ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
15-05-2025, 03:09
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ธปท.คลอดแผนอุ้มเอสเอ็มอี ปล่อยกู้คิดดบ.เอ็มแอลอาร์ลบ2.25% 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ธปท.คลอดแผนอุ้มเอสเอ็มอี ปล่อยกู้คิดดบ.เอ็มแอลอาร์ลบ2.25%  (อ่าน 1260 ครั้ง)
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« เมื่อ: 03-08-2007, 17:26 »

ธปท.คลอดแผนอุ้มเอสเอ็มอี ปล่อยกู้คิดดบ.เอ็มแอลอาร์ลบ2.25%
 
3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 15:55:00
 
ธปท.คลอดแผนความช่วยเหลือทางการเงินแก่"เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท คิดดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ลบ 2.25% ส่วนเอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอล คิดดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ บวก 1%มีผลตั้งแต่ วันที่ 3 สิงหาคม 2550

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่าตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 มอบหมายให้ธปท. ร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)พิจารณารายละเอียดการนำเงินฝากที่เป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ไปชำระค่าระวางขนส่งระหว่างประเทศ (International Freight) โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน และให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMES) ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 5,000 ล้านบาท นั้น

ธปท.ได้หารือร่วมกับ กกร. แล้ว เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550 ได้ข้อสรุปคือ

1. การให้จ่ายเงินตราต่างประเทศเป็นค่าระวางขนส่งระหว่างประเทศ (Freight) การนำเงินฝากเงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าระวางขนส่งระหว่างประเทศ ให้กับ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NR) ทำได้อยู่แล้ว โดย บริษัทเรือที่ NR เป็นเจ้าของ สามารถเปิดบัญชี FCD กับธนาคารพาณิชย์ไทย (ธพ. ไทย) และผู้ส่งออก สามารถโอนเงินจากบัญชี FCD ของตนไปชำระ ค่าระวางเรือได้โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน ส่วนบริษัทเรือไทยให้ทำเรื่องขออนุญาต ธปท. เป็นรายกรณี โดยสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ จะทำหนังสือเวียนแจ้งระเบียบดังกล่าว ให้สมาชิกทราบโดยด่วน

2. ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือ SMES ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทได้กำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้

2.1 จัดให้มีวงเงินให้ความช่วยเหลือทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท โดยวงเงิน 4,500 ล้านบาทให้กับผู้ประกอบการ SMES ทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทและ ขาดสภาพคล่อง ส่วนวงเงิน 500 ล้านบาท จะให้แก่ SMES ที่ขาดสภาพคล่อง อย่างรุนแรงและอาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ให้ ธนาคารพาณิชย์

2.2 ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือ 3 ปี

2.3 SMES แต่ละรายจะได้รับความช่วยเหลือไม่เกิน 5 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 5 ล้านบาท ให้ใช้สินเชื่อจาก ธพ. ตามช่องทางปกติ

2.4 ธปท.จะจัดสรรวงเงินให้แต่ละ ธพ.โดยใช้ยอดคงค้างสินเชื่อ SMES ของแต่ละ ธพ. ณ สิ้น ธันวาคม 2549 เป็นเกณฑ์จัดสรรทั้งในส่วนของวงเงิน 4,500 ล้านบาท และ 500 ล้านบาท

2.5 ในส่วนของวงเงิน 4,500 ล้านบาท ธปท. และ ธพ. สมทบเท่ากันในอัตราร้อยละ 50 ของเงินที่ให้ความช่วยเหลือ โดยกำหนดให้ ธพ. เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยจากลูกค้า ไม่เกินอัตราร้อยละ MLR - 2.25 ต่อปี และ ธปท. คิดจาก ธพ. ในส่วนที่เป็นเงิน ของ ธปท. ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี

2.6 สำหรับในส่วนของวงเงิน 500 ล้านบาท ธปท. จะสมทบให้ร้อยละ 90 และ ธพ. สมทบร้อยละ 10 ของเงินที่ให้ความช่วยเหลือ โดย ธปท. คิดดอกเบี้ยจาก ธพ. ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี เช่นเดียวกับวงเงิน 4,500 ล้านบาท ส่วน ธพ. คิดจากลูกค้า ในอัตราไม่เกินร้อยละ MLR+1 ต่อปี เนื่องจากลูกค้าในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงภาวะ หนี้เสียสูง อัตราดอกเบี้ยถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับลูกค้าในกลุ่มนี้ที่ปกติ ธพ. จะคิดดอกเบี้ยในอัตราอย่างน้อยร้อยละ MLR+4 ต่อปี

โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการทั้ง 2 วงเงินข้างต้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 3 สิงหาคม 2550 โดยผู้ประกอบกิจการสามารถติดต่อโดยตรงกับ ธพ. ที่ตนเองใช้บริการอยู่


ขออนุญาติแปะข่าวครับ
เกรงว่าธนาคารจะเบี้ยวผู้ประกอบการแบบแกล้งโง่ตาใสอ่ะ

 
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #1 เมื่อ: 07-08-2007, 18:39 »

ขออัพเดทครับ

คกก.ขับเคลื่อนไฟเขียวเริ่มใช้กองทุนSMEได้ทันที   
   
  โดยทีมข่าว INN News 06 สิงหาคม 2550 20:01:30 น.     
 
ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไฟเขียวเริ่มใช้กองทุน SME ได้ทันที โดยผู้ส่งออกสามารถขอสินเชื่อได้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท

นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน เห็นชอบให้กองทุน SME มีผลบังคับใช้ในทันที โดยผู้ส่งออกที่ขาดสภาพคล่อง สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ผู้ส่งออกมีวงเงินอยู่ และเป็นสมาชิกของสมาคมธนาคารไทยได้ทันที โดยการขอสินเชื่อนั้นจะทำได้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท และคิดอัตราดอกเบี้ยที่ MLR ลบ 2.25

อย่างไรก็ตาม วงเงินของกองทุน SME ที่ 5 พันล้านบาท หากผู้ส่งออกขอสินเชื่อทั้งหมดแล้ว
จะมีการเพิ่มเติมงบประมาณลงไปในกองทุนได้แล้วแต่ความเหมาะสม


สงสัยผู้ประกอบการจะโดนธนาคารเบี้ยวแล้ว กระมัง
จากอีกหนึ่งข่าวครับ


   
 
  สถาบันสิ่งทอวอนแบงก์ปล่อยสินเชื่อต่อลมหายใจโรงงานเสื้อผ้า
 
7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 14:15:00
 
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ วอนธนาคารมั่นใจปล่อยสินเชื่อให้ดำเนินกิจการต่อ ชี้ตัดสินเชื่อต้นตอวิกฤตปิดกิจการเพิ่ม มั่นใจสิ่งทอโตได้ 4-5%ได้อานิสงส์เจเทปป้าหนุน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :  นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ทำให้โรงงานสิ่งทอต้องปิดตัวลงในขณะนี้ เกิดจากสถาบันการเงินไม่เข้าใจและไม่เชื่อมั่นในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น กรณี บริษัท ไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต ที่ต้องปิดกิจการ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ไม่เชื่อมั่นว่า จะสามารถชำระหนี้ได้ จึงขอเรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์ เข้าใจสภาพที่แท้จริงของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เพราะความจริงสิ่งทอไทยมีการปรับตัวมาตลอด เห็นได้จากปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตเป็นมูลค่า 15,000 - 20,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันบางโรงงานยังร่วมกับสถาบันฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้เครื่องหมายมาตรฐานต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้า เช่น ใช้สีย้อมที่ไม่เป็นพิษ ซึ่งเป็นกติกาสากล โดยขณะนี้ผู้ผลิตสิ่งทอไทย 4 รายสามารถทำได้แล้วและได้รับฉลากสิ่งแวดล้อมจากหภาพยุโรป(อียู)

สำหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยปีนี้ยังไปได้ดี โดยการส่งออกสิ่งทอครึ่งปีแรกขยายตัว 2.6 %ตลอดทั้งปี คาดว่ายังเติบโตต่อเนื่องจาก 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549 เป็น 6,900 - 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 4-5% เนื่องจากข้อตกลงเจเทปป้า ทำให้การส่งออกสิ่งทอของไทยไปตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันสิ่งทอไทยส่งออกไปญี่ปุ่นแค่ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คู่แข่งที่สำคัญคือ บังกลาเทศ เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซีย จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการของไทยต้องปรับตัวในการผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่ม

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ด้านตลาดในประเทศได้รับผลกระทบจากสินค้าสิ่งทอราคาถูกจากจีนเข้ามาตีตลาด จึงต้องการให้ภาครัฐหามาตรการชะลอการนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีมาตรการตรวจสอบในเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัย ซึ่งขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการ สำหรับการส่งออกไปตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญที่สุดของไทย ในปี 2549 สหรัฐมีมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากไทยถึง 2,179 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นสิ่งทอมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่านำเข้าถึง 1,858 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าเครื่องนุ่งห่มของไทยเดิมรับจ้างผลิต แต่ปัจจุบันมีการยกเลิกระบบโควตาและผลจากการเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ทำให้ผู้ประกอบการไทยที่เคยรับจ้างผลิต ปรับตัวเป็นผู้ออกแบบและสร้างตราสินค้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์

กลุ่มที่ต้องปรับตัวและเร่งยกระดับคือ เอสเอ็มอีสิ่งทอไทย โดยประเทศไทยมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐ 2% และปีนี้มูลค่าส่งออกจะลดลงประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่ค่าแรงถูก



มีท่านใดทราบบ้างว่า
ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจะเข้าถึงกองทุนช่วยเหลือนี้ได้อย่างไร
ไม่มีรายละเอียดในเนื้อข่าวให้ติดตามน่ะ
หรือกองทุนนี้ มีไว้ให้ธุรกิจกลุ่มกู พวกกู เท่านั้น
ขอให้ธนาคารทั้งหลายจงสำเหนียกไว้ด้วย
กองทุนนี้เกี่ยวเนื่องถึงคนทำงานในโรงงาน
นับหมื่นนับแสนคนอาจตกงานได้
โดยเฉพาะธนาคารตั่วเฮียแถวสีลม
งานนี้ก็ขอให้เป็นตั่วเฮียที่ดี
อย่ากลายร่างเป็นตัวเอี้ยไปเสียล่ะ



บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #2 เมื่อ: 07-08-2007, 18:44 »

ต้องทำใจ จริง ๆ ครับ  ........ผมเห็นทุกรัฐบาล ก็แบบนี้ ......แต่พอไปกู้จริง เค้า ก็พิจารณาหลักทรัพย์ และ ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ  พวกที่เดือดร้อนแล้วยังพอมีหลักทรัพย์ พอมีหวังครับ  ส่วนพวกที่ ไม่มีซักอย่าง สงสัย ลำบากเท่าเดิม

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: