ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 09:14
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ผลวิจัยชี้ ‘รัฐบาลทักษิณ’ อุ้มดีเซล สร้างมลพิษ ทำเศรษฐกิจพัง แนะหยุดแทรกแซงราคา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ผลวิจัยชี้ ‘รัฐบาลทักษิณ’ อุ้มดีเซล สร้างมลพิษ ทำเศรษฐกิจพัง แนะหยุดแทรกแซงราคา  (อ่าน 1906 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 14-07-2007, 16:19 »

ผลวิจัยชี้ ‘รัฐบาลทักษิณ’ อุ้มดีเซล สร้างมลพิษ ทำเศรษฐกิจพัง แนะรัฐหยุดแทรกแซงราคาน้ำมัน    
 
13 ก.ค. 50 ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันเพื่อการวิจัยพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยผลการศึกษาเรื่อง ‘ผลกระทบจากนโยบายการแทรกแซงราคาน้ำมัน’ ซึ่งร่วมวิจัยกับ ดร. ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากชุดโครงการวิจัยการประเมินนโยบายสาธารณะด้านสังคมที่มีความสำคัญ ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่าเนื่องจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายแทรกแซงตลาดน้ำมัน โดยเฉพาะการใช้มาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลมากกว่าน้ำมันเบนซินในช่วงปี 2547-2548 ได้นำไปสู่การบิดเบือนการตัดสินใจของผู้บริโภคในการหันมาเลือกบริโภคน้ำมันดีเซลมากกว่าเบนซิน

การบริโภคน้ำมันเบนซินในช่วงปี 2547-2549 จึงน้อยกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 343.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 1.5 ขณะที่การบริโภคน้ำมันดีเซลมากกว่าที่ควรจะเป็นถึงประมาณ 5,838.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการแทรกแซงราคา นอกจากจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการบิดเบือนปริมาณการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว มาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันยังมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากไม่มีหลักประกันว่ารัฐบาลจะคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ถูกต้อง

“มาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันจึงไม่มีประสิทธิผล รวมทั้งยังทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศ ขัดขวางการปรับตัวโดยธรรมชาติของผู้ใช้ และทำให้เกิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปริมาณมลพิษในอากาศจากการใช้น้ำมันดีเซลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่ากรณีที่ไม่มีการแทรกแซง เช่น ทำให้เกิด NOx มากกว่าที่ควรจะเป็น 3.3 แสนตัน CO มากกว่าที่ควรจะเป็น 1.6 แสนตัน และ SO2 มากกว่าที่ควรจะเป็น 8.9 พันตัน”

ดร.สมเกียรติกล่าวต่อว่า จากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไปพบว่า การแทรกแซงตลาดโดยอุดหนุนให้ราคาน้ำมันไม่เพิ่มสูงขึ้นไม่ได้ส่งผลดีต่อการกระจายรายได้นัก เพราะแม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลในการอุดหนุนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูงนอกภาคเกษตรก็ตาม มาตรการเดียวกันก็มีผลในการอุดหนุนครัวเรือนที่มีรายได้สูงมากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำในภาคการเกษตรด้วย การอุดหนุนราคาน้ำมันจึงมีประสิทธิผลในการส่งเสริมการกระจายรายได้น้อยกว่ามาตรการอุดหนุนที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำได้อย่างชัดเจน

รัฐจึงไม่ควรแทรกแซงราคาน้ำมันเพื่อป้องกันเงินเฟ้อทุกครั้งเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการแทรกแซงไม่ให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นสามารถจะชะลอไม่ให้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคทั่วไปมีระดับสูงขึ้นเร็วเกินไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น รวมทั้งยังมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อการเพิ่มราคาน้ำมันในตลาดโลกเกิดขึ้นเพียงเวลาสั้นๆ แต่หากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนรัฐบาลไม่สามารถตรึงราคาไว้ได้ต่อไปและต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวในที่สุดนั้นจะส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคทั่วไปในช่วงนั้นสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีการแทรกแซงราคาน้ำมัน

“จากการศึกษาด้วยการประมาณการโดยแบบจำลองของคณะผู้วิจัยพบว่าการแทรกแซงราคาน้ำมันทำให้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคทั่วไปในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 อยู่ที่ระดับ 115.49 สูงกว่ากรณีที่ไม่มีการแทรกแซงที่ระดับ 115.20 และดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในกรณีที่มีการแทรกแซงราคาน้ำมันจะสูงกว่ากรณีที่ไม่มีการแทรกแซงไปจนถึงอย่างน้อยปลายปี 2551 โดยอยู่ที่ระดับ 119.6 และ 118.8 ตามลำดับ” ดร.สมเกียรติกล่าว และสรุปว่ามาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันเป็นเพียงการผลักภาระของประชาชนจากปัจจุบันไปยังอนาคตเท่านั้น

นอกจากนี้ หากการแทรกแซงราคาน้ำมันไม่สำเร็จอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่ผันผวนกว่ากรณีที่ไม่แทรกแซง การปรับตัวของเศรษฐกิจภายหลังการยกเลิกการแทรกแซงจะเป็นไปอย่างฉับพลันรุนแรง แทนที่จะทยอยปรับตัวขึ้นตั้งแต่ต้นที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

“รัฐบาลจึงควรเลิกการแทรกแซงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคตโดยเด็ดขาด และเร่งสร้างความเข้าใจต่อสื่อมวลชนและผู้นำสังคมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดจากการแทรกแซงราคาน้ำมัน เพื่อป้องกันการสร้างกระแสสังคมที่เรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงราคาน้ำมันอีก”

ดร.สมเกียรติกล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลต้องการลดความเดือดร้อนของประชาชนบางกลุ่มจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสูง ก็ควรใช้มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะกลุ่มที่มีความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งพัฒนากลไกตลาดให้สามารถทำงานได้จากการแข่งขันของพลังงานทดแทนทั้งเอทานอล ไบโอดีเซล ตลอดจนพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ อย่างเป็นธรรม และสอดคล้องกับความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของการผลิตพลังงานทดแทนนั้นๆ และที่สำคัญปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องต้นทุนทางเศรษฐกิจและต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=8837&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai


นักวิชาการ นักวิจัยต้องทำงานต่อไป....
แม้ว่าแม้วและเมียหลวง จะหมดอำนาจและไม่อยู่ในเมืองไทยก็ตาม
ยังทิ้งสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้รัฐบาลรุ่นต่อมาต้องแก้ไขและชี้แจง
ให้ประชาชนทราบถึงพิษร้ายของนโยบายประชานิยมของอดีตนายกฯ.....


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 14-07-2007, 22:43 »

สมัยรัฐบาลทักษิณเคยมีการตรึงราคาน้ำมัน 2 ครั้ง ครั้งแรกสมัยทักษิณ 1 ช่วงเดือน กพ. - พค. 46
เป็นการตรึงราคาเนื่องจากสงครามอเมริกา-อิรัก รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 101 วัน

ผลการตรึงราคาครั้งนั้นถือว่าได้ผลดี ขาดทุนน้อยมากเพียง 3 ร้อยกว่าล้านบาท เนื่องจากสามารถ
เก็บเงินคืนกองทุนได้หลังจากเริ่มทำการแทรกแซงเพียงประมาณ 1 เดือนครึ่ง

เนื่องจากให้น้ำหนักของการแทรกแซงราคาเท่าๆ กันทุกผลิตภัณฑ์ โดยดำเนินนโยบายในเวลาสั้นๆ
และแทรกแซงราคาเพียง 1-3 บาท ทำให้ไม่มีผลกับการบิดเบือนสัดส่วนการใช้น้ำมันในตลาด



http://www.eppo.go.th/petro/pricestoday-2546.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-07-2007, 22:54 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 14-07-2007, 22:52 »

แต่การแทรกแซงราคาน้ำมันครั้งที่ 2 ในช่วงรอยต่อรัฐบาลทักษิณ 1 และทักษิณ 2
เป็นการแทรกแซงที่ก่อให้เกิดปัญหาขาดทุนมหาศาลกว่า 9 หมื่นล้านบาท และทำให้
เกิดการบิดเบือนตลาดการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง

เนื่องจากมีการแทรกแซงราคาไม่เท่ากันในแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยเน้นแทรกแซงดีเซล
และในบางช่วงแทรกแซงถึงกว่า 7 บาทต่อลิตร!!!

การดำเนินนโยบายแทรกแซงน้ำมันเบนซินเป็นระยะเวลาถึง 286 วัน และสำหรับดีเซล
ลากยาวถึง 551 วัน โดยตลอดระยะเวลาสามารถเก็บเงินคืนกองทุนในส่วนน้ำมันเบนซิน
ได้เพียงไม่กี่สิบวัน และในส่วนของดีเซลไม่สามารถเก็บเงินคืนกองทุนได้เลย

การแทรกแซงราคาดำเนินมาจนถึง 13 กรกฏาคม 2548 จึงยุติการแทรกแซงครับ



http://www.eppo.go.th/petro/pricestoday-2547.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-07-2007, 22:56 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 14-07-2007, 23:07 »

ที่น่าหัวเราะคือ "เหตุผล" ที่รัฐบาลนำมาอ้างในการตรึงราคาน้ำมันดีเซลก็คือ "กลัวสินค้าขึ้นราคา"
แต่พอจะเลิกนโยบายตรึงราคากลับให้เหตุผลว่า "มีผลกับต้นทุนสินค้าเพียงเล็กน้อย"

แต่ประเทศขาดทุนจากเรื่องนี้ไป 9 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนขนาดนี้สามารถเอาไปใช้
ในการพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล ตัวอย่างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังใช้เงินเพียงไม่ถึง
15,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรมได้ถึงกว่า 5 แสนไร่

หรือหากใช้สร้างโรงงานไบโอดีเซลขนาดเล็ก (กำลังผลิต 1 แสนลิตรต่อวัน) ราคาเพียงประมาณ
โรงงานละ 1 พันล้านบาท จะสามารถสร้างได้จังหวัดละ 1 โรงงาน แล้วยังมีเงินเหลือ

ไม่นับเรื่องที่ทำให้เกิดการบิดเบือนสัดส่วนการบริโภคน้ำมัน ทำให้ประชาชนตัดสินใจซื้อรถกระบะ
มาใช้งานแทนรถเก๋ง เพราะเห็นว่าน้ำมันดีเซลราคาถูก และที่สำคัญทำให้ประชาชนไม่ตระหนักรู้
ถึงความจำเป็นของการประหยัดน้ำมัน จนประเทศไทยต้องขาดดุลจากการนำเข้าน้ำมันเกินกว่า
ที่ควรจะประหยัดได้นับแสนล้านบาท

...

สุดท้ายก็คือเหตุผลเบื้องหลังนโยบายนี้... ใครล่ะครับที่ขายน้ำมันมากที่สุดในประเทศไทย 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1]
    กระโดดไป: