ล้ม รธน. เลือกตั้งเร็ว - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ไทยโพสต์ แทบลอยด์ 15 กรกฎาคม 2550ขออีกครั้งกับวรเจตน์ ในช่วงเวลาที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ส.ส.ร.แล้ว เตรียมจะเข้าสู่การ
ลงประชามติ ในฐานะนักกฎหมายมหาชนที่ทุกฝ่ายยอมรับ (แม้บางคนปากไม่ยอมรับ)
ว่า เที่ยงตรงอยู่ในหลักการมากที่สุด ในยุคสมัยที่นักกฎหมายส่วนใหญ่เลือกข้างไปแล้ว
แม้ยืนยันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่วรเจตน์ก็ไม่เคยวิจารณ์ด้วยอคติ เขาเน้นที่เนื้อหา
วิจารณ์ด้วยหลักวิชา บทสัมภาษณ์ครั้งนี้อาจจะเน้นเนื้อหาซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย
แต่วรเจตน์ยังชี้ว่า ข้อบกพร่องของร่างรัฐธรรมนูญ 50 อีกด้านหนึ่ง ก็คือขาดตรรกะ มี
ความไม่สอดคล้องกันในทางหลักกฎหมายมหาชน อาทิเช่น การกำหนดว่าองค์กรใด
เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติว่าด้วยความขัดแย้งระหว่างองค์กร หรือชั้น ของ
กฎหมาย ซึ่งจะเป็นปัญหาให้ต้องตีความกันยุ่งยาก เมื่อนำมาปฏิบัติในภายหน้า ราย
ละเอียดในส่วนนี้อาจต้องถกกันอย่างจริงจังในหมู่นักวิชาการและนักกฎหมาย
บทสัมภาษณ์ครั้งนี้นอกจากชี้ว่าส่วนใดเปลี่ยนส่วนใดไม่เปลี่ยน จากร่างของกรรมาธิการ
ที่วิจารณ์ไปแล้ว วรเจตน์ยังชี้ให้เห็นว่า ประเด็นร้อนแรงที่สุดในทางการเมือง ก็คือ
มาตรา 309 ว่าด้วยการนิรโทษกรรม ซึ่งออกมาเพื่อรองรับ คมช. และ คตส. โดยเฉพาะ
ขณะเดียวกันเขายัง
หักล้างข้ออ้างของ คมช. และรัฐบาล ที่ว่ารับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
จะได้เลือกตั้งเร็ว เพราะไม่เป็นความจริง ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แล้ว คมช. และรัฐบาล
กล้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ก็ไม่ต้องเสียเวลาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. และกฎหมายพรรคการเมือง เอากฎหมายเดิมมาใช้ได้
ทันที
ใครว่าไม่รับแล้วช้าวรเจตน์บอกว่าแม้จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวเขาก็เชื่อว่าจะผ่านการลงประชามติ
"ณ เวลานี้เชื่อว่าจะผ่าน เพราะอีก 3 สัปดาห์ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ผมก็เชื่อว่า
เขาคงพยายามทุกวิถีทางให้ผ่านให้ได้ เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มันมีกล่องดวงใจ
ของ คมช. อยู่ คือ มาตรา 309 เป็นสิ่งซึ่งคุณจะแตะอะไรก็แตะไปเถอะ แต่เรื่องนิรโทษ-
กรรมอย่ามาแตะ ไม่มีการปรับเปลี่ยนเลยแม้แต่ถ้อยคำเดียว"
ประชาชนก็อยากให้ผ่านด้วย
"ประชาชนเขาอาจจะรู้สึกอยากให้เรื่องมันจบ หลายคนอยากเลือกตั้งแล้ว ตัวร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันไปผูกการเลือกตั้ง โดยผลพวงของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549
ที่กำหนดการทำ
ประชามติแบบเทียมๆ ขึ้น ... ในแง่ของการรณรงค์และการ debate
ก็อยู่บนพื้นฐานของความ
ไม่เท่ากัน ก็เลยคิดว่าน่าจะผ่านไปได้ แต่ถ้ามีปัจจัยอะไร
มา ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะตอนนี้ฝ่ายรณรงค์ไม่รับก็ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน บางคน
บอกให้ทำบัตรเสีย ให้เขียนว่า ไม่เอา คมช. ซึ่งผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วย ถ้าจะรณรงค์ให้
เป็นเอกภาพก็คือ รณรงค์ไปกา ไม่รับ ... แต่ต้องอธิบายความหมายของ ไม่รับ ว่า
หมายความว่าอะไรบ้าง"
"อย่างผมไม่รับ คือ ไม่รับที่มา ไม่รับกระบวนการ ไม่รับเนื้อหา และจะชี้ให้เห็นว่า
ไม่รับกระบวนการทำประชามติด้วย และต้องอธิบายด้วยว่า ไม่รับแล้วทำอย่างไรต่อ
เพื่อตอบคำถามได้ว่า เลือกตั้งจะไม่ช้า"
"ไม่รับ เท่ากับ รัฐธรรมนูญ 2540 ... เอาการเลือกตั้งตามระบบ 2540 เท่ากับ เอา
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง 2540 มาใช้ และเลือกตั้งได้เลยทันที
คุณไม่ต้องรอทำกฎหมาย ... ถ้ารับฉบับนี้ คุณต้องทำกฎหมายเลือกตั้งนะ ... แต่ถ้า
ไม่รับ วันที่ประชามติออกมา และผลว่า ไม่รับ ก็ต้องกดดันให้ คมช. ครม. เอารัฐธรรม-
นูญ 2540 มาประกาศใช้ทันที อาจจะเขียนบทเฉพาะกาลสัก 3-4 มาตรา และกำหนด
วันเลือกตั้งได้เลย เพราะกฎหมายมีอยู่แล้ว เขตเลือกตั้งก็ไม่ต้องทำใหม่ เอาไปตามนี้
ก่อน ผ่านกระบวนการเลือกตั้งแล้ว จะปฏิรูปก็ค่อยว่ากันอีกที อย่างน้อยมันมีฐานในทาง
ประชาธิปไตย"
เรื่องนี้สวนทางกับที่คนทั่วไปคิดว่าจะช้า วรเจตน์บอกว่าไม่ใช่ เป็นความเข้าใจผิด
"มันเร็วกว่าด้วยซ้ำ เพราะกฎหมายเลือกตั้งไม่ต้องแก้เลย"
เขาบอกว่าทีมเพื่อนๆ อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 5 คน กำลังเตรียมแถลงเรื่องนี้
ในสัปดาห์หน้า ทิศทางจะนำเสนอเช่นนี้ แต่จะพิเคราะห์ให้รอบคอบในทางกฎหมาย
มากขึ้น เสนอทางแก้ปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 19 ก.ย. จนถึงวันที่ไม่รับ
ร่างรัฐธรรมนูญ
"เพราะมันเกิดอะไรขึ้นมาหลายอย่าง ... มันมี กกต. ป.ป.ช. มี คตส. มีการยุบพรรค
การเมือง ตัดสิทธิเลือกตั้ง ... พวกนี้เป็นปัญหาทางกฎหมายต้องขบและแก้ บนพื้นฐาน
ว่า ทำอย่างไรให้ การไม่รับ เท่ากับ รัฐธรรมนูญ 2540 บวกกับการเลือกตั้งทันที"
ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะ ประเด็นนำในการลงประชามติ กลายเป็นเรื่องเลือกตั้งช้า เร็ว
ถ้าไม่ตีประเด็นนี้ให้ตกไปก่อน ก็ไม่เกิดการต่อสู้ในทางเนื้อหาจริงๆ
"คือตอนนี้คนไม่มองเนื้อหา คนมองว่า รับ เท่ากับ เลือกตั้งเร็ว ... ไม่รับ ก็ไม่รู้เลือกตั้ง
เมื่อไหร่ ... ประเด็นมันถูกจำกัดแค่นี้ ... ไม่ได้เอามาเปรียบเทียบกันจะจะ รัฐธรรมนูญ
2540 กับ 2550 มันดีกว่ามันด้อยกว่าตรงไหน ... อย่างนี้มันทำให้การ debate ใน
เนื้อหามีความหมายยิ่งขึ้น ... ถึงเราค้านไม่สำเร็จก็เป็น record แต่ถ้าสำเร็จ มันอาจ
จะทำให้ สังคมที่จะพากันไปในทิศทางที่ตีบตันมากขึ้น อาจจะคลายตัวออกก็ได้ ...
นี่คือความพยายามของผมกับเพื่อนผมที่เรามีกันอยู่ 5 คน เราก็รู้จักกันดีทุกคน รู้ว่า
บริสุทธิ์ใจกันแค่ไหน"
"เราต้องชูธงว่า
ไม่รับ เท่ากับ รัฐธรรมนูญ 2540 บวกกับบทเฉพาะกาลสั้นๆ 3-4
มาตรา เพื่อแก้ปัญหาเทคนิคทางกฎหมาย และกำหนดวันเลือกตั้งทันที โดยใช้ พ.ร.บ.
เดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องแก้อะไรเลย เพราะเราจะเลือกตั้งในระบบ 2540 เพื่อ
ให้มีรัฐสภา
ที่มาจากการเลือกตั้งทั้ง 2 สภา และหลังจากนั้นพลังทางสังคมช่วยกันกดดันว่า ทิศ
ทางในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร ... ประเด็นที่มันดีใน 2550 อย่างเรื่องสิทธิ
เสรีภาพ ก็เอามาเพิ่ม ส่วนอะไรที่เป็นการสืบทอดอำนาจ ระบบอำมาตยาธิปไตย เอามา
ทำไม ผมว่ามันต้องสู้ตรงนั้น ถึงจะทำให้ประเทศเคลื่อนไปได้"
http://www.thaipost.net/index.asp?bk=tabloid&post_date=15/Jul/2550&news_id=145142&cat_id=220100เผด็จการออกไป .... ประชาธิปไตยคืนมา