aiwen^mei
|
|
« ตอบ #150 เมื่อ: 07-12-2007, 06:40 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #151 เมื่อ: 07-12-2007, 06:46 » |
|
จุดหักเหในชีวิต คิดว่าเป็นเพราะว่า ผมได้เข้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ หนังสือพิมพ์ถูกจำกัดเสรีภาพ ไม่ให้เขียนข่าวการเมืองมากเกินไป
...พี่ซูมเป็นนักอ่านตัวยง ก็แวะไปแถวบุศยภัณฑ์ บางลำพู เห็นนักอ่านกำลังอ่านนิยายจีนกำลังภายในอย่างคร่ำเคร่ง พี่ซูมเลยทดลองอ่านบ้าง พี่ซูมเคยเล่าให้ฟังว่าเรื่องแรกที่แกอ่านแล้วติดใจคือเรื่องฤทธิ์มีดสั้นของ ว.ณ เมืองลุง
...พี่ซูมเลยเสนอไปที่หัวหน้ากองบรรณาธิการว่าลองเอาเรื่องจีนมาลงในไทยรัฐเอามั้ย เสนอข่าวการเมืองไม่ได้นี่ ก็มาเล่นพวกนวนิยายแทน พี่ซูมก็ติดต่อผมกับพี่ว. แต่สุดท้ายมาลงที่ตัวผม
...ผมเพิ่งมาทราบภายหลังว่าเรื่องอินทรีผงาดฟ้า ของโก้วเล้ง ที่เสนอไปให้ทางกองบ.ก.ทดลองอ่านดู ทุกคนบอกว่าเดินเรื่องฉับไวดี ก็ตกลงใจรับผมเข้าไปแปลในไทยรัฐ
...ทีนี้อินทรีผงาดฟ้ามีตัวละครเยอะหน่อย พี่ซูมบอกให้ตัดทิ้งบางตัวเพื่อไม่ให้คนอ่านสับสน เลยช่วยกันปรับปรุงแก้ไข จนกระทั่งเต็งพ้งผงาดฟ้าในหน้าหนังสือพิมพ์ขึ้นมา ทราบภายหลังว่าไทยรัฐขายดี จากยอด ๔๐๐,๐๐๐ ฉบับ ไปเป็น ๖๐๐,๐๐๐ ฉบับ จนกระทั่งผอ.กำพล วัชรพล เกิดความเมตตาให้รางวัลไปเที่ยวฮ่องกงทั้งคู่ แถมพ็อกเก็ตมันนี่ให้ด้วย
ขณะที่อินทรีผงาดฟ้ากำลังได้รับความนิยมในหมู่คนอ่าน ก็มีเหตุให้เขาไปขอจบเรื่องนี้ลงดื้อ ๆ
ขอสารภาพว่าเขียนอยู่ได้นานเดือนเศษก็ไปบอกกับหัวหน้ากองบ.ก.ว่า ผมสังเกตว่าระยะหลังโก้วเล้งไม่ได้เขียนเรื่องเองแล้ว ขอจบได้มั้ย
...เขาบอกจบได้ยังไง หนังสือเพิ่งเพิ่มยอดอยู่ เอาอย่างนี้สิ คุณเขียนเองเป็นมั้ย สองพี่น้องก็ปิดห้องนอนเขียนกันเองเลย โดยเอาเค้าจากโกวเล้งนิดหน่อย
...อินทรีผงาดฟ้าตอนท้ายจะเป็นฉบับน.นพรัตน์ล่ะครับ (หัวเราะ) ถ้าใครไปอ่านฉบับภาษาจีนแล้วมาเทียบจะไม่เหมือนกัน เพราะเราแต่งเอง แต่งจนกระทั่งจบ
...คือโก้วเล้งจะมีนิสัยอย่างหนึ่ง บางครั้งไปรับเงินจากสำนักพิมพ์มาแล้วเขาไม่เขียนต่อ สำนักพิมพ์ก็ถามว่าถ้าไม่เขียนต่อจะให้คนอื่นเขียนได้มั้ย โก้วเล้งบอกว่าได้เลย เอาไปให้คนอื่นเขียนแล้วใช้ชื่อของแก มีหลายเรื่องนะครับที่โก้วเล้งทำอย่างนี้
...ที่ผมรู้ก็เพราะโก้วเล้งสำนวนเขาจะไม่เหมือนใคร สำนวนเขาจะคล้าย ๆ เออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ คือสั้น กระชับ เหมือนโทรเลข โก้วเล้งก็พยายามดึงเอาส่วนเด่นของเฮมมิ่งเวย์มาใช้ โดยการจัดรูปสำนวนใหม่ บางครั้งบรรทัดเดียวมีคำเดียวก็มี คือจะสั้น และกระชับ ฉะนั้นนักเขียนอื่นลอกจะไม่เหมือนแล้วลีลาการเขียนก็ไม่เหมือน
...เราเขียนกันเองอยู่ประมาณเดือนนึง เขียนทุกวันเลย บางเรื่องเราก็ดึงมาจากหนังสือของโก้วเล้งบ้าง บางเรื่องก็แต่งเอง เพราะตอนนั้นเรามีประสบการณ์ในการแปลสัก ๑๐ ปีแล้วเลยพอรู้ แต่หลังจากนั้นแล้วก็ไม่ได้ทำอีก เพราะเหนื่อยและลำบากมาก
ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ทั้งคุ่ก็เลิกร้านทำกรอบกระจก แล้วยึดงานแปลเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว
ล่วงมาถึงปี พ.ศ.๒๕๒๔ การแปลของทั้งคู่ก็พัฒนาไปอีกขั้น เพราะการเมืองเป็นเหตุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #152 เมื่อ: 08-12-2007, 05:36 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #153 เมื่อ: 08-12-2007, 07:39 » |
|
ปี ๒๕๒๔ เกิดกบฏเมษาฮาวาย ทางโรงพิมพ์ก็ถูกจำกัดการเสนอข่าวการเมืองอีก ทีนี้หนังสือกำลังภายในของเราก็เริ่มเสื่อมแล้ว คนอ่านมาก ๆ ก็เบื่อ หัวหน้ากองบ.ก.ไทยรัฐเลยเกิดความคิดว่าทำไมไม่เอาหนังจีนที่ฉายอยู่ทางโทรทัศน์มาลงให้อ่านก่อน แล้วค่อยไปดูโทรทัศน์
...ประจวบกับช่อง ๓ จะฉายเรื่องศึกสายเลือด ซึ่งเป็นเรื่องขององค์ชาย ๔ กับองค์ชาย ๑๔ ในสมัยราชวงศ์แมนจู หัวหน้าก็บอกให้ลองไปติดต่อขอบทจากช่อง ๓ มาเขียน
...ช่อง ๓ ก็ให้แค่บทภาพยนตร์มาเฉย ๆ เป็นบทพูด มีบรรยายนิด ๆ หน่อย ๆ ว่าคนนี้กับคนนี้สู้กัน เราไม่ได้ดูหนังเลย ก็เหมือนเดิม ใช้จินตนาการ (หัวเราะ)
...เวลาสู้กันเราต้องคิดกระบวนท่าสู้กันเอง และบรรยายด้วยสำนวนของเรา พอหนังสือพิมพ์ออกไปแล้ว พอหนังฉาย ฉากไม่เหมือนกันเลย (หัวเราะ) แล้วช่วงนั้นหนังสือพิมพ์ลงอะไรไม่ได้ ก็ลงศึกสายเลือดทีละสามสี่หน้ากระดาษ ทั้งเหนื่อยทั้งสนุก
...ต่อมามีศึกสายเลือดภาค ๒ ผอ.บอกว่ามีคนรู้จักที่ฮ่องกง เลยให้คนที่ฮ่องกงอัดเทปเรื่องศึกสายเลือดมาฉายดูประกอบ จะได้ไม่ดำน้ำเหมือนภาคที่ ๑ วิธีทำก็คือ ตื่นเข้ามา ผอ.จะส่งคนขับรถมารับไปที่บ้านที่ ถ.สุโขทัย เราก็ไปนั่งดูเทปแล้วจินตนาการเอา ทีนี้ชักเหมือนแล้ว
...แต่มีความลำบากอย่างหนึ่งคือ ศึกสายเลือดที่อัดมาจากฮ่องกงเป็นภาษากวางตุ้ง เวลาเขาพูด บางคำเราฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็เรียนให้ผอ.ทราบ ท่านเลยให้หาคนกวางตุ้งมาฟังแล้วเขียนเป็นภาษาจีนให้เรา หลังจากนั้นผมเข้าใจว่างานเราจะเนี้ยบเลย เพราะเรารู้บทเจรจา และเห็นฉากต่อสู้กัน
...ทำไปทำมามันจะยุ่ง ผอ.เลยซื้อเทปให้มาเปิดดูที่บ้านดีกว่า ตอนนั้นยังเป็นเทปเบต้า ยังไม่มีวิดีโอเทป ก็มาเปิดดูกัน ทำอย่างนี้เรื่อยมา
...จากนั้นก็จะมีเรื่องฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม ศึกสองนางพญา หลังจากนั้นสักพักก็เริ่มเสื่อมความนิยม ไทยรัฐก็เปลี่ยนไปเอาละครโทรทัศน์ของไทยมาลง
...ตอนนั้นรู้สึกจะมีเบื้องหลังคือ ช่วงนั้นเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้จะดังมาก จนกบว.ต้องออกกฎบังคับว่าหลังจากสองทุ่มครึ่งให้ฉายละครไทยก่อน แล้วหนังจีนก็ร่นไปอยู่สามทุ่มครึ่ง ก็ค่อย ๆ ลดความนิยมลงไปตามลำดับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
|
|
« ตอบ #154 เมื่อ: 08-12-2007, 14:10 » |
|
เข้ามาบอกว่า ยังติดตามอ่านอยู่นะครับ ถึงตรงนี้ ผมเริ่มถึงบางอ้อล่ะครับ ที่เคยสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมชอลิ้วเฮียงช่วงภาคหลังๆ มันถึงได้ห่วยนัก แล้วก็ยังอีกหลายๆเรื่อง อย่าง เหยี่ยวเดือนเก้า จอมดาบหิมะแดง ก็เหมือนกัน เริ่มต้นดีแต่ช่วงท้ายๆ ออกทะเลไปเลย เคยคิดว่า เพราะหมดมุข หรือ เพราะพิษสุราเรื้อรังเสียอีก ที่แท้เป็นอย่างนี้นี่เอง แหม แย่จริงๆ ไม่รับผิดชอบต่อคนอ่านเอาซะเลยที่คุณเม่ย เปรียบงานของกิมย้งกับโกวเล้ง เหมือน เพลงคลาสสิคกับเพลงลูกทุ่ง น ี่เห็นภาพชัดดีครับ ทั้ง 2 อย่าง ล้วนแต่เป็นเพลงที่ฟังได้ไพเราะด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ฟัง ว่าจะชอบแบบไหน คนชอบฟังคลาสสิค ก็รู้สึกว่าคลาสสิคไพเราะกว่าลูกทุ่ง คนที่ฟังลูกทุ่ง ก็ย่อมจะซาบซึ้งกับลูกทุ่ง ไม่สนใจจะฟังคลาสสิค ไม่จำเป็นต้องมาบอกว่ารสนิยม ใครจะดีกว่าใคร หรือ เพลงของฝ่ายใดจะมีคุณค่ามากกว่าอีกฝ่าย เพราะ ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ล้วนเป็นคนที่รักจะฟังเพลง แตกต่างจากพวก กองเชียร์พรรคการเมืองทั้งหลาย ที่จ้องแต่จะเกทับกันอยู่นั่นแหละ จะต้องทำให้อีกฝ่ายยอมรับให้ได้ว่า ฝ่ายของตนดีกว่าเอ่อ ชักจะออกนอกเรื่องซะแล้ว พอดีกว่า ขอโทษด้วยนะคร๊าบ ว่าแต่ คนที่ขี้เกียจจิ้มแป้นพิมพ์อย่างผม คุณเม่ยกลับมองว่าทำตัวเป็น มังกรซ่อนกาย ไปซะได้ เขินจริงๆ้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #156 เมื่อ: 09-12-2007, 08:14 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-12-2007, 08:28 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #157 เมื่อ: 09-12-2007, 08:18 » |
|
เมื่อนิยายจีนในหนังสือพิมพ์รายวันเริ่มลดความนิยมลง เขาก็คิดจะรวบรวมนิยายกำลังภายในที่เขาแปลไว้ มาพิมพ์พ็อกเก็ตบุ๊กขายเอง
ประมาณปี ๒๖ นิยายจีนในโทรทัศน์เริ่มเสื่อมความนิยมแล้ว เลยคิดว่าจะพิมพ์เองขายเอง จะตั้งสำนักพิมพ์เอง เลยมาปรึกษากับพี่ระวิ โหลทอง แห่งสยามสปอร์ต เพราะพี่ระวิเคยทำงานที่น.ส.พ.ไทยรัฐ และเป็นคนซื้อเรื่องอินทรีผงาดฟ้าไปพิมพ์เป็นพ๊อกเก๊ตบุ๊ก
...ผมบอกพี่ระวิว่าผมคิดจะมาพิมพ์หนังสือ อยากจะมาถามพี่ว่าจะมีคำแนะนำอะไรบ้างมั้ย พี่วิพูดคำคมว่า น.นายสองคนเขียนนิยายกำลังภายใน ชักกระบี่มาชั่วชีวิต แต่ถ้านายไปพิมพ์หนังสือขายเอง นายจะต้องถูกชักดาบ (หัวเราะ) ไม่มีทางสำเร็จหรอก
...พี่วิบอก เอาอย่างนี้แล้วกัน ในเมื่อสำนักพิมพ์อื่นเขาไม่พิมพ์ พี่วิจะรับพิมพ์ให้ แกจะไปขอร้องก.สัมพันธ์ให้ช่วยส่งพ็อกเก๊ตบุ๊กให้ เพราะปกติ ก.สัมพันธ์จะรับส่งแต่หนังสือพิมพ์ แต่ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพี่วิกับก.สัมพันธ์ เขาเลยช่วยส่งให้เรา
...เรื่องแรกที่พิมพ์คือฟันฟ้าฝ่านรก ของโก้วเล้ง เป็นเรื่องใหม่ ปรากฏว่าพิมพ์ซ้ำ
...พอพิมพ์ซ้ำ พี่วิเป็นนายทุนที่ใจกว้างที่สุด พี่วิบอกน.เอ็งไปฮ่องกง ไปหาหนังสือดี ๆ มาทำต่อ พี่วิก็ให้เงินไปฮ่องกง เลยไปเจอเรื่องเล็กเสี่ยวหงส์ตอนใหม่ ผมก็ซื้อกลับมาพิมพ์ ตั้งชื่อว่ากระบี่พิโรธ ก็ยังขายดีอยู่
...ในปี ๒๗ ผมก็แปลเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร หรือเดชคัมภีร์เทวดาในตอนหลังของกิมย้ง คือเรื่องนี้ผมได้แปลตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ เป็นเรื่องสุดท้ายที่พิมพ์ที่เพลินจิต แต่ตอนนั้นเรายังเด็กอยู่ ก็ปรึกษาพี่วิว่าจะลองแปลใหม่ เอามั้ย พี่วิก็สนับสนุน และให้แปลเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร
...ก็มีคนไปบอกพี่วิว่าเรื่องนี้ดีมาก พี่วิก็เชื่อ สั่งให้พิมพ์ ๑๕,๐๐๐ เล่ม ปรากฏว่าขายดี จนบัดนี้กลายเป็นอมตะนิยายเรื่องนึงในสายตาของผม และของคุณวิฑูร นิรันตราย กก.ผจก.สยามอินเตอร์ มัลติมีเดีย ซึ่งเห็นว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีมาก เป็นหนังสือการเมืองที่กิมย้งเขียนได้ลึกซึ้งถึงแก่นมาก
...ยุคนั้นกิมย้งไม่ชอบการปฏิวัติวัฒนธรรม เขารู้สึกว่าเหมาเจ๋อตุงถูกชักใยบงการโดยแก๊ง ๔ คนโดยที่ไม่รู้เรื่องอะไร กิมย้งเลยเปรียบอุปมาอุปไมยว่าตังปุกป่าย บูรพาไม่แพ้คือเหมาเจ๋อตุง
...และตังปุกป่ายจะฝึกวิชาคัมภีร์เล่มหนึ่ง ทำให้จากผู้ชายกลายเป็นผู้หญิง คือไปรักชอบผู้ชายด้วยกัน คือกระทบไปถึงเหมาเจ๋อตุง ซึ่งตอนท้ายเหมาเจ๋อตุงอาจจะกลายเป็นเกย์ไปจริง ๆ ก็ได้ เพราะเจียงจิงจะมีหวังหงเหวิน ซึ่งเขาพยายามที่ผลักดันให้คนนี้ขึ้นมาเป็นใหญ่ ดีที่ตอนนั้นแก๊ง ๔ คนถูกเติ้งเสี่ยวผิงปราบลงได้
...กระบี่เย้ยยุทธจักรมักจะมีคนเอาตัวละครในไปเปรียบเทียบตลอด เช่นฉายาวิญญูชนจอมปลอมของงักปุกคุ้ง ซึ่งหลัง ๆ จะมีคนพูดว่าเมืองไทยเราก็มีงักปุกคุงเยอะแยะ แล้วก็มีนักการเมืองอย่างนี้แหละ
...ก็คือกระบี่เย้ยยุทธจักรจะเป็นกระจกเงาสะท้อนการเมืองทุกยุคทุกสมัย ไม่เพียงแต่การเมืองของประเทศจีน แต่ของไทยด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #158 เมื่อ: 09-12-2007, 09:44 » |
|
เข้ามาบอกว่า ยังติดตามอ่านอยู่นะครับ ถึงตรงนี้ ผมเริ่มถึงบางอ้อล่ะครับ ที่เคยสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมชอลิ้วเฮียงช่วงภาคหลังๆ มันถึงได้ห่วยนัก แล้วก็ยังอีกหลายๆเรื่อง อย่าง เหยี่ยวเดือนเก้า จอมดาบหิมะแดง ก็เหมือนกัน เริ่มต้นดีแต่ช่วงท้ายๆ ออกทะเลไปเลย เคยคิดว่า เพราะหมดมุข หรือ เพราะพิษสุราเรื้อรังเสียอีก ที่แท้เป็นอย่างนี้นี่เอง แหม แย่จริงๆ ไม่รับผิดชอบต่อคนอ่านเอาซะเลยที่คุณเม่ย เปรียบงานของกิมย้งกับโกวเล้ง เหมือน เพลงคลาสสิคกับเพลงลูกทุ่ง น ี่เห็นภาพชัดดีครับ ทั้ง 2 อย่าง ล้วนแต่เป็นเพลงที่ฟังได้ไพเราะด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ฟัง ว่าจะชอบแบบไหน คนชอบฟังคลาสสิค ก็รู้สึกว่าคลาสสิคไพเราะกว่าลูกทุ่ง คนที่ฟังลูกทุ่ง ก็ย่อมจะซาบซึ้งกับลูกทุ่ง ไม่สนใจจะฟังคลาสสิค ไม่จำเป็นต้องมาบอกว่ารสนิยม ใครจะดีกว่าใคร หรือ เพลงของฝ่ายใดจะมีคุณค่ามากกว่าอีกฝ่าย เพราะ ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ล้วนเป็นคนที่รักจะฟังเพลง แตกต่างจากพวก กองเชียร์พรรคการเมืองทั้งหลาย ที่จ้องแต่จะเกทับกันอยู่นั่นแหละ จะต้องทำให้อีกฝ่ายยอมรับให้ได้ว่า ฝ่ายของตนดีกว่าเอ่อ ชักจะออกนอกเรื่องซะแล้ว พอดีกว่า ขอโทษด้วยนะคร๊าบ ว่าแต่ คนที่ขี้เกียจจิ้มแป้นพิมพ์อย่างผม คุณเม่ยกลับมองว่าทำตัวเป็น มังกรซ่อนกาย ไปซะได้ เขินจริงๆ้ ขอบคุณคุณแอบอ่าน ซุ่มเงียบมากหลายค่ะ สำหรับนิยายของกิมย้ง เม่ยได้อ่านบางเรื่องตอนยังเด็กอยู่ ได้แก่ จิ้งจอกภูเขาหิมะ เพ็กฮ่วยเกี่ยม และอุ้ยเสี่ยวป้อ ก็ชอบพอสมควร ยกเว้นเพ็กฮ่วยเกี่ยมที่รู้สึกว่าไม่ค่อยสนุก ส่วนมังกรหยก ตอนนั้นเห็นหนังสือวางเป็นตั้งในร้านเช่า เลยกลัวว่าจะอ่านไม่ไหว ที่ไหนได้ ปรากฏว่า เพิ่งมาอ่านเมื่อปีที่แล้ว อ่านไปต้องคารวะกิมย้งไปค่ะ เขียนได้เก่งมาก ๆ นับถือฝีมือค่ะ ยอดเยี่ยมสมกับคำชมมากมายที่ได้ยินมานาน อีกไม่นาน เม่ยคงได้อ่าน "กระบี่เย้ยยุทธจักร" ค่ะ แล้วจะนำสำนวน และข้อความที่เฉียบขาดบาดใจมาโพสต์ค่ะ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อกระทู้ "อินทรีผงาดฟ้า" เป็น "กระบี่เย้ยยุทธจักร" โหลๆๆ แวะเข้ามาเยี่ยมกระทู้นี้ครับ
พักนี้ไม่ว่างมีเวลาเข้ามาเลยครับ
ภาษาจีนทำท่าจะฟื้นกลายเป็นฟุบแล้วครับ สวัสดีค่ะ รักษาสุขภาพนะคะ 保重 保重
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #159 เมื่อ: 10-12-2007, 08:25 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #160 เมื่อ: 10-12-2007, 09:10 » |
|
แม้กระบี่เย้ยยุทธจักรจะได้รับความชื่นชอบจากนักอ่านอย่างมาก แต่ความนิยมก็คงอยู่ไม่นาน
หลังจากกระบี่เย้ยยุทธจักรออกมาแล้ว ความนิยมก็ลดลงไปเรื่อย ๆ อีก พี่วิกับคุณวิฑูรก็คุยกันว่าไม่รู้เป็นอะไรพยายามจะปลุกปั้นเรื่องจีน แต่ก็ไม่สำเร็จ มันจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ เป็นสิบปีเห็นจะได้
...ผมว่าหลังจากกระบี่เย้ยยุทธจักรแล้วก็มีเรื่องดี ๆ อีกไม่กี่เรื่อง หลังจากนั้นก็เริ่มลุ่ม ๆ ดอน ๆ แต่สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊กส์ก็ยังพิมพ์อยู่ตลอด
...จนกระทั่งปี ๒๕๔๓ เราก็ค่อย ๆ ฟื้นขึ้นมาจากเจาะเวลาหาจิ๋นซี ของหวงอี้
...หวงอี้เป็นนักเขียนที่มาใหม่ ทีนี้ตอนแรกที่เขาเขียนหนังสือ เขายังเอาใจตลาดอยู่ คือมีบทเอ็กซ์เยอะมาก ผมสั่งหนังสือเขามาก็มีแต่ฉากเอ็กซ์ เลยไม่กล้าแปล
...ช่วงนั้นได้รู้จักกับคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ คุณก่อศักดิ์แนะนำพี่ระวิว่าหวงอี้เป็นนักเขียนใหม่ที่กำลังมาแรง ทำไมไม่ลองแปลเรื่องของเขาดู พี่ระวิก็หันมาถามผมว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ผมก็บอกว่ามีเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี แต่มันมีบทเอ็กซ์เยอะ พี่ระวิเป็นคนใจกล้า บอกพิมพ์เลย ไม่ต้องสนใจ
...ด้วยความที่ตัวเองเป็นคนเขิน เวลาแปลจิ๋นซี สารภาพตามตรงว่าฉากเอ็กซ์บางฉากก็ตัดทิ้ง ผมไม่กล้าแปล มันเยอะเกินไป
...พอจิ๋นซีออกมาก็ได้รับความนิยม ก็ปลุกตลาดหนังสือจีนขึ้นมาอีกครั้งนึง เราพิมพ์แล้วพิมพ์อีก
...ล่าสุดพิมพ์ฉบับปรับปรุงใหม่ที่หวงอี้เขาปรับปรุง เขาจะตัดฉากเอ็กซ์ออกไป ฉะนั้นหนังสือฉบับปรับปรุงใหม่จะหาฉากเอ็กซ์ไม่เจอเลย ผมก็แปลด้วยความสะดวกใจขึ้น
...เรื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุดหลังจากนี้ก็คือมังกรคู่สู้สิบทิศ เรื่องนี้เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ผ่านมา ความยาวเท่ากับมังกรหยก ๓ ภาครวมกัน
...ต้นฉบับภาษาจีนมี ๖๓ เล่ม หวงอี้ใช้เวลาเขียนถึง ๕ ปี ๓ เดือน ขณะที่ผมใช้เวลาแปล ๒ ปี ตอนนั้นเลยเกิดความกลัวว่ามันจะรอดเหรอ เพราะหนังสือยาวขนาดนี้ ผมเลยออกอุบายว่าให้ลองออกสัก ๑๐ เล่มก่อน แล้วลองดูทิศทางว่าจะไปรอดไหม
...ประจวบกับหนังสือออกตอนเกิดตึกเวิล์ดเทรดถล่มพอดี ผมยิ่งเป็นห่วงใหญ่ว่าถ้าจะไม่รอด มันกลายเป็นว่ามังกรคู่สู้สิบทิศได้รับความนิยมมากกว่าเจาะเวลาหาจิ๋นซีซะอีก
...พอได้รับความนิยม ผมก็คิดว่าจะขอหยุดสักเดือนนึง คนโทรฯ มาด่ากันใหญ่ว่าไม่ได้ เลยต้องรีบออกมังกรคู่ฯ ภาค ๒ รวมทั้ง ๒ ภาคก็มีทั้งหมด ๒๑ เล่ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #161 เมื่อ: 11-12-2007, 21:35 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #162 เมื่อ: 11-12-2007, 21:46 » |
|
เมื่อเริ่มแปลเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี คุณอานนท์เริ่มป่วยแล้ว คุณอำนวยจึงต้องทำงานแปลคนเดียวเป็นครั้งแรก
ตอนทำเรื่องเจาะเวลาฯ พี่ชายเริ่มไม่ได้ทำงานแล้ว ผมทำคนเดียว วิธีการก็คืออ่านต้นฉบับแล้วเขียนเลย แต่ลายมือจะสู้พี่ชายไม่ได้ ลายมือพี่ชายจะสวย ลายมือผมเหมือนไก่เขี่ย และรู้สึกจะเขียนผิดมากกว่าเก่า
...พี่ชายเริ่มป่วยตั้งแต่ปี ๔๑ คอบวมขึ้นมาเรื่อย ๆ หาหมอเท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายหมอที่จุฬาฯ ให้ตัดชิ้นเนื้อที่จมูกไปตรวจดู ปรากฏว่าเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก เลยไปฉายแสงรักษา ทุกครั้งพี่วิจะออกค่าใช้จ่ายให้หมด และไปเยี่ยมจนกระทั่งพี่ผมบอกกับแกว่าแกถอดใจไปแล้ว แกรู้ว่ารักษาไม่รอด
...พี่ระวิบอกอย่าเพิ่งถอดใจ เอ็งจะย้ายโรงพยาบาลไปที่ไหนก็บอก แกจะตามไปออกค่าใช้จ่ายให้ แกเป็นนายทุนที่ดีที่สุดในสายตาของผม ผมคิดว่าถ้าพี่วิไม่ไล่ผมออก ผมคงจะทำอยู่ที่นี่ต่อไป (หัวเราะ)
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา การแปลนิยายจีนกำลังภายในไม่มีการขอลิขสิทธิ์ จนเมื่อไม่กี่ปีมานี้ถึงได้มีการขอลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เจาะเวลาหาจิ๋นซีเป็นเรื่องแรกที่มีลิขสิทธิ์ เนื่องจากคุณก่อศักดิ์ชอบฝีมือของหวงอี้เป็นการส่วนตัว เลยเดินทางไปที่ฮ่องกง แล้วให้ทางซี.พี.ติดต่อกับหวงอี้ แล้วไปพบปะพูดคุยกัน ก็มีสายสัมพันธ์อันดีเรื่อยมา
...ต่อมาคุณก่อศักดิ์ก็ช่วยเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ให้กับเรา หลังจากนั้นก็ให้เราไปติดต่อเอาเอง ก็เป็นหนังสือที่มีลิขสิทธิ์เรื่องแรก
...หลังจากนั้นเราก็มีความคิดว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องยอมรับภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์มันขึ้นมา เลยดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ย้อนหลัง โดยไปซื้อของโก้วเล้ง กิมย้ง อึ้งเอ็ง
...แล้วระยะหลังก็ไปซื้อของอุนสุยอัน ซึ่งเป็นนักเขียนรุ่นใหม่ที่มาแรง แต่จุดอ่อนของเขาคือเขามักจะเขียนนิยายไม่จบ เขาเขียนเรื่องนี้ค้างไว้แล้วไปเขียนอีกเรื่องนึง ทำให้คนอ่านค้างเติ่ง แต่ถ้าพูดถึงฝีมือการเขียนก็ใช้ได้
...ปัจจุบันอุนสุยอันอยู่ที่เสิ้นเจิ้น กำลังมีชื่อเสียงอยู่ที่จีนแผ่นดินใหญ่จากการเอาเรื่องของเขาไปสร้างละครโทรทัศน์
นักเขียนนิยายกำลังภายในแต่ละคนมีสไตล์การเขียนและสำนวนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อถามถึงนักเขียนคนโปรด คุณอำนวยตอบทันทีว่ามีอยู่ 3 คน คือกิมย้ง โก้วเล้ง และหวงอี้ ตามลำดับ
คุณอำนวยให้เหตุผลว่า
"กิมย้งความรู้ภาษาจีนเขาจะแตกฉาน และเขาเก่งเรื่องการผูกเนื้อเรื่องได้สนุกสนาน เร้าใจ ความที่กิมย้งเป็นอัจฉริยบุรุษคนหนึ่งของประเทศจีน เขาสามารถดึงวรรณกรรมตะวันตกมาใช้ก็มี ทำให้หนังสือนิยายกำลังภายในของเขาเป็นสีสัน เป็นอมตะตราบเท่าทุกวันนี้
...ศ.เฉียนลี่ฉวิน แห่งภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้ให้คำจำกัดความวรรณกรรมกำลังภายใจของกิมย้งไว้ว่า เป็นบทต่อเนื่องของสังคมอุตสาหกรรมที่สะท้อนความฝันของวีรบุรุษยุคโบราณกาล และเป็นสิ่งชดเชยของผู้คนยุคปัจจุบันซึ่งถูกจำกัดอยู่ภายใต้กรอบระเบียบของสังคมมนุษย์โดยก้าวข้ามมิติของกาลเวลา เข้าสู่ยุทธจักรกังโฮ้ว
...ทั้งเป็นการตอบสนองความรู้ความอยากเห็น และจินตนาการความคิดของมนุษยชาติ ยุทธจักรนิยายของกิมย้งถือเป็นตัวแทนแห่งนิทานของผู้ใหญ่ และเป็นสุดยอดวรรณศิลป์แห่งโลกกำลังภายใน
...ต่อมาคือโก้วเล้ง โก้วเล้งลำบากมาตั้งแต่เด็ก เขาย้ายตามคุณพ่อมาอยู่ที่ฮ่องกงตั้งแต่อายุ ๑๐ กว่าปี แล้วคุณพ่อเขาไปมีภรรยาใหม่ โก้วเล้งเลยต้องหนีออกจากบ้าน
...การที่โก้วเล้งต้องไปเผชิญโลกภายนอกที่โหดร้าย เจ็บปวด ผมว่ากลายเป็นวัตถุดิบในการเขียนหนังสือของเขาเป็นอย่างดีในภายหลัง เขาสามารถเอาความเจ็บปวด ความเปล่าเปลี่ยว รวมทั้งน้ำมิตร และอิสตรีที่เขารู้จักทุก ๆ แบบมาเขียนใส่ในนวนิยาย ฉะนั้นหนังสือของโก้วเล้งจะประกอบด้วยสหาย สุรา สตรี
...โก้วเล้งจะมีเรื่องที่เขาไปก๊อปปี้มาจากฝรั่ง เช่นดาวตกผีเสื้อกระบี่ที่ก๊อปปี้มาจากเรื่องเดอะ ก๊อดฟาเธอร์ หรือวีรบุรุษสำราญก็ก๊อปปี้มาจากเรื่องโลกียชนของจอห์น สไตน์เบ็ค ระยะหลังโก้วเล้งจะไปลอกของแฮโรล์ด ร็อบบิ้นส์ แต่เขามาทำจนไม่มีกลิ่นนมเนย
....นักเขียนคนสุดท้ายที่ผมคิดว่ามีสีสันก็คือหวงอี้ แรก ๆ เขาก็ยังติดสำนวนของโก้วเล้งอยู่ มีคนเคยทำวิจัยไว้ว่า นักเขียนรุ่นต่อจากโก้วเล้งทุกคน พยายามจะลอกเลียนสำนวนของโก้วเล้งกันหมด
...แรก ๆ หวงอี้ยังติดสำนวนของโก้วเล้งอยู่ แต่ต่อมาเขาค้นพบเส้นทางของตนเอง โดยการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์อย่างเจาะเวลาหาจิ๋นซี มังกรคู่สู้สิบทิศ ล้วนแต่อิงประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น โดยดึงเอาบางจุดของประวัติศาสตร์มาใช้ หวงอี้ประสบความสำเร็จในการดึงเอาประวัติศาสตร์มาเล่นสนุกสนาน และกระตุ้นให้คนอ่านติดตาม
...หวงอี้จะเป็นนักเขียนที่มีวินัย หนังสือเขาจะออกประจำสม่ำเสมอ เขาเขียนหนังสือติดต่อกันมาสิบกว่าปีแล้ว ไม่เคยขาดเลย ฉะนั้นเขาจะมีนักอ่านติดตามอยู่เสมอ
...ผมเคยใฝ่ฝันเหมือนกันว่าสักวันนึงจะมีนักเขียนไทยที่สามารถทำอย่างนี้ได้ คือมีนักอ่านคอยติดตามเหมือนอย่างหวงอี้เหมือนกัน"
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-12-2007, 09:40 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #163 เมื่อ: 11-12-2007, 21:57 » |
|
สวัสดีค่ะ รักษาสุขภาพนะคะ
保重 保重
สวัสดีครับแอบเข้ามาอ่านครับ 谢谢你 康健 康健
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-12-2007, 22:24 โดย ขวานผ่าซาก »
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #164 เมื่อ: 11-12-2007, 22:15 » |
|
สวัสดีครับแอบเข้ามาอ่านครับ
谢谢你
欢迎,欢迎 Hope you enjoy it!
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #165 เมื่อ: 13-12-2007, 22:11 » |
|
ขณะที่วงการนิยายกำลังภายในเกิดนักเขียนขาดช่วง เมืองไทยก็ประสบปัญหาขาดแคลนนักแปลนิยายกำลังภายในเช่นกัน เพราะหลังจาก น.นพรัตน์แล้ว ก็ไม่มีนักแปลนิยายกำลังภายในเกิดขึ้นอีกเลย
ยุคเพลินจิตมีท่านนึง ยุคประมวญสาส์นมีอีกท่านนึง แต่เขาอาจจะเห็นว่าค่าแปลน้อยเลยเลิกไปหรือเปล่า หรือไม่ได้รับความนิยมก็ไม่ทราบ เขาหายไปเลย หลังจากนั้นก็ไม่มีนักแปลกำลังภายในเกิดใหม่อีกเลย น.นพรัตน์น่าจะเป็นจอมยุทธ์คนสุดท้าย (หัวเราะ)
...ที่นักแปลขาดช่วงผมคิดว่าการแปลนิยายกำลังภายในต้องใช้ความอดทนอย่างมาก เพราะแต่ละเรื่องค่อนข้างยาว สมมติคุณจบภาษาจีนมาแล้วคิดจะแปลนิยาย คุณจะต้องอดอยากสักสองสามปีกว่าสำนักพิมพ์จะยอมพิมพ์ให้คุณ แล้วปัจจุบันมีปัญหาลิขสิทธิ์อีก มันไม่เหมือนสมัยก่อนที่เราไปร้านเช่าหนังสือแล้วเลือกหยิบมาแปล
...ปัญหาลิขสิทธิ์ทำให้นักแปลรุ่นใหม่ ๆ ต่อให้ไปเจอเรื่องก็ไม่รู้จะแปลยังไง เพราะจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ มีปัญหาหลายด่านด้วยกัน
...เท่าที่ผมสัมผัส มีคนเรียนภาษาจีนเก่ง ๆ เยอะแยะ แต่บางท่านก็ไปเป็นอาจารย์ บางท่านไปเรียนต่อ บางท่านก็ไปเป็นลูกจ้างบริษัท คนที่มาเป็นนักแปลเลยไม่มี
คำถามก็คือ เราจะสร้างนักแปลรุ่นใหม่ขึ้นมาสืบทอดหรือเปล่า หรือจะปล่อยให้ขาดช่วงไปเลย
เคยมีคนถามผมเยอะนะครับ แต่ผมเป็นคนที่ร่ำเรียนมาด้วยตัวเองจากความไม่รู้ ผมเขียนหนังสือเมื่ออายุ ๑๖ ช่วงนั้นยอมรับว่าไม่รู้อะไรเลย ที่ช่วยผมได้ในช่วงนั้นก็คือ ปทานุกรมจีนไทย ของคุณประสิทธิ์ ชวลิตธำรง ซึ่งเวลาติดศัพท์ทุกครั้ง ผมต้องเปิด จนผมเปลี่ยนไปแล้ว ๓ เล่ม เพราะเล่มเก่าเปื่อยจนใช้ไม่ได้เลย . ...หลังจากนั้น ผมได้ศึกษาและค้นหาแนวทางของตัวเองตลอดมา ฉะนั้นถ้ามีใครบอกว่าช่วยสอนให้หน่อยได้ไหม ผมยอมรับว่าไม่รู้จะสอนยังไง
...ในทางปฏิบัติเราไม่รู้ว่าเรามีทฤษฎีของการแปลยังไงว่าภาษาจีนคำนี้คุณต้องถ่ายทอดเป็นคำนี้นะ มันเป็นความเคยชินแล้ว ทุกวันนี้หยิบหนังสือจีนขึ้นมาก็จะคิดเป็นภาษาไทยทันทีเลย แล้วก็เขียนลงไปเลย ถ้ามีคนถามว่าคำนี้สมควรแปลว่าอย่างนี้ไหม ผมหาคำอธิบายไม่ได้
...คือตัวเองทำจากประสบการณ์ ถ้าจะอธิบายว่าคำนี้ควรจะแปลอย่างนี้ ๆ คิดว่าหาคำอธิบายให้กับคนที่ต้องการความรู้ไม่ได้ เพราะแต่ละคำแปลได้หลายความหมาย ฉะนั้นถ้าจะให้แต่งตำราวิธีแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย ผมทำไม่ได้แน่ ๆ
...แล้วถ้าจะสร้างให้คนอื่นขึ้นมาทำหน้าที่ คิดว่าตัวเองคงไม่มีภูมิปัญญาขนาดนั้น มีอยู่ทางเดียวก็คือ ท่านใดที่มีความสนใจจริง ๆ ลองแปลมาให้ผมดู ผมอาจจะแนะนำขัดเกลาให้ได้ แต่จนวันนี้ก็ยังหาไม่เจอเลย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-01-2008, 21:37 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #166 เมื่อ: 14-12-2007, 00:26 » |
|
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ 萬水千山總事情
万水千山总是情 词:邓伟雄曲:顾嘉辉 歌手:汪明荃
莫说青山多障碍 风也急风也劲 白云过山峰也可传情
莫说水中多变幻 水也清水也静 柔情似水爱共永
未怕罡风吹散了热爱 万水千山总是情
聚散也有天注定 不怨天不怨命 但求有山水共作证
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-12-2007, 00:34 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #167 เมื่อ: 15-12-2007, 01:50 » |
|
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ 似水流年 望 著 海 一 片 滿 懷 倦 無 淚 也 無 言 望 著 天 一 片 只 感 到 情 懷 亂 我 的 心 又 似 小 木 船 遠 景 不 見 但 仍 向 著 前 誰 在 命 裏 主 宰 我 每 天 掙 扎 人 海 裏 面
心 中 感 嘆 似 水 流 年 不 可 以 留 住 昨 天 留 下 祇 有 思 念 一 串 串 永 遠 纏 浩 瀚 煙 波 裏 我 懷 念 懷 念 往 年 外 貌 早 改 變 處 境 都 變 情 懷 未 變
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #168 เมื่อ: 15-12-2007, 02:01 » |
|
ด้านชีวิตส่วนตัว คุณอำนวยแต่งงานแล้ว และมีลูก ๓ คน ซึ่งครอบครัวมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเขามาก
ผมเป็นคนเก็บตัว นอกจากงานสัปดาห์หนังสือแล้ว ผมไม่เคยไปปรากฏตัวที่ไหน ไม่เคยไปพบปะกับใคร จะทำงานอยู่ที่บ้านตลอด เพราะชอบใช้ชีวิตแบบนี้ทั้งพี่ชายและผม
...ต้องยกความดีให้กับฝ่ายภรรยาและลูกที่เข้าใจในงานที่เราทำ มันเป็นงานที่หนักและต้องทำต่อเนื่อง ฉะนั้นการหาความสุขและหาเวลาให้ครอบครัวจะน้อยมาก
...ปีนึงผมจะหยุดวันตรุษจีนวันเดียว เพราะวันตรุษจีนคนจีนถือว่าอย่าทำงานหนัก ไม่งั้นต้องทำไปตลอดชีวิต ก็พยายามหยุดวันตรุษจีนให้ได้
...ต้องยอมรับว่าถ้าภรรยาและพี่สะใภ้ไม่มีความเข้าใจในงานของพวกเรา เราคงไม่สามารถถ่ายทอดงานได้สม่ำเสมอมาจนทุกวันนี้ ก็ตรงตามคำกล่าวที่ว่าความสำเร็จของผู้ชายคนหนึ่ง ครึ่งหนึ่งมาจากสุภาพสตรี
...พี่เรืองรอง รุ่งรัศมี เคยพูดไว้ว่า ถ้าหากว่าคุณจะทำงานแปลนิยายกำลังภายใน คุณจะต้องแต่งงานกับมันไม่ใช่คิดว่าอยู่กับมันประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็เลิกไป
...พี่เรืองรองจะยกย่องผมว่าคล้าย ๆ ผมแต่งงานกับนิยายกำลังภายใน และอยู่มาจนสามสี่สิบปีอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผมก็เห็นด้วยกับพี่เรืองรองว่า ไม่ว่าคนเราจะทำอะไรก็ต้องมีความรักชอบ มีความตั้งใจ ไม่ใช่คิดทำชั่วประเดี๋ยวประด๋าว ต้องทุ่มเทให้มันให้หมด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-12-2007, 02:04 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #169 เมื่อ: 15-12-2007, 20:18 » |
|
อยากจะเรียนถามคุณ เม่ย นิดครับ มังกรหยก เนี่ย กิมย้งท่านแต่งหรือครับ คือผมก็เคยอ่าน ที่ จำลอง พิศนาคะแปล แล้วจำได้ว่าสมัยน้าสาวผมเด็กๆ คอยเรือ จากกรุงเทพฯนำของขึ้นมาส่ง จะมีหนังสือพิมพ์จีน ติดเรือมาส่งทางบ้านนอก น้าสาวเล่าว่า ในหนังสือพิมพ์จะมีเรื่อง มังกรหยก ให้ท่านตาผมอ่านให้ฟัง วันนี้ผมไปเยี่ยม แกมาเลยเรียนถามย้ำอีกครั้ง ท่านก็ว่าใช่ไม่ผิด ปีนี้ท่านน้าสาวอายุ 75 ปีแล้วนะครับ จึงทำให้ผมสงสัยจังว่า กิมย้งคนแต่งเรื่องนี้ จะมีอายุเท่าไร(ถ้ายังมีชีวิตอยู่) ถ้าทราบช่วยเล่า ให้ฟังบ้างก็ดี ส่วนสำนวนการแปลนั้น จำลอง พิศนาคะ ผมอ่านรู้สึกมันสะดุด ชอบกล ไม่เหมือน ว.ณ.เมืองลุง กับ น. นพรัตน์ สองชื่อหลังอ่านแล้ว มีความรู้สึก ราบรื่นดีพอๆกันครับ คุณเม่ยเอาประวัติ น.นพรัตน์มาลง น่าจะค้นคว้า ประวัติ ว.ณ.เมืองลุง มาลงบ้างก็จะดีครับ 谢谢你
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #170 เมื่อ: 16-12-2007, 06:57 » |
|
ด้วยความยินดีค่ะ คุณขวานผ่าซาก แม่นแล้วค่ะ ผู้ประพันธ์ "มังกรหยก" คือ ปรมาจารย์กิมย้ง มีเว็บไซต์ภาษาจีนที่รวบรวมผลงานการประพันธ์ของกิมย้ง ซึ่งมีประมาณ สิบเจ็ดสิบแปดเรื่องไว้ทั้งหมด สามารถอ่านได้จากหน้าจอเลยค่ะ เข้าใจว่า ตอนนี้ท่านกิมย้งอายุเฉียด 90 แล้วนะคะ แต่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยหลายท่านค่ะ เท่าที่เม่ยทราบ คนแรกคือ จำลอง พิศนาคะ แปลจากต้นฉบับดั้งเดิม แต่สำนวนภาษาอาจจะเหมาะกับสามสี่สิบปีที่แล้ว ต่อมาก็เป็น "ว.ณ เมืองลุง" แปล 2 ภาคแรกไว้ ใช้สำนวนภาษาที่ละเมียดละไม บางท่านว่า ถ้าได้อ่านภาค ๒ (เอี้ยก้วยกับเซียวเหล่งนึ่ง) ล่ะก็ จะยิ่งซาบซึ้งเป็นทวีคูณ และทีรู้จักกันดีคือแปลโดย "น. นพรัตน์" และดูเหมือนจะมีอีกท่านใช้นามว่า "คนบ้านเพ" ด้วยค่ะ เม่ยมาทราบข่าวการเสียชีวิตของ "ว. ณ เมืองลุง" จากคอลัมน์ ชักธงรบ ของ "กิเลน ประลองเชิง" เมื่อหลายปีก่อน นามปากกา "เมืองลุง" มาจาก "พัทลุง" นั่นเอง เวลาแปล ท่านจะพูดอัดใส่เทป แล้วมีคนไปถอดเทปต่ออีกที สำหรับ "จำลอง พิศนาคะ" นั้น เม่ยก็ได้ยินแต่ชื่อและรู้จักแต่ผลงาน ไม่ทราบเรื่องอะไรเกี่ยวกับนักแปลท่านนี้เลย ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ จะนำมาโพสต์แน่นอนค่ะ วันนี้ นำคลิปเพลงของ "มังกรหยก (1983)" มาให้รับชมและรับฟังพอเพลิน ๆ โดยสองนักร้องดังของฮ่องกง "เจินหนีและหลอเหวิน" ให้หายคิดถึงนะคะ http://www.youtube.com/watch?v=ALFFn9hLOGg&feature=relatedและความรักที่อาภัพของเอี้ยคังกับมกเนี่ยมชื้อ http://www.youtube.com/watch?v=EaP_BDO3K_Q&feature=related
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-12-2007, 07:15 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #171 เมื่อ: 17-12-2007, 00:17 » |
|
ต้องขอขอบคุณ คุณ เม่ย ที่ตอบเรื่องมังกรหยก มาให้ทราบครับ
จริงๆแล้วผมอ่านมันทุกเรื่อง เท่าที่ร้านเช่าหนังสือมี
แล้วก็ไม่ได้สนใจว่า ใครเป็นผู้แปล ใครเป็นคนแต่ง ตั้งหน้าอ่าน
อย่างเดียว แล้วส่วนมากผมว่าผู้แปล ไม่ได้บอกไว้ด้วย ว่าใครแต่ง
เรื่องนี้ จำได้ว่ามาระยะหลังๆ ถึงจะพิมพ์บอก ถึงจะทราบครับ
เรื่องแรกเลย อ่าน มังกรหยก ที่จำลองพิศนาคะแปล แล้วเริ่ม
"อุ้ยเซี่ยวป้อ" เป็นเรื่องที่สอง เรื่อยมา จนมาเลิกอ่านแบบที่เรียนบอกครับ
อีกอย่างผมว่างเว้น จากการอ่านหนังสือ กำลังภายในมาราวๆ 25 ปี
เนื่องจากภาระกิจค้าขาย จึงไม่ค่อยมีเวลาจะอ่านด้วยครับ (ผมอ่านทั้งหนังสือของนักเขียน นิยายไทยด้วยนะครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #172 เมื่อ: 22-12-2007, 13:52 » |
|
http://forum.serithai.net/index.php?topic=16634.msg239946#msg239946สาเหตุที่ทั้งคู่ไม่ชอบเปิดเผยตัวเอง ต้องย้อนหลังไปเมื่อ ๓๙ ปีที่แล้ว คุณอำนวยเล่าว่า
เมื่อก่อนเราเป็นคนซ่อนที่ซ่อนตัว เพราะกลัว คือเราทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย ๑๘ กับ ๑๖ ตอนนั้นผมไปส่งต้นฉบับที่สำนักพิมพ์เพลินจิต แล้วมีคนถามว่า น.นพรัตน์เป็นใคร นายห้างเวช กระตุฤกษ์ ก็หันมาชี้ว่านี่ไง น.นพรัตน์
...พอเขาเห็นอายุของผมสองคน นักอ่านคนนั้นก็หายไปเลย ผมเลยรู้สึกว่าเราอายุน้อยจริง ๆ ไม่สมควรจะให้ใครร้ เลยเก็บเนื้อเก็บตัวมาตลอด จำได้ว่าให้สัมภาษณ์หนังสือฉบับแรกเมื่อปี ๒๕๒๕ ตอนจิ๋นซีฮ่องเต้ฉายที่ช่อง ๗ พี่โกวิทเลยบังคับให้ผมให้สัมภาษณ์
นี่ไม่เพียงเป็นบทสัมภาษณ์ครั้งแรกของเขาในรอบ ๒๐ ปี แต่ยังเป็นครั้งแรกที่เขาพูดถึงชีวิตของน.นพรัตน์ อย่างละเอียดลออด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #173 เมื่อ: 22-12-2007, 19:58 » |
|
来偷看美姐 谢谢你มาแอบดูกระทู้คุณ เม่ย ขอบคุณครับบบบบ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-12-2007, 22:27 โดย ขวานผ่าซาก »
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #174 เมื่อ: 23-12-2007, 10:04 » |
|
คุณอำนวยเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ในครอบครัวชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาจากโพ้นทะเล
คุณทวดผมเดินทางมาประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๖ มาอยู่ที่นครปฐม ก่อนมาคุณทวดมีครอบครัวอยู่ทางโน้นแล้ว แต่ก็มาแต่งงานอีกกับหญิงไทยที่นครปฐม และเสียชีวิตที่นครปฐมไม่ได้กลับไปเมืองจีนอีกเลย
...คุณปู่ผมยังมีเยื่อใยสัมพันธ์อยู่ เลยให้ลูกชายซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของผมเดินทางมาประเทศไทยตอนอายุ ๑๓ มาอยู่ที่นครปฐมกับคุณย่าทวดที่เป็นคนไทย มาอยู่แบบไป ๆ มา ๆ
...แล้วคุณพ่อผมก็คล้าย ๆ กับชาวจีนทั่วไป คือช่วงนั้นเกิดสงคราม ญี่ปุ่นไปรุกรานประเทศจีน คุณพ่อเลยหนีการเกณฑ์ทหารมาประเทศไทย มาอยู่กับครอบครัวคุณย่าทวดที่นครปฐม อยู่ได้สักพักพ่อก็ลงมาที่กรุงเทพฯ เพื่อมาหางานทำ มาเป็นเสมียนร้านขายธูปเทียนแถว ๆ ทรงวาด
...ทำได้สักพักคุณพ่อก็ออกมาตั้งตัวเอง มาเปิดร้านกระจกกรอบรูป สมัยนั้นจะเป็นกรอบไม้ ซื้อไม้จากโรงทำไม้มาเลื่อยทำเป็นกรอบ แล้วเอากระจกเงาใส่เข้าไปเพื่อส่องหน้า จะมีตั้งแต่ขนาด ๓x๕ นิ้ว จนถึงบานใหญ่ ๑๖x๓๖ นิ้ว
...คุณพ่อทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวเล็ก ๆ ร่วมกับคุณลุง โดยคุณลุงเป็นฝ่ายบู๊ ขณะที่คุณพ่อเป็นฝ่ายบุ๋น คือคุณลุงเป็นคนประกอบกระจกขึ้นมา ส่วนคุณพ่อจะออกไปหาลูกค้าแถวสำเพ็ง บางทีก็เอาไปขายส่งต่างจังหวัด เป็นอย่างนี้เรื่อยมา
...เมื่อคุณพ่อของเขาตั้งตัวได้ ก็รับภรรยาจากเมืองจีนมาอยู่ด้วยกันที่เมืองไทย
ตอนคุณพ่อมาเมืองไทย คุณแม่ไม่ได้มาด้วย ยังอยู่บ้านคุณย่าที่เมืองจีน เกือบสิบปีคุณแม่ถึงได้ตามมา เพราะมีคนไปกระซิบบอกแม่ว่าควรจะมาเมืองไทยซะ ถ้าไม่มาคุณพ่ออาจจะแต่งงานใหม่กับสาวไทย คุณแม่เลยขออนุญาตคุณย่ามาเมืองไทย เดินทางมาโดยเรือแดงจากท่าเมืองซัวเถา ผ่านเวียดนามมาขึ้นฝั่งที่ปากน้ำ
...ตอนอยู่ที่เมืองจีนคุณพ่อคุณแม่ยังไม่มีลูกด้วยกัน พอมาอยู่ที่เมืองไทยก็มีบุตรสาวคนแรก แต่อยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิตไป หลังจากนั้นก็เกิดพี่ชายผมคือพี่อานนท์ แล้วก็ผมเป็นคนที่ ๒ หลังจากนั้นก็มีน้อง ๆ ตามาอีก ๔ คน
...พวกเราเกิดมาก็อยู่กันที่จักรวรรดิ ฝั่งตรงข้ามกับวัดจักรวรรดิราชาวาส หลังจากมีพวกผมได้สัก ๓ คนก็เกิดไฟไหม้แถวนั้นจนหมดเนื้อหมดตัว ต้องสร้างเนื้อสร้างตัวกันใหม่ แต่ก็ยังกลับมาอยู่ถิ่นฐานเดิม พอเขาสร้างตึกแถวใหม่ก็กลับมาอยู่ใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #175 เมื่อ: 30-12-2007, 16:07 » |
|
ช่วงนั้นฐานะของครอบครัวไม่ได้สุขสบาย เพราะคุณพ่อของเขาต้องส่งเงินจากเมืองไทยไปช่วยครอบครัวที่เมืองจีนด้วย
ผมเข้าใจว่าเป็นประเพณีปฏิบัติของคนจีนที่ต้องส่งเงินกลับบ้าน เพราะก่อนผมเกิดได้ปีเดียว ประเทศจีนก็เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. ๑๙๔๙
...คุณพ่อคุณแม่เคยเล่าให้ฟังว่าตอนที่จีนคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศสำเร็จ พวกเราอุตส่าห์ไปสั่งอาหารจากเหลามากินกัน
...แต่คิดไม่ถึงว่าอีกไม่กี่ปีต่อมา คุณปู่ก็เริ่มส่งจดหมายมาบอกว่าอยากให้ส่งเงินไปให้เยอะ ๆ หน่อย คุณพ่อก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องส่งเงินไปเยอะ ๆ
...พอดีมีญาติบางคนมาจากเมืองจีนเลยสอบถามดู เขาบอกว่าคุณปู่ถูกกล่าวหาจากคนในบ้านด้วยกันว่าเป็นเจ้าของที่ดิน เป็นนายทุน คุณปู่เลยถูกจับไปเฆี่ยนตีเพื่อให้รับสารภาพว่าเป็นนายทุน
...พอคุณปู่ถูกใส่ความ ก็พยายามต่อสู้กัน และต้องเอาเงินไปไถ่ คุณปู่เลยต้องให้เราส่งเงินกลับบ้านไปเยอะ ๆ คุณพ่อเป็นคนกตัญญูมาก พอรู้ข่าว คุณพ่อก็น้ำตาไหล คุณย่าก็ร้องไห้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนตาบอดไปข้างนึง นี่คือโศกนาฏกรรมที่ผมคิดว่าคนจีนทุกคนคงประสบ
...ต้องยอมรับว่าเวลานั้นประเทศจีนอยู่ระหว่างการสร้างเนื้อสร้างตัว ก็มีอุปสรรคต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลกระทบถึงผู้คนมากมาย รวมทั้งชาวจีนในประเทศไทยด้วย
สองพี่น้องแม้จะเกิดห่างกัน ๒ ปี แต่ก็ถูกส่งเข้าโรงเรียนพร้อมกัน
พี่ชายเกิดปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ส่วนผมเกิด พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ในบัตรประจำตัวของพี่ชายจะเป็น พ.ศ. ๒๔๙๒ เพราะคนจีนสมัยโน้นพอเกิดแล้วไม่ได้ไปแจ้งเกิด แล้วหมอตำแยมาทำคลอดที่บ้าน พอเสมียนอำเภอมา ก็ฝากไปบอกว่ามีลูกแล้วนะ
...เพราะฉะนั้นเวลาเกิดของพวกเราจะไม่ตรงกับเวลาเกิดจริง ๆ จะต่างไปสัก ๓ เดือน ๖ เดือน แต่พี่ชายข้ามปีไปเลยhttp://forum.serithai.net/index.php?topic=16634.msg240152#msg240152
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #176 เมื่อ: 31-12-2007, 08:55 » |
|
来偷看美姐 谢谢你มาแอบดูกระทู้คุณ เม่ย ขอบคุณครับบบบบ 哎呀!偷看美姐千万就不行。
但偷看我的题目,就没问题呢!随(便)你,随你。 --------------------------------------------------------------------------- บทสัมภาษณ์ของ น.นพรัตน์ กำลังจะโพสต์ครบถ้วนแล้ว ขอขอบพระคุณแฟนกำลังภายในทุกท่านที่กรุณาติดตามอย่างสูงค่ะ เรื่องต่อไปที่จะนำมาเสนอ อาจจะเป็นเรื่อง กระบี่เย้ยยุทธจักร ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก หรือหลวงจีนซานเต๋อ ตามที่คุณนายเกตุขอไว้ค่ะ กำลังหาข้อมูลอยู่นะคะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-12-2007, 09:35 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #178 เมื่อ: 01-01-2008, 12:51 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #179 เมื่อ: 01-01-2008, 13:12 » |
|
เชี่ยเหงากังโอ๊ว (ภาษาจีนกลาง ออกเสียงเป็น เซี่ยวอ้าวเจียงหู - 笑傲江湖 Xiao Ao Jiang Hu) เป็นสุดยอดนิยายกำลังภายใน จากปลายปากกาของ กิมย้ง นักเขียนยุทธจักรนิยายชื่อก้อง ถูกจัดเป็นนิยายกำลังภายในที่สะท้อนเรื่องราวทางการเมืองได้อย่างแสบสัน ยิ่งตัวละครทุกตัวล้วนสร้างขึ้นมาจากบุคคลที่เราสามารถเห็นได้ตามชีวิตประจำวัน จึงทำให้คนดูซึมซับความสนุกสนาน และ สาระได้อย่างเต็มที่ Xiao Ao Jiang Hu ได้รับการแปลเป็น ภาษาไทยโดย น.นพรัตน์ แปลใช้ชื่อว่า ผู้กล้าหาญคะนอง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กระบี่เย้ยยุทธจักร ตามชื่อที่ทางภาพยนตร์โทรทัศน์ตั้ง และ เดชคัมภีร์เทวดา ตามหนังใหญ่ด้วย Xiao Ao Jiang Hu ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ทั้งจอแก้วและจอเงินหลายครั้ง และประสบความสำเร็จแทบทุกครั้ง ฉบับแรกนั้น ชอว์บราเดอร์ นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ (หนังใหญ่)ภายใต้ชื่อ ฤทธิ์ดาบฟ้าลั่น (The Proud Youth) จากการกำกับของ ซุนจ้ง นำแสดงโดย หวังอวี่ เฉินฮุ่ยเหมี่ยน ซือซือ กุ๊ฟง และหลิงยวิ๋น(ดารารับเชิญ) โดยจัดเอาในช่วงกลางเรื่องมานำเสนอ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-01-2008, 20:33 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #180 เมื่อ: 01-01-2008, 20:26 » |
|
เพลงไตเติ้ลจากภาพยนตร์ เดชคัมภีร์เทวดา ผลงานการสร้างของฉีเค่อ ซึ่งคลิปนี้ เป็นฉากต่อสู้ที่ตื่นตาตื่นใจของ บูรพาไม่แพ้ (ตงฟางปุ๊ป้าย จีนกลาง หรือ ตังฮึงปุ๊กไป่ แต้จิ๋ว) ในเดชคัมภีร์เทวดา ภาค ๒ และร้องโดย นักร้องนักแสดงชื่อดังของฮ่องกง แซม ฮุย (สวี่กวนเจี๋ย) 笑 อ่านว่า เฉี่ย (แต้จิ๋ว- ในที่นี้ต้องผันเสียงเป็น "เชี่ย") หรือ เซี่ยว (จีนกลาง) แปลว่า หัวเราะ, ยิ้ม 傲 อ่านว่า เหงา (แต้จิ๋ว) หรือ อ้าว (จีนกลาง) แปลว่า หยิ่ง, ผยอง 江湖 อ่านว่า กังโอ๊ว (แต้จิ๋ว) หรือ เจียงหู (จีนกลาง) ในสมัยเก่าแปลว่า ทั่วทุกมุมโลก ตามรูปศัพท์ หมายถึง คนพเนจร, คนระเหเร่ร่อน ในที่นี้จะหมายถึง ยุทธจักร เชี่ยเหงากังโอ๊ว จึงมีความหมายว่า มือกระบี่มือหนึ่งแห่งแผ่นดินเยาะเย้ยความเป็นไปของยุทธจักร และ กฎเกณฑ์อันหลอกลวงของยุทธจักร - วิกิพีเดีย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #182 เมื่อ: 22-01-2008, 02:00 » |
|
จาเหลียงยง (查良鏞) หรือ จินยง (金庸) กิมย้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Louis เจ้าของบทประพันธ์ "กระบี่เย้ยยุทธจักร" อันลือลั่น ตอนท้ายของคลิปนี้ ได้กล่าวสรุปไว้ว่า 笑傲江湖 - 是人生最大的境界 เมื่อปี ค.ศ.1992 กิมย้ง หรือ จินยง หรือ จาเหลียงยง ในวัย 68 ปี ได้ใช้ชีวิตนักศึกษาปริญญาเอกทำวิจัย ณ มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษประมาณครึ่งปี ซึ่งกิมย้งกล่าวว่า นับเป็นช่วงเวลาที่น่าประทับใจยิ่ง สองคนตายายใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน โดยภรรยาของท่านต้องดูแลที่พัก ทำกับข้าว และทำงานบ้านเองทุกอย่าง 2000 - รับมอบรางวัลเกียรติยศ จาก ต่งเจี้ยนหัว ผู้ว่าฯ ของฮ่องกงในเวลานั้น 2001- ดาวเคราะห์ลำดับที่ 10930 ได้รับการตั้งชื่อว่า กิมย้ง จากสมาคมดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ 2003 - ห้องสมุดกิมย้งได้ก่อตั้งขึ้น ณ ถนนตัดใหม่สายหนึ่งในมาเก๊า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ริวเซย์
|
|
« ตอบ #183 เมื่อ: 22-01-2008, 21:54 » |
|
น่าสนุกนะ งั้นมาเจอกับอาจารย์ของผมหน่อยละกันนะ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #184 เมื่อ: 27-01-2008, 09:57 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-01-2008, 10:16 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #185 เมื่อ: 04-02-2008, 05:58 » |
|
ในโอกาสที่เทศกาลตรุษจีนกำลังมาถึง ทำให้คิดถึงบรรยากาศการเชิดมังกรที่เทศบาลนครขอนแก่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา พักจัดขบวน มาแล้ว ๆ เข้าไปใกล้อีกนิด ขอพักเหนื่อยสักหน่อยค้าบ เกาะกลุ่มกันไว้ระหว่างรอคิวแสดง อะไรเอ่ย -- กงจื้อทั้งหลายมองไปทิศทางเดียวกัน ภาคกลางคืน -- โพกหัวอีกแบบ ก่อนเลียนแบบจูมง เฮ้...ยิ้มหน่อยยยย เอ็งกอ และโกวเนี้ยน้อยน่ารัก หาบกระเช้าดอกไม้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-02-2008, 10:37 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #186 เมื่อ: 07-02-2008, 09:08 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #187 เมื่อ: 07-02-2008, 10:47 » |
|
วันนี้ตอนสายไปดูที่นครสวรรค์ก็ได้ครับ
หรืออีกครั้งตอนหัวค่ำ วันมะรืนนี้(ไม่แน่ใจนะครับ)
ก็มีให้ดู กลางคืนจะดูสวยงามกว่าตอนกลางวัน
เพราะมังกรทอง จะลงไปเชิดที่หาดแม่น้ำเจ้าพระยา
แสงสีดูแล้ว งดงามมากๆครับ ถ้าอยากจะไป โทรถาม ททท.ก่อนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #188 เมื่อ: 10-02-2008, 12:09 » |
|
วันนี้ตอนสายไปดูที่นครสวรรค์ก็ได้ครับ
หรืออีกครั้งตอนหัวค่ำ วันมะรืนนี้(ไม่แน่ใจนะครับ)
ก็มีให้ดู กลางคืนจะดูสวยงามกว่าตอนกลางวัน
เพราะมังกรทอง จะลงไปเชิดที่หาดแม่น้ำเจ้าพระยา
แสงสีดูแล้ว งดงามมากๆครับ ถ้าอยากจะไป โทรถาม ททท.ก่อนครับ ขอบคุณท่านเล่าปี๋มากหลายค่ะ เพิ่งแวะไปเยี่ยมบ้านเกิดกลับมา ได้แวะแสดงความเคารพที่ศาลเจ้าปุง(ปึง) เถ่ากงที่เพิ่งสร้างเสร็จประมาณ ๒ เดือน ตามรูปข้างล่างด้วยค่ะ เห็นศาลเจ้าที่สร้างถาวรแล้ว ทำเอาใจหายวาบ เพราะสร้างที่เดียวกับโรงเรียนประถมที่เคยเรียน ( 公立同济学校 ) -- อ้าว เอ๊ะ แล้วโรงเรียนเราหายไปไหนแล้ว ไปกลับผ่านนครสวรรค์ด้วยนะคะ แต่โอกาสยังไม่เอื้อ ไว้ครั้งหน้า คงไม่พลาด แต่หลายปีก่อน มีโอกาสดูที่ชุมแสงช่วงหนึ่งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #189 เมื่อ: 11-02-2008, 07:41 » |
|
เขียนถึงโก้วเล้ง
โก้วเล้ง มีชื่อจริงว่า โสงเอี๋ยวฮว๋า เนื่องจากมีรูปร่างอ้วน ๆ เตี้ย ๆ หัวโต ๆ ทั้งยังแซ่โสง ที่แปลว่า หมี จึงถูกพวกเพื่อนสนิทเรียกว่า หมีหัวโต (โสงต้าโถว) ก็เป็นฉายาที่น่ารักดี
(โก้วเล้งเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2481 อย่างไรก็ตาม หนังสือบางเล่มระบุว่าเป็นปี พ.ศ. 2480 โก้วเล้งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลในไต้หวัน เมื่ออายุได้ 47 ปี )
จากคำให้สัมภาษณ์ โก้วเล้งบอกเกิดในฮ่องกง แต่ไปเติบโตที่ไต้หวัน ฐานะยากจน ต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย จนกระทั่งจบมหาวิทยาลัยตั้นเจียงที่กาลก่อนเป็น วิทยาลัยภาษาต่างประเทศ ดังนั้น ภาษาอังกฤษของโก้วเล้งจึงดีมาก ๆ ดีจนกระทั่งได้เป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดยูซีสในไต้หวัน (ช่วงนั้นมีทหารอเมริกันอยู่ในเกาะไต้หวันกับเกาะคีมอยหลายหมื่นคน)
และช่วงนั้นเอง ฮ่องกงกำลังฮิตเรื่องยุทธจักรนิยาย จากฝีมือการปลุกของ เนี่ยอูเซ็ง กับ กิมย้ง จนความนิยมแพร่ไปถึงไต้หวัน ทางการของไต้หวันก็สนับสนุน (แต่จีนแผ่นดินใหญ่ห้าม) เพราะงมงายในหนังสือย่อมดีกว่าฟุ้งซ่านในการเมือง (ช่วงนั้นรัฐบาลก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็กหนีจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักในไต้หวันได้ไม่กี่ปี จีนแผ่นดินใหญ่ยังขู่คำรามจะปลดปล่อยไต้หวันให้ได้ จนอเมริกาต้องส่งกองเรือที่ 7 ลาดตระเวนในช่องแคบระหว่างไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เป็นการห้ามศึกไว้ก่อน)
ดังนั้น นิยายกำลังภายในของไต้หวันจึงเฟื่องฟูถึงขีดสุด มีนักเขียนมากถึงสองสามร้อยคน แต่ไม่มีเด่นดังขึ้นเทียบทางฮ่องกงได้เลย
โก้วเล้งตอนนั้นพลอยกระ***นกระหือรือไปด้วย ต้องการหาลำไพ่พิเศษบ้าง จึงลองเขียนตามสมัยนิยม โดยใช้นามปากกา พ่อเกี่ยมเล้าจู๊ (เจ้าของหอโอบกระบี่) ตามที่นักเขียนมีชื่อรุ่นก่อนชอบใช้ (เล้าจู๊) เขียนในวงจำกัดของนิยายกำลังภายในยุคนั้น ที่เป็นน้ำนิ่งจนแทบเป็นน้ำเน่าแล้ว
เรื่องของ พ่อเกี่ยมเล้าจู๊ ขายได้ มีคนซื้อ แต่ไม่ดัง รายได้จึงไม่ดี โก้วเล้งที่มีพื้นความรู้สูงมาก และรักในการเป็นนักเขียน แล้วจึงขอยืมนามปากกา เซี่ยวกัวเตี้ย จากเพื่อนที่พอจะมีชื่อคุ้นหูนักอ่าน (นักเขียนจีนในไต้หวันแลกเปลี่ยนหรือยังยืมนามปากกากันได้) และเปลี่ยนแนวเขียนใหม่ให้แปลกไปจากแวดวงจำกัด เรื่องที่ประสบความสำเร็จพอมีชื่อเสียงขึ้นบ้างคือ ศึกสายเลือด ที่แนวเป็นรักกันขัดกันในสายเลือด ขัดแย้งในความคิด ปรัชญา อารมณ์เป็นแกน แทนการฆ่าล้างแค้น ฆ่าเพื่อเป็นใหญ่ ฆ่าเพื่อชิงของวิเศษหรือคัมภีร์วิทยายุทธ์ ต่อมาคือ นักสู้ผู้พิชิต ที่ผสมเรื่องญี่ปุ่นและให้ซามูไรญี่ปุ่นเป็นตัวเอกอีกคน (ไต้หวันเคยถูกญี่ปุ่นยึดครองไว้หลายสิบปี ชาวไต้หวันเชื้อสายญี่ปุ่นจึงมีไม่น้อย)
แต่ที่ประสบความสำเร็จสูงมากคือ พิฆาตทรชน (ประมาณปี 2502) เพราะเขียนได้กระชับ มีอารมณ์ขัน จึงได้รับความชื่นชมอย่างมาก ยุคนั้นหนังสือประเภทนี้ออกเป็นเล่ม ๆ หนา 5 ยก พิฆาตทรชน ที่มีผู้นิยมมาก เมื่อออกได้ 7 เล่ม (หนังสือยาว 17 เล่ม) โสงเอี๋ยวฮว๋าเห็นว่า เมื่อเปลี่ยนแนวเขียนและพอมีคนนิยมมากขึ้น ควรมีนามปากกาของตัวเองได้แล้ว จึงได้เกิดนามปากกา โก้วเล้ง ขึ้นเป็นครั้งแรก และก็เป็นครั้งแรกที่หนังสือเรื่องเดียวกันมีสองนามปากกา เขียนคนละครึ่งเรื่อง !
.....
อ้างอิง : ชุดยุทธจักรนิยาย "ฤทธิ์มีดสั้น" โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ หน้า (7) - (10) ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2549
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #190 เมื่อ: 13-02-2008, 07:48 » |
|
นามปากกา โก้วเล้ง ยืนหยัดอยู่ได้ ไม่ดังแต่ไม่ดับ คงเส้นคงวาอยู่ในระดับชั้นกลาง ๆ โก้วเล้งที่มีพื้นความรู้สูง สมองเป็นอัจฉริยะ เห็นอยู่เสมอว่า จะเหนือกว่านักเขียนอื่น ๆ ต้องเขียนเรื่องที่แปลก-แหวกแนวจากคนอื่น ๆ ดังนั้นเองในปี 2510 จึงมีเรื่อง เซี่ยวฮื้อยี้ ที่ลือลั่น (คุณภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ ซื้อทำละครให้ทีวีช่อง 3 ในชื่อ ขุนพลผู้ไร้ทวน ) นามปากกาโก้วเล้งจึงโดดเด่นเป็นเอก เหนือกว่า อ้อเล้งเซ็ง ที่เป็นหนึ่งในไต้หวันถึงสิบกว่าปีได้ตั้งแต่บัดนั้นมา !
จะขึ้นเป็นหนึ่งนั้นยาก แต่จะรักษาความเป็นหนึ่งให้ยืนยงยิ่งยากกว่า โก้วเล้งเมื่อได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นักอ่านทุกระดับชั้น ย่อมรักถนอมนามปากกามาก พยายามเปลี่ยนเค้าโครงให้แปลกใหม่อยู่เสมอ กระทั่งยอมดัดแปลงเรื่องดัง ๆของฝรั่ง (ถนัดอยู่แล้วเพราะเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดฝรั่งมาหลายปี) แต่ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย เช่น พยัคฆ์ร้ายบู๊ลิ้ม (จากหนังสือฝรั่ง เรื่อง การฆาตกรรมที่มีหุ่นขี้ผึ้งในห้องใต้ดินเกี่ยวข้อง) จอมโจรจอมใจ (ผสมผสานจากเรื่องของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ อาแซง ลูแปง รวมทั้งผู้ร้ายผู้ดี)
จนเมื่อปี 2513-2514 จะนับเป็นปีหักมุมชีวิตโก้วเล้งก็ว่าได้ เพราะเขียน 2 เรื่องลงในนิตยสาร 2 ฉบับ ในแนวที่ต่างกันเป็นตรงข้าม เรื่องหนึ่งคือ เดชอุกกาบาต (น.นพรัตน์) ที่ดัดแปลงจาก ก๊อดฟาเธอร์ เป็นแนวแกร่งกร้าวดุดัน ทรยศหักหลัง เข่นฆ่าล้างแค้น (อัล ปาชิโน มาลอน แบรนโด นำแสดงในภาพยนตร์)
อีกเรื่องหนึ่งคือ ฤทธิ์มีดสั้น ที่ดัดแปลงจาก กันไฟท์ แอ้ด ดิ โอ.เค.คอรั่ล ซึ่งเป็นเรื่องนุ่มนวล เน้นในความรักแบบฉบับต่าง ๆ ปรัชญาชีวิต - ศาสนา และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปรได้ดีเยี่ยม โดยไม่เคยมีนักเขียนในอดีตหรือยุคนั้นจะเขียนได้ ! (มาลอน แบรนโด เคิร์ก ดักลาส นำแสดงในภาพยนตร์ ชื่อ สองสิงห์เมืองเสือ)
เดชอุกกาบาต ไม่ดังเพราะภาพยนตร์เรื่อง ก๊อดฟาเธอร์ เพิ่งผ่านตาไปไม่นาน แต่ ฤทธิ์มีดสั้น (สองสิงห์เมืองเสือ) ผ่านตาไปกว่าสิบปีแล้วจึงดังมาก ดังขนาดพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนครั้งสุดท้าย โก้วเล้งขายให้ 2 สำนักพิมพ์ใน 2 ชื่อเรื่อง แต่เนื้อในเหมือนกันทุกตัวอักษร คนที่แย่งกันซื้ออ่านด่ากันเกรียว โดยด่าโก้วเล้งว่างก ไม่ซื่อ แต่ไม่ด่าว่าชั่วร้าย ทรยศคนอ่าน ไม่มีจรรยาบรรณ เพราะเรื่องหลัง ๆ ของโก้วเล้งยังคงขายได้สูงสุดเช่นเคย
โก้วเล้งประสบความสำเร็จสูงที่สุดในชีวิตแล้ว เพราะผลงานเก่า ๆ มีสำนักพิมพ์แย่งกันประมูลไป ผลงานใหม่ที่ทั้งบริษัทภาพยนตร์กับทีวีแย่งกันทำสัญญาผูกขาด ทั้งยังเหมาเรื่องเก่ามาสร้างภาพยนตร์ สร้างทีวี มีรายได้สูงสุด เหนือกว่านักเขียนในอดีตจวบจนปัจจุบัน (ไม่นับกิมย้ง เพราะมีโรงพิมพ์ มีหนังสือพิมพ์รายวันหมิงเป้าเป็นของตัวเอง)
จาก ฤทธิ์มีดสั้น ที่ได้รับความสำเร็จสูงสุด พาชีวิตให้ขึ้นสู่ชั้นสูงของทุกวงการ !
โก้วเล้งดัดแปลงเรื่องฝรั่งชั้นมือโปรจนไม่มีกลิ่นอายของนมเนยเลยสักน้อยนิด บัดนี้โก้วเล้งวายชนม์ไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ผลงานอันเป็นอมตะ ซื้อเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อรำลึกถึงนักเขียนที่เพื่อน ๆ เรียกว่า หมีหัวโต แต่คนในทุกวงการเรียกเขาว่า อัจฉริยะปีศาจ ที่อาจไม่มีอีกแล้วก็ได้
ว. ณ เมืองลุง
อ้างอิง : ชุดยุทธจักรนิยาย "ฤทธิ์มีดสั้น" โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ หน้า (7) - (10) ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2549
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #191 เมื่อ: 14-02-2008, 08:26 » |
|
ว. ณ เมืองลุง ว. ณ เมืองลุง คาดว่าคงไม่มีใครที่อ่านนิยายจีนกำลังภายในแล้ว ไม่รู้จักนามปากกานี้ เพราะนามปากกานี้ยืนยงคงคู่มา กับ น. นพรัตน์ ในวงการนิยายจีนกำลังภายในมาจวบจนปัจจุบัน
ว. ณ เมืองลุง เป็นนามปากกาของ ชิน บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2472 ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนจีน จังหวัดพิษณุโลก มีโอกาสได้เรียนทั้งภาษาไทย และภาษาจีน ภายหลังประมาณ พ.ศ. 2494 สอบได้ประกาศนียบัตรครู (ป.) เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเปิดสอบวิชาครู
เคยเข้าไปทำงานที่ร้านค้าแถวห้าแยกพลับพลาไชย กรุงเทพ ฯ แต่ทำอยู่ได้ไม่นานเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา จังหวัดพิษณุโลก เมื่อสอบได้ประกาศนียบัตรครู (ป.) ได้ไปสอนหนังสือที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 1 ปี แล้วย้ายไปสอนที่โรงเรียนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อีก 1 ปี จากนั้นไปสอนที่โรงเรียนศึกษาวัฒนา สามย่าน กรุงเทพ ฯ จนประมาณ พ.ศ. 2504 ลาออกมาทำงานเสมียนโรงไม้ที่จังหวัดพัทลุง และเริ่มแปลนวนิยายจีนกำลังภายในเมื่อ พ.ศ. 2506 จนยึดเป็นอาชีพเรื่อยมา
เนื่องจากชิน บำรุงพงศ์เป็นผู้มีความรู้ภาษาจีนดี ชอบอ่านเรื่องจีน ทั้งฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาจีนอยู่เป็นประจำ เมื่อไปเป็นเสมียนโรงไม้ที่พัทลุง ไม่มีหนังสือจีนให้เลือกอ่านเหมือนที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ แต่ได้เห็นหนังสือเรื่อง มังกรหยก ฉบับภาษาไทยที่ จำลอง พิศนาคะ เป็นผู้แปล และมีผู้อ่านสนใจติดตามกันมาก จึงเกิดความคิดที่จะแปลเรื่องจีนออกมาเป็นภาษาไทยบ้าง เมื่อได้มีโอกาสเข้ากรุงเทพ ฯ จึงไปพบกับคุณเวช กระตุฤกษ์ เจ้าของสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ เพื่อยื่นข้อเสนอให้พิจารณา ตอนนั้น คุณชลิต พรหมดำรงบรรณาธิการสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ให้ทดลองแปลข้อความจากหนังสือพิมพ์ และได้ให้คนจีนตรวจสองเห็นว่าถูกต้อง จึงให้ทดลองแปลนวนิยายจีนกำลังภายในไปให้ดูก่อน 1 เรื่อง ปรากฏว่า คุณเวช กระตุฤกษ์ไม่ชอบสำนวนแปลที่แตกต่างไปจากของคุณจำลอง พิศนาคะ ซึ่งเดินตามแนวภาษาหนังสือสามก๊ก แต่คุณชลิต พรหมดำรงได้สนับสนุนให้พิมพ์เป็นเล่มปกอ่อนออกมาขายเพื่อหยั่งความนิยม นิยายเรื่องแรกของชิน บำรุงพงศ์ คือเรื่อง กระบี่ล้างแค้น ใช้นามปากกาว่า ว.ณ เมืองลุง โดยมีที่มาจากย่อชื่อของ วิไล ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกที่เขารักเมื่ออยู่ที่พัทลุง ปรากฏว่าขายดีจนเล่มที่สองต้องพิมพ์สองครั้งในวันเดียวกัน และเนื่องจากกระบี่ล้างแค้น มีความยาวถึง 100 เล่ม นับได้ว่า ว.ณ เมืองลุง ประสบความสำเร็จอย่างสูงตั้งแต่ต้น จึงได้แปลนิยายจีนกำลังภายในเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ระยะแรกมอบให้สำนักพิมพ์เพลินจิตต์พิมพ์จำหน่ายทั้งหมด กระทั่งสำนักพิมพ์เพลินจิตต์หยุดกิจการ จึงมอบหมายให้สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นดำเนินการพิมพ์เรื่อยมา นอกจากนี้ชิน บำรุงพงศ์ยังมีผลงานในหน้าหนังสือพิมพ์เดลิเมล์วันจันทร์ ไทยรัฐ และเดลินิวส์ในบางช่วงด้วย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ว. ณ เมืองลุงแปลหนังสือด้วยวิธีพูดบันทึกลงเทป ภคินีผู้เป็นบุตรสาวเล่าว่า " มีเพียงเล่มแรกคือกระบี่ล้างแค้นเท่านั้น ที่แปลเหมือนคนอื่นๆ คือเขียนและพิมพ์ แต่ท่านทำแล้วปวดแขนเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแนะนำให้แปลใส่เทป ด้วยว่าท่านสามารถกางหนังสือจีนแล้วแปลได้ทันที " แต่ไล่ไปช้าๆ นะคะ คุณพ่อท่านจะอ่านจากต้นฉบับแล้วพูดใส่เทปช้าๆ เพื่อให้คนพิมพ์เขาถอดคำพูดออกมาได้ง่ายๆ และไม่อนุญาตให้แก้ไขสิ่งที่ท่านพูด ฟังเทปได้ยินอย่างไรก็ให้พิมพ์ออกมาอย่างนั้น เมื่อส่งกลับมาให้ท่านตรวจทาน ท่านจะแก้ไขด้วยตนเอง ...หลายคนคงคิดว่าคุณพ่อทำงานสบาย แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นท่านนิ้วโป่งพองและแตก เพราะต้องคอยกดเทปไว้ มันไม่เหมือนเทปสมัยนี้ แล้วกว่าจะแปลจบแต่ละเรื่อง นิ้วท่านระบมไปหมด ภคินีกล่าว
เนื่องจาก ว. ณ เมืองลุงแปลหนังสือด้วยวิธีพูดบันทึกลงเทป โดยนำหนังสือต้นฉบับภาษาจีนมากาง แล้วพูดเป็นภาษาไทยอัดเทปส่งให้คนถอดเสียง ทำให้สามารถผลิตงานแปลได้ประมาณวันละ 30 - 40 หน้ากระดาษพิมพ์ ซึ่งเท่ากับหนังสือขนาดปกอ่อน 1 เล่ม นับจากเรื่องแรก คือ เรื่อง กระบี่ล้างแค้น ที่แปลเมื่อ พ.ศ. 2506 จนมาถึงประมาณ ปี พ.ศ. 2531 ว.ณ เมืองลุง จึงยุติการแปลนิยายจีนกำลังภายใน เพราะเห็นว่า อายุมากแล้ว ท่านใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น ไม่ชอบออกงาน ไม่ชอบเป็นข่าว และนั่นนำมาซึ่งการจากไปอย่างเงียบสงบในวัย 77 ปี สมความตั้งใจ เป็นเหตุให้วงวรรณกรรมทราบข่าวการจากไปของท่านช้ามาก
ว. ณ เมืองลุง ลาล่วงจากบรรณพิภพไปอย่างเงียบๆ เมื่อคืนวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 77 ปี หลายคนกล่าวด้วยน้ำตาคลอๆ ว่า เงียบเกินไป หากแต่จะทำอย่างไรได้ ด้วยว่านั่นเป็นวัตถุประสงค์ของชิน บำรุงพงศ์ ผู้ที่เป็นหนอนวรรณกรรมกำลังภายในซึ่งแปลเป็นไทยด้วยสำนวนวิจิตร รู้จักในชื่อ ว. ณ เมืองลุง
อ้างอิง : เว็บไซต์ ยุทธจักรนิยาย โดย ขลุ่ยผุไร้สำเนียง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #192 เมื่อ: 15-02-2008, 06:03 » |
|
ว.ณ เมืองลุง พิธีเผาศพผู้ชายวัย 77 ปี ชื่อชิน บำรุงพงษ์ ที่วัดท่าพระ ฝั่งธน เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว หลังสี่โมงเย็น วันที่ 31 ก.ค. 2547 ครับ
ผมเชื่อว่า แฟนนิยาย ของ ว. ณ เมืองลุง ในเมืองไทย มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน...แฟนรุ่นแรก...ช่วงปี 2506 คงจำฉื่อง่วนเพ้ง ได้ นี่คือพระเอก กระบี่ล้างแค้น ที่ฝากปมรักปมสวาทกับผู้หญิงชุดม่วง ขณะโต๊ะฮุ่นกี้ ในเพลินจิตต์ หรรษา กำลังเร้าใจ ใครเป็นโต๊ะฮุ่นกี้ตัวปลอมคนที่ห้า แฟนๆก็ติดตาม มังกรหยก ภาค 3 ภาค 4 สำนวนแปล จำลอง พิศนาคะ เล่มละ 5 บาท กระบี่ล้างแค้น เล่มละ 3 บาท
น.นพรัตน์ แฟนตัวจริงนิยายกำลังภายในยุคนั้น ให้ข้อมูลได้มั่นคงกว่า กระบี่ล้างแค้น อ้อเล้งเซ็ง นักเขียนมือหนึ่งไต้หวัน เขียนไว้ 49 ตอน ตอนต่อมา จนเกือบจะถึง 100 ตอน เป็นฝีมือคนอื่น สำนวนแปลกระบี่ล้างแค้น ลึกซึ้งคมคาย ทำให้ชื่อ ว. ณ เมืองลุง แพร่หลายเป็นที่รู้จัก และเมื่อมี ลี้ คิมฮวง จากฤทธิ์มีดสั้นเป็นเรื่องต่อมา ชื่อ ว. ณ เมืองลุง ก็ยิ่งโดดเด่น
เกิดกรุงเทพฯ เป็นครูสอนโรงเรียนจีนอยู่ในกรุงเทพฯ ทำไม...จึงใช้นามปากกา ว. ณ เมืองลุง คำตอบ...ชอบเมืองพัทลุง เคยไปเป็นเสมียนในพัทลุง นักแปลนิยายกำลังภายในชื่อดัง มีแฟนติดตามเต็มเมือง เจ้าของสำนักพิมพ์เอาใจ ให้นั่งในห้องแอร์ แต่ก็ยังเขียนป้อนไม่ทันตามที่ตลาดต้องการ แล้วกระบวนแปลแบบที่นักแปลรุ่นไหน รู้แล้วก็ทำตามไม่ได้ ก็เกิดขึ้น ความจริงที่เปิดเผยได้ นิยายจีนขายดี ฝีมือ ว. ณ เมือง-ลุง ในระยะต่อมา แปลออกมาปากเปล่า มีทั้งแปลใส่เทป ให้คนไปพิมพ์ภายหลัง มีทั้งแปลแล้วให้พิมพ์คำต่อคำ
คนที่ผมรักนับถือ...พิมพา พิทักษ์กมลพันธ์ เจ้าของ สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น เล่าด้วยความภูมิใจ คนที่พิมพ์ไวทันปาก ว. ณ เมืองลุง "เจ๊เอง" ฝีปากแปล...ระดับอัจฉริยะอย่างนี้ น.นพรัตน์ นักแปลรุ่นน้อง ยอมรับเต็มหัวใจ นี่คือตัวจริงของกระบี่ไร้เทียมทาน...
ความภูมิใจครั้งหนึ่งในชีวิตผม...ก็ตอน ว. ณ เมืองลุง แปล ผีเสื้อสยองขวัญ ให้ในหนังสือพิมพ์ฉบับที่สังกัด รับโบนัสแล้วก็เอาไปเสียไฮโลด้วยกัน จบผีเสื้อสยองขวัญเริ่มแปลมังกรเจ้ายุทธจักรพักเดียว ก็เกิดอาเพศให้ต้องเดินออกมาพร้อมกัน
ถ้าชัย ราชวัตร ไม่บอกในวันไปงานเผาศพ ผมก็คงลืมไปแล้ว หากจะนับรุ่น วัยรุ่นใจร้อน รุ่นนั้น...ว. ณ เมืองลุง รวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง ผมเพิ่งรู้ ว. ณ เมืองลุง มีเพื่อนสนิททั้งในวงเหล้า วงเที่ยว อีกหลายรุ่น รุ่นใหญ่ที่คุยให้ฟังบ่อยๆ นพพร บุณยฤทธิ์ รัตนะยาวะประภาส และอาจินต์ ปัญจพรรค์ ความผูกพันในฐานะเพื่อนรุ่นเล็กที่ยังมีอาชีพสื่ออย่างผม รับเงื่อนไข ไม่บอกใครก่อนเผา แต่เผาแล้ว ผมมีหน้าที่ที่จะต้องบอกข่าวให้รู้ทั่วกัน ว. ณ เมืองลุง ตายแล้ว เผาไปแล้ว ก่อนตาย สั่งเสียไว้ไม่ต้องบอกใคร เพราะเกรงใจเพื่อน ถ้าใครไม่เชื่อ "กูจะแช่ง". อ้างอิง : ชักธงรบ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ และแฟนคลับนิยายกำลังภายในร่วมแสดงความไว้อาลัย ที่กระทู้ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K2943805/K2943805.html
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปรมาจารย์เจได
|
|
« ตอบ #193 เมื่อ: 15-02-2008, 06:20 » |
|
กระแส เฉินกว้านซี ชักจะลามทุ่งไปกันใหญ่แล้ว ไม่เพียงแค่เป็นปรากฏการณ์เขย่าสังคม สร้างความระส่ำไปทั่วโลกไซเบอร์ ล่าสุดสื่อจีนรายงานว่ามีนักธุรกิจแซ่ หลี่ รายหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งของจีน ได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์ยี่ห้อ อาเจียว กว้านซี แล้ว คุณหลี่ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้านี้เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ว่ามีคนถือโอกาสไร้ท์ภาพหลุดดาราฮ่องกงที่กำลังเป็นข่าวคึกโครมขายกันอย่างโจ๋งครึ่ม ก็เลยคิดวิธีที่จะหาเงินอย่างถูกกฎหมายขึ้นบ้าง นั่นก็คือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็เลยคิดถึงยี่ห้อ กว้านซี อาเจียว และกำลังพิจารณาที่จะขอจดทะเบียนคำว่า โง่มาก ซึ่งเป็นวลีเด็ดของอาเจียวเมื่อวันที่ออกมาแถลงข่าวยอมรับกลายๆ เกี่ยวกับรูปฉาวดังกล่าวว่าในอดีตนั้น เธอ ไม่ประสีประสา และ โง่มาก ส่วนประเด็นที่ว่าหลังจากจดทะเบียนสำเร็จแล้ว จะนำไปใช้อย่างไรนั้น คุณหลี่คิดไว้แล้วว่าจะใช้ชื่อที่จดทะเบียนนี้เป็นชื่อยี่ห้อสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์ อย่างไรก็ตาม การขอจดทะเบียนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ก็อยู่เหนือความสามารถของคุณหลี่ซะแล้ว ทั้งนี้ กรณีที่มีพ่อค้าหัวหมอนำชื่อดาราฮ่องกงไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเคยมีมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการใช้อักษรพ้องเสียงแทน อาทิ น้ำยาลบคำผิดยี่ห้อ หลิวเต๋อหัว หรือยาแก้ท้องเสีย เซี่ยถิงฟง ส่วนการจดทะเบียนยี่ห้อ กว้านซี และ อาเจียว นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีใครขอจดทะเบียนชื่อนี้มาก่อน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการอนุมัติ ถ้ามันมาบ้านเรา มันคงได้หลายคำไปทำแบรนด์การค้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #194 เมื่อ: 15-02-2008, 22:16 » |
|
ว. ณ เมืองลุง ว. ณ เมืองลุง คาดว่าคงไม่มีใครที่อ่านนิยายจีนกำลังภายในแล้ว ไม่รู้จักนามปากกานี้ เพราะนามปากกานี้ยืนยงคงคู่มา กับ น. นพรัตน์ ในวงการนิยายจีนกำลังภายในมาจวบจนปัจจุบัน
ว. ณ เมืองลุง เป็นนามปากกาของ ชิน บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2472 ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนจีน จังหวัดพิษณุโลก มีโอกาสได้เรียนทั้งภาษาไทย และภาษาจีน ภายหลังประมาณ พ.ศ. 2494 สอบได้ประกาศนียบัตรครู (ป.) เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเปิดสอบวิชาครู
เคยเข้าไปทำงานที่ร้านค้าแถวห้าแยกพลับพลาไชย กรุงเทพ ฯ แต่ทำอยู่ได้ไม่นานเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา จังหวัดพิษณุโลก เมื่อสอบได้ประกาศนียบัตรครู (ป.) ได้ไปสอนหนังสือที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 1 ปี แล้วย้ายไปสอนที่โรงเรียนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อีก 1 ปี จากนั้นไปสอนที่โรงเรียนศึกษาวัฒนา สามย่าน กรุงเทพ ฯ จนประมาณ พ.ศ. 2504 ลาออกมาทำงานเสมียนโรงไม้ที่จังหวัดพัทลุง และเริ่มแปลนวนิยายจีนกำลังภายในเมื่อ พ.ศ. 2506 จนยึดเป็นอาชีพเรื่อยมา
เนื่องจากชิน บำรุงพงศ์เป็นผู้มีความรู้ภาษาจีนดี ชอบอ่านเรื่องจีน ทั้งฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาจีนอยู่เป็นประจำ เมื่อไปเป็นเสมียนโรงไม้ที่พัทลุง ไม่มีหนังสือจีนให้เลือกอ่านเหมือนที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ แต่ได้เห็นหนังสือเรื่อง มังกรหยก ฉบับภาษาไทยที่ จำลอง พิศนาคะ เป็นผู้แปล และมีผู้อ่านสนใจติดตามกันมาก จึงเกิดความคิดที่จะแปลเรื่องจีนออกมาเป็นภาษาไทยบ้าง เมื่อได้มีโอกาสเข้ากรุงเทพ ฯ จึงไปพบกับคุณเวช กระตุฤกษ์ เจ้าของสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ เพื่อยื่นข้อเสนอให้พิจารณา ตอนนั้น คุณชลิต พรหมดำรงบรรณาธิการสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ให้ทดลองแปลข้อความจากหนังสือพิมพ์ และได้ให้คนจีนตรวจสองเห็นว่าถูกต้อง จึงให้ทดลองแปลนวนิยายจีนกำลังภายในไปให้ดูก่อน 1 เรื่อง ปรากฏว่า คุณเวช กระตุฤกษ์ไม่ชอบสำนวนแปลที่แตกต่างไปจากของคุณจำลอง พิศนาคะ ซึ่งเดินตามแนวภาษาหนังสือสามก๊ก แต่คุณชลิต พรหมดำรงได้สนับสนุนให้พิมพ์เป็นเล่มปกอ่อนออกมาขายเพื่อหยั่งความนิยม นิยายเรื่องแรกของชิน บำรุงพงศ์ คือเรื่อง กระบี่ล้างแค้น ใช้นามปากกาว่า ว.ณ เมืองลุง โดยมีที่มาจากย่อชื่อของ วิไล ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกที่เขารักเมื่ออยู่ที่พัทลุง ปรากฏว่าขายดีจนเล่มที่สองต้องพิมพ์สองครั้งในวันเดียวกัน และเนื่องจากกระบี่ล้างแค้น มีความยาวถึง 100 เล่ม นับได้ว่า ว.ณ เมืองลุง ประสบความสำเร็จอย่างสูงตั้งแต่ต้น จึงได้แปลนิยายจีนกำลังภายในเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ระยะแรกมอบให้สำนักพิมพ์เพลินจิตต์พิมพ์จำหน่ายทั้งหมด กระทั่งสำนักพิมพ์เพลินจิตต์หยุดกิจการ จึงมอบหมายให้สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นดำเนินการพิมพ์เรื่อยมา นอกจากนี้ชิน บำรุงพงศ์ยังมีผลงานในหน้าหนังสือพิมพ์เดลิเมล์วันจันทร์ ไทยรัฐ และเดลินิวส์ในบางช่วงด้วย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ว. ณ เมืองลุงแปลหนังสือด้วยวิธีพูดบันทึกลงเทป ภคินีผู้เป็นบุตรสาวเล่าว่า " มีเพียงเล่มแรกคือกระบี่ล้างแค้นเท่านั้น ที่แปลเหมือนคนอื่นๆ คือเขียนและพิมพ์ แต่ท่านทำแล้วปวดแขนเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแนะนำให้แปลใส่เทป ด้วยว่าท่านสามารถกางหนังสือจีนแล้วแปลได้ทันที " แต่ไล่ไปช้าๆ นะคะ คุณพ่อท่านจะอ่านจากต้นฉบับแล้วพูดใส่เทปช้าๆ เพื่อให้คนพิมพ์เขาถอดคำพูดออกมาได้ง่ายๆ และไม่อนุญาตให้แก้ไขสิ่งที่ท่านพูด ฟังเทปได้ยินอย่างไรก็ให้พิมพ์ออกมาอย่างนั้น เมื่อส่งกลับมาให้ท่านตรวจทาน ท่านจะแก้ไขด้วยตนเอง ...หลายคนคงคิดว่าคุณพ่อทำงานสบาย แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นท่านนิ้วโป่งพองและแตก เพราะต้องคอยกดเทปไว้ มันไม่เหมือนเทปสมัยนี้ แล้วกว่าจะแปลจบแต่ละเรื่อง นิ้วท่านระบมไปหมด ภคินีกล่าว
เนื่องจาก ว. ณ เมืองลุงแปลหนังสือด้วยวิธีพูดบันทึกลงเทป โดยนำหนังสือต้นฉบับภาษาจีนมากาง แล้วพูดเป็นภาษาไทยอัดเทปส่งให้คนถอดเสียง ทำให้สามารถผลิตงานแปลได้ประมาณวันละ 30 - 40 หน้ากระดาษพิมพ์ ซึ่งเท่ากับหนังสือขนาดปกอ่อน 1 เล่ม นับจากเรื่องแรก คือ เรื่อง กระบี่ล้างแค้น ที่แปลเมื่อ พ.ศ. 2506 จนมาถึงประมาณ ปี พ.ศ. 2531 ว.ณ เมืองลุง จึงยุติการแปลนิยายจีนกำลังภายใน เพราะเห็นว่า อายุมากแล้ว ท่านใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น ไม่ชอบออกงาน ไม่ชอบเป็นข่าว และนั่นนำมาซึ่งการจากไปอย่างเงียบสงบในวัย 77 ปี สมความตั้งใจ เป็นเหตุให้วงวรรณกรรมทราบข่าวการจากไปของท่านช้ามาก
ว. ณ เมืองลุง ลาล่วงจากบรรณพิภพไปอย่างเงียบๆ เมื่อคืนวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 77 ปี หลายคนกล่าวด้วยน้ำตาคลอๆ ว่า เงียบเกินไป หากแต่จะทำอย่างไรได้ ด้วยว่านั่นเป็นวัตถุประสงค์ของชิน บำรุงพงศ์ ผู้ที่เป็นหนอนวรรณกรรมกำลังภายในซึ่งแปลเป็นไทยด้วยสำนวนวิจิตร รู้จักในชื่อ ว. ณ เมืองลุง
อ้างอิง : เว็บไซต์ ยุทธจักรนิยาย โดย ขลุ่ยผุไร้สำเนียง กระแส เฉินกว้านซี ชักจะลามทุ่งไปกันใหญ่แล้ว ไม่เพียงแค่เป็นปรากฏการณ์เขย่าสังคม สร้างความระส่ำไปทั่วโลกไซเบอร์ ล่าสุดสื่อจีนรายงานว่ามีนักธุรกิจแซ่ หลี่ รายหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งของจีน ได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์ยี่ห้อ อาเจียว กว้านซี แล้ว คุณหลี่ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้านี้เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ว่ามีคนถือโอกาสไร้ท์ภาพหลุดดาราฮ่องกงที่กำลังเป็นข่าวคึกโครมขายกันอย่างโจ๋งครึ่ม ก็เลยคิดวิธีที่จะหาเงินอย่างถูกกฎหมายขึ้นบ้าง นั่นก็คือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็เลยคิดถึงยี่ห้อ กว้านซี อาเจียว และกำลังพิจารณาที่จะขอจดทะเบียนคำว่า โง่มาก ซึ่งเป็นวลีเด็ดของอาเจียวเมื่อวันที่ออกมาแถลงข่าวยอมรับกลายๆ เกี่ยวกับรูปฉาวดังกล่าวว่าในอดีตนั้น เธอ ไม่ประสีประสา และ โง่มาก ส่วนประเด็นที่ว่าหลังจากจดทะเบียนสำเร็จแล้ว จะนำไปใช้อย่างไรนั้น คุณหลี่คิดไว้แล้วว่าจะใช้ชื่อที่จดทะเบียนนี้เป็นชื่อยี่ห้อสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์ อย่างไรก็ตาม การขอจดทะเบียนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ก็อยู่เหนือความสามารถของคุณหลี่ซะแล้ว ทั้งนี้ กรณีที่มีพ่อค้าหัวหมอนำชื่อดาราฮ่องกงไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเคยมีมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการใช้อักษรพ้องเสียงแทน อาทิ น้ำยาลบคำผิดยี่ห้อ หลิวเต๋อหัว หรือยาแก้ท้องเสีย เซี่ยถิงฟง ส่วนการจดทะเบียนยี่ห้อ กว้านซี และ อาเจียว นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีใครขอจดทะเบียนชื่อนี้มาก่อน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการอนุมัติ ถ้ามันมาบ้านเรา มันคงได้หลายคำไปทำแบรนด์การค้า เอิ๊กๆ คุณวันเฉลิมครับ อ้าวทำไมมาโพส์ตกระทู้นี้หล่ะครับ
ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับ กระทู้ของคุณเม่ยเลยนะครับ สงสัยว่า
คงหาที่จะโพส์ตไม่ได้ อิอิ ผมแกล้งแซวคุณเล่นนะครับ
คิดดูอีกที่ ก็เหมือนคุณต่อเติมกระทู้นี่ ให้มีสีสันต่างออกไป
จากที่ จขกท เขาตั้งไว้ ขอบคุณคุณ วันเฉลิมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #195 เมื่อ: 15-02-2008, 22:20 » |
|
ว. ณ เมืองลุง ว. ณ เมืองลุง คาดว่าคงไม่มีใครที่อ่านนิยายจีนกำลังภายในแล้ว ไม่รู้จักนามปากกานี้ เพราะนามปากกานี้ยืนยงคงคู่มา กับ น. นพรัตน์ ในวงการนิยายจีนกำลังภายในมาจวบจนปัจจุบัน
ว. ณ เมืองลุง เป็นนามปากกาของ ชิน บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2472 ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนจีน จังหวัดพิษณุโลก มีโอกาสได้เรียนทั้งภาษาไทย และภาษาจีน ภายหลังประมาณ พ.ศ. 2494 สอบได้ประกาศนียบัตรครู (ป.) เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเปิดสอบวิชาครู
เคยเข้าไปทำงานที่ร้านค้าแถวห้าแยกพลับพลาไชย กรุงเทพ ฯ แต่ทำอยู่ได้ไม่นานเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา จังหวัดพิษณุโลก เมื่อสอบได้ประกาศนียบัตรครู (ป.) ได้ไปสอนหนังสือที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 1 ปี แล้วย้ายไปสอนที่โรงเรียนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อีก 1 ปี จากนั้นไปสอนที่โรงเรียนศึกษาวัฒนา สามย่าน กรุงเทพ ฯ จนประมาณ พ.ศ. 2504 ลาออกมาทำงานเสมียนโรงไม้ที่จังหวัดพัทลุง และเริ่มแปลนวนิยายจีนกำลังภายในเมื่อ พ.ศ. 2506 จนยึดเป็นอาชีพเรื่อยมา
เนื่องจากชิน บำรุงพงศ์เป็นผู้มีความรู้ภาษาจีนดี ชอบอ่านเรื่องจีน ทั้งฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาจีนอยู่เป็นประจำ เมื่อไปเป็นเสมียนโรงไม้ที่พัทลุง ไม่มีหนังสือจีนให้เลือกอ่านเหมือนที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ แต่ได้เห็นหนังสือเรื่อง มังกรหยก ฉบับภาษาไทยที่ จำลอง พิศนาคะ เป็นผู้แปล และมีผู้อ่านสนใจติดตามกันมาก จึงเกิดความคิดที่จะแปลเรื่องจีนออกมาเป็นภาษาไทยบ้าง เมื่อได้มีโอกาสเข้ากรุงเทพ ฯ จึงไปพบกับคุณเวช กระตุฤกษ์ เจ้าของสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ เพื่อยื่นข้อเสนอให้พิจารณา ตอนนั้น คุณชลิต พรหมดำรงบรรณาธิการสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ให้ทดลองแปลข้อความจากหนังสือพิมพ์ และได้ให้คนจีนตรวจสองเห็นว่าถูกต้อง จึงให้ทดลองแปลนวนิยายจีนกำลังภายในไปให้ดูก่อน 1 เรื่อง ปรากฏว่า คุณเวช กระตุฤกษ์ไม่ชอบสำนวนแปลที่แตกต่างไปจากของคุณจำลอง พิศนาคะ ซึ่งเดินตามแนวภาษาหนังสือสามก๊ก แต่คุณชลิต พรหมดำรงได้สนับสนุนให้พิมพ์เป็นเล่มปกอ่อนออกมาขายเพื่อหยั่งความนิยม นิยายเรื่องแรกของชิน บำรุงพงศ์ คือเรื่อง กระบี่ล้างแค้น ใช้นามปากกาว่า ว.ณ เมืองลุง โดยมีที่มาจากย่อชื่อของ วิไล ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกที่เขารักเมื่ออยู่ที่พัทลุง ปรากฏว่าขายดีจนเล่มที่สองต้องพิมพ์สองครั้งในวันเดียวกัน และเนื่องจากกระบี่ล้างแค้น มีความยาวถึง 100 เล่ม นับได้ว่า ว.ณ เมืองลุง ประสบความสำเร็จอย่างสูงตั้งแต่ต้น จึงได้แปลนิยายจีนกำลังภายในเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ระยะแรกมอบให้สำนักพิมพ์เพลินจิตต์พิมพ์จำหน่ายทั้งหมด กระทั่งสำนักพิมพ์เพลินจิตต์หยุดกิจการ จึงมอบหมายให้สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นดำเนินการพิมพ์เรื่อยมา นอกจากนี้ชิน บำรุงพงศ์ยังมีผลงานในหน้าหนังสือพิมพ์เดลิเมล์วันจันทร์ ไทยรัฐ และเดลินิวส์ในบางช่วงด้วย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ว. ณ เมืองลุงแปลหนังสือด้วยวิธีพูดบันทึกลงเทป ภคินีผู้เป็นบุตรสาวเล่าว่า " มีเพียงเล่มแรกคือกระบี่ล้างแค้นเท่านั้น ที่แปลเหมือนคนอื่นๆ คือเขียนและพิมพ์ แต่ท่านทำแล้วปวดแขนเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแนะนำให้แปลใส่เทป ด้วยว่าท่านสามารถกางหนังสือจีนแล้วแปลได้ทันที " แต่ไล่ไปช้าๆ นะคะ คุณพ่อท่านจะอ่านจากต้นฉบับแล้วพูดใส่เทปช้าๆ เพื่อให้คนพิมพ์เขาถอดคำพูดออกมาได้ง่ายๆ และไม่อนุญาตให้แก้ไขสิ่งที่ท่านพูด ฟังเทปได้ยินอย่างไรก็ให้พิมพ์ออกมาอย่างนั้น เมื่อส่งกลับมาให้ท่านตรวจทาน ท่านจะแก้ไขด้วยตนเอง ...หลายคนคงคิดว่าคุณพ่อทำงานสบาย แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นท่านนิ้วโป่งพองและแตก เพราะต้องคอยกดเทปไว้ มันไม่เหมือนเทปสมัยนี้ แล้วกว่าจะแปลจบแต่ละเรื่อง นิ้วท่านระบมไปหมด ภคินีกล่าว
เนื่องจาก ว. ณ เมืองลุงแปลหนังสือด้วยวิธีพูดบันทึกลงเทป โดยนำหนังสือต้นฉบับภาษาจีนมากาง แล้วพูดเป็นภาษาไทยอัดเทปส่งให้คนถอดเสียง ทำให้สามารถผลิตงานแปลได้ประมาณวันละ 30 - 40 หน้ากระดาษพิมพ์ ซึ่งเท่ากับหนังสือขนาดปกอ่อน 1 เล่ม นับจากเรื่องแรก คือ เรื่อง กระบี่ล้างแค้น ที่แปลเมื่อ พ.ศ. 2506 จนมาถึงประมาณ ปี พ.ศ. 2531 ว.ณ เมืองลุง จึงยุติการแปลนิยายจีนกำลังภายใน เพราะเห็นว่า อายุมากแล้ว ท่านใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น ไม่ชอบออกงาน ไม่ชอบเป็นข่าว และนั่นนำมาซึ่งการจากไปอย่างเงียบสงบในวัย 77 ปี สมความตั้งใจ เป็นเหตุให้วงวรรณกรรมทราบข่าวการจากไปของท่านช้ามาก
ว. ณ เมืองลุง ลาล่วงจากบรรณพิภพไปอย่างเงียบๆ เมื่อคืนวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 77 ปี หลายคนกล่าวด้วยน้ำตาคลอๆ ว่า เงียบเกินไป หากแต่จะทำอย่างไรได้ ด้วยว่านั่นเป็นวัตถุประสงค์ของชิน บำรุงพงศ์ ผู้ที่เป็นหนอนวรรณกรรมกำลังภายในซึ่งแปลเป็นไทยด้วยสำนวนวิจิตร รู้จักในชื่อ ว. ณ เมืองลุง
อ้างอิง : เว็บไซต์ ยุทธจักรนิยาย โดย ขลุ่ยผุไร้สำเนียง กระแส เฉินกว้านซี ชักจะลามทุ่งไปกันใหญ่แล้ว ไม่เพียงแค่เป็นปรากฏการณ์เขย่าสังคม สร้างความระส่ำไปทั่วโลกไซเบอร์ ล่าสุดสื่อจีนรายงานว่ามีนักธุรกิจแซ่ หลี่ รายหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้งของจีน ได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์ยี่ห้อ อาเจียว กว้านซี แล้ว คุณหลี่ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้านี้เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ว่ามีคนถือโอกาสไร้ท์ภาพหลุดดาราฮ่องกงที่กำลังเป็นข่าวคึกโครมขายกันอย่างโจ๋งครึ่ม ก็เลยคิดวิธีที่จะหาเงินอย่างถูกกฎหมายขึ้นบ้าง นั่นก็คือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ก็เลยคิดถึงยี่ห้อ กว้านซี อาเจียว และกำลังพิจารณาที่จะขอจดทะเบียนคำว่า โง่มาก ซึ่งเป็นวลีเด็ดของอาเจียวเมื่อวันที่ออกมาแถลงข่าวยอมรับกลายๆ เกี่ยวกับรูปฉาวดังกล่าวว่าในอดีตนั้น เธอ ไม่ประสีประสา และ โง่มาก ส่วนประเด็นที่ว่าหลังจากจดทะเบียนสำเร็จแล้ว จะนำไปใช้อย่างไรนั้น คุณหลี่คิดไว้แล้วว่าจะใช้ชื่อที่จดทะเบียนนี้เป็นชื่อยี่ห้อสินค้าเกี่ยวกับเซ็กซ์ อย่างไรก็ตาม การขอจดทะเบียนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ก็อยู่เหนือความสามารถของคุณหลี่ซะแล้ว ทั้งนี้ กรณีที่มีพ่อค้าหัวหมอนำชื่อดาราฮ่องกงไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเคยมีมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการใช้อักษรพ้องเสียงแทน อาทิ น้ำยาลบคำผิดยี่ห้อ หลิวเต๋อหัว หรือยาแก้ท้องเสีย เซี่ยถิงฟง ส่วนการจดทะเบียนยี่ห้อ กว้านซี และ อาเจียว นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีใครขอจดทะเบียนชื่อนี้มาก่อน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับการอนุมัติ ถ้ามันมาบ้านเรา มันคงได้หลายคำไปทำแบรนด์การค้า เอิ๊กๆ คุณวันเฉลิมครับ อ้าวทำไมมาโพส์ตกระทู้นี้หล่ะครับ
ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับ กระทู้ของคุณเม่ยเลยนะครับ สงสัยว่า
คงหาที่จะโพส์ตไม่ได้ อิอิ ผมแกล้งแซวคุณเล่นนะครับ
คิดดูอีกที่ ก็เหมือนคุณต่อเติมกระทู้นี่ ให้มีสีสันต่างออกไป
จากที่ จขกท เขาตั้งไว้ ขอบคุณคุณ วันเฉลิมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
ปรมาจารย์เจได
|
|
« ตอบ #196 เมื่อ: 16-02-2008, 08:24 » |
|
พูดจีนไม่ได้กับเขา แต่เห็นข่าวจีนๆหน่อย เลยอยากเล่นด้วยมั่ง เล่นด้วยคนสิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #197 เมื่อ: 16-02-2008, 12:55 » |
|
พูดจีนไม่ได้กับเขา แต่เห็นข่าวจีนๆหน่อย เลยอยากเล่นด้วยมั่ง เล่นด้วยคนสิ โอ๋ ๆ ๆ เสียะ ๆ ๆ (คำปลอบใจด้วยความเอ็นดู) -- โบ่ยจ๊อนี้ บ่อเซียงกัง ฮัวเง้ง ฮ้วเง้ง (มิเป็นไร หามิได้ ยินดี ยินดี) หลายปีมานี้ พี่ไม่ค่อยได้อ่านข่าววงการบันเทิงฮ่องกง พอเกิดเรื่องคลิปวีดิโอฉาวไปทั่วโลก ต้องไปถามน้องคนนึงว่า หนุ่มเฉินนี่คือใคร เล่นหนังเรื่องไหนหรือ พอได้ยินว่าเรื่อง "Internal Affairs" ก็ค่อยอ๋อ รูปหนุ่มเอดิสันที่แปะข้างบน จัดว่าเป็นตี๋หล่อหน้าหยกคนนึงเชียว แต่ตอนนี้รับบทขุนแผนฮ่องกง (จำเป็น) ไปแล้วมั้งคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #198 เมื่อ: 16-02-2008, 18:45 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #199 เมื่อ: 17-02-2008, 12:58 » |
|
ขอบคุณท่านเล่าปี๋ก๊าบบ และแล้ว เพิ่งจะเห็นคลิปเพลง "ซี่ฟ่ง" ของหนูน้อยจัวอีถิงค่ะ หลังจากที่ความจำเลอะเลือนเคยตอบไปก่อนหน้านี้ว่าไม่มีเพลงนี้ ต้องขอประทานโทษด้วยนะคะ http://www.youtube.com/watch?v=fPgTDgDL3xY&feature=relatedลำดับต่อไป จะขอโพสต์บางส่วนบางตอนว่าด้วยเรื่อง "ฤทธิ์มีดสั้น" ก่อนนะคะ ส่วน "กระบี่เย้ยยุทธจักร" นั้น ขอเลื่อนลอนช์ออกไปสักน่อยก่อนค่ะ และค้นเจอบทสัมภาษณ์ "จำลอง พิศนาคะ" แล้วนะคะ ไว้จะนำมาโพสต์ต่อไปค่ะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-02-2008, 13:06 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|