aiwen^mei
|
|
« เมื่อ: 01-09-2007, 14:15 » |
|
ในโลกมีเรื่องราวมากหลาย ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยการถามไถ่
เจี่ยเฮียวฮงเพียงกล่าวว่า
"ดาบโค้งเป็นอาวุธพิสดาร ผู้ที่สามารถใช้ดาบโค้ง ล้วนเป็นนักดาบอันดับหนึ่ง"
เต็งพ้งกล่าวว่า
"เจี่ยไต้เฮียบเล่า กระบี่ของเจี่ยไต้เฮียบเล่า?"
"กระบี่ของเราอยู่"
เต็งพ้งเพ่งตาจ้องจับไปยังมือของเจี่ยเฮียวฮง
นิ้วมือของเจี่ยเฮียวฮงเรียวงามมีพลัง ตัดเล็บเรียบร้อย
มือข้างนี้หากจับกระบี่ ย่อมสามารถเปล่งอานุภาพถึงขีดสุด ทอดตาทั้งแผ่นดิน ยากที่จะมีคนต้านรับกระบี่ที่จู่โจมจากมือคู่นี้ได้
แต่ในมือเจี่ยเฮียวฮงตอนนี้ไม่กระบี่ชัด ๆ ท่านไฉนบอกว่ากระบี่อยู่?
เต็งพ้งกล่าวว่า
"กระบี่อยู่ที่ใด?"
เจี่ยเฮียวฮงกล่าวว่า
"อยู่ที่ใจ!"
"อยู่ที่ใจ?"
เจี่ยเฮียวฮงกล่าวช้า ๆ
"ในมือเราไม่มีกระบี่ กระบี่อยู่ที่ใจ"
แก้วตาเต็งพ้งพลันหดเล็กลง
ในมือไม่มีกระบี่ กระบี่อยู่ที่ใจ!
นี่เป็นขอบเขตขั้นสูงสุดของวิชาบู๊
กระบี่ในมือแม้น่ากลัว แต่กระบี่ใจยังน่ากลัวกว่า
เนื่องเพราะกระบี่ใจมองไม่เห็น ดังนั้นสามารถบรรลุถึงทุกแห่งหน สามารถทำลายทุกสรรพสิ่ง
จวบจนท่านถูกทำลาย ยังมองไม่เห็นมัน!
...ผู้คนส่วนใหญ่ต้องแลเห็นสิ่งของ จึงยอมรับคุณค่าของมัน หาทราบไม่ว่าสิ่งของที่มองไม่เห็น มีคุณค่ากว่าสิ่งที่เห็นได้มากนัก
จาก "อินทรีผงาดฟ้า" ของ โกวเล้ง โดย น. นพรัตน์
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-03-2008, 11:34 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
สมชายสายชม
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 01-09-2007, 14:59 » |
|
ถ้าถามพวกลิ่วล้อทักษิณแบบ อ.จ๊ะ และนายแถว่า .. "กระบี่อยู่ที่ใด" พวกลิ่วล้อโง่โง่ จะตอบว่า "กระบี่อยู่ที่ภาคใต้" ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 01-09-2007, 21:01 » |
|
ถ้าถามพวกลิ่วล้อทักษิณแบบ อ.จ๊ะ และนายแถว่า .. "กระบี่อยู่ที่ใด" พวกลิ่วล้อโง่โง่ จะตอบว่า "กระบี่อยู่ที่ภาคใต้" ... ในโอกาสที่เว็บของ youtube ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระแล้ว ขอโพสต์เพลงไตเติ้ลของ " หงส์ผงาดฟ้า" อีกหนึ่งเรื่องยอดนิยมของโกวเล้ง ที่ส่งชื่อให้ "เล็กเซี่ยวหงส์" คนสี่คิ้วโด่งดังในยุทธจักร http://youtube.com/watch?v=bdVHaKfkyQ8เคยได้ดูแว้บ ๆ เมื่อหลายปีก่อนทางเคเบิ้ลทีวี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 01-09-2007, 21:20 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 01-09-2007, 21:59 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 20-09-2007, 22:03 » |
|
เป็นที่กล่าวขานกันว่า "ศึกสายเลือด" เป็นหนังจีนชุดของอาร์ทีวี(เอทีวี) แห่งฮ่องกงที่ลือลั่นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อช่อง 3 นำมาฉาย ณ เวลานั้นจนไทยรัฐต้องเชิญ น. นพรัตน์ มาเรียบเรียงเพื่อตีพิมพ์ให้ได้อ่านควบคู่กับการฉายทางโทรทัศน์ http://www.youtube.com/watch?v=vM1faMgud9c&mode=related&search=องค์ชายสี่ (วั่นจื่อเหลียง) ผู้เก่งกล้าชาญฉลาดแต่โหดอำมหิต องค์ชายสิบสี่ (อู๋เหว่ยกั๋ว) ผู้มีจิตใจดี แต่อ่อนแอ กับจอมยุทธ์คู่ใจเจิงจิ้ง (เดวิด เจียง) โฉมสะคราญหลี่ซือเหนียง (หมี่เซี่ยะ) ผู้พิชิตหัวใจทั้งขององค์ชายสี่และเจิงจิ้ง แต่หัวใจของแม่นางล่ะอยู่ที่ใคร
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-09-2007, 21:51 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 22-09-2007, 13:21 » |
|
เอ คุณ aiwen^mei ครับ คุณคงจะคอเดียวกันกับผม
คุณชอบดูหนัง แต่ส่วนผมชอบอ่านหนังสือครับ
หนังสือกำลังภายใน ผมว่าอ่านแล้วได้รสชาติอย่าง
แต่ดูหนังคงจะได้อรรถรส ไปอีกแบบนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 22-09-2007, 13:38 » |
|
ค่ะ เห็นด้วยค่ะ คุณ mammatum ถ้าอ่านหนังสือก่อนแล้วดูหนังทั้งจอเงิน จอแก้ว ที่สร้างตามมาทีหลัง ส่วนใหญ่แล้วจะสู้ที่เราจินตนาการไว้ไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าดูโดยไม่ได้อ่านก่อน มักจะสนุกนะคะ แต่ไม่ทราบเป็นอย่างไร อะไรที่เคยดูก่อน มักจะคิดว่า รู้สึกว่า ดีกว่าที่สร้างใหม่ในตอนหลังเสมอ จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ อันเนื่องมาจากตัวเราเองที่รู้มากขึ้น ประสบการณ์มากขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านไป ความประทับใจในครั้งแรกกับครั้งต่อมาย่อมแตกต่างกันมั้งคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 22-09-2007, 21:42 » |
|
จาก "อินทรีผงาดฟ้า" ของ โกวเล้ง โดย น.นพรัตน์
..... ..... .....
เต็งพ้งเดินช้า ๆ มา คล้ายคนที่นอนไม่หลับ เดินทอดน่องบนพื้นหิมะ แต่พื้นหิมะที่เต็งพ้งเดินผ่าน ปราศจากรอยเท้าแม้สักรอยเดียว !
หรือวิชาตัวเบาของเต็งพ้ง บรรลุถึงขั้นตะเซาะบ้ออุ้ง (เหยียบหิมะไร้รอย) แล้ว ?
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คนผู้หนึ่งหากไม่สามารถบอกความลับต่อผู้อื่น จะกลับกลายเป็นความเจ็บปวดรวดร้าว กลับกลายเป็นความกดดันชนิดหนึ่ง
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ความทะเยอทะยานคล้ายสัตว์ประหลาดในยุคดึกดำบรรพ์ ขอเพียงท่านปล่อยให้มันคงอยู่ มันจะเติบใหญ่ขึ้นทุกวัน เติบใหญ่จนท่านเองไม่สามารถควบคุมบังคับได้
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
...คนผู้หนึ่งขอเพียงยังมีความหวังสักเล็กน้อย ชีวิตก็มีคุณค่า ...ความหวังยั่งยืนอยู่ในโลกตลอดกาล
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
...ผู้ที่ไม่เคยดูแคลนผู้ใดมาก่อน จึงสามารถเป็นเอกในแผ่นดิน
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
...ชีวประวัติของยอดคน ไยมิใช่เป็นกระจกเงาที่สะท้อนภาพชีวิตของตนได้เป็นอย่างดี
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
...วัตถุและเรื่องราวอันลึกลับ มักดึงดูดความสนใจของผู้คนตลอดกาล
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
...ต่างเป็นนักบู๊ร่วมสังคมบู๊ลิ้ม ไยต้องคุกคามเข่นฆ่าถึงที่สุด ? ...หากสามารถสร้างความสำนึกตื้นตันแก่ศัตรูคู่ต่อสู้ ไยมิใช่ประเสริฐเลิศกว่าประหัตประหารให้ตายคามือ ? ...พิชิตทางร่างกาย ไหนเลยสู้พิชิตจิตใจคนได้ ?
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
มีแต่วีรบุรุษที่แท้จริง จึงเลื่อมใสวีรบุรุษที่แท้จริง มีแต่นักสู้อันเข้มแข็ง จึงมีน้ำใจผูกพันกับนักสู้อันเข้มแข็ง
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 23-09-2007, 09:25 » |
|
มาตรแม้นเป็นเบาะกลมใบหนึ่ง แต่เบาะกลมจัดวางอยู่ด้านตรงข้ามกับเจี่ยเฮียวฮง เจี่ยเฮียวฮงเมื่อออกปากเชื้อเชิญเต็งพ้งนั่งลง แสดงว่ายึดถือเต็งพ้งเป็นสหายแล้ว
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
อี้จับซายามมีชีวิต เป็นศัตรูของเจี่ยเฮียวฮง แต่อี้จับซาเมื่อตายแล้ว เจี่ยเฮียวฮงกลับยึดถือเป็นสหาย
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
เนื่องเพราะอี้จับซาพลันพบว่า กระบี่ที่สิบห้านำมาซึ่งความตายและการทำลายล้าง มันไม่อาจทิ้งท่ากระบี่เช่นนี้อยู่ในโลก มันไม่อาจเป็นคนบาปของบู๊ลิ้ม
เนื่องเพราะพลังและท่าพลิกแพลงของท่ากระบี่ที่สิบห้า สุดที่อี้จับซาจะควบคุมบังคับได้ คล้ายคนผู้หนึ่งพบว่า อสรพิษที่ตนเองเลี้ยงไว้ กลับกลายเป็นมังกรพิษตัวหนึ่ง เติบโตเป็นมังกรพิษที่ไม่อาจควบคุมบังคับได้ มันได้แต่ทำลายตัวเอง
เนื่องเพราะชีวิตและเลือดเนื้อของอี้จับซา หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมังกรพิษตัวนี้ มันหากคิดทำลายมังกรพิษตัวนี้ ต้องทำลายตัวเองก่อน
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
เพลงดาบโค้งเป็นเพลงดาบอาถรรพณ์ชั่วร้าย ผู้ฝึกปรือเพลงดาบโค้งจะถูกชักนำเข้าสู่เส้นทางอธรรม เป็นคนชมชอบฆ่าฟัน
แต่เต็งพ้งยึดมั่นในรักแท้ อานุภาพของความรัก อยู่เหนืออำนาจมารชั่วร้าย สามารถควบคุมตนเอง สามารถควบคุมเพลงดาบ
เต็งพ้งสามารถใช้เพลงดาบโค้งฆ่าคนที่ต้องการฆ่าและสามารถยั้งดาบไว้ไมตรีต่อบุคคลที่ไม่ต้องการฆ่า
...พลังจากรักแท้ เป็นพลังที่ลึกล้ำพิสดาร เป็นพลังที่ไม่มีสิ่งใดเทียมทานได้
ความสำเร็จในเชิงดาบของเต็งพ้ง บรรลุถึงขั้นดาบก็คือคน คนยังเป็นคน
ดาบโค้งอยู่ในมือเต็งพ้ง ดาบโค้งเพียงเป็นเครื่องมือของคน
ความสำเร็จในเชิงฝีมือของเต็งพ้งนี้ นับเป็นยอดฝีมือที่ยากยิ่งจะพบพานแล้ว
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
เจี่ยเฮียวฮงเล่า ?
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 23-09-2007, 13:24 » |
|
เสียดายจริงๆนะครับคุณ aiwen^mei ที่โกวเล้ง
มาด่วนตายจากไปเสียก่อน ไม่อย่างนั้นคำคมๆๆ
เนื้อหาของเรื่องดีๆ อีกนานกว่าจะพบเจอคนเขียนเก่งๆ
แบบนี้อีก ต้องขอขอบคุณ aiwen^mei ที่นำข้อความคำพูดที่นำมาลงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 23-09-2007, 21:16 » |
|
เสียดายจริงๆนะครับคุณ aiwen^mei ที่โกวเล้ง
มาด่วนตายจากไปเสียก่อน ไม่อย่างนั้นคำคมๆๆ
เนื้อหาของเรื่องดีๆ อีกนานกว่าจะพบเจอคนเขียนเก่งๆ
แบบนี้อีก ต้องขอขอบคุณ aiwen^mei ที่นำข้อความคำพูดที่นำมาลงครับ ด้วยความยินดีค่ะ ขอบคุณคุณ nammatum มากหลายค่ะ เพราะสำนวนแปลที่ว่า "ในมือไม่มีกระบี่ กระบี่อยู่ที่ใจ!" ใน "อินทรีผงาดฟ้า" โดนใจจริง ๆ ค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าแปลไว้ตั้งแต่เมื่อสามทศวรรษที่แล้ว พออ่านจบแต่ละเล่ม ต้องตามไล่เก็บประโยค สำนวน คำคม ต่าง ๆ ที่แปลไว้ได้อย่างน่าประทับใจ เสียดายค่ะว่า รู้ภาษาจีนเพียงน้อยนิด ถ้าสามารถอ่านต้นฉบับภาษาจีนได้ ไม่ทราบว่าจะซาบซึ้งกว่านี้หรือไม่ จะทยอยนำมาโพสต์เรื่อย ๆ ค่ะ เพราะว่าบางเรื่องก็ยังไม่ได้อ่าน และหลายเรื่องที่ได้อ่านสมัยเป็นนิสิต ก็ยังประทับใจมิรู้ลืม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 27-09-2007, 14:30 » |
|
ขอบันทึกภาพความเก่า(แก่) ไว้เป็นที่ระลึกจั๊กหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 27-09-2007, 15:01 » |
|
....ทวนเปิดเผยหลบหลีกง่าย เกาทัณฑ์ลับยากระวัง ศัตรูเปิดเผยไม่น่ากลัว ที่น่ากลัวคือศัตรูซ่อนเร้น ....ศัตรูที่ประจันหน้ากัน ไม่ใช่บุคคลอันตราย ....บุคคลที่อันตรายที่สุด มักเป็นผู้ที่อยู่ข้างกาย ....หากมอบหมายภารกิจสำคัญแก่บุคคลที่ประพฤติไม่เหมาะสม มักชักนำเภทภัยแก่ผู้เป็นนาย ....ผลสะท้อนที่อุบัติตามหลัง มักเลวร้ายกว่าที่ตนเองกระทำอีก ....คนต่ำช้าทั่วไป มักมีชีวิตยืนยาวกว่าผู้กล้าถือธัมมะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-11-2007, 16:44 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 27-09-2007, 16:56 » |
|
ต้ม ถั่ว ต่าง ไย ถั่ว ร่ำ กำ เผา ใช้ ไห้ เนิด ผลาญ เถา อยู่ จาก กัน ถั่ว ใน ราก ร้อน เป็น กระ เหง้า รน เชื้อ ทะ เดียว จน เดือด กัน ปาน พล่าน นี้ โจสิด อ่านลงตามแนวตั้ง
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-09-2007, 17:06 โดย (ลุง)ถึก สไลเดอร์ »
|
บันทึกการเข้า
|
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 27-09-2007, 17:27 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 27-09-2007, 21:12 » |
|
บทกวีของ "โจสิด" ที่คุณลุงถึกยกมาโพสต์นั้น "สุดยอด" ค่ะ เม่ยได้ฟังท่านผู้อาวุโสเล่าให้ฟังตั้งแต่เป็นเด็กประถม ในพากย์ภาษาจีน พอมาอ่านของคุณลุงถึกแล้ว ต้องมาเปิด "สามก๊ก" ฉบับวณิพก ของยาขอบดู ท่านเขียนหัวข้อเรื่องไว้ว่า โจสิดผู้ร่ายโศลกเอาชีวิตรอดเป็นลูกสุดท้องของโจโฉว่าแต่คุณ nammatum อ่าน "สามก๊ก" จบสามรอบด้วยหรือป่าวคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โกวเฮง
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 27-09-2007, 21:25 » |
|
ผมอ่านสามก๊กได้ สองจบ จบที่สามไม่กล้าอ่าน (กลัวพัดลมยังส่ายหน้าเลย) เลยใช้วิธีดูเอา "สามก๊ก ฉบับ นักบริหาร" อย่างนี้เขาเรียกว่าครบสามจบรึเปล่าน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Priateľ
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 27-09-2007, 23:42 » |
|
อินทรีผงาดฟ้า น่าจะเป็นผลงานหลังๆของโกวเล้งนะครับ งานนี้ถือเป็นการสรุปเรื่องสองเรื่องที่ค้างคากันมาตั้งกะผลงานเก่าๆของโกวเล้ง 1) พรรคอสูร ไอ้เจ้าพรรคบ้าๆนี่ผมเห็นมันอาละวาดมาประปรายในชุดเรื่องสั้นทั้งเจ็ดของโกวเล้ง (ดาบมรกต,แค้นสั่งฟ้า,ยอดมือปราบ,ทวนทมิฬ,ตะขอจำพราก,จอมยุทธไร้น้ำตา เอ๋ นับไปนับมามีแค่หกเรื่องเอง แต่เห็นเขาพะไว้ที่ปกว่ามีเจ็ดเรื่องอ่ะ) ก็ได้เวลาปิดฉากลงในเรื่องอินทรีผงาดฟ้าซะที ที่จริงกลายเป็นพรรคดีที่หัวหน้าโดนใส่ร้ายเสียนี่ 2) กระบวนท่าสิบสามกระบี่ของอี้จับซา รวมทั้งกระบี่ที่สิบสี่กับกระบี่ที่สิบห้าที่เกิดขึ้นมาสดๆร้อนๆตอนท้ายเล่มของหนังสือชุดซาเสี่ยวเอี้ย รวมทั้งบั้นปลายชีวิตของซาเสี่ยวเอี้ย (เจี่ยเฮียวฮง) ที่เป็นตัวเอกในซาเสี่ยวเอี้ย ผมเข้าใจว่าโกวเล้งยังติดใจปรัชญาในกระบี่ของอี้จับซา เรื่องของกระบี่ที่อำมหิตเกินไปจนกลายสิ่งที่ไม่อาจจะหยุดยั้งได้แม้กระทั่งคนใช้ โกวเล้งหาทางออกให้ในหนังสือชุดอินทรีผงาดฟ้า โดยบอกว่ากระบวนท่าดาบโค้งของพระเอกในเรื่องอินทรีผงาดฟ้าคือแนวทางเดียวกับเพลงกระบี่ของอี้จับซา แต่พระเอกสามารถควบคุมได้"เพราะว่าคุณเป็นคนดี" มองสองข้อ ผมก็เริ่มเดาว่าโกวเล้งต้องการเขียนงานประเภท Happy ending สักเรื่องหนึ่ง เพื่อคลี่คลายปีศาจที่ตัวเองสร้างขึ้นในหนังสือเล่มก่อนๆ จึงไม่ได้เน้นเรื่องของปรัชญาการต่อสู้อย่างละเอียด แต่ไปเน้นเรื่องของจิตใจแทน โดยเฉพาะ "ความรัก" และ "การให้อภัย" (เอ้อ ผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังเขียน Blog ง่ะ) ผมกำลังสงสัยว่าตอนเขียนหนังสือเรื่องนี้ โกวเล้งอาจกำลัง in love อยู่แหงๆ ประโยคคมๆในหนังสือเล่มนี้มีเยอะครับ ทั้งเรื่องรักๆและการต่อสู้ ที่ผมชอบมากที่สุดคือ เอ้อ จำไม่ได้ละเอียดนะครับ ประมาณว่า "หากข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ท่านจะตายได้อย่างไร หากท่านตายไปแล้ว ข้าพเจ้าจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.
ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
|
|
|
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 28-09-2007, 09:16 » |
|
เข้ามาช่วยสนับสนุนคุณ เปี๊ยะเถ่ลเสียวเฮียบ เรื่องสั้นเรื่องที่ 7 คือ มังกรเจ็ดดาว ครับ
ในบรรดาเรื่องสั้นเหล่านี้ผมว่า ไม่มีน้ำตาวีรบุรุษ แสดงถึงแนวทางของโกวเล้งมากที่สุด อีก 6 เรื่อง เหมือนนวนิยายยุทธจักรทั่วๆไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 28-09-2007, 10:28 » |
|
บทกวีของ "โจสิด" ที่คุณลุงถึกยกมาโพสต์นั้น "สุดยอด" ค่ะ เม่ยได้ฟังท่านผู้อาวุโสเล่าให้ฟังตั้งแต่เป็นเด็กประถม ในพากย์ภาษาจีน พอมาอ่านของคุณลุงถึกแล้ว ต้องมาเปิด "สามก๊ก" ฉบับวณิพก ของยาขอบดู ท่านเขียนหัวข้อเรื่องไว้ว่า โจสิดผู้ร่ายโศลกเอาชีวิตรอดเป็นลูกสุดท้องของโจโฉว่าแต่คุณ nammatum อ่าน "สามก๊ก" จบสามรอบด้วยหรือป่าวคะ คุณ aiwen^mei ครับ ผมตั้งใจจะอ่านให้จบ ครบสามรอบ
ทั้งสองเรื่องอ่ะครับ มีอีกเรื่องก็คือ "ผู้ชนะสิบทิศ" ของยาขอบ
หากแต่ว่าบุญวาสนาผม คงจะไม่ถึง อ่านได้ไม่จบสักเรื่องครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 28-09-2007, 15:28 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-09-2007, 15:34 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 28-09-2007, 15:52 » |
|
อินทรีผงาดฟ้า น่าจะเป็นผลงานหลังๆของโกวเล้งนะครับ งานนี้ถือเป็นการสรุปเรื่องสองเรื่องที่ค้างคากันมาตั้งกะผลงานเก่าๆของโกวเล้ง 1) พรรคอสูร ไอ้เจ้าพรรคบ้าๆนี่ผมเห็นมันอาละวาดมาประปรายในชุดเรื่องสั้นทั้งเจ็ดของโกวเล้ง (ดาบมรกต,แค้นสั่งฟ้า,ยอดมือปราบ,ทวนทมิฬ,ตะขอจำพราก,จอมยุทธไร้น้ำตา เอ๋ นับไปนับมามีแค่หกเรื่องเอง แต่เห็นเขาพะไว้ที่ปกว่ามีเจ็ดเรื่องอ่ะ) ก็ได้เวลาปิดฉากลงในเรื่องอินทรีผงาดฟ้าซะที ที่จริงกลายเป็นพรรคดีที่หัวหน้าโดนใส่ร้ายเสียนี่ 2) กระบวนท่าสิบสามกระบี่ของอี้จับซา รวมทั้งกระบี่ที่สิบสี่กับกระบี่ที่สิบห้าที่เกิดขึ้นมาสดๆร้อนๆตอนท้ายเล่มของหนังสือชุดซาเสี่ยวเอี้ย รวมทั้งบั้นปลายชีวิตของซาเสี่ยวเอี้ย (เจี่ยเฮียวฮง) ที่เป็นตัวเอกในซาเสี่ยวเอี้ย ผมเข้าใจว่าโกวเล้งยังติดใจปรัชญาในกระบี่ของอี้จับซา เรื่องของกระบี่ที่อำมหิตเกินไปจนกลายสิ่งที่ไม่อาจจะหยุดยั้งได้แม้กระทั่งคนใช้ โกวเล้งหาทางออกให้ในหนังสือชุดอินทรีผงาดฟ้า โดยบอกว่ากระบวนท่าดาบโค้งของพระเอกในเรื่องอินทรีผงาดฟ้าคือแนวทางเดียวกับเพลงกระบี่ของอี้จับซา แต่พระเอกสามารถควบคุมได้"เพราะว่าคุณเป็นคนดี" มองสองข้อ ผมก็เริ่มเดาว่าโกวเล้งต้องการเขียนงานประเภท Happy ending สักเรื่องหนึ่ง เพื่อคลี่คลายปีศาจที่ตัวเองสร้างขึ้นในหนังสือเล่มก่อนๆ จึงไม่ได้เน้นเรื่องของปรัชญาการต่อสู้อย่างละเอียด แต่ไปเน้นเรื่องของจิตใจแทน โดยเฉพาะ "ความรัก" และ "การให้อภัย" (เอ้อ ผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังเขียน Blog ง่ะ) ผมกำลังสงสัยว่าตอนเขียนหนังสือเรื่องนี้ โกวเล้งอาจกำลัง in love อยู่แหงๆประโยคคมๆในหนังสือเล่มนี้มีเยอะครับ ทั้งเรื่องรักๆและการต่อสู้ ที่ผมชอบมากที่สุดคือ เอ้อ จำไม่ได้ละเอียดนะครับ ประมาณว่า "หากข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ท่านจะตายได้อย่างไร หากท่านตายไปแล้ว ข้าพเจ้าจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร"เข้ามาช่วยสนับสนุนคุณ เปี๊ยะเถ่ลเสียวเฮียบ เรื่องสั้นเรื่องที่ 7 คือ มังกรเจ็ดดาว ครับ
ในบรรดาเรื่องสั้นเหล่านี้ผมว่า ไม่มีน้ำตาวีรบุรุษ แสดงถึงแนวทางของโกวเล้งมากที่สุด อีก 6 เรื่อง เหมือนนวนิยายยุทธจักรทั่วๆไป
ขอขอบคุณคุณ Priateľ และคุณแอบอ่าน ซุ่มเงียบไต้เฮียบทั้งสองท่านที่ได้ช่วยให้รายละเอียดและมุมมองที่น่าสนใจเพิ่มเติมค่ะ เห็นว่ากันว่า ท่านโกวเล้งตัวจริงก็เป็นทั้งปีศาจสุรา และมีปัญหากับชีวิตรักส่วนตัวอยู่ไม่น้อย ส่วนหนึ่งจึงได้สะท้อนออกมาในงานประพันธ์ ซึ่งหลายบทหลายตอนพรรณนาได้ลึกซึ้งกินใจยิ่ง จากการจัดอันดับสิบผลงานยอดเยี่ยมของโกวเล้ง เรื่อง "ฤทธิ์มีดสั้น" น่าจะมาเป็นลำดับที่หนึ่งนะคะ ส่วน "อินทรีผงาดฟ้า" อยู่ลำดับที่เท่าใดนั้น ไม่แน่ใจค่ะ จำได้ไม่แม่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 29-09-2007, 16:53 » |
|
เคยอ่าน อินทรีผงาดฟ้า เมื่อนานมาแล้วสมัยยังเป็นนักเรียน
ที่ผมอ่านเป็นเล่มโตๆ 2 เล่มจบ ซื้อมาจากแผงขายหนังสือเก่า ที่สนามหลวงสมัยก่อน แต่ชุดที่คุณเม่ยเอารูปมาโชว์เก่ากว่าเยอะ ถ้าพิมพ์ตั้งแต่ปี 2520 ก็เท่ากับพิมพ์พร้อมๆ ต้นฉบับภาษาจีนเลย เพราะเขาระบุว่าเรื่อง Yuan Yue Wan Dao ( 圆月弯刀 ) นี้ ตีพิมพ์เมื่อปี 1977 และสองปีถัดมาก็ทำเป็นภาพยนต์ เป็นผลงาน ยุคหลังๆ ของโกวเล้ง เพราะเริ่มเขียนเรื่องแรกตั้งแต่ปี 1960
จำเรื่องราวอะไรไม่่ค่อยได้แล้วแต่ที่จำได้แม่นคือข้อความที่สลักไว้ บนตัวดาบโค้งเดือนเสี้ยว...
"ฟังเสียงฝนในหอน้อยเพียงเดียวดาย"
ผ่านมาเจอก็เลยไปค้นอะไรเพิ่มเติมถึงได้พบว่ามีหลายแห่งที่ อ้างอิงว่างานเขียนเรื่องนี้ส่วนใหญ่โกวเล้งไม่ได้เขียนแต่เป็น ฝีมือของ Sima Ziyan ( 司馬紫煙 )
แต่หาอ้างอิงเรื่องนี้เพิ่มเติมไม่ได้นะครับ มีแค่ว่าเรื่องนี้ส่วนใหญ่ Sima Ziyan เป็นคนเขียน ผมเองก็อ่านภาษาจีนไม่ออกเสียด้วย เลยค้นหาได้เพียงแค่นี้
เป็นนิยายที่ชอบมากอีกเรื่องหนึ่งครับ โดยเฉพาะตอนแรกๆ ที่ "แชแช" ปรากฏตัวออกมาอ่านแล้วรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปใน เทพนิยายจีนไม่ใช่นิยายกำลังภายใน (คนเขียนๆ เก่งจริงๆ)
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2007, 16:57 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 29-09-2007, 21:16 » |
|
ผมฟังเพลงที่คุณเม่ยโพสท์ไว้ว่าเป็นของเวอร์ชั่นแรกแล้ว แปลกใจน่ะครับ ตอนเด็กๆผมเคยดู ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์ ที่นำแสดงโดย หลิวสงเหยิน กับ เจ้าหย่าจือ ผมนึกว่าเป็นเวอร์ชั่นแรกซะอีก แต่เพลงไตเติ้ลมันไม่ใช่เพลงนี้นี่ครับ เอหรือว่าผมจำผิด มันยังมีเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้อีกหรือเปล่าครับ
เรื่องชีวิตส่วนตัวของโกวเล้งก็น่าสนใจดีนะครับ ถ้าคุณเม่ยจะกรุณาเล่าให้ฟังบ้าง ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย แต่อ่านนวนิยายของโกวเล้งหลายๆเรื่องแล้ว ผมรู้สึกว่า โกวเล้งนั้นจะมีศรัทธามากในเรื่องความดีงามในใจคน
"มีแต่ผู้ที่งมงายในกระบี่เท่านั้นจึงจะสามารถฝึกกระบี่ที่เลิศล้ำพิศดารได้ มีแต่ผู้ที่งมงายในรักเท่านั้นจึงจะได้พบกับความรักที่แท้จริง"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 29-09-2007, 23:23 » |
|
คุณ aiwen^mei ครับ สงสัยตรงเรื่องนี้จังครับ เรื่องจอมโจรคนดัง "ชอลิ้วเฮียง"
ตอนก่อนผมอ่านเรื่องนี้ใช้ชื่อเรื่องว่า จอมโจรจอมใจ พระเอกชื่อ ชอลิ้วเฮียง
ไม่ทราบว่าเปลี่ยนชื่อเรื่องตั้งแต่ เมื่อไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 30-09-2007, 00:40 » |
|
"อินทรีผงาดฟ้า" ตีพิมพ์ครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ( น่าจะเป็นช่วงต้นปี 2520 )
ในห้วงรัฐบาลหอยครับ เพราะช่วงนั้นข่าวการเมืองเสนออะไรไม่ได้เลย
นักเขียน-นักแปลที่ไทยรัฐเชิญมาร่วมงาน ก็ทั้ง น.นพรัตน์ และ ว. ณ เมืองลุง
ส่วนหนังสือพ็อคเก็ตบุค จะพิมพ์ตามทีหลัง เป็นลิขสิทธิ์ของผู้แปล
ผมทันอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย เข้าใจว่า "พี่ซูม" จะเป็นตัวตั้งตัวตีคอยลุ้นคอยติดตามงานนี้อย่างออกรส
( เข้าใจว่าพี่ซูม ก็เคยใช้นามปากกา "จิวแป๊ะทง" ฮ่า ฮ่า )
พี่เวทย์ บูรณะ เป็นผู้ดูแล จัดหน้า
พี่เวทย์ บูรณะ เป็นหนึ่งหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งที่ถูก "สมัคร" ขึ้นบัญชีดำ ห้ามทำงานในหน้าที่หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่ง
โดยยื่นคำขาดกับป๊ะกำพล เช่นเดียวกับ พินิจ นันทวิจารณ์ และ มานิจ สุขสมจิต หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งถูกปลดยกกระบิ
หากไม่เชื่อฟัง สมัครก็จะปิดหนังสือครับ ด้วยข้อต่อรองที่เจรจากันเช่นนี้ ไทยรัฐจึงเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวที่ไม่ถูกสั่งปิด
เมื่อหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งยุคหลัง 14 ตุลาคม 16 ถูกโยกไปเป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการทั้ง 3 คน
ก็เลยเกิด หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่ง อีกชุด คือ ระวิ โหลทอง จากหน้ากีฬา( ภายหลังมาเป็นเจ้าพ่อวงการสื่อกีฬาในปัจจุบัน )
อีกคนหนึ่งรีไรท์เตอร์จากหน้าภูมิภาคชื่อพี่วิฑูรย์ ( เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว )
หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งยุคนั้นอีกคนหนึ่งคือ "นพพร ตุงคะรักษ์"
นักข่าวนักเขียนอีกคนหนึ่งที่โดนห้ามเขียนคือ สันติ "สามตา" หรือ สันติ เศวตวิมล
เดิม "สามตา" เป็นนามปากการวมของทั้งสอง"สันติ" คือสันติ เศวตวิมล และ สันติ วิริยะฯ ( 2 คนเขียนสลับกัน คนละวัน )
แต่ สันติ วิริยะฯ ไม่โดนเพ่งเล็งมาก เลยเกิดนามปากกา "ใต้ฝุ่น" ในครั้งนั้น ( เขียนต่อได้ แต่ต้องไม่ใช้ "สามตา" )
สันติ เศวตวิมล เลยต้องมาเขียนเรื่อง "เปิบพิสดาร" ในนาม "แม่ช้อย นางรำ"
ก่อนจะมาเป็นหัวหน้าข่าวบันเทิง บก.ตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ ก็ย้ายจากหน้าข่าวภูมิภาค มาเป็น "รีไรท์เตอร์" ในยุคนั้น
ห้วงเวลานั้น( ช่วงรัฐบาลหอยเน่า ) นิยายหรือบทละครโทรทัศน์ ก็ถูกนำมาตีพิมพ์ ก่อนที่จะเสนอเป็นละครออกอากาศทางโทรทัศน์
การแย่งชิงลิขสิทธิ์ที่จะนำมาตีพิมพ์ ระหว่าง ไทยรัฐ กับเดลินิวส์ ก็มีประปรายครับแต่ไม่รุนแรง
ในความน่าอภิรมย์ที่ผู้อ่านชื่นชอบ.... ก็มักมีความเจ็บปวดแฝงเร้นเป็นบันทึกหน้าหนึ่งของวงการหนังสือพิมพ์
ภายใต้นักการเมืองในคราบเผด็จการที่ชื่อ...สมัคร สุนทรเวช
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2007, 02:12 โดย CanCan »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 30-09-2007, 16:11 » |
|
เคยอ่าน อินทรีผงาดฟ้า เมื่อนานมาแล้วสมัยยังเป็นนักเรียน
ที่ผมอ่านเป็นเล่มโตๆ 2 เล่มจบ ซื้อมาจากแผงขายหนังสือเก่า ที่สนามหลวงสมัยก่อน แต่ชุดที่คุณเม่ยเอารูปมาโชว์เก่ากว่าเยอะ ถ้าพิมพ์ตั้งแต่ปี 2520 ก็เท่ากับพิมพ์พร้อมๆ ต้นฉบับภาษาจีนเลย เพราะเขาระบุว่าเรื่อง Yuan Yue Wan Dao ( 圆月弯刀 ) นี้ ตีพิมพ์เมื่อปี 1977 และสองปีถัดมาก็ทำเป็นภาพยนต์ เป็นผลงาน ยุคหลังๆ ของโกวเล้ง เพราะเริ่มเขียนเรื่องแรกตั้งแต่ปี 1960
จำเรื่องราวอะไรไม่่ค่อยได้แล้วแต่ที่จำได้แม่นคือข้อความที่สลักไว้ บนตัวดาบโค้งเดือนเสี้ยว...
"ฟังเสียงฝนในหอน้อยเพียงเดียวดาย"
ผ่านมาเจอก็เลยไปค้นอะไรเพิ่มเติมถึงได้พบว่ามีหลายแห่งที่ อ้างอิงว่างานเขียนเรื่องนี้ส่วนใหญ่โกวเล้งไม่ได้เขียนแต่เป็น ฝีมือของ Sima Ziyan ( 司馬紫煙 )
แต่หาอ้างอิงเรื่องนี้เพิ่มเติมไม่ได้นะครับ มีแค่ว่าเรื่องนี้ส่วนใหญ่ Sima Ziyan เป็นคนเขียน ผมเองก็อ่านภาษาจีนไม่ออกเสียด้วย เลยค้นหาได้เพียงแค่นี้
เป็นนิยายที่ชอบมากอีกเรื่องหนึ่งครับ โดยเฉพาะตอนแรกๆ ที่ "แชแช" ปรากฏตัวออกมาอ่านแล้วรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปใน เทพนิยายจีนไม่ใช่นิยายกำลังภายใน (คนเขียนๆ เก่งจริงๆ)
ขอบคุณคุณจีรศักดิ์มากค่ะ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนั้น ถ้าพอมีเวลา เม่ยจะไปลองค้นต่อและถามท่านผู้อาวุโสที่แปลภาษาจีนให้ได้ค่ะ ว่าใครคือ ซือหม่าจื่อเยียน ( 司馬紫煙 ) สำหรับเม่ยได้อ่านเรื่องนี้บ้างตั้งแต่เด็ก จำได้แต่ชื่อพระเอกกับนางเอก นี่เพิ่งกลับมาอ่านใหม่ค่ะ ยังรู้สึกสัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่เงียบเหงา อ้างว้าง หม่นหมอง เดียวดายที่ "เต็งพ้ง" ต้องเผชิญ และ ความงามลี้ลับ กับความรักลึกซึ้งที่มีต่อชายในดวงใจของ "แชแช" ส่วนกระบวนท่าพิสดารของดาบโค้งเดือนเสี้ยวก็บรรยายได้เหลือเชื่อ มหัศจรรย์จริง ๆ ค่ะ จากการเปิดหนังสือ "ยุทธจักรมังกรโบราณ" โดย พาสนา แพรวพรรณนั้น บอกไว้ด้วยค่ะว่า "อินทรีผงาดฟ้า" เป็นผลงานในยุคหลังของโกวเล้งที่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เมื่อเทียบกับนิยายเรื่องอื่น ๆ แล้ว ได้แก่ เซียวฮื้อยี้ (2510) ชอลิ้วเฮียง (2510) ฤทธิ์มีดสั้น (2511) จับอิดนึ้ง (2512) วีรบุรุษสำราญ (2514) ฯลฯ ค่ะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2007, 16:22 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 30-09-2007, 17:02 » |
|
ผมฟังเพลงที่คุณเม่ยโพสท์ไว้ว่าเป็นของเวอร์ชั่นแรกแล้ว แปลกใจน่ะครับ ตอนเด็กๆผมเคยดู ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์ ที่นำแสดงโดย หลิวสงเหยิน กับ เจ้าหย่าจือ ผมนึกว่าเป็นเวอร์ชั่นแรกซะอีก แต่เพลงไตเติ้ลมันไม่ใช่เพลงนี้นี่ครับ เอหรือว่าผมจำผิด มันยังมีเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้อีกหรือเปล่าครับ
เรื่องชีวิตส่วนตัวของโกวเล้งก็น่าสนใจดีนะครับ ถ้าคุณเม่ยจะกรุณาเล่าให้ฟังบ้าง ผมไม่รู้เรื่องนี้เลย แต่อ่านนวนิยายของโกวเล้งหลายๆเรื่องแล้ว ผมรู้สึกว่า โกวเล้งนั้นจะมีศรัทธามากในเรื่องความดีงามในใจคน
"มีแต่ผู้ที่งมงายในกระบี่เท่านั้นจึงจะสามารถฝึกกระบี่ที่เลิศล้ำพิศดารได้ มีแต่ผู้ที่งมงายในรักเท่านั้นจึงจะได้พบกับความรักที่แท้จริง"
เรื่องเพลงนั้นก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ เพราะเม่ยเองก็ไม่มีโอกาสดู เอาไว้จะลองถามเพื่อนรุ่นพี่ก่อนนะคะ แต่เห็นชื่อเพลงกับชื่อนิยายเป็นชื่อเดียวกัน เลยเดาว่าใช่น่ะค่ะ และดูเหมือนว่า ตอนนั้น นักร้องนำทั้งคู่ คือหลอเหวิน กับวังหมิงฉวน จะร้องเพลงไตเติ้ลซีรีส์พวกนี้หลายต่อหลายเรื่องด้วยค่ะ ที่เม่ยพอทราบที่มาที่ไปของพล็อตเรื่องของโกวเล้งที่แต่งขึ้นนั้น น่าจะประมาณปี 36-37 จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เป็นครั้งแรกที่หลายสำนักพิมพ์นำนิยายกำลังภายที่ได้รับความนิยมมาพิมพ์ใหม่ด้วยกระดาษปอนด์ขาว จัดทำปกพร้อมกล่องใส่อย่างสวยงามให้บรรดาแฟนพันธุ์แท้เก็บไว้เป็นที่ระลึกแม้ราคาจะสูงขึ้นอีกไม่น้อย หลายท่านที่เป็นแฟนตัวยงให้สัมภาษณ์ว่า บางเรื่องที่รักชอบเป็นพิเศษนั้นต้องหยิบจับมาอ่านประจำ อาจจะปี - 2 ปี ครั้ง จากการที่โกวเล้งได้ทำงานตำแหน่งบรรณารักษ์ห้องสมุดของยูซิสประจำไต้หวัน จึงมีโอกาสอ่านวรรณกรรมตะวันตกจำนวนมาก บางเรื่อง ได้แก่ The God Father, The Old Man and the Sea ฯลฯ นั้น โก้วเล้งได้นำมาเป็นเค้าโครงในนิยายบู๊ลิ้มของตน ซึ่งเป็นการฉีกแนวจากนิยายกำลังภายในทั่วไป สำหรับชีวิตรักของโกวเล้ง ขออ้างอิงจากหนังสือ "ยุทธจักรมังกรโบราณ" ของ พาสนา แพรวพรรณ ขอโพสต์บทที่ว่าด้วย "มังกรเศร้าหมอง-กล้วยไม้อับเฉา" ดังนี้ค่ะ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ นับแต่โบราณกาลมา ความรักเป็นสิ่งละเอียดอ่อน มีผู้ใดทายใจความรักของผู้ใดได้
ชีวิตรักโกวเล้งมีสีสันแพรวพราย
โกวเล้งเข้าพิธีแต่งงานสองครั้ง ภรรยาคนแรกเป็นพาร์ตเนอร์จากบาร์สุยฮวงนาม "กัวลีลี่" นับเป็นภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ภรรยาคนต่อมาเป็นพาร์ตเนอร์ที่มาจากสิงคโปร์นาม "ตั้งป้อจู" ตกแต่งเมื่องานเขียนถึงขีดสุด พวกนางต่างให้กำเนิดบุตรกับโกวเล้งหนึ่งคน ล้วแล้วแต่มีเค้าหน้าประพิมประพายโกวเล้ง
ความรักแม้ไม่เสื่อมโทรม แต่ความรักที่จีรังยั่งยืนโดยไม่เสื่อมโทรม มีน้อยกว่าน้อย
ภายหลังแต่งงาน โกวเล้งยังคงคบหาเพื่อนหญิง เป็นเหตุให้ชีวิตแต่งงานบังเกิดรอยร้าว สุดท้ายต้องเลิกร้างแยกทาง
ในสายตาเพื่อนพ้องจำนวนหนึ่งเห็นว่า กัวลีลี่มีทุกข์ ตั้งป้อจูเสพสุข แม้ภายหลังต้องเลิกร้าง แต่ภรรยาทั้งสองหาได้แค้นเคืองไม่ พวกนางยังยกย่อง "โกวเล้งมิเพียงไม่แห้งแล้งน้ำใจ ทั้งยังรักจริง เพียงแต่ความรักมาอย่างเร่งร้อน และจากไปอย่างรวดเร็ว"
โกวเล้งเขียนถึงรอยแผลในหัวใจ ซึ่งสะท้อนภาพตัวเขาไว้ดังนี้
"รอยแผลบนร่างอาจมีร้อยพันแห่ง แต่รอยแผลในหัวใจกลับมีเพียงแห่งเดียว บนร่างมีรอยมีดมากมายสุดคณนานับ ทุกมีดล้วนฟันลงตำแหน่งต่างกัน แต่รอยแผลในหัวใจแตกต่างไป ทุกมีดล้วนฟันลงตำแหน่งเดียวกัน เนื่องเพราะเป็นตำแหน่งที่ฟันได้ง่ายที่สุด เปราะบางที่สุด อ่อนไหวที่สุด และถูกทำร้ายได้ง่ายที่สุด แม้ปิดปากแผล แต่ขอเพียงประหวัดคำนึงถึง จะกำเริบขึ้นทันที"
มีบางเรื่องไม่เกิดสนิมตลอดกาล ความหลังบางประการก็เป็นเช่นกัน เป็นความจริงที่ว่า เรื่องคับแค้นอาดูรของคนผู้หนึ่งก็คือมักครุ่นคิดถึงเรื่องราวที่ตนเองไม่ปรารถนานึกฝัน ดังนั้น ไม่ว่าเป็นรักหรือแค้น ล้วนเป็นความรู้สึกลึกซึ้งกินใจยากลืมเลือน
อาจบางทีความรักเป็นเช่นนี้เอง หากคิดเสพสุขอันหวานชื่นของความรักก็ต้องกล้ำกลืนความกลัดกลุ้มและปวดร้าวที่สืบเนื่องจากความรักด้วย
แต่หากไม่มีการอยู่ร่วม ไหนเลยมีการจำพราก ?
ฃ่วงเวลานั้น โกวเล้งเขียนเรื่อง "ลี้เปียกเกา" (ตะขอจำพราก) กลับกลายเป็นต้นกำเนิดของคำ "พลัดพรากเพราะเพื่ออยู่ร่วม" อันโด่งดัง
โกวเล้งไม่หล่อเหลาคมคาย รูปกายอ้วนเตี้ย หัวโตเป็นพิเศษ (ในเรื่อง "ไต้นั้งม้วย" - ผู้ยิ่งใหญ่ โกวเล้งเอาบุคลิกของตัวเองมาสร้างเป็นตัวเอกในเรื่อง) แต่เพศตรงข้ามยกย่องชมเชย นั่นก็เนื่องเพราะโกวเล้งมีวาทะศิลป์อันยอดเยี่ยม และมีเอกลักษณ์ประจำตัวอันเป็นแบบฉบับโดดเด่น
"เต็งเช้ง" (น้ำใจ) ตั้งข้อสังเกตไว้
"ชีวิตโกวเล้งไม่เคยขาดหญิงงาม เสน่ห์ของโกวเล้งที่แท้คืออะไร ?
---------------------(แล้วจะมาโพสต์ต่อนะคะ รวมทั้งความเป็นปีศาจสุราของโกวเล้งค่ะ )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
THE THIRD WAY
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 30-09-2007, 18:38 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้ ************************ การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 30-09-2007, 19:58 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2007, 20:01 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 30-09-2007, 20:56 » |
|
นิรนามผู้หนึ่ง กล่าวถาม "ใยท่านมาพบเราโดยไม่มีปืน ท่านโง่หรือ?"
นิรนามอีกหนึ่งผู้ "ในมือเราไม่มีปืน และปืนก็มิได้อยู่ที่ใจ"
นิรนามผู้นั้นหัวเราะร่า "ฮ่าฮ่าฮ่า ท่านนี่โง่ดีแท้ ในมือไม่มีปืน และปืนก็ไม่อยู่ที่ใจ"
ยังไม่สิ้นคำปรามาส พลันกระสุนขนาด 7.63 นาโต้ ก็หมุนควงออกจากลำกล้องปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติแบบ M-14 US Army
ที่ประทับเล็งด้วยกล้องกำลังขยาย 40 เท่าของบุชเนล แน่นอน มันแม่นเหมือนจับวาง เพราะคนยิงมันมือระดับพระกาฬ
กระสุนนัดนั้นแหวกอากาศดังหวีดหวิว ก่อนหมุนคว้านลงบนเนื้อกลางหน้าผากของนิรนามผู้นั้น และบดแผ่นกระโหลกจนปริแตก
มันสมอง ผิวหนัง และชิ้นกระโหลก แตกกระจายก่อน กระสุนนัดนั้นบิดตัวตีคว้านจนมันสมองแตกทะลักออกมาเหมือนแยมสตรอเบอรี่
แน่นอน นิรนามผู้นั้น มีเวลารู้สึกตัวถึงลมหายใจสุดท้ายไม่กิน 1 วินาที ก่อนล้มหงาย เกร็งกระตุกสองสามครั้ง และแน่นิ่งไป
นิรนามอีกผู้หนึ่ง กล่าวด้วยสีหน้าเรียบเฉยต่อร่างนั้น "ในมือเราไม่มีปืน และปืนก็มิได้อยู่ที่ใจ แต่เราให้ใครมาถือปืนแทนก็ได้ มันเป็นเช่นนั้นแหล่ะสหาย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 30-09-2007, 21:43 » |
|
สมัยทำงานใหม่ ๆ หลังจบการศึกษา
มีเวลาว่างมาก มักจะไปที่ร้านเช่าหนังสือที่ตรอกข้าวสาร บางลำพู
ในนั้นจะมีร้านให้เช่าหนังสือกำลังภายในอยู่ 2 ร้าน
เช่ามาวันละ 2 เล่ม ผนึกลมปราณทั้งคืน ตอนเช้าไปทำงาน
ตกเย็นนำหนังสือไปคืน และเช่าชุดใหม่มาอ่าน ทำเช่นนี้อยู่เกือบ ๆ ปี
เรียกว่าเรื่องใหนดีเด่นดังเป็นต้องเลือกมาอ่านอย่างสบายใจ เพราะค่าเช่าเล่มละ 2 บาท คืนหนึ่งสนองอารมณ์ คืนละ 4 บาท
มันช่างเป็นการบันเทิงที่ถูกแสนถูกในยุคนั้น
จนกระทั่งไม่มีเรื่องใหม่ให้อ่าน พอเค้าเริ่มชุด "อาวุธของโกวเล้ง" ผมเลยหยุดผนึกกำลังภายใน
หันไปสนใจสาว ๆ แทน อิ อิ
เมื่อซักครู่ TITV เริมรายการย้อนรอยด้วย "หนังกำลังภายใน" น่าสนใจนะครับ ในตรอกเท็กซัส เยาวราช
ถ้ามีโอกาสเข้ากรุง จะลองไปเดินตามหาความฝันที่นั่นซักครั้ง
( กินของขม ชมเด็กสาว เล่าความหลัง...ชราแล้วจริง ๆ ฮ่า ฮ่า )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Priateľ
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 30-09-2007, 23:00 » |
|
อ่านที่พี่แคนเล่าแล้วทำให้นึกถึงตอนเป็นเด็ก
ถ้าจำไม่ผิด ไทยรัฐสมัยก่อนจะมีการ์ตูนไทย ลายเส้นคล้ายๆของ 'พี่เตรียม' หรือ คุณเตรียม ชาชุมพร ถ้าจำไม่ผิดจะมีชื่อเรื่องว่า 'เพื่อน' ถ้าจำผิดก็ท้วงมานะครับ นั่นล่ะที่ผมติดอ่านไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เล่มอื่นสมัยก่อนที่อ่านก็มีดาวสยาม ตะวันสยาม(มีชื่อนี้หรือเปล่าครับ เอามาจากความทรงจำล้วนๆ กลัวผิดง่ะ) อ่านนิยายของก้องหล้า สุรไกร แม่บ่นประจำว่ารูปที่ประกอบนิยายมันโป๊ ส่วนผมอ่านไปก็ระทึกไป
อ่านเรื่องที่พี่แคนเล่ามา รู้สึกว่าวงการสมัยก่อนก็ดีนะครับ เลี้ยงดูไม่ทิ้งกันดี ถ้าเป็นสมัยนี้มีหวังเอ๊าท์ซอร์สกันอย่างเดียวเพื่อลดต้นทุนบริษัท
ผมจำได้ว่านอกจากอินทรีผงาดฟ้าที่เข้ามาเปิดตลาดนิยายในหนังสือพิมพ์แล้ว ยังมีเรื่อง "ศึกสายเลือด" อีกอันที่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำบทโทรทัศน์มาลงหนังสือพิมพ์ พัฒนากลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จนถึงทุกวันนี้ พวกเพื่อนผมตอนเช้าทำเป็นอ่านกรุงเทพธุรกิจ กับโพสต์ พอตอนบ่ายไทยรัฐ "ฉบับนิยายและกีฬา" กลายเป็นสิ่งที่แย่งกันอ่านไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.
ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
|
|
|
Priateľ
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 30-09-2007, 23:11 » |
|
นิรนามผู้หนึ่ง กล่าวถาม "ใยท่านมาพบเราโดยไม่มีปืน ท่านโง่หรือ?"
นิรนามอีกหนึ่งผู้ "ในมือเราไม่มีปืน และปืนก็มิได้อยู่ที่ใจ"
นิรนามผู้นั้นหัวเราะร่า "ฮ่าฮ่าฮ่า ท่านนี่โง่ดีแท้ ในมือไม่มีปืน และปืนก็ไม่อยู่ที่ใจ"
ยังไม่สิ้นคำปรามาส พลันกระสุนขนาด 7.63 นาโต้ ก็หมุนควงออกจากลำกล้องปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติแบบ M-14 US Army
ที่ประทับเล็งด้วยกล้องกำลังขยาย 40 เท่าของบุชเนล แน่นอน มันแม่นเหมือนจับวาง เพราะคนยิงมันมือระดับพระกาฬ
กระสุนนัดนั้นแหวกอากาศดังหวีดหวิว ก่อนหมุนคว้านลงบนเนื้อกลางหน้าผากของนิรนามผู้นั้น และบดแผ่นกระโหลกจนปริแตก
มันสมอง ผิวหนัง และชิ้นกระโหลก แตกกระจายก่อน กระสุนนัดนั้นบิดตัวตีคว้านจนมันสมองแตกทะลักออกมาเหมือนแยมสตรอเบอรี่
แน่นอน นิรนามผู้นั้น มีเวลารู้สึกตัวถึงลมหายใจสุดท้ายไม่กิน 1 วินาที ก่อนล้มหงาย เกร็งกระตุกสองสามครั้ง และแน่นิ่งไป
นิรนามอีกผู้หนึ่ง กล่าวด้วยสีหน้าเรียบเฉยต่อร่างนั้น "ในมือเราไม่มีปืน และปืนก็มิได้อยู่ที่ใจ แต่เราให้ใครมาถือปืนแทนก็ได้ มันเป็นเช่นนั้นแหล่ะสหาย"
อือ สมัยนี้เจ้าพ่อที่ไหนเขาลงมือเอง มือปืนเขายอมทำเพื่อเงินมีเยอะแยะไป ผมนึกถึงเรื่องยอดมือปราบ ลิ้วเชียงโกย(พระเอก)ถามโอ้วลัก(ผู้ร้าย)ว่า ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ท่านทั้งมีชื่อเสียงและเงินทอง ไฉนยังละโมบก่อคดีไม่หยุด โอ้วลักตอบว่า รอให้ท่านอายุแก่เท่าข้าแล้วจะเข้าใจว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่จริงจังยิ่งกว่าเงินทองอีกแล้ว ซึ่งมันก็จริงแฮะ.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
If you ever want something badly, let it go. If it comes back to you, then it's yours forever. If it doesn't, then it was never yours to begin with.
ก๊อปมาจากหนัง Indecent proposal
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 01-10-2007, 11:26 » |
|
"อินทรีผงาดฟ้า" ตีพิมพ์ครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ( น่าจะเป็นช่วงต้นปี 2520 )
ในห้วงรัฐบาลหอยครับ เพราะช่วงนั้นข่าวการเมืองเสนออะไรไม่ได้เลย
นักเขียน-นักแปลที่ไทยรัฐเชิญมาร่วมงาน ก็ทั้ง น.นพรัตน์ และ ว. ณ เมืองลุง
ส่วนหนังสือพ็อคเก็ตบุค จะพิมพ์ตามทีหลัง เป็นลิขสิทธิ์ของผู้แปล
ผมทันอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย เข้าใจว่า "พี่ซูม" จะเป็นตัวตั้งตัวตีคอยลุ้นคอยติดตามงานนี้อย่างออกรส
( เข้าใจว่าพี่ซูม ก็เคยใช้นามปากกา "จิวแป๊ะทง" ฮ่า ฮ่า )
พี่เวทย์ บูรณะ เป็นผู้ดูแล จัดหน้า
พี่เวทย์ บูรณะ เป็นหนึ่งหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งที่ถูก "สมัคร" ขึ้นบัญชีดำ ห้ามทำงานในหน้าที่หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่ง
โดยยื่นคำขาดกับป๊ะกำพล เช่นเดียวกับ พินิจ นันทวิจารณ์ และ มานิจ สุขสมจิต หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งถูกปลดยกกระบิ
หากไม่เชื่อฟัง สมัครก็จะปิดหนังสือครับ ด้วยข้อต่อรองที่เจรจากันเช่นนี้ ไทยรัฐจึงเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวที่ไม่ถูกสั่งปิด
เมื่อหัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งยุคหลัง 14 ตุลาคม 16 ถูกโยกไปเป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการทั้ง 3 คน
ก็เลยเกิด หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่ง อีกชุด คือ ระวิ โหลทอง จากหน้ากีฬา( ภายหลังมาเป็นเจ้าพ่อวงการสื่อกีฬาในปัจจุบัน )
อีกคนหนึ่งรีไรท์เตอร์จากหน้าภูมิภาคชื่อพี่วิฑูรย์ ( เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว )
หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งยุคนั้นอีกคนหนึ่งคือ "นพพร ตุงคะรักษ์"
นักข่าวนักเขียนอีกคนหนึ่งที่โดนห้ามเขียนคือ สันติ "สามตา" หรือ สันติ เศวตวิมล
เดิม "สามตา" เป็นนามปากการวมของทั้งสอง"สันติ" คือสันติ เศวตวิมล และ สันติ วิริยะฯ ( 2 คนเขียนสลับกัน คนละวัน )
แต่ สันติ วิริยะฯ ไม่โดนเพ่งเล็งมาก เลยเกิดนามปากกา "ใต้ฝุ่น" ในครั้งนั้น ( เขียนต่อได้ แต่ต้องไม่ใช้ "สามตา" )
สันติ เศวตวิมล เลยต้องมาเขียนเรื่อง "เปิบพิสดาร" ในนาม "แม่ช้อย นางรำ"
ก่อนจะมาเป็นหัวหน้าข่าวบันเทิง บก.ตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ ก็ย้ายจากหน้าข่าวภูมิภาค มาเป็น "รีไรท์เตอร์" ในยุคนั้น
ห้วงเวลานั้น( ช่วงรัฐบาลหอยเน่า ) นิยายหรือบทละครโทรทัศน์ ก็ถูกนำมาตีพิมพ์ ก่อนที่จะเสนอเป็นละครออกอากาศทางโทรทัศน์
การแย่งชิงลิขสิทธิ์ที่จะนำมาตีพิมพ์ ระหว่าง ไทยรัฐ กับเดลินิวส์ ก็มีประปรายครับแต่ไม่รุนแรง
ในความน่าอภิรมย์ที่ผู้อ่านชื่นชอบ.... ก็มักมีความเจ็บปวดแฝงเร้นเป็นบันทึกหน้าหนึ่งของวงการหนังสือพิมพ์
ภายใต้นักการเมืองในคราบเผด็จการที่ชื่อ...สมัคร สุนทรเวช
เม่ยก็ทราบจากคอลัมน์ของคุณอาซูมในหลายปีต่อมา เล่าเหมือนที่ท่านลุงแคนเล่าในช่วงต้นค่ะว่า จากสถานการณ์บ้านเมืองในตอนนั้น บรรดาคอลัมนิสต์การเมืองตกอยู่ในสภาวะที่วิพากษ์วิจารณ์การเมืองแทบไม่ได้ เลยต้องหาอย่างอื่นมาลงแทน และ "ซูม" ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าทีมลุยอ่านงานนิยายกำลังภายในจากร้านหนังสือเช่า และที่สุดตกลงใจเลือกสองศรีพี่น้อง "น. นพรัตน์" ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเด็กหนุ่มอายุประมาณ 20 เป็นผู้แปลเรื่อง และคุณอาซูมเองก็ได้ใช้นามปากกา "จิวแป๊ะทง" เขียน "เซี่ยมล้อยุทธจักร" ในยุคของป๋าเปรมท่านครองตำแหน่งมือกระบี่ที่หนึ่งแห่งแผ่นดินในชื่อจีนว่า "เป็งติ้งสูตั้วกอ" โดยมี น.นพรัตน์ให้คำปรึกษาในเรื่องชื่อฉายาจีนของบรรดานักสู้ผู้กล้าแห่งเซี่ยมล้อยุทธจักร และนิยายยุทธจักรเรื่องนี้ก็ลาโรงไปตามท่านป๋าเปรมที่ประกาศล้างมือในอ่างทองคำด้วยประโยคอมตะ "ผมพอแล้ว" จำได้ว่า หลังจาก "อินทรีผงาดฟ้า" แล้ว เรื่องต่อมาที่ได้ลงคือ "หลั่งเลือดสะท้านภพ" และ "เพชฌฆาตดาวตก" จากนั้นก็จำไม่ได้แล้วค่ะ ต่อมาก็เข้าสู่ยุคทองของหนังจีนชุดจากฮ่องกง โดยเฉพาะเรื่อง "กระบี่ไร้เทียมทาน" "เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้" "คมเฉือนคม" ฯลฯ และเมื่อ "ศึกสายเลือด" ที่ช่อง 3 นำมาฉายโด่งดังไปทั้งยุทธจักรแดนสยาม ไทยรัฐก็ต้องเชิญ น.นพรัตน์ แปลและเรียบเรียงบทโทรทัศน์ลงตีพิมพ์ทุกวัน นับได้ว่าเป็นต้นแบบ ลงติดต่อต่อเนื่องตามมาอีกหลายปีจนถึงช่วงขาลงของหนังจีนชุด จึงถูกแทนที่ด้วยละครไทยที่ฉายช่วงไพรม์ไทม์จนถึงทุกวันนี้ หลังจาก "ศึกสายเลือด" ภาค 1- 2 แล้ว ก็ยังมีหลายเรื่องที่โด่งดังตามมา "ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม" (ปรมาจารย์เตียซำฮงกับมวยไท้เก๊ก) ภาค 1-2 ศึกสองนางพญา ซูสีไทเฮา บูเช็กเทียน มังกรหยก ฯลฯ สำหรับคุณสันติ เศวตวิมลนั้น เมื่อใช้นามปากกา "อธิษฐาน" เขียนข่าวคราวในวงการบันเทิงได้น่าอ่าน และหลังจากได้เขียนบทวิจารณ์หนังจีนเรื่องเยี่ยมของ "ฉีเคอะ" คือ "โหด เลว ดี" แบบเต็มหน้าแล้ว แฟน ๆ ก็ต้องคอยตามอ่านบทวิจารณ์ทุกวันอาทิตย์ทีเดียว ขอบคุณท่านลุงแคนเด้อค่ะที่แวะมาเล่าเบื้องหลัง และความหลังให้ฟังกันค่ะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2007, 12:37 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
THE THIRD WAY
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 01-10-2007, 15:47 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้ ************************ การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 01-10-2007, 19:08 » |
|
... ... ... มาแอบๆแจมครับ
ขอบคุณท่าน THE THIRD WAY มากหลายค่ะ มิต้องแอบเลยค่ะ ขอเชิญไต้เฮียบร่วมวงสนทนาได้อย่างเต็มที่ ได้เห็นภาพอันงามล้ำสดใสของ หลิวอวี้เฟย ผู้รับบท "เซียวเหล่งนึ่ง" คนล่าสุดแล้ว นับเป็นโฉมสะคราญอีกผู้หนึ่งอย่างแท้จริง ปล. ข่าวว่า "กิมย้ง" ให้ความเห็นไว้ว่า หลิวอวี้เฟยผู้นี้ มีรูปโฉมและบุคลิกตรงกับ "เซียวเหล่งนึ่ง" ใน "มังกรหยกภาคสอง" ที่สุด มิทราบจริงเท็จประการใด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2007, 19:42 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 01-10-2007, 19:24 » |
|
อ่านที่พี่แคนเล่าแล้วทำให้นึกถึงตอนเป็นเด็ก
ถ้าจำไม่ผิด ไทยรัฐสมัยก่อนจะมีการ์ตูนไทย ลายเส้นคล้ายๆของ 'พี่เตรียม' หรือ คุณเตรียม ชาชุมพร ถ้าจำไม่ผิดจะมีชื่อเรื่องว่า 'เพื่อน' ถ้าจำผิดก็ท้วงมานะครับ นั่นล่ะที่ผมติดอ่านไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เล่มอื่นสมัยก่อนที่อ่านก็มีดาวสยาม ตะวันสยาม(มีชื่อนี้หรือเปล่าครับ เอามาจากความทรงจำล้วนๆ กลัวผิดง่ะ) อ่านนิยายของก้องหล้า สุรไกร แม่บ่นประจำว่ารูปที่ประกอบนิยายมันโป๊ ส่วนผมอ่านไปก็ระทึกไป
อ่านเรื่องที่พี่แคนเล่ามา รู้สึกว่าวงการสมัยก่อนก็ดีนะครับ เลี้ยงดูไม่ทิ้งกันดี ถ้าเป็นสมัยนี้มีหวังเอ๊าท์ซอร์สกันอย่างเดียวเพื่อลดต้นทุนบริษัท
ผมจำได้ว่านอกจากอินทรีผงาดฟ้าที่เข้ามาเปิดตลาดนิยายในหนังสือพิมพ์แล้ว ยังมีเรื่อง "ศึกสายเลือด" อีกอันที่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำบทโทรทัศน์มาลงหนังสือพิมพ์ พัฒนากลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จนถึงทุกวันนี้ พวกเพื่อนผมตอนเช้าทำเป็นอ่านกรุงเทพธุรกิจ กับโพสต์ พอตอนบ่ายไทยรัฐ "ฉบับนิยายและกีฬา" กลายเป็นสิ่งที่แย่งกันอ่านไป
อืมม์ เม่ยก็เกิดทันได้อ่านนิยายของ "ก้องหล้า สุรไกร" แต่ลงใน "ไทยรัฐ" นิดหน่อยเหมือนกันค่ะ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่ามีฉากบรรยายติดเรต(อาร์ ) อยู่ไม่น้อย นึกแล้วก็ว่า คล้ายเจมส์ บอนด์ 007 อยู่หลายส่วน สำหรับหนังสือพิมพ์ "ดาวสยาม" นั้นก็ได้หยิบจับอ่านบ้าง ไม่แน่ใจว่า อาคารออฟฟิศถนนราชดำเนินกลางตรงข้ามกองสลากแถวนั้น ดูเหมือนจะมีห้องหนึ่ง เคยเห็นป้ายยี่ห้อติดไว้ว่าเป็น "สำนักพิมพ์ดาวสยาม" ถ้าจำผิดต้องขออภัยค่ะ เพราะนานมากกกกกแล้วจริง ๆ นอกจาก "ศึกสายเลือด" ที่โด่งดังในไทยรัฐแล้ว นึกถึงอีกเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้ คือ " เหยี่ยวถลาลม" แต่ฉายทางช่องเจ็ด ลงให้อ่านฉบับหัวสีบานเย็น "เดลินิวส์" ซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งให้ "หวงเย่อหัว" แจ้งเกิดในวงการ และภายหลังก็ได้รับเลือกให้รับบท "ก๊วยเจ๋ง" ด้วย ว่าแล้วก็นึกอยากให้เวลาย้อนกลับไปอีกจริง ๆ นะนี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 01-10-2007, 22:16 » |
|
....
นับแต่โบราณกาลมา ความรักเป็นสิ่งละเอียดอ่อน มีผู้ใดทายใจความรักของผู้ใดได้
ชีวิตรักโกวเล้งมีสีสันแพรวพราย
โกวเล้งเข้าพิธีแต่งงานสองครั้ง ภรรยาคนแรกเป็นพาร์ตเนอร์จากบาร์สุยฮวงนาม "กัวลีลี่" นับเป็นภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ภรรยาคนต่อมาเป็นพาร์ตเนอร์ที่มาจากสิงคโปร์นาม "ตั้งป้อจู" ตกแต่งเมื่องานเขียนถึงขีดสุด พวกนางต่างให้กำเนิดบุตรกับโกวเล้งหนึ่งคน ล้วนแล้วแต่มีเค้าหน้าประพิมประพายโกวเล้ง
ความรักแม้ไม่เสื่อมโทรม แต่ความรักที่จีรังยั่งยืนโดยไม่เสื่อมโทรม มีน้อยกว่าน้อย
ภายหลังแต่งงาน โกวเล้งยังคงคบหาเพื่อนหญิง เป็นเหตุให้ชีวิตแต่งงานบังเกิดรอยร้าว สุดท้ายต้องเลิกร้างแยกทาง
ในสายตาเพื่อนพ้องจำนวนหนึ่งเห็นว่า กัวลีลี่มีทุกข์ ตั้งป้อจูเสพสุข แม้ภายหลังต้องเลิกร้าง แต่ภรรยาทั้งสองหาได้แค้นเคืองไม่ พวกนางยังยกย่อง "โกวเล้งมิเพียงไม่แห้งแล้งน้ำใจ ทั้งยังรักจริง เพียงแต่ความรักมาอย่างเร่งร้อน และจากไปอย่างรวดเร็ว"
โกวเล้งเขียนถึงรอยแผลในหัวใจ ซึ่งสะท้อนภาพตัวเขาไว้ดังนี้
"รอยแผลบนร่างอาจมีร้อยพันแห่ง แต่รอยแผลในหัวใจกลับมีเพียงแห่งเดียว บนร่างมีรอยมีดมากมายสุดคณนานับ ทุกมีดล้วนฟันลงตำแหน่งต่างกัน แต่รอยแผลในหัวใจแตกต่างไป ทุกมีดล้วนฟันลงตำแหน่งเดียวกัน เนื่องเพราะเป็นตำแหน่งที่ฟันได้ง่ายที่สุด เปราะบางที่สุด อ่อนไหวที่สุด และถูกทำร้ายได้ง่ายที่สุด แม้ปิดปากแผล แต่ขอเพียงประหวัดคำนึงถึง จะกำเริบขึ้นทันที"
มีบางเรื่องไม่เกิดสนิมตลอดกาล ความหลังบางประการก็เป็นเช่นกัน เป็นความจริงที่ว่า เรื่องคับแค้นอาดูรของคนผู้หนึ่งก็คือมักครุ่นคิดถึงเรื่องราวที่ตนเองไม่ปรารถนานึกฝัน ดังนั้น ไม่ว่าเป็นรักหรือแค้น ล้วนเป็นความรู้สึกลึกซึ้งกินใจยากลืมเลือน
อาจบางทีความรักเป็นเช่นนี้เอง หากคิดเสพสุขอันหวานชื่นของความรักก็ต้องกล้ำกลืนความกลัดกลุ้มและปวดร้าวที่สืบเนื่องจากความรักด้วย
แต่หากไม่มีการอยู่ร่วม ไหนเลยมีการจำพราก ?
ช่วงเวลานั้น โกวเล้งเขียนเรื่อง "ลี้เปียกเกา" (ตะขอจำพราก) กลับกลายเป็นต้นกำเนิดของคำ "พลัดพรากเพราะเพื่ออยู่ร่วม" อันโด่งดัง
โกวเล้งไม่หล่อเหลาคมคาย รูปกายอ้วนเตี้ย หัวโตเป็นพิเศษ (ในเรื่อง "ไต้นั้งม้วย" - ผู้ยิ่งใหญ่ โกวเล้งเอาบุคลิกของตัวเองมาสร้างเป็นตัวเอกในเรื่อง) แต่เพศตรงข้ามยกย่องชมเชย นั่นก็เนื่องเพราะโกวเล้งมีวาทะศิลป์อันยอดเยี่ยม และมีเอกลักษณ์ประจำตัวอันเป็นแบบฉบับโดดเด่น
"เต็งเช้ง" (น้ำใจ) ตั้งข้อสังเกตไว้
"ชีวิตโกวเล้งไม่เคยขาดหญิงงาม เสน่ห์ของโกวเล้งที่แท้คืออะไร ?
---------------------
...เสน่ห์ของโกวเล้งคือความอ้างว้าง ผู้ที่คบหากับโกวเล้งอย่างลึกซึ้งล้วนทราบว่าโกวเล้งเป็นคนอ้างว้าง มาตรว่านำความหฤหรรษ์และเสียงหัวเราะ แต่ส่วนลึกแล้วอ้างว้างยิ่ง
ไม่เพียงแต่อ้างว้าง หากยังมีรอยแผลที่ลึกล้ำยิ่งสายหนึ่ง รอยแผลที่สาหัสที่สุดคือ ความล้มเหลวของการแต่งงานครั้งสุดท้าย
ครั้งนี้บังเกิดผลสะท้อนและกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวง เพราะรอยแผลนี้ โกวเล้งเคยท้อแท้ หม่นหมอง และเหลวแหลกระยะหนึ่ง
ทรัพย์สิน อำนาจ ชื่อเสียงและศักดิ์ฐานะ ต่างพอทอดทิ้งได้ง่ายดาย แต่มีความทรงจำบางประการ ความทรงจำที่ปวดร้าวขมขื่น กลับคล้ายเป็นแอกอันหนักอึ้ง สลัดไม่หลุดตัดไม่ขาด ลืมเลือนมิได้ตลอดกาลนาน
โกวเล้งเปรียบการแต่งงานเป็นเช่นป้อมปราการ คนที่อยู่ภายนอกต่างพยายามตีฝ่าเข้าไป คนที่อยู่ภายในต่างกระเสือกกระสนคิดบุกทะลวงออกมา
ผู้ที่ได้ยินคำนี้ต้องมีไม่น้อย แต่ผู้ที่เข้าใจรสชาติของคำนี้อย่างแท้จริงอาจบางทีมีไม่มาก
"ข้าพเจ้า(โกวเล้ง) เคยอยู่ในป้อม ตอนนี้ออกจากป้อมมาแล้ว ตอนอยู่ในป้อมเพียงรู้สึกบางครั้งสุขสันต์ บางครั้งเจ็บปวด บางครั้งรักอย่างมืดฟ้ามัวดิน บางครั้งแค้นจนคิดเสี่ยงชีวิตไปข้างหนึ่ง
ความจริงเป็นรสชาติอย่างไร ข้าพเจ้าเองก็ไม่เข้าใจ ต้นไม้สูงเป็นอย่างไร โดยทั่วไปมักเป็นต้นไม้แห้งเหี่ยว อาจบางทีรากเหง้ายังไม่ตาย แต่กิ่งใบร่วงโรยราหมดสิ้น
ผู้ที่นั่งบนต้นไม้อาจพลัดตกลงมาได้ทุกเมื่อ พลัดตกลงสู่ห้วงเหวที่มองไม่เห็นก้น เนื่องเพราะพวกเขาไม่มีราก ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว
ผู้ที่อยู่ในป้อมมองแต่ไกลเห็นคนผู้หนึ่งอยู่บนต้นไม้สูงนอกป้อม คงต้องเห็นว่าคนผู้นี้ทั้งเย็นสบาย ทั้งปลอดโปร่งใจ แต่รอจนพวกเขานั่งบนต้นไม้สูงนี้ อาจบางทียอมนอนอยู่ในท้องร่องมากกว่า
ข้าพเจ้าพร่ำเพ้อเช่นนี้ มิใช่เกลี้ยกล่อมให้โยกย้ายไปอยู่ในป้อม บุรุษเติบใหญ่พึงแต่งงาน สตรีเติบใหญ่ต้องวิวาห์ ต้นไม้สูงพันวา ใบไม้คืนสู่ราก ชีวิตคนสมควรมีที่ฝากฝ้ง"
ชีวิตไยมิใช่คล้ายการเดินทาง?
ชีวิตคนคล้ายบากบั่นอยู่บนเส้นทางขรุขระทุรกันดาร มีสักกี่คนที่สามารถหาสถานที่พักผ่อนได้ มีบางครั้ง แม้สามารถหาพบก็ไม่มีปัญญาหยุดยั้งลง เนื่องเพราะด้านหลังมีแส้เส้นหนึ่งคอยขับไล่
อาชีพก็คือแส้ หน้าที่ เกียรติภูมิ ความสำเร็จในกิจการ ภาระในครอบครัว อาหาร เครื่องนุ่งห่มของบุตรธิดา หลักประกันในอนาคต เหล่านี้ล้วนเป็นแส้ที่โบยอยู่ด้านหลัง แล้วไหนเลยจะหยุดยั้งลงได้
บางครั้งเรื่องที่สวยงามมักเป็นเช่นฟองสบู่ ปรากฏวูบก็หายวับ หากคิดฝืนกำลังไปเหนี่ยวรั้ง ที่แลกได้มามักเป็นความเจ็บช้ำและเคราะห์กรรม
ความจริงแล้ว โกวเล้งเป็นคนมีความรู้สึกอ่อนไหว ขอเพียงมอบให้ต้องเป็นรักแท้ และน้ำใจที่แท้จริง
ในชีวิตของโกวเล้งไม่เคยขาดหญิงงาม แม้จะผูกวาสนากับเพศตรงข้าม แต่เนื่องจากเป็นคนร่อนเร่มาแต่กำเนิด ดังนั้น ไม่เหมาะกับชีวิตแต่งงาน โกวเล้งแต่งงานสองครั้ง แม้ปิดฉากด้วยการจำพราก แต่ชีวิตแต่งงานที่หวานชื่นได้มอบความอบอุ่นแก่หัวใจร่อนเร่ ในเรื่อง "ไต้ตี่ปวยเอ็ง" (ศึกทะเลทราย) มีคำพูดประโยคหนึ่ง
"หากแม้นมีคนบอกว่า ความรักที่แท้จริงมีเพียงครั้งเดียว ไม่มีครั้งที่สอง อย่างนั้นคำกล่าวนี้ มาตรว่าเป็นปรัชญาคำหนึ่ง แต่ไม่อาจนับเป็นเหตุผลอันเที่ยงแท้
เนื่องเพราะความรักสามารถแปรสภาพ แปรเปลี่ยนเป็นน้ำมิตร แปรเปลี่ยนน้ำใจ แปรเปลี่ยนเป็นพึ่งพากันและกัน ถึงกับสามารถแปรปลี่ยนเป็นความแค้น
เมื่อแปรเปลี่ยนได้ก็ลืมเลือนได้ รอจนความรักครั้งแรก แปรสภาพเป็นลางเลือน มักจะบังเกิดครั้งที่สอง ความรักครั้งที่สองก็มักแปรเปลี่ยนเป็นจริงจังลึกล้ำหวานชื่นเช่นเดียวกับความรักครั้งแรก
แต่ความตายมีเพียงครั้งเดียว ไม่มีครั้งที่สองเด็ดขาด
เรื่องราวทั้งหลายในชีวิตคน มีแต่ความตายจึงไม่มีครั้งที่สองอย่างแท้จริง"
.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 01-10-2007, 22:24 » |
|
เบ็ดตกกวี-ไม้กวาดทุกข์
สุรากับโกวเล้งเป็นสองสิ่งที่แยกไม่ออก ใต้ปลายปากกาของโกวเล้ง ตัวละครเช่น ชอลิ้วเฮียง เล็กเซียวหงส์ ลี้คิมฮวง เซียวจับอิดนึ้ง ซาเสียวเอี้ย ปึงอุ้ย เอี๊ยบไค เซียวลุ้ย เต็งพ้ง ฯลฯ ไม่เพียงเป็นยอดฝีมือลือเลื่อง มิหนำซ้ำยังเป็นนักดื่มลือลั่น โดยเฉพาะกับเฮ้งต๋ง และก๊วยไต่โล่ว คล้ายต้องการดื่มสุราในโลกให้หมดสิ้น ที่โกวเล้งวาดมโนภาพไว้ อาจบางทีมิใช่ยอดฝีมือชาวยุทธจักร
ดื่มสุราคล้ายเล่นหมากรุก ตนเองเล่นกับตนเอง นับว่าไร้ความหมาย ดื่มสุราเพียงลำพังก็ไร้รสชาติ
........................
สุรา...อะไรคือสุรา?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 03-10-2007, 02:21 » |
|
* เอ้ ... ชอบคำพูดอยู่ประโยคหนึ่ง อ่ะ พี่เม่ย เค๊าบอกว่า ........
" ข้า .. ขอส่งท่านแค่นี้... แม้ว่าข้าฯ ส่งท่านพันลี้ เราก็ต้องจากกัน ... ข้าฯ ขอส่งท่านแค่นี้ดีกว่า "
คือ .............. เอ้ ไม่รู้ว่าประโยคที่ถูกต้องของคำพูดนี้ คือ อะไร
แต่ ... เดาว่า น่าจะเป็นหนึ่งในงานเขียนของ โกวเล้ง .....
เอ่อ ........ พอจะรู้ป่าวค่ะ ว่า คำพูดที่ถูกต้อง คือ อะไรกันอ่ะ
( ถามมาหลายคนแล้ว ............ ไม่มีใครยืนยันสักคน )
ประโยคทำนองนี้เห็นในหนังกำลังภายในทางทีวีเขาจะพากษ์ว่า "ส่งกันพันลี้ มิแคล้วจากกัน"จากนั้นคนพูดก็จะยกสองมือขึ้นคารวะ แล้วพูดต่อว่า "...(ชื่ออีกฝ่าย).. รักษาสุขภาพด้วย" อีกฝ่ายก็จะตอบอะไรนิดหน่อยแล้วก็แยกย้ายจากกัน ไม่แน่ใจว่าเป็นสำนวนของโกวเล้งหรือเปล่า แต่คิดว่า น่าจะเป็นคำพังเพยของจีนมากกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 03-10-2007, 18:50 » |
|
ประโยคทำนองนี้เห็นในหนังกำลังภายในทางทีวีเขาจะพากษ์ว่า
"ส่งกันพันลี้ มิแคล้วจากกัน"
จากนั้นคนพูดก็จะยกสองมือขึ้นคารวะ แล้วพูดต่อว่า
"...(ชื่ออีกฝ่าย).. รักษาสุขภาพด้วย"
อีกฝ่ายก็จะตอบอะไรนิดหน่อยแล้วก็แยกย้ายจากกัน
ไม่แน่ใจว่าเป็นสำนวนของโกวเล้งหรือเปล่า แต่คิดว่า น่าจะเป็นคำพังเพยของจีนมากกว่าครับ
ขอบคุณคุณ jerasak มากค่ะ เม่ยก็เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีนมากกว่านะคะ ได้ไปเรียนถามญาติผู้อาวุโสเพิ่มเติมมาค่ะ ได้ต้นฉบับภาษาจีนว่า ดังนี้ 送君千里,终须一别。ภาษาจีน(แต้จิ๋ว) ที่ใช้แปลในนิยายกำลังภายในแต่เดิมอ่านว่า "ซั่งกุงเชย(โชย) ลี่, จ่งซูเจ่กเปี๊ยก" แปลตรงตัวได้ความว่า "ส่งท่านพันลี้ สุดท้ายก็ต้องจากกัน"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เล่าปี๋
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 03-10-2007, 20:52 » |
|
ขอบคุณคุณ jerasak มากค่ะ
เม่ยก็เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีนมากกว่านะคะ ได้ไปเรียนถามญาติผู้อาวุโสเพิ่มเติมมาค่ะ
ได้ต้นฉบับภาษาจีนว่า ดังนี้
送君千里,终须一别。
ภาษาจีน(แต้จิ๋ว) ที่ใช้แปลในนิยายกำลังภายในแต่เดิมอ่านว่า "ซั่งกุงเชย(โชย) ลี่, จ่งซูเจ่กเปี๊ยก"
แปลตรงตัวได้ความว่า "ส่งท่านพันลี้ สุดท้ายก็ต้องจากกัน"
ผมก็คิดเหมือนกันกับคุณ เม่ย ครับ
ผมเองก็ศิษย์เสียวลิ้มยี่อ่ะ แหะๆๆ แต่ตำราอาจารย์ท่านทวงกลับหมดแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว ไม่พราวไสว หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น พลันมืดมัว....
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 05-10-2007, 21:27 » |
|
เบ็ดตกกวี-ไม้กวาดทุกข์
สุรากับโกวเล้งเป็นสองสิ่งที่แยกไม่ออก ใต้ปลายปากกาของโกวเล้ง ตัวละครเช่น ชอลิ้วเฮียง เล็กเซียวหงส์ ลี้คิมฮวง เซียวจับอิดนึ้ง ซาเสียวเอี้ย ปึงอุ้ย เอี๊ยบไค เซียวลุ้ย เต็งพ้ง ฯลฯ ไม่เพียงเป็นยอดฝีมือลือเลื่อง มิหนำซ้ำยังเป็นนักดื่มลือลั่น โดยเฉพาะกับเฮ้งต๋ง และก๊วยไต่โล่ว คล้ายต้องการดื่มสุราในโลกให้หมดสิ้น ที่โกวเล้งวาดมโนภาพไว้ อาจบางทีมิใช่ยอดฝีมือชาวยุทธจักร
ดื่มสุราคล้ายเล่นหมากรุก ตนเองเล่นกับตนเอง นับว่าไร้ความหมาย ดื่มสุราเพียงลำพังก็ไร้รสชาติ
........................
สุรา...อะไรคือสุรา?
ก่อนที่จะเสียชีวิตไม่นาน โกวเล้งเขียนบทความชื่อ "ชุบชีวิตจากสุรา" บรรยายถึงชีวิตที่ผ่านมา ดังนี้
"ข้าพเจ้า (โกวเล้ง) ความจริงเป็นนักดื่ม และดื่มจัด เคยดื่มกับคนมีชื่อเสียง ทั้งยังเคยประลองสุรากัน
ผู้ที่มีชื่อในการเดิม ไม่แน่ว่าจะดื่มได้จริง ๆ บางท่านชนะเพราะดื่มเป็นเวลานานปี บางท่านชนะเพราะดื่มช้า ยังมีบางท่านที่มีแต่ชื่อเสียงจอมปลอม
"กองทัพตั้งได้โดยง่าย ยอดขุนพลยากเสาะแสวง" คนดื่มสุราแม้มีจำนวนมาก แต่ที่นับเป็นเอกมีเพียงไม่กี่คน
ในวงการบันเทิง "หวังอยู่" นับเป็นนักดื่ม ไม่เพียงดื่มติดต่อกันได้สิบกว่าจอก มิหนำซ้ำสามารถสู้ศึกอย่างยาวนาน บวกกับฝีมือแคล่วคล่อง ไหวพริบปราดเปรียว ชมชอบเล่นทายนิ้วมือ ต่อให้เอาชนะในเชิงสุราท่านไม่ได้ ก็สามารถปรับท่านดื่มสุราจนต้องพ่ายแพ้ไป
"ฉีเส้าเฉียน" ก็นับเป็นยอดฝีมือ ดื่มสุราทั้งรวดเร็ว ทั้งมั่นคง ทั้งดุเดือด ขอเพียงเล็งโอกาสเหมาะ บางครั้งจะคารวะสุราท่านติดต่อกันหลายจอก มิหนำซ้ำสุราที่ดื่มเป็นบรั่นดีที่ทั้งไม่ผสมน้ำ และไม่เติมน้ำแข็ง ดื่มจนกระทั่งล้มพับค่อยยุติ แต่คิดโค่นเขาล้มพับลงไม่นับว่าง่ายนัก
...
สุรา...อะไรคือสุรา?
ในเรื่อง "เดชขนนกยูง" มีคำพูดประโยคหนึ่ง
"สุรา มิใช่น้ำอมฤตที่พอจะบันดาลให้ผู้คนสุขสันต์หรรษา ร่าเริงแจ่มใส แต่สุราคือเปลือกชนิดหนึ่ง คล้ายเปลือกที่หอยทากลากไป พอจะให้หนีเข้าไปซุกซ่อนภายใน อย่างนั้น แม้นับว่าผู้อื่นเหยียบไล่ ก็ไม่เห็นอีก คนยามมีชีวิตอยู่ในโลก ย่อมมีวันเวลาแห่งความภาคภูมิ มีช่วงเวลาที่ไม่สมปรารถนา ดังนั้น คนประดิษฐ์สุราขึ้น สุราเป็นเพื่อนของมนุษยชาติ โดยเฉพาะผู้ที่ประสบความผิดหวัง คนผิดหวังดื่มสุรา เพื่ออาศัยสุราราดรดทุกข์ คนที่ภาคภูมิ พอดื่มสุราก็แสดงออกถึงความรื่นเริง"
สุราดีใช่ต้องมีราคาแพงหรือไม่?
สุราที่สามารถกรอกผู้คนจนเมามาย นับเป็นสุราที่ดี สุราที่ไม่เมามาย ไหนเลยได้ชื่อว่าสุรา อย่าว่าแต่สุราที่ไม่เมามายโดยง่าย หากเมามายยากจะฟื้นตื่นได้ คล้ายกับบุคคลที่น่ารักที่สุด บางครั้งมักเป็นบุคคลที่น่าสะพรึงกลัวที่สุด
สุราดีเลว หาใช่อยู่ที่ตัวสุรา แต่อยู่ที่อารมณ์ของผู้ดื่ม ท่านหากคับแค้นรันทดจนสุดซึ้ง มาตรว่าเป็นสุราชั้นยอดของแผ่นดิน ยามล่วงล้ำผ่านลำคอก็ขมฝาดยิ่ง
ข้อความต่อไปนี้เป็นบทความเชิงร้อยแก้วชื่อ "จิตใจคนเสเพลมีแต่สุรา" ซึ่งโกวเล้งเขียนให้กับนิตยสารเฟรชรายสัปดาห์ของฮ่องกง ถ่ายทอดความรู้สึกทางใจให้สหายทั้งหลายของเขาได้ส้องเสพร่วมกัน
"การดื่มสุราเป็นเรื่องน่ายินดีประการหนึ่ง แต่ดื่มสุราจนเมามายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หลังจากที่ท่านดื่มจนเมามาย วันรุ่งขึ้นตื่นขึ้นมา มักไม่อยู่ที่ริมฝั่งหลิว และไม่มีลมอรุณเดือนใกล้ลับ
หลังจากที่ท่านสร่างเมาตื่นขึ้นมา เพียงรู้สึกว่าศีรษะของท่านพองโตกว่าปรกติห้าหกเท่า มิหนำซ้ำปวดแทบตาย โดยเฉพาะครั้งแรกที่ดื่มจนเมามายยิ่งแทบตาย
ข้าพเจ้ามีประสบการณ์เช่นนี้
ตอนนั้น ข้าพเจ้ากำลังเรียนมหาวิทยาลัยต้ากัง อยู่ที่ต้าสุ่ย นักศึกษาหลายคนเสนอให้ดื่มสุรา ดังนั้น ทั้งหมดช่วยกันหาสุรากลับมาหลายขวด
ตอนนั้น มีประมาณห้าหกคน หาสุรามาเจ็ดแปดขวด ทั้งสุราจีน สุราต่างประเทศ สุราอั้งโล่ว สุราโอวบ๊วย สุราข้าวเก่า สุมรวมกันกองหนึ่ง ซื้อหาหัวเป็ด ตีนไก่ ถั่วลิสง เต้าหู้ก้อน ดื่มในบ้านซอมซ่อของนักศึกษาซึ่งอยู่ต้าสุ่ย เช่าเดือนละหนึ่งร้อยยี่สิบเหรียญ ดื่มจนได้ที่ก็โยกย้ายที่มั่นไปยังเขื่อนฝังปอริมทะเลสาบต้าสุ่ย
มิใช่ริมฝั่งหลิว หากแต่เป็นเขื่อนฝังปอ
วันนั้นก็ไม่มีจันทร์ มีแต่ดาว...ดาวแพรวพราย
ทุกคนถือขวดสุรา นอนบนเขื่อนซีเมนต์ที่เย็นเฉียบ นอนอยู่ใต้ประกายดาวสกาว ฟังเสียงลมทะเล ฟังเสียงคลื่นกระทบเขื่อน
ท่านส่งขวดสุราแก่เขา เขาดื่มคำหนึ่ง ส่งขวดสุราแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าดื่มคำหนึ่ง ผลัดเปลี่ยนกันดื่มรอบหนึ่ง ทั้งหมดก็เริ่มแข่งขันกันผายลม ผู้ใดผายไม่ออก ถูกปรับให้ดื่มสุราคำหนึ่ง
คิดผายลมออกมาทุกเมื่อ มิใช่เรื่องง่ายดาย ผู้ที่ฝึก "ไม้ตาย" เช่นนี้มีเพียงหนึ่งเดียว เขาบอกผายก็ผาย ไม่เคยยืดยาดเยิ่นเย้อมาก่อน
ดังนั้น เขาผายลมอย่างไม่คิดชีวิต พวกเราได้แต่ดื่มสุราอย่างไม่คิดชีวิต
วันนั้น ทั้งหมดดื่มอย่างสมใจแทบตาย เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นก็ทรมานแทบตาย
แต่ยามนี้ประหวัดหวนนึก ความรู้สึกทรมานไม่คงเหลืออยู่แม้แต่น้อย ความหรรษาและน้ำมิตรเช่นนั้น เสียงคลื่นและหมู่ดาวในคืนนั้น คล้ายถูกมีดบินของลี้น้อยสลักเสลาใส่ใจ สลักเสลาอย่างล้ำลึกนัก "ร่ำสุราพึงเมามาย วาจาหลังเมามาย เป็นคำพูดจากดวงใจ" .................
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 10-10-2007, 19:33 » |
|
ชอบประโยคเด็ดประโยคนี้ของอาจารย์โก้วเล้งมากที่สุดครับ ระวังถูกล้วงความลับที่ไม่อาจแพร่งพรายนะคะ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- ทว่าคนผู้หนึ่ง หากร่ำดื่มจนเมามาย พฤติกรรมย่อมผิดแปลกจากปกติธรรมดา ในเรื่อง "จับอิดนึ้ง" มีคำกล่าวประโยคหนึ่ง
" ตอนที่เมามายจริง ๆ ทั้งไม่เจ็บปวดรวดร้าว ทั้งไม่รื่นเริงหฤหรรษ์ ลืมเลือนอดีตกาล ปราศจากอนาคต แม้แต่ปัจจุบัน เนื่องเพราะห้วงสมองเวิ้งว้างว่างเปล่า ตอนที่เมามายจริง ๆ ทั้งมิได้คำนึงถึงผู้อื่น และมิได้ครุ่นคิดถึงตนเอง แม้แต่เรื่องที่ตนเองกระทำ ก็คล้ายพฤติการณ์ของผู้อื่น ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับตน
แต่ยามเมื่อคนผู้หนึ่งเมามายจริง ๆ เรื่องที่กระทำออกมา ย่อมต้องเพราะเพื่อคนผู้หนึ่งและคนผู้นั้นย่อมเป็นที่สลักฝังใจยากลืมเลือน มาตรแม้นห้วงสมองเวิ้งว้างว่างเปล่า คนผู้นั้นยังประดับในห้วงดวงใจ ตราตรึ่งในห้องสมอง ผูกพันสนิทกับจิตใจ ผู้ที่เมามายจริง ๆ จะกระทำเรื่องเช่นนั้นโดยไม่คำนึงถึงทุกสรรพสิ่ง แม้กระทั่งตัวเองก็มิทราบว่ากำลังกระทำเรื่องราวใด มีแต่ผู้เมามายจริง ๆ จึงสามารถเข้าใจซึ้งถึงความรู้สึกนี้ เป็นความรู้สึกที่ยากทนทานรับได้จริง ๆ"
......
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|