ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 07:51
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อย่าให้ใครมาบงการ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อย่าให้ใครมาบงการ  (อ่าน 1217 ครั้ง)
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« เมื่อ: 25-07-2007, 10:37 »

อย่าให้ใครมาบงการ

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ได้ผ่านความเห็นชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เรียบร้อยแล้ว เมื่อผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็จะนำไปสู่การลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยให้มีการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ท้ายที่สุด ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งนั่นเองที่เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550

ความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มชัดเจน กลุ่มแรกคือ ส.ส.ร. ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองย่อมเห็นด้วยและสนับสนุนอย่างแน่นอน นอกจากนั้น รัฐบาลและ คมช.ต่างสนับสนุนให้มีการรับร่างดังกล่าวโดยอ้างข้อดีต่างๆ มากมาย ส่วนกลุ่มที่แสดงตัวออกมาคัดค้านเต็มที่คือ พรรคไทยรักไทยและเครือข่ายพันธมิตรเป็นแกนนำ โดยอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นผลิตผลของเผด็จการทหาร ซึ่งเป็นเหตุผลทางด้านการเมืองเป็นหลัก

ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยตัวท่านเอง ท่านต้องมีอิสระในการตัดสินโดยการเคารพตนเอง ไม่ยอมให้ใครมาจูงจมูกชี้นำให้รับหรือไม่รับร่างดังกล่าว อย่าตกเป็นทาสการโฆษณาชวนเชื่อ ประชาสัมพันธ์ และทาสน้ำเงินจากกลุ่มคนที่สนับสนุนหรือต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ แต่ท่านต้องวิเคราะห์ เพ่งพินิจและไตร่ตรองอย่างรอบคอบถึงข้อดีข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ แล้วตัดสินใจด้วยตนเองในขั้นสุดท้าย

แน่นอน ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ถูกใจคนทั้งหมด หรือไม่ถูกใจคนทั้งหมด และไม่มีใครที่พอใจร่างรัฐธรรมนูญในทุกมาตรา หรือไม่พอใจทุกมาตรา ต้องมีที่พอใจบ้างและไม่พอใจบ้าง ถ้าท่านเห็นว่าส่วนใหญ่ของร่างรัฐธรรมนูญใช้ได้ก็ควรรับ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับส่วนใหญ่ของร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะหากไม่เห็นด้วยกับมาตราที่เป็นหัวใจของประชาธิปไตย ก็ไม่ควรรับ

ท่านอย่าไปเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อหรือประชาสัมพันธ์ว่าร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ดีที่สุด หรือดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และอย่าไปเชื่ออย่างงมงายว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ดีที่สุด หรือดีกว่าร่างปี 2550 เนื่องจากใครร่างรัฐธรรมนูญฉบับไหนก็มักบอกว่ารัฐธรรมนูญที่ตนมีส่วนร่างเป็นฉบับที่ดีที่สุด หรือดีกว่าคนอื่น เนื่องจากการยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง หรือ “อัตตา” เพราะในข้อเท็จจริง “ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดดีที่สุดตลอดไป” แม้แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2518 หรือปี 2540 ที่ว่าดีที่สุดนั้น หากดีที่สุดคงไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม ที่ว่าดีที่สุดอาจดีที่สุดในระยะหนึ่ง เมื่อสภาพแวดล้อมทางการเมืองและทางสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นธรรมดา

รัฐธรรมนูญถูกร่างโดย “คน” เพื่อให้ “คน” เป็นผู้ใช้ คนที่ใช้มีสมองทั้งส่วนที่เป็นเทพและเป็นมาร ดังนั้น จึงปรากฏนักการเมืองและนักตีความรัฐธรรมนูญแบบ “ศรีธนญชัย” มากมายเพื่อประโยชน์ของตนหรือของกลุ่ม จนทำให้เจตนารมณ์ของแต่ละภาคส่วนในรัฐธรรมนูญถูกบิดเบือน เราควรยอมรับความจริงประการหนึ่งคือ รัฐธรรมนูญเมืองไทยได้ลองผิดลองถูกมาโดยตลอด และจะลองผิดลองถูกไปอีกนาน รัฐธรรมนูญอาจเหมาะสม หรือดีสำหรับสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะสมเมื่อสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป

นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญจะร่างให้ดีขึ้นมาอย่างไร หากยังมีนักการเมืองศรีธนญชัยที่มักหาวิธีการใหม่ๆ ตีความรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ของตน โดยไม่คำนึงถึงชาติบ้านเมืองจะเสียหายอย่างไร รัฐธรรมนูญก็จะมีปัญหา คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงพยายามแก้ไขข้อผิดพลาดที่ผ่านมา และหาทางป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์เกิดซ้ำรอย พร้อมกับมองไปข้างหน้าว่าบ้านเมืองไทยจะพัฒนาไปในรูปแบบใด รัฐธรรมนูญจะกำหนดทิศทางการเดินของประเทศและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนได้อย่างไร

คณะผู้ร่างมองอนาคตเท่าที่พอมองเห็นได้ แต่สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไปเสมอโดยอิทธิพลจากภายนอกและภายในประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงต้องมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคม ฯลฯ ที่เปลี่ยนแปลงไป

รัฐธรรมนูญต้องไม่ “แข็ง” เกินไปจนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ต้องมี “ความยืดหยุ่น” บ้าง และต้องหา “ทางออก” ไว้ด้วย ในกรณีที่เกิดภาวะชะงักงันทางการเมือง มิฉะนั้นจะเปิดโอกาสให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผ่านการยึดอำนาจแทน

ท่านต้องดูว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550 ร่างขึ้นบนสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับความเป็นไปและความเป็นจริงของสังคมไทยและคนไทยหรือไม่ เพราะนี่คือรัฐธรรมนูญที่ใช้กับคนไทย ไม่ใช่ไปลอกเลียนเอารัฐธรรมนูญของประเทศอื่นซึ่งใช้กับคนประเทศนั้นมาเขียนโดยไม่มีการดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทย

บ่อยครั้งที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญไทยบางคนอวดภูมิความรู้หรือรู้สึกภูมิใจมากที่ตนเองสามารถลอกเลียนรัฐธรรมนูญจากต่างประเทศ เช่น อังกฤษ โดยอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญจากประเทศต้นแบบของประชาธิปไตยและอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในโลกมาใช้ ทั้งที่คนอังกฤษบอกย้ำเสมอว่า รัฐธรรมนูญอังกฤษเหมาะกับคนอังกฤษเท่านั้น เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้กับคนอังกฤษภายใต้สภาพแวดล้อมของสังคมอังกฤษ ถ้าคุณจะนำมาใช้ในเมืองไทยก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสังคมไทย

การจะตัดสินใจว่า ควรรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ข้อพิจารณาประการหนึ่งคือ ให้ดูสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่า มีความเป็น “ประชาธิปไตย” มากน้อยเพียงใด ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็น “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” หรือไม่อย่างไร นักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ท่านหนึ่งกล่าวว่า “หัวใจของประชาธิปไตย” มีเพียง 3 ประการ คือ (1) การตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) (2) สิทธิเสรีภาพของประชาชน และ (3) การมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนที่เหลือเป็นเพียงส่วนประกอบ และอย่าไปเชื่อนักการเมืองให้มากนัก เพราะ นักการเมืองมักจะพูดและวิจารณ์ถึง “วิธีการเข้าสู่อำนาจ” ของพวกเขาเป็นสำคัญ ส่วนการเลือกตั้งซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน ต้อง “เสรี บริสุทธิ์ และยุติธรรม” เท่านั้น ไม่ใช่ใช้ เงินซื้อ ซึ่งจะทำให้เจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของประชาชนถูกบิดเบือน

ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือ มีคนไทยสักกี่คนที่สนใจศึกษาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีคนไทยสักกี่คนที่อ่านร่างทั้งหมด อย่างเก่งก็อ่านเฉพาะในส่วนที่ตนสนใจหรือที่จะกระทบต่อวิชาชีพของตนเท่านั้น จากการสำรวจโดยวิธีสุ่มตัวอย่างของสถาบันต่างๆ ผลออกมาตรงกันว่า แม้แต่คน กทม.และปริมณฑลซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด มีจิตสำนึกทางการเมืองมากที่สุด ยังมีคนไม่เท่าไรที่สนใจร่างรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง และคงมีคนไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่อ่านและศึกษาร่างในทุกมาตรา ดังนั้น จึงไม่ต้องพูดถึงคนต่างจังหวัดที่มีปัญหาเฉพาะหน้าในการทำมาหากิน โอกาสที่จะออกเสียงรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีโอกาสเป็นไปตามคำชักชวน หรืออำนาจการเงิน มากกว่าการใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณของตนเอง

สิ่งที่อยากร้องขอมา ณ โอกาสนี้คือ ฝ่ายที่ไม่สนับสนุนให้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ควรยุแหย่ไม่ให้ประชาชนไปลงประชามติ หากท่านไม่ต้องการให้ประชาชนรับร่าง ก็ต้องอธิบายด้วยเหตุและผลว่าทำไมท่านไม่อาจรับร่างฉบับนี้ได้ โดยชี้แจงในประเด็นสำคัญว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร หากรับไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างไร การที่ยุแหย่ไม่ให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าเป็นผลผลิตของเผด็จการนั้น เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังรับไม่ได้ และอาจโดนโต้กลับว่า ใครคือเผด็จการตัวจริงกันแน่ โดยเฉพาะเผด็จการประชาธิปไตยน่ากลัวกว่าเผด็จการทหารเสียอีก

รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องไกลตัวประชาชนอีกต่อไป ดังนั้น คนไทยต้องเริ่มศึกษาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แล้ว อย่างน้อยก็ศึกษาเฉพาะสาระสำคัญ 3 ประการที่เป็นหัวใจของประชาธิปไตย ถ้าท่านเห็นว่าส่วนใหญ่ของร่างรับได้ก็รับไป แต่ถ้าเห็นว่าส่วนใหญ่ของร่างรับไม่ได้ก็อย่าไปรับ แต่ต้องเคารพในตัวท่านเอง อย่าให้ใครมาบงการการตัดสินใจของท่านได้ (อาทิตย์ 15 กรกฎาคม 2550)

http://www.the-thainews.com/analized/domestic/dom180750_1.htm
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25-07-2007, 10:38 »

รัฐอย่าปิดหูปิดตาประชาชน   
 
ในประเทศประชาธิปไตยหากรัฐบาลไปทำข้อตกลงหรือทำสัญญากับต่างประเทศ จำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับรู้ ในบางกรณีต้องให้รัฐสภาให้สัตยาบันด้วย จึงจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้

ไม่ใช่รัฐบาลแอบไปทำกับต่างประเทศ และพยายามปกปิดไม่ให้ประชาชนได้รับรู้
ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ผู้นำรัฐบาลไปทำข้อตกลงเขตเสรีทางการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนไทยกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร อีกทั้งไม่ยอมนำเรื่องดังกล่าวผ่านรัฐสภาหรือทำประชาวิจารณ์ จนถูกกล่าวหาว่าไปงุบงิบทำข้อตกลงเพราะมี "ผลประโยชน์เชิงธุรกิจ" เฉพาะครอบครัว

หรือกรณีรัฐบาลรับ "ใบสั่ง" จากอเมริกาห้ามทางการไทยส่งคนอเมริกันขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ และไทยต้องรับข้อกำหนดว่าด้วยการก่อการร้ายมาดำเนินการ โดยพยายามปกปิดไม่ให้คนไทยรู้ จนกระทั่งสื่อไปแอบรู้และนำมาเปิดโปงให้ประชาชนได้รับทราบ
ด้วยเหตุนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงหาทางป้องกันไม่ให้เรื่องทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอีก ด้วยการกำหนดให้มีการทำประชาพิจารณ์ หากข้อตกลงนั้นกระทบต่อประชาชน และต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพื่อให้การทำข้อตกลงหรือสัญญาดังกล่าวได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น ลดความเสียหายที่อาจกระทบต่อประเทศและประชาชน

ข้อตกลงทางการทหารระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ซึ่งตกลงให้สิงคโปร์ใช้พื้นที่ จ.กาญจนบุรี ฝึกการรบแบบกองโจร ได้ทำขึ้นแล้ว 7 ครั้ง ครั้งละ 3 ปี โดยฉบับที่ 7 จะสิ้นสุดลงในปี 2550 แสดงว่าฉบับแรกได้ทำขึ้นประมาณปี 2529 รวมทั้งการที่รัฐบาลชุดก่อนยินยอมให้สิงคโปร์เช่าฐานบินอากาศที่ จ.อุดรธานี สำหรับให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ฝึกบิน และส่งเครื่องบินรบมาประจำการ แลกเปลี่ยนกับเครื่องบินเอฟ 16 ที่ปลดประจำการให้กองทัพอากาศไทย เป็นสิ่งที่ประชาชนไทยไม่รู้เรื่องมาก่อนเลย จนกระทั่งถูกนำมาเปิดเผยเมื่อปี 2549 โดยสื่อมวลชนไทยหลังจากรัฐบาลสิงคโปร์เกิดปัญหากับประชาชนไทย
การให้กองกำลังต่างชาติมาฝึกหรือซ้อมรบในประเทศไทย หรือการให้ทหารต่างชาติมาเช่าพื้นที่ฝึกรบและฝึกบินในประเทศไทย ถือว่ากระทบต่อบูรณภาพอธิปไตยด้านดินแดนของชาติและกระทบต่อประชาชนไทยโดยตรง ที่คนไทยต้องมีส่วนได้รับรู้ด้วย ไม่ใช่มารู้ทีหลัง เพราะเรื่องถูกเปิดโปงโดยสื่อ หรือรัฐบาลจำใจให้รู้เพราะปิดไม่ได้แล้ว

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ครม.อนุมัติการต่อสัญญา "การจัดทำความตกลงเรื่องการฝึกของกองทัพสิงคโปร์ในราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 8 พ.ศ.2550-2553" แต่ทำกันในลักษณะ "ไม่ใช่เรื่องลับ แต่ไม่บอกให้รู้" ถ้าสื่อมวลชนหรือคนไทยไปสืบรู้ได้เองก็จะบอก ทำนองนั้น

บ้านเมืองที่พัฒนาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การที่ผู้มีอำนาจคิดจะทำอะไรตามใจตนเองหรือพยายามปกปิดไม่ให้ประชาชนได้รับรู้ ทั้งที่เป็นเรื่องกระทบต่ออธิปไตยของประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

คนไทยเป็นคนมีเหตุผล ถ้าชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น ข้อดีข้อเสียให้ทราบ คนไทยรับได้ (อังคาร 10 ก.ค. 50) 
http://www.the-thainews.com/analized/domestic/dom110750_1.htm
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25-07-2007, 10:40 »

อย่าเอามหาตมะ คานธี มาแปดเปื้อน 
 

คนไทยที่เรียนหนังสือน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักมหาตมะ คานธี บิดาของอินเดีย ประเทศที่มีอารยะธรรมน้อยหลังไปไกลถึง 5,000 ปี อังกฤษเข้ายึดครองอินเดียในคริสตศตวรรษที่ 19 และได้ท่านมหาตมะ คานธีนี่แหละที่ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษแบบอหิงสา โดยมีเยาวหราล เนรูห์ อยู่เคียงข้าง อังกฤษเจอวิธีการต่อสู้แบบอหิงสาของท่านมหาตมะ คานธี เข้า ไม่ว่าจะจับท่านขังคุก หรือปล่อยออกมา ท่านก็ยังใช้วิธีเดิมสู้กับอังกฤษ จนอังกฤษต้องให้เอกราชอินเดียวเมื่อ ค.ศ.1947 หรือ พ.ศ.2490 การต่อสู้แบบอหิงสาของท่านมหาตมะ คานธี จึงเป็นต้นแบบของการต่อสู้ทางการเมืองที่ไม่ใช่ความรุนแรงในประเทศต่าง ๆ ตลอดมา


เห็นภาพของม็อบสนามหลวงที่นำโดยกลุ่ม พีทีวี. เอารูปปั้นของท่านมหาตมะ คานธี มาตั้งเด่นเป็นสง่า และไม่ทราบว่าใครปั้นรูปนี้ซึ่งเป็นรูปเหมือนกับท่านมหาตมะ คานธี มานั่งอยู่จริง ๆ โดยม็อบสนามหลวงประกาศว่า จะต่อสู้กับรัฐบาล และ คมช. โดยวิธีอหิงสาแบบท่านมหาตมะ คานธี แต่สิ่งที่ม็อบสนามหลวงได้กระทำตลอดมาทั้งก่อนและหลังที่เอารูปท่านมหาตมะ คานธีมาตั้งไว้ ทำให้หลายคนสงสัยว่า การต่อสู้ของม็อบสนามหลวงยึดแนวทางอหิงสาของมหาตมะ คานธีจริงหรือ


มหาตมะ คานธี ท่านได้ต่อสู้เพื่อประเทศอินเดียและเพื่อประชาชนอินเดียมาตลอดชีวิตของท่าน ท่านต่อสู้เพื่อให้อินเดียเป็นเอกราชจากการปกครองของอังกฤษ และเพื่ออิสระเสรีภาพของชาวอินเดีย ท่านไม่ได้ต่อสู้เพื่อใครคนใดคนหนึ่งแล้วมาหลอกประชาชนว่า ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย


มหาตมะ คานธี ท่านต่อสู้โดยไม่ได้เห็นแก่อามิสสินจ้าง ท่านไม่ต้องการเงินทองมาสนับสนุนการต่อสู้ของท่าน ท่านไม่ได้ต่อสู้เพื่อหลอกเอาเงินใครมาเคลื่อนไหว ท่านต่อสู้มาอย่างไร ท่านก็ยังมีสภาพเช่นเดิม ไม่ได้ร่ำรวยขึ้นจากการต่อสู้เคลื่อนไหว ดังนั้น คนอินเดียจึงไม่เคยขนานนามท่านว่า เป็น “ม็อบหลอกแ-ก” อะไรทำนองนั้น


มหาตมะ คานธี ท่านต่อสู้โดยไม่ได้หวังผลว่า การต่อสู้ของท่านจะทำให้ท่านเป็นใหญ่เป็นโตทางการเมืองต่อไป หรือหวังผลจะได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ให้ได้ชื่อว่าเป็นนักประชาธิปไตย นักต่อสู้เผด็จการเพื่อหาเสียงหรือหาเงินไว้ใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป


มหาตมะ คานธี ไม่เคยขึ้นไฮปาร์คกล่าวปลุกระดมคนอินเดียให้ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้กับอังกฤษ หรือยั่วยุให้คนอินเดียเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ ตรงกันข้าม หากมีคนอินเดียกลุ่มใดพยายามใช้ความรุนแรง ท่านพยายามห้ามปรามตลอดเวลา ท่านยึดแนวอหิสาในการต่อสู้ตลอดมา


มหาตมะ คานธี ไม่เคยตะโกนด่าผู้ปกครองชาวอังกฤษ หรือเจ้าหน้าที่อินเดียและเจ้าหน้าที่อังกฤษ ท่านไม่เคยกล่าวคำถ่*** คำหยาบคายในการปราศรัยกับชาวอินเดีย ชาวอินเดียที่มาร่วมต่อสู้กับท่านไม่เคยกล่าวคำหยาบคาย ดังนั้น จึงไม่ใช่ “ม็อบถ่***”


มหาตมะ คานธี เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถสูง ไม่แพ้คนอื่น แต่ท่านระมัดการปฏิบัติตน ระมัดระวังคำพูด ไม่มีคำหยาบคายหลุดออกมาจากปากท่าน ท่านไม่เคยแสดงท่าทีก้าวร้าว รุนแรงเป็นแบบอันธพาล ไม่ได้เป็นแบบ “ปัญญาชน” ที่มี “ความถ่***” อยู่ในตัว


มหาตมะ คานธีซึ่งมีคนอินเดียสนับสนุนอยู่มากมาย แต่ท่านไม่เคยนำชาวอินเดียไปท้าตีท้าต่อยกับเจ้าหน้าที่ หรือทำท่าจะบุกเข้าไปในหน่วยงานของรัฐที่อังกฤษปกครองอยู่ หรือยั่วยุให้ทหารอังกฤษและเจ้าหน้าที่อินเดียใช้ความรุนแรงกับประชาชน โดยเอาประชาชนเป็นเหยื่อ ส่วนตัวเองอยู่ข้างหลัง

มหาตมะ คานธี ไม่เคยจ้างคนอินเดียไปร่วมชุมนุม เพราะมหาตมะ คานธี ท่านไม่มีเงิน ถึงมีเงินท่านก็คงไม่ทำ อีกทั้งท่านไม่มีหัวคะแนนเอาเงินไปจ้างให้คนมาชุมนุมเพื่อท่าน ท่านสู้อย่างสันติและสมถะเหมือนนักพรต


มหาตมะ คานธี ไม่เคยขึ้นรถปราศรัยหรือตะโกนด่า และคุกคามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย จนทำให้ชาวบ้านและนักศึกษาหนวกหูไปตาม ๆ กัน จนเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยต้องออกมาร้องขอให้หยุดเสียทีเพราะครูอาจารย์สอนไม่ได้


เมื่อท่านกล่าวคำปราศรัย แม้มีคนไม่เห็นพ้องกับท่าน หรือคนของฝ่ายรัฐบาลเข้ามาฟัง ท่านไม่เคยปลุกระดมลูกน้องหรือกองหน้าไปวิ่งไปไล่ตีหรือไล่กระทืบคนนั้น ถ้าอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหวัน เกิดในสมัยมหาตมะ คานธี แม้จะมีความเห็นแย้งกับท่าน ก็คงไม่โดนรุมกระทืบเป็นแน่


แม้มีคนข่มขู่ให้มหาตมะ คานธี ยุติการต่อสู้เรียกร้อง มิฉนั้นจะสังหารท่าน ท่านก็ยืนหยัดต่อสู้จนนาทีสุดท้าย แม้รู้ตัวว่าถูกปองร้าย ท่านก็พร้อมที่จะตาย แต่วิญญานแห่งการต่อสู้ของท่านไม่ได้ตายไปด้วย เยาวราล เนรูห์และคนอินเดียยังสืบทอดเจตนารมย์จนอินเดียได้รับเอกราชในที่สุด


ถ้าต้องการต่อสู้แบบอหิงสาเช่นท่านมหาตมะ คานธี ก็ต้องปฏิบัติตนแบบมหาตมะ คานธี ไม่ใช่เพียงเอารูปปั้นท่านมาตั้งไว้แล้วประกาศว่าจะต่อสู้แบบอหิงสา แต่เวลาทำเป็นอีกอย่าง


อย่าเอาท่านมหาตมะ คานธี มาแปดเปื้อนกับการชุมนุมประท้วงครั้งนี้เลย หากกลุ่มม็อบรักทักษิณต้องการชุมนุมประท้วง น่าจะเอารูปปั้นของอดีตนายกรัฐมนตรีมาตั้งไว้ ดูจะเวิร์คกว่า
 
 http://www.the-thainews.com/analized/domestic/dom020750_3.htm
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #3 เมื่อ: 25-07-2007, 10:43 »

"มาตรา 309 บรรดาการใด ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อน หรือ หลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

      มาตรา 309 ตีความได้ว่า การกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยการรัฐประหาร นั้นเป็นการกระทำความผิดตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  แม้ได้ออกรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2549 มาล้างความผิดให้แล้วก็ตาม แต่ความผิดนั้น ก็มิได้ล้างได้หมดสิ้น ด้วยข้อจำกัดเพราะ เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่มิได้เกิดโดยความเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งมิได้เป็นกฎหมายของมหาประชาชน อาจจะมีการปฏิเสธการบังคับใช้ในภายหลังได้ ดังนั้นจึงต้องนำการกระทำดังกล่าว มากำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550  เพื่อให้การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้มีการรื้อฟื้นความผิดนั้นอีกต่อไป
         
     จึงมีคำถามว่า การทำรัฐประหารของ คมช และ การแต่งตั้ง องค์กรต่างๆ เช่น สสร  สนช  คตส  รวมทั้ง ตุลาการ รัฐธรรมนูญ ล้วนเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช่หรือไม่ หากไม่ใช่ เหตุใดต้องมี มาตรา 309 ออกมาเพื่อปกป้องและล้างมลทิน หากใช่ ก็หมายความว่า มาตรา 309 จะล้างมลทิน ให้ได้จริง

     บทสรุป การ รับ หรือ ไม่รับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงมีผลชี้เป็นชี้ตาย ความมีอยู่ของ คมช และ องค์กรต่างๆ หรือ คำสั่งต่างๆ นั้น ชอบหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นั้นหมายถึง
     รับ     คมช และ องค์กรที่แต่งตั้งโดย คมช หรือ คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน ช่วยเหลือ เป็นธุระจัดการ ให้ คมช กระทำการสำเร็จแผน 4 ข้อ  กระทำชอบด้วยกฎหมาย
     ไม่รับ     คมช และ หมู่คณะทั้งมวล ย่อมมี ความผิด เป็นการลงโทษมิให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง มิให้มีการทำการรัฐประหารอีกต่อไป

19 สิงหาคม 2550  วันลงประชามติ ชี้ชะตา ประเทศไทย"
บันทึกการเข้า
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #4 เมื่อ: 25-07-2007, 11:25 »

"มาตรา 309 บรรดาการใด ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อน หรือ หลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

      มาตรา 309 ตีความได้ว่า การกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยการรัฐประหาร นั้นเป็นการกระทำความผิดตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  แม้ได้ออกรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2549 มาล้างความผิดให้แล้วก็ตาม แต่ความผิดนั้น ก็มิได้ล้างได้หมดสิ้น ด้วยข้อจำกัดเพราะ เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่มิได้เกิดโดยความเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งมิได้เป็นกฎหมายของมหาประชาชน อาจจะมีการปฏิเสธการบังคับใช้ในภายหลังได้ ดังนั้นจึงต้องนำการกระทำดังกล่าว มากำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2550  เพื่อให้การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้มีการรื้อฟื้นความผิดนั้นอีกต่อไป
         
     จึงมีคำถามว่า การทำรัฐประหารของ คมช และ การแต่งตั้ง องค์กรต่างๆ เช่น สสร  สนช  คตส  รวมทั้ง ตุลาการ รัฐธรรมนูญ ล้วนเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช่หรือไม่ หากไม่ใช่ เหตุใดต้องมี มาตรา 309 ออกมาเพื่อปกป้องและล้างมลทิน หากใช่ ก็หมายความว่า มาตรา 309 จะล้างมลทิน ให้ได้จริง

     บทสรุป การ รับ หรือ ไม่รับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงมีผลชี้เป็นชี้ตาย ความมีอยู่ของ คมช และ องค์กรต่างๆ หรือ คำสั่งต่างๆ นั้น ชอบหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นั้นหมายถึง
     รับ     คมช และ องค์กรที่แต่งตั้งโดย คมช หรือ คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน ช่วยเหลือ เป็นธุระจัดการ ให้ คมช กระทำการสำเร็จแผน 4 ข้อ  กระทำชอบด้วยกฎหมาย
     ไม่รับ     คมช และ หมู่คณะทั้งมวล ย่อมมี ความผิด เป็นการลงโทษมิให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง มิให้มีการทำการรัฐประหารอีกต่อไป

19 สิงหาคม 2550  วันลงประชามติ ชี้ชะตา ประเทศไทย"


ไม่ต้องพดเรื่อง309 หรอกครับ ยังไงเราก็หลีกหนีไม่พ้น ให้เค้าเอาฉบับไหนมาปัดฝั่น เค้าก็ใส่มาตรานี้ลงไปได้ ตะแบงแบบโง่ๆ
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #5 เมื่อ: 25-07-2007, 11:32 »

ไม่ต้องพดเรื่อง309 หรอกครับ ยังไงเราก็หลีกหนีไม่พ้น ให้เค้าเอาฉบับไหนมาปัดฝั่น เค้าก็ใส่มาตรานี้ลงไปได้ ตะแบงแบบโง่ๆ


ถ้ามาพล่ามว่ายังไงก็ใส่ 309 ในรธน.ฉบับใดก็ได้ที่นำมาใช้....แล้วจะจัดทำประชามติทำไม ตอบหน่อยซิพ่อคนฉลาด!?!
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 25-07-2007, 11:37 »

ก็ใส่ 309 ให้ประชาชนตัดสินว่า

ปฏิวัติครั้งนี้..ชอบหรือไม่ชอบไง

ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

 

บันทึกการเข้า

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #7 เมื่อ: 25-07-2007, 11:39 »

ก็ใส่ 309 ให้ประชาชนตัดสินว่า

ปฏิวัติครั้งนี้..ชอบหรือไม่ชอบไง

ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

 





เหตุผลชัดเจนแบบนี้ซิ...ถึงได้คุยกันได้หน่อย อิ อิ
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #8 เมื่อ: 25-07-2007, 11:49 »

ก็ใส่ 309 ให้ประชาชนตัดสินว่า

ปฏิวัติครั้งนี้..ชอบหรือไม่ชอบไง

ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

 



แหม..ตีความเหมารวมแบบนี้ก็แปลกๆนะครับ
รธน.ฉบับนี้ก็มีข้อดีข้อเสียอยากให้พิจารณาโดยรวมมากกว่า
แต่สำหรับบางคน 309 กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับเขา นั่นก็อีกเรื่องนึง
บันทึกการเข้า
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 25-07-2007, 14:41 »

แหม..ตีความเหมารวมแบบนี้ก็แปลกๆนะครับ
รธน.ฉบับนี้ก็มีข้อดีข้อเสียอยากให้พิจารณาโดยรวมมากกว่า
แต่สำหรับบางคน 309 กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับเขา นั่นก็อีกเรื่องนึง

อ่อลุงแคนเค้าแค่ตีความให้เด็กฟังอ่ะครับ

ใส่เนื้อหาลงไปมากไม่ได้

ขนาดผมเอาเรื่องค่าเงินมาให้อ่านนิดเดียว

 ยังกลายเห็นเป็นเปรมิกาไปเลย 

จะสื่อสารกับใครก็ต้องดูว่าคนๆนั้นรับได้แค่ไหนครับ
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #10 เมื่อ: 25-07-2007, 14:47 »

งั้นต้องส่งตัวไปรักษาก่อน แล้วจึงให้มาเล่นเน็ตต่อแล้วละครับ
ขนาดกระทู้ค่าเงิน ยังเพี้ยนเปรมิกาได้แบบนั้น
ทิ้งไว้นานเดี๋ยวเพี้ยนหนักจับเว็บบอร์ดเป็นตัวประกันแล้วจะยุ่ง 
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #11 เมื่อ: 25-07-2007, 14:57 »

สมกับชื่อกระทู้ว่า "อย่าให้ใครมาบงการ" จริงๆ สำหรับ 2 หนุ่มที่ดูจะระริกระรี้กันแทบจะแลกลิ้นพันตูกันเลยน๊า
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #12 เมื่อ: 25-07-2007, 15:09 »

กรั๊กๆๆๆ
ดีกว่าพวกที่เอาลิ้นพันคอตัวเองตายครับ 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #13 เมื่อ: 25-07-2007, 15:54 »

อย่าให้ใครเขาเป็นเจ้าชีวิตเธอนะคนดี...
เพราะเราเกิดมาในโลกแห่งเสรี

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=histoire&group=1&month=07-2007&date=05

 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: