ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 06:52
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550==  (อ่าน 3568 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 11-08-2007, 19:54 »

นิตยสาร "สารคดี" ฉบับสิงหาคม 2550 จัดทำคอลัมน์ "อ่านเอาเรื่อง" ในประเด็น "รับ-ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 

แต่เนื่องจากนิตยสารอาจจะวางตลาดหลังจากวันลงประชามติ 19 สิงหาคมนี้ไปแล้ว ทางกองบรรณาธิการจึงจัดทำ
ไฟล์เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้สนใจได้อ่านโดยหวังว่าข้อมูลและข้อคิดเห็นเนื้อหาในคอลัมน์นี้ อาจเป็นประโยชน์การตัดสินใจ
ลงประชามติไม่มากก็น้อย

เนื้อหาในคอลัมน์แบ่งจะมีความเห็นของ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ที่มีความเห็นว่าควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยแสดงเหตุผลไว้อย่างน่าสนใจและผมนำมาลงในกระทู้นี้
แม้ว่าออกจะยาวสักหน่อยแต่ก็น่าอ่านดีนะครับ ท่านใดสนใจก็ขอแนะนำให้อ่านดู 


อีกส่วนหนึ่งเป็นความเห็นของ รศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หน.ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีความเห็นต่อต้านการรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550

สำหรับความเห็น ดร.วรเจตน์ นั้นผมไม่ได้นำมาลงในกระทู้นี้ เพราะจะยืดยาวเกินไปและผมก็ขี้เกียจเผยแพร่ให้แกด้วย
แต่ถ้าท่านใดสนใจก็สามารถตามไปอ่านได้ที่ลิงค์นี้นะครับ ต้องขอขอบคุณ คุณ drop ที่แนะนำลิงค์มาให้ด้วยครับ

http://www.winbookclub.com/viewanswer.php?qid=10542

และต้องขออภัยด้วยหากผมจะทำตัวไม่เป็นกลาง เพราะผมตัดสินใจรณรงค์ We Vote YES แล้วล่ะครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-08-2007, 20:08 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 11-08-2007, 19:57 »

รศ. ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากการรัฐประหาร แต่ควรพิจารณาที่เนื้อหาและผลลัพธ์ด้วย ถ้านำไปสู่เผด็จการยิ่งขึ้น
ก็ควรแก่การประณาม แต่ถ้านำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยสูงขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของประชาชน ก็ถือว่ามีความ
ชอบธรรม

เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความก้าวหน้าอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน การตรวจสอบ
การใช้อำนาจรัฐ และองค์กรอิสระ เป็นข้อดีที่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทุกประการ

ระบบเลือกตั้ง ส.ส. แบบใหม่ จะทำให้เกิดความเป็นธรรมในการเลือกผู้แทนของประชาชน ขณะที่ระบบ ส.ว.
แบบผสม จะทำให้เกิดการกระจายตัวของ ส.ว. ที่มาจากทุกภาคส่วนของสังคมได้ดีขึ้น

“การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการรัฐประหาร ความจริงการรัฐประหารเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ มันแสดง
ให้เห็นว่าสังคมไทยทุกฝ่ายไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะช่วยกันประคับประคองระบบการเมืองให้วิวัฒนาการต่อเนื่องไปได้
และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งเพราะรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ควรจะมีวิวัฒนาการที่ยาวนานกว่านี้ รธน. ปี ๔๐ เขียนไว้
ชัดนะครับว่าเมื่อใช้ไป ๕ ปีให้มีการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสีย ผมถามว่าใครกันแน่ที่ไม่ทำตาม ก็ต้องบอกว่า
นักการเมือง พวกเรากันเองช่วยรุมสกรัม รธน. ปี ๔๐ มาเรียบร้อยแล้ว ถ้าเรารู้จักปรับปรุงกฎกติกาบ้านเมืองตามที่
รัฐธรรมนูญได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์ ๑๙ กันยา ๔๙ ขึ้น

“อย่างไรก็ตามที ขอให้สังเกตว่าเกือบทุกครั้งที่มีการรัฐประหารมักจะจบลงด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญ
ใหม่เสมอ อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่นรัฐประหารปี ๒๔๙๐ ซึ่งร่างเสร็จแล้วยกขึ้นมาใช้ เรียกกันว่า
รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม แต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้วิธีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันประกอบไปด้วยสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ ๑๐๐ คน คณะกรรมาธิการยกร่าง ๓๕ คน ถือว่าเป็นการร่างโดยคณะบุคคลที่มีจำนวนมากกว่าทุกครั้ง
ที่ผ่านมา และที่สำคัญคือมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและการทำประชามติซึ่งไม่เคยมีมาก่อน

“ความชอบธรรมทางการเมืองนั้นสามารถพิจารณาได้ใน ๒-๓ มิติ คือเรื่องของที่มา เนื้อหา และการยอมรับหรือความ
พึงพอใจของประชาชน สมมุติว่าคุณไปฉุดลูกสาวเขามา ถามว่าชอบธรรมไหม มันไม่ชอบธรรมอยู่แล้ว แต่พอแต่งงาน
อยู่กินกันฉันสามีภรรยามีลูกมีเต้า ผู้ชายกลับไปขอขมาพ่อตา ถามว่าชอบธรรมไหม ก็ต้องดูสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น
ดังนั้นถ้ามองเฉพาะที่มาอย่างเดียวมันผิดอยู่แล้วเพราะมาจากการรัฐประหาร แต่ผมย้ำว่ารัฐประหารครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก
ทำมาหลายครั้งแล้ว หลังจากนั้นชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมควรต้องดูที่เนื้อหา กระบวนการ และผลลัพธ์ของการร่าง
รัฐธรรมนูญว่ามีเป้าหมายไปสู่อะไร

“ในแง่กระบวนการก็ต้องดูว่าคณะกรรมาธิการยกร่างก็ดี สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ดี มีพิมพ์เขียวอยู่หรือเปล่า ถ้ามี วิธีการ
ก็เป็นเพียงแค่การเล่นละคร แต่ผมกลับคิดว่าในกระบวนการร่างครั้งนี้มีการรับฟัง มีการเจรจา แก้ไข และยืดหยุ่นพอสมควร
กรรมาธิการยกร่างถึงแม้ ๑๐ ใน ๓๕ คนจะเป็นคนที่ คมช. แต่งตั้ง แต่ก็ไม่ได้มีเสียงเด็ดขาดที่จะชี้นำ คือมีความเป็นอิสระ
พอสมควร นอกจากนี้เราควรดูที่วัตถุประสงค์สุดท้ายด้วย ถ้าร่างไปแล้วเปิดทางให้เป็นเผด็จการหนักข้อยิ่งขึ้น ทหารมี
อำนาจมากยิ่งขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ควรแก่การประณาม แต่ถ้าผลปรากฏว่ามีความเป็นประชาธิปไตยในระดับที่สูงขึ้น ก็ควร
จะต้องดูเนื้อหาสาระด้วย สุดท้ายถ้าประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับว่าผลลัพธ์นั้นเป็นที่พึงพอใจ ผมก็ถือว่ามีความชอบธรรม


“เนื้อหาของร่าง รธน. ปี ๕๐ มีความก้าวหน้าอยู่มาก หมวดที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพนั้นดีกว่า รธน. ปี ๔๐ เกือบทุกประการ
ถามว่าดีกว่าอย่างไร ก็ต้องบอกว่าสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ใน รธน. ปี ๔๐ มีอยู่ในร่าง รธน. ฉบับนี้ทั้งหมด และยังมี
การขยายเรื่องสิทธิเสรีภาพไปอย่างกว้างขวางในหลายๆ เรื่อง เช่น ประชาชนสามารถเข้าชื่อ ๑ หมื่นชื่อเสนอกฎหมาย
ได้ ๑ หมื่นชื่อเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ หรือ ๕ หมื่นชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ที่เหนือกว่า
รธน. ปี ๔๐คือมีการตัดคำว่า ‘ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ’ ออกเกือบทั้งหมด ร่าง รธน. ฉบับนี้ได้นำเอาหลักการทางกฎหมาย
ชนิดใหม่สุดซึ่งอยู่ในระบบกฎหมายเยอรมันมาใช้ กล่าวคือ เมื่อรัฐธรรมนูญรับรองอะไรไว้แล้ว ให้ถือว่าบทบัญญัติ
นั้นมีผลบังคับใช้ทันที เช่นประชาชนสามารถยื่นเรื่องต่อศาลได้ตามที่มาตรา ๒๘ รับรองไว้

มาตรา ๒๘ ถือเป็นมาตราที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในวรรค ๒ ‘บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติ
ตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง’ ถือเป็นหลักกฎหมายที่ก้าวหน้าที่สุดและไม่เคยมีการเขียนมาก่อน

“อีกจุดหนึ่งคือหมวดที่ว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ร่าง รธน. ปี ๕๐ มีการจัดหมวดหมู่องค์กรอิสระขึ้นมา
และให้มีอำนาจหน้าที่ดีกว่าเดิมเป็นอันมาก เช่นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งในอดีตเป็นแต่เพียงเสือกระดาษแท้ๆ
ในร่าง รธน. ปี ๕๐ กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม คือพิจารณาเรื่องร้องเรียนไม่เฉพาะร้องเรียน
ข้าราชการ นักการเมือง หรือพนักงานของรัฐที่ปฏิบัติมิชอบเท่านั้น แม้กระทั่งร้องเรียนองค์กรในกระบวนการยุติธรรม
ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ตรวจสอบได้ และยังมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องประมวลจริยธรรมทางการเมือง ถ้ารัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ประกาศใช้ หน้าที่ของรัฐสภาคือต้องจัดทำประมวลจริยธรรมทางการเมืองภายใน ๑ ปี และเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการ
แผ่นดินที่จะบังคับใช้และติดตามประเมินผล ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องดำเนินการว่ารัฐธรรมนูญนี้มีผลบังคับใช้จริงๆ หรือไม่
เหมือนกับเป็นมอนิเตอร์ให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

จะเห็นได้ว่าระบบการตรวจสอบ ระบบการควบคุมดีขึ้นเป็นอันมาก รวมทั้งบทบัญญัติใหม่ๆ อีก ๓ หมวด คือหมวด ๗
ว่าด้วยเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน หมวด ๘ การเงิน การคลัง และงบประมาณ ซึ่งเป็น
เรื่องสำคัญอย่างยิ่งของการปกครองสมัยใหม่ และที่เป็นเรื่องใหม่ที่สุดคือหมวด ๑๓ ว่าด้วยเรื่องจริยธรรมของผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นข้อดีที่เหนือกว่า รธน. ปี ๔๐ ทุกประการ

“ประเด็นที่อาจมีข้อโต้แย้งได้มีอยู่ ๒-๓ เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ที่มาของสภา ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. และระบบการสรรหา
หลายคนมองว่าร่าง รธน. ฉบับนี้ยึดอำนาจจากนักการเมืองมาให้ข้าราชการประจำ แต่ผมคิดว่าเราควรต้องอ่านรัฐธรรมนูญ
ให้ดี ว่าเป้าหมายของร่าง รธน. ปี ๕๐ ต้องการที่จะให้ฝ่ายบริหารมีความอ่อนตัวลง ในขณะที่สภามีอำนาจเพิ่มมากขึ้น
เพราะปัญหาใหญ่ของ รธน. ปี ๔๐ คือนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าจะเป็น
ส.ส. มาก่อน แต่เมื่อรับตำแหน่งต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. ทันที เมื่อพ้นจากสภาไปแล้ว พวกเขาก็ไม่มีหน้าที่ต้องไป
ประชุมสภา สภาถามก็ไม่ตอบ ไปพูดทางวิทยุตอนเช้าวันเสาร์แทน เพราะฉะนั้นคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
จึงไม่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อสภา และผมเข้าใจว่ารัฐมนตรีตามโครงสร้าง รธน. ปี ๔๐ กลัวนายกฯ มาก เพราะถ้า
ถูกปรับ ครม. เมื่อไรก็ตกงานทันที แต่ร่าง รธน. ปี ๕๐ ต้องการให้ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส. ต้องดำรง
สถานภาพของการเป็น ส.ส. อยู่ตลอดไป และนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น

แล้วก็มีอีกหลายมาตรการที่จะบังคับให้ท่านนายกฯ ก็ดี ท่านรัฐมนตรีก็ดี รับผิดชอบต่อสภา คือท่านต้องไปประชุมสภา
ไปตอบกระทู้สภา ต้องถูกอภิปรายโดยสภา เพราะฉะนั้นอำนาจของฝ่ายบริหารอ่อนตัวลง แต่อำนาจของสภาจะสูงขึ้น
พูดอย่างตรงไปตรงมาก็คือ ทำให้ระบอบการเมืองของไทยเคลื่อนที่จากระบอบที่คล้ายๆ กับกึ่งประธานาธิบดี มาเป็น
ระบอบรัฐสภาโดยสมบูรณ์ นี่คือการต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์ พวกที่ร่าง รธน. ปี ๕๐ อยากให้นายกฯ และรัฐมนตรีไปสภา
ซึ่งเป็นหลักการของระบอบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษและประเทศในยุโรปทั้งหมด รวมทั้งญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศ
สแกนดิเนเวีย หลายคนบอกว่าร่าง รธน. ฉบับนี้จะทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอลงหรือไม่ ก็ตอบว่าใช่ แต่ต้องบอกว่าเมื่อ
ฝ่ายบริหารอ่อนแอลง อำนาจไปอยู่ที่สภา สภาจะตรวจสอบฝ่ายบริหารได้มากขึ้น


“เรื่องของระบบเลือกตั้งโดยภาพรวมผมคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ร่าง รธน. ปี ๕๐ ดีกว่า รธน. ปี ๔๐ เราต้องอย่าลืม
ว่า รธน. ปี ๔๐ ระบุว่า ส.ส. ต้องจบปริญญาตรีนะครับ นั่นแปลว่าคน ๔๐ ล้านคนมีหน้าที่ไปออกเสียงเลือกตั้งเพื่อให้
คนประมาณ ๑ ล้านคนเท่านั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่คนอีก ๓๙ ล้านคนสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้
คุณรอนสิทธิประชาชนไปทันทีทันใด ๓๙ ล้านคน ผมถามจริงๆ ว่าเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ในทางรัฐศาสตร์เราเรียก
ระบอบนี้ว่าอภิชนาธิปไตยนะครับ แต่ในร่าง รธน. ปี ๕๐ เราแก้ไขเรื่องนี้เรียบร้อยแล้ว

“เรื่องที่เป็นข้อโต้แย้งประการแรก คือเรื่องของเขตเลือกตั้ง ตาม รธน. ปี ๔๐ เป็นแบบเขตเดียวคนเดียว แต่ในร่าง รธน.
ปี ๕๐ เราเปลี่ยนมาใช้เขตเลือกตั้งที่ใหญ่ เขตหนึ่งมี ส.ส. ๓ คน บางเขตอาจมี ๒ คน บางเขตมีคนเดียวแล้วแต่พื้นที่
ซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีความเสมอภาคในการหย่อนบัตร จุดนี้อาจเป็นข้อด้อย แต่ก็ยังอภิปรายกันได้ ผมเองคิดว่าระบบ
เขตเลือกตั้งเขตใหญ่เป็นระบบที่คนไทยเคยใช้มาก่อนยาวนาน อีกทั้งระบบนี้มีใช้กันอยู่ใน ๒๐ กว่าประเทศทั่วโลก
เป็นระบบที่เราเชื่อกันว่ามีการใช้จ่ายเงินน้อยกว่าระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว

อีกส่วนคือระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ใน รธน. ปี ๔๐ ใช้บัญชีรายชื่อ ๑๐๐ คน ให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง และ
ที่สำคัญ ๑๐๐ คนนั้นตัดกันที่ ๕ % พรรคการเมืองใดไม่ถึง ๕ % ไม่นับ ถามว่าใครได้เปรียบ ผมตอบได้เลยว่า
คนกรุงเทพฯ ได้เปรียบ คุณต้องอย่าลืมว่าคนดีคนเด่นคนดังจากต่างจังหวัดเข้ามาอยู่ในบัญชี ๑๐๐ คน คุณไม่มีทาง
อยู่อันดับต้นได้เลย คุณต้องอยู่อันดับท้ายเสมอ แล้วยิ่งตัดที่ ๕ % ด้วยแล้ว พรรคเล็กเสียเปรียบหมด เป็นระบบการ
เลือกตั้งที่ให้โอกาสแก่คนกรุงเทพฯ และพรรคการเมืองใหญ่ แต่ในร่าง รธน. ปี ๕๐ เราแบ่งบัญชีรายชื่อออกเป็น
๘ บัญชี บัญชีละ ๑๐ คน และเป็นการคิดแบบสัดส่วนอย่างละเอียด ผมตอบได้เลยว่าเราคงได้เห็นคนดีคนเด่นคนดัง
คนมีชื่อเสียงกระจายตัวดีกว่าที่ผ่านมา ยกตัวอย่าง ผมเป็นคนดีคนเด่นคนดังของศรีสะเกษ เป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะอยู่
อันดับ ๑ ตามบัญชีรายชื่อแบบเดิม แต่ถ้ามีบัญชีรายชื่อในเขตนั้น ผมเชื่อว่าคนดีคนเด่นคนดังจากเขตอีสานใต้ก็ต้อง
อยู่อันดับ ๑, ๒, ๓ ในบัญชีเขตนั้นแน่นอน เพราะฉะนั้นระบบบัญชีรายชื่อแบบนี้ทำให้มีการกระจายตัวดีกว่า ทำให้เกิด
ความเป็นธรรมในการเลือกผู้แทนได้ดีกว่า

“จากระบบเลือกตั้งแบบนี้ผมบอกได้เลยว่าเราจะได้รัฐบาลผสม เรื่องรัฐบาลผสมกับรัฐบาลพรรคเดียวในทางรัฐศาสตร์
ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ไม่เป็นที่ยุติ ประเทศที่มีรัฐบาลผสมจำนวนมากอยู่ในยุโรปเกือบทั้งหมด รัฐบาลพรรคเดียวในโลกนี้
มีไม่กี่ประเทศ แต่ขอให้สังเกตนะครับว่ารัฐบาลอังกฤษปัจจุบันก็มีแนวโน้มจะกลายเป็นรัฐบาลผสม ถ้าคิดว่ารัฐบาลผสม
เป็นรัฐบาลที่แย่ ก็ต้องบอกว่าการปกครองในยุโรปแย่ทั้งหมด ฝ่ายที่เชื่อว่ารัฐบาลพรรคเดียวดี ก็อาจจะมองว่าดีในแง่
ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องของนโยบาย แต่ถามว่าในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลที่ดีควรจะเป็นรัฐบาล
ที่เข้มแข็งขนาดไหน ผมกลับคิดว่ารัฐบาลผสมก็ไม่ได้เป็นรัฐบาลที่เลวร้ายเสียทั้งหมด ในแง่มุมหนึ่งถ้ารัฐบาลมีความ
อ่อนตัวลง กลุ่มท้องถิ่นต่างๆ ก็สามารถมีบทบาทขึ้นมาได้ ส่วนเรื่องของนโยบายจะมีการปฏิบัติต่อเนื่องได้จริงหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้นำรัฐบาลและโครงสร้างการตัดสินใจของรัฐบาล การมีรัฐบาลพรรคเดียวที่เรารู้สึกว่าเข้มแข็ง
เพราะว่าโครงสร้างการตัดสินใจมันกระจุกตัวอยู่ที่หนึ่งที่ใด แต่รัฐบาลผสมในหลายประเทศก็ใช่ว่าจะแย่ ขึ้นอยู่กับว่า
รัฐบาลนั้นจะจัดโครงสร้างการตัดสินใจอย่างไร เช่นถ้าแบ่งการตัดสินใจไปไว้ที่มุ้งต่างๆ ก็บอกได้เลยว่าการตัดสินใจ
ในเชิงนโยบายจะไม่มีความราบรื่น แต่ถ้าเอาการตัดสินใจไปรวมไว้ที่คณะที่ปรึกษา หรือในยุโรปเรียกว่าหน่วยทาง
นโยบาย ผมเชื่อว่ารัฐบาลผสมก็ไม่แย่ มันขึ้นอยู่กับวิธีการว่าคุณจะเอาการตัดสินใจไปไว้ตรงไหน


“ข้อโต้แย้งอีกประการคือการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ส.ว. ตาม รธน. ปี ๔๐ มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ๒๐๐ คน
แต่ก่อนอื่นเราต้องตั้งคำถามว่า ส.ว. ทำหน้าที่อะไร ในร่าง รธน. นี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ต้องการให้วุฒิสภาเป็น
สภาพี่เลี้ยงคอยกรองกฎหมาย ต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน และทำหน้าที่ในบางเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้
ความเห็นชอบเรื่ององค์กรอิสระ เราจึงอยากเห็น ส.ว. ที่เป็นกลาง คำถามคือว่าการเลือกตั้งเราจะได้คนที่เป็นกลาง
จริงหรือไม่ ซึ่งเราคิดว่ามันไม่ใช่ ดังนั้น ส.ว. ตามร่าง รธน. ปี ๕๐ จึงเป็นระบบผสม คือมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ
๑ คน ผมบอกได้เลยว่าต่อไป ส.ว. จะใหญ่มากๆ คนพวกนี้จะเดินนำหน้า ส.ส. ไม่ใช่เดินตามก้น ส.ส. อีกต่อไป
และอีกส่วนมาจากการสรรหา ซึ่งจะได้รับการเสนอชื่อจากภาคส่วนต่างๆ หลายคนมองว่าอาจเป็นการถอยหลังเข้าคลอง
ซึ่งบางท่านตีความว่าเป็นอำมาตยาธิปไตย แต่ผมขอย้ำว่า ส.ว. ในร่าง รธน. ฉบับนี้ เป็นข้าราชการไม่ได้นะครับ

หลายคนบอกว่าเราร่างรัฐธรรมนูญมาให้พวกนายทหารไปนั่ง ส.ว. ผมบอกได้เลยว่ามันจะไม่มีปรากฏการณ์แบบนั้นเกิดขึ้น
เพราะว่าข้าราชการก็ดี นายทหารก็ดี ไม่สามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ในเวลาเดียวกับที่ดำรงตำแหน่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติ
ข้อห้ามของ ส.ว. ที่ระบุไว้ชัดเจน การที่เราให้มีระบบสรรหา ส.ว. เพราะว่าอยากให้มีการกระจายตัวของ ส.ว. โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งคนที่มาจากภาคประชาสังคม กลุ่มคนด้อยโอกาส คนพิการ ตัวแทนวิชาชีพต่างๆ เราหวังว่าจะมีการกระจายตัว
ของ ส.ว. ส่วนนี้ได้ดีขึ้น อาจจะบอกว่าเป็นจุดอ่อนเพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ถามว่าเป็นจุดแข็งไหม ก็คงต้อง
รอดูว่าผลสุดท้ายของการสรรหาจะเป็นอย่างไร ผมเองไม่ค่อยเห็นด้วยกับระบบผสม แต่ผมอยากเห็นวิวัฒนาการ
ให้ประชาชนได้เห็นว่าระหว่างเลือกตั้งกับสรรหา ส.ว. ส่วนไหนดีกว่ากัน ถ้าเลือกตั้งดีกว่าผมเชื่อว่าในอนาคตก็แก้ไข
รัฐธรรมนูญสิ เผลอๆ ประชาชนอาจจะคิดว่า ส.ว. สรรหาก็ไม่เลว เราอาจได้ ส.ว. สรรหาที่ดีกว่า ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง
ก็ได้ ก็ให้ระบบผสมนี้วิวัฒนาการไปสักระยะหนึ่ง

“ปัญหาเรื่องการแทรกแซงเป็นเรื่องใหญ่ เราจึงให้กรรมการสรรหามาจากกลุ่มบุคคลที่ถูกแทรกแซงได้ยากที่สุด คือมาจาก
สายศาล ให้ประธานศาลและประธานองค์กรอิสระมามีส่วนร่วมในการสรรหา ส.ว. เพราะเราเชื่อว่าฝ่ายศาลเป็นฝ่ายที่เจรจา
ต่อรองยากที่สุด ณ เวลานี้ ซึ่งในร่าง รธน. ปี ๕๐ กำหนดคุณสมบัติ ส.ว. ไว้ค่อนข้างสูงมาก เพราะการสรรหาที่ผ่านมา
ยกตัวอย่างผมเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ผมมีส่วนสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการ
สรรหา ป.ป.ช. กกต. ด้วย แต่ในร่าง รธน. นี้เราตัดออกหมด เพราะเรารู้ว่าตัวแทนสถาบันอุดมศึกษาต่อรองได้ รวมถึง
ตัวแทนพรรคการเมืองด้วย แล้วเราใส่ตัวแทนศาลเข้าไปเพราะเราเชื่อว่าฝ่ายศาล ณ เวลานี้ต่อรองเจรจายากที่สุด ถ้าคิดว่า
ฝ่ายศาลไม่เหมาะสมก็ปรับเปลี่ยนกระบวนการสรรหาได้ในอนาคต

“เราต้องเข้าใจว่าสถาบันตุลาการเป็นปรากฏการณ์ของโลกอย่างหนึ่ง สถาบันตุลาการในโลกโบราณจะไม่ยุ่งกับการเมือง
พูดง่ายๆ การเมืองเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารกับสภาเท่านั้น ฝ่ายบริหารมีอะไรก็ไปขอสภา สภามีอะไรก็อภิปรายฝ่ายบริหาร
แล้วสภากับฝ่ายบริหารก็เป็นฉันสามีภรรยากัน เพราะนายกฯ มีเสียงข้างมากในสภาอยู่แล้ว ไปกุมเสียงสภาให้ยกมือ
ผ่านกฎหมายก็ประกาศใช้ได้ การเมืองแบบนี้เราเรียกว่าประชาธิปไตยตัวแทนแบบโบราณ แต่ในโลกสมัยใหม่
ประชาธิปไตยตัวแทนไม่ใช่เรื่องของฝ่ายบริหารกับสภาเท่านั้น เพราะคำถามคือว่าฝ่ายบริหารก็ดี สภาก็ดี ทำหน้าที่
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะกฎหมายนั้นอาจขัดกับรัฐธรรมนูญนะครับ ผมอาจเอาเรื่องขึ้นศาลรัฐธรรมนูญได้ หรือไม่ก็
ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการฯ ก็เอาร่างกฎหมายนี้ขึ้นศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าการตรากฎหมายของสภาไม่ชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญก็ไม่ผ่าน นั่นแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยตัวแทนสมัยใหม่เราไม่ปล่อยให้ฝ่ายบริหาร
กับสภาเจรจาอะลุ้มอล่วยกันเพียงอย่างเดียว เราเปิดช่องตั้งแต่แรกแล้วที่จะให้กระบวนการศาลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
การใช้อำนาจและการตรวจสอบการใช้อำนาจ

ระบบศาลเข้ามาเป็นหุ้นส่วนหนึ่งของระบบการตรวจสอบอำนาจ ในอนาคตมติ ครม. สามารถถูกทบทวนได้โดยฝ่ายศาล
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แปรรูปการไฟฟ้าฯ หรือรัฐบาลไปประกาศสงครามก็ดี ไปเจรจาข้อตกลงระหว่าง
ประเทศก็ดี ถ้าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ถือว่าไม่มีผลบังคับใช้ได้ หากเราไม่ยอมรับกติกานี้ก็ต้องไล่ศาลกลับไปอยู่ค่าย
ของตัวเอง แล้วให้นักการเมือง ส.ส. กับคณะรัฐมนตรีตกลงกันเอง เราจะเอาอย่างนั้นหรือ ถ้าเอาอย่างนั้น เราจะดึง
การเมืองของเรากลับไปสู่ประชาธิปไตยตัวแทนแบบโบราณ ระบอบประชาธิปไตยตัวแทนระหว่างยุคเก่ากับยุคใหม่ต่างกัน
ด้วยเหตุฉะนี้ ถ้าเราไม่เปิดให้ศาลหรือองค์กรตุลาการหรือองค์กรกึ่งตุลาการเข้ามามีบทบาทตรวจสอบอำนาจรัฐ การเมือง
จะเป็นเรื่องของนักการเมืองระหว่างสภากับฝ่ายบริหาร ขณะเดียวกันถ้าคิดว่าศาลมีอำนาจมาก เข้ามายุ่งเกี่ยวกับฝ่ายบริหาร
จนเกินไป องค์กรที่จะตรวจสอบศาลได้

หนึ่งคือองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ก็คือสภาซึ่งมีอำนาจตรากฎหมาย หรือถ้องค์กรตุลาการมีอำนาจมากไป เอางบประมาณ
ไปบาทเดียวก็พอ เพราะคนกุมด้านงบประมาณก็คือสภา สภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติก็มีดาบสำคัญคือเรื่องของการออกกฎหมาย
และคุมเรื่องงบประมาณ

สองก็คือการตรวจสอบกันภายใน เป็นการควบคุมกันอีกชั้นหนึ่ง ถ้าตุลาการทำมิชอบก็มีการตรวจสอบจรรยาบรรณ
มีการถอดถอนตุลาการได้

“ในร่าง รธน. ฉบับนี้ยังมีตัวช่วยอื่นๆ ที่จะทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้น ยกตัวอย่างมาตรา ๘๗ (๔)
ว่าด้วยกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินการกิจกรรมสาธารณะของชุมชน
รวมทั้งกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่าย การร่างกฎหมายนี้ สสร. เองก็ห่วงเป็นอย่างยิ่งว่าเขียนไปแล้ว
รัฐบาลจะไม่ทำ เพราะฉะนั้นเราต้องอ่านบทเฉพาะกาลด้วย บทเฉพาะกาลมาตรา ๓๐๓ เขียนชัดว่าการตรากฎหมายจัดตั้ง
กองทุนนี้ต้องทำให้เสร็จภายใน ๑ ปี กองทุนเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมืองมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้มาตรา ๒๙๑ ยังระบุไว้ว่า ประชาชนยังสามารถเข้าชื่อ ๕ หมื่นชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เมื่อมีรัฐธรรมนูญ
ใหม่ ประชาชนก็ไม่ต้องไปหวาดกลัวกฎหมายที่ออกโดย สนช. หรือรัฐบาลรักษาการขณะนี้ เพราะว่าประชาชนสามารถ
ยื่นเรื่องต่อศาลได้ว่ากฎหมายเหล่านี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยในร่าง รธน. ปี ๕๐ ได้จัดทำโครงสร้างไว้ให้แล้ว
ถ้ากฎหมายนั้นขัดรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอันบังคับใช้ไม่ได้ ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญนี้ต่างหากที่น่ากลัว ผมจึงหวังว่า
กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลรักษาการก็น่าจะถูกทบทวนได้ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้แล้ว


“ในส่วนของมาตรา ๓๐๙ ที่หลายคนวิตกกัน ผมย้ำนะครับว่าเราไม่ได้รับรองรัฐประหาร แต่เรารับรองรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว)
ปี ๒๕๔๙ เหตุผลที่เราต้องรับรองเพราะว่า รธน. ปี ๔๙ คือที่มาของร่าง รธน. ปี ๕๐ ถ้าเราไม่รับรองแม่ตัวเองมันจะมีปัญหา
คุณต้องอย่าลืมว่าการรัฐประหารมันนิรโทษกรรมไปแล้ว แต่สิ่งที่เราห่วงคือเราเอาอำนาจอะไรไปร่างรัฐธรรมนูญ ผมเจียมตัว
ครับว่าไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชน แต่คนที่ให้อำนาจเรามาคือ รธน. ปี ๔๙ ถ้าเราไม่รับรองแม่เรา คือเราฆ่าแม่ก่อน
แล้วลูกมันจะอยู่ได้อย่างไร อีกอย่างที่เราห่วงคือการกระทำของ คตส. ซึ่ง รธน. ๔๙ รับรองไว้ ผมเข้าใจว่าคนโจมตี
มาตรานี้พยายามจะใส่สีใส่ไข่ ใช้วาทศิลป์ให้เห็นว่าทั้งหมดนี้มันเป็นการรับรองการรัฐประหาร

“ผมกลับคิดว่าข้ออ่อนจริงๆ ของร่าง รธน. ฉบับนี้ ซึ่งบางท่านอาจจะมองว่าเป็นข้อแข็งก็ได้ คือการกำหนดรายละเอียด
เยอะมากที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งอันที่จริงแล้วรัฐธรรมนูญที่ดีในโลกสมัยใหม่ไม่ควรจะ
เขียนข้อบังคับรัฐบาลจนเกินไป แต่ในร่างฉบับนี้ระบุไว้ให้รัฐบาลต้องทำอะไรหลายอย่างมาก ในแง่หนึ่งประชาชนได้รับ
ประโยชน์ แต่ในอีกแง่หนึ่งคือจุดอ่อนของรัฐ ผมเกรงว่ารัฐบาลชุดต่อไปจะทำงานด้วยความยากลำบาก เพราะว่ามีข้อผูกพัน
ตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้เยอะมาก


“ถ้าประชามติไม่ผ่านจะเกิดอะไรขึ้นผมตอบไม่ได้ ก็ต้องว่ากันไปตามหลักการของ รธน. ปี ๔๙ คือ คมช. รัฐบาล ต้องนำ
รัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้แทน จะเป็นฉบับไหนมันตอบอยู่แล้วในโครงสร้างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่
๒๔๗๕ ถึงปัจจุบันมี ๓ สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่ ๑ คือ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตัวแทนแบบโบราณ สายพันธุ์ที่ ๒ คือ
รัฐธรรมนูญเผด็จการ สายพันธุ์ที่ ๓ คือรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตัวแทนแบบใหม่ซึ่งมีหลักนิติรัฐ ผมตอบได้เลยว่า
ประชาธิปไตยไทยจะไม่มีวันถอยหลังกลับไปสายพันธุ์ที่ ๑ หรือ ๒ อีกแล้ว แต่ถึงแม้จะบอกว่าให้นำ รธน. ปี ๔๐ กลับมาใช้
ก็ต้องถามว่าใครจะเป็นคนแก้ แล้วมีความชอบธรรมในการแก้หรือไม่ ถ้าให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนแก้ ผมบอก
ได้เลยว่าถ้าเลือกตั้งตามโครงสร้าง รธน. ปี ๔๐ คือให้ ส.ส. สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี ก็เป็นโครงสร้างที่ไม่เป็น
ประชาธิปไตยและมีอะไรที่พิกลพิการในตัวมันเองเป็นอย่างยิ่ง

“ถ้าประชามติผ่าน รัฐธรรมนูญจะประกาศใช้ปลายเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นจะมีการจัดทำกฎหมายลูก แล้วปลายปีนี้
หรืออย่างช้าสัปดาห์แรกของปีหน้าก็จะมีการเลือกตั้ง ขอให้เข้าใจนะครับว่าการเลือกตั้งจะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปรกติ
แต่ไม่ได้แปลว่าทำให้ความขัดแย้งหมดสิ้นไป ผมกลับเชื่อว่าความขัดแย้งในหลายเรื่องจะดำเนินไปอีกพักใหญ่
สถานการณ์ความขัดแย้งจำนวนหนึ่งจะอยู่บนท้องถนน กับความขัดแย้งอีกส่วนหนึ่งจะไปอยู่ที่ศาล เราจะได้เห็น
ทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งขึ้นศาล ไม่ว่าจะเป็นคดีที่มีการรวบรวมกันอยู่และอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้
ยื่นฟ้อง แล้วเราจะอยู่แบบคล้ายๆ การเมืองในประเทศด้อยพัฒนาในละตินอเมริกา คือเลือกตั้งมาแล้วเราก็หงุดหงิด
กับนักการเมือง จะกลับไปอยู่กับทหารก็ไม่เอา เราจะอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้งไปอีกระยะเวลาหนึ่ง

“เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญของการเปลี่ยนผ่านของการเมืองไทยทั้งระบบ คือเราอยู่กับประชาธิปไตยแบบ
ตัวแทนสมัยเก่ามาพักใหญ่ จนหลังการเลือกตั้งปี ๒๕๔๔ เราก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยอีกชนิดหนึ่ง เป็นประชาธิปไตย
ตัวแทนสมัยใหม่ที่มีหลักนิติรัฐ ผมคิดว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของสังคมไทย ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ไม่ใช่เรื่องของเสียงส่วนใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่เสียงส่วนใหญ่นั้นต้องมีคุณธรรมมีจริยธรรม และที่สำคัญคือต้องมี
ความชอบด้วยกฎหมายด้วย ปัญหาคือเราเองพร้อมที่จะก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยตัวแทนแบบใหม่หรือยัง”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-08-2007, 20:15 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 11-08-2007, 20:02 »

ตรงไปตรงมาดีครับ ........ว่าจะโหวต รับ........

ผมงง กับ อ.วรเจตน์ จริง ๆ ครับ  .......วันที่ มีการ ดีเบต....อ.วรเจตน์ ออกมายอมรับ ว่า รัฐธรรมนูญ ปี 50  ให้สิทธิเสรี ภาพ แก่ประชาชน มากขึ้น ....เสร็จแล้ว สับแหลก อีก 2-3 มาตรา ......แล้วสรุปแบบตีขลุม ว่า "การรับร่างรัฐธรรมนูญ คือการ ยอมรับรัฐประหาร "

ผมจำได้ว่า สมัยเด็ก ๆ  เวลาที่ครูบาอาจารย์พูดถึง ประชาธิปไตย  ...มักให้ความสำคัญกับ สิทธิเสรีภาพ ประชาชน มาเป็นอันดับต้น ๆ ........


 
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #3 เมื่อ: 11-08-2007, 20:23 »

อาจารย์ นครินทร์ ขึ้นคณบดี แล้วเหรอครับ พึ่งรู้ๆ อืมมม
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 11-08-2007, 20:42 »



รับ-ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ (แห่งชีวิต)

การใช้ชีวิตในโลก ‘สำเร็จรูป’ เช่นปัจจุบัน หาคนที่สั่งตัดเสื้อผ้าน้อยลงไปทุกที เสื้อผ้าส่วนใหญ่ผลิตเป็นจำนวนมาก ทางเลือกของผู้บริโภคอาจมีเพียงขนาด S, M, L บางโรงงานอาจผลิตขนาด XL แต่โดยรวม คุณต้องทำตัวให้เข้ากับเสื้อผ้า มิใช่ตัดเสื้อผ้าให้เข้ากับคุณ

ชีวิตก็เช่นเสื้อผ้าที่ตัดเพื่อเราโดยเฉพาะ ย่อมสวมใส่ลงตัวกว่าเสื้อผ้าโหล

คนจำนวนมากใช้ชีวิตแบบสำเร็จรูป อาจเพราะคิดว่าไม่มีทางเลือก หรือไม่รู้ว่าตนเองสามารถมีทางเลือก

อาจเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ที่จะรู้ว่า ชีวิตจะถูกกำหนดมาก่อนหรือไม่ ประโยชน์น่าจะมีมากกว่าแน่หากคุณเลือกกำหนดชีวิตของคุณเอง

ใช่! คุณมีสิทธิ์และสามารถเลือกทางที่คุณต้องการเดินได้

หากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการอะไรในชีวิต ไม่รู้ว่าตัวเองมีความฝันอะไร อาจเริ่มจากการร่างสิ่งที่ตัวเองคิดอย่างคร่าวๆ ก่อน

กระบวนการนี้เรียกว่า ‘การร่างรัฐธรรมนูญแห่งชีวิต’

วิธีร่างรัฐธรรมนูญแห่งชีวิตฉบับนี้ไม่ยาก ทำตามใจของคุณเอง เพียงแต่ใช้ปัญญากลั่นกรอง

โดยทั่วไป รัฐธรรมนูญแห่งชีวิตที่ดีมักจะประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น อิสรภาพ เสรีภาพ ความสุข ความฝัน แต่คุณสามารถร่างตามใจคุณได้ รัฐธรรมนูญของแต่ละชีวิตไม่มีถูกหรือผิด ฉลาดหรือโง่

เมื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งชีวิตเสร็จแล้ว ก็ถึงขั้นตรวจทาน โดยใช้ปัญญาและหัวใจพิจารณา แล้วลงมติว่าจะ ‘รับ’ หรือ ‘ไม่รับ’



ไม่รับ :

ไม่รับชีวิตที่เป็นทาส
ไม่รับการใช้ชีวิตที่ไร้ความรู้
ไม่รับการใช้ชีวิตที่ไร้ความรัก ความเมตตา
ไม่รับการใช้ชีวิตที่อิจฉาริษยาคนอื่น
ไม่รับการใช้ชีวิตที่ไร้ความฝัน
ไม่รับการใช้ชีวิตที่คดโกง
ไม่รับการใช้ชีวิตที่ต้องพึ่งพึงคนอื่น
ไม่รับการใช้ชีวิตที่ต้องพึ่งโหราศาสตร์
ไม่รับการใช้ชีวิตที่ไร้ความงาม
ไม่รับการใช้ชีวิตที่เดินตามวิถีที่คนอื่นกำหนดให้เดิน
ไม่รับการใช้ชีวิตที่มีแต่การบ่น
ไม่รับชีวิตที่สมาคมกับคนพาล
ไม่รับชีวิตที่อยู่แต่ในกรอบ
ไม่รับอบายมุข
ไม่รับชีวิตที่เกียจคร้าน
ไม่รับชีวิตที่จมอยู่แต่ในอดีต
ไม่รับชีวิตที่คิดแต่เรื่องที่ยังมาไม่ถึง



รับ :

รับสิ่งดีๆ เข้ามาในหัวใจ
รับการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์
รับชีวิตที่มีอารมณ์ขัน
รับรอยยิ้ม
รับเสียงดนตรี
รับการพูดจาอย่างสุภาพ อ่อนโยน
รับการมีมารยาทที่ดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
รับชีวิตที่มีเพื่อนดี
รับชีวิตที่มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และไม่มีวันหยุดเรียน
รับชีวิตที่เปิดหู เปิดตา เปิดสมอง เปิดใจ
รับชีวิตที่ไม่มีวันใดเหมือนกันเลย


รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งชีวิตขึ้นอยู่กับคุณเอง ชีวิตจะสวยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับคุณกำหนดเอง เพราะชีวิตนี้ - เกมนี้ เป็นของคุณ และเพราะชีวิตมิได้มีเพียงขนาด S, M, L


วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
11 สิงหาคม 2550 คมคำคนคม



Man is the artificer of his own happiness.

มนุษย์เป็นผู้สลักเสลาความสุขของเขาเอง


Henry David Thoreau
เฮ็นรี เดวิด โธโร
(1817 - 1862)

http://www.winbookclub.com/basket_detail.php?id=177

ผมอ่านแล้ว... ได้แต่คิดตามนะครับว่า ระหว่างรับกับไม่รับ
อะไรเป็นการแสดงออกซึ่งความสันติที่เป็นเป้าหมายสูงสุด
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #5 เมื่อ: 11-08-2007, 21:02 »

คุณวินทร์ เด็ด อีกแล้ว
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #6 เมื่อ: 12-08-2007, 13:33 »

และต้องขออภัยด้วยหากผมจะทำตัวไม่เป็นกลาง เพราะผมตัดสินใจรณรงค์ We Vote YES แล้วล่ะครับ 

ขอยืมประโยคนี้มาใช้ด้วยคน

ให้อ่านอีกความเห็น เพราะอ่านทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย  และเลือก ว่า yes

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9194&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ปัญหาที่สำคัญที่สุดของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 คืออะไร ?
สมมติถ้าเราทำผังรัฐธรรมนูญโดยดูถึงดีกรีของความเป็นประชาธิปไตย ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2550 แย่ไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 แต่มันอาจจะดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 เล็กน้อย
 
เพราะอะไร ?

เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตย กลไกหลักคิดว่าอยู่ที่การสรรหาวุฒิสมาชิก ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2540 สังคมไทยมันพัฒนามาถึงขั้นที่มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกแล้ว ให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตัวแทนของตัวเองทั้งสภาล่างและสภาบน
 
อันที่จริงร่างรัฐธรรมนูญมี 2 ฉบับ ฉบับแรกคือที่ทำออกมารับฟังความเห็น ซึ่งฉบับนั้นแย่กว่าฉบับตอนนี้ออีกมีแต่วุฒิสมาชิกแต่งตั้ง จึงได้รับการต่อต้านอย่างมาก แต่ในฉบับนี้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญถอยมาให้มีสมาชิกวุฒิสภาเลือกตั้ง 76  คน อีก 74 คนมาจากการแต่งตั้ง
 
ทีนี้ 74 คนมันเกือบครึ่งวุฒิสภา แล้ววุฒิสภาภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังคล้ายกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่อำนาจค่อนข้างมาก 1.มีอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย อำนาจนี้สำคัญมาก เพราะกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจำนวนมากยังไม่ออก รวมทั้งบรรดากฎหมายลูกที่ไม่ใช่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ออกเช่นกัน แล้วมันอยู่ในบทเฉพาะกาลที่มีการกำหนดเงื่อนเวลาว่าจะต้องผลิตกฎหมายลูกเหล่านั้น ฉะนั้น หน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายของวุฒิสภาจะทำให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งมีบทบาทสำคัญสูงในการกำหนดโครงสร้าง
-------------------------------------------------------------------
คำถาม-- ด้านหนึ่งอาจารย์บอกว่าสังคมการเมืองไทยมันพัฒนาไปมากแล้ว อยากถามแนวโน้มว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยกับสังคมไทยปัจจุบันยังจะอยู่ด้วยกันได้ไหม และระบอบอำมาตยาธิปไตยจะอยู่รอดในสังคมการเมืองโลกที่เป็นทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้หรือเปล่า ?

ระบอบอำมาตยาธิปไตยมันก็ต้องแปลงร่าง มันไม่เหมือนกับยุค 2475 จนกระทั่งตุลาคม 2516 มันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่สามารถธำรงระบอบเก่าได้ ในยุคตั้งแต่ 2475 ถึง 2516 ระบอบอำมาตยาธิปไตยมันเป็นระบอบที่อำนาจในทางการเมืองอยู่ที่ผู้นำข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แล้วอำนาจในการกำหนดนโยบายอยู่ที่ผู้นำข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แต่ตั้งแต่หลังตุลาคม 2516 มันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือการเติบใหญ่ของกลุ่มทุน บทบาทของกลุ่มทุนในกระบวนการกำหนดนโยบายมันเพิ่มขึ้นมาก กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีสิทธิมีเสียงในกระบวนการกำหนดนโยบายเพิ่มมากขึ้น แล้วกลุ่มทุนไทยก็เป็นพันธมิตรกับกลุ่มทุนสากล ชนชั้นกลางก็เติบใหญ่ขึ้นมาก ความรู้สึกเรื่องประชาธิปไตยของประชาชนคนไทยก็เพิ่มขึ้นมาก ทำไมรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับที่รอลงประชามติจึงต่างไปจากฉบับที่รับฟังความคิดเห็นพอสมควร ไม่ใช่เป็นเพราะมีแรงกดดันจากประชาสังคมหรือ
 
แล้วระบอบอำมาตยาธิปไตยมันไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในรูปแบบเดิมที่มีผู้นำฝ่ายทหารที่เป็นหัวโจกของระบอบ ในขณะนี้และในอนาคตผมไม่คิดว่าเราสามารถจะชี้ชัด (identify) ได้ว่าใครเป็นผู้นำฝ่ายทหาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2549 เกิดขึ้นเพราะคุณทักษิณเข้าไปก้าวก่ายการแต่งตั้งในกองทัพ มันมีส่วนทำให้ผู้นำฝ่ายทหารมีการผนึกตัวกัน
 
ปัญหาก็จะมีอยู่ว่า กลุ่มอำมาตยาธิปไตยจะไปหาทุนทรัพย์จากที่ไหน เพื่อมาดำรงความเป็นอยู่ของระบอบอำมาตยาธิปไตย ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผู้นำฝ่ายทหารที่กระโดดลงไปเลือกตั้ง ในอดีตก็ใช้วิธีหิ้วเงินราชการลับไปตั้งพรรคการเมือง แต่พอกระสุนหมดก็หมดอำนาจในทางการเมือง
ตกลงมันเป็นอำมาตยธิปไตย  ยังไง เป็นหรือไม่เป็น
--------------------------------------
รัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตย—เป็นประเด็นที่พูดกันมาก ในการไม่รับร่าง
มาตรา  ๑๑๑
วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม ๑๕๐ คน.....
สรุป  ให้แต่ละจังหวัดเลือก เข้ามา  ---------  คนในจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้เลือก ๗๗  จังหวัด  จะได้ วุฒิ  เลว ๆ  เข้ามา มากกว่า วุฒิ ดี
(ปี ๔๐  บอกให้เลือกเข้ามาหมด  ก็ได้แบบ ปี ๔๐  สภาผัวเมีย) ปชต แบบไทย ๆ

มาตรา ๑๑๓ ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง.......สรรหา
กรรมการทุกคน มีศักดิ์ศรี  มีคุณวุฒิ  ฯลฯ   ให้มันรู้ไปว่า  จะสรรหา (มาตรา ๑๑๔  ในการสรรหา ให้องค์กร ต่าง ๆ เสนอกันเข้ามา แล้ว คณะกรรมการเลือก อีกที )

(ก่อนหน้า ปี ๔๐  สรรหา ทั้งหมด  ก็เห็นว่า ไม่เป็น ปชต ก็มีเรื่อง ระบบอุปถัมภ์ อีก)

ปี ๕๐  พบกันครึ่งทาง  สรรหา กึ่งนึง  คัดเลือก กึ่ง นึง  เป็น ระบบคิดที่ สามัญมาก แบบพบกันครึ่งทาง (แล้วมันไม่ดี เพราะ เป็นอำมาตยธิปไตย  ???) 
แล้วถ้ามีปัญหาอีก เรื่อง สว คนไทย จะเอาไงอีก  ให้พระเจ้าส่งมาดีมั๊ย หรือไม่ก็ ไปขุดเอามาจากนรกขุมไหน ก็ได้  ให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลยทั้งสภา

แล้วด้วยระบบคิดแบบ กึ่ง ๆ แล้วได้ สว น้ำเน่า ขายตัว ฯลฯ และถ้า จะมีธุรกิจการเมืองมาซื้อ  ก็ให้มันรู้ไป  ว่า ซื้อ ได้หมด เหมือนปี ๔๐ ละถ้ามันซื้อ ได้จริง 
บ้านนี้เมืองนี้ ไม่ต้องปกครองด้วยระบอบ ปชต  หรอก ปล่อย อนาคต ของชาติไปตามยถากรรม ไปเป็นเมืองขึ้นต่างชาติไปเลย รู้แล้วรุ้รอด  สถาณการ์สร้างวีรบุรุษ  อีก ๓๐๐ ปี  ค่อยกู้ชาติ 

-------------------------
สังคมไทยมันพัฒนามาถึงขั้นที่มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกแล้ว ให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตัวแทนของตัวเองทั้งสภาล่างและสภาบน (รธน ปี ๔๐)

ความคิดแบบนี้ เป็นมายาคติ หรือเป็นเพียง วาทกรรม ชวนเชื่อ  หรือเป็นความรู้ตามหลักวิชาการ
หรือเป็นความจริงสมมุต  ???

การที่เขียนใน รธน ให้ ปชช มีสิทธิ เลือกตั้งได้  แสดงว่าเป็นพัฒนาการ ของ การเป็น ปชต จริง ๆ หรือ ???

เสรีภาพทางความคิด ในยุคเผด็จการทหาร (๑๙ ก.ย  ๔๙ - ๕๐)
 
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #7 เมื่อ: 12-08-2007, 15:05 »

ไม่ทราบว่า จขกท. มีเจตนาอย่างไรในการตั้งชื่อกระทู้เช่นนั้น
ข้อมูลไม่ครบ แยกแยะไม่เป็น เจตนาปกปิดบิดเบือน ฯลฯ?

แต่เห็นว่าจะเป็นการเหมาะสมกว่า หากจะบอกว่า
ข้อความที่นำมาลงไว้ในกระทู้นี้
เป็นของ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้เป็น

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) 2550

มากกว่าที่จะกล่าวอ้างอิงตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน
อันมีส่วนเกี่ยวพันน้อยกว่า
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #8 เมื่อ: 12-08-2007, 15:18 »

ข้าพเจ้าเป็นคนมาแปะลิงค์ นี้ ให้ จขกท เอง

วางลิงค์ให้ไปอ่าน ฉบับเต็ม ๆ

แต่ จขกท ก็โพส ของ  กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) 2550

เพราะ จขกท ชัดเจน 

ข้าพเจ้า ก็ชัดเจน เพราะ  สติปัญญา ของ ข้าพเจ้า  เอง ว่า  รับร่าง

แต่ข้าพเจ้า ก็อยากให้เห็นว่า  คน ไม่ได้กินหญ้า  เหตุผล ของฝ่ายค้าน บางคนก็ขัดกันเอง

เปลี่ยนชื่อ กระทู้ เป็น  รับร่าง รธน  ดีไหม
---------------------------------------------------------------

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-08-2007, 17:24 โดย drop » บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #9 เมื่อ: 12-08-2007, 16:35 »

นิติศาสตร์ก็ด้วยนะ
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #10 เมื่อ: 12-08-2007, 17:38 »

ปกปิด บิดเบือน คำนี้น่าจะใช้กับพวกที่รณรงค์ให้โหวตไม่รับ มากกว่านะ

ก็มันจริงหนิ
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 12-08-2007, 17:49 »

เอารัฐศาสตร์ มากระทืบนิติศาสตร์

เอานักกฎหมายมหาชน มากระทืบนักการเมือง

ใครต่อใครก็ต่างมีค่าในตัวเอง ยกเว้นตาสี ตาสา ยายมา ตาเมี้ยน

เค้าว่าดี ข้าก็ว่าดี....เค้าว่าไม่ดี ก็ต้องว่าไม่ดี....

อ่านหนังสือก็งู ๆ ปลา ๆ...ลากลายเซ็นต์ตัวเท่าหม้อแกงก็ยากทั้งยาก

มีหมึกให้ยายแตะโป้งมั๊ยหลานเอ๊ย...บอกมาเลยแตะตรงใหน

เวลาเค้าพูดเรื่องกฎหมาย ก็ใช้ภาษาที่ไม่คุ้น

คนชั้นลางในเมือง อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันก้พอทน

แต่ให้หนังสือร่างฯ มาให้ศึกษาในเวลา 18 วัน

แล้วมันจะเข้าใจที่ตรงใหน...สุดท้ายก็กาเพราะชอบหรือไม่ชอบรัฐบาล ไม่ว่า คมช. หรือ ทักษิณ

พอถึงเวลาก็มาอ้างว่า ประชาชนต้องการยังงั้น ประชาชนให้การยอมรับหรือไม่รับ

สุดท้ายมันก็ไปตายที่นักการเมืองในสภานั่นแหละน่า...

ถึงเวลามันก็ไปซื้อเสียงเข้าสภาอยู่ดี

พูดยังงี้ก็หาว่า ดูถูกประชาชน...โธ่...ก็มันจริงหรือเปล่า..ไอ้ทิด
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #12 เมื่อ: 12-08-2007, 22:42 »

ไม่ทราบว่า จขกท. มีเจตนาอย่างไรในการตั้งชื่อกระทู้เช่นนั้น
ข้อมูลไม่ครบ แยกแยะไม่เป็น เจตนาปกปิดบิดเบือน ฯลฯ?

แต่เห็นว่าจะเป็นการเหมาะสมกว่า หากจะบอกว่า
ข้อความที่นำมาลงไว้ในกระทู้นี้
เป็นของ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้เป็น

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) 2550

มากกว่าที่จะกล่าวอ้างอิงตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน
อันมีส่วนเกี่ยวพันน้อยกว่า


คุณ snowflake ไม่เห็นที่ผมแจ้งไว้ก่อนจะโพสเนื้อหาของ อ.นครินทร์ ใน คคห. ที่ 1 หรือครับ
ผมว่าผมเองก็ประกาศเอาไว้โดยชัดแจ้ง (และโดยปริยาย) แล้วว่าผมเลือกเอาเฉพาะข้อความ
ที่เชียร์ให้รับร่างฯ มาลง และก็บอกไว้แล้วว่ามีส่วนที่เหลือของ อ.วรเจตน์ ซึ่งหากท่านใดสนใจ
ก็ให้ตามลิงค์ไปอ่านเอง เพราะผมตัดสินใจไม่เอาข้อความคัดค้านร่างฯ มาลง

อีกประการหนึ่งคุณ snowflake คิดว่าด้วยเนื้อหาข้อความที่ผมเอามาลง ใช้ประกอบการพิจารณา
รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หรือครับ ในขณะที่เนื้อหาของฝ่ายต้านร่างฯ ก็มาจากกลุ่มบุคคล
ที่เราก็รู้ว่าเป็นใครบ้างเป็นกลางแค่ไหน เห็นฝ่ายคุณขนมาลงจนจะท่วมบอร์ดเสรีไทยอยู่แล้ว

ผมไม่ได้ทำอะไรต่างจากคุณป๋าเจ้าเก่า ที่ตั้งหน้าตั้งตาโพสกระทู้ Vote NO เต็มบอร์ดในตอนนี้


เรื่องตำแหน่งของ อ.นครินทร์ ผมก็เอาจากข้อความในลิงค์ที่หนังสือสารคดีลงไว้มาทุกตัวอักษร
โดยไม่มีการแต่งเติมแต่อย่างใด ถ้าจะต้องระบุเพิ่มเติมว่า อ.นครินทร์ เป็น กรรมาธิการยกร่างฯ
ก็ต้องระบุตำแหน่ง อ.วรเจตน์ ด้วยว่าเป็นหนึ่งในฝ่ายกฎหมายของกลุ่มต่อต้านร่างฯ จริงไหมครับ
แต่ผมก็ระบุไว้ว่า อ.วรเจตน์ เป็น หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ตามข้อความที่ระบุไว้ในลิงค์เหมือนกัน อีกอย่าง กรรมาธิการยกร่างฯ หมดบทบาทไปตั้งแต่จัดทำ
ร่างฯ ฉบับรับฟังความคิดเห็น จากนั้นก็เป็นผลงานของ สสร. ทั้งหมด ซึ่งผมเชื่อว่าเนื้อหาในร่างฯ
หลายส่วนก็อาจไม่ถูกใจ อ.นครินทร์ เหมือนกัน (อ.เจิมศักดิ์ ก็บอกว่าไม่ชอบถึง 30 กว่ามาตรา)

อยากจะบอกว่า ณ ปัจจุบัน อ.นครินทร์น่ะพ้นตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างฯ ไปแล้วครับ สถานะของ
อ.นครินทร์ ไม่ต่างอะไรกับประชาชนทั่วไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ


แต่ ณ ปัจจุบัน อ.วรเจตน์ ยังดำรงตำแหน่งฝ่ายกฎหมายกลุ่มต้านร่างฯ อยู่เลย .. จริง/ไม่จริง 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-08-2007, 23:17 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 13-08-2007, 05:33 »

ถ้าติดตามการถ่ายทอดสด ตอน "แปรญัตติ" ก็ใส่กันไปแล่บในสภา

อาจารย์ วิชา มหาคุณ กับ อดีตสว. การุณ ก็แลกเปลี่ยนกันรุนแรงมาก

หลาย ๆ มาตรา ใส่กันชนิดที่ถ้าเป็นพวกเราคงมองหน้ากันไม่ติด

การโต้แย้งในแต่ละประเด็น ก็แบ่งกลุ่มปัญหาออกไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แล้วนำมาเสนอในที่ประชุมใหญ่

ขนาดนั้นก็เฉียดฉิวกับเวลาที่จำกัด

ความเห็นแย้งในแต่ละกลุ่ม ยังมีอีกมากครับ ถึงที่สุด ก็ต้องมาปรับความเข้าใจกันใหม่

สว.เลือกตั้งทั้งสภาก็มีแล้ว

สว. แต่งตั้งทั้งสภาก็มีแล้ว

คราวนี้เป็น สว.ลูกผสม แต่งตั้งครึ่งหนึ่ง เลือกตั้งครึ่งหนึ่ง ก็น่าจะพอใจ

ที่สำคัญ การแต่งตั้งไม่ได้มาจากฝ่าย ทหาร หรือฝ่ายบริหาร

แต่เป็นการคัดสรร โดยการนำเสนอของ กกต. ( แบ่งตามสาขาอาชีพ ) ไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการคัดสรร

ไม่ใช่แบบที่วิ่งเต้น เข้าหา นายกรัฐมนตรี เหมือนที่ผ่าน ๆ มา

หลายคนรับไม่ได้ หลายคนรับได้ ไม่เช่นนั้นคงไม่ผ่านมติออกมาได้

ถึงยังไงผมยังมอง"บวก" ในกรณี สว. คืออยากให้ลองใช้ดูครับ
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #14 เมื่อ: 13-08-2007, 16:10 »

คุณ snowflake ไม่เห็นที่ผมแจ้งไว้ก่อนจะโพสเนื้อหาของ อ.นครินทร์ ใน คคห. ที่ 1 หรือครับ
ผมว่าผมเองก็ประกาศเอาไว้โดยชัดแจ้ง (และโดยปริยาย) แล้วว่าผมเลือกเอาเฉพาะข้อความ
ที่เชียร์ให้รับร่างฯ มาลง และก็บอกไว้แล้วว่ามีส่วนที่เหลือของ อ.วรเจตน์ ซึ่งหากท่านใดสนใจ
ก็ให้ตามลิงค์ไปอ่านเอง เพราะผมตัดสินใจไม่เอาข้อความคัดค้านร่างฯ มาลง

อีกประการหนึ่งคุณ snowflake คิดว่าด้วยเนื้อหาข้อความที่ผมเอามาลง ใช้ประกอบการพิจารณา
รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หรือครับ ในขณะที่เนื้อหาของฝ่ายต้านร่างฯ ก็มาจากกลุ่มบุคคล
ที่เราก็รู้ว่าเป็นใครบ้างเป็นกลางแค่ไหน เห็นฝ่ายคุณขนมาลงจนจะท่วมบอร์ดเสรีไทยอยู่แล้ว

ผมไม่ได้ทำอะไรต่างจากคุณป๋าเจ้าเก่า ที่ตั้งหน้าตั้งตาโพสกระทู้ Vote NO เต็มบอร์ดในตอนนี้


เรื่องตำแหน่งของ อ.นครินทร์ ผมก็เอาจากข้อความในลิงค์ที่หนังสือสารคดีลงไว้มาทุกตัวอักษร
โดยไม่มีการแต่งเติมแต่อย่างใด ถ้าจะต้องระบุเพิ่มเติมว่า อ.นครินทร์ เป็น กรรมาธิการยกร่างฯ
ก็ต้องระบุตำแหน่ง อ.วรเจตน์ ด้วยว่าเป็นหนึ่งในฝ่ายกฎหมายของกลุ่มต่อต้านร่างฯ จริงไหมครับ
แต่ผมก็ระบุไว้ว่า อ.วรเจตน์ เป็น หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ตามข้อความที่ระบุไว้ในลิงค์เหมือนกัน อีกอย่าง กรรมาธิการยกร่างฯ หมดบทบาทไปตั้งแต่จัดทำ
ร่างฯ ฉบับรับฟังความคิดเห็น จากนั้นก็เป็นผลงานของ สสร. ทั้งหมด ซึ่งผมเชื่อว่าเนื้อหาในร่างฯ
หลายส่วนก็อาจไม่ถูกใจ อ.นครินทร์ เหมือนกัน (อ.เจิมศักดิ์ ก็บอกว่าไม่ชอบถึง 30 กว่ามาตรา)

อยากจะบอกว่า ณ ปัจจุบัน อ.นครินทร์น่ะพ้นตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างฯ ไปแล้วครับ สถานะของ
อ.นครินทร์ ไม่ต่างอะไรกับประชาชนทั่วไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ


แต่ ณ ปัจจุบัน อ.วรเจตน์ ยังดำรงตำแหน่งฝ่ายกฎหมายกลุ่มต้านร่างฯ อยู่เลย .. จริง/ไม่จริง 

ตอบไม่ตรงคำถามค่ะ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #15 เมื่อ: 13-08-2007, 16:13 »

ข้าพเจ้าเป็นคนมาแปะลิงค์ นี้ ให้ จขกท เอง

วางลิงค์ให้ไปอ่าน ฉบับเต็ม ๆ

แต่ จขกท ก็โพส ของ  กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) 2550

เพราะ จขกท ชัดเจน 

ข้าพเจ้า ก็ชัดเจน เพราะ  สติปัญญา ของ ข้าพเจ้า  เอง ว่า  รับร่าง

แต่ข้าพเจ้า ก็อยากให้เห็นว่า  คน ไม่ได้กินหญ้า  เหตุผล ของฝ่ายค้าน บางคนก็ขัดกันเอง

เปลี่ยนชื่อ กระทู้ เป็น  รับร่าง รธน  ดีไหม

ไม่ได้สงสัยในสิ่งที่คุณกล่าวมา
ชัดเจนว่า จขกท. ไม่ต้องการเสนอข้อมูลสองด้าน
ที่ไม่ชัดก็คือ เหตุใดไม่บอกว่าที่นำเสนอนั้นเป็นมุมมองของ กมธ.
และตอนที่ตั้งกระทู้ทราบข้อมูลนี้หรือไม่


 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 13-08-2007, 16:32 »

ตาหลกกันใหญ่ หนังสือเค้าบอกยังไง ก็ลอกมาตามนั้น

ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกต่อได้นี่ครับ ว่า คณบดีเป็นกรรมการร่างฯ กับเค้าด้วย

สสร. ที่ลงมติรับทั้งหมดที่อยู่ในสภาร่างฯ เค้ารับกันหมดทั้งร่าง เค้าดูโดยรวม

แต่ไม่ได้เห็นด้วยทุกมาตรา...แตกต่างกันไป

ทำไมต้องไปเที่ยวเปลี่ยนหัวข้อกระทู้ชาวบ้าน...ไม่เข้าใจ

ก็ตั้งหัวข้อระทู้เองเลยสิคุณ จะได้ถูกใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-08-2007, 16:35 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #17 เมื่อ: 13-08-2007, 16:48 »

ตาหลกกันใหญ่ หนังสือเค้าบอกยังไง ก็ลอกมาตามนั้น

ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกต่อได้นี่ครับ ว่า คณบดีเป็นกรรมการร่างฯ กับเค้าด้วย

สสร. ที่ลงมติรับทั้งหมดที่อยู่ในสภาร่างฯ เค้ารับกันหมดทั้งร่าง เค้าดูโดยรวม

แต่ไม่ได้เห็นด้วยทุกมาตรา...แตกต่างกันไป

ทำไมต้องไปเที่ยวเปลี่ยนหัวข้อกระทู้ชาวบ้าน...ไม่เข้าใจ

ก็ตั้งหัวข้อระทู้เองเลยสิคุณ จะได้ถูกใจ


ไม่ตลกค่ะ
หนังสือเขาก็บอกนี่คะว่าเป็น กมธ.
ถึงได้แปลกใจว่าทำไม จขกท. ไม่บอก

คุณ CanCan ไม่เห็นว่าสองหัวข้อนี้ต่างกันหรือ
ระหว่าง

==คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550== 
กับ
==กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) 2550 ให้ความเห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550==  
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #18 เมื่อ: 13-08-2007, 17:04 »


อยากจะบอกว่า ณ ปัจจุบัน อ.นครินทร์น่ะพ้นตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างฯ ไปแล้วครับ สถานะของ
อ.นครินทร์ ไม่ต่างอะไรกับประชาชนทั่วไปที่จะวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ



ไม่ได้ยินนะคะว่า ทั่นลาออกจากตำแหน่ง กมธ. ตั้งแต่เมื่อไหร่
เข้าใจว่ากำลังขะมักเขม้น เขียน พรบ. ประกอบ รธน. อยู่

แต่ที่น่าสนใจกว่า คือ ที่คุณ jerasak ถือว่า
ร่างเสร็จแล้ว หมดความเกี่ยวพันพิเศษอีกต่อไป
ด้วยตรรกะแบบนี้
นักเขียน (หรือนักสร้างอะไร) พอทำ “เสร็จ”
ก็ไม่ถือเป็น “ผลงาน” ของคนนั้น?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #19 เมื่อ: 13-08-2007, 17:05 »

ไม่ได้สงสัยในสิ่งที่คุณกล่าวมา
ชัดเจนว่า จขกท. ไม่ต้องการเสนอข้อมูลสองด้าน
ที่ไม่ชัดก็คือ เหตุใดไม่บอกว่าที่นำเสนอนั้นเป็นมุมมองของ กมธ.
และตอนที่ตั้งกระทู้ทราบข้อมูลนี้หรือไม่


 

อืมม ป่วนกระทู้ชัด ๆ เลย
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #20 เมื่อ: 13-08-2007, 17:29 »

ข้าพเจ้าเป็นคนมาแปะลิงค์ นี้ ให้ จขกท เอง

วางลิงค์ให้ไปอ่าน ฉบับเต็ม ๆ

แต่ จขกท ก็โพส ของ  กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) 2550

เพราะ จขกท ชัดเจน 

ข้าพเจ้า ก็ชัดเจน เพราะ  สติปัญญา ของ ข้าพเจ้า  เอง ว่า  รับร่าง

แต่ข้าพเจ้า ก็อยากให้เห็นว่า  คน ไม่ได้กินหญ้า  เหตุผล ของฝ่ายค้าน บางคนก็ขัดกันเอง

เปลี่ยนชื่อ กระทู้ เป็น  รับร่าง รธน  ดีไหม

ทั้งข้าพเจ้าและ จขกท ชัดเจน เรื่อง  รับร่าง
และคิดว่า  ก็รู้ว่า นครินทร์  เป็นใตร มีตำแหน่งอะไร
แต่ที่ รับร่าง  เพราะเหตุผล  ไม่ใช่เพราะ  ตำแหน่ง

ลิงค์ที่แปะ ไว้ ก็บอกว่า ให้ไปอ่านเอาเอง  ถ้าอ่านแล้ว มีเหตุผล อะไร จะไม่รับ ก็ว่ามา

แทนการมา ตะแบง ว่า ให้ข้อมูลไม่ครบ สองด้าน  ตะแบงจริง ๆ

ตามลิงค์ที่แปะไว้ ไปอ่าน แล้วเอาเหตุผล มาพูด  เรื่องง่าย ๆ แค่นี้  เอง  ตะแบงอยู่ได้
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 13-08-2007, 17:32 »

เอาเนื้อ ๆ ดีกว่า คนเป็น สสร. ไม่มีสิทธิ์บอกว่าร่างนี้ดี หรือไงครับ

ไปสนใจแต่หัวกระทู้ เลยไม่อ่านสาระที่เค้าพูด

ถึงได้บอกว่า หากอยากได้หัวข้อถูกใจก็ตั้งกระทู้เองซีจ๊ะ

ถ้าไม่เห็นด้วยประเด็นใหนที่เค้าพูดก็โต้แย้งมาสิ

ความจริงมันไม่ได้อยู่แค่ตำแหน่ง แต่มันอยู่ที่สาระ
บันทึกการเข้า

drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #22 เมื่อ: 13-08-2007, 17:39 »

เอาเนื้อ ๆ ดีกว่า คนเป็น สสร. ไม่มีสิทธิ์บอกว่าร่างนี้ดี หรือไงครับ


อ๋อ ประเด็นคืออย่างงี้ เอง  ประทานโทษ ข้าพเจ้า ไม่เก็ท

เพราะตั้งใจวิเคราะห์เนื้อหา  พอมีความรู้บ้างก็เปรียบเทียบไปตาม ความรู้

ก็เห็นว่า ไม่ได้ต่างอะไร  แล้วประเด็นที่ยกมา ก็ไม่มีน้ำหนักอะไรมากพอ

แต่จริงๆ แล้ว  มันเป็นประเด็นการเมือง  ไม่มีใครสนใจจริง ๆมั๊ง

here้  แม้ว  ก็ไม่สนใจอะไร  นอกจาก  ใช้่เงินที่โกงไป มาซื้อของเล่นสนุก ๆ เหมือนซื้อทีมฟุตบอล
ซื้อคนไง  ไม่ต้องเอ่ยชื่อ นะ ซื้อใครบ้าง   
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #23 เมื่อ: 13-08-2007, 18:09 »

โอ๊ะ เอาฉบับเต็มไปล่ะกัน

http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=2287
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #24 เมื่อ: 13-08-2007, 19:35 »

ผมเห็นกลุ่มเสื้อแดง

ผมยังงงอยู่ว่า จะนำเสนอเรื่องอะไร 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #25 เมื่อ: 13-08-2007, 21:27 »

คุณ snowflake ครับ

ขอเรียนให้ทราบว่าผม "ตั้งใจ" เอาเฉพาะบทความส่วน อ.นครินทร์ มาลงตามที่แจ้งตั้งแต่ต้น

จึงไม่ได้นำเอาเนื้อหาตอนต้นบทความของหนังสือสารคดีที่อธิบายอะไรไว้ยืดยาวและบอกว่า
อ.นครินทร์เป็น กมธ. มาลงด้วย  เพราะถ้าเอามาลงก็ต้องเอาบทความของ อ.วรเจตน์ มาลง
ด้วยทั้งหมด ซึ่งผิดจากวัตถุประสงค์ของผม และผมได้แสดงลิงค์เต็มสำหรับผู้สนใจเอาไว้แล้ว

ถ้าคุณ snowflake จะบอกว่าผมไม่เป็นกลาง เจตนาบิดเบือน ไม่บอกว่า อ.นครินทร์ เป็น กมธ.
อะไรของคุณก็ตาม ผมถือว่าได้นำเสนอ เนื้อความในส่วนของ อ.นครินทร์ ไว้แล้วโดยครบถ้วน

และความจริง กมธ.เป็นคนทำงานร่างฯ รธน. มากับมือรู้เหตุรู้ผลทั้งหมดว่าทำไมถึงร่างฯ แบบนั้น
ตอนแรกร่างฯ อย่างไร มีใครเห็นด้วย มีใครคัดค้าน ปรับแก้ไขไปแล้วกี่หน กว่าจะได้ออกมาแบบนี้
ผมไม่เห็นจะเป็นปัญหาอะไรถ้าบอกว่า อ.นครินทร์ เป็น กมธ.  เพียงแต่ส่วนที่ผมนำข้อความมา
เขาระบุว่า อ.นครินทร์ เป็น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ผมก็เอามาตามนั้นและเป็นที่มา
ของชื่อกระทู้  ซึ่งถ้าพิจารณาจริงๆ ก็จะเห็นว่าหนังสือสารคดีตีพิมพ์เนื้อหาในส่วน อ.นครินทร์
โดยระบุว่าเป็น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ จริงๆ ใส่ไว้ตอนต้นของความเห็นเลยครับ


และบอกตามตรงจุดประสงค์ของผมจริงๆ ก็ไม่ได้โพสให้คุณ snowflake และทีมงานอ่านอยู่แล้ว
แต่ผมตั้งใจให้ผู้อ่านที่ต้องการเหตุผลสนับสนุนการรับร่างฯ ได้เข้ามารับข้อมูลเพื่อประกอบการ
ตัดสินใจมากขึ้น .. คือผมไม่สนใจหรอกว่า พวกคุณ snowflake จะ happy กับชื่อกระทู้หรือไม่

ผมบอกตรงๆ แบบนี้คงเข้าใจแล้วนะครับ คุณ snowflake 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #26 เมื่อ: 13-08-2007, 23:57 »

คุณ snowflake ครับ

ขอเรียนให้ทราบว่าผม "ตั้งใจ" เอาเฉพาะบทความส่วน อ.นครินทร์ มาลงตามที่แจ้งตั้งแต่ต้น

จึงไม่ได้นำเอาเนื้อหาตอนต้นบทความของหนังสือสารคดีที่อธิบายอะไรไว้ยืดยาวและบอกว่า
อ.นครินทร์เป็น กมธ. มาลงด้วย  เพราะถ้าเอามาลงก็ต้องเอาบทความของ อ.วรเจตน์ มาลง
ด้วยทั้งหมด ซึ่งผิดจากวัตถุประสงค์ของผม และผมได้แสดงลิงค์เต็มสำหรับผู้สนใจเอาไว้แล้ว

ถ้าคุณ snowflake จะบอกว่าผมไม่เป็นกลาง เจตนาบิดเบือน ไม่บอกว่า อ.นครินทร์ เป็น กมธ.
อะไรของคุณก็ตาม ผมถือว่าได้นำเสนอ เนื้อความในส่วนของ อ.นครินทร์ ไว้แล้วโดยครบถ้วน

และความจริง กมธ.เป็นคนทำงานร่างฯ รธน. มากับมือรู้เหตุรู้ผลทั้งหมดว่าทำไมถึงร่างฯ แบบนั้น
ตอนแรกร่างฯ อย่างไร มีใครเห็นด้วย มีใครคัดค้าน ปรับแก้ไขไปแล้วกี่หน กว่าจะได้ออกมาแบบนี้
ผมไม่เห็นจะเป็นปัญหาอะไรถ้าบอกว่า อ.นครินทร์ เป็น กมธ.  เพียงแต่ส่วนที่ผมนำข้อความมา
เขาระบุว่า อ.นครินทร์ เป็น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ผมก็เอามาตามนั้นและเป็นที่มา
ของชื่อกระทู้  ซึ่งถ้าพิจารณาจริงๆ ก็จะเห็นว่าหนังสือสารคดีตีพิมพ์เนื้อหาในส่วน อ.นครินทร์
โดยระบุว่าเป็น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ จริงๆ ใส่ไว้ตอนต้นของความเห็นเลยครับ


และบอกตามตรงจุดประสงค์ของผมจริงๆ ก็ไม่ได้โพสให้คุณ snowflake และทีมงานอ่านอยู่แล้ว
แต่ผมตั้งใจให้ผู้อ่านที่ต้องการเหตุผลสนับสนุนการรับร่างฯ ได้เข้ามารับข้อมูลเพื่อประกอบการ
ตัดสินใจมากขึ้น .. คือผมไม่สนใจหรอกว่า พวกคุณ snowflake จะ happy กับชื่อกระทู้หรือไม่

ผมบอกตรงๆ แบบนี้คงเข้าใจแล้วนะครับ คุณ snowflake 

ดิฉันไม่มีทีมงานค่ะ และไม่มีพวกมาก
มาช่วยเถียงแทนอย่างคุณ jerasak
ที่เขียนไปนั้นก็เพราะอยากให้ผู้อ่านได้รับ
ข้อมูลครบถ้วน ตามข้อเท็จจริง
ไม่ได้มีเจตนาป่วนหรือทำให้ใครไม่ happy
หวังว่าคงเข้าใจ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 14-08-2007, 01:22 »

ผมคิดว่าได้อ่านข้อคิด ได้รู้ที่มาที่ไปของร่างรัฐธรรมนูญ
น่าจะเป็น "ของดี" มากกว่า "ของเสีย" หรือเป็น "การโฆษณาเกินจริง"

เหมือนเรานั่งฟัง สถาปนิกกับวิศวกร ตอนสร้างบ้านนั่นแหละครับ
รู้เหตุ รู้ผล ก็น่าจะรับฟังไว้

เห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็ว่ากันไป

เพราะยังไงผมกาเห็นด้วยอยู่แล้ว
ถ้าไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญซะอีกผมจะมองว่าปฏิวัติทั้งที ทำให้ "เสียของ" เปล่า ๆ
บันทึกการเข้า

ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #28 เมื่อ: 14-08-2007, 01:41 »

ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติ

คงต้องมองได้หลายแง่มุม ในสายตาที่เอียงของคนบางคน

แล้วหาเหตุมาโจมตีอีกจนได้ว่า คมช. ยังไม่อยากให้เกิดการเลือกตั้ง

และอยากเช็คบิล กับใครบางคนบางกลุ่มให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ผ่านหรือไม่ผ่าน น่าจะดีทั้งสองแบบ ไหนๆก็ไหนๆแล้วนะๆ อิ อิ
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #29 เมื่อ: 14-08-2007, 07:43 »

คมช จะเช็คบิล ต้องอาศัย ประชามติ หรือ

วัยรุ่นเซ็ง  ตอนปฏิวัติ ใหม่ เชียร์แทบขาดใจให้เช็คบิล ก็ไม่ทำ  จะมาทำเอาตอน  ไม่รับร่าง 

บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #30 เมื่อ: 14-08-2007, 10:13 »

คุณ snowflake ครับ

ขอเรียนให้ทราบว่าผม "ตั้งใจ" เอาเฉพาะบทความส่วน อ.นครินทร์ มาลงตามที่แจ้งตั้งแต่ต้น

จึงไม่ได้นำเอาเนื้อหาตอนต้นบทความของหนังสือสารคดีที่อธิบายอะไรไว้ยืดยาวและบอกว่า
อ.นครินทร์เป็น กมธ. มาลงด้วย  เพราะถ้าเอามาลงก็ต้องเอาบทความของ อ.วรเจตน์ มาลง
ด้วยทั้งหมด ซึ่งผิดจากวัตถุประสงค์ของผม และผมได้แสดงลิงค์เต็มสำหรับผู้สนใจเอาไว้แล้ว

ถ้าคุณ snowflake จะบอกว่าผมไม่เป็นกลาง เจตนาบิดเบือน ไม่บอกว่า อ.นครินทร์ เป็น กมธ.
อะไรของคุณก็ตาม ผมถือว่าได้นำเสนอ เนื้อความในส่วนของ อ.นครินทร์ ไว้แล้วโดยครบถ้วน

และความจริง กมธ.เป็นคนทำงานร่างฯ รธน. มากับมือรู้เหตุรู้ผลทั้งหมดว่าทำไมถึงร่างฯ แบบนั้น
ตอนแรกร่างฯ อย่างไร มีใครเห็นด้วย มีใครคัดค้าน ปรับแก้ไขไปแล้วกี่หน กว่าจะได้ออกมาแบบนี้
ผมไม่เห็นจะเป็นปัญหาอะไรถ้าบอกว่า อ.นครินทร์ เป็น กมธ.  เพียงแต่ส่วนที่ผมนำข้อความมา
เขาระบุว่า อ.นครินทร์ เป็น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ ผมก็เอามาตามนั้นและเป็นที่มา
ของชื่อกระทู้  ซึ่งถ้าพิจารณาจริงๆ ก็จะเห็นว่าหนังสือสารคดีตีพิมพ์เนื้อหาในส่วน อ.นครินทร์
โดยระบุว่าเป็น คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ จริงๆ ใส่ไว้ตอนต้นของความเห็นเลยครับ


และบอกตามตรงจุดประสงค์ของผมจริงๆ ก็ไม่ได้โพสให้คุณ snowflake และทีมงานอ่านอยู่แล้ว
แต่ผมตั้งใจให้ผู้อ่านที่ต้องการเหตุผลสนับสนุนการรับร่างฯ ได้เข้ามารับข้อมูลเพื่อประกอบการ
ตัดสินใจมากขึ้น .. คือผมไม่สนใจหรอกว่า พวกคุณ snowflake จะ happy กับชื่อกระทู้หรือไม่

ผมบอกตรงๆ แบบนี้คงเข้าใจแล้วนะครับ คุณ snowflake 

อ๊ะ อ๊ะ ข้อมูลไม่ครบ ตั้งใจ บิดเบือนนี่หว่า 

โถทำไร้เดียงสาได้น่าทุเรศ คนร่างเห็นสมควรให้รับร่าง กลัวพวกเดียวกันด่าเหรอจ๊ะ
ถึงไม่กล้าบอกว่าไอ้เหียกเนี่ยเป็นคนร่าง เอาตำแหน่งสับปะรังเคอะไรมาแปะเป็นชื่อ
กระทู้ให้ดูดี ที่แท้ แต่อย่างว่าจะเอาตำแหน่งห่วยแตกอะไรมา พวกเดียวกันมันก็ไม่มา
ด่าหรอก วันหลังไม่ต้องมาทำเหนียมก็ได้นะ ถามจริงเหอะไม่ทุเรศตัวเองมั่งเหรอทำ
อย่างงี้ พอโดนจับได้ก็ตะแบงไปเรื่อย ทุเรศสายตาคนอ่านว่ะ เอาน่าจะรับก็บอกว่า
ไม่มีเหตุผลชอบเลียทหารอยากรับมีอะไรป่าวก็ว่าไป ไม่มีใครมาด่าหรอกนะ จะหน้า
มืดตามัวอะไรก็เป็นสิทธิส่วนตัวอยู่แล้ว จะตั้งชื่อหัวกระทู้ว่า คนร่างเห็นสมควรให้รับ
ร่าง ก็ไม่มีใครด่าอะไรหรอกนะจ๊ะ เหอ เหอ 
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 14-08-2007, 11:11 »

อั่นแน่... เรียกใครมาช่วย 

เสรีไทย สนับสนุนอุตสาหกรรมครอบครัว
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #32 เมื่อ: 14-08-2007, 12:20 »

ท่าทางเขาจะลืมเรื่องหลอดไฟฟลูออเรสเซน 

อ๊ะ อ๊ะ ข้อมูลไม่ครบ ตั้งใจ บิดเบือนนี่หว่า 
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #33 เมื่อ: 14-08-2007, 15:07 »

อ๊ะ อ๊ะ ข้อมูลไม่ครบ ตั้งใจ บิดเบือนนี่หว่า 

โถทำไร้เดียงสาได้น่าทุเรศ คนร่างเห็นสมควรให้รับร่าง กลัวพวกเดียวกันด่าเหรอจ๊ะ
ถึงไม่กล้าบอกว่าไอ้เหียกเนี่ยเป็นคนร่าง เอาตำแหน่งสับปะรังเคอะไรมาแปะเป็นชื่อ
กระทู้ให้ดูดี ที่แท้ แต่อย่างว่าจะเอาตำแหน่งห่วยแตกอะไรมา พวกเดียวกันมันก็ไม่มา
ด่าหรอก วันหลังไม่ต้องมาทำเหนียมก็ได้นะ ถามจริงเหอะไม่ทุเรศตัวเองมั่งเหรอทำ
อย่างงี้ พอโดนจับได้ก็ตะแบงไปเรื่อย ทุเรศสายตาคนอ่านว่ะ เอาน่าจะรับก็บอกว่า
ไม่มีเหตุผลชอบเลียทหารอยากรับมีอะไรป่าวก็ว่าไป ไม่มีใครมาด่าหรอกนะ จะหน้า
มืดตามัวอะไรก็เป็นสิทธิส่วนตัวอยู่แล้ว จะตั้งชื่อหัวกระทู้ว่า คนร่างเห็นสมควรให้รับ
ร่าง ก็ไม่มีใครด่าอะไรหรอกนะจ๊ะ เหอ เหอ 

อะไรหรือ..คุณอยากประหยัดฯ ผมก็บอกตั้งแต่แรกแล้วว่าเอาเนื้อความมาแค่ส่วนเดียว
ไม่เหมือนคดีของคุณหรอก แอบตัดข้อความไม่บอกไม่กล่าว..ยังมีหน้ามาว่าคนอื่นอีก


แล้วถ้าคุณจะบอกว่าผมบิดเบือน ก็ลองไปถามเด็กที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์สิครับ
ว่า อ.นครินทร์ คณบดีของเขามีความเห็นว่าควรรับร่างฯ 2550 หรือเปล่า

หรือคุณอยากประหยัดฯ จะตอบผมเองที่นี่ก็ได้ว่าคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ให้ความเห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จริงตามหัวข้อกระทู้หรือเปล่า

---

ผมจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้คุณอยากประหยัดฯ ฟังนะครับ ว่าการดำรงตำแหน่ง
กมธ. ของ อ.นครินทร์ ถ้าผมจะนำมาอ้างด้วยก็ไม่ได้ลดความน่าเชื่อถือในความเห็น
ของ อ.นครินทร์ ลงเลย เพราะการเป็น กมธ. เท่ากับเป็นผู้ที่ "รู้จริง" ที่สุดคนหนึ่ง
หากกลับไปอ่านความเห็นของ อ.นครินทร์ ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการร่างฯ รธน.
จะเห็นว่า อ.นครินทร์ เป็นผู้หนึ่งที่สามารถพูดถึงกระบวนการร่างฯ ได้อย่างเต็มปาก
มากกว่าพวกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วมาวิจารณ์กันลอยๆ

ต่างกับกรณีอดีตผู้พิพากษาแกนนำ นปก. ซึ่งมีตำแหน่งเป็นลูกจ้างพรรคไทยรักไทย
การเอาตำแหน่งอดีตผู้พิพากษามาอ้าง แล้วถูกเปิดเผยภายหลังว่าเป็นลูกจ้างเขานั้น
มันทำลายความน่าเชื่อถือในการแสดงความเห็นและเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิง

หรือกรณีของคุณอยากประหยัดฯ เองที่ไปเอาข้อความมาจากเว็บองค์กรต่างประเทศ
โดยยกย่องว่าเป็นความเห็นระดับอินเตอร์ แต่สุดท้ายเมื่อโดนจับได้ว่าองค์กรที่ว่านั้น
ไปเอาข้อความมาจากเว็บ "ไทยทำ" ที่ยกย่องเชิดชูทักษิณมุ่งหวังผลทางการเมือง
ก็ทำให้ความน่าเชื่อถือขององค์กรอินเตอร์ดังกล่าวพังพินาศ โดยลดระดับไปเท่ากับ
เว็บไทยทำที่หวังผลประโยชน์ทางการเมือง


---

อีกอย่างคำว่า "ไอ้เหียก" หรือ "ตำแหน่งห่วยแตก" ที่คุณพิมพ์มาคิดว่าสมควรแล้วหรือ
หัดรู้จักมารยาทในการใช้เว็บบอร์ดบ้างสิครับ แสดงความเห็นแบบหยาบคายเป็นไหม?
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #34 เมื่อ: 14-08-2007, 15:45 »

ท่าทางเขาจะลืมเรื่องหลอดไฟฟลูออเรสเซน 

สร้างมาตรฐานใหม่ให้บอร์ดเสรีไทยไง เห็นมั้ยมีคนทำตามแย้ว 
เอ้า ตะแบงเข้าไป ตะแบงเข้าไป ลุย ลุย เย่

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ) ให้ความเห็นควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550

เหอ เหอ เลือกเฉพาะข้อความเหรอ ตัดใจความสำคัญเลยนะเนี่ย ตรงที่เอาออกนี้ สงสัยจะ
ย่อความไม่เป็น จริงๆ ท่าทางเฟอะฟะมากกว่าลืมดูตำแหน่งอะไรทำนองนั้น กลัวเสียฟอร์ม
เลยตะแบงไปเรื่อย อย่ามาเทียบกะหลอดแอลอีดีเล้ยเพราะที่ตัดในกระทู้นั่นมันส่วนประกอบ
แถไปว่าพ้นตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างฯ ว่าไงคับท่านผู้อ่าน วิธีการแถน่ารักมั้ย ก็ร่างมากะมือ
แท้ๆ พ้นตำแหน่งนี่ไม่ต้องเกี่ยวกะไอ้ร่างเบื๊อกนี่เลยนะ เหมือนคนทั่วไปทั้งแท่ง กร๊าก โอย
กรามค้างอ่ะ บอกว่าสมควรให้รับร่างนะคับในฐานะประชาชนเหมือนกัน ที่เคยเป็นมามันอดีต
แย้วตอนนี้พ้นไปแย้ว เค้ามีความเห็นเป็นกลางบริสุทธิ์ใสซื่อจริงๆ นะว่าสมควรรับร่าง กร๊ากกกกกก

ยังไม่ยอมรับอีกเหรอว่าเว็บไฮทักษิณมันน่าเชื่อถือกว่าที่นี่ขนาดมีองค์กรระหว่างประเทศนำ
ข้อมูลที่มาจากข้อเท็จจริงไปอ้าง จริงๆ ก็คนในธรรมศาสตร์นี่แหละ อย่าเอาตัวเองเป็นบรรทัด
ฐานสิว่าทุกคนต้องเชื่อถืออะไรตามตัวเองหมดนะจ๊ะ โถไปเทียบกะเค้ามันคนละชั้น ออกจาก
กะโหลกกะลาไปเปิดตาดูโลกซะมั่งเหอะนะ ไม่ใช่อะไรก็ตามจากไฮทักษิณก็ไปว่าเค้าหมด

ส่วนคำว่า ไอ้เหียก ห่วยแตก ก็สุภาพดีนี่สำหรับที่นี่ กะโปโตก คนแก่ๆ ขาประจำยังใช้กันเฉย
ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน อย่าดัดจริตนักเลยน่า ตะแบงอย่างเดียวก็พอแล้ว ยกชื่อ ชอบแถ ให้ก็
ได้นะ ตอนนี้ก็แถพอๆ กันแล้วนี่เผลอๆ มีแซงด้วยนะ เรียนรู้วิธีแถได้เร็วดีชี้หายเยย กร๊ากกกกกก
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #35 เมื่อ: 14-08-2007, 15:49 »

สร้างมาตรฐานใหม่ให้บอร์ดเสรีไทยไง เห็นมั้ยมีคนทำตามแย้ว 
เอ้า ตะแบงเข้าไป ตะแบงเข้าไป ลุย ลุย เย่


หมาหางด้วนนี่หว่า
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #36 เมื่อ: 14-08-2007, 15:59 »

หมาหางด้วนนี่หว่า

ไปว่า จขกท เป็น หมา ซะแล้ว แถมยัง หางด้วน อีก กร๊ากกกกก
หยาบคายนะครับพี่น้อง รู้จักมารยาทเล่นเว็บบอร์ดมั่งนาคร้าบบบบบ เหอ  เหอ
บันทึกการเข้า
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #37 เมื่อ: 14-08-2007, 16:11 »

มาดูวิธีแถแบบใหม่
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #38 เมื่อ: 14-08-2007, 16:16 »

ดิฉันไม่มีทีมงานค่ะ และไม่มีพวกมาก
มาช่วยเถียงแทนอย่างคุณ jerasak
ที่เขียนไปนั้นก็เพราะอยากให้ผู้อ่านได้รับ
ข้อมูลครบถ้วน ตามข้อเท็จจริง
ไม่ได้มีเจตนาป่วนหรือทำให้ใครไม่ happy
หวังว่าคงเข้าใจ


รู้สึกข้างบนนี้จะมีทีมงาน หรือพวกคุณ snowflake เข้ามาช่วยแล้วนะครับ 

ก็ขอขอบคุณ คุณ snowflake แล้วกันที่มาช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับ
ความเห็นของ อ.นครินทร์ มากขึ้น ..

ทั้งนี้ไม่ว่าคุณ snowflake จะมีวัตถุประสงค์จริงๆ อย่างไรก็ตาม 

---

ปล. รบกวนคุณ snowflake ไปให้ความเห็นกับอีกกระทู้หนึ่งด้วยสิครับ   

==ร่าง รธน.2550 เป็นร่างฯที่ดีที่สุดเท่าที่ไทยเคยมีมา-รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์==
http://forum.serithai.net/index.php?topic=15930.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-08-2007, 17:54 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1]
    กระโดดไป: