ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 06:56
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อันนี้เป็นบทความจาก เดอะ อีโคโนมิสต์ เค้าแปลว่ายังไงผู้รู้ช่วยแปลทีครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อันนี้เป็นบทความจาก เดอะ อีโคโนมิสต์ เค้าแปลว่ายังไงผู้รู้ช่วยแปลทีครับ  (อ่าน 4249 ครั้ง)
Muikung
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« เมื่อ: 07-05-2006, 02:36 »

A sinking ship: When you tear up the rule book, democracy flounders [Economist, May 4]
A sinking ship

May 4th 2006
From The Economist print edition

When you tear up the rule book, democracy flounders

“THAILAND [could] sink more than 4,000 metres under the sea. Irretrievable. We would not be able to rescue it.” So, on April 26th, said King Bhumibol Adulyadej, expressing his fears about the political crisis into which his country has slipped, and urging its most senior judges to come up speedily with a solution. A week later, they had not, and the ship of state was riding ever lower in the waters.

Under the constitution, Thailand should have convened a parliament within 30 days of its election on April 2nd. But that deadline has now expired, parliament has not convened and nobody knows what comes next. Thais are paying a heavy price for the opposition's dismissal of April's election result.

That election was boycotted by the opposition parties. Thaksin Shinawatra, the country's prime minister, had won two resounding previous election victories but stood accused of sins ranging from conflicts of interest through corruption to allowing police brutality. Fearing defeat in a straight fight, the opposition called on voters to mark the “no vote” box on ballot papers. Mr Thaksin won 61% of the vote anyway, on a 65% turnout. The “People's Alliance for Democracy” refused to accept the verdict and threatened to continue the protests that had gone on in central Bangkok for weeks. And so, after meeting the king, Mr Thaksin offered his resignation.

The anti-Thaksin lobby hailed this as a victory for democracy. This newspaper saw it as a blow to democracy—a view in which we feel fortified after receiving a critical letter from one western expat who reckoned that “ill-educated and gullible Thais” could not be trusted to get things right (but was quite happy to sell them insurance anyway). On one thing, however, everyone ought to agree. A country that was doing quite well has now, in the words of the king, been “messed up”.

None of the paths out of the mess looks very promising. The most probable outcome is that the courts will decide, on a number of possible technicalities, to annul the April 2nd vote, and order another one. That in itself will mean no parliament for a good while yet, but it also raises all sorts of questions.

For instance, will Mr Thaksin stand? Will the opposition participate fully and pledge to respect the outcome of the vote (which they should do, even though the contest might well end in another victory for Mr Thaksin's Thai Rak Thai, the party which, to the horror of the Bangkok “democrats”, most other Thais seem to like)? If the new election results in a number of unfilled seats in the parliament, will the legislature still be deemed inquorate, as it is now? If, on the other hand, the courts do not annul the April election, will the opposition stop playing politics with Thailand's new and fragile constitution, and run in elections for the unfilled seats, so that the legislature can get on with its job?

Mr Thaksin's enemies appear to think that none of this matters very much compared to the benefits of having levered their elected prime minister out of office, albeit by extra-democratic means. They are mistaken. However glad some Thais may be to see the back of a prime minister who had some authoritarian ways and eye-popping conflicts of interest, their country has taken a big step backwards. Once you start allowing demonstrators who number in thousands to throw out politicians who have been elected by millions, the fabric of any democracy is bound to fray, let alone one that has existed for only 14 years and still lies under the shadow of crown and gun. Difficult days lie ahead.

ผู้มีความรู้ความสามารถในบอร์นี้ ช่วยแปลให้เพื่อน ๆ ในบอร์ดได้อ่านหน่อยนะครับ คิดว่าเป็นความเห็นจากต่างชาติที่เค้ามองประเทศไทย
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 07-05-2006, 03:47 »

... let alone one that has existed for only 14 years and still lies under the shadow of crown and gun. Difficult days lie ahead.
ไม่ชอบประโยคนี้มากๆ อ่านแล้วทะแม่งๆ ในความหมายชอบกล เหมือนจะบอกว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องไม่อยู่ใต้เงาของมงกุฎและปีน อยากรู้ว่าไอ้บ้านี่ที่เขียนเป็นใคร

มีคนแปลแล้วในพันทิบ แต่ไม่แน่ใจว่าตรงมั้ย เดี๋ยวขออ่านก่อน จริงๆ ภาษาปะกิตแอนก็ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4345412/P4345412.html
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Muikung
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #2 เมื่อ: 07-05-2006, 04:09 »

ผมก้อเลยอยากทราบไงครับว่าทางนู้นเค้าแปลอย่างบิดเบียนอย่างไรหรือเปล่าจึงอยากให้ผุ้รู้หลายๆ ท่านลองแปลให้ฟังหน่อย
ส่วนที่ว่าใครเขียนผมว่าน่าจะเป็น สื่อต่างชาติที่เขียนมากกว่านะครับ เพราะ เดอะ อีโคโนมิสต์ เป็น นิตยาสารต่างชาติหรือเปล่าไม่แน่ใจ
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 07-05-2006, 05:24 »

ส่วนใหญ่จะแปลตรงแล้วค่ะ ยกเว้น

And so, after meeting the king, Mr Thaksin offered his resignation. อันนี้ฝรั่งเข้าใจผิด ไม่ได้ลาออก แต่เว้นวรรค เค้าแปลว่า เว้นวรรค


in the words of the king, been “messed up”.  ตรงนี้น่าจะหมายถึง อย่างในพระราชดำรัสที่ว่า "วิกฤต" แต่สงสัยว่า คนเขียนเค้าเอาคำว่า messed up มาจากไหนอ่ะ เค้าแปลว่า ตอนนี้กำลังประสบวิกฤติดังพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว (จะเห็นว่าน้ำหนักของการแปลคนละแบบ แบบที่คนเขียนเค้าเขียนจะจงใจสื่อให้แรงกว่า แต่เค้าแปลแล้วเบาลงมาค่ะ)


but it also raises all sorts of questions. ตรงนี้น่าจะแปลว่า นี่ยังไม่รวมถึงประเด็นคำถามอื่นๆ ที่จะตามมา แทนที่จะเป็น  นี่ยังไม่นับถึงปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย (น่าจะแปลคำว่า questions ตรงๆ ว่า คำถาม แทนที่จะเป็น ปัญหา ค่ะ ความหมายดูเหมือนจะเหมือนกัน แต่โดยเนื้อของภาษาไทยควรใช้คำว่า คำถาม ตัวอย่างเช่น มีคำถาม กับมีปัญหา ความหมายต่างกัน ในขณะที่คำว่า ปัญหาเชาว์ เราก็จะไม่ใช้คำว่า คำถามเชาว์ ค่ะ ที่ใช้คำว่า คำถามตรงๆ เลย เพราะในบริบท เค้ายกตัวอย่างคำถามตามมาในย่อหน้าถัดไป)

the party which, to the horror of the Bangkok “democrats”, most other Thais seem to like ตรงนี้แปลผิดบางคำและตกคำ น่าจะเป็น พรรคที่น่าขยะแขยง ของคนกรุงเทพ "ประชาธิปปัตย์" ในการเป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนใหญ่ที่เหลือในประเทศ แทนที่จะเป็น พรรคที่คน กทม ดูด้วยความประหวั่นในการเป็นที่รักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ  (horror แปลว่า ขยะแขยงก็ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็น ประหวั่นพรั่นพรึง เสมอไป ตรงนี้บริบทจงใจจะให้เห็นคำตรงข้าม ถ้าแปลให้เป็นคำที่ตรงข้ามกับคำว่า like น่าจะเป็นอะไรที่ไม่ชอบ ไม่น่าจะเป็นอะไรที่กลัว ดังนั้นจึงคิดว่าน่าจะเป็นขยะแขยง มากกว่า แล้วทำไมเค้าคิดว่าคนกรุงเทพเป็นประชาธิปัตย์อ่ะ) ที่เหลือในย่อหน้านี้ก็โอเคค่ะ

ที่เหลือก็น่าจะตรงหมดแล้วค่ะ ผิดนิดหน่อยเรื่องการเลือกใช้คำ ตกหล่นบ้าง บางส่วนก็ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยน เลยไม่ได้ยกมา เพราะจริงๆ แล้วเวลาแปล ไม่ต้องแปลตามทุกคำเป๊ะๆ ก็ได้

เท่าที่อ่านคนเขียนคนนี้เขียนแรงค่ะ แต่ใน the economist เค้าลงบทความอยู่ใน section ที่เป็น opinion เพราะงั้นมันก็แค่ความเห็นของเค้าคนเดียว แล้วก็สงสัยตรงที่เค้าว่าเรามีประเทศไทยแค่ 14 ปี อ่านแล้วงงๆ เค้านับจากตรงไหนอ่ะ ถ้านับจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีมาแล้ว 74 ปี หรือว่าพิมพ์ผิด อ่านรวมๆ แล้วไม่แน่ใจว่า คนเขียนเค้าเข้าใจการเมืองไทยแค่ไหน หรือว่าไปอ่านใบบอกมา โดยเฉพาะจุดที่พูดถึงกรุงเทพ ถ้าจะให้หนักและแรงจริงๆ น่าจะใช้คนใต้มากกว่า พออ่านทั้งหมดแล้ว เลยเกิดความรู้สึกว่า ไอ้หมอนี่อาจจะไม่ได้รู้เรื่องการเมืองเราจริงๆ อ่านแล้วก็ช่างหัวมันเหอะ อย่าใส่ใจมากเลยค่ะ "ฝรั่งไม่ใช่พ่อ" อิอิ  Laughing  Laughing
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 06:01 โดย แอ่นแอ๊น » บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #4 เมื่อ: 07-05-2006, 06:24 »

อ่านแล้วนะคะ
กระทู้นั้นคุณ X-CU แปลใช้ได้ ไม่บิดเบือนอะไรอย่าง จขกท. ห่วง
จึงไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ให้เสียเวลา
จะมีที่ผิดความหมายจริงๆ ก็ ย่อหน้าสุดท้าย
see the back of = กำจัดไปได้สำเร็จ
ไม่ใช่ "ดูเบื้องหลัง" อะไร

Idiom: see the back of someone or something
Colloq =To be rid of or finished with (an unpleasant or tiresome person or thing).

ดังนั้น
However glad some Thais may be to see the back of a prime minister
who had some authoritarian ways and eye-popping conflicts of interest,
their country has taken a big step backwards.
จึงหมายถึง
ไม่ว่าคนไทยบางคนจะดีใจสักแค่ไหนก็ตาม ที่สามารถกำจัด
นายกฯที่บริหารค่อนไปทางเผด็จการ อีกทั้งมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างน่าเกลียดได้สำเร็จ
ประเทศก็ถอยหลังก้าวใหญ่

จขกท. ไม่แสดงความคิดเห็นล่ะคะ?
มาแลกเปลี่ยนก็ควรแสดงความเห็นของตัวเองด้วย
จะรอฟังความเห็น จขกท. ก่อน แล้วถึงจะบอกความคิดเห็นของเรา
Deal?

แต่ถ้าเอาอย่างสั้น ก็ขอยืมที่คุณ แอ่นแอ๊น สรุปตอนสุดท้ายว่า ...  Cool
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 06:30 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 07-05-2006, 06:35 »

ตรงที่คุณหิมะติงมาแอนก็สงสัยเหมือนกันค่ะว่าไม่ใช่ แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าอะไรเลยละไว้ค่ะ เผื่อมีคนช่วย  Laughing
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 07-05-2006, 07:21 »

บทความพูดแต่เรื่องเลือกตั้ง ซึ่งจริง ๆ ศาลกำลังวินิจฉัย

จะว่าไปมันเดินมาผิดตั้งแต่ ยุบสภา-ลาออก

หน้าเหลี่ยมเดินมาในทางที่ผิดต่างหาก

ถ้าเลือก ลาออก มันต่างอะไรกับเว้นวรรค
บันทึกการเข้า

หลี่ถัง
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #7 เมื่อ: 07-05-2006, 07:34 »

หึหึหึ ขนาดคนแปลได้แปลมาคำต่อคำ มันยังตะแบงได้ ว่า ตั้งใจแปลให้รุนแรง ไม่เข้าข้างพรรคประชาพิบัติ
แถมไปว่าอีกว่า คนแปลไม่รู้เรื่องการเมือง
ไหน รู้มากแค่ไหน ลองสาธยายให้ฟังหน่อยซิ
หรือว่ารู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทยฉบับ astv อย่างเดียวจ๊ะ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #8 เมื่อ: 07-05-2006, 07:46 »

คุณแอ่นแอ๊น => "สงสัยตรงที่เค้าว่าเรามีประเทศไทยแค่ 14 ปี อ่านแล้วงงๆ เค้านับจากตรงไหนอ่ะ"

ตอบ
เขานับจาก 2535 พฤษภาทมิฬ ค่ะ
ที่เริ่มบังคับว่า นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง
-----------------------------------------------------

คุณ หลี่ถัง มาถามอย่างเดียว ไม่เห็นตอบบ้างว่าคิดยังไง
จะบอกเห็นด้วยสุดใจ หรือผมเขียนเองแหละครับก็บอกมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 07:56 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
THAIBUFFALO
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 127


"Imagination is more important than knowledge"


« ตอบ #9 เมื่อ: 07-05-2006, 08:05 »

".....Once you start allowing demonstrators who number in thousands to throw out politicians who have been elected by millions, the fabric of any democracy is bound to fray....."-----> Yes! I personnally think that the author does not have enought background on the whole story to analyse the situation.
บันทึกการเข้า

.....=<..เงินทรราช..ซื้อคน..ได้..เหมือนหมู..เหมือนหมา..อย่างไม่น่าเชื่อ..>=.....
MrBomb
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5



« ตอบ #10 เมื่อ: 07-05-2006, 09:38 »

มุมมองของคนที่อยู่ข้างเวที แม้จะขาดจะเกินในข้อมูลไปบ้าง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เขามองเห็นจุดอ่อนของระบบ ที่ใช้ในขวานทองทั้งด้ามได้มากกว่า ผู้คนที่บอบช้ำกายใจจากที่กำลังพันตูบนเวทีอย่างไม่เห็นหัวเห็นหางตัวเอง
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 07-05-2006, 13:22 »

หึหึหึ ขนาดคนแปลได้แปลมาคำต่อคำ มันยังตะแบงได้ ว่า ตั้งใจแปลให้รุนแรง ไม่เข้าข้างพรรคประชาพิบัติ
แถมไปว่าอีกว่า คนแปลไม่รู้เรื่องการเมือง
ไหน รู้มากแค่ไหน ลองสาธยายให้ฟังหน่อยซิ
หรือว่ารู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทยฉบับ astv อย่างเดียวจ๊ะ

แปลตามรูปประโยคก็ตามนี้อ่ะ เพราะการแปลต้องดูบริบทด้วย ไม่ใช่แปลตามตัวอักษรเปะๆ

ส่วนเรื่อง 14 นั่นแอนสงสัยค่ะ เพราะปี 35 เรายังไม่รัฐธรรมนูญฉบับนี้นะคะ ยังใช้ฉบับเก่า ฉบับนี้ออกใช้ปี 40
ถ้าบอกว่า นับจากปี 35 จากนายกฯ ยิ่งผิดค่ะ เพราะปีนั้นนายกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งสุจินดา และอานันต์
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 07-05-2006, 14:45 »

“ill-educated and gullible Thais”

คนเขียนคิดว่า "กลุ่มต่อต้านทักษิณ" ชักจูงง่ายเหรอ โธ่...ความคิดอุบาทว์ ชาติชั่วเลยนะนั่นน่ะ

คนกรุงเทพไม่โง่ให้ใครมาสนตะพายได้ง่าย ๆ หรอกว๊อย...ดูที่คะแนนโนโหวตใน กทม. เป็นตัวอย่าง

.................................................................................................................

ส่วนบทสรุปประโยคนี้ผมคิดว่าคนเขียนคงเสียสติ ไม่ก็มีมุมมองที่ไม่รู้จักระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

Once you start allowing demonstrators who number in thousands to throw out politicians who have been elected by millions, the fabric of any democracy is bound to fray, let alone one that has existed for only 14 years and still lies under the shadow of crown and gun.

ทำนองว่า คนหลายหมื่นเหยียบย่ำประชาธิปไตย ที่มาจากการเลือกตั้งจากคนนับล้าน ( คงมาจากคำกล่าวหาของรัฐบาลที่ชอบใช้คำว่า "กฏหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ) ประเด็นนี้ คล้าย ๆ กับรับ "ใบสั่ง" จากลิ่วล้อสิงคะโปโตกยังไงไม่รู้

เพราะทุกประเทศทั่วโลก หากมีการเลือกตั้งอัปยศ ก็เห็นเดินขบวนต่อต้านกันทั้งนั้น

ส่วนท่อนท้าย "...let alone one that has existed for only 14 years and still lies under the shadow of crown and gun."

ผมไม่เข้าใจที่บทความที่กล่าวถึงแต่อยู่ดี ๆ มาย้อนเรื่อง "พฤษภาทมิฬ" กลายเป็นว่าพระบารมีที่ทรงช่วยแก้ปัญหาวิกฤติชาติครั้งนั้น กลายเป็นสิ่งไม่ดี

พวกต่างชาติมันไม่เข้าใจความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนของคนไทย

คงต้องปล่อยมันไป....แค่ความคิดของคน ๆ หนึ่งที่บังอาจวิพากษ์การเมืองไทย โดยไม่มองถึงบริบทของสังคมไทย

และผู้ที่ต่อต้านการเลือกตั้ง คงมิใช่กลุ่มคนที่ "ชักจูงได้ง่าย"

มันน่าจะถามกลับอีกที...ใครกันแน่ที่หลอกลวงง่าย ให้นักการเมืองสนตะพาย...เฮ้อ...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 23:51 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 07-05-2006, 16:34 »

ประโยคสุดท้ายนั่นแหละค่ะ ที่แอนอ่านแล้วฉุนขาดเลย  Mad  Mad
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #14 เมื่อ: 07-05-2006, 19:01 »

ส่วนเรื่อง 14 นั่นแอนสงสัยค่ะ เพราะปี 35 เรายังไม่รัฐธรรมนูญฉบับนี้นะคะ ยังใช้ฉบับเก่า ฉบับนี้ออกใช้ปี 40
ถ้าบอกว่า นับจากปี 35 จากนายกฯ ยิ่งผิดค่ะ เพราะปีนั้นนายกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งสุจินดา และอานันต์

อ้าว คุณ แอน ทำไมลืมท่าน ชวน ได้ลงคอล่ะคะ
แบบนี้ต้องฟ้องคุณ Wadoiji คนรักท่านชวนทุกวันไม่เว้นวันหยุดฯ

หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภา เมื่อพลเอก สุจินดา ลาออก
ท่าน อานันท์ มาเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 จัดการแก้รัฐธรรมนูญให้
นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
เพื่อปิดทางไม่ให้ทหารมาเป็นได้
เมื่อแก้เสร็จ มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกันยายน
ก็ได้ นายชวน หลีกภัย มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของไทย
ในวันที่ 23 กันยายน 2535

และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นายกฯ ทุกคนมาจากการเลือกตั้งค่ะ
เข้าใจว่าผู้เขียนบทความนี้ นับให้ประเทศเรามีประชาธิปไตยเต็มใบ
ตั้งแต่บัดนั้น
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Wadoiji
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 801


รักษ์ประชาธิปัตย์


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 07-05-2006, 19:08 »

สะดุ้งเฮือกแล้วรีบเข้ามาตอบ =[]="!!! เพราะเห็นชื่อตัวเอง...

นั่นสิคะ อย่าลืมท่านชวนสิ>///< ออกจะน่ารักปานนี้~~~~



อ้ากกกกก >//< ใส่เสื้อสีเทาน่ารักที่สุดเลยค่ะ!!!!


ปล. ขอโทษค่ะ ที่เข้ามานอกเรื่องในกระทู้ =_="
บันทึกการเข้า

แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 07-05-2006, 19:54 »

แป๋ว อ่า เถียงไม่ออกแย้ว เอาน่านะ ด่าฝรั่งๆ นิ  Laughing  Laughing  Laughing
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
หลี่ถัง
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #17 เมื่อ: 07-05-2006, 20:19 »

หึหึหึ พอฝรั่งมันเขียนไม่ถูกใจก็ด่ามัน
ถ้าศาลตัดสินไม่ถูกใจก็อย่าไปด่าศาลnaja
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #18 เมื่อ: 07-05-2006, 20:44 »

ขำว่ะ.......ฉลาดกันอยู่กระจุกเดียวนี่แหละว้ะ...
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 07-05-2006, 22:51 »

คนเขียนมันเข้าใจอะไรกับเมืองไทย ที่มีการเลือกตั้งอัปลักษณ์แบบนั้นล่ะ

มันไม่ใช่เลือกตั้งทั่วไป...มันแค่วิธีฟอกตัวของทรราช ที่อาศัยแง่มุมของกฎหมาย

หลีกหนีอารมณ์โกรธเกรี้ยวของประชาชน ที่นับวันตามไล่ตรวจสอบ พอจนมุมก็บีบตัวเองไปในจุดอับยิ่งขึ้น ๆ

ปัญหาที่เกิดคือ คนมันไม่รู้ว่าตัวเองเป็นปัญหาของประเทศชาติ

การเลือกตั้งอัปยศครั้ง 2 เมษยน...มันมิใช่เรื่องการเลือกตั้งหรือประชามติดอก...มันเดินผิดตั้งแต่เริ่มแล้ว

แม้ชนะเลือกตั้งอัปลักษณ์ แล้วในที่สุด มันก็มาถึงทางตันที่ตนเองวางเอาไว้

การประกาศเว้นวรรควันนี้ กับการลาออก เมื่อวันนั้น ผลแตกต่างกันยังไง

แทนที่จะยุบสภา ที่มีฝ่ายค้านในสภาพอควร ก็ไปหานายก "นอมินี" ในวันนั้น

หันมาดูสภาพการณ์ตอนนี้ หน้าเหลี่ยมอยู่ในภาวะอะไร เว้นวรรคหรือไม่...แตกต่างจากการลาออกในวันนั้นหรือไม่

นายกตกงานใช่หรือไม่....ทำไมคนที่มาจากการเลือกตั้งไม่กล้าประกาศตนยืนหยัดในสังคมอย่างอหังการ์ต่อไป

หากคิดว่า ตนเองมาโดยชอบธรรม ทำไมต้องมาเสียน้ำตาอำลาทำเนียบ

การพูดถึงการเลือกตั้งอัปลักษณ์ ว่านี่คือเสียงประชาชน มาจากการเลือกตั้ง...มันผิด

ผิดตั้งแต่จรดปากกาวิจารณ์การเลือกตั้งอัปยศแล้ว

นี่ยังอุตส่าห์ไปลากเอาเรื่อง "นายกมาจากการเลือกตั้ง" มาเป็นเหตุผล...มันไม่ใช่แล้ว

ถึงบอกว่า วิธีการมองแค่ผลสุดท้าย ไม่ได้มองว่าผลเลือกตั้งมันมาจากอะไร...มันก็เหมือนไม่มองทั้งเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นองค์รวม

ผมไม่เชื่อว่า เลือกตั้ง 2 เมษายน เป็นการเลือกตั้งทั่วไปตั้งแต่ต้นแล้ว

แล้วจะมาเอาผลอะไรไปวัด....แค่ใน กทม. คะแนนโนโหวต ก็ชนะเสียง สส.

สส.ภาคใต้บางคน ได้คะแนน 4,000 ขณะที่คะแนนไม่เลือก 40,000

นี่มันเป็นผู้แทนราษฎร หรือเลือกผู้ใหญ่บ้าน

นี่มันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือ ลงประชามติ...หรืออะไรครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 23:48 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 07-05-2006, 23:27 »

killer นายจบอะไรมา มาว่าคณะคนอื่นอย่างนี้  ไม่ได้ว่าคณะนิเทศไม่ดี อ่านเข้าใจหรือเปล่าเนี่ย
แค่บอกว่านิเทศเค้าเอาไว้บริหารสื่อ และก็ไม่ควรผูกขาดเอาแต่พวกนิเทศมาเป็นผู้สื่อข่าว


อยากจะถามนายว่าสื่อที่ดีคืออะไร? ตอบหน่อยนะ 

มันก็ต้องไม่ลำเอียงเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาแอบแฝง
ไม่ต้องสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัว แบบโง่ๆ ยัดเยียดให้ผู้บริโภค
คนเขาคิดตัดสินใจกันเองเป็น ไม่ต้องแส่




ผมจะยกตัวอย่างให้1 อันละกัน   คดดีที่นักข่าวเป็นผู้ช่วยเหลือ ตำรวจจนจับคดีได้   คดีหมอผัสพร  เริ่มจากทีมข่าวอาชญากรรม ของไทยรัฐ ได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลว่ามีหมอหายตัวไป1คน และเมื่อทีมข่าวอาชญากรรม ได้หลักฐานหลังจากสามีของหมอ ได้พาหมออกไปจากร้าน โออิชิ ในสภาพมึนเมา  ซึ้งเป็นภาพสุดท้าย ที่จับได้โดยกล้องวีดีโอ ถามหน่อย ตำรวจถ้าไม่ได้นักข่าวปิดคดีนี้ได้มั้ย  แค่หลักฐานชั้นแรกยังหาไม่ได้เลย     ข่าวนี้ได้รางวัล พูลิซเซอ  ด้วย    มีอะไรจะแย้งมั้ย killer

ก็นี่ไงล่ะ ถ้าไม่เล่นพวก เปิดกว้างมากกว่านี้
เผลอเราอาจได้ผู้สื่อข่าวที่ช่วยชาติบ้านเมืองได้มากกว่านี้เสียอีก


อ่านหนังสือไม่แตก อ่านไม่เข้าใจ บอกชัดๆอีกทีว่า ไม่ควรปิดกั้น
การรับผู้สื่อข่าวจำกัดวงแคบอยู่เฉพาะ นิเทศ เข้าใจไม๊
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
ลูกไทย หลานไทย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,196


วันนี้วันดี วันที่เป็นไท


« ตอบ #21 เมื่อ: 07-05-2006, 23:32 »

หุ หุ Twisted Evil
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 23:45 โดย ลูกไทย หลานไทย ไชโย » บันทึกการเข้า

Ŋēmŏ mē ĩmρưŋē ĺдċęşšįҐ
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #22 เมื่อ: 07-05-2006, 23:40 »

".....Once you start allowing demonstrators who number in thousands to throw out politicians who have been elected by millions, the fabric of any democracy is bound to fray....."-----> Yes! I personnally think that the author does not have enought background on the whole story to analyse the situation.


"....Once you start allowing demonstrators who number in thousands to throw out politicians who have been elected by millions, the fabric of any democracy is bound to fray..... "


คำพูดประโยคนี้ พวกสาวกฯในราชดำเนินใช้กันเกร่อมานานแล้ว ไม่ใช่เหรอ เข้าไปอ่านในราชดำเนินนาฑีนี้ ก็จะพบความคิดเห็นพรรค์นี้อยู่ดีแหละ  ไม่แน่ใจ ใครลอกใคร ใครบอกใคร......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



ถ้าใครคิดว่ากำลังปวดท้อง จะบรรเทาปวด
หรือ ใครสอบ"เอนทรานซ์"ได้สำเร็จ จะ แก้บน
 
ด้วยการนำคนไทยหลายพัน หลายหมื่นคนออกสู่ถนน เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์บ้านเมืองได้
ก็ทดลองดู จะเห็นผล รวดเร็ว.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-05-2006, 00:01 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #23 เมื่อ: 07-05-2006, 23:47 »

ผมขอยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง....

ถ้าผู้เขียนได้รู้ว่า คนไทยส่วนหนึ่งคัดค้าน ประท้วง คูหาเลือกตั้งหันหลังให้คนดู(ที่เป็นปัญหาโต้แย้งอยู่ในขณะนี้) เขาคงวิพากษ์วิจารณ์เหมือนกัน ถ้าประเทศของเขา ห้นหลังให้คนดู เช่นกัน....


ถ้าเขาลงลึกถึงการเมืองไทย การซื้อสิทธิ ขายเสียงกันอย่างไร เขาก็จะไม่แปลกใจ.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



เพราะฉนั้น อ่านแล้วพิจารณาเอาเองว่า ทัศนะของเขาถูกต้อง หรือไม่  !




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-05-2006, 23:58 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #24 เมื่อ: 07-05-2006, 23:51 »

 คุณ Killer และ คุณหลีถัง....

คุณอยู่ในสังคมเว็บบอร์ดนี้ จะแปลกแยกความคิดเห็น คงไม่มีใครว่ากระไร
แต่แปลกแยก กิริยา มารยาท สำเนียง ภาษา อย่างนี้ จะดีหรือ ?.....


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 07-05-2006, 23:54 »

ไม่รู้นะ...บางทีไอ้คนเขียนบทความ มันก็นั่งเคาะพิมพ์ดีดอยู่ในกรุงเทพนี่แหละ อิ อิ
บันทึกการเข้า

ลูกไทย หลานไทย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,196


วันนี้วันดี วันที่เป็นไท


« ตอบ #26 เมื่อ: 07-05-2006, 23:58 »

www.feer.com

essay ล่าสุด

อ้างถึง
Thailand:
‘Thaksin, Get Out!’: Why Thais Are Angry
by Colum Murphy

Colum Murphy, deputy editor of the REVIEW, suggests that regardless of the fate of humbled Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra, democracy in Thailand stands to claim the ultimate victory.

รอคนใจบุญครับ  Laughing
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-05-2006, 00:01 โดย ลูกไทย หลานไทย ไชโย » บันทึกการเข้า

Ŋēmŏ mē ĩmρưŋē ĺдċęşšįҐ
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 08-05-2006, 00:11 »


รอคนใจบุญครับ  Laughing

กึ๋ย อารายกาน ดึกแล้ว จะไปทำงาน นอนแย้ว  Twisted Evil  Twisted Evil

ฝากด้วยคนนะคะ อิอิ เด๋วมาอ่านทีหลัง
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Think Earth
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 196


« ตอบ #28 เมื่อ: 08-05-2006, 00:22 »

เดอะ อีโคโนมิสต์

Is this printed from Sing.?
บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 08-05-2006, 00:35 »



มีแค่นี้เองใน internet

อยากดูเต็มต้องเสียเงินเข้าไปดู
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #30 เมื่อ: 08-05-2006, 02:50 »

คุณ Muikung เจ้าของกระทู้ สงวนคำแปรญัตติหรือไงคะ
ไม่เห็นมาตอบเลย งั้นขอทำตัวเป็น จขกท. ยึดพื้นที่ชั่วคราว

in the words of the king, been “messed up”.  ตรงนี้น่าจะหมายถึง อย่างในพระราชดำรัสที่ว่า "วิกฤต" แต่สงสัยว่า คนเขียนเค้าเอาคำว่า messed up มาจากไหนอ่ะ เค้าแปลว่า ตอนนี้กำลังประสบวิกฤติดังพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว (จะเห็นว่าน้ำหนักของการแปลคนละแบบ แบบที่คนเขียนเค้าเขียนจะจงใจสื่อให้แรงกว่า แต่เค้าแปลแล้วเบาลงมาค่ะ)

คำว่า messed up ยุ่งเหยิง วุ่นวาย
โดยส่วนตัว คิดว่าน่าจะตรงกับ “มั่ว” ในพระราชดำรัสค่ะ


Once you start allowing demonstrators who number in thousands to throw out politicians who have been elected by millions, the fabric of any democracy is bound to fray, let alone one that has existed for only 14 years and still lies under the shadow of crown and gun.

ส่วนท่อนท้าย "...let alone one that has existed for only 14 years and still lies under the shadow of crown and gun."
ผมไม่เข้าใจที่บทความที่กล่าวถึงแต่อยู่ดี ๆ มาย้อนเรื่อง "พฤษภาทมิฬ" กลายเป็นว่าพระบารมีที่ทรงช่วยแก้ปัญหาวิกฤติชาติครั้งนั้น กลายเป็นสิ่งไม่ดี
พวกต่างชาติมันไม่เข้าใจความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนของคนไทย
คงต้องปล่อยมันไป....แค่ความคิดของคน ๆ หนึ่งที่บังอาจวิพากษ์การเมืองไทย โดยไม่มองถึงบริบทของสังคมไทย


ฝรั่งเขาคงเห็นว่าประเทศเราเป็นประชาธิปไตย “เต็มใบ” ได้ไม่นาน (อ้าง #14)
เพียง 14 ปี (ไม่ใช่ 74 ปี ที่นับจาก 2475) ยังไม่แข็งแรงเต็มที่
เติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของสถาบันกษัตริย์ และขณะเดียวกันก็ยังไม่ปลอดจากเงาคุกคามของสถาบันทหาร
ซึ่งก็พอมีเหตุผลให้คิดเช่นนั้นได้ จากการที่มีกระแสเรียกร้องให้ในหลวงทรงพระราชทานนายกฯ
และมีเสียงเรียกร้องต้องการ พอๆ กับความหวาดหวั่นต่อการที่ทหารจะออกมายึดอำนาจบริหาร

ก็แล้วเป็นแบบนี้ดีหรือไม่? ...
คิดแบบฝรั่งที่นิยมการพึ่งพาตัวเอง คงเห็นว่า
ถ้าเราอยากโตเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องดูแลตัวเองให้ได้
ไม่เรียกร้องให้ "พ่อ" ลงมาช่วยตัดสินเวลาพี่น้องทะเลาะกันทุกครั้งไป
 
เชื่อว่าคนไทยหลายคนก็คิดเช่นนี้ จึงไม่สนับสนุน ม.7
ด้วยไม่อยากให้ระคายเบื้องพระยุคลบาท

เมื่อรวมกับท่อนแรกก็ได้ว่า
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการที่คนส่วนน้อยออกมาประท้วงขับไล่
นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เพราะเท่ากับเป็นการฉีก/ทำลายรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้แข็งแรงอะไรมากมาย
เพราะอายุเพียง 14 ปี ยังไม่แข็งแรงเต็มที่
เติบโตอยู่ภายใต้ร่มเงาของสถาบันกษัตริย์และสถาบันทหาร

พูดเฉพาะประเด็นที่คาใจบางท่านแล้วนะคะ
ความเห็นโดยรวมต่อบทความนี้ ก็อย่างที่หลายๆ ท่านบอกว่า
มองอย่างฝรั่ง (outsider) อาจต่างจากพวกเราที่จมอยู่ในเหตุการณ์ (insider)
แต่ใช่ว่าจะผิด เพียงแค่ต่างมุม
เห็นด้วยกับ Mr Bomb นะคะ ว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ควรค่าแก่การรับฟัง

บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Muikung
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #31 เมื่อ: 10-05-2006, 00:54 »

แหม ผมก้อมาอ่านความคิดเห็นตลอดแหละ เพียงแต่สิ่งที่ผมมาเสนอ มันเป็นความคิดเห็นของ ต่างชาติเค้าไง ซึ่งเค้าไม่รู้ตื้นลึกหนาบางของเรา เท่าไหร่ แต่เค้าก้อมองอย่างคนกลาง เป็นความเห็นจากภายนอก ซึ่งเค้าเห็นอย่างไรคิดอย่างไร มองภาพลักษณ์ของเมืองไทยอย่างไร เราก้อควรจะรับรู้และฟังเอาไว้บ้าง


จขกท คือไรเหรอครับ เห็นพูดกันจัง อันนี้ผมไม่รู้จริง ๆเพราะผมมือใหม่

ปล ผมรักลิเวอร์พูลตั้งแต่ จำความได้ เอิ๊กๆๆ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #32 เมื่อ: 10-05-2006, 01:08 »

จขกท = เจ้าของกระทู้ ค่ะ

คือ ผู้ให้กำเนิดกระทู้
และมีหน้าที่เลี้ยงดูกระทู้ให้เติบใหญ่
ต้องมาเอาใจใส่ ไม่ทอดทิ้ง
แล้วก็ไม่ออกนอกลู่นอกทางไปไหน

แปะ (ข้อความ) แล้วหาย ไม่ใช่ parenting นะคะ
เรียกว่า ไข่ทิ้ง เดี๋ยวลูกเป็ดต้องไปเดินตาม Pavlov นึกว่าเป็นแม่

ขอบคุณที่มาตามคำเชิญ (เพียง 2 ครั้ง)
A little bit nagging, am I?

ป.ล. แล้วจำความได้นานหรือยังคะ
ตั้งแต่เป็น premier มานี่ ยังไม่เคยได้แชมป์เลยสักที
ถึงได้มีแต่แฟน Man U เต็มไปหมด (โหล)
ของเรามีน้อยก็ไม่เป็นไร เน้นคุณภาพ > ปริมาณ
จริงไหมคะ?  Very Happy
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Muikung
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #33 เมื่อ: 10-05-2006, 01:26 »

บางทีการเป็นผู้ฟัง ผมว่าได้อะไรหลาย ๆอย่างนะ นานาทัศนะ อะไรที่มีประโยชน์เราก้อรับไว้ อะไรคือความรู้ที่เราไม่รู้ก้อต้องถาม 


อุตส่าเชิญผมตั้งสองครั้ง ไม่มาได้ไง เอิ๊ก ๆ


เริ่มดูบอลก้อ นู่นสมัย จอร์นบาร์น บรูชก๊อปเบล่า เอียนรัช อ่ะจ๊ะ ดูก้อชอบ เลย(รักง่าย แต่รักแล้วไม่เคยหน่ายเลย)  เอิ๊ก ๆ

ถึงจะน้อยแต่ก้อไม่ได้ด้วยคุณภาพ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 10-05-2006, 05:25 »

แต่ไม่รู้สิ พารากราฟที่ 2 ดูเหมือนจะโจมตีฝ่ายค้านหนักไปหน่อย

จู่ ๆ ก็บอก ประเทศชาติเสียหาย เพราะฝ่ายค้านไม่ลงเลือกตั้ง

มันแปลก ๆ ที่เนื้อหาเสมือนออกมาจากฟากรัฐบาลเต็ม ๆ

เพียง 1 สัปดาห์จะให้ศาลท่านสร้างปรากฎการณ์ือะไรหรือไง

แง่มุมทางกฎหมายมันทำกันมั่ว ๆ ไม่ได้

นี่ก็ไม่ให้โอกาสศาลท่านทำงาน กว่าจะเรียกเอกสาร เรียกคนมาสอบถาม

การดำเนินการของศาลหากไม่รอบคอบมันเจ็บหนักกว่านั้นอีก

การเข้าสู่กระบวนการของศาล โดยการร้องขอของพระมหากษัตริย์ ในมุมมองของผมคือนี่คือการ"กู้วิกฤตชาติ" โดยแท้จริง

การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงมาให้แสงสว่าง ย่อมไม่ใช่ประเทศชาติตกอยู่ใต้ร่มเงาของกษัษตริย์และกองทัพ...

ไม่ใช่ครับ...นี่คือทางออกของสังคมไทย ที่ใครชาติใหนก็ไม่มี

จะเขียนถึงประเทศไทย คุณต้องยอมรับว่า นี่คือ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข"

ประเด็นก็คือ คนเขียนไม่มองว่าการออกพรฎ.ยุบสภาถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่

แต่ส่วนที่ศาลท่านเห็นคือ กำหนดวันเลือกตั้ง 37 วัน เป็นสิ่งผิด

นั่นคือประเด็นปัญหาที่คนเขียนไม่ยอมกล่าวถึง

นั่นคือสาเหตุแห่งปัญหา ใครต่อใครหลาย ๆ คนก็ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาด้วยซ้ำไป

เค้าไล่นายก ไม่ใช่ความขัดแย้งในสภา แล้วบ้าไปยุบสภาทำไม

แตเอาเถอะ่เมื่อรัฐบาลมีอำนาจก็ทำไป แต่ทำไปอย่างให้โอกาสพรรคการเมืองอื่นเตรียมตัวพอเพียงหรือไม่

รักจะเ็้นประชาธิปไตย ต้อง แฟร์เพลย ต้องเป็นสุภาพบุรุษ

อย่าเอาเปรียบกันสิ ในเมื่อกฎหมายก็บอก ต้องสุจริตและเที่ยงธรรม

การใช้อำนาจหรือใช้กฎหมาย หากไม่สุจริตและเที่ยงธรรม สังคมจะอยู่ได้อย่างไร

หรือการอ้างพระราชดำรัส ทำไมไม่อ้างท่อน..."การเลือกตั้งพรรคเดียว...เป็นประชาธิปไตยหรือไม่"

ในพระราชดำรัส ฯ นั้นมี 2 ประเด็นหากจับความตาม"พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์"์ คือ "ปิดโอกาสนายกพระราชทาน" และ "การเลือกตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย"

มองโลกต้องมอง 2 ด้าน

เพราะนี่คือการใช้รัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง

14 ปีของประชาธิปไตย แต่ถามจริง ๆ 8 ปี ของรัฐธรรมนูญ 2540  มีใครเปิดดูซักกี่คนก่อนเกิดวิกฤติ

นี่คือโอกาสเรียนรู้ร่วมกันของสังคมไทย

ที่สำคัญพระเจ้าอยู่หัวได้ปิดโอกาส "นายกพระราชทาน" อย่างสิ้นเชิง

ในอนาคตอีก 100 ปี 1,000 ปี ตราบใดที่ไม่มีแก้ไขมาตรา 7 คำว่า..."นายกพระราชทาน" ถูกมัดปิดตาย์ไปเรียบร้อย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-05-2006, 06:31 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #35 เมื่อ: 10-05-2006, 06:13 »

เขามาประท้วงกันเป็นแสน คนเขียนบอกมากันเป็นพัน (number in thousands) ???
แสดงว่าไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ถ้ามากันเป็นพันฝ่ายค้านที่ไหนจะเล่นด้วย มั่วแล้ว!!
และถ้าแค่มากันเป็นพันทำไม ว่าที่นายกฯ ประกาศไม่รับตำแหน่ง ..คิดได้ไง...

ประโยคปิดท้าย "still lies under the shadow of crown" อันนี้เท่ากับดูหมิ่น
ระบอบการปกครองของไทยหรือเปล่า คนเขียนมีปัญหาอะไรกับการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

แถมมีห้อยท้าย "and gun" หมายถึงทหารเหรอ เค้ากลับเข้ากรมกองไป
ตั้งแต่ 14 ปีที่แล้ว คนเขียนไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวการเมืองไทยดีเท่าไหร่นักหรอก

ที่สำคัญไปเลือกเอาพระราชดำรัสที่ตัวเองชอบใจไม่กี่คำมาตั้งเป็นชื่อบทความ
"A sinking ship" ทั้งที่ข้อใหญ่ใจความในหลวงท่านตรัสชัดเจนว่า "ยังไม่จม"
แถมให้ความเห็นดูหมิ่นศาลไทยทำนองว่า 1 สัปดาห์แล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้
และรัฐนาวากำลังจมน้ำไปเรื่อยๆ

A week later, they had not, and the ship of state was riding
ever lower in the waters

หรือว่าศาลบ้านคนเขียนบทความ ตัดสินคดีความอะไรสัปดาห์เดียวเสร็จ???
เรื่อง "ระดับชาติ" นะครับ ไม่ใช่คดีวิ่งราวสร้อย หรือ โกงค่าก๋วยเตี๋ยว..

ดูเหมือนคนเขียนบทความจะสรุปเรื่องราวจากโลกทัศน์แคบๆ ของตัวเอง
ที่ว่าผลการเลือกตั้งทั้งหลายล้วนมีความชอบธรรม ไม่ได้ดูเลยว่าที่มาที่ไป
และกระบวนการจัดการเลือกตั้งมีความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่...

ที่สำคัญมองไม่ออกเลยว่าอะไรๆ ที่ถูกระบอบทักษิณบิดเบือนกำลังกลับเข้าที่เข้าทาง
อำนาจเผด็จการที่ครอบงำ รัฐสภา และ ครม. กำลังถูกรื้อถอนโดยอำนาจตุลาการ
แต่กลับไปมองว่าทุกอย่างกำลังแย่ลง ถ้าต่างประเทศมาอ่านแล้วเชื่อตามก็เวรกรรม
ก็หวังว่าคนอ่านบทความคงฉลาดกว่าคนเขียนบทความ..

..สรุปในความเห็นผม บทความดังกล่าวเป็นบทความคุณภาพ "ห่วย" ครับ..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-05-2006, 06:21 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 10-05-2006, 06:33 »

อิ อิ...น่าจะมีอมยิ้มให้เรานะ จะได้ไปต่อยตีในนั้นได้ ...ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #37 เมื่อ: 10-05-2006, 07:47 »

ขออนุญาตทำตัวเป็น จขกท. อีกแล้ว
เอ๊ะ ยังไง ไปรับฝากเลี้ยงกระทู้นี้ให้ ตั้งแต่เมื่อไหร่ฟะ
เอาก็เอา ทีแรกก็เห็นแก่เด็ก (กระทู้) โดนบิดา (จขกท.) ทอดทิ้ง
ไปประกาศแจ้งความตามจิก เอ๊ย ตามตัวกลับมาได้แล้ว
ก็ยังไม่เห็นค่อยมาอุ้มชู (ตอบกระทู้ที่ตัวเองตั้ง)

กลับเข้าประเด็น เลิกน้ำท่วมทุ่ง
ขอเรียนคุณ jerasak ด้วยความเคารพว่า
ภาษาอังกฤษไม่มีหลักหมื่น หลักแสนให้ใช้อย่างภาษาไทย
thousand แล้วไป million เลย
ดังนั้นหากผู้ชุมนุมมา 200,000
ฝรั่งก็มีปัญญาเขียนแค่ two hundred thousand
หรือ 0.2 million (people) เท่านั้น
ไม่ทราบแบบไหนดูดีกว่าคะ

อย่างที่เรียนแล้วว่า มุมมองฝรั่งอาจต่างจากเรา
แต่เหมือนมุมมองคนไทยอีกฝั่งหรือเปล่า
อันนี้คงอ้างเชื้อชาติไม่ได้แล้ว
ได้แต่บอกว่าเห็นต่างกัน

ทีนี้มุมมองส่วนตัวบ้าง
ก็ต้องบอกว่าไม่ได้เห็นด้วยตลอดทั้งบทความ
แค่พยายามลองมองในมุมอื่น
ที่คิดเห็นไม่เหมือนเรา
ดูว่าเขาน่าจะคิดยังไง
เราจะคิดแบบนั้นได้ไหม
ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา

คำแปรญัตติอย่างยาว ยังขอสงวนไว้
จนกว่า จขกท. จะมาให้ความเห็น “ส่วนตัว”
ไม่ได้มั่วนะคะ ยังยืนยันที่ตอบในกรอบแรก (#4)
ว่าต้องมา “แลกเปลี่ยน” ห้ามแปะแล้วหาย

ความเห็นอย่างสั้นก็ .... ท้ายสุดของคุณ แอน (#3)  Laughing
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-05-2006, 10:22 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #38 เมื่อ: 10-05-2006, 07:57 »

scroll ผ่านแล้วสะดุด เหมือนวิ่งมาดีๆ เจอก้อนหินเกะกะ

ขำว่ะ.......ฉลาดกันอยู่กระจุกเดียวนี่แหละว้ะ...

ดีกว่าโง่กระจาย ให้พวกศรีธนญชัยหลอกใช้ได้ก็แล้วกัน  Tongue out


#20 คุณ RiDKuN สาธิตการใช้ quote ข้ามกระทู้ให้ดู หรือคะ?  Very Happy
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Muikung
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #39 เมื่อ: 10-05-2006, 10:15 »

ต้องขอขอบคุณ SnowFlake อีกครั้งที่มาช่วยตอบ ก้ออย่างที่บอกในตอนแรก ผมเองก้อไม่ได้เก่งหรือรู้อะไรมากมาย แต่เห็นว่าบทความแบบนี้ เราก้อน่าจะได้รู้เอาไว้บ้าง ส่วนเรื่อง พรก ยุบสภา นั้นมีความถูกต้อง หรือไม่ หรือคำสั่งศาลที่ออกมาตัดสินเรื่องเงีอนไขเวลา ถูกหรือผิด บทความนี้ได้เขียนขึ้นก่อนจะมีคำตัดสิน



บันทึกการเข้า
มีคณา
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 463



« ตอบ #40 เมื่อ: 10-05-2006, 10:55 »

จำได้ว่าเรื่องตัวเลขผู้ชุมนุม (thousands) นั้น ที่รดน.เคยเอามาอ้างอิงจาก CNN และเวบสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆนำไปอ้างต่อ ดิฉันตามลิงค์ไป CNN เขียนข้างล่างไว้ว่าตัวเลขที่อ้างถึงนั้นได้มาจากตำรวจ (police estimates)

นำกลับไปให้สาวกเอ๊ยสมาชิกท่านอื่นๆอ่านก็เงียบไปตามระเบียบ มีบ้างที่ตะแบงว่าตำรวจเป็นผู้เชี่ยวชาณ ย่อมคำนวนแม่นกว่าพวกเราและหนังสือพิมพ์

ส่วนเรื่องบทความนี้ดิฉันไม่ค่อยให้ค่า เพราะทราบว่างบโฆษนาในยุคทักกี้ของไทยทั้งของกรมส่งเสริมการส่งออกและททท.สูงมาก จนคนค้าข่าวเกรงใจมาก
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #41 เมื่อ: 10-05-2006, 14:39 »

ขอเรียนคุณ jerasak ด้วยความเคารพว่าภาษาอังกฤษไม่มีหลักหมื่น หลักแสนให้ใช้อย่างภาษาไทย
thousand แล้วไป million เลยดังนั้นหากผู้ชุมนุมมา 200,000
ฝรั่งก็มีปัญญาเขียนแค่ two hundred thousand หรือ 0.2 million (people) เท่านั้น
ไม่ทราบแบบไหนดูดีกว่าคะ

ขอบคุณครับ.. เจ้า "thousands" นี่มันเป็นคำเจ้าปัญหาจริงๆ
แถมเทียบกับ million ช่วงห่างในความรู้สึกมันเป็นพันเท่า
ยิ่งเอามาเทียบไว้ในประโยคเดียวกัน ผมว่าเป็นการเจตนา

แบบนี้เวลาพวกฝรั่งเห็นคำว่า thousands เค้าจะนึกถึงตัวเลข
อะไรครับเป็น พัน หรือ หมื่น ( ไม่น่าจะนึกไปถึงหลักแสน )
ถือเป็นคำที่ผู้เขียนสามารถเล่นกับช่วงของจำนวนได้กว้างมาก

อย่างไรก็ตามการที่ผู้เขียนสรุปทำนองว่าประเทศไทยกำลังจม
มันไม่ได้เข้าท่าเข้าทางเลยครับ ถือว่าห่างความจริงไปไกล..
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Muikung
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #42 เมื่อ: 10-05-2006, 15:40 »

ถ้ายังเป็นอยู่ทุกวันนี้ ก้อจมแน่ ๆครับ เสถียรภาพทางการเมืองไม่แน่นอน เศรษฐกิจก้อดิ่ง อย่าลืมว่า การเมืองกับเศรษฐกิจมัน เชื่อมโยงกันอยู่

และปัญหาต่าง ๆก็ยังมีให้ต้องแก้ไขกันอีก
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #43 เมื่อ: 10-05-2006, 17:05 »

ฝรั่งเขาคงเห็นว่าประเทศเราเป็นประชาธิปไตย “เต็มใบ” ได้ไม่นาน (อ้าง #14)
เพียง 14 ปี (ไม่ใช่ 74 ปี ที่นับจาก 2475) ยังไม่แข็งแรงเต็มที่
เติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของสถาบันกษัตริย์ และขณะเดียวกันก็ยังไม่ปลอดจากเงาคุกคามของสถาบันทหาร
ซึ่งก็พอมีเหตุผลให้คิดเช่นนั้นได้ จากการที่มีกระแสเรียกร้องให้ในหลวงทรงพระราชทานนายกฯ
และมีเสียงเรียกร้องต้องการ พอๆ กับความหวาดหวั่นต่อการที่ทหารจะออกมายึดอำนาจบริหาร

ก็แล้วเป็นแบบนี้ดีหรือไม่? ...
คิดแบบฝรั่งที่นิยมการพึ่งพาตัวเอง คงเห็นว่า
ถ้าเราอยากโตเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องดูแลตัวเองให้ได้
ไม่เรียกร้องให้ "พ่อ" ลงมาช่วยตัดสินเวลาพี่น้องทะเลาะกันทุกครั้งไป
 
เชื่อว่าคนไทยหลายคนก็คิดเช่นนี้ จึงไม่สนับสนุน ม.7
ด้วยไม่อยากให้ระคายเบื้องพระยุคลบาท

เมื่อรวมกับท่อนแรกก็ได้ว่า
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการที่คนส่วนน้อยออกมาประท้วงขับไล่
นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เพราะเท่ากับเป็นการฉีก/ทำลายรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้แข็งแรงอะไรมากมาย
เพราะอายุเพียง 14 ปี ยังไม่แข็งแรงเต็มที่
เติบโตอยู่ภายใต้ร่มเงาของสถาบันกษัตริย์และสถาบันทหาร

พูดเฉพาะประเด็นที่คาใจบางท่านแล้วนะคะ
ความเห็นโดยรวมต่อบทความนี้ ก็อย่างที่หลายๆ ท่านบอกว่า
มองอย่างฝรั่ง (outsider) อาจต่างจากพวกเราที่จมอยู่ในเหตุการณ์ (insider)
แต่ใช่ว่าจะผิด เพียงแค่ต่างมุม
เห็นด้วยกับ Mr Bomb นะคะ ว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ควรค่าแก่การรับฟัง

ข้อความโดย: snowflake



ข้อความเมื่อ: วันนี้ เวลา 05:25ข้อความโดย: CanCan 
ใส่การอ้างถึงคำพูด
แต่ไม่รู้สิ พารากราฟที่ 2 ดูเหมือนจะโจมตีฝ่ายค้านหนักไปหน่อย

จู่ ๆ ก็บอก ประเทศชาติเสียหาย เพราะฝ่ายค้านไม่ลงเลือกตั้ง

มันแปลก ๆ ที่เนื้อหาเสมือนออกมาจากฟากรัฐบาลเต็ม ๆ
........................................................................
 


ผมคงไม่บอกว่าผู้เขียนบทความนี้ ไม่เข้าใจการเมืองไทย

ถึงเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศตะวันตก เขาก็ไม่เข้าใจอยู่ดี
เพราะทัศนะความคิดเห็นของเขาเป็นแนวนี้.....

ถ้าเขาไม่เข้าใจว่า ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลได้
เขาจะเห็นว่าไม่ถูกต้องที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มพลังอื่นๆ
รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านด้วย เคลื่อนไหวเรียกร้องความถูกต้อง การตรวจสอบภาคประชาชน....

ระบอบประชาธิปไตยที่ดี ทีสมบูรณ์ หรือ เท่าเทียมกับอารยประเทศ ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ

โดยเฉพาะกับนักธุรกิจการเมืองที่คิดว่าระบอบประชาธิปไตยของเขา คือการให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
หลังจากนั้น นั่งนอนเฉยๆ  ให้พวกเขาบริหารบ้านเมืองตามที่พวกเขาต้องการ.....

สำหรับผม ผมจึงรับฟังความคิดเห็นของเขา และทบทวนว่า การเคลื่อนไหวของประชาชน และกลุ่มพลังต่างๆ เวลานี้ถูกต้อง หรือไม่ และสำรวจความคิดเห็นของชาวต่างประเทศ ผู้เขียนคนอื่นๆ เปรียบเทียบด้วย....



 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #44 เมื่อ: 10-05-2006, 17:17 »

สิ่งที่พัฒนาการในการเคลื่อนไหวทางการเมืองคราวนี้ คือ
จนถึงนาฑีนี้ไม่มีเหตุการณ์นองเลือด และคิดว่า น่าจะไม่มี
ถ้าเสี่ยทักษิณและบริวาร จะเลือดไม่เข้าตา.....!

ผมเชื่อว่าคุณสนธิและคุณจำลอง(ในใจจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบ)ไม่มีทางปลุกระดม
ให้เกิดการนองเลือด เว้นแต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง.....!

1. ผมเชื่อว่าการเคลื่อนไหวคราวนี้อยู่ในพระเนตรของในหลวง ผ่านประธานองคมนตรีอยู่แล้ว...

2. นักวิชาการ คณาจารย์ต่างๆ มีประสบการณ์ มีทัศนเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจดีแล้ว
ไม่ปล่อยให้เหตุการณ์ซ้ำสองอย่างนั้น....

3. พวกระหายเลือด กระหายความรุนแรงทั้งในเว็บบอร์ดแห่งนั้น และภายนอก เป็นซากเดน ที่ยังหลงเหลืออยู่เท่านั้น...



การที่ 3 ศาลสถิตยุติธรรมออกมาแสดงบทบาท จึงเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ก่อนจะมีเหตุการณ์
14 ตุลา 16 และ พฤกษภาทมิฬ 35 ที่เป็นประสบการณ์ให้เราเรียนรู้....

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #45 เมื่อ: 12-05-2006, 21:18 »

คนอยู่นอกรั้วบ้าน ด้อม ๆ มอง ๆ เข้ามาในบ้าน เห็นแค่สวนหย่อม ดันไปบ่นว่าบ้านนี้กับข้าวไม่อร่อย  Very Happy Very Happy Very Happy


หนังสือเล่มนี้ในทัศนะของผม ซึ่งได้อ่านบ้าง ไม่ได้อ่านบ้าง ขอให้ความเห็นว่า ภูมิยังไม่แน่นเรื่องการเมืองในภูมิภาคนี้ครับ

เคยมีบมความวิจารณ์การเมืองมาเลเซียแบบออกทะเลมาทีนึงสัก 3-4 ปีที่แล้ว พี่น้องมาเลย์ออกมาโห่ฮากันสนุกสนาน

เทียบชั้นกับ FEER และ TIME Asia แล้วยังห่าง  Laughing .....นี่ในความเห็นผมนะ
บันทึกการเข้า
HILTON (ปาล์มาลี)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,310



« ตอบ #46 เมื่อ: 15-05-2006, 11:09 »

เป็นบทความธรรมดา  ข้อมูลในบทไม่ได้ลึกมากมายและดูจะเป็นการสรุบจากเหตุการณ์ตามหน้าหนังสือพิมษ์ไทย  และท้อนสุดท้ายก็ไม่ได้ให้อะไรน่าตกใจ  ดูคล้ายๆคำพูดของสส ทรท ก็เท่านั้น เข้าใจว่าผู้เขียน  น่าจะอายุไม่เยอะ  ไม่เข้าใจเรื่องการชุมนุมประท้วมว่า  การประท้วงไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนคน  แต่อยู่ที่เนื้อหาของการประท้วง และความจริงของเรื่องที่ประท้วง   ไม่ใช่ทรทมีเสียง 16 ล้านเสียง  คนจะประท้วงต้องมี 16ล้านห้า   อะไรอย่างนี้  ไร้สาระ  อ่านผ่านไปก็พอ   เดียวนี้ข่าวสารด้านดีสำหรับท้ากสินมีน้อย  หลุดมาสักชิ้น  เขาก็ต้องทำให้มันเป็นประเด็นหน่อย    ไหนใครเคยบอกว่านักข่าวต่างประเทศ   บ่อนทำลายชาติ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: