ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 05:39
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  แก่ อย่างลำบาก น่ากลัวกว่าโลกร้อน นะครับ พี่น้อง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
แก่ อย่างลำบาก น่ากลัวกว่าโลกร้อน นะครับ พี่น้อง  (อ่าน 5418 ครั้ง)
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« เมื่อ: 28-07-2007, 14:19 »

หลังจากที่ท่านได้เลือกรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตยาธิปไตยเข้าสู่อ้อมใจของท่านแล้ว
ภายในอนาคตยี่สิบสามสิบปีข้างหน้านี้ โหร แถทองเทพ ขอทำนายเหตุการณ์ ว่า

1. เนื่องจากระบบพื้นฐานของประเทศเละเป็นโจ๊ก จากการพยายามทำลายทุกอย่าง
   ที่ดูว่าจะมีเหลี่ยมมาเกี่ยว ทำให้ต้องฟื้นฟูสร้างภาพให้ต่างชาติเชื่อมั่นเป็นเวลาไม่
   ต่ำกว่า ห้าปี ช่วงนั้น เศรษฐกิจประเทศจะหดตัวลงอย่างมาก เหลือกลุ่มทุนขนาด
   ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจต่อไปไม่กี่กลุ่ม เช่น กลุ่มสินทรัพย์ของอำมาตย์ กลุ่มน้ำเหล้า
   ขนาดใหญ่ ซึ่งก็จะไม่พอรองรับจำนวนคนที่ต้องการงานมหาศาล จะเกิดเหตุการณ์
   ย้อนยุค เหมือนสมัยวง คาราบาว ออกเทปชุดแรกๆ ดังนี้
   - เพลงเมดอินไทยแลนด์จะมาฮิตอีก เพราะไม่มีใครเชื่อสินค้าไทยแม้แต่คนไทย
   - งานหายากแม้มีปริญญาก็ต้องหางานจนรองเท้าหมดความทนทาน
   - องค์กรของชาวไทยที่ไม่ได้ผูกติดผลประโยชน์กะทุนอำมาตย์ จะไม่มีทางพัฒนา
     ให้ใหญ่ได้ เนื่องจากระบบไม่เอื้ออำนวย มีหลายมาตรฐานจัด ใครไม่อิงกลุ่มอำมาตย์
     จะไม่มีช่องทางขายสินค้า ต้องพึ่งตนเองทำธุรกิจใต้ดินหรือเปิดท้ายขายของเก่า
   - อบายมุขและน้ำเมากลับมาฮิตอีก เพราะคนรากหญ้าหมดอนาคต ต้องอยู่ไปวันๆ
     อดอยากมากต้องให้ผู้หญิงขายของติดตัวให้กับกลุ่มอำมาตย์บ้ากาม



2. ผลจากข้อหนึ่งบวกกับฐานประชากรในอนาคต ก็จะเป็นกรรมสนองพวกท่านที่ได้
   ทำลายระบบที่ถูกต้องในวันนี้ด้วยเหตุผลที่บ้องตื้นเอาชนะแบบโง่ๆ อีกยี่สิบปีข้าง
   หน้าขึ้นไป เนื่องจากคนเกิดใหม่น้อยกว่าคนแก่ง่ายตายยาก ก็จะเกิดเหตุการณ์ ดังนี้
   - บ้านเมืองปกครองด้วยคนแก่ จึงต้องออกกฎหมายให้ประโยชน์คนแก่ เรียกเก็บ
     ภาษีจากเด็กเยอะๆ เพราะเด็กวัยทำงานมีน้อย
   - ไม่มีองค์กรธุรกิจระดับใหญ่ๆ มากพอที่จะอุดหนุนภาษีก้อนนี้ เพราะว่าระบบสร้าง
     เอสเอ็มอีโดนทำลายตั้งแต่ปี 2550 จึงไม่มีธุรกิจเกิดใหม่เจริญจนเป็นระดับใหญ่ๆ
     เพียงพอต่อความต้องการเงินมาจุนเจือคนแก่ในสังคม
   - เด็กมองเห็นอนาคตตัวเองก็เซ็งเหมือนทำงานหนักเอาเงินให้คนอื่นใช้ ใครฉลาด
     หน่อยมีช่องทางจะเปิดตูดไปต่างประเทศที่มีอนาคตกว่า เหลือเด็กจำนวนไม่มาก
     ที่อยู่ในระบบช่วยเหลือกันเองก็ยังแทบไม่พอ ยังเจอคนแก่อีกฝูงเบ้อเร่อ
   - คนแก่จะต้องเปิดร้านขายของขายบริการกันเอง โดยมีคนแก่เป็นคนเสริฟ หรือ คน
     แก่เป็นคนงาน ไม่ต้องพูดถึงแรงงานต่างชาติ เพราะเพื่อนบ้านจะเจริญกว่าประเทศ
     ไทยจนแรงงานเหล่านั้นกลับประเทศไปหมด
   - คนแก่จะอยู่อย่างลำบากยากเย็นเนื่องจากความแก่ไร้เงินและไร้แรงงานมาจัดการ
     ความเป็นอยู่ของตัวเอง ไม่ว่าจะเขียนกฎหมายเอื้อประโยชน์อย่างไรก็ไม่มีปัญญา
     ทำได้ ต้องตายแบบอนาถาเป็นใบไม้ร่วง

3. สุดท้ายหลังจากคนแก่ตายไปเป็นจำนวนมากระบบก็ปรับเข้าสู่สมดุลอีกครั้ง

และคนแก่ในอนาคตก็คือพวกที่ทำลายระบบในปัจจุบันนั่นเอง สมน้ำหน้า
บันทึกการเข้า
ลับ ลวง พราง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 945



« ตอบ #1 เมื่อ: 28-07-2007, 14:26 »

มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ทักษิณถึงไม่กล้ากลับเข้าประเทศ ที่แท้ก็กลัวแก่ อย่างลำบาก
บันทึกการเข้า

"คนฟุ่มเฟือย แม้จะรวยก็มักขัดสน คนประหยัด แม้จะจนก็มักมีเหลือเก็บ"
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #2 เมื่อ: 28-07-2007, 14:27 »

บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #3 เมื่อ: 28-07-2007, 14:29 »

พระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตราที่ 1-24

มาตรา 11 ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ ดังนี้
(1) การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ
(2) การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
(3) การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
(4) การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน
(5) การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือการบริการสาธารณะอื่น
(6) การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม
(7) การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
(Cool การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง
(9) การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
(10) การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง
(11) การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
(12) การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี
(13) การอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

http://www.trang.m-society.go.th/sdw02.htm


เขียนกฎหมายซะหรูสุดท้ายคงต้องให้คนแก่มาบริการคนแก่ด้วยกันจนตายกันไปข้างหนึ่ง
ทางที่ฉลาดควรรีบพัฒนาประเทศให้เจริญเหนือเพื่อนบ้าน อย่างน้อยยังได้พึ่งแรงงานต่าง
ชาติมั่ง ไม่ใช่ให้เด็กหนีไปเป็นแรงงานต่างชาติเพราะเค้าเจริญกว่าเรา รีบพอเพียงแต่วันนี้
หมายความว่า เจ๊ง ในวันหน้า คนแก่ทั้งหลายที่เดินสายสั่งสอนอยู่ตอนนี้ตอนนั้นคงเป็นปุ๋ย
ไปหมดแล้ว เหลือพวกโดนสั่งสอนในวันนี้ซวยไปต้องลำบากในอนาคต เพราะไม่ตุนไว้ใน
วันนี้ วันหน้าไม่พอใช้
บันทึกการเข้า
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #4 เมื่อ: 28-07-2007, 14:30 »

บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #5 เมื่อ: 28-07-2007, 14:32 »

บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #6 เมื่อ: 28-07-2007, 14:33 »

บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #7 เมื่อ: 28-07-2007, 14:34 »

บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #8 เมื่อ: 28-07-2007, 14:35 »

ตกลงนี่ เป้นกระทู้ที่ตั้งเพื่อต้องการเพ้อเจ้อไปวันๆๆใช่ไหม หาสาระไม่ได้
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #9 เมื่อ: 28-07-2007, 14:58 »

http://elibrary.nesdb.go.th/elib_book/ประมาณประชากร43-68/คาดประมาณประชากร.pdf

แหกหูแหกตาอ่านบ้างนะจ๊ะ ถ้าทำอะไรทุกวันนี้ต้องพึ่งคนอื่นมาก ต่อไปแก่ๆ ไม่มีแรงงานเหลือแล้ว
จะทำยังไงล่ะ มาถึงเร็วกว่าปัญหาโลกร้อนอีกนะ
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #10 เมื่อ: 28-07-2007, 15:33 »

ก็แถหาเรื่องด่าชาวบ้านอย่างทุกที
ไม่ได้ต้องการความเห็นหรือความจริงอะไรหรอก

ปล.มันก็ลืมว่ามันเป็นส่วนหนึงของความเลวที่ว่าด้วย 555
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #11 เมื่อ: 28-07-2007, 21:28 »

http://elibrary.nesdb.go.th/elib_book/ประมาณประชากร43-68/คาดประมาณประชากร.pdf

แหกหูแหกตาอ่านบ้างนะ จ๊ะ    ถ้าทำอะไร ...


อ้าว อยู่ๆไหงไปอัดจารย์จ๊ะ แบบนั้นล่ะครับ คุณแถ
ที่ว่าแก่อย่างลำบากนี่ก็คงว่ากระทบจารย์จ๊ะอีกเหมือนกันสิท่า   
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 28-07-2007, 22:21 »

ลูกหินอย่าลืมกินอบเชยอย่างที่บอกน้า

อ้อ แล้วก็แอนไปกินมาแย้วอ่ะ มากุโร่อาหร่อย

แบบว่า ไปถึงไม่มีโต๊ะนั่ง เค้าให้นั่งเคาน์เตอร์เลยถ่ายรูปไม่ได้

จิ๊กรูปชาวบ้านมาให้ดูแก้เลี่ยนน้า



ปล. สำหรับลูกหิน แนะนำโลว์คาร์บนะ แต่ว่า เน้นผักใบเขียวเยอะๆ งดผลไม้หวานๆ แต่ควรทานพวกที่มีวิตะมินซีมากอย่าง ฝรั่ง 

บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #13 เมื่อ: 28-07-2007, 23:33 »

อืม...จริงด้วย

น่าเป็นห่วงคนที่ยึดถือหลักการใช้ชีวิตอย่างไม่รู้จักพอเพียง นิยมการแบมือขอ แห่ตามเซลส์แมนนักธุรกิจขายฝัน แถมยังหาเรื่องสร้างศัตรูไปทั่วบ้านทั่วเมือง

คนพวกนี้แหละที่มักจะลำบากอนาถาตอนแก่ แล้วมักจะไม่มีใครเห็นใจซะด้วย มีแต่ขับไล่ไสส่ง 



ปล. เรื่องของ "ปู่เย็น" ทำให้คนไทยหลายๆ คนได้เห็นว่า "แก่อย่างมีศักดิ์ศรี" และน่าชื่นชม ไม่ใช่แก่กะโหลกกะลา เป็นอย่างไร?

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #14 เมื่อ: 29-07-2007, 03:49 »

คนแก่ลำบากแน่ถ้าลูกหลานเนรคุณเหมือนไอ้ไข่แม้วดำ

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #15 เมื่อ: 29-07-2007, 07:22 »

รศ.ดร.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดเผยถึง รายงานการวิจัยเรื่อง ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ในชุดโครงการวิจัยเรื่อง “ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ” ซึ่งสนับสนุนโดย เครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งประเทศไทยได้คาดประมาณประชากรว่า จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรวัยสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในปี พ.ศ. 2553 “ไทยเหลือเวลาอีกเพียง 5 ปี ถึง พ.ศ. 2552 ก่อนจะเข้าสู่สังคมวัยสูงอายุ” การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทำให้ต้องพิจารณาถึงบริการสังคมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านเศรษฐกิจ สังคม
       
       อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. ศศิพัฒน์ กล่าวว่า ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันครอบครัวมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีสายสัมพันธ์ในฐานะบุตรหรือเครือญาติ โดยร้อยละ 63.5 เป็นบุตร ซึ่งบุตรหญิงมีบทบาทมากกว่าบุตรชายในอัตราร้อยละ 43.4 และ ร้อยละ 20.1 ตามลำดับ สิ่งที่น่าสังเกต คือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีบทบาทเป็นผู้ดูแลถึงร้อยละ 10.0 ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งในปัจจุบันยังได้รับการดูแลจากครอบครัว
       
       “หากพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุ การมีอายุที่ยืนยาวและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดลงของประชากรวัยเด็กแรกเกิด – 14 ปี ที่คาดว่าจะลดลงอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 24.3 ในปีพ.ศ. 2543 เป็นร้อยละ 20.0 ในปีพ.ศ. 2558 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นถึงการลดลงอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายการดูแลในครอบครัว บุตรซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สำคัญ จะเริ่มขาดแคลนในอนาคต ”
       
       รศ.ดร.ศศิพัฒน์ กล่าวอีกว่า จากรายงานการศึกษาระบุว่า ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพระยะยาวประมาณร้อยละ 18.8 ของประชากรสูงอายุทั้งประเทศ ต้องมีคนดูแลในการเดินหรือเคลื่อนที่ออกนอกบริเวณบ้านหรือที่พักอาศัยประมาณร้อยละ 4.7 และต้องนอนอยู่บนเตียงไม่สามารถลุกนั่งหรือเคลื่อนย้ายได้ ร้อยละ 0.9 ของประชากรสูงอายุทั้งประเทศ”
       
       สถิติดังกล่าวนี้ สามารถพยากรณ์ได้ว่า การขาดแคลนผู้ดูแลทั่วไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า และจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 3 เท่าสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงกลุ่มผู้มีปัญหาด้านสติปัญญาที่ต้องใช้ชีวิตอยู่จนชราภาพ ต้องการการดูแลซ้ำซ้อนคือทั้งฐานะผู้พิการและฐานะผู้สูงอายุพร้อมกัน
       
       “การคาดการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นว่าภาวะการขาดแคลนผู้ดูแลจะมีมากขึ้นและอาจจะเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่ง สภาพปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล และ เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุที่ยากจนและขาดผู้อุปการะ รายละ 300 บาทต่อ ซึ่งไม่เพียงพอกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมทั้งยังไม่เอื้อต่อการให้ผู้สูงอายุอาศัยในบ้านได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำที่พึงมี ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่จะรองรับให้ชัดเจนเพราะขณะนี้รัฐบาลขาดนโยบายในการจัดบริการที่ผสมผสานด้านการแพทย์และสังคม ที่จะให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ” รศ.ดร.ศศิพัฒน์ กล่าว
http://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=21
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #16 เมื่อ: 29-07-2007, 07:26 »

โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทางการแพทย์ ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น พร้อมกับอัตราการเกิดที่ลดลง ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ในปี 2004 ประชากรโลกมีจำนวน 6.4 พันล้านคน

การบริหารจัดการทั้งด้านเศรษฐกิจ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ให้สามารถตอบสนองประชากรทั้งจำนวน 6.4 พันล้านคน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่เรื่องง่าย อัตราการขยายตัวของประชากรโลกโดยเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.31% กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการเกิดเพียง 0.31% ขณะที่แอฟริกาอัตราการเกิดมีอัตราเพิ่มลดลง แต่ยังถือว่าสูง ถึง 2.31%

แต่ปัญหาที่กำลังท้าทายมากกว่า คือการจัดการระบบประกันสังคม และระบบเศรษฐกิจในประเทศที่มีการเติบโตมากขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ สภาวะดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ ไล่เรียงตั้งแต่ญี่ปุ่น ยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์

ปรากฏการณ์เหล่านี้ กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องมีการพิจารณาในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการต่างๆ

ประเทศไทยของเราในอีกไม่เกิน 10-15 ปีข้างหน้า ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก พร้อมกับประชากรในวัยทำงานลดลง หมายความว่า อัตราส่วนของประชากรในวัยทำงานกับวัยเกษียณลดลง ซึ่งทำให้คนในวัยทำงานต้องแบกภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น

โครงสร้างประชากรดังกล่าว ที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต มีนัยสำคัญหลายประการ

ส่วนแรก คือ ความจำเป็นในการที่ต้องมีนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุที่ชัดเจน จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบประกันสังคม เพราะถ้าไม่ปรับเปลี่ยนระบบอาจไม่สามารถรองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ และอาจถึงภาวะล้มละลายได้เหมือนบางประเทศ งบประมาณของรัฐบาลก็ต้องมีการลงทุน และเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมกับการพัฒนาระบบสวัสดิการและระบบดูแลสุขภาพ

ส่วนที่สอง จะต้องวางแผนลงทุนทางด้านวิจัย และเทคโนโลยีอย่างไรในการเพิ่มผลิตภาพ หรือ Productivity ของคนทำงาน เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องเตรียมการกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะคนทำงานน้อยลง แต่ต้องแบกรับความผิดชอบสูงขึ้น จึงควรมีผลิตภาพที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ ในภาวะโลกไร้พรมแดน เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้เริ่มขับเคลื่อนจากเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) พื้นฐาน ขยับขึ้นมาเป็น สหภาพศุลกากร (Custom Union) ขยับขึ้นมาเป็น สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) ซึ่งระดับการเปิดประเทศสูงขึ้นอีก การเคลื่อนย้ายของประชากร และแรงงานเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ภาวะดังกล่าวอาจส่งผลให้องค์ประกอบทางด้านประชากร โครงสร้างและคุณภาพประชากรเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้มีนัยสำคัญ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม

จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่มาตุภูมิหรือแผ่นดินเกิด เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2 เท่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะไร้พรมแดน และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่เป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ประชากรในยุโรปตะวันตกบางประเทศและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่เกิดในต่างแดน เป็นผู้ลี้ภัย

แต่ที่ยุโรปตะวันตกและสหรัฐ มักจะได้คนดีที่สุด คนฉลาดที่สุด และเป็นผู้ประกอบการที่ชาญฉลาดมาเป็นพลเมืองของตัวเอง เห็นได้จากบุคคลที่ได้รางวัลโนเบลมักไม่ได้เกิดในสหรัฐ แต่ถือสัญชาติอเมริกัน คนเหล่านี้ย้ายถิ่นจากบ้านเกิดเมืองนอนด้วยสาเหตุแตกต่างกันไป

แต่ประเทศใหม่ ๆ มักให้โอกาสและความเป็นหุ้นส่วนในฐานะพลเมืองที่ดีกว่า รวมทั้งมีความเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพที่มากกว่า

เศรษฐกิจยุคใหม่ การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องการแรงงานจำนวนมากอีกแล้ว แม้คน ๆ เดียวก็สามารถสร้างกิจการใหม่ สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ด้วยความก้าวหน้าทางนวัตกรรม และเทคโนโลยีชั้นสูงทางด้านไอทีได้ ซึ่งกิจการใหม่นี้อาจมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ แต่กิจการเหล่านี้กลับสร้างงานเพียงน้อยนิด ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทางด้าน Software และ บริษัท E-commerce และบริษัท ดอทคอมทั้งหลาย

การแพทย์และการสาธารสุขได้พัฒนาทั้งศาสตร์ และนวัตกรรมในการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้น นั่นย่อมส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากร (Demographic Changes) ทำให้อัตราการเกิดและการตายที่ลดลง ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นกว่าคนวัยอื่นๆ

ดังนั้น ธุรกิจหนึ่งที่น่าจะเป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งพุ่งแรง จนกระทั่งปรมาจารย์อย่าง Peter F. Drucker ยังชี้เลยว่า ธุรกิจภาคสาธารณสุข คือ ธุรกิจแห่งอนาคต ใครที่ลงทุนในกิจการโรงพยาบาลเอาไว้ ก็จะได้ร่ำรวย

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลแห่งอนาคตจะต้องเอาใจใส่ต่อสุขภาพของลูกค้าทุกกลุ่มทุกวัย พนักงานทุกคนต้องมีจิตใจในการให้บริการสูงขึ้น

ในอนาคต สังคมจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น Life Style ของคนกลุ่มนี้ จะต้องเปลี่ยนไป คือ ไม่ได้อยู่บ้านเฉยๆ เท่านั้น แต่อาจมีการเดินทางท่องเที่ยว และ ตรวจสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลจึงควรมีการเพิ่มการให้บริการที่นอกเหนือจากการรักษาพยาบาลตามปกติ ตัวอย่างเช่น การดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติบำบัดมากขึ้น และการให้บริการทางด้านการบันเทิง
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004nov05p1.htm


คงจะเห็นแล้วว่า ที่เราไม่สามารถพอเพียงได้ในปัจจุบัน เพราะว่าอนาคตเราจำเป็นต้องใช้เงินอย่างมาก
เนื่องจากโครงสร้างประชากรเปลี่ยน คนที่จะทำมาหากินเพื่อคนแก่ตอนนั้นจะมีจำนวนน้อยกว่าคนแก่ซึ่งทำ
อะไรไม่ได้มาก แม้คนที่อายุยืนอย่างปู่เย็นเวลาโดนลูกหลานขโมยเงินก็ไม่มีปัญญาจะไปทำอะไรได้
คนที่อยากให้อยู่กันพอเพียงในวันนี้คงจะตายไปก่อนแล้ว ไม่อยู่จนถึงช่วงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรใน
อนาคตหรอก ถ้ารีบแก่รีบตายไปคงไม่ลำบาก แต่ถ้าแก่ง่ายตายยากก็เตรียมตัวรับกรรมกันได้เลย สำหรับ
พวกที่ทำลายระบบตอนนี้
บันทึกการเข้า
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #17 เมื่อ: 29-07-2007, 07:37 »


1. คำนำ (Introduction)

บุคคลในวัยคุณภาพ หมายถึง บุคคลทุกคนทั้งชายและหญิงที่ผ่านพ้นอายุ 45 ปี สาเหตุที่ผู้เขียนกำหนดวัยคุณภาพด้วยตัวเลขดังกล่าว ก็เพื่อการยึดหลักทางสรีระวิทยาของการสืบพันธุ์ของสตรี และสามารถจดจำได้ง่าย ความจริงแล้วผู้เขียนมิได้เป็นผู้บัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้น และศัพท์คำนี้ถูกบัญญัติขึ้นมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Productive age ซึ่งตราบใดที่บุคคลใดก็ตามทั้งชายและหญิงที่มีอายุสูงกว่า 45 ปี แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิต และประกอบการงานได้ตามปกติ ไม่ว่าจะมีอายุเท่าไหร่ ก็น่าจะเรียกบุคคลนั้นว่ายังอยู่ในวัยคุณภาพได้ วัยคุณภาพนั้น หมายถึง วัยที่ร่างกายของสตรีและบุรุษเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาจากวัยเจิรญพันธุ์ (Reproductive age) ไปสู่การยุติการตกไข่ และการหมดประจำเดือนในสตรี และในบุรุษเริ่มมีการเสื่อมถอยของการสร้างเซลล์อสุจิ น้ำกามและการลดระดับลงของฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้ความต้องการทางเพศและกิจกรรมทางเพศเริ่มลดลงจนหมดไปในที่สุด เมื่อสูงอายุขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในระยะนี้แพทย์ในประเทศไทยจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า อยู่ในวัยทอง (Menopause) หรือ บางคนอาจใช้คำว่าวัยสร้างสรรแทนคำว่า วัยทองก็ได้
 

ส่วนผู้สูงอายุคือ คนแก่ หรือ คนชรา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Old man and Old Women ฟังดูแล้วไม่ไพเราะก็ได้ จึงบัญญัติคำใหม่ขึ้นซึ่งจะเป็นใครก็ตามผู้เขียนขอน้อม คาระวะและขอใช้คำนี้ร่วมด้วย นับตั้งแต่บัดนี้ต่อไปบุคคลในวัยคุณภาพ หมายถึง บุคคลทั้งหญิงและชายที่มีอายุสูงกว่า 45 ปี ขึ้นไป ทุกผู้ทุกคน โดยสามารถแยกเป็นหมวดหมู่ย่อย ๆ ได้ดังนี้
วัยคุณภาพ บุคคลที่มีอายุสูงกว่า 45 ปี จนถึงอายุใดก็ได้ตราบใดที่ยังทำงานอยู่ วัยเริ่มต้นของการสูงอายุ  บุคคลที่มีอายุ  51 - 65 ปี 
วัยเกษียณ  บุคคลที่มีอายุ  55 - 70 ปี 
วัยสูงอายุ  บุคคลที่มีอายุ  65 - 75 ปี 
วัยสูงอายุยิ่ง  บุคคลที่มีอายุ  71 - 80 ปี 

วัยคุณภาพนอกจากจะหมายถึง บุคคลที่มีอายุสูงกว่า 45 ปี ขึ้นไปแล้ว ยังหมายถึงฐานะอื่น ๆ ทางสังคมที่ติดตามมาพอจะอนุมานได้คือ
1. เป็นผู้ที่มีอาชีพการงานที่มั่นคง
2. เป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ การเงินดี หรืออย่างน้อยก็พออยู่ พอกิน
3. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำรงชีวิต หรือ ดำรงตนในทางที่ชอบ ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความทุกข์ระทม และรู้จักสร้างสุขให้แก่ตนเองได้ดีพอประมาณ จนถึงดีเลิศ ผู้เขียนยังไม่เคยพบบุคคลในวัยคุณภาพตามเมืองใหญ่ ๆ ในระดับโลก เช่นในมหานครนิวยอร์ก โตเกียว ซานฟรานซิสโก ลอสเองเจริส โทรอนโต โรม มนิลา และ กรุงเทพฯ ที่ขาดคุณสมบัติเบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้วจะสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขสบายพอประมาณในนคร ต่าง ๆ ของโลก ดังที่กล่าวมาได้เลย และเนื่องจากวัยคุณภาพนั้นไม่ถูกจำกัดด้วยอายุ คนบางคนยังทำงานอยู่แม้ว่าอายุจะล่วงเลยไปถึง 80 ปี แล้วก็ตาม ผู้เขียนจึงขอใช้คำว่าวัยคุณภาพ ในข้อเขียนนี้ และใช้คำภาษาอังกฤษว่า Senior citizen ก็คงไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
2. การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาบางประการที่ต้องเผชิญ
(Some Physiological Changes of Senior Citizen Body)


2.1 การตายและการเกิดใหม่ของเซลล์
ในทุก ๆ วันเซลล์ในอวัยวะส่วนต่าง ๆ จะตายลง และเซลล์ใหม่จะถูกสร้างขึ้นทดแทน ซึ่งอัตราการเกิดและตายลงของเซลล์จะเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ของร่างกายและสรีระของมนุษย์ซึ่งสามารถจำแนกตามวัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ วัยเจริญเติบโต  - เซลล์สร้างขึ้นใหม่มากกว่าเซลล์ที่ตายลงมาก (อิทธิพลของโกรทฮอร์โมน) 
วัยหนุ่มสาว  - เซลล์สร้างขึ้นใหม่มีมากกว่าเซลล์ที่ตายและเสื่อมลงในอัตราที่ลดลง 
วัยกลางคน  - เซลล์สร้างขึ้นใหม่มีพอ ๆ กับเซลล์ที่ตายและเสื่อมลง 
วัยเริ่มต้นสูงอายุ  - เซลล์ที่สร้างขึ้นใหม่ลดน้อยลงกว่าเซลล์ที่ตายและ ลงแต่ยังไม่มากนัก (การลดระดับลงของการผลิตและ การหลั่งโกรทฮอร์โมน) 
วัยสูงอายุ  - เซลล์ที่สร้างขึ้นใหม่ลดน้อยลงกว่าเซลล์ที่ตายและ เสื่อมลงในอัตราที่เพิ่มขึ้น (การลดระดับลงของฮอร์โมนและการเสื่อมของตับที่จะ ผลิต IGF-1 ได้ลดลง) 

ยกตัวอย่างเช่น ทุก ๆ วินาทีในคนหนุ่มจะมีการสร้างเซลล์อสุจิจากเจิมเซลล์ในลูกอัณฑะ ประมาณ 6000 ตัว/วินาที และเซลล์อสุจิที่ถูกสร้างขึ้นแต่ไม่ถูกขับออกมาใช้ผสมพันธุ์เมื่อถูกกักเก็บไว้นาน ๆ จะตายลง เมื่อถึงวัยกลางคนจนถึงวัยเริ่มต้นสูงอายุ การสร้างใหม่และการตายของเซลล์อสุจิจะเป็นปฏิภาคกลับกัน จนท้ายสุดจะไม่พบการสร้างเซลล์อสุจิขึ้นใหม่ ใด ๆ เลย ในวัยของผู้สูงอายุ ยิ่งอวัยวะทุกส่วนของร่างกายไม่เว้นแม้แต่เซลล์ภายในสมองจะมีวัฎจักรของการเกิดและการตายของเซลล์ภายในอวัยวะนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มากระทบในข้อ 2.1 ส่วนใหญ่เนื่องจากสารอาหารที่ร่างกายบริโภคเข้าไป เพื่อนำไปใช้ประกอบเป็นวัตถุดิบในการสร้างเซลล์ใหม่ และเมตาบอลิซึม เพื่อก่อให้เกิดพลังงานในการดำรงชีพ
2.1.1 ถ้าขาดสารอาหาร บางตัวการสร้างเซลล์ใหม่ทำได้เชื่องช้า และเซลล์จะไม่แข็งแรง
2.1.2 ถ้าระบบการเมตาบอลิซึมทำงานด้วยเอ็นไซม์ และโคเอ็นไซม์ต่าง ๆ บกพร่อง พลังงานจะมีไม่เพียงพอ เซลล์ใหม่เกิดขึ้นได้เชื่องช้า และไม่แข็งแรง
2.1.3 ถ้าระบบขับถ่ายของเสียในเซลล์ ขับออกนอกเซลล์ และขับออกนอกร่างกายบกพร่อง เซลล์จะเป็นที่สะสมของของเสีย ทำให้เกิดการหมักหมม สะสมสารพิษ ทำให้เซลล์เจ็บป่วย อวัยวะเสื่อมโทรม เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เบียดเบียนร่างกาย ทำให้บุคคลเจ็บป่วย แก่ชรา ฯลฯ

2.2 การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ของบุคคลในวัยคุณภาพ (Some Physiological changes in Various Organs of Senior citizens) อวัยวะต่าง ๆ ของบุคคลที่ย่างเข้าสู่วัยคุณภาพจะเริ่มสังเกตุการเปลี่ยนแปลงได้เป็นรูปธรรม ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยที่มากระทบต่อวัฏจักรการตายและการเกิดใหม่ของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาดังต่อไปนี้

2.2.1 ผิวหนัง (Skin)
ผิวหนังของบุคคลในวัยคุณภาพ และวัยเริ่มต้นของการสูงอายุ จะเริ่มปรากฏอาการต่าง ๆ ให้เห็นดังนี้
1) เซลล์สร้างเม็ดสี ของผิวหนังลดลง 8-10% ทำให้เกิดการตกกระ
2) ความชุ่มชื้นของผิวหนังลดลง ผิวจะแห้งและเหี่ยวย่น
3) ไขมันสะสมใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ทนต่อแสงแดดได้น้อยลง ง่ายต่อการติดเชื้อ และทนต่อสภาวะอากาศร้อนและเย็นได้ลดลง
4) ผิวหนังฉีกขาดง่าย
5) การสร้างไวตามินดี จากแสงแดดของเซลล์ผิวหนังลดลง
6) เซลล์ต่อมเหงื่อลดลง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการลดระดับของ GH, IGF-1 และฮอร์โมนเพศ สำหรับฮอร์โมนเพศ ส่งผลชัดเจนในข้อ 3

2.2.2 เส้นใยประสาทบริเวณผิวหนังเกิดการเสื่อม อาการที่แสดงออกคือ
1) ความรู้สึกจากการถูกกดลดลง
2) หยิบจับ - การคัดเลือกของใช้ต่าง ๆ ไม่คล่องตัว
3) หยิบจับสิ่งของทำได้ไม่ดีนัก ทำให้สิ่งของหลุดล่วงจากมือได้ง่ายขึ้น
4) ปิดก๊อกน้ำ แก๊สหุงต้ม ที่คิดว่าทำได้สนิทดีแล้วไม่สนิทสมบูรณ์ ฯลฯ

2.2.3 เล็บ
การไหลเวียนของโลหิตไปสู่เซลล์เล็บและปลายเล็บด้วยการลำเลียงผ่านปลายเส้นโลหิตฝอยลดลง ทำให้แคลเซี่ยมถูกขนส่งเข้าไปได้น้อยลง ผลทำให้ผิวของเล็บจะด้าน ไม่มีความมัน
2.2.4 เหงือก ฟัน และสุขภาพของช่องปาก
ฟันผุกร่อนและหลุดล่วงง่าย เนื่องจากฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก จะศูนย์เสียและถูกขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น ในวัยคุณภาพ มากกว่าในวัยหนุ่มสาว ผลของฟันผุ ถ้าไม่ได้รับการบำบัด ก็ทำให้เกิดเหงือกอักเสบฟันโยกคลอน และท้ายสุดต้องถอนฟันไปจนหมด สุขภาพของช่องปากเลวลง มีผลกระทบต่อ
1) การเคี้ยวอาหารเลวลง
2) การกัดอาหารเลวลง
3) การรับกลิ่นและรสอาหารเลวลง ทำให้เบื่ออาหาร
4) การพูดสำเนียงไม่ชัดเจน
5) การยิ้มถ้าไม่มีการใส่ฟันปลอม ทำให้ไม่กล้ายิ้มอย่างเปิดเผย
6) การหัวเราะ ไม่กล้าหัวเราะอย่างเปิดเผย
7) ส่งผลถึงการย่อยอาหาร ของกระเพาะและลำไส้ทำได้ลำบากขึ้น ทำให้เกิดการปรวนแปรของกระเพาะและลำไส้ได้มากขึ้น
Cool ร่างกายขาดสารอาหาร บางชนิด เนื่องจาก 1, 2 และ 7

2.2.5 ระบบประสาทและประสาทสัมผัส
น้ำหนักสมองของผู้สูงวัยอาจลดลงได้ประมาณ 200 กรัม จากวัยหนุ่มสาว (จากน้ำหนักสมองเดิม) ขนาดของสมองก็ลดลงด้วย เซลล์สมองและเซลล์ประสาทเชื่อมโยงมีจำนวนลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของสมองและประสาทอัตโนมัติลดลงกว่าบุคคลในวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการลำเลียงขนส่งของวัตถุดิบและสารอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์สมอง และการขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึม ของเซลล์สมอง กระทำได้ลดลงเนื่องจาก หลอดเลือดภายในสมองของผู้สูงวัย นับจากวัยคุณภาพ มักจะมีการหนาตัวขึ้น แข็งตีบ หรือการตีบตัวผิดปกติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ส่งผลต่อบุคลิกภาพและสรีระวิทยาของสมองคือ
1) การเคลื่อนไหว อืดอาด เชื่องช้า
2) ความคิด เชื่องช้าลง
3) ความจำเสื่อมลงในเรื่องใหม่ แต่มักจดจำอดีตได้ดี
4) การตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทำได้ช้าลง
5) ความคิดเห็นและวิสัยทัศน์ไม่ปราดเปรื่อง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะอนุรักษ์นิยม และค่อนข้างคงที่
6) เกิดการซึมเศร้า (depression) เนื่องจากการสะสมของสารชีวะเคมี Norepinephrine (ดูรายละเอียดหนังสือ Noni พืชมหัศจรรย์ ในยุค 2001 โดย ดร.สุรชัย ชาครียรัตน์)

2.2.6 การมองเห็น และสรีรวิทยาของตา
เนื่องจากมีการหนาและแข็งตัวของหลอดเลือดฝอยที่ไปหล่อเลี้ยงตาและเซลล์ของตาซึ่งเป็นสาเหตุหลัก เช่นเดียวกับเซลล์ของสมองในหัวข้อ 2.2.5 ส่งผลให้ตาของผู้สูงวัยจะมีขนาดเล็กกว่าตาตามปกติขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว การปรับโฟกัสจะทำได้เลวลง ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มืดหรือกลางคืน รูม่านตาก็จะเล็กลงกว่ารูม่านตาตามปกติด้วย ทำให้การตอบสนองต่อแสงสว่างและความมืดทำได้ลำบากกว่า ตาตามปกติในวัยหนุ่มสาว
2.2.7 จมูกและการดมกลิ่น
การเสื่อมและตายลงของเซลล์เยื่อบุโพรงจมูก เกิดขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการเกิดใหม่ ทำให้จมูกและการรับรู้กลิ่นมีประสิทธิภาพด้อยลง
2.2.8 การรับรส
การเสื่อมและตายลงของเซลล์รับรสในช่องปากเกิดขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการเกิดใหม่ ประกอบกับสุขภาพในช่องปากที่เลวกว่าในวัยหนุ่มสาว ทำให้ต่อมรับรสในวัยคุณภาพและสูงอายุมีจำนวนลดลง การรับรสมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้การรับรสหวานเสื่อมลงก่อน รสขม และรสเค็ม ผลทำให้เกิดการเบื่ออาหารได้
2.2.9 การได้ยิน
เช่นเดียวกับ 2.2.8 มีการเสื่อมและตายของเซลล์ในช่องหู และประสาทที่เกี่ยวเนื่องกับการได้ยิน ที่เร็วกว่าการเกิดใหม่ทำให้การได้ยินลดลง (หูตึง) หรือต้องเพิ่มเสียงในการสนทนาขึ้นเรื่อย ๆ (หูตึง)
2.2.10 กระดูก
กระดูกและเซลล์กระดูกเฉลี่ยลดลงประมาณ 25% ในสตรี วัยคุณภาพ ถึง วัยสูงอายุ และ 12% ในบุรุษ
กระดูกสันหลังมีความยาวลดลง ทำให้คนเตี้ยลง เนื่องจากหมอนรองกระดูกเสื่อม
ทั้งนี้เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ เป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ

2.2.11 กล้ามเนื้อ
เซลล์กล้ามเนื้อและความแข็งแรงของใยกล้ามเนื้อลดลง เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต จากผลของ 2.2.10 ร่วมกับ 2.2.11 ทำให้
การทรงตัวและท่าทีของผู้อยู่ในวัยคุณภาพและสูงอายุทำได้ไม่ดีนัก ความกระฉับกระเฉงลดลง หกล้มง่ายขึ้น กระดูกเปราะและหักง่าย
ข้อต่อต่าง ๆ เสื่อม เอ็นยึดติดได้ง่าย และทำให้เป็นโรคปวดเมื่อยต่าง ๆ

2.2.12 ระบบหัวใจและหลอดเลือด
การเสื่อมของเซลล์หลอดเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจ การหนาตัวขึ้น แข็งตัว หรือตีบลง ของหลอดเลือดภายในร่างกายทั่วไป ของผู้อยู่ในวัยคุณภาพ จนถึงสูงวัย เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการ
เป็นลมหน้ามืด โดยไม่รู้ตัว
ความดันโลหิต อาจสูงหรือต่ำ กว่าปกติได้เสมอ ขณะเปลี่ยนแปลงอริยาบท อย่างกระทันหัน
การเต้นของชีพจร และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงไปในภาวะเจ็บป่วย ได้อย่างรวดเร็วและจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติได้ช้ากว่าคนหนุ่มสาว

2.2.13 ปอดและระบบทางเดินหายใจ
เซลล์ต่าง ๆ ภายในปอดและระบบทางเดินหายใจ เสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้
การหายใจตื้นขึ้น ปอดมีความจุลดลง
อัตราหารหายใจลดลง
ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซอ๊อกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปอดลดลง ทำให้อ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายขึ้นในบุคคลในวัยคุณภาพ และสูงวัย รวมตลอดถึงประสิทธิภาพการไอและรีเฟล็กต่าง ๆ ลดลงด้วย
2.2.14 กระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหารและลำไส้
เนื่องจากผู้สูงวัยมีปัญหาในเรื่องเหงือกและฟัน รวมทั้งสุขภาพในช่องปากที่ลดลง ส่งผลให้กระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ต้องทำงานหนักขึ้น บางครั้งเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
ทำให้ความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหาร
สำลักอาหารง่ายขึ้น
หรือกลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นต้น
ส่งผลให้ผู้สูงวัยบางครั้งขาดสารอาหารต่าง ๆ แม้ว่าจะรับประทานอาหารครบหมู่ และครบตามความต้องการ เนื่องจากการย่อยและการดูดซึมสารอาหารจากกระเพาะและลำไส้ลดลงนั่นเอง

2.2.15 ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์
อัตรากรองของเสียจากโลหิตจากไตลดลง ทำให้ปัสสาวะขุ่นข้นกว่าปกติ ผนังกระเพาะปัสสาวะมีความหนาขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นตัวลดลง และความจุปัสสาวะทำได้น้อยลง หูรูดของกระเพาะปัสสาวะมีกำลังลดลง ต่อมลูกหมากในบุรุษโตขึ้น
ทำให้ปวดปัสสาวะ และกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น บางครั้งเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากรังไข่ของสตรี เริ่มยุติการทำงาน
มดลูกและรังไข่จะฟ่อเหี่ยวลง ทำให้ฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจนลดระดับลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กลุ่มเซลล์เยื่อบุบริเวณอวัยวะเพศของสตรีมีจำนวนลดลง
ช่องคลอดจะแห้งยืดหยุ่นน้อยลง เนื้อเยื่อของอวัยวะเพศภายนอกเหี่ยว เช่นเดียวกับ
อวัยวะเพศและกลุ่มเซลล์ต่าง ๆ ของอัณฑะของบุรุษ ก็จะเริ่มสำแดงการเสื่อมและฟ่อเหี่ยวลงเช่นกัน

2.2.16 ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อทำการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญต่าง ๆ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีพต่อความเป็นปกติสุขของร่างกายและจิตใจมนุษย์
ต่อมไฮโปธาลามัส ในสมอง และต่อมใต้สมองส่วนต่าง ๆ ทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดความแปรปรวน ของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ร่างกายผลิตออกมาจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ และควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติลดลง ดังนี้
การผลิตโกรทฮอร์โมน (GH) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าลดลง
ทำให้การผลิตฮอร์โมน IGF-1 จากตับที่เป็นฮอร์โมนสำคัญที่เซลล์ต่าง ๆ ต้องการในการสร้างเซลล์ใหม่ในอวัยวะทุกส่วนขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมและตายลง ลดลงเช่นกัน ทำให้อัตราการตายและเสื่อมลงอวัยวะต่าง ๆ ทุกส่วนของร่างกายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน จึงเป็นสาเหตุหลักของความชราภาพของร่างกายมนุษย์
การผลิตรีลิสซิ่ง ฮอร์โมนต่าง ๆจากต่อมไฮโปทาลามัสลดลง ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนต่าง ๆ ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ลดลงเกือบทุกตัว รวมทั้งฮอร์โมนที่ควบคุมกิจกรรมทางเพศ คือ ฮอร์โมนเพศด้วย
ต่อมไทรอยด์ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้คนเบื่ออาหาร ตาฝ้าฟาง ขุ่นมัว
ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ผลิตได้ลดลง และฮอร์โมนเพศก็ลดระดับลง ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงวัย เนื่องจากฮอร์โมนที่ผลิ่ตออกมาจากต่อมไทรอยด์ คือ ฮอร์โมน Calcitonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ต้านภาวะกระดูกพรุน ในมนุษย์โดยเฉพาะลดระดับการผลิตลง ในวัยคุณภาพ และในผู้สูงวัย
ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินก็ผลิตได้ลดลง ซึ่งท้ายสุดจะชักนำผู้สูงวัยไปสู่ภาวะของโรคเบาหวานได้ในที่สุด

2.2.17 การนอนหลับ
ผู้อยู่ในวัยคุณภาพ และผู้สูงวัย จะมีภาวะการนอนหลับลดลงเรื่อยๆ เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของระบบประสาทในสมอง ร่วมกับการเสื่อมของอวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น ภาวะการเกิดต่อมลูกหมากโตในบุรุษ การเสื่อมของกระเพาะปัสสาวะทั้งบุรุษและสตรี และการเกิดภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น ทำให้การนอนหลับเมื่อคิดเป็นจำนวนชั่วโมงจะค่อย ๆ ลดลง
ผู้อยู่ในวัยคุณภาพจนถึงวัยสูงอายุจะตื่นมาปัสสาวะบ่อยขึ้น รบกวนการนอนหลับ
ผู้อยู่ในวัยคุณภาพจนถึงวัยสูงอายุ มีอาการปวดเมื่อย ของร่างกาย ปวดข้อ และกระดูกถ้าเกิดภาวะกระดูกพรุน รบกวนการนอนหลับ
เมื่อการนอนหลับลดลง การผลิตและหลั่งฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต (โกรทฮอร์โมน GH) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะผลิตและหลั่งออกมาลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าว ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะทำการผลิตและหลั่งออกมาได้สูงสุดก็ต่อเมื่อมนุษย์หลับสนิทเท่านั้น
ภาวะดังกล่าวทำให้ฮอร์โมน IGF-1 ที่ตับมนุษย์ผลิตได้ลดลง เช่นกัน ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดของร่างกายการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ที่สึกหรอ และสร้างเซลล์ใหม่ของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ภาวะการขาดฮอร์โมนที่จะชักนำให้คนผู้สูงวัย ชราลงได้อย่างรวดเร็ว
การเปลี่ยนแปลงในทางลบที่เกิดขึ้นพร้อมกันตั้งแต่ข้อ 2.2.1 - 2.2.17 กระทบต่อผู้อยู่ในวัยคุณภาพถึงสูงวัยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านร่างกาย (Physical) และ จิตใจ (mental) ทำให้มีบุคลิกภาพ เปลี่ยนแปลงไป (Personality) ทางด้านร่างกายความแข็งแรง และกระฉับกระแฉงลดลง โดยรวมถ้าไม่เจ็บป่วย หรือเกิดโรคภัยเบียดเบียน ทางด้านจิตใจ การเรียนรู้และความจำ (learning and memory) ลดลง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) ลดลงตามส่วนเชาว์ปัญญา (Intelligence) ลดลงกว่าปกติเมื่อเทียบกับวัยหนุ่มสาว
แต่ผู้อยู่ในวัยคุณภาพและสูงอายุ จะได้เปรียบคนหนุ่มสาว คือ ประสบการณ์ในการดำรงชีวิตที่มีสูงกว่าคนในวัยหนุ่มสาวเท่านั้นที่เป็นข้อได้เปรียบคนในวัยหนุ่มสาว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-07-2007, 07:50 โดย ลูกหินฮะ๛ » บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #18 เมื่อ: 29-07-2007, 07:54 »













บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #19 เมื่อ: 29-07-2007, 10:37 »

    หนุ่มสาวมีความสุขในความสัมพันธ์ทางเพศฉันใด ผู้สูงอายุก็ยังมีความต้องการและมีความสุขได้ทัดเทียมกัน อายุไม่สามารถกีดกันความสุขทางเพศของมนุษย์เราได้ ขอเพียงให้มีหัวใจแข็งแรง สุขภาพทั่วไปแข็งแรง ผู้ที่สามารถออกกำลังได้ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน

    ความใจเย็น ความอดกลั้น ไม่เร่งรีบ จะเป็นข้อได้เปรียบของผู้สูงอายุ ประสบการณ์ที่มีมากสะสมมา ทำให้ผู้มีวัยวุฒิจะปฏิบัติการได้นิ่มนวล รู้จิตรู้ใจได้ดีมาก ถึงมีคู่ที่ต่างวัยกันมาก อายุมาก ก็ยังรักกันได้อย่างดีเยี่ยม สดชื่นด้วย

    มีการรวบรวมข้อมูลจากมหาวิทยาลัย แพทย์ที่นิวยอร์ก รวบรวมผู้ที่สนใจในความรู้สึกทางเพศในวัยสูงอายุ 1,300 คน ทั้งชายและหญิงมีอายุ 60-80 ปี ผลข้อมูลสรุปได้ว่า หญิงจะมีความรู้สึกต้องการน้อยกว่าชายที่เป็นคู่สม่ำเสมอหรือชั่วครั้งชั่ว คราว

    หญิงที่ไม่มีคู่ จะช่วยตัวเองหาความสุขมีอยู่ 3% แต่ผู้ชายที่ขาดคู่จะมีการช่วยตัวเองเป็นจำนวน 26% ความสุขในการร่วมเพศ (Sexuality) ในผู้หญิงจะมีน้อยกว่าผู้ชาย หากอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ก็จะยิ่งน้อยลง

    แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยอมรับกันว่า ความสุขทางเพศเป็นสิ่งที่ให้ความสดชื่น ไม่เหงา และมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างดี มีกำลังใจ ในการหาเลี้ยงชีพ

    ปัญหาของหญิงสูงอายุคือ ความแห้งของช่องคลอดที่เป็นอุปสรรค ทำให้ความสนุกลดลงเรื่อยๆ ถ้าหากฝ่ายชายไม่ได้สังเกตหรือเตรียมเสริมความหล่อลื่นให้พร้อม หญิงสูงอายุฮอร์โมนเพศมีน้อยก็จะมีความเจ็บมากเวลามีเพศสัมพันธ์จนเลือดออก ซิบๆ ได้ เยื่อบุช่องคลอดที่คอยหลั่งน้ำหล่อลื่นก็จะลดลงจนแห้งมาก แต่ถ้าแก้ไขปัญหาความฝืดไปได้ คุณผู้หญิงก็จะมีอารมณ์รื่นรมย์ได้ดีกว่าสาวๆ บางคนที่ไร้ประสบการณ์จนทำให้ฝ่ายชายรำคาญได้ สาวชอบเรียกร้องมากกว่าผู้สูงอายุ สาวแต่ไร้เทคนิค สู้การเอาใจสุดสุดของสตรีสูงอายุไม่ได้

    ความแข็งแรงของชายสูงอายุก็มีส่วน สำคัญ เช่น กลุ่มที่ออกกำลังเดินสม่ำเสมอ เล่นกีฬาสม่ำเสมอก็จะมีกล้ามเนื้อแขนขาสมบูรณ์ตามอายุ หัวใจก็จะแข็งแรง ปอดก็แข็งแรง เมื่อสามารถเล่นกีฬาเบาๆ ได้ เดินเบาๆ ได้ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายชายได้อย่างหาที่ติไม่ได้

    ที่บอสตันมีการค้นพบว่า สารเคมีไนตริกออกไซด์ ช่วยให้กล้ามเนื้ออวัยวะเพศชายมีการขยายตัวรับเลือดให้มีความอิ่ม และช่วยได้ดีในด้านเพศสัมพันธ์ และในหญิงก็มีสารเคมีไนตริกออกไซด์ตัวนี้เช่นกัน ช่วยให้มีการขยายตัวของกล้ามเนื้อที่ช่องคลอด และเพิ่มการคั่งของเลือดได้ดี เช่น ของผู้ชาย สารเคมีนี้มีชื่อว่า เอ็นโอ (NO) จึงมีความหมายทางเพศสัมพันธ์ในด้านเดียวกับคำว่า เยส (Yes)

    คำว่า NO และ YES จึงคู่กันเสมอ ขอให้ผู้สูงอายุชายและหญิง มีความสุขมาก ๆ !?.
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #20 เมื่อ: 29-07-2007, 15:54 »

อยาก yes ผู้สูงอายุหรือไงวะ 
บันทึกการเข้า
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #21 เมื่อ: 29-07-2007, 18:01 »

สมปองเชื่อคุณลูกหินมากกว่าเดนอยากปราจัดให้ติดแก๊สครับ
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #22 เมื่อ: 31-07-2007, 09:08 »

*  อ่อ ... เด๋วนี้รับจ๊อบเป็น โหน ( ทายมั่ว )  เป็นอาชีพเสริมด้วยเร๊อะ

    เค๊าว่ากันว่า ...  หมอดูคู่กะหมอเดา

    ยิ่งเป็นหมอดูแบบ   ชอบแถ ...ทำนายด้วยแล้วยิ่งไม่น่าเชื่อใหญ่เลยยย

    แต่ก็ดี ... ชอบแถ  เตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ดี ...

    เพราะ  แถ  น่าจะเข้าข่ายกลุ่ม ... แก่ง่ายตายยาก เหมียลกัน

    นั่งอ่านเนื้อหา ทู้ โดยเฉพาะข้อย่อยของข้อ 2 กะ  3  .... แถ ก็จัดอยู่ในข่ายนั้นนะเนี่ยยย

    อะ อะ ... อย่าเถียงนะว่าไม่จริงเพราะ แถ ก็จะเป็นคนแก่ใน อนาคต เหมียลกัน

    ว่างมากเหรอ ... ถึงได้มาตั้ง ทู้ ว่าตัวเองเล่น   ซะงั้น  !!!

    โอเค ...  แถ  เอาเรื่องโครงสร้างจำนวนประชากร และ การเปลี่ยนแปลงมาให้อ่าน

    พร้อมกะบอกด้วยว่า ... ระบบถูกทำลาย และ ต่อไปโรงงานจะเจ๊งในวันข้างหน้า

    หนายยย  .... งั้นลอง วิแคะ มาหน่อย  ว่าควรจะทำยังไงเพื่อเป็นการป้องกันได้

    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น  คนวัยหนุ่มสาวลดลง

    หรือ ทำไงดีระบบที่ แถ จินตนาการเอาไว้ว่าดี ...... จะไม่โดนทำลาย

    มาโม้  .... ให้ฟังหน่อยดิ๊   !!!
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #23 เมื่อ: 31-07-2007, 09:54 »

ตอบเจ๊ก็ง่ายหน่อยไม่ต้องอธิบายหลักวิชาการมาก คิดง่ายๆ ตอนนี้เจ๊ยังคงเหลือความเป็นสาว
อยู่บ้าง อายุเจ๊ตีคร่าวๆ ประมาณ 25+++ มีเวลาทำงานก็อีกประมาณ 35 ปีก็อายุ 60 เจ๊ก็จะ
หมดสภาพกลายเป็นคนเดินอ้วนไปวันๆ ถ้าเจ๊เกิดตายยากมากอายุอยู่ถึง 95 ปีก็ยังไม่มีทีท่า
ว่าจะยอมตาย แก่มันอยู่นั่นแหละ เท่ากับว่าเจ๊ต้องหาเงินเป็นสองเท่าเทียบกับปัจจุบันเพื่อจะ
เหลือไว้ใช้ตอนแก่(ไม่คิดเงินเฟ้อนะ)

ถ้าเจ๊ทำตามนโยบายพอเพียงพอมีพอกินในตอนนี้ ก็แปลว่าอีกสามสิบกว่าปีข้างหน้า เงินที่จะ
มารักษาสถานะความแก่ของเจ๊ไม่ให้เป็นสถานะตาย ก็ต้องมาจากภาษีของเด็กๆ รุ่นหลัง แล้ว
เมื่อโครงสร้างประชากรเปลี่ยน เด็กรุ่นหลังดันน้อยกว่าคนแก่ตายยาก เด็กมันก็ต้องทำงานกัน
หลังอาน เพื่อจ่ายภาษีมาอุดหนุนพวกไม่ยอมตายแก่ได้แก่ดี ตามธรรมชาติแล้วพวกหนึ่งคง
ต้องหนีไปประเทศที่มันรายได้ดีกว่า หรือรีดภาษีน้อยกว่า เพราะเรื่องอะไรจะต้องจ่ายภาษีอุด
หนุนคนที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องเต็มประเทศ

คนแก่ในปัจจุบันยังมีเด็กๆ ในวัยทำงานอยู่มากเพราะโครงสร้างประชากรยังเพิ่งจะเริ่มเปลี่ยน
ย่อมไม่รู้รสชาติของการแก่อย่างลำบาก เมื่อถึงเวลาที่เจ๊แก่คนพวกนี้ก็ตายไปหมดแล้ว ไม่มา
รับรู้ความลำบากของการไม่สะสมในปัจจุบัน ลองคิดถึงสภาพจะจ้างคนมาทำงานให้แบบถูกๆ
แต่จะจ้างยังไงก็ไม่มีคนมาทำ เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพราะไม่ได้สะสมไว้ตอนที่มีกำลังทำ
มาหากินในวัยหนุ่มสาว พอแก่ต้องอยู่ลำบากในสถานสงเคราะห์คนชราที่คนแก่ต้องช่วยกันเอง
น่ากลัวมั้ยล่ะ

ถ้าไม่อยากลำบากมากในตอนนั้น ตอนนี้ต้องเก็บเงินให้มากที่สุด เพราะเงินเก็บในวันนี้จะช่วย
เราได้ในอนาคต ไม่ต้องหวังว่าเด็กๆ ที่ไหนจะจ่ายภาษีช่วยเรา เพราะเด็กมันน้อยกว่าคนแก่ไง
เข้าใจหรือยังเจ๊ ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ถ้าระบบมันเจ๊ง เราก็ไม่สามารถทำมาหากินได้ เก็บเงิน
ไม่ได้ มีใช้ไปวันๆ ก็จะแก่อย่างลำบาก
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #24 เมื่อ: 31-07-2007, 10:03 »

ไม่ได้มีใครบังให้ไม่เก็บเงิน ซะหน่อย...........

คนทำตัวดี ๆ ลูกหลาน ก็นับถือ ....ตอนแก่เค้าก็ดูแล  ....คนแก่จะกินใช้ซักเท่าไหร่


 
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #25 เมื่อ: 31-07-2007, 10:53 »

ปัญหาโลกแตกที่ต้องแข่งกับเวลา (Race against time) ตอนที่ 1
เราจะเตรียมเงินรองรับคนสูงอายุอย่างไร


ดร.โชติชัย  สุวรรณาภรณ์

               ใน 10-20 ปีข้างหน้า ประชากรของประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ (60+) เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในหลายๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่สูงอายุขึ้นจะสร้างปัญหาและเป็นความท้าทายต่อรัฐบาลในการดูแลคนเหล่านี้ให้มีสวัสดิภาพที่เพียงพอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะเกิดกับภาวะการคลังของรัฐบาลแล้ว ยังเกิดผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจของประเทศ คำถามที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ก็คือ เราจะจัดการอย่างไรกับภาระจากปัญหาประชากรที่สูงอายุขึ้น เราคือคนในยุคนี้จะจัดสรรหรือร่วมรับผิดชอบกับปัญหานี้ในตอนนี้ แค่ไหน อย่างไร หรือปล่อยให้เป็นภาระของคนในยุคหน้า (Next Generations) หากเราไม่สามารถเตรียมการรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างอายุประชากรที่เปลี่ยนไป ก็จะส่งผลในทางลบต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของลูกหลานเรา รวมทั้งศักยภาพผลิตภาพของเศรษฐกิจไทยในอนาคต
               หลายๆ ประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี ออสเตรเลีย ประสบปัญหาเช่นเดียวกันคือ คนเกษียณ และคนชรา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประชากรในวัยทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ประเทศเหล่านี้แก้ปัญหาส่วนหนึ่งด้วยการเปิดโอกาสให้คนต่างชาติที่มีคุณสมบัติ มีความรู้ทักษะและอยู่ในสาขาที่เขาต้องการ เข้าไปทำงานในประเทศได้ และสามารถได้รับสิทธิในการอยู่ถาวรได้
               นโยบายเช่นนี้จะเปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดคนในวัยทำงาน ที่สามารถทำงานเพิ่มผลิตภาพให้กับเศรษฐกิจและสมทบเงินเข้าสู่กองทุนประกันสังคมที่จ่ายเงินเพื่อดูแลสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้สูงอายุที่เกษียณพ้นวัยทำงานแล้ว
               เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมไปประชุมสมาคมนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรเลียที่เมืองเพิร์ท (Perth) ประเทศออสเตรเลีย ทราบว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียโตเร็วมาก โดยเฉพาะแค่ที่เมืองเพิร์ท ในปีที่แล้วเศรษฐกิจโต 14.5% หน่วยงานต่างๆ ของออสเตรเลีย ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานนโยบายและกำกับดูแลทางเศรษฐกิจ ก็ต่างทำเอกสารเชิญชวนให้คนเข้ามาทำงานในองค์กรตน คนต่างชาติก็สามารถสมัครได้ครับ
               ในสหรัฐอเมริกา ประธานธนาคารกลาง Ben Bernanke ก็ได้พูดเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเป็นห่วงกับภัยคุกคามที่สหรัฐเผชิญจากโครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลง ในอีก 2 ปีข้างหน้า ประชากรรุ่นแรกๆ ในยุค Baby-Boom (หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง) ก็จะเริ่มทยอยกันเกษียณอายุการทำงานและได้รับเงินประกันสังคม ทำให้สัดส่วนคนทำงาน (อายุระหว่าง 20 ถึง 64 ปี) ต่อคนที่เกษียณแล้วอยู่ที่ 5 ต่อ 1 และเนื่องจากโครงสร้างประชากรสูงอายุขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2030 สัดส่วนนี้จะกลายเป็นคนทำงาน 5 คนต่อคนเกษียณ 3 คน ซึ่งในตอนนั้นสัดส่วนของคนแก่จะเท่ากับ ร้อยละ 19 ของประชากรสหรัฐทั้งหมด
              ในกรณีของไทยพบว่า คนที่มีอายุสูงกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 9.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (หากไม่เกิดโรคระบาดหรือสงครามหรือภัยธรรมชาติที่คร่าชีวิตคนจำนวนมาก) ในขณะที่สัดส่วนของคนที่ยังต้องพึ่งพารายได้คนอื่น (Dependency Ratio) โดยวัดจากสัดส่วนของคนที่อายุต่ำกว่า 15 ปี และมากกว่า 60 ปี ต่อคนที่อายุระหว่าง 15 ถึง 60 ปี สัดส่วนนี้คาดว่าจะสูงขึ้นจากร้อยละ 23.7 เป็นร้อยละ 70 ในปี พ.ศ. 2594 ซึ่งในความเป็นจริงตัวเลขน่าจะสูงกว่านี้ เนื่องจากคนที่อายุมากกว่า 15 ปี แต่ยังไม่แต่งงานก็มักจะอยู่กับพ่อแม่ และยังพึ่งพารายได้ของพ่อแม่ส่วนหนึ่งด้วย นอกจากนั้นหากประเมินจากผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมที่ผู้เอาประกันตนได้รับ จะอยู่ที่ประมาณเกือบ 15% ของรายได้เดือนสุดท้าย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายดำรงชีพตามควรได้ ซึ่งถ้าให้พอเพียงในการรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ที่พอควรได้ ก็ควรจะได้รับอย่างน้อย 50% ของเงินเดือนสุดท้าย ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากันสำหรับทุกคนเสมอไป คนจนหรือผู้มีรายได้เงินเดือนน้อย สัดส่วนนี้ควรจะต้องมากหน่อย แต่ถ้าเป็นคนที่มีรายได้สูง สัดส่วนตรงนี้อาจไม่ต้องถึง 50% ก็ได้
               การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเช่นนี้ เกิดจากการลดลงของอัตราการเกิดและอายุที่ยืนยาวนานขึ้นของคน ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ ยาสมัยใหม่และการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้คนมีอายุยืนยาวนานขึ้น ปัญหาโครงสร้างประชากรที่มีคนสูงอายุเพิ่มขึ้นนั้น (Aging Population) เป็นความท้าทายทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ โดยเฉพาะต่อผู้ที่กำหนดนโยบายทางการคลังในอนาคต การเตรียมการที่เพียงพอเหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร จะส่งผลกระทบต่อความสามารถและพฤติกรรมในการบริโภค การทำงานและการออมของประชากรในประเทศ เราจะเลือกที่จะจัดสรรภาระทางเศรษฐกิจ อันนี้อย่างไรระหว่างคนในยุคนี้และยุคหน้า (Across Generations) ทำอย่างไรถึงจะให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่เป็นภาระต่อ Generation ใด Generation หนึ่งมากเกินไป และก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ  (โปรดอ่านบทวิเคราะห์เรื่องนี้ต่อไปในวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2549)
http://www.fpo.go.th/content.php?action=view&section=3100000000&id=10289


มีลูกหลานดีๆ เยอะเหรอ ฝึกให้บริการเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวคนแก่ดีๆ ล่ะ เดี๋ยวสามสี่สิบปีข้างหน้าจะได้จ่ายแพงกว่าจ้างมา
เช็ดขึ้ตรูซะหน่อย เด็กๆ มีน้อยอนาคตก็ต้องแย่งกันหน่อยนะพี่น้อง คนแก่แม้จะกินน้อยแต่ใช้เยอะ เพราะพวกอุปกรณ์
ทางการแพทย์มันแพง คิดเหรอว่าแก่แล้วทุกส่วนของร่างกายจะยังทำงานได้ครบ ไม่รู้จักความแก่ซะแล้ว 
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #26 เมื่อ: 31-07-2007, 18:48 »

ถ้าไม่มีปัญญา อบรมสั่งสอนลูก หลาน.....ไม่รู้จัก รักษาวัฒนธรรม คนเอเชีย จะเอาแต่วัฒนธรรมตะวันตก ที่มันทิ้ง พ่อ แม่มัน ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ......ก็แก่ตายในห้องคนเดียว ละกัน ......ผมไม่เอาด้วยหรอก

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-07-2007, 20:19 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #27 เมื่อ: 04-08-2007, 18:05 »

* ท่าทาง..  ชอบแถ... จะเหงาจิตมั๊ก ๆๆ   เลยเพ้อไปเรื่อยเปื่อย   นะเนี่ยย

   ขออำภัย ........... บังเอิญ  วันนี้  เดี๊ยน  มีนัดทานข้าวกะคนอื่น  นะจ๊ะ

   เด๋ว ... กลับมาจะมาเสนาโด้ยนะ ลุ๊งงงง 
 

บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #28 เมื่อ: 05-08-2007, 00:23 »

คนแก่  นอกจากต้องหมั่นดูแลสุขภาพและอาหารแล้ว

ยังต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเต๊ะปี๊บ



 

...


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: