ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
15-05-2025, 03:11
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==เงินบาทอยู่ที่ไหน ตอนที่ 2 :บทความเรื่องค่าเงินบาทโดย พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==เงินบาทอยู่ที่ไหน ตอนที่ 2 :บทความเรื่องค่าเงินบาทโดย พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล==  (อ่าน 1937 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 10-08-2007, 02:00 »

สำหรับตอนที่ 2 นี้ฝ่ายเชียร์แม้วโปรดทำใจก่อนอ่าน เพราะเป็นการสับแหลกนโยบายการเงินของทักษิณ
และย้อนไปถึงสมัยรัฐบาลเชาวลิต ที่ทักษิณเข้าไปมีส่วน (คงจำกันได้คือทักษิณส่งลูกน้องคือนายทนง
เข้าไปก่อนช่วงลอยค่าเงิน แล้วเดือนถัดมาก็เข้าไปนั่งเป็นรองนายกฯ .. ทำให้พวกเชียร์แม้วเอามาใช้อ้าง
ว่าทักษิณไม่เกี่ยวข้องกับช่วงลอยค่าเงิน  Mr. Green)

นอกจากนี้เหมือนจะชมรัฐบาลชวนอีกต่างหาก เปรียบเทียบกับการใช้เงินบาทของรัฐบาลทักษิณ เช่น
การสร้างภาพหนี้ต่างประเทศลดลง โดยใช้วิธีกู้เป็นเงินบาทในประเทศแทนกู้ต่างประเทศเป็นดอลลาร์
รวมหลายแสนล้านบาท ทำให้เมื่อเงินบาทแข็งขึ้นมาในตอนนี้รัฐบาลพลาดโอกาสที่จะกำไรจากส่วนต่าง
อัตราแลกเปลี่ยนคิดเป็นเงินไทยถึง 6 หมื่นล้านบาท

ไม่นับการสับแหลกนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณ ลองอ่านกันดูแล้วกันนะครับ 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เงินบาทอยู่ที่ไหน ? (ตอนที่ 2) ( เงินบาทหายหรือเพราะดอลลาร์อ่อน?)
(อภิปรายนอกสภา โดย พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล  วันที่ 25/7/2007)
http://www.naewna.com/news.asp?ID=68910

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2550 ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับค่าเงินบาทสรุปว่า

"ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในขณะนี้ เป็นเพราะค่าเงินดอลลาร์/สรอ. อ่อนตัวลงมาก ไม่ใช่เป็นปัญหาจากตัวเงินบาท"

คำให้สัมภาษณ์ของท่านนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เข้าใจว่ามาจากคำชี้แจงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งสมัยที่เป็นรัฐบาลผู้เขียนก็เคยได้รับคำชี้แจงเช่นนี้เสมอ แต่เห็นว่าคำวิเคราะห์นี้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว ค่าเงินดอลลาร์อ่อนเป็นเหตุหนึ่ง แต่การไม่ได้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าและการบริหารจัดการผิดพลาดที่สั่งสมมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรต้องพิจารณาด้วย

ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ดุลการค้า+ดุลบริการ) และดุลการเงินจำนวนมากทุกปี จึงแก้ไขปัญหาโดยได้พิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาจำนวนมาก เชื่อกันว่าขณะนี้ฐานเงินดอลลาร์ในเอเชียมีมากกว่า 3.3 ล้านล้านดอลลาร์ (สามล้านสามแสนล้านดอลลาร์/สรอ.) หากจะคำนวณว่าทุนสำรอง 72,000 ล้านเหรียญหรือดอลลาร์/สรอ. เมื่อหักส่วนที่ไม่ใช่ดอลลาร์ออก และหักส่วนที่ได้ SWOP ขายล่วงหน้าไปแล้ว คงเหลือเป็นตัวเงินดอลลาร์จริงๆ สัก 30,000 ล้านดอลลาร์ เทียบสัดส่วนแล้วก็ยังไม่ถึงหนึ่งในร้อยของฐานเงินดอลลาร์ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาในภาคพื้นเอเชีย แต่ทำไมจึงกระทบค่าเงินบาทมากกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วภูมิภาค คือค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินตระกูลอื่นๆ ในอัตราที่ค่อนข้างสูง มีการคำนวณว่าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นถึงประมาณร้อยละ 18 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ต่างกันเพียงร้อยละ 4-5 อย่างมากที่สุดก็ไม่เกินเลขตัวเดียว น่าจะมีอะไรผิดพลาดจากนโยบายและการจัดการบริหารเงินบาทของรัฐบาลที่มาในระหว่างปี 2544-2549

ปัญหาค่าเงินอยู่ภายใต้หลัก อุปสงค์/อุปทาน ธรรมดา คือเมื่อมีมากกว่าความต้องการก็จะมีค่าน้อยลง และเมื่อมีน้อยกว่าความต้องการก็จะมีค่ามากขึ้น หลักการเช่นนี้น่าจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว แต่ทำไมรัฐบาลขณะนั้นกลับเก็บเงินดอลลาร์ไว้ในทุนสำรองจำนวนมาก แม้แต่การพิมพ์เงินบาทเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเพื่อขายเงินบาทออกไปซื้อเงินดอลลาร์เข้ามาเก็บ หากเทียบราคาเงินดอลลาร์ในวันนี้กับต้นทุนราคาที่ซื้อเข้ามา ธปท.น่าจะขาดทุนทางบัญชีเกินแสนล้านบาทแล้ว วันนี้หากจะซื้อเงินบาทเข้ามาโดยขายเงินดอลลาร์ออกไป ตัวเลขการขาดทุนทางบัญชีก็จะเป็นการขาดทุนจริงทันที จะหาผู้ใดมารับผิดชอบ ในเมื่อบุคคลในรัฐบาลที่แล้ว ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต่างได้พ้นตำแหน่งหน้าที่ไปหมดแล้ว หรือจะต้องมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอีกสักท่านหนึ่งต้องถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายนับแสนล้านบาทเหมือนในอดีต ?

วันนี้หากธปท.จะซื้อเงินบาทเข้ามา เพื่อลดดอลลาร์ในทุนสำรองเงินตราฯ นอกจากปัญหาธปท.จะต้องขาดทุนทันทีแล้ว ปัญหาคือเงินบาทในตลาดเงินจะยิ่งลดน้อยลง และดอลลาร์จำนวนนี้ก็จะไปเพิ่มปริมาณดอลลาร์ในตลาดเงินให้มากขึ้น เป็นการสวนทางกับความพยายามลดค่าเงินบาทให้อ่อนลงด้วยหลักอุปสงค์และอุปทาน ทั้งในตลาดเงินต่างประเทศ (Off shore) และตลาดเงินในประเทศ (On shore)

มีผู้เสนอความเห็นให้ธปท.พิมพ์เงินบาทเพิ่มขึ้นอีกเพื่อแก้ปัญหาอุปทาน แต่ปัญหาที่ตามมาคือฐานเงินบาทจะใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์ในทุนสำรองหนุนค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงและลดน้อยลง ซึ่งจะทำให้ความมั่นคงและความเชื่อถือของค่าเงินบาทลดน้อยลง ซึ่งจะเป็นปัญหากับค่าเงินบาทในวันข้างหน้าอีกเช่นกัน

วันนี้มีความจำเป็นต้องให้เงินบาทอยู่ในอัตราที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ เมื่อครั้งที่รัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ ลอยตัวค่าเงินบาทวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลประกาศมาตรการลอยตัวค่าเงินบาทอย่างมีการบริหารจัดการ แต่ก็ลาออกหนีปัญหาเสียก่อน รัฐบาลชวน หลีกภัย (2) ได้ใช้มาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดในการบริหารจัดการค่าเงินบาทที่เคยอ่อนตัวไปถึงดอลลาร์ละเกือบ 50 บาท มาอยู่ที่ดอลลาร์ละประมาณ 36-38 บาท และรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้หยุดนิ่งอยู่ที่ประมาณ 36-38 ตลอดมา ทั้งตลาดเงินในประเทศและตลาดเงินต่างประเทศ จนถึงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2549 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามลำดับจากดอลลาร์ละ 38-39 บาทเป็นประมาณดอลลาร์ละ 30 บาทในตลาดต่างประเทศ (Off shore) และ 33 บาทเศษในตลาดในประเทศ (On shore) สาเหตุเพราะขาดการกำกับดูแลอย่างรอบคอบและ เพราะนโยบายสารพัดประชานิยมของรัฐบาลในการใช้เงินบาท จน กลายเป็นปัญหาค่าเงินบาทที่สั่งสมและกระทบเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงในขณะนี้

มีตัวเลขที่น่าสนใจและสมควรแก่การพิจารณาคือ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญระหว่างปี 2540-2544 รัฐบาลชวน หลีกภัย ตั้งงบประมาณขาดดุลในปี 2542 , 2543 และ 2544 เป็นเงิน 25,000 ล้านบาท 110,000 ล้านบาทและ 105,000 ล้านบาทตามลำดับ รวมเป็นเงิน 240,000 ล้านบาท โดยใช้ทั้งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตั้งงบประมาณขาดดุลในปี 2545 , 2546 และ 2547 เป็นเงิน 200,000 ล้านบาท 174,900 ล้านบาท และ 99,900 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 474,800 ล้านบาท โดยกู้เป็นเงินบาทจากแหล่งเงินในประเทศ ด้วยการออกเป็นพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง และตราสารเงินกู้ นั่นคือการนำเงินบาทจากตลาดเงินในประเทศมาใช้ล่วงหน้า และก่อหนี้ไว้ยาวนานไปถึงห้าปีสิบปีข้างหน้าตามอายุของตั๋วเงินคลัง หากเงินจำนวนดังกล่าวนี้เป็นการกู้เงินดอลลาร์จากต่างประเทศมาใช้ขณะที่ราคาดอลลาร์ละประมาณ 38 บาท วันนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงดอลลาร์ละเกือบ 5 บาท ประเทศชาติน่าจะได้ประโยชน์จากผลต่างของหนี้เนื่องจากการลดค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ คำนวณเป็นเงินถึงประมาณ 60,000 ล้านบาท

มิหนำซ้ำเมื่อกลางปี 2546 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์ชำระหนี้เดิมของประเทศไทยที่มีต่อธนาคารโลกก่อนกำหนดไปอีกประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์/สรอ. โดยอ้างว่าเป็นการชำระหนี้ล่วงหน้าแก่ IMF ขณะที่เงินดอลลาร์ราคาประมาณ 38-39 บาท

หากจะมีการชำระหนี้ล่วงหน้าควรต้องกระทำในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งที่สุด แต่รัฐบาลขณะนั้นกลับชำระหนี้ล่วงหน้าในภาวะที่ค่าเงินบาทค่อนข้างอ่อน และต้องเสียค่าปรับเนื่องจากกาชำระหนี้ล่วงหน้าไปอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อเทียบกับค่าเงินบาทขณะนี้ การชำระหนี้แก่ธนาคารโลกที่อ้างว่าเป็นการชำระหนี้แก่ IMF ทำให้ประเทศชาติต้องเสียประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นคำนวณเป็นเงินอีกประมาณ 15,000 ล้านบาท

ในช่วง 5-6 ปีของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลแทบจะไม่ได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศเลย นอกจากสนามบินสุวรรณภูมิที่เสร็จสิ้นพร้อมกับปัญหานานาประการ หน่วยงานอื่นไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง กรมขนส่งทางน้ำ กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมการพลังงาน การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ถูกลดงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินบาทส่วนใหญ่ถูกทุ่มเทไปอยู่ในงบกลางปีละแสนกว่าล้านบาท และทุ่มเทไปในโครงการประชานิยมที่แทบจะสูญเปล่า เช่น เงินจำนวน 80,000 ล้านบาทที่หายไปในโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เงินในโครงการพักหนี้เกษตรกร โครงการสารพัดเอื้ออาทร และสารพัดโครงการจำนวนหลายหมื่นล้านบาทที่ใช้เงินหวยจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้เงินบาทในลักษณะบริโภคสิ้นเปลือง ไม่ก่อประโยชน์ใด ๆ ในทางลงทุน ขณะเดียวกันกลับสร้างภาระหนี้รายครัวเรือนของประชาชนให้เพิ่มขึ้นมหาศาล ไม่ว่าหนี้ของประชาชนผู้ยากจนในระดับรากหญ้า หรือหนี้บัตรเครดิตจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ในชนชั้นกลาง เป็นผลให้ลดกำลังซื้อของประชาชนในประเทศลงอย่างรุนแรง ปัญหาภาคอุตสาหกรรมในขณะนี้มิใช่เพียงเพราะการส่งออกที่กระทบจากค่าเงินบาทแข็ง แต่สาเหตุใหญ่เพราะต้องกระทบอย่างรุนแรงจากกำลังการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในประเทศที่ลดลงอย่างรุนแรงด้วยเพราะไม่มีเงิน แม้กระทั่งเงินจากการขายหุ้นในเครือบริษัทชินวัตรฯ ทั้งหมดที่ขายหุ้นให้แก่กลุ่มบริษัทเทมาเซคจากประเทศสิงคโปร์จำนวน 72,000 ล้านบาท ก็เป็นการกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และขณะนี้ถูก คตส. อายัดไว้เกือบทั้งหมด ไม่สามารถเคลื่อนไหวเป็นประโยชน์ต่อตลาดเงินได้ ผู้ประกอบการในประเทศส่วนใหญ่ฐานะถดถอยลงและไม่มีเงิน เห็นได้จากการค้างจ่ายเงินประกันสังคมในส่วนของนายจ้างผู้ประกอบการ ที่ค้างกองทุนสวัสดิการสังคมจำนวนหลายหมื่นรายเพราะขาดสภาพคล่องเงินบาท

เมื่อต้นปี 2550-กรกฎาคม 2550 เงินดอลลาร์ไหลเข้าไทยประมาณ 4,000 ล้านเหรียญ/สรอ. เกือบทั้งหมดเพื่อเข้าลงทุนระยะสั้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเก็งกำไรค่าเงินบาท ไม่ได้เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตที่แท้จริง

มีรายงานจาก ธปท. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ว่าทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของไทยเมื่อต้นปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 53,288 ล้านเหรียญ/สรอ. ขณะนี้เพิ่มเป็นประมาณ 72,150 ล้านเหรียญ/สรอ. ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2550 เมื่อแปลงเป็นค่าเงินบาทแล้วอยู่ที่ 2,395,200 ล้านบาท จาก 2,450,600 ล้านบาท สินเชื่อสุทธิให้แก่รัฐบาล 108,600 ล้านบาท สินเชื่อให้แก่สถาบันการเงิน 1,231,000 ล้านบาท ฐานเงิน 761,800 ล้านบาท ซึ่งล้วนแล้วแต่บอกสภาพปัญหาค่าเงินบาทที่ประเทศไทยยังต้องประสบต่อไปในลักษณะที่รุนแรงกว่าผู้อื่น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านนายกรัฐมนตรีได้ออกมาประกาศมาตรการ 6 ประการเพื่อแก้ไขค่าเงินบาท ซึ่งคงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตอภิปรายนอกสภาต่อไปเป็นตอนที่ 3 ในวันเสาร์นี้
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-08-2007, 02:19 »

สำหรับตอนจบของซีรีย์ชุดนี้ ผมลงไว้ให้ตามลิงค์ข้างล่างนี้แล้วนะครับ สามารถอ่านต่อได้เลย
หวังว่าคงจะให้ความกระจ่างกับหลายท่านเกี่ยวกับปัญหาค่าเงินบาทของเราได้พอสมควร

==เงินบาทอยู่ที่ไหน ตอนที่ 3 :บทความเรื่องค่าเงินบาทโดย พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล==
http://forum.serithai.net/index.php?topic=15873.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-08-2007, 02:21 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 11-08-2007, 01:52 »

ดูตัวเลขของบัญชีทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าดูบัญชีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-08-2007, 02:57 โดย แอ่นแอ๊น » บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #3 เมื่อ: 11-08-2007, 12:53 »

ตัวเลขที่น่าสนใจและสมควรแก่การพิจารณาคือ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญระหว่างปี 2540-2544 รัฐบาลชวน หลีกภัย ตั้งงบประมาณขาดดุลในปี 2542 , 2543 และ 2544 เป็นเงิน 25,000 ล้านบาท 110,000 ล้านบาทและ 105,000 ล้านบาทตามลำดับ รวมเป็นเงิน 240,000 ล้านบาท โดยใช้ทั้งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตั้งงบประมาณขาดดุลในปี 2545 , 2546 และ 2547 เป็นเงิน 200,000 ล้านบาท 174,900 ล้านบาท และ 99,900 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 474,800 ล้านบาท โดยกู้เป็นเงินบาทจากแหล่งเงินในประเทศ ด้วยการออกเป็นพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง และตราสารเงินกู้ นั่นคือการนำเงินบาทจากตลาดเงินในประเทศมาใช้ล่วงหน้า และก่อหนี้ไว้ยาวนานไปถึงห้าปีสิบปีข้างหน้าตามอายุของตั๋วเงินคลัง หากเงินจำนวนดังกล่าวนี้เป็นการกู้เงินดอลลาร์จากต่างประเทศมาใช้ขณะที่ราคาดอลลาร์ละประมาณ 38 บาท วันนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงดอลลาร์ละเกือบ 5 บาท ประเทศชาติน่าจะได้ประโยชน์จากผลต่างของหนี้เนื่องจากการลดค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ คำนวณเป็นเงินถึงประมาณ 60,000 ล้านบาท

มิหนำซ้ำเมื่อกลางปี 2546 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์ชำระหนี้เดิมของประเทศไทยที่มีต่อธนาคารโลกก่อนกำหนดไปอีกประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์/สรอ. โดยอ้างว่าเป็นการชำระหนี้ล่วงหน้าแก่ IMF ขณะที่เงินดอลลาร์ราคาประมาณ 38-39 บาท

หากจะมีการชำระหนี้ล่วงหน้าควรต้องกระทำในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งที่สุด แต่รัฐบาลขณะนั้นกลับชำระหนี้ล่วงหน้าในภาวะที่ค่าเงินบาทค่อนข้างอ่อน และต้องเสียค่าปรับเนื่องจากกาชำระหนี้ล่วงหน้าไปอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อเทียบกับค่าเงินบาทขณะนี้ การชำระหนี้แก่ธนาคารโลกที่อ้างว่าเป็นการชำระหนี้แก่ IMF ทำให้ประเทศชาติต้องเสียประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นคำนวณเป็นเงินอีกประมาณ 15,000 ล้านบาท 




คนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตกต้องแก้ตัวไปน้ำขุ่นเหมือนนโยบายขายน้ำมันราคาถูก ว่าใครจะรู้ว่าน้ำมันจะแพงยาวนานอย่างนั้น...

อดีตนายกฯเหลี่ยมฯ จึงตั้งกองทุนน้ำมันฯ ขึ้นมา เมื่อราคาน้ำมันขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด จนกองทุนน้ำมันฯ สะสมเกือบ 100,000 ล้านบาท...
วันนี้รัฐบาลนี้ยังชดใช้กองทุนไม่หมดเลย ในขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท.ได้ผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่สูงขึ้น
(เพราะมั่นใจตนเองว่าจัดการกองทุนฯได้ตลอดไป) ได้เงินปันผลส่วนต่างไปเรียบร้อยโรงเรียนแม้วไปแล้ว...

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 11-08-2007, 18:29 »

คนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตกต้องแก้ตัวไปน้ำขุ่นเหมือนนโยบายขายน้ำมันราคาถูก ว่าใครจะรู้ว่าน้ำมันจะแพงยาวนานอย่างนั้น...

อดีตนายกฯเหลี่ยมฯ จึงตั้งกองทุนน้ำมันฯ ขึ้นมา เมื่อราคาน้ำมันขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด จนกองทุนน้ำมันฯ สะสมเกือบ 100,000 ล้านบาท...
วันนี้รัฐบาลนี้ยังชดใช้กองทุนไม่หมดเลย ในขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท.ได้ผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่สูงขึ้น
(เพราะมั่นใจตนเองว่าจัดการกองทุนฯได้ตลอดไป) ได้เงินปันผลส่วนต่างไปเรียบร้อยโรงเรียนแม้วไปแล้ว...


ตอนนั้นถ้ารัฐบาลไม่ตรึงราคาน้ำมัน ปล่อยให้สะท้อนความเป็นจริงออกมาน่าจะลดการใช้น้ำมันลงได้หลายเปอร์เซนต์
แต่บริษัทค้าน้ำมันก็คงขาดรายได้ไปอีกมากเหมือนกัน มีเรื่องที่คนไม่เคยคิดกันก็คือการตรึงราคาน้ำมันนั้นเป็นการล็อก
ให้บริษัทค้าน้ำมันได้กำไรอย่างแน่นอนโดยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาน้ำมัน ขายได้เท่าไหร่ก็กำไร
เท่ากับปริมาณที่ขายคูณจำนวนเงินชดเชย  ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการบริหารความเสี่ยงทำได้ยากกว่าจะสั่งซื้อจนได้มา
ส่งขายให้กับผู้บริโภคราคาที่แกว่งไปมาทำให้ต้องบริหารความเสี่ยง แต่ในช่วงที่รัฐบาลตรึงราคานั้นไม่ต้องบริหารอะไร
เพราะขายยังไงก็กำไรลูกเดียว

ในขณะที่ผู้บริโภคต้องซื้อน้ำมันราคาแพงเพื่อชดเชยการขาดทุนของกองทุนน้ำมันต่อมาอีกยาวนาน ทั้งที่ราคาน้ำมัน
ขึ้นลงไปแล้วหลายรอบ การแทรกแซงโดยบิดเบือนราคาตลาดแบบนี้สุดท้ายไม่เกิดผลดีในทุกด้าน

แต่ช่วงที่ตรึงราคาน้ำมันรัฐบาลกลับได้คะแนนเสียงอีกต่างหาก ไม่ต่างอะไรกับเรื่องแทรกแซงค่าเงินบาทเลยครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1]
    กระโดดไป: