ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 04:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "ตัวแทนเชิด"พรรคประชาชน และผลประชามติ"รับ"/"ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550... 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"ตัวแทนเชิด"พรรคประชาชน และผลประชามติ"รับ"/"ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550...  (อ่าน 856 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 04-08-2007, 14:52 »

สิบเดือนของการต่อต้านรัฐประหาร และ ประเมินสถานการณ์อนาคตระยะใกล้


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

1. สิบเดือนของการต่อต้านรัฐประหาร


ผมคิดว่า เราสามารถแบ่งการต่อต้านรัฐประหารใน 10 เดือนที่ผ่านมาออกได้เป็น 2 ระยะ("เฝส")ใหญ่ๆคือ จากรัฐประหารถึงประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม และ จากเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นต้นมา

ระยะแรก : จากรัฐประหาร ถึง เมษายน-พฤษภาคม 2550

ช่วงแรก การรัฐประหารออกมาในรูปของกลุ่มย่อยๆ 3 กลุ่ม คือ เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร ที่เกิดจากการรวมตัวของ เอ็นจีโอและนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง, กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ที่เกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจและแอ๊กติวิสต์ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนหนึ่ง, และกลุ่มพิราบขาว 2006 (กลุ่มคุณประจิณ พยายามก่อรูปการต้านรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ) ช่วงแรกๆที่เริ่มมีการจัดชุมนุมที่สนามหลวง ประมาณเดือนธันวาคม มีสภาพการตั้งเวทีแยกกันกลุ่มละวัน คือ วันศุกร์เป็นกลุ่มพิราบขาว 2006, วันเสาร์ กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ และวันอาทิตย์ เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

ลักษณะต่างกันที่ชัดเจนที่สุดคือ เรื่องทักษิณ เครือข่าย 19 กันยา มีลักษณะไม่เชียร์ ขณะที่อีก 2 กลุ่มมีลักษณะเชียร์อย่างชัดเจน

ขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มที่มีลักษณะ hi-profile แต่ไม่ถึงกับเป็นกลุ่มก้อนนัก คือ กลุ่มหมอเหวง-ครูประทีป และกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 40 (จรัล) ทำการเคลื่อนไหวในลักษณะจัดอภิปราย-สัมมนา

เดือนกุมภาพันธ์ สมบัติ บุญงามอนงค์ แยกตัวจาก เครือข่าย 19 กันยา มาตั้งกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ เคลื่อนไหวเป็นประเด็นเรื่องไม่รับรัฐธรรมนูญ ในลักษณะล่ารายชื่อ จัดชุมนุมหน้าสภา หลังตั้งกลุ่มไม่นาน สมบัติก็เริ่มปรากฏตัวบนเวทีคนวันเสาร์

ขณะเดียวกัน เวทีคนวันเสาร์กลายเป็นเวทีที่มีผู้ร่วมด้วยมากที่สุด ทั้งยังมีเว็บไซต์ รณรงค์ในลักษณะ มัลติมีเดีย

ผมขอเสนอว่า ระยะแรกของการต้านรัฐประหารนี้ ถึงจุดสูงสุด (peak) ในตอนปลายมีนาคม-ต้นเมษายน ซึ่งหลังจากช่วง peak แล้ว กลุ่มย่อยต้านรัฐประหารเหล่านี้ก็เริ่มมีลักษณะอ่อนกำลังลง ดังนี้

เริ่มจาก พิราบขาว 2006 ประกาศจัดชุมนุมยืดเยื้อทุกวันตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่สามารถระดมคนเข้าร่วมได้จริงๆ และถูก กทม.รื้อเวทีไป

แต่ที่สำคัญคือ ส่งที่เกิดขึ้นกับ เครือข่าย 19 กันยา และ คนวันเสาร์ตามลำดับ

เครือข่าย 19 กันยา หลังจากสมบัติแยกตัวไปแล้ว ก็อ่อนกำลังลงระดับหนึ่ง แต่ก็ยังจัดชุมนุมหรืออภิปรายทุกวันอาทิตย์อยู่ จุด peak ของกิจกรรมของกลุ่มคือ จัดเดินขบวนไปบ้านเปรมวันที่ 18 มีนาคม โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอื่นๆ (คนวันเสาร์, พลเมืองภิวัฒน์, หมอเหวง) แม้จะไม่เต็มที่นัก เพราะไม่แน่ใจในยุทธวิธีดังกล่าว

แต่ในช่วงกิจกรรมเดินขบวนนี้เอง ภายในกลุ่มที่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับท่าทีต่อทักษิณ ก็เริ่มขัดแย้งกันภายในเด่นชัด จนทำให้เกิดการชะงักงัน ไม่สามารถจัดกิจกรรมในนามกลุ่มได้เป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น มีการตัดสินใจยุบกลุ่ม แล้วเปลี่ยนใจไม่ยุบ มีการแยกตัวระหว่างคนที่เห็นว่าควรร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ (ซึ่งเชียร์ทักษิณ) ให้มากขึ้น กับคนที่ไม่เห็นด้วย

พูดง่ายๆคือ หลังการเดินขบวนไปบ้านเปรม เครือข่าย 19 กันยา ก็อ่อนกำลัง หรือหมดบทบาทชั่วคราว (มีการเดินขบวนไปผูกผ้าดำอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปลายเดือนเมษายน)

ขณะเดียวกัน คนวันเสาร์ ที่มีทั้งทุนดำเนินการจัดชุมนุมและทำเว็บไซต์มัลติมีเดีย มากที่สุด ก็ถึงจุด peak เช่นกันในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน นั่นคือ กลุ่มได้ประกาศ "วันดีเดย์" เริ่มจากประกาศระดมทุนด้วยยุทธวิธี "ทอดผ้าป่า" และจะจัดชุมนุม "7 วัน 7 คืน" ในช่วงสงกรานต์ ขณะเดียวกัน ก็ประกาศล่าลายชื่อเพื่อถวายฎีกาให้ปลดเปรมด้วย

เมื่อถึงเวลานั้น นอกจากถูกขัดขวางอย่างหนักจากรัฐ ด้วยการบล็อกเว็บไซต์จนเว็บไซต์ที่เคยคึกคัก (โดยเฉพาะในรูปคลังมัลติมีเดีย ซึ่งน่าเสียดายที่ พีทีวี ปัจจุบัน ไม่ได้ทำ) จนเกือบไม่สามารถเผยแพร่ได้ ปิดกั้นการชุมนุมที่สนามหลวง แต่ที่สำคัญ การระดมทุนและคนสำหรับการชุมนุม "7 วัน 7 คืน" ไม่ได้ผลเต็มที่ ไม่สามารถระดมมวลชนมาร่วมชุมนุมได้มากนัก


ในช่วงที่มีการเดินขบวนไปบ้านเปรมโดยกลุ่ม 19 กันยา ก็เริ่มมีการประสานงาน ร่วมมือกันระดับหนึ่งระหว่างกลุ่มต่างๆ ช่วงจัดชุมนุม 7 วัน 7 คืนช่วงสงกรานต์ ของคนวันเสาร์ ก็เริ่มมีการ "แบ่งวัน" กันรับผิดชอบเวที

การประสานร่วมมือกันนี้ ออกมาเป็นรูปร่างอย่างเป็นทางการในที่สุด ในวันที่ 18 พฤษภา ระหว่างงานรำลึก 17 พฤษภา ที่ธรรมศาสตร์ มีการประกาศตั้ง แนวร่วมประชาชนต่อต้านรัฐประหาร (นป.ตร.) ภายใต้คำขวัญ "คว่ำ ล้ม โค่น" โดยรวมกลุ่มต้านรัฐประหารทั้งหมด (รวมทั้งกลุ่มเหวง และจรัล) เข้าด้วยกัน

แต่การตั้ง นป.ตร. นี้ แท้จริงแล้ว เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์การอ่อนกำลังของกลุ่มต้านรัฐประหารในขณะนั้น คือ เครือข่าย 19 กันยา ขัดแย้งภายใน ชะงักงันทำงานไม่ได้ และ กลุ่มคนวันเสาร์ (ที่เป็นกลุ่มที่แข็งที่สุดมาตลอด) ก็อ่อนแรง ทั้งยังมีปัญหาภายใน เช่น สุชาติ นาคบางไทร เริ่มแยกตัวออกมาเคลื่อนไหวเอง สมาชิกกลุ่มบางคนก็เริ่มต้องกลับไปดูแลธุรกิจ กิจการส่วนตัวของตน หลังจากทิ้งมาเคลื่อนไหว

ในสถานการณ์เช่นนี้ ปลายเดือนพฤษภานั้นเอง กล่มพีทีวี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เริ่มเคลื่อนไหวอย่างแยกต่างหากของตัวเอง และแรกๆ ยังโจมตีรัฐบาลและรัฐประหารอย่างจำกัด (ที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงไม่โจมตีเปรม และพยายามรักษาท่าที "ห่าง" กับการเคลื่อนไหวประเภทล่ารายชื่อปลดเปรม) ก็ได้กระโดดออกมาเคลื่อนไหว ประกาศ "ชน" แบบแตกหัก กับรัฐบาล-คมช. หลังกรณียุบพรรคไทยรักไทย

ระยะที่สอง : จากปลายพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน ถึง ปัจจุบัน


ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน เมื่อพีทีวีมาตั้งเวทีประจำที่สนามหลวง การเคลื่อนไหวต้านรัฐประหารก็ถูก "เทคโอเว่อร์" โดยพีทีวีไปโดยปริยาย หลังพีทีวีเริ่มชุมนุมไม่กี่วัน และประกาศเปลี่ยนตัวเองเป็น "แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" (นปก.) กลุ่มต่างๆที่รวมตัวกันเป็น นป.ตร.ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่สัปดาห์ ก็เข้ามาร่วมด้วย และ นป.ตร. ก็สลายตัวไปโดยปริยาย ความจริง คือ กลุ่มคนวันเสาร์ (ที่มีกำลังมากที่สุดใน นป.ตร.) ก็แยกสลายตัวลงเป็นส่วนใหญ่ เครือข่าย 19 กันยา มีปัญหาภายใน และเมื่อมีการรวบรวมกลุ่มขึ้นใหม่ ผุ้ที่อยู่ในกลุ่มที่รวบรวมใหม่ ก็มีท่าทีปฏิเสธ นปก.

พีทีวี หรือในชื่อ นป.ตร. ที่มีอดีตคนระดับ hi-pofile ของ นป.ตร.เดิม (วิภูแถลง, เหวง, ประทีป) ร่วมด้วย แรกทีเดียวก็เหมือนกับว่าจะระดมมวลชนได้อย่างมหาศาล เพราะใช้กลไกของไทยรักไทยเก่าในการระดม (สก., สข. หัวคะแนนใน กทม.และในต่างจังหวัด) แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ การระดมนั้น ก็ไม่สามารถทำได้ในระดับที่คาดแต่แรก (ตอนแรก พีทีวีคาด - บอก "แนวร่วม" ที่มาร่วม - ว่า จะระดมคนได้เป็น "แสนๆ") และจังหวะก้าวเรื่อง "ทักษิณพูดสด" (ความจริงคือเทป) และ "เทปลับจักรภพ" ไม่สามารถก่อเป็นกระแสได้มากนัก เมื่อถึงวันที่ 24 มิถุนาที่เคยคิดจะเป็น "ดีเดย์" กำลังของ พีทีวี-นปก.จริงๆก็ผ่านช่วงสูงสุด (peak) ไปแล้ว (วันที่ 23-24 มิถุนายน มีคนเข้าร่วมน้อยกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นเสียอีก)


เป็น irony เล็กน้อย ที่กลุ่มที่ยัง "เหนียวแน่น" เป็นกลุ่มเป็นก้อนมากที่สุดในบรรดาพวก นป.ตร.เดิม กลับเป็น พลเมืองภิวัฒน์ แต่กลุ่มนี้กลับไม่ได้รับการชูให้เป็นหนึ่งใน "แกนนำ" ของ นปก. (มีการเสนอ แต่ไม่ได้รับการเห็นชอบ) และที่เป็น irony กว่านั้นคือ ประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่กลุ่มนี้ชูเป็นประเด็นเคลื่อนไหวอย่างจริงจังก่อนใครมาหลายเดือน มีการล่ารายชื่อไม่รับรัฐธรรมนูญตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ก็ไม่ถึงกับ "เป็นข่าว" มากมายนักมาโดยตลอด เมื่อถึงปลายมิถุนายน เกือบจะโดยฉับพลัน ก็กลายเป็นประเด็นหลักของการเคลื่อนไหวของทุกกลุ่มขึ้นมา!

ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อ พีทีวี-นปก.ไม่สามารถระดมมวลชนได้จริงเมื่อถึงวันที่ 24 มิถุนา ก็เปลี่ยนประเด็นจาก "ชน" หรือ "คว่ำ" คมช.ให้ได้ทันที เป็นเรียกร้องให้ประชาชนไปลงประชามติไม่รับรัฐธรรมนูญแทน

ขณะเดียวกัน กลุ่มเครือข่าย 19 กันยา ที่รวมตัวขึ้นใหม่ สามารถระดมทุนสนับสนุน และดึงเอานักวิชาการกลุ่มนิธิ-เกษียร ที่ก่อนหน้านี้ (พฤษภาคม) "เปิดตัว" ออกมาเรียกร้องให้ ไม่รับรัฐธรรมนูญ ภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียดระหว่างฝ่าย คมช.กับฝ่ายต่อต้าน (ที่ตอนนั้นยังเป็น นป.ตร. และ พีทีวี แยกกัน) ในฐานะเป็น "ทางเลือกที่ 3" ระหว่าง 2 ฝ่าย (คมช. กับ ต่อต้าน คมช. ที่พวกเขาเห็นว่าเป็นพวก "เชียร์ทักษิณ") เครือข่าย 19 กันยา "เฝสใหม่" ร่วมกับนักวิชาการเหล่านี้ สามารถลงโฆษณาเรียกร้องไม่รับรัฐธรรมนุญทาง นสพ.รายวัน มติชน ได้ ทำให้กลายเป็น ข่าวใหญ่ ขึ้นมา

ณ จุดนี้ ทุกกลุ่มที่ต่อต้าน คมช. ที่เริ่มต้นจากจุดยืนและความเป็นมาที่ไม่ตรงกัน จึงมารวมศูนย์อยู่ที่ประเด็นเดียวที่ตรงกัน คือ รณรงค์ให้ไปลงประชามติ "ไม่รับรัฐธรรมนูญ"

ที่ควรเป็นข้อสังเกตสำคัญในทีนี้คือ การรณรงค์ให้ "ไม่รับรัฐธรรมนูญ" นี้ หาได้เป็นผลมาจากยุทธศาสตร์ทีคิด-อภิปราย-วางแผนล่วงหน้าเป็นอย่างดีมาก่อน (well-thought out, well-discussed, well-planned, strategy) แต่ประการใด หากเป็นผลจากสถานการณ์หลากหลายที่กล่าวมาข้างต้น (ซึ่งรวมทั้งการล้มเหลวในยุทธศาสตร์แบบอื่น และ การเริ่มต้นแบบ "2 ไม่เอา" ของนักวิชาการ เป็นต้น) แม้แต่กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ ที่เคลื่อนไหวเรื่อง Say No รัฐธรรมนูญมาก่อนใคร เดิมก็เป็นเพียงการล่ารายชื่อ เพื่อโฆษณาเท่านั้น

ลักษณะที่แสดงออกของการไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่วางแผน-อภิปรายมาอย่างดีคือ "รายละเอียด" ของเรื่องลงประชามตินี้ ไม่เคยมีการอภิปรายถกเถียงอย่างจริงจัง เช่น ประเด็นว่า ควรรณรงค์ให้ไปไม่ลงประชามติหรือไม่? ควรมีการ "อารยขัดขืน" เรื่องการลงมติหรือไม่ (ฉีก-เผาบัตร)? การที่บัตรลงประชามติ ไม่มีช่องให้กาว่า "ไม่ออกเสียง" ควรเป็นข้อเรียกร้องหรือไม่? และที่สำคัญ หากผลประชามติ ส่วนใหญ่ออกมาว่า "รับ" จะทำอย่างไร? ควรให้การศึกษาแก่ประชาชนล่วงหน้าหรือไม่ ("แม้ผลจะออกมาว่า รับ เราก็จะไม่ยอมรับประชามตินี้ เนื่องจากเป็นประชามติจอมปลอม")? เป็นต้น

ในความเห็นส่วนตัว ผมเห็นว่า (ก) ควรมีการอภิปราย, นำเสนอต่อประชาชน ถึง "ทางเลือก" เกี่ยวกับประชามติมากกว่านี้ (ข) หากยืนยันจะเพียง "ไปกาไม่รับ" ควรต้องมีการรณรงค์วิพากษ์กระบวนการประชามติเอง ให้มากกว่านี้ ควรต้องปฏิเสธล่วงหน้า ถึงผลที่ออกมาว่า หาก "รับ" ก็เพียงเพราะ การลงประชามติเป็นเรื่อง จอมปลอม-แบล็กเมล์ประชาชนเท่านั้น ผมเห็นว่า ทีมา "ลงเอย" รณรงค์แบบเดียว ("ไปกาไม่รับ") แบบนี้ มีลักษณะ "แอ๊กซิเดนท์" มากกว่าเหตุอื่น ยกตัวอย่าง บางกลุ่ม เช่น อพช.(จอน) ที่มาเสนอให้ "ไม่รับ" ตอนนี้ เดิมทีเดียว ก็ไม่ได้ปฏิเสธ กระบวนการร่างทั้งหมด ขณะที่ กลุ่มที่ปฏิเสธกระบวนการทั้งหมดแต่ต้นอย่าง เครือข่าย 19 กันยา หรือ พลเมืองภิวัฒน์ ก็ไม่เคยมีการเสนอปัญหาว่า ปฏิเสธทั้งหมดอย่างไร (หมายถึง เครือข่าย 19 กันยา "เฝสแรก" ส่วน "เฝสหลัง" ผมรู้สึกว่าที่มาลงเอยแบบนี้เพียงแต่เป็นการหันไปยอมรับแนวทางของกลุ่มนิธิ-เกษียร, กลุ่มนิธิ-เกษียร เอง ตอนแรกเสนอเรื่อง "ไม่รับ" ก็ในฐานะเป็น "ทางเลือกที่ 3" ที่ดีสเครดิตกลุ่มที่ต่อต้านรัฐประหารอยู่ขณะนั้น ส่วนกลุ่มอย่าง คนวันเสาร์ หรือ พีทีวี (พวกที่เชียร์ทักษิณโดยทั่วไป) เดิมก็คาดว่า จะล้ม คมช.ได้ด้วยวิธีอื่น แต่ที่มาลงเอยเรื่อง "กาไม่รับ" เป็นเพราะวิธีอื่นไม่ได้ผล (ค) อย่างไรก็ตาม ผมจะยุติการพูดเรื่องนี้ เพราะไม่ต้องการขวาง "ฉันทามติ" ของกลุ่มที่ต่อต้านรัฐประหาร



มองอย่างสรุป 10 เดือนของการต่อต้านรัฐประหาร สะท้อนให้เห็นว่า

(1) ประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารจริงๆ มีน้อย ที่สำคัญในกรุงเทพ และเมืองศูนย์กลางใหญ่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เรียกว่า "คนชั้นกลาง" และในวงการสำคัญ 2 วงการ ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง "สาธารณะคติ" (public opinion) คือ หนังสือพิมพ์ และ นักวิชาการปัญญาชนมหาวิทยาลัย-เอ็นจีโอ (ดูบทบาทของคนเหล่านี้ในการสร้างกระแสแอนตี้ทักษิณเมื่อปีกลาย และในการเป็น "บริกร" ให้ คมช.หลังรัฐประหารถึงปัจจุบัน)

(2) ปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่ง ของข้อ (1) คือ ความกลัว-ไม่ต้องการ-ปฏิเสธ ทักษิณ และการ เหมารวมว่า การต่อต้านรัฐประหารเป็นเรื่องของพวกทักษิณ ("กลุ่มอำนาจเก่า")

(3) ส่วนที่ต่อต้านรัฐประหารอย่างมีพลังและประสิทธิภาพที่สุด จึงเหลือเพียงพวกทักษิณ ตั้งแต่แอ๊กติวิสต์ที่เชียร์ทักษิณ (เช่น คนวันเสาร์) ไปถึงอดีตนักการเมืองไทยรักไทย (พีทีวี) และมวลชนทีสนับสนุนไทยรักไทยอย่างใกล้ชิด (หัวคะแนน, ฐานเสียงในหมู่แท็กซี่เป็นต้น) แต่ความล้มเหลวในการระดมมวลชนอย่างขนานใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับ ชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งของไทยรักไทย พิสูจน์ว่า การนำของกลุ่มนี้เป็นการนำโดยผ่านการเลือกตั้ง มากกว่าการจัดตั้งเป็นพลังการเมืองที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง


2. ประเมินสถานการณ์อนาคตระยะใกล้


ผมขอเสนอเพียง 2 ประเด็น คือ ทักษิณ กับ การลงประชามติ


ทักษิณ

ผมคิดว่า ทักษิณจะเป็นผู้นำคนแรกหลังถนอม-ประภาส ที่ถูกบีบให้อยู่นอกประเทศในระยะค่อนข้างนาน

ประเพณีการต่อสู้ในหมู่ชนชั้นนำของไทย ตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา ที่สำคัญคือ ผู้แพ้ถูกบีบหรือความจริงคือปล่อยให้ออกนอกประเทศ (ตั้งแต่สมัย คณะราษฎร ให้ กรมพระนครสวรรค์ ออกไปชวา มาถึงสมัย จอมพล ป. และ ถนอม-ประภาส) ทั้งนี้ เพราะด้านหนึ่ง พวกผู้ชนะไม่เข้มแข็งพอที่จะเล่นงานทางกฎหมายต่อผู้แพ้ และอีกด้านหนึ่ง ผู้แพ้ก็มีศักยภาพมากพอที่จะช่วงชิงอำนาจคืน เกินกว่าจะปล่อยให้อยู่ในประเทศต่อได้

แต่ก็มีข้อยกเว้น คือ หากเห็นได้ชัดว่า ผู้แพ้ไม่มีศักยภาพที่จะช่วงชิงอำนาจคืน (เช่น กรณีเสนีย์ สมัย 6 ตุลา และ ชาติชาย สมัย รสช.) ก็ปล่อยให้อยู่ในประเทศต่อไปได้ หรือมิฉะนั้น ผู้แพ้หนีไปเอง ไม่ใช่ถูกบีบหรือปล่อยไป (เช่น ปรีดีในสมัยก่อน หรือ สันต์ จิตรปฏิมา และ มนุญ รูปขจร ซึ่งผู้ชนะความจริงเข้มแข็งพอจะเล่นงานผู้แพ้ทางกฎหมายได้) หรือกรณีแก้แค้นทันที (กรณีฉลาด หิรัญศิริ ที่ฆ่า อรุณ ทวาทศิน ระหว่างยึดอำนาจ 26 มีนา เลยถูกประหารชีวิตหลังแพ้)

ผมคิดว่า ทักษิณจะเป็นผู้นำคนแรกหลัง ถนอม-ประภาส ที่จะถูกบีบให้อยู่นอกประเทศเป็นเวลาหลายปี (3-4 ปี เป็นอย่างต่ำ)


การลงประชามติ

โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า การลงประชามติครั้งนี้ ผลจะออกมาว่า เสียงข้างมาก "รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ เหตุที่เชื่อเช่นนี้ ก็ดังเช่นที่บทนำไทยรัฐเขียนไว้เมื่อไม่กี่วันก่อน คือ คนจำนวนมากต้องการ "กลับสู่ภาวะปกติ" ไม่นับความสามารถของกลไกรัฐในการระดมมวลชน และการระดมมวลชนช่วยเหลือของพรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย ในทางตรงกันข้าม กำลังของไทยรักไทยเดิม ในขณะนี้ อ่อนลงมาก (นอกจากที่แตกออกไปเป็นมัชฌิมา หรือ เสนาะ) ไม่น่าจะสามารถระดมคนมา "ไม่รับ" ได้มากจริง (ผมคิดว่า หากมีสถานการณ์ที่ คมช.จะแพ้ประชามติอย่างซีเรียสจริงๆ เราคงได้เห็นเหตุการณ์อย่างปลายเดือนพฤษภาคม ก่อนการประกาศยุบไทยรักไทยแน่ หลายคนอาจจะลืมว่า รัฐธรรมนูญ รสช. ผ่านพ้นวิกฤติการต่อต้านในปลายปี 2534 ได้ ก็ด้วยการช่วย "เกื้อหนุน" ของ "พลัง" สำคัญของแผ่นดิน - ประเทศ ไม่น้อย)


แต่หากเกิด "ฟลุ้ก" (ผมยืมคำนี้จากเพื่อนคนหนึ่ง) มติออกมาว่า "ไม่รับ" มากกว่า (นี่ต้องเป็นการ "ฟลุ้ก" อย่างขนานใหญ่มาก) ก็นับว่าดี แต่ผมไม่คิดว่า สิ่งที่ตามมาจะเป็นอย่างที่หลายคนที่กำลังรณรงค์ในตอนนี้คิดกัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผมคิดว่า คมช.ก็คงเอารัฐธรรมนูญฉบับอื่นกลับมาใช้ อาจจะเป็นรัฐธรรมนูญ 40 ด้วยซ้ำ แต่แก้ไขใหม่ให้รักษาผลประโยชน์ และให้มีหลักประกันแก่ความปลอยภัย และการครองอำนาจ หรือครอบงำทางการเมืองของพวกเขาต่อไป

ที่ผมไม่คิดว่า การ "ไม่รับ" รัฐธรรมนูญ หาก "ฟลุ้ก" สำเร็จ จะนำไปสู่การโค่นอำนาจของ คมช.ได้ ก็เพราะผมคิดว่าการโค่นอำนาจ คมช.ได้ จะต้องอาศัย 2 ปัจจัย (นี่เป็น 2 ปัจจัยที่ผมเสนอตั้งแต่ช่วงแรกของการต่อต้านรัฐประหารว่า ขาดไม่ได้) คือ

(1) การระดมมวลชนจำนวนมหาศาล ถึงขั้นที่สามารถกดดัน คมช.อย่างขนานใหญ่ได้ ("เป็นแสนๆ") บวกกำลังส่วนใหญ่หรือส่วนสำคัญของ "คนชั้นกลาง" โดยเฉพาะในวงการสื่อมวลชน (คล้ายกับช่วงก่อน รัฐประหาร ที่สมาคม นสพ.ต่างๆออกมาเรียกร้องให้ทักษิณออก)

เป็นความจริงที่ว่า การระดมมวลชนให้ไปกา "ไม่รับ" ได้ ก็ถือเป็นความสำเร็จในการระดมมวลชน "จำนวนมหาศาล" ได้ แต่กรณีพีทีวี ที่ผ่านมา พิสูจน์ว่า การระดมคนไปลงบัตร กับการระดมคนออกมาบนท้องถนน เป็นคนละเรื่อง

(2) ความขัดแย้งถึงจุดแตกหัก ภายในกลุ่มปกครองปัจจุบัน ทั้งภายในทหาร และ/หรือ ระหว่างทหาร กับ .....


ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ ผมไม่คิดว่า จะมีอยู่ หรือเกิดขึ้น จากการลงประชามติ "ไม่รับ"

19 กรกฎาคม 2550

ที่มา : http://www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=346667



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #1 เมื่อ: 04-08-2007, 14:53 »

 
ผ่านหรือไม่อยู่ที่ตัวช่วย

[19 ก.ค. 50 - 05:55]
 
เล่นเอาว้าเหว่ไปตามๆกัน กับผลโพลประชาชนร้อยละ 82 ยังไม่ทราบจะลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญวันไหน และก็คงไม่ต้องหวังลึกไปถึงเนื้อหาในรัฐธรรมนูญใหม่

เอาเป็นว่า 18 เปอร์เซ็นต์ที่รู้วันลงประชามติ ก็ใช่ว่าจะใส่ใจกับรายละเอียด

พูดก็พูดเถอะ นอกจากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 35 คน และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 100 คน แล้ว

จะมีคนไทยอีกสักกี่คนที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญ อ่านผ่านตาทั้ง 309 มาตรา

ที่ผ่านมารับหรือไม่รับ

มันก็วนเวียนป้วนเปี้ยนอยู่กับออปชั่นที่ฝ่ายถืออำนาจเปิดเกมต่อรองประชาชน ยื้อกับแนวร่วมคว่ำรัฐธรรมนูญ

หากไม่รับก็ยังไม่รู้จะเจออะไรที่ซ่อนอยู่ข้างหลัง คมช.

แต่ถ้าคนไทยช่วยกันกาช่องรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งในวันที่ 16 หรือ 23 ธันวาคม ปลายปี

ตัวช่วยมันอยู่ตรงนี้

และไอ้ที่ประกาศเจตนารมณ์ชัด เครือข่ายไทยรักไทยพากันสวมเสื้อ “We vote no” เคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญกันอึกทึก

โดยภาพภายนอกก็ดูคึกคัก มีการเปิดแผนดาวกระจายเคลื่อนม็อบรณรงค์คว่ำรัฐธรรมนูญไปตามหัวเมืองใหญ่พรึบพรับ

แต่เท่าที่รู้ลึกๆ ตอนนี้ข้างในยังเถียงกันไม่จบเลย

ภายใต้เงื่อนไขที่พะอืดพะอม

ฝ่ายที่อ่านเกมข้ามช็อต หวั่นๆใจว่า หากเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ออกมาต่ำกว่า 2 ล้านเสียง นั่นคือไทยรักไทยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ โดยกระแสมีหวังลามไปกระทบต้นทุน 19 ล้านเสียง ที่เคยเทให้อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร

หน้าแหกเสียฟอร์มกันไปใหญ่

แทนที่จะครองกระแสนามธรรมไว้เป็นกำแพงให้พิงหลังสู้ มันจะทลายไปหมดเลย

ยากที่จะปั่นขึ้น หมดลุ้นโอกาสฟื้นกลับมาใหม่

กลายเป็นเหยื่อตายหมู่ สังเวยรายการ “ห้อยจัดให้” สะใจทีมงานฮาร์ดคอร์ที่เล่นบทบู๊เพื่อนายใหญ่จนหยาดสุดท้าย

คงเหลือแต่นายเนวิน ชิดชอบ ที่จะอยู่ในความประทับใจ “ทักษิณ” ไปตลอดกาล

ปิดตำนานกันโดยสิ้นเชิง

นี่ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านประชามติ ไทยรักไทยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

หรือในทางตรงข้าม หากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านประชา-มติจริงๆ แล้ว คมช.ไปหยิบเอารัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้ ภายใต้ เงื่อนไขสังกัดพรรคไม่ต่ำกว่า 90 วัน ที่ล็อกคาไว้ เครือข่ายไทย- รักไทยที่ยังวุ่นหาบ้านใหม่สังกัดไม่ได้

มีหวังลงสนามเลือกตั้งไม่ทัน

อันนี้สาหัสยิ่งกว่า

มีหวังโดนฆาตกรรมหมู่แน่

นี่แหละที่แกนนำอย่าง “เจ๊หน่อย” คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เจ้าแม่ เมืองหลวง รวมไปถึงแม่ทัพนายกองไทยรักไทยส่วนใหญ่ประเมินเกมแล้ว

ตัดใจยอมโดนนายใหญ่ด่าฐานใจไม่สู้เหมือน “เนวิน”

โดดหนีทัพ ชิ่งเกมบู๊ของพวกฮาร์ดคอร์ ใส่เกียร์ว่าง ปล่อยให้ รัฐธรรมนูญผ่านประชามติ แล้วคอยโอกาสลงสนามเลือกตั้ง

ยังได้ลุ้นอนาคตมากกว่า

ยิ่งล่าสุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ปลดล็อกประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 เปิดให้จดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่ เดินเครื่องทางการเมืองได้

ทั้งหมดทั้งปวง ด้วยเงื่อนไขที่พะอืดพะอมของเครือข่ายไทยรักไทย ต่อเนื่องมาถึงคำถามที่นักข่าวถามความเป็นห่วงกรณีความเห็นแตกต่างของประชาชนในระดับรากแก้วที่จะทำให้ไม่เกิดรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื่องจากกลุ่มต่อต้าน โดยเฉพาะแกนนำกลุ่มไทยรักไทยมีฐานเสียงอยู่ในพื้นที่ต่างๆเยอะ

ปรากฏ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ตอบสั้นๆ

“ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้”.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน

ไทยรัฐ
 
 

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #2 เมื่อ: 04-08-2007, 14:54 »

ผมขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย...
1. ผมอยากจะรู้รายชื่อ"สมาชิกใหม่"พรรรคพลังประชาชน เป็นใครบ้าง เป็น "เบี้ย" "ม้า" "ขุน" เท่าใด....
    อย่าไปสนใจการเคลื่อนไหวของ "111 ศพ" เกี่ยวกับพรรคประชาชนนั้นเลย เพราะไม่มีผลทางการเมือง
    ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ทำได้แค่ "เย้วว ๆ ๆ"เท่านั้น......
    การเย้ว ๆ ยังจะถูกห้ามจาก เงื่อนไขใหม่ของ กกต. ด้วยซ้ำไป


2. "เด็กในบ้าน" "เด็กในบริษัท" และ"เด็กข้างรั้วบ้าน" ไปอยู่พรรคการเมืองใด...?
    พวกนี้ไปเป็น"สมาชิกใหม่" พรรคการเมืองใด กลุ่มใดมากเป็น"พิเศษ" จึงน่าสนใจ เป็น"ตัวแทนเชิด" ที่ถูกต้องของ"เหลื่ยม ลี สิงกะโปโตก"
    ส่วนพรรคประชาชนหันเหความสนใจ หรือเป็นเพียง"ลูกบอล" ให้ คมช.หรือ กลุ่มต่อต้านเหลี่ยมฯ "เตะ" คลายเครียด คลายอารมณ์เท่านั้น....


3. กลุ่มเคลื่อนไหวต่าง ๆ รวมทั้งม๊อบจลาจลไข่แม้ว II เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ให้คนไทยลืม"คนหน้าเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก"
    และสร้างขวัญ กำลังใจให้"คนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก" เท่านั้น

4. ถ้าคนไทยไปลงมติ"ผ่าน"ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างท่วมท้น
    คนหน้าด้านอย่าง"คนรักเหลี่ยมฯ" จะบอกว่า "มติ"ภายใต้เงื้อมมือ คมช. ไม่เหมือน "16-19 ล้านเสียงภายใต้เงื้อมมือรัฐบาลเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก
    ยังจะประโคมว่า 16-19 ล้านเสียงเป็น"เสียงสวรรค์"ของอดีตพรรคเทียมรักเทียม(ทรท.)อย่างเดิม.....
    แต่คนที่ไม่รักเหลี่ยมฯ แต่ต่อต้าน ขับไล่เหลี่ยมฯ อาจจะรู้สึกผ่อนคลาย และ หายเป็น"งูกลัวเชือกกล้วย"

5. ..........ฯลฯ



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #3 เมื่อ: 04-08-2007, 15:05 »

คุณ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้วิเคราะห์พฤติกรรม การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549....
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหวนคืนอำนาจใหม่ของอดีตเผด็จการจากการเลือกตั้ง ทักษิณ การพยายามเรียกร้อง หาทางให้ทักษิณ กลับมามีอำนาจใหม่ของ"ม๊อบจลาจลไข่แม้ว" และ ความล้มเหลว ไม่สมหวังของการเคลื่อนไหว.....
ทั้งที่คุณสมศักดิ์ อยากให้การต่อต้านรัฐประหารมีประสิทธิภาพ สมใจนั้น คงไม่ทำให้คนรักเหลี่ยมฯ พอใจ และเห็นว่าคุณสมศักดิ์ เจตนาร้ายต่อพวกเขามากกว่า.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: