแบบไมได้อะไรมาเยอะแล้ว อย่างน้อยโรงงานไฟฟ้าก็น่าจะให้อะไรประเทศเราบ้าง
 
บันทึกการเข้า

立てばしゃくやく、座ればぼたん、歩く姿はゆりの花
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #13 เมื่อ: 06-09-2007, 09:58 »

^
^
^
พูดได้ดี

 
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #14 เมื่อ: 06-09-2007, 10:41 »

การจะสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน โรงงาน วางท่อก๊าซ,น้ำมัน ฯลฯ
ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ แต่ต้องรอบคอบคิดถึงผลได้ ผลเสียให้ดี
ที่สำคัญต้องจริงใจในการจัดทำโครงการ เปิดเผยและโปร่งใส
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยเห็นมีโครงการไหนทำแบบนี้ได้เลย
ตั้งแต่ EIA หลอกๆ เขียนข้อมูลเอาเอง ปกปิดข้อมูลสำคัญทางสิ่งแวดล้อม
การเกณฑ์ชาวบ้านมาทำประชาพิจารณ์ กีดกันคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ
การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้สามารถทำโครงการได้ การเสนอแต่ผลประโยชน์ที่ได้รับ
ไม่เคยสนใจชาวบ้านในพื้นที่จริงๆ ไม่เคยสนใจสิ่งแวดล้อม
ไม่คำนึงถึงต้นทุนที่นอกเหนือต้นทุนที่ใช้ในการผลิตเพื่อทำกำไร
ผลก็คือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและต้องทนรับกรรมที่ภาครัฐเป็นคนยัดเยียดให้
ซึ่งหากคิดในทางกลับกัน การไม่สร้างกลับมีผลประโยชน์ในระยะยาวให้กับชาวบ้านมากกว่า

แค่คิดว่าใครได้ ใครเสีย ก็คงตอบคำถามได้แล้วว่า "สร้างไปเพื่ออะไร??"
บันทึกการเข้า
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #15 เมื่อ: 06-09-2007, 10:46 »

สร้างแล้วคุ้มหรือไม่? ถ้าคุ้มก็สร้าง ไม่คุ้มก็อย่าสร้าง
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



« ตอบ #16 เมื่อ: 06-09-2007, 11:17 »

ท่านท้าวสงสัยมานานแล้วว่า

ทำไม เราไม่ผลิต Biogas จากอุจจาระของคน เพราะโดยศักยภาพของคนกรุงเทพแล้ว ท่านท้าวว่าสามารถผลิตอจุจาระได้วันละไม่ต่ำกว่า พันตัน

ตีซะว่า คนกรุงเทพที่ท้องผูก ยังไงก็ต้องอึได้โดยเฉลี่ยวันละสองขีด ใครสุขภาพดี อาจจะได้ถึงครึ่งโลต่อวัน

จำนวนคนกรุงเทพตามทะเบียน 5.6 ล้านคน ถ้ารวมประชากรแฝงอีก ก็เกือบๆเจ็ดล้านคน วัตถุดิบหายห่วง

ท่านท้าวเคยไปดูโรงหมูที่ราชบุรี เค้าใช้มูลสัตว์ ก็คือขี้หมูน่ะแหล่ะมาผลิต Biogas หมูแค่หมื่นตัว สามารถผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในระบบปรับอากาศในโรงหมูได้

แถมยังมีไฟฟ้าส่วนเกินขายคืนให้กับการไฟฟ้าอีก จากคนที่เคยเป้นหนี้ค่าไฟ ปัจจุบันสามารถขายคืนไฟฟ้าได้ มันน่าสนใจไม่ใช่รึ

ยิ่งทุกวันนี้ ระบบการผลิตไฟฟ้าจาก Biogas สมัยใหม่ ไม่ใ้ช้่ระบบเครื่องปั่นไฟ ที่ต้องมีการเผาไหม้ภายในเครื่อยนต์ และก่อมลภาวะจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

ที่มีทั้งกลิ่นและเขม่าควัน รวมทั้งสารตกค้างในบรรยากาศจำนวนมาก ซึ่งก่อมลภาวะให้แก่โลก

แต่ระบบการผลิตไฟฟ้าจาก Biogas ยุคใหม่ ใช้ Fuel Cell หรือเซลเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ผลได้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเซลเชื้อเพลิง

นอกจากจะได้ไฟฟ้าแล้ว ยังจะได้น้ำร้อนอุณภูมิสูง 700 องศาที่นำมาเข้าเครื่องกังหันเทอร์ไบน์เพื่อปั่นไฟได้อีกรอบหนึ่ง

สุดท้ายของเสียก็คือ น้ำ กับ คาร์บอนไดออกไซด์ และสารตกค้างอีกไม่มากนัก

แม้ว่าต้นทุนของเซลเชื้อเพลิงจะยังมีราคาที่สูง แต่การลงทุนน่าจะได้ผลกำไรที่ตกสู่แก่สิ่งแวดล้อมได้มากกว่า

ท่านท้าวเชื่อว่า ถ้าสนับสนุนให้คนกรุงเทพ กินและถ่ายเยอะๆ เราจะมีเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ให้พวกเราใช้ได้อีกนาน

ดังนั้น วันนี้

คุณถ่ายแล้วหรือยัง

อึของคุณมีค่า โปรดอย่ากดชักโครกอย่างสูญเปล่า

ขออึคุณให้เราเถอะครับ

เหล่านี้คือสโลแกนใหม่ของคนกรุงเทพ ในยุคที่ อึมีค่า อย่าเอาไปาใส่นักการเมืองเล่นเชียว

ฮ่าฮ่า่ฮ่า
บันทึกการเข้า
GTD-111
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #17 เมื่อ: 06-09-2007, 14:38 »

ในฐานะที่เคยทำงานในแวดวงของพลังงานไฟฟ้ามานาน ขออธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่ง

ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ตาม จะก่อให้เกิดมลพิษเหมือนกันหมด เช่น SO2, NOx, เมข่า ต่างๆ
แต่ก็สามารถที่จะลดให้มลพิษเหล่านั้น อยู่ในระดับที่ผ่านกฏหมายเรื่องมลพิษ
ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงไฟฟ้าได้ออกแบบมาแต่ต้นแล้ว แต่ในการใช้งานจริงๆ มันมีหลายปัจจัย ที่ทำให้มลพิษเพิ่มขึ้นจนเลยระดับที่กฏหมายกำหนด
ดังนั้นจึงต้องสร้างอุปกรณ์สำหรับกำจัดมลพิษส่วนเกินมาเหล่านั้น ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มในการสร้างอุปกรณ์กำจัดมลพิษเหล่านั้น
ตอนนี้ก็เป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแล้วว่า ยินดีที่จะจ่ายค่าพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในการจัดการกับปัญหามลพิษ หรือไม่

ี้จากที่ผ่านมาจะเจอแต่ว่า ค่าพลังงานไฟฟ้าจะต้องถูกสุด โดยไม่สนใจเรื่องมลพิษที่เกิดขึ้น โดยการผลักให้โรงไฟฟ้าต่างๆ ออกไปยังส่วนที่ห่างไกลจากแหล่งที่อยู่อาศัยที่ตัวเองอยู่ แต่จะไปสร้างปัญหาที่อื่นหรือไม่ ไม่ค่อยมีคนสนใจกันเท่าไร

เห็นได้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ มีแต่จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว เมื่อมีการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมารองรับการใช้พลังงานไฟฟ้า ก็จะถูกคนในพื้นที่ที่โรงไฟฟ้าไปสร้างต่อต้านให้ไปสร้างที่อื่น เป็นทุกพื้นที่เลย

เมื่อมีการพูดถึงการขึ้นราคาพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำไปเป็นต้นทุนในการกำจัดมลพิษ ก็จะมีเสียงต่อต้านทุกครั้งเหมือนกัน

เลยได้ข้อสรุปว่า ทุกคนอยากจะมีไฟฟ้าใช้งาน ในราคาที่ถูกที่สุด แต่ไม่อยากให้โรงไฟฟ้ามาสร้างอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่ตัวอยู่ ให้ไปสร้างและก่อมลภาวะ ที่อื่นเพื่อให้ตัวเองมีพลังงานไฟฟ้าในราคาถูกไว้ใช้งาน
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #18 เมื่อ: 06-09-2007, 15:38 »


ซึ่งเป็นสิ่งที่โรงไฟฟ้าได้ออกแบบมาแต่ต้นแล้ว แต่ในการใช้งานจริงๆ มันมีหลายปัจจัย ที่ทำให้มลพิษเพิ่มขึ้นจนเลยระดับที่กฏหมายกำหนด
ดังนั้นจึงต้องสร้างอุปกรณ์สำหรับกำจัดมลพิษส่วนเกินมาเหล่านั้น ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มในการสร้างอุปกรณ์กำจัดมลพิษเหล่านั้น


เคยได้ยินปัจจัย "ปิดเครื่องบำบัด เพื่อลดต้นทุน" กับปัจจัย "เปลี่ยนกฎหมายเพิ่มค่ามาตรฐาน" ไหมครับ
นั่นแหละ ที่ชาวบ้านเขากลัวที่สุด เพราะมันเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ตรวจสอบไม่ได้ ใช้อ้างอิงเพื่อป้องกันการต่อต้านได้ด้วย
ส่วนไอ้เรื่องค่าไฟ เวลาจะขึ้นจริงๆชาวบ้านเคยทำอะไรได้ นอกจากบ่นแล้วก็จ่ายเงินออกจากกระเป๋าเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #19 เมื่อ: 06-09-2007, 17:26 »

เคยได้ยินปัจจัย "ปิดเครื่องบำบัด เพื่อลดต้นทุน" กับปัจจัย "เปลี่ยนกฎหมายเพิ่มค่ามาตรฐาน" ไหมครับ
นั่นแหละ ที่ชาวบ้านเขากลัวที่สุด เพราะมันเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ตรวจสอบไม่ได้ ใช้อ้างอิงเพื่อป้องกันการต่อต้านได้ด้วย
ส่วนไอ้เรื่องค่าไฟ เวลาจะขึ้นจริงๆชาวบ้านเคยทำอะไรได้ นอกจากบ่นแล้วก็จ่ายเงินออกจากกระเป๋าเท่านั้นเอง
อย่างที่แม่เมาะไงครับ เพื่อล้นต้นทุน
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #20 เมื่อ: 06-09-2007, 18:18 »

"เอาทรัพยากรธรรมชาติมาปั่นไฟขาย เรายังต้องเสียภาษีอีกเหรอ"

คำพูดจากพ่อใหญ่สมเกียรติ  ปราชณ์ป.4
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #21 เมื่อ: 06-09-2007, 18:19 »

ถ้าหากเราต้องเสียทรัพยากรธรรมชาติไปกับการพัฒนา

เราต้องคำนึงถึง การสูญเสียที่จะได้กลับคืน

หาดเราคำนึงถึงแต่ได้ ไม่คำนึงถึงผลเสีย

อีกหน่อย ลุกหลานเราจะมาด่าพวกเราว่า มัวแต่เห็นแก่ตัวสร้างความลำบากให้พวกเขา

บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #22 เมื่อ: 06-09-2007, 18:26 »

เจริญ วัดอักษร นักอนุรักษ์บ้านบ่อนอก คือ แรงบันดาลใจหนึ่งในตำนานประชาชนหลาย ๆ บทของ ‘คน’ ธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่ลุกขึ้น ‘สู้-ปกป้อง’ ทรัพยากรท้องถิ่นจากอภิมหาโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ การฉกฉวยเอาประโยชน์และความพยายามอนุมัติโครงการโดย ‘รัฐ’ ปรนเปรอ ‘ทุน’ อุตสาหกรรม ด้วยเหตุผลสุดคลาสสิกเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานสำรองของคนทั้งประเทศ…




บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #23 เมื่อ: 06-09-2007, 22:27 »


บวกค่าบำบัดไปในต้นทุนก่อนยื่นซองประกวดราคาซิ

อย่าเอาเปรียบประชาชนด้วยการไล่เบี้ยทีหลัง แล้วมาถามว่าจะเอาไม่เอา

จะเสียเงินเพิ่ม หรือจะรับมลพิษเพิ่ม?  พูดหยั่งงี้ไม่แฟร์ ...ว่าแต่ว่าสำหรับประชาชนชั้นล่าง

มันก็ไม่เคยมีอะไรแฟร์อยู่แล้ว

พวกคุณคิดแต่กำไรสูงสุด ไม่ยอมลด แต่ผลักภาระตกไปอยู่ที่ผู้บริโภค
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #24 เมื่อ: 06-09-2007, 22:54 »

ในฐานะที่เคยทำงานในแวดวงของพลังงานไฟฟ้ามานาน ขออธิบายเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่ง

ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ตาม จะก่อให้เกิดมลพิษเหมือนกันหมด เช่น SO2, NOx, เมข่า ต่างๆ
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ก็ก่อมลพิษพวกนั้นเหมือนกันรึ
บันทึกการเข้า
GTD-111
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #25 เมื่อ: 07-09-2007, 02:03 »

มลภาระที่เกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงชนิดไหนก็ตาม
คือความร้อนที่ต้องปล่อยทิ้งไปกับระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าครับ ซึ่งก่อมลภาระให้ระบบนิเวศน์ของพื้นที่โดยรอบ
ซึ่งมลภาระมลภาระอื่นๆ ปกติจะมีระบบกำจัดรวมอยู่ในการสร้างโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว
แต่ความร้อนส่วนเกินที่ต้องปล่อยออกสู่ระบบนิเวศน์ จะมีค่ามากกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณ 2 เท่า
ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ โรงไฟฟ้าใช้พลังงานจาก Natural Gas ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าไปวันละ 1,000,000 ลบ.ฟุต
จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้เพียง 350,000 ลบ.ฟุต โดยประมาณ พลังงานความร้อนที่เหลือต้องปล่อยทิ้งไประบบระบาย
สู่ระบบนิเวศน์ ที่เจอปัญหาหนักสุด คือแหล่งน้ำที่ต้องใช้ในการระบายความร้อนส่วนเกินออก
ยิ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยิ่งแล้วใหญ่เลย ประสิทธิภาพในปัจจุบันของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต่ำกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง Fossil
ถ้าเคยเห็นปล่อยระบายไอน้ำขนาดใหญ่ที่ปล่อยไอน้ำออกมา ก็พอจะเดาถึงปริมาณความร้อนที่ปล่อยทิ้งออกสู่ระบบนิเวศน์
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #26 เมื่อ: 07-09-2007, 06:41 »

แล้วตกลงว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปล่อย SO2, NOx อย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #27 เมื่อ: 07-09-2007, 06:53 »

มลภาระที่เกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงชนิดไหนก็ตาม
คือความร้อนที่ต้องปล่อยทิ้งไปกับระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าครับ ซึ่งก่อมลภาระให้ระบบนิเวศน์ของพื้นที่โดยรอบ
ซึ่งมลภาระมลภาระอื่นๆ ปกติจะมีระบบกำจัดรวมอยู่ในการสร้างโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว
แต่ความร้อนส่วนเกินที่ต้องปล่อยออกสู่ระบบนิเวศน์ จะมีค่ามากกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณ 2 เท่า
ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ โรงไฟฟ้าใช้พลังงานจาก Natural Gas ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าไปวันละ 1,000,000 ลบ.ฟุต
จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้เพียง 350,000 ลบ.ฟุต โดยประมาณ พลังงานความร้อนที่เหลือต้องปล่อยทิ้งไประบบระบาย
สู่ระบบนิเวศน์ ที่เจอปัญหาหนักสุด คือแหล่งน้ำที่ต้องใช้ในการระบายความร้อนส่วนเกินออก
ยิ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยิ่งแล้วใหญ่เลย ประสิทธิภาพในปัจจุบันของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต่ำกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง Fossil
ถ้าเคยเห็นปล่อยระบายไอน้ำขนาดใหญ่ที่ปล่อยไอน้ำออกมา ก็พอจะเดาถึงปริมาณความร้อนที่ปล่อยทิ้งออกสู่ระบบนิเวศน์
ไม่ลองเปรียบเทียบทุกด้านหน่อยหรือครับ ว่าอย่างไหนเป็นอย่างไร แล้วประสิทธิภาพในปัจจุบันของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต่ำกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง Fossil นี่คงต้องเทียบกันทุกด้านด้วยนะครับ ทั้งด้านการผลิต สิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หวังว่าคงไม่ได้ตัดสินเพียงแค่มันไม่คุ้มทุนนะครับ เพราะค่าใช้จ่ายในเรื่องการก่อสร้างนี่มากกว่า
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #28 เมื่อ: 07-09-2007, 09:42 »

แม้จะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลเหมือนกัน หหรือแม้แต่การเผาต้นไม้ ขยะ ฯลฯ
แต่ก๊าซ ฝุ่น กากที่เหลือ วิธีบำบัด วิธีป้องกันผลกระทบก็ไม่เหมือนกัน
กรณีโรงไฟฟ้าที่ระยอง ทำไมออกแบบให้ใช้กับถ่านหินคุณภาพต่ำราคาถูกละครับ
การจะบอกว่าสร้างโรงงานที่ไหนก็ถูกต่อต้าน
ก่อนหน้านั้นเคยคิดถึงชาวบ้านบ้างหรือเปล่า
สร้างมาแล้วชาวบ้านจะเป็นยังไง อยู่ยังไง ได้รับผลกระทบแบบไหน
ในเมื่อคุณยังไม่สนชาวบ้าน แล้วทำไมชาวบ้านเขาต้องสนใจคุณด้วยละ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #29 เมื่อ: 07-09-2007, 14:23 »

เรื่องนี้ผมอยากให้ดูเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบแก๊สซิไฟเออร์นะครับ
ไว้จะเอาข้อมูลมาลงให้ดู น่าสนใจมากทีเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-09-2007, 14:26 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 08-09-2007, 18:22 »



ไทยเรายังใช้พลังงานต่อหัวน้อยกว่าชาติอื่นๆหลายชาติครับ การมีแหล่งพลังงานสำรองก็ไม่เกินกว่าเหตุนะครับ

อำนาจต่อรองในเวทีโลก ขึ้นอยู่กับจำนวนและคุณภาพในด้านต่างๆของประชากรด้วยครับ..

ส่วนเรื่องมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในเวทีโลก เราน่าจะอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบในการผลักดันให้ชาติอุตสาหกรรมประหยัดและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นครับ

สิ่งที่ไทยเรียกร้องคือความร่วมมือจากนานาชาติในการพัฒนาไทยให้ใช้ทรัพยากรของไทยเองและทรัพยากรโลกโลกได้อย่างคุ้มค่า..

การอุดหนุนทางเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่องค์กรระหว่างประเทศควรจะต้องให้ความช่วยเหลือกับไทยในทุกด้าน..

เทคโนโลยีด้านพลังงานต่างๆก็เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะกับประเทศที่มีทางเลือกมากมายในการตัดสินใจก้าวต่อไปอย่างประเทศไทยครับ
บันทึกการเข้า

พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #31 เมื่อ: 10-09-2007, 19:04 »

ผู้ใดสร้างมลพิษ ผู้นั้นต้องรับผิดชอบในการกำจัด

ผู้ใดเสียสละ ผู้นั้นต้องได้รับผลตอบแทนจากการเสียสละนั้น

การสร้างโรงไฟฟ้านั้น มีทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น หากการสร้างโรงไฟฟ้านั้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน ก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าการสร้างโรงไฟฟ้านั้นเพื่อผลประโยชน์ของนายทุนกลุ่มน้อย นั่นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

ประชาชนในท้องถิ่นใดๆก็ตาม ย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะต่อต้านการนำมลพิษเข้ามาในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็จะต้องใคร่ครวญถึงผลประโยชน์ของชุมชนด้วย การนำโรงไฟฟ้าไปตั้งในชุมชนของเขา ชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร การอ้างประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นการอ้างแบบชุ่ยๆ ขาดสติปัญญาความรับผิดชอบ มันไม่ได้แตกต่างอะไรกับการเอาขยะไปทิ้งไว้ข้างบ้านผู้อื่น แล้วอ้างว่าผู้อื่นนั้นต้องทนเหม็นเพื่อนประโยชน์ของประชาชน

นายทุนคิดสร้างโรงไฟฟ้า จะไปตั้งที่นั้นที่นี่ อ้างผลประโยชน์ของประชาชนประเทศชาติ แต่ใครได้กำไร คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในผลประโยชน์นั้นบ้างหรือ ไม่ โรงไฟฟ้ามาก่อมลพิษอยู่ข้างบ้าน แล้วบ้านนั้นใช้ไฟฟ้าฟรีหรือ ก็ต้องเสียเงินค่าไฟฟ้าเท่ากับคนอื่น แต่ต้องรับมลพิษแต่เพียงผู้เดียว ยุติธรรมแล้วหรือ

นายทุนทำเพื่อประเทศชาติจริงหรือ รักชาติรักประชาชนจริง ให้หุ้นลมประชาชนในท้องถิ่นที่ต้องรับภาระเรื่องมลพิษสักครึ่งหนึ่งได้ไหม ลงทุนสองพันล้าน ให้หุ้นชุมชนไปเลยครึ่งหนึ่ง แบ่งๆกันไป อย่าโกยคนเดียว กล้าทำไหม???

กำไรจะเอาแต่ผู้เดียว แต่มลพิษให้ชาวบ้านรับไป

อ้างว่าโรงไฟฟ้าแบบใหม่ไร้มลพิษ ดูแลสิ่งแวดล้อม กล้าทำสัญญากับชุมชนนั้นไหม วางงินประกันไว้จำนวนที่มากพอ หากมีมลพิษ วิถีชีวิตเดือดร้อนจากมลพิษ  ยึดเงินประกันไปได้เลย ร้อยล้าน พันล้าน ไม่ต้องฟ้อง เอาไปก่อนเลย กล้าไหม

ทำไมคนชนบท ต้องรับมลพิษจากโรงไฟฟ้า เพื่อให้นายทุนมีไฟฟ้าราคาถูกใช้ ให้คนเมืองมีไฟฟ้าใช้ในห้างสรรพสินค้าหรู ใช้ไฟฟ้ากันอย่างฟุ่มเฟือย ใครอยากใช้ไฟฟ้า จังหวัดไหนใช้ไฟฟ้า ก็ผลิตกันเอาเอง เอาโรงไฟฟ้าไปตั้งในชุมชนของตนเอง ชุมชนไหนมีโรงไฟฟ้า ต้องใช้ไฟราคาถูก ชดเชยกับความเสี่ยงในการรับมลพิษ ชุมชนไหนไม่มีโรงไฟฟ้า อาศัยซื้อจากชุมชนอื่น ต้องใช้ไฟฟ้าแพง

แล้วให้ประชาชนแต่ละชุมชน ตัดสินใจกันเองว่า ชุมชนของตนยินดีรับโรงไฟฟ้าหรือไม่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย ถ้าเสียสละเพื่อประเทศแล้ว ต้องได้รับผลตอบแทนเช่นกัน

 
บันทึกการเข้า
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #32 เมื่อ: 10-09-2007, 19:16 »

ผู้ใดสร้างมลพิษ ผู้นั้นต้องรับผิดชอบในการกำจัด

ผู้ใดเสียสละ ผู้นั้นต้องได้รับผลตอบแทนจากการเสียสละนั้น

การสร้างโรงไฟฟ้านั้น มีทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น หากการสร้างโรงไฟฟ้านั้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน ก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าการสร้างโรงไฟฟ้านั้นเพื่อผลประโยชน์ของนายทุนกลุ่มน้อย นั่นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

ประชาชนในท้องถิ่นใดๆก็ตาม ย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะต่อต้านการนำมลพิษเข้ามาในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็จะต้องใคร่ครวญถึงผลประโยชน์ของชุมชนด้วย การนำโรงไฟฟ้าไปตั้งในชุมชนของเขา ชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร การอ้างประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นการอ้างแบบชุ่ยๆ ขาดสติปัญญาความรับผิดชอบ มันไม่ได้แตกต่างอะไรกับการเอาขยะไปทิ้งไว้ข้างบ้านผู้อื่น แล้วอ้างว่าผู้อื่นนั้นต้องทนเหม็นเพื่อนประโยชน์ของประชาชน

นายทุนคิดสร้างโรงไฟฟ้า จะไปตั้งที่นั้นที่นี่ อ้างผลประโยชน์ของประชาชนประเทศชาติ แต่ใครได้กำไร คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในผลประโยชน์นั้นบ้างหรือ ไม่ โรงไฟฟ้ามาก่อมลพิษอยู่ข้างบ้าน แล้วบ้านนั้นใช้ไฟฟ้าฟรีหรือ ก็ต้องเสียเงินค่าไฟฟ้าเท่ากับคนอื่น แต่ต้องรับมลพิษแต่เพียงผู้เดียว ยุติธรรมแล้วหรือ

นายทุนทำเพื่อประเทศชาติจริงหรือ รักชาติรักประชาชนจริง ให้หุ้นลมประชาชนในท้องถิ่นที่ต้องรับภาระเรื่องมลพิษสักครึ่งหนึ่งได้ไหม ลงทุนสองพันล้าน ให้หุ้นชุมชนไปเลยครึ่งหนึ่ง แบ่งๆกันไป อย่าโกยคนเดียว กล้าทำไหม???

กำไรจะเอาแต่ผู้เดียว แต่มลพิษให้ชาวบ้านรับไป

อ้างว่าโรงไฟฟ้าแบบใหม่ไร้มลพิษ ดูแลสิ่งแวดล้อม กล้าทำสัญญากับชุมชนนั้นไหม วางงินประกันไว้จำนวนที่มากพอ หากมีมลพิษ วิถีชีวิตเดือดร้อนจากมลพิษ  ยึดเงินประกันไปได้เลย ร้อยล้าน พันล้าน ไม่ต้องฟ้อง เอาไปก่อนเลย กล้าไหม

ทำไมคนชนบท ต้องรับมลพิษจากโรงไฟฟ้า เพื่อให้นายทุนมีไฟฟ้าราคาถูกใช้ ให้คนเมืองมีไฟฟ้าใช้ในห้างสรรพสินค้าหรู ใช้ไฟฟ้ากันอย่างฟุ่มเฟือย ใครอยากใช้ไฟฟ้า จังหวัดไหนใช้ไฟฟ้า ก็ผลิตกันเอาเอง เอาโรงไฟฟ้าไปตั้งในชุมชนของตนเอง ชุมชนไหนมีโรงไฟฟ้า ต้องใช้ไฟราคาถูก ชดเชยกับความเสี่ยงในการรับมลพิษ ชุมชนไหนไม่มีโรงไฟฟ้า อาศัยซื้อจากชุมชนอื่น ต้องใช้ไฟฟ้าแพง

แล้วให้ประชาชนแต่ละชุมชน ตัดสินใจกันเองว่า ชุมชนของตนยินดีรับโรงไฟฟ้าหรือไม่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย ถ้าเสียสละเพื่อประเทศแล้ว ต้องได้รับผลตอบแทนเช่นกัน

 
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 11-09-2007, 15:23 »




สนับสนุนโรงไฟฟ้า มาตรฐานสูงครับ..

ไฟฟ้าก็ควรจะมีประสิทธิภาพและถูกกว่าปัจจุบันด้วย..

กระทรวงพลังงานต้องทำงานประสานกับกระทรวงอื่นๆด้วย

หมายความว่าบุคคลากรกระทรวงอื่นๆต้องส่งคนมาร่วมผลักดันโครงการ

อีกนิดนะครับ ปตท.เพิ่มเงินทุนทางด้านวิจัยมากกว่านี้ไม่ดีหรือครับ?
บันทึกการเข้า

เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #34 เมื่อ: 11-09-2007, 15:33 »



        จะเป็นแบบว่า  วัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่ง  รึปล่าวครับ



             
บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 11-09-2007, 15:55 »


        จะเป็นแบบว่า  วัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่ง  รึปล่าวครับ



             

องค์กรขนาดใหญ่ก็ต้องทำให้โปร่งใส มีหน่วยงานพร้อมให้ตรวจสอบตลอดเวลาได้ง่าย ที่สำคัญต้องไม่ผูกขาด ไม่ว่าเอกชนหรือรัฐ..ครับ
บันทึกการเข้า

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #36 เมื่อ: 15-11-2007, 21:23 »

ไปดูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์-2 [15 พ.ย. 50 - 18:04]
 
วันนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านไปชมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟินแลนด์กันครับ เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของฟินแลนด์ ตั้งอยู่บนเกาะฮาสทอลเมน ชานเมืองโลวีซ่า ห่างจากกรุงเฮลซิงกิ เมืองหลวงฟินแลนด์ 100 กิโลเมตร มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 เครื่อง เริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในปี 1977 และ 1980 เพิ่งได้รับการต่ออายุใบอนุญาตไปอีก 20 ปีเมื่อเร็วๆนี้

ฟินแลนด์มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,696 เมกะวัตต์ และกำลังก่อสร้างโรงที่ 5 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดของยุโรป มีกำลังผลิตสูงถึง 1,600 เมกะวัตต์

การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ใช่ก่อสร้างกันได้ง่ายๆ สมัยก่อนใช้เวลาก่อสร้างกันเป็นสิบปี แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้าช่วย ก็ยังต้องใช้เวลาก่อสร้างนาน 5-6 ปีเป็นอย่างน้อย สถานที่ก่อสร้างก็ต้องอยู่ติดทะเลหรือแม่น้ำเพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้อง ใช้น้ำจำนวนมากในการระบายความร้อน

แต่สำหรับประเทศที่เริ่มต้นนับหนึ่งอย่างไทยและเวียดนาม การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรก จะต้องใช้เวลาเตรียมการและก่อสร้างอย่างน้อย 13-15 ปี นโยบายรัฐบาลที่มั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเป็น แบบไทยๆ เปลี่ยนรัฐบาลทีก็เปลี่ยนนโยบายที ก็ไม่รู้อีกกี่ชาติ เมืองไทยจึงจะมีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟินแลนด์มีอยู่ 2 ค่าย คือ TVO และ Fortum โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โลวีซ่าที่ผมและคณะไปดูนั้น เป็นโรงไฟฟ้าในเครือบริษัทฟอร์ตูม ซึ่งรัฐบาลฟินแลนด์ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 51

แม้ฟินแลนด์จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง แต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ละโรงก็ไม่ง่าย เพราะต้องผ่านขั้นตอนอนุมัติถึง 3 ขั้นตอน คือ

หนึ่ง-ประชาชนในท้องถิ่นต้องเห็นด้วย สอง-รัฐบาลต้องเห็นด้วย และสาม-รัฐสภาต้องเห็นด้วย ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เอาด้วยก็สร้างไม่ได้

สิ่งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลัวที่สุดก็คือ การก่อการร้าย ดังนั้น การเข้า ไปดูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่โลวีซ่า คณะของเราจึงต้องผ่านการตรวจแบบเดียวกับสนามบิน คือผ่านเครื่องตรวจจับโลหะและอาวุธต้องแสดงพาสปอร์ตต่อเจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัยว่ามีชื่อตรงกับ รายชื่อที่ขอมาล่วงหน้าหรือเปล่า แล้วรับบัตรผ่านมาติดตัว

การดูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เราได้ดูแค่ห้องควบคุมและเครื่องเทอร์โบ ที่ใช้ปั่นไฟฟ้าเท่านั้น ในเตาปฏิกรณ์จริงๆดูไม่ได้ ต้องดูจากผัง เพราะเวลาเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จะไม่มีคนอยู่ภายในห้องเครื่อง ยกเว้นเวลาปิดเครื่อง

แต่สิ่งที่น่าสนใจที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โลวีซ่าให้พวกเราได้ดูก็คือ เขาพาลงไปดูสถานที่เก็บ “ขยะจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” เช่น ถุงมือ เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร แล้วเจาะเป็นอุโมงค์ยาวเป็นกิโลเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บขยะถาวร ตลอดอายุขัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งจะมีอายุ 50-60 ปี

ส่วน “กากนิวเคลียร์” ที่ใช้แล้วจะส่งไปเก็บไว้อีกฟากหนึ่งของประเทศ ซึ่งขุดเป็นอุโมงค์ลึกลงไปใต้ดิน 500 เมตร จนถึงชั้นหิน กากนิวเคลียร์จะถูกเก็บใส่ไว้ในถังทองแดงหุ้มด้วยซีเมนต์จากขี้เถ้าภูเขาไฟ และหินที่มีความทนทานอย่างยิ่งยวด ทิ้งไว้อย่างนั้นชั่วกัป ชั่วกัลป์ ตรงนี้เขาไม่ให้ดูเพราะอันตราย

ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับกากนิวเคลียร์เหล่านี้ คิดเป็นร้อยละ 10 ของเงินลงทุนทั้งหมดเลยทีเดียว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริงๆแล้วก็ไม่มีอันตรายอะไร เพราะมีระบบป้องกันอย่างดี การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ไม่ยาก แต่ที่ยากที่สุดและอันตรายที่สุดก็คือ การบริหารจัดการ “ขยะจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” โดยเฉพาะ “กากนิวเคลียร์” เรื่อง“วินัย” และการยึดมั่นใน “กฎกติกา” อย่างเคร่งครัด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดซึ่งทั้งสองเรื่องนี้คนไทยไม่มี แถมยังหย่อนยานที่สุดอีกด้วย.

“ลม เปลี่ยนทิศ”


 http://thairath.co.th/news.php?section=society03&content=68206

ไปดูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ [14 พ.ย. 50 - 19:12]
 
ผมหายหน้าไปหนึ่งสัปดาห์พอดี รับเชิญกระทรวงพลังงานไปดูงาน “การกระจายชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า” ร่วมกับ รัฐมนตรีปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่ประเทศฟินแลนด์ เยอรมัน และฝรั่งเศส สามประเทศเจ็ดวัน แค่เดินทางเข้าออกสนามบินอย่างเดียวก็เล่นเอาเหนื่อยแล้ว

ได้ดูโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพลังงานไฟฟ้าไทยในอนาคตถ่านหินหรือนิวเคลียร์ดี

ที่น่าสนใจก็คือทั้ง 3 ประเทศที่ไปดูมา มีแนวคิดในเรื่อง “เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า” ที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจยิ่งไม่ว่าการเลือกใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า หรือการเลือกใช้นิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผล

ข้อมูลเหล่านี้ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ของไทยในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง

วันนี้“เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า”และ“พลังงานไฟฟ้า”ได้กลายเป็นความ สำคัญอันดับต้นๆของ ประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ในโลก เป็นเรื่อง “ความมั่นคงของประเทศ” เพราะมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อ “เศรษฐกิจประเทศ” ไม่แพ้ความมั่นคงทางการทหาร ยิ่งประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาก พลังงานไฟฟ้าก็ยิ่งจำเป็นและสำคัญมาก

แต่ในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีใครรู้ร้อนรู้หนาวเท่าไร โดยเฉพาะนักการเมืองที่กำลังหาเสียง นโยบายเศรษฐกิจทุกข้อขึ้นอยู่กับกระแสความนิยม เพื่อหวังคะแนนเสียงอย่างเดียว โดยไม่คิดถึงความมั่นคงของประเทศโดยรวม

ก่อนจะลงลึกในรายละเอียดแต่ละประเทศ ผมขอฉายภาพรวมแนวคิดของการ ใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าทั้ง 3 ประเทศ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก่อนก็แล้วกันนะครับ

เริ่มจาก ประเทศฟินแลนด์ บ้านเกิดซันตาคลอสกันดีกว่านะครับ ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ามากที่สุด แม้จะมีพล เมืองน้อยแค่5 ล้านคนเศษแต่ฟินแลนด์กลับใช้ไฟฟ้ามากเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทย สะท้อนถึงการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมว่ามีจำนวนที่สูงมาก

เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า อันดับ 1 คือ “น้ำมัน” คิดเป็นร้อยละ 24 ตามมากด้วย “เชื้อเพลิงไม้” อันดับ 2 ร้อยละ 20 เพราะฟินแลนด์มีป่าสนมากและเป็นผู้ผลิตกระดาษส่งออกรายใหญ่ของโลก เศษไม้ที่เหลือก็นำมาใช้ผลิตไฟฟ้า อันดัน 3 เป็น “เชื้อเพลิงนิวเคลียร์” ร้อยละ 16 อันดับ4เป็น “เชื้อเพลิงถ่านหิน” ร้อยละ 15 และ อันดับ 5 เป็น “เชื้อเพลิงก๊าซ” ร้อยละ 11 ที่เหลือเป็นพลังงานอื่นๆ

ฟินแลนด์มีการกระจายเชื้อเพลิงที่หลากหลายมาก ไม่เน้นที่ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป แต่เชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด ร้อยละ 84 เป็น “เชื้อเพลิงสะอาด” ปลอดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้โลกร้อน และ ร้อยละ 40 เป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียน

ถัดมาประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 ในยุโรปและใหญ่อันดับ 3 ในโลก เยอรมันมีการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า 2 ชนิดเป็นหลักคือ ถ่านหิน ร้อยละ 63 และ นิวเคลียร์ ร้อยละ 30

แต่หลังจากการระเบิดของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในรัสเซียแล้ว รัฐบาลเยอรมันก็สั่งยุติการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่ม ปัจจุบันมีอยู่ 19 โรง และหันมาใช้เชื้อเพลิงถ่านหินแทน เพราะเยอรมันผลิตถ่านหินได้มากถึงร้อยละ 20 ของโลก แม้ถ่านหินจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก แต่ทางบริษัทซีเมนส์ก็ออกมายืนยันว่าเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินปัจจุบัน สามารถดักจับก๊าซ CO2 ได้มากขึ้น

ประเทศสุดท้ายฝรั่งเศส มีนโยบายตรงข้ามกับเยอรมันโดยสิ้นเชิง ฝรั่งเศสเลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด และหันมาใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เป็นหลัก ปัจจุบันฝรั่งเศสมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศ 58 โรง กำลังก่อสร้างอีก 1 โรง ผลิตไฟฟ้าด้วยนิวเคลียร์ร้อยละ 75 ของประเทศ

ดูนโยบายการใช้เชื้อเพลิงของ 3 ประเทศนี้แล้ว ผมอยากฟันธงว่า

นโยบายของ “ฟินแลนด์” น่าจะเหมาะกับไทยมากที่สุด มีการเฉลี่ยชนิดเชื้อเพลิง ไม่ใช้เชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งสุดโต่งเกินไป เหมือนเยอรมันกับฝรั่งเศส เพราะอนาคตไม่มีอะไรแน่นอนอยู่แล้ว.

“ลม เปลี่ยนทิศ”


http://thairath.co.th/news.php?section=society03&content=68079

คุณลมเปลี่ยนทิศ นำเสนอข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้น่าสนใจเพราะผู้นำของบ้านเราคงต้องมีวิสัยทัศน์ว่าจะจัดการเรื่องปัญหาพลังงานในอนาคตอย่างไร เลยขอนำมาแปะประกอบกระทู้นี้ค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2007, 21:30 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #37 เมื่อ: 16-11-2007, 07:09 »

ผมอยากให้สร้างเขื่อน...

เพราะเขื่อนมีประโยชน์อื่นมากมายที่ผมว่าคนประท้วงไม่รู้แน่ๆ...

ประท้วงเพราะสร้างเขื่อนต้องตัดต้นไม้เท่านั้น...

ต้นไม้ปลูกที่ใหนก็ได้
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 16-11-2007, 09:00 »

เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า อันดับ 1 คือ “น้ำมัน” คิดเป็นร้อยละ 24 ตามมากด้วย “เชื้อเพลิงไม้” อันดับ 2 ร้อยละ 20 เพราะฟินแลนด์มีป่าสนมากและเป็นผู้ผลิตกระดาษส่งออกรายใหญ่ของโลก เศษไม้ที่เหลือก็นำมาใช้ผลิตไฟฟ้า อันดัน 3 เป็น “เชื้อเพลิงนิวเคลียร์” ร้อยละ 16 อันดับ4เป็น “เชื้อเพลิงถ่านหิน” ร้อยละ 15 และ อันดับ 5 เป็น “เชื้อเพลิงก๊าซ” ร้อยละ 11 ที่เหลือเป็นพลังงานอื่นๆ

ฟินแลนด์มีการกระจายเชื้อเพลิงที่หลากหลายมาก ไม่เน้นที่ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป แต่เชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด ร้อยละ 84 เป็น “เชื้อเพลิงสะอาด” ปลอดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้โลกร้อน และ ร้อยละ 40 เป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียน


ลม เปลี่ยนทิศ  ก็เขียนไปเรื่อย

น้ำมัน ไม้ ถ่านหิน ก๊าซ เชื้อเพลิงพวกนี้ รวมกันก็ได้ร้อยละ 60 เข้าไปแล้ว แล้วเชื้อเพลิงพวกนี้จะทำให้เกิดพลังงานกล เพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มันต้องเผาไหม้ทั้งนั้น  เกิดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ทั้งนั้น พวกนี้ไม่ใช่พลังงานสะอาด

มันจะเป็นพลังงานสะอาดก็ต่อเมื่อ เอาน้ำมันไปหยอด เอาไม้ไปงัด เอาถ่านหินไปปา และเอาก๊าซไปเป่า ให้เครื่องปั่นไฟหมุน

บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 16-11-2007, 10:26 »

ความต้องการมนุษย์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อม

สู้กันไม่มีวันจบ

ผมว่าไม่ว่าจะต้านอย่างไรก็ต้านไม่อยู่ เพราะมันสวนกับพลังการบริโภค


สิ่งที่น่าเป็นห่วงน่าจะอยู่ที่

จะรักษาระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่กับมลพิษหรือผลกระทบด้านต่างๆได้อย่างไร
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #40 เมื่อ: 16-11-2007, 11:20 »



    ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับกากนิวเคลียร์เหล่านี้       
 คิดเป็นร้อยละ 10 ของเงินลงทุนทั้งหมดเลยทีเดียว

อ่ะจ๊ากกกก  อ่านถึงตรงนี้แล้วเสียวสันหลังวาบเลย
แค่รถขนขยะธรรมดายังได้ยินข่าว  มีการคอรัปชั่น
แล้วนี่ขยะนิวเคลียร์   ซึ่งอันตรายกว่ากันมากเลย
ทำไงดีหว่า เสียวๆๆๆๆๆจังเลย








บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
หน้า: [1]
    กระโดดไป: