ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 20:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  กำพูชาแย่งงานคนไทยอย่างไร? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
กำพูชาแย่งงานคนไทยอย่างไร?  (อ่าน 1564 ครั้ง)
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« เมื่อ: 08-08-2007, 17:26 »

       
ผู้จัดการรายวัน-- อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกของกัมพูชายังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากผู้ผลิตสามารถรักษาต้นทุนให้ต่ำได้จากค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูง
       
       โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งในกัมพูชา ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งบริษัทยี่ห้อดังในยุโรปและสหรัฐฯ ในนั้นมียี่ดังเช่น S&M ของเดนมาร์ก และ Mark & Spencer’s ของอังกฤษด้วย แต่คนงานในโรงงานได้รับค่าจ้างเพียงเดือนละประมาณ 73 ดอลลาร์ หรือ ราว 2,500 บาทเท่านั้น
       
       รายงานผลการวิจัยชิ้นหนึ่งสถาบันเศรษฐกิจกัมพูชา (Economic Institute of Cambodia) ที่ออกในเดือน มิ.ย.ปีนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า ประมาณ 29% ของรายได้ดังกล่าว เป็นรายได้จากการทำงานล่วงเวลาของคนงาน
       
       แต่ตามสภาพเช่นนี้อาจจะไม่มีทางเลี่ยงขณะที่การแข่งขันสูงขึ้นทุกวันๆ กัมพูชาเป็นเพียง 1 ในปลายทางหลายที่มีแรงงานราคาถูกสำหรับนักลงทุนในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก เพราะนอกจากนี้ก็ยังมี เวียดนาม อินโดนีเซีย ศรีลังกา ลิธัวเนีย และ มอริเชียสด้วย
       
          ในต้นปีนี้รัฐสภากัมพูชา (National Assembly) ได้ผ่านกฎหมายลดอัตราค่าจ้างงานล่วงเวลาในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกลง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
       
       รัฐบาลกัมพูชาระบุว่ามีแต่มาตรการลดค่าจ้างเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาการจ้างงานหลายแสนตำแหน่งให้มีงานทำต่อไปได้ และ หวังว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นให้มีการจ้างงานใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ได้

       
       อย่างไรก็ตามแขนงตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นอุตสาหกรรมนำหน้านำรายได้เข้าประเทศ ปี 2549 มีมูลค่าส่งออกรวม 2,500 ล้านดอลลาร์ มีการจ้างงาน 330,000 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงที่มีภาระต้องส่งเสียเลี้ยงดูครอบครัวที่ยากจน
       
       การศึกษาวิจัยได้พบว่ามีชาวกัมพูชาประมาณ 1.7 ล้านคนจากประชากร 14 ล้านคนเศษ ที่ต้องขึ้นต่ออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก ทั้งโดยและโดยอ้อม
       
       มูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมนี้คิดเป็นประมาณ 80% ของการส่งออกทั้งหมดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อเศรษฐกิจของกัมพูชา
       
       การศึกษาวิจัยได้ยกกรณีตัวอย่างของสนเสียน (Son Sean) แรงงานสาววัย 20 ที่ที่กล่าวว่าตอนนี้ทุกคนทางบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
       
       เสียนไปจาก จ.สวายเรียง (Svay Rieng) ห่างจากกรุงพนมเปญออกไปทางตะวันออกราว 120 กิโลเมตร เธอมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 70 ดอลลาร์ ขึ้นอยู่กับว่าจะได้ทำโอทีมากขนาดไหน ทุกเดือนจะส่งเงิน 50-90 ดอลลาร์ไปให้แม่วัย 50 ปี รวมทั้งส่งเสียน้องสาววัย 15 ขวบอีกคนหนึ่งด้วย
       
       อีกหนึ่งกรณีคือ วงปัก (Vong Pak) แรงงานหญิงวัย 39 ซึ่งกล่าวว่าได้ส่งเงินกลับบ้านไปให้คุณแม่วัย 68 เพื่อเลี้ยงดูลูกๆ ของเธอจำนวน 4 คนอายุ 14, 12, 7 และ 3 ขวบตามลำดับ ทุกคนกำลังเรียน
       
       แรงงานหญิงทั้งสองทำงานในโรงงานของบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้า New Island Clothing (NIC) ซึ่งจ้างแรงงานกว่า 800 คน เป็นหนึ่งในบรรดาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวน 290 แห่งในกัมพูชา ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และ ยุโรป เป็นหลัก
       
       NIC ผลิตเสื้อผ้าทั้งของสตรีและบุรุษให้แก่มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ส ในอังกฤษ กับลูกค้าระดับพรีเมียมในประเทศอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าเสื้อหนึ่งตัวที่ตัดเย็บจากโรงงานนี้อาจจะมีราคามากกว่ารายได้ทั้งเดือนของคนงาน 1 คน
       
       และ NIC ก็เป็นบริษัทที่ได้รับรางวัล First Corporate Citizenship Awards อันเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติที่กัมพูชาจัดมอบให้ ภายใต้โครงการของบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFC (International Finance Corporation) ที่เป็นแขนงหนึ่งของธนาคารโลก.



รัฐบาลกัมพูชาออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้แข่งขันได้
รัฐบาลไทยเก่งแต่ออกมาตราการให้ผู้ประกอบการเลิกกิจการโดยมีธนาคารเป็นตัวซ้ำเติม
ส่งผลให้ผู้ประกอบการเลิกกิจการเร็วขึ้น คนงานจะได้ตกงานนับแสนคน
มาตราการช่วยเขมรทางอ้อม
สงสัยต่อไปคนไทยคงต้องไปของานเขมรทำ

งานนี้ขำไม่ออก อ่ะ

 
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #1 เมื่อ: 08-08-2007, 17:30 »

ต้องโทษเผด็จการครับ

ใช่มะคับเท้าหมา
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #2 เมื่อ: 08-08-2007, 17:57 »

ค่าแรงต่ำ เป็นปัจจัยเดียวที่เหลืออยู่ ของระบบทุนนิยมสามานย์ การกดขี่แรงงาน จ่ายค่าจ้างต่ำ โดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของแรงงาน เป็นอาชญากรรม

แต่กลุ่มประเทศนายทุนและตัวนายทุนทั้งหลาย ทำเมินเฉยกับอาชญากรรมนี้

รัฐบาลประเทศด้อยพัฒนา รัฐบาลเผด็จการ จึงกดขี่แรงงาน กดค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพลเมืองตนเอง เพื่อรายได้จากเศษเงินของกิจการอุตสาหกรรม

ประเทศใดที่พัฒนาแล้ว ค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานจะสูง เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน

ประเทศที่มีค่าแรงงานถูก ที่จะแย่งงานอุตสหกรรมนรกไปจากเมืองไทย ยังมีอีกมาก พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนิเซีย จีน ประเทศในยุโรปตะวันออก ประเทศเกิดใหม่ที่แตกจาสหภาพโซเวียตในเอเซีย ประเทศในทวีปแอฟริกา  แรงงานในประเทศเหล่านี้ ยินดีรับค่าแรงเพียงเพื่อนำไปแลกอาหารมาประทังชีวิต กินเศษอาหารของประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้ชืวิตอยู่ในสังคมที่เสื่อมโทรม อยู๋เหมือนสัตว์แรงงาน ไม่ต่างอะไรกับวัวควายที่เขาเลี้ยงไว้ไถนา  ไม่มีอนาคตทั้งของตนเองและครอบครัว และในที่สุด ก็ไม่มีอนาคตแม้แต่ของประเทศตนเอง

สังคมไทยที่เสื่อมโทรมในทุกวันนี้ คือพิษร้ายของระบบทุนนิยมสามานย์ที่ทิ้งไว้ให้ มันทำลายกระทั่งวิถีชีวิตที่ถูกต้อง ทิ้งไว้ซึ่งมนุษย์ที่ไร้หนทาง ไร้สติปัญญาความคิด ไร้อนาคต

โสเภณี ขโมย โจร ยาเสพติด ความชั่วร้ายทั้งมวลที่มากับทุนนิยมสามานย์ กำลังไหลเข้าสู่กัมพูชา น่าสงสารค่ะ 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 09-08-2007, 21:09 »

มองในแง่ดีก็คือดีแล้วที่ชาวเขมรมีงานทำนะครับ จะได้ไม่ลักลอบเข้าเมืองมาทำงานในไทย
ทุกว้นนี้ประเทศเราก็มีปัญหาแรงงานต่างชาติหลบหนีเข้าเมือง และส่วนหนึ่งเป็นเขมรมุสลิม
ที่ 3 ปีมานี้หายไปทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วกว่า 2 หมื่นคน

มองในแง่ยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค ไทยเราสามารถใช้เขมรเป็นฐานการผลิตสินค้าได้นะครับ
โดยจ้างเขมรผลิต และนำมาจำหน่ายผ่าน Brand ของเราเอง การตัดเย็บเสื้อผ้าก็ต้องนับว่า
เป็นสินค้าขั้นสุดท้ายของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งประกอบไปด้วย

- อุตสาหกรรมปั่นด้าย
- อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์
- อุตสาหกรรมถักผ้าและทอผ้า <- แรงงานสิ่งทอไทยกว่า 10% อยู่ในส่วนนี้
- อุตสาหกรรมฟอกย้อม
- อุตสาหกรรมการพิมพ์
- อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป <- แรงงานสิ่งทอไทยกว่า 80% อยู่ในส่วนนี้

ปัญหาของไทยเราก็คือถ้าตลาดแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอล่มสลายหรือหดตัวลง
เราจะให้แรงงานในกลุ่มนี้ที่มีถึงประมาณ 1 ล้านคนไปอยู่ตรงไหน (จากเดิมที่ทำกสิกรรม)

---

ความจริงปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย นอกจากเรื่องค่าเงินบาทแล้วก็คือประเทศจีน
การเข้าร่วม WTO ของจีนตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ปี 2544 เป็นตัวเร่งสำคัญที่กระทบประเทศ
ผู้นำอุตสาหกรรมสิ่งทอทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้

จีนนำเข้าเทคโนโลยีกลางน้ำและปลายน้ำระดับสูงสุดของโลก มีการลงทุนติดตั้งเครื่องทอผ้า
แบบ Water Jet  เพิ่มจากประมาณ 9 พันเครื่องในปี 1991 เป็นกว่า 7 หมื่นเครื่องในปี 2001
แซงหน้าไต้หวันตั้งแต่ปี 1995 และแซงหน้าเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 1998  ขณะที่ไทยเรามีจำนวน
เครื่อง Water Jet คงที่ประมาณ 5 พันเครื่องมาตั้งแต่ปี 93 โดยแทบไม่มีการลงทุนเพิ่ม

จีนยังมีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเป็นข้อได้เปรียบสำคัญ ทำให้ปัจจุบันจีนกลายเป็นประเทศ
อุตสาหกรรมสิ่งทอที่แข็งแกร่งและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

ดังนั้นนอกจากเขมรแล้ว ยังมีจีนที่น่ากลัวที่สุด และยังมีอินเดีย และอินโดนีเซีย ที่โดดเข้ามาเล่น
ในตลาดแรงงานราคาถูกด้วย  ที่น่าจับตามองอีกประเทศคือเวียดนามที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยี
ร่วมด้วยนอกจากอาศัยแรงงานราคาถูกอย่างเดียว

ขณะที่ค่าแรงงานไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราเงินเฟ้อที่แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายาม
ควบคุมผ่านนโยบายดอกเบี้ยแต่ค่าครองชีพก็ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ  ยิ่งเงินบาทแข็งยิ่งใช้ดอกเบี้ยคุม
เงินเฟ้อไม่ได้ .. ในอนาคตค่าจ้างแรงงานของไทยจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

---

ถ้าศึกษาตัวอย่างการปรับตัวของญี่ปุ่นจะพบว่ามีการเพิ่มสัดส่วนของระบบเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้
ทดแทนแรงงานคน และในส่วนของแรงงานคนก็เพิ่มสัดส่วนของแรงงานต่างชาติ  พร้อมกับการ
เร่งสร้าง Brand ของตัวเองให้แข็งแกร่งเพื่อยกระดับราคา

อีกด้านหนึ่งก็เร่งวิจัยพัฒนาไลน์สินค้าใหม่ๆ ที่ใช้วัสดุเส้นใยล้ำยุคมีการแตกไลน์สินค้าออกไป
นอกเหนือจากการผลิตเพื่อตัดเย็บเสื้อผ้า เช่นวัสดุก่อสร้างและตกแต่งภายในจากสิ่งทอทนไฟ
และกันความร้อน  ไปจนถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น ผิวหนังเทียม เส้นผมเทียม และสินค้า
เกี่ยวเนื่องกับเครื่องสำอาง เช่น บรรจุภัณฑ์จากสิ่งทอราคาแพงที่ทั้งเรืองแสงและเปลี่ยนสีได้ 
มีการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต  ตลอดไปจนถึงการผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมสิ่งทอ
รุ่นใหม่ๆ เพื่อส่งออกจำหน่ายยังประเทศอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ

ขณะเดียวกันเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในญี่ปุ่นคือการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีวัตถุดิบ
และเทคโนโลยีการผลิตที่ในยุคก่อนเคยเป็นความลับของแต่ละกิจการ โดยมีการร่วมมือกันเป็น
พันธมิตรธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีล่าสุดให้ได้โดยเร็วที่สุด

---

หากสิ่งทอไทยต้องการเอาตัวรอด ต้องสร้าง Brand สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ฉีกแนวให้แตกต่าง
ออกไปจากผลิตภัณฑ์ของประเทศจีนและกลุ่มประเทศคู่แข่งโดยมุ่งเน้นตอบสนองตลาดในด้าน
ความสวยงาม (แฟชั่น) และให้ความสะดวกให้ความสุขสบาย (ฟังชั่น) นอกเหนือจากเป็นเพียง
สิ่งห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว และปรับสายการผลิตตามกระแสไปใช้แรงงานต่างชาติมากขึ้นหรือ
ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน โอกาสอีกอย่างหนึ่งในช่วงบาทแข็งก็คือถ้าต้องการลงทุน
ใช้เครื่องจักรในการผลิตแทนแรงงานคนมากขึ้นช่วงนี้เป็นช่วงที่น่าลงทุนนำเข้าเครื่องจักร

ถ้าจะเล่นในตลาดทุนนิยมก็ต้องพร้อมรับกับสภาพ "แพ้คัดออก" แบบนี้แหละครับ ซึ่งเชื่อว่าจากนี้
คงมีกิจการที่พ่ายแพ้ถูกคัดออกอีกไม่น้อย เพราะมีจำนวนมากอาศัยค่าเงินบาทอ่อนเป็นจุดแข็งหลัก
ตอนนี้ที่น่าห่วงอีกอย่างคือตลาดสิ่งทอภายในประเทศ ที่ถูกสิ่งทอต่างประเทศเข้ามาถล่มราคาอยู่
เพราะกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าสิ่งทอไทยก็ขายอยู่ในประเทศไทยเรานี้เอง ถ้าตลาดภายในถูกยึดไป
จะมีคนงานต้องตกงานกันอีกมหาศาล

และปัญหาของไทยที่สำคัญที่สุดอาจเป็นที่ภาคเกษตรเราไม่พร้อมรับคนกลับจากภาคอุตสาหกรรม
เพราะที่ผ่านมาพัฒนามุ่งหน้าไปอย่างเดียวโดยไม่เตรียมทางถอยเอาไว้ให้ดีน่ะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #4 เมื่อ: 10-08-2007, 08:14 »

    ร.ง.อุตสาหกรรม  หลายแห่งทะยอยปิดตัว  อย่างน้อย ๆ ก็จะมีคนงาน ตกงานมากขึ้น

ก็หวังว่า จะได้เงินชดเชย แล้วเอาไปเป็นทุน สร้างอาชีพที่มั่นคง ต่อไป


บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
หน้า: [1]
    กระโดดไป: