คุยกันสามเรื่องโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ผมมีเรื่องอยากคุยเกี่ยวกับการลงประชามติอยู่ 3 เรื่อง
1/ ผมชอบความเปรียบของท่านนายกรัฐมนตรีในเรื่องการลงประชามติมาก ท่าน
บอกว่า
ระหว่างของที่ท่านยื่นให้ดูต่อหน้า กับของที่ท่านกำไว้ข้างหลัง ประชาชน
ควรเลือกอะไร
ใช่เลยครับ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ประชาชนต้องเลือกระหว่างสิ่ง
ที่เขายื่นให้ กับอะไรก็ไม่รู้ที่ผู้มีอำนาจซ่อนไว้ข้างหลัง
หากไม่เอาสิ่งที่ยื่นให้ สิ่งที่
ต้องเอาอาจเลวร้ายเสียยิ่งกว่าก็ได้ประชามติคือการถามความเห็นของประชาชนว่า จะเลือกระหว่างอะไรกับอะไร ต้องมี
ความชัดเจนเพียงพอ ผู้เลือกจึงจะสามารถใช้วิจารณญาณได้ ถ้ามีอะไรที่ถูก "อิ๊บ" ไว้
ก่อน ก็คือไม่ได้เลือกนั่นเอง
แม้จะดูน่าเอ็นดู
เหมือนการละเล่นของเด็กโกงๆ แต่บ้านเมืองไม่ใช่การละเล่นของเด็ก
หากอยากให้เลือกจริง ก็ควรว่ามาให้ชัด จะให้เลือกระหว่างอะไรกับอะไรขอโทษเถิด บ้านเมืองเป็นของคุณคนเดียวหรือกลุ่มเดียวตั้งแต่เมื่อไร จึงคิดว่าคนอื่นๆ
ทั้งหมดมีสิทธิเลือกเพียงระหว่างสิ่งที่คุณยื่นให้ กับอะไรที่คนอื่นๆ ไม่มีสิทธิจะรู้ก่อน
ฉะนั้น
ก่อนวันที่ 19 สิงหาคม คมช. กับรัฐบาล
ควรประกาศให้ชัดว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ
ไม่ผ่านการลงประชามติ จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด และจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ
นั้นในเรื่องอะไรบ้างต้องไม่ลืมว่า การผ่านประชามติ คือการให้ความชอบธรรมแก่รัฐธรรมนูญ หากประชา-
มติถูก
จัดอย่างฉ้อฉล เช่นไม่มีอะไรให้เลือก, ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำว่าคะแนนเสียงเท่าไร
ของผู้มีสิทธิจึงจะถือว่าผ่าน, ไม่รณรงค์ทางสื่อของรัฐอย่างเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ฯลฯ
ประชามติก็เป็นเพียงพิธีกรรม ซึ่งไม่อาจให้ความชอบธรรมแก่รัฐธรรมนูญได้ก็เพิ่งขับไล่รัฐบาลเก่าลงด้วยเหตุผลว่า คะแนนเสียงอย่างเดียวไม่ใช่ความชอบธรรม
ไม่ใช่หรือ
เพราะเกณฑ์หรือกติกาการลงประชามติไม่ชอบมาพากลดังนี้ ผมจึงไม่สู้จะเข้าใจข้อ-
เสนอของบางท่านว่า ควรมีช่องให้กาว่า "ไม่ออกเสียง" ด้วย เพราะช่องนี้ไม่มีความ-
หมายในเกณฑ์หรือกติกาของประชามติ เนื่องจากไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดไว้ว่า ร่าง
รัฐธรรมนูญจะผ่านได้ ต้องได้คะแนนเสียงเป็นสัดส่วนเท่าใดของผู้มีสิทธิทั้งหมด การ
กาว่า "ไม่ออกเสียง" กับการไม่ไปลงประชามติจึงมีค่าเท่ากัน คือไม่ถูกนับว่าอะไร
เลยสักอย่างเดียว
เราอาจได้รัฐธรรมนูญใหม่จากเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิเพียง 20% (ประมาณ
เกินกึ่งหนึ่งของ 8 ล้านเสียง) เท่านั้นก็ได้ ผู้มีสิทธิ 80% ที่ไม่ไปใช้สิทธิ กับผู้กาว่า
"ไม่ออกเสียง" คือคนที่ไม่ถูกนับเป็นพลเมืองของชาติเท่าๆ กัน
วนกลับไปสู่ปัญหาเก่า คือผู้ที่ไปใช้สิทธิ ก็ไม่รู้จะเลือกระหว่างอะไรกับอะไร แต่ผล
ของมันก็เท่ากันคือ หากมีผู้รับร่างเกินกึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็
กลายเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเปราะบางต่อการถูกฉีกทิ้งง่ายกว่า
รัฐธรรมนูญ 2540
มติชน วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10733http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01300750&day=2007/07/30§ionid=0130ขอพูดถึงประเด็นแรกนี้ก่อน
เคยเขียนแล้วว่าไหนๆ เสียทรัพยากร (เงิน, แรงงาน, เวลา, ฯลฯ)
จัดลงประชามติทั้งที ควรจะถามให้ชัดกว่านี้ได้
มิใช่เพียง เอา/ไม่เอา ร่าง รธน. ฉบับมัดมือชกนี้
ถามเพิ่มหรือมีช่องให้เขียนระบุได้สิว่า ถ้าไม่รับร่างฉบับนี้ แล้วจะเอาฉบับไหน
หรือว่า จริงๆ ก็ไม่ได้อยากรู้ว่า ประชาชนต้องการอะไร
หรือที่หวั่นลึกๆ อยู่ในใจ กลัวคำตอบที่ได้ จะเป็นว่า
คนส่วนใหญ่ต้องการฉบับที่พวกท่านกำจัดไป
ไม่อยากได้ของที่พวกท่านยัดเยียดมา