ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 08:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คนไทยที่มีหิริโอตะปะย่อมร่วมใจกันคว่ำร่างรธน.ปี2550เท่านั้น!! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 2 [3] 4 5
คนไทยที่มีหิริโอตะปะย่อมร่วมใจกันคว่ำร่างรธน.ปี2550เท่านั้น!!  (อ่าน 11106 ครั้ง)
ท้าวอภิมหาอัครเทพอลังการ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258



« ตอบ #100 เมื่อ: 10-07-2007, 17:31 »

มหาเทพเทวาสองสามี               หนึ่งคือกี้ที่อมฮอลใช่หรือไม่

เคยร้องเพราะร้องเพลงดังยังจับใจ  กี้ี้ร้องไปอมฮอลไปยังใคร่ดู


สองคือแชมป์นักสู้ผู้ตกอับ           เลยอาภัพต้องไปขายบะหมี่

เราเพิ่งรู้ว่าท่านชอบแนวนี้           โบ้เลยมีมหาเทพมาคร่อมกาย


 



บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #101 เมื่อ: 10-07-2007, 17:34 »

ได้เวลาท้าวฯเหาะไปเที่ยวนางไม้ ณ สวนไม้เอกแว้ววววววววววว......ขอปัญญาจงเกิดต่อทุกท่านเถิด

เฮ้อ...อุตส่าห์เป็นเทพ แล้ว มันก็ยัง "ตอกบัตร" เหมือนเดิม
 
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #102 เมื่อ: 10-07-2007, 17:40 »

...

เมียระอาเพราะของเจ้ามันเท่าเห็ด              เพียงแค่เด็ดก็หลุดล่วงพวงสวรรค์

...


เชื่อว่าท่านมหาเทพฯคงอยากจะหมายถึง เห็ดเข็มทอง มากกว่าครับ
แต่พอดีกลอนมันไม่ได้สัมผัส
   

บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #103 เมื่อ: 10-07-2007, 17:43 »

 

เหงื่อตก แต่ละคนเจ้าบทเจ้ากลอน

น่าจะมีใคร Record ที่ห้องกลอนบ้าง เผื่อถูกลบ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #104 เมื่อ: 10-07-2007, 17:53 »

มหาเทพเทวาสองสามี               หนึ่งคือกี้ที่อมฮอลใช่หรือไม่

เคยร้องเพราะร้องเพลงดังยังจับใจ  กี้ี้ร้องไปอมฮอลไปยังใคร่ดู


สองคือแชมป์นักสู้ผู้ตกอับ           เลยอาภัพต้องไปขายบะหมี่

เราเพิ่งรู้ว่าท่านชอบแนวนี้           โบ้เลยมีมหาเทพมาคร่อมกาย


 


  กร๊ากกก.. ลูกช้างขอคารวะ
อิทธิฤทธิ์ช่างแสบสันต์
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #105 เมื่อ: 10-07-2007, 18:07 »

ใครเอาเท้า ไปเหยียบจ๊ะ เข้าล่ะเนี่ย 
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #106 เมื่อ: 10-07-2007, 18:56 »

มหาเทพเทวาสองสามี               หนึ่งคือกี้ที่อมฮอลใช่หรือไม่

เคยร้องเพราะร้องเพลงดังยังจับใจ  กี้ี้ร้องไปอมฮอลไปยังใคร่ดู


สองคือแชมป์นักสู้ผู้ตกอับ           เลยอาภัพต้องไปขายบะหมี่

เราเพิ่งรู้ว่าท่านชอบแนวนี้           โบ้เลยมีมหาเทพมาคร่อมกาย


 





ในเมื่อตั๊วะอยากรู้เรื่องสอดๆใส่ของเค้า เค้าก็จะบอกให้ล่ะกานว่าใครคือผัวหลวงกะผัวน้อยของเค้า เสก กะ ศิริ ไงอ่ะตั๊วะ...ไม่ได้โม้
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #107 เมื่อ: 10-07-2007, 18:58 »

เฮ้อ...อุตส่าห์เป็นเทพ แล้ว มันก็ยัง "ตอกบัตร" เหมือนเดิม
 

Sorry อ่ะ...เดี๋ยวนี้ท้าวฯใช้กระแสจิตคลิ๊กตอบได้แล้วเห็นป่ะ
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #108 เมื่อ: 10-07-2007, 19:00 »


เชื่อว่าท่านมหาเทพฯคงอยากจะหมายถึง เห็ดเข็มทอง มากกว่าครับ
แต่พอดีกลอนมันไม่ได้สัมผัส
   



อืมมม....เห็ดเข็มทองที่หนักเกือบ 1 กก.แหงเลย
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #109 เมื่อ: 10-07-2007, 19:02 »

ใครเอาเท้า ไปเหยียบจ๊ะ เข้าล่ะเนี่ย 


นั่นเท้าเหร๊อ? ทำไมไปอยู่หว่างขาหล่ะฮืมมม!?!
บันทึกการเข้า
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #110 เมื่อ: 10-07-2007, 19:07 »

แนะนำให้ท่านจ๊ะเปลี่ยนชื่อเป็น

เท้า_มหา_Inw
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #111 เมื่อ: 10-07-2007, 19:15 »

แนะนำให้ท่านจ๊ะเปลี่ยนชื่อเป็น

เท้า_มหา_Inw

และก็ขอบังอาจแนะนำทั่นมหาInw  ให้ซื้อหนังสือ "ยังไงก็ไม่ชิน" อ่านเรื่อง "กวีนคร" ก่อนเป็นเรื่องแรก เพราะริอ่านเทียบชั้นท้าวทักษิณา ความจริงเป็นทูตก็ใหญ่โตแล้วนิ

แวะซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้เลยนะเจ้าคะ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-07-2007, 10:02 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #112 เมื่อ: 11-07-2007, 08:46 »

และก็ขอบังอ่านแนะนำทั่นมหาInw  ให้ซื้อหนังสือ "ยังไงก็ไม่ชิน" อ่านเรื่อง "กวีนคร" ก่อนเป็นเรื่องแรก เพราะริอ่านเทียบชั้นท้าวทักษิณา ความจริงเป็นทูตก็ใหญ่โตแล้วนิ

แวะซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้เลยนะเจ้าคะ 


เอ๊ะ...เดี๋ยวนี้ศูนย์หนังสือจุฬาเค้าเอาใบปลิวเข้าไปจัดจำหน่วยได้แล้วฤา!?!
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #113 เมื่อ: 11-07-2007, 08:50 »

ท้าวฯใคร่ขอนำคลังอาหารสมองมอบแด่สาธุชนทั้งหลายเพื่อบุญกุศลจงมีแด่ตัวท่านเองด้วยเถิด http://thaienews.blogspot.com/ มีหลายเรื่องในเว๊บนั้นที่คนโง่ไม่มีสิทธิ์ได้ทราบมาก่อน
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #114 เมื่อ: 11-07-2007, 09:10 »

เข้ามาช่วยท่านเท้า เอ๊ย ไม่ใช่ ท่านท้าวฯ ปั่นกระทู้หน่อย .......อาสาเป็นเด็กเสริฟ บริการ ให้ พี่น้อง ชาวเสรีไทย ได้รับความสะดวกในการเก็บอาหารสมองตามที่ท่านท้าวฯกล่าวอ้าง.

วันอังคาร, กรกฎาคม 10, 2007
บทความ "คุณหนูเอง": สนามบินสุวรรรณภูมิ กรณีศึกษาผู้นำไทย
สนามบินสุวรรณภูมิ กรณีศึกษาของผู้นำที่ทิ้งประเพณียึดตัวอักษรของกฏหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ

บทวิเคราะห์โดย คุณหนูเอง
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐

ทำไมเกือบทุกผลงานที่นายกทักษิณทำไว้ จึงกลายเป็นสิ่งไม่ดีไปหมด ความไม่ดีคือเนื้อแท้ของผลงาน? หรือมีใครไปทำลาย? ทั้งหมดนี้ เรื่องท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี

1. ก่อนที่ทักษิณเป็นนายกฯ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นหนึ่งในโครงการเจ็ดชั่วโคตร (รองจากโครงการคอคอดกระ) ใช้เวลาเกือบครึ่งศตวรรษ (45 ปี, คณะรัฐมนตรี 31ชุด and 14 นายกรัฐมนตรี) งานหลักๆ ๒ งานของการก่อสร้าง คือ การปรับปรุงดินอ่อนให้รับน้ำหนักได้ กับ งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและท่าเทียบเครื่องบิน

2. ก่อนที่ทักษิณเข้ามา ปี ๒๕๔๓ พรรคประชาธิปัตย์ได้ประมูลการก่อสร้างอาคารที่ออกแบบไว้เดิม ปรากฏว่า ต่ำสุด 57,590 ล้านบาท เกินงบไป 19% เมื่อทักษิณเข้ามา เป็นช่วงเศรษฐกิจวิกฤติ จึงได้ให้ปรับแบบใช้วัสดุในประเทศ ทำให้ราคาประมูลลดเหลือ 36,666 ล้านบาท

3. ทักษิณเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ คือ การบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) ซึ่งต่างจากการบริหารตามประเพณีของราชการไทย ซึ่ง ยึดขั้นตอนหรือตัวอักษรเป็นหลัก (Procedure-based Management)

4. การบริหารยึดขั้นตอนเป็นหลัก (Procedure-based Management) ซึ่งเป็นการบริหารรูปแบบของนักกฎหมาย (ที่ชัดที่สุด คือ นายกชวน หลีกภัย) ถ้าเป็นสมัยก่อนที่ความเปลี่ยนแปลงช้าๆ ก็ยังพอไหว ถ้าเป็นสมัย Economy of Speed จะสำเร็จได้ยาก เพราะพลวัตของเป้าหมาย เปลี่ยนเร็วและวิ่งหนีเร็วกว่าการคลานต้วมเตี้ยมตามหลังของระบบที่ยึดขั้นตอนเป็นหลัก แต่วิธีนี้ เป็นวิธีที่ผู้นำไม่มีความเสี่ยงเลย ทำไม่ได้ ไม่มีผลงาน ก็ไม่มีความผิดใดๆ เพราะได้ทำตามขั้นตอนดีที่สุดแล้ว

5. การบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) เป็นวิสัยทัศน์ของรัฐบุรุษ ไม่ว่าโครงการใด ผู้นำต้องรู้ว่า เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของโครงการคืออะไร เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ เป้าหมายที่ตั้งไว้มีมากกว่าแค่รองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น แต่สร้างเพื่อช่วงชิงโอกาสในการเป็นศูนย๋กลางการบินภูมิภาค (Regional Aviation Hub) ซึ่งทั้งสิงคโปร์ มาเลย์ แม้แต่เวียตนาม ก็จ้องจะแข่งกับเรา ถ้าใช้การบริหารที่ยึดขั้นตอนเป็นหลัก (เหมือนการบริหารในสี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา) เป้าหมายสำคัญนี้หลุดลอยไปแน่นอน นายกทักษิณจึงตัดสินใจใช้การบริหารสมัยใหม่ โดยเบื้องต้น ต้องมีการกำหนดวันเปิดสนามบินอย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย แล้วจึงหาวิธีการที่มีความคล่องตัวโดยไม่ต้องยึดประเพณีตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด โดยจุดมุ่งหมายคือ ต้องสำเร็จตามเป้าหมายเท่านั้น แต่การบริหารโดยไม่ยึดขั้นตอนโดยเคร่งครัด แม้มีเจตนาดี แต่มีจุดอ่อนที่ถูกนำมาเป็นแยกส่วนๆเพื่อนำมาโจมตีท่านได้ อย่างที่เราเห็นอยู่หลังรัฐประหาร

6. ระหว่างก่อสร้าง มีป้ญหามากมาย ปัญหาภายใน คือ แบบที่รีบเร่งแก้ เพื่อให้ทันเปิดประมูลใหม่ โดยทิ้งปัญหาไว้หลายอย่างให้แก้ระหว่างก่อสร้าง ปัญหาภายนอก คือ สถานการณ์การบินที่เปลี่ยนไป จากผู้โดยสารที่คาดไว้ 30 ล้านคนต่อปี ต้องขยายเป็น 45 ล้านคนต่อปี ปัญหาจากภัยก่อการร้าย ทำให้ต้องเปลี่ยระบบตรวจสอบกระเป๋าจากระบบเดิม เป็นระบบบูรณาการแบบ Inline Screening ที่ต้องใช้ระบบ CTX เป็นต้น การบีบคั้นของเวลา เพื่อรักษาเป้าหมายใหญ่ แม้จะที่ต้องปรับไปตามสถานการณ์ทีเปลี่ยนไป ทำให้ผลงานมีมีจุดอ่อนทางเทคนิค ซึ่งรัฐบาลเก่าก็ทราบดี ซึ่งถ้ารัฐบาลทักษิณยังอยู่ ก็น่าจะแก้ไขได้สบายๆโดยวิธีการทางเทคนิค (ไม่ใช่โดยวิธีใช้น้ำลาย)

7. นายกทักษิณ กล้าใช้การบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) เพราะท่านถือว่า ได้รับเลือกตั้งมาจากเสียงที่ท่วมท้น เป็นฉันทามติให้ท่านมารับใช้ประเทศ ท่านจึงกล้าเอาตัวเองเข้าเสี่ยง ทำให้พรรคไทยรักไทยได้ผลงานมากมาย และประเทศชาติได้ประโยชน์เกินกว่าสมัยใดๆที่ผ่านมา ดิฉันจึงเรียกท่านว่า รัฐบุรุษที่แท้จริง เพราะรัฐบุรุษ คือ ผู้ยอมเสียสละตัวเอง เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน

เมื่อพิจารณา 7 ข้อ เบื้องต้นเป็นมูลฐาน จึงตอบได้ว่า ใครสร้างและใครทำลายสนามบินสุวรรณภูมิ ?

สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นหนึ่งในผลงานจำนวนมาก (OTOP กองทุนหมู่บ้าน ๓๐ บาทรักษาทุกโรค หวยบนดิน ราคายาง ทุนการศึกษาหมู่บ้าน ฯลฯ) ที่ท่านนายกทักษิณได้สร้างให้สำเร็จในเวลาอันสั้น โดยการบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) คณะ คมช. และพรรคการเมืองบางพรรค พยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของโครงการเหล่านี้ ให้หมดหายภายในพริบตา แต่ดิฉันเชื่อว่า เมื่อความจริงค่อยๆปรากฏ ประชาชนเริ่มตาสว่าง และจะเข้าใจสถาณการณ์เหมือนอย่างที่ดิฉันเข้าใจคะ

แต่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันเป็นห่วง หลังจากที่ คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ถูก คตส. ชี้มูลทำให้รัฐเสียหาย ในกรณีหวยบนดิน จากนี้ไป เหตุการณ์นี้ จะทำให้รัฐบาลในอนาคต ต้องบริหารประเทศตามตัวอักษรอีกครั้ง ประเทศไทยจะกลายเป็น banana republic รัฐบาลจะมีแต่การทำงาน แต่ไม่มีผลงานปรากฏใดๆ

บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #115 เมื่อ: 11-07-2007, 09:14 »

วันอังคาร, กรกฎาคม 10, 2007
คุย...ไม่ลับ! กับทักษิณ "ประชาชนคิดถึงผม ห่วงใยผม ชื่นชอบในสิ่งที่ผมทำ"
ที่มา Top stories จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
โดย nakronping 17
10 กรกฎาคม 2550

กองบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์ได้สัมภาษณ์พิเศษ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฮ่องกง ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดใจกับสื่อมวลชนไทยภายหลังถูกยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549

วางอนาคตทางการเมืองของตัวเองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

พูดไปหลายครั้งแล้ว ยืนยันยุติบทบาททางการเมืองที่ผ่านมาได้ ทุ่มเทให้กับบ้านเมืองให้ประชาชนและจงรักภักดีมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพราะฉะนั้น มาทำหน้าที่ที่อื่นที่ไม่ใช่การเมืองดีกว่า ยังทำหน้าที่ของประชาชนคนไทยคนหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ถวายพระราชกุศลบ้าง เพื่อการศึกษาบ้างเพื่อการกีฬาบ้าง ถ้าจะเน้นตรงนี้ก็คงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ส่วนคนการเมืองไทยรักไทยเดิม แน่นอนคงมาเยี่ยามาเยือนมาปรึกษาบ้างก็ให้ความคิด ให้คำแนะนำปกติ

มองอย่างไรที่ยังมีคนสนับสนุน

คือต้องเข้าใจก่อนว่า ผมทำงานหนักและงานของผมที่ทำไป สัมผัสได้หมด หลายคนรอดชีวิตเพราะนโยบายผม เหล่านี้ประชาชนสัมผัสได้ ความรักความห่วงใยความคิดถึงยังมีอยู่ จะบอกให้มันจางหายไป มันคงไม่เร็วหรอก เพราะฉะนั้นประชาชนที่คิดถึงผมในระยะนี้จึงมีอยู่ ในเมื่อผมเลิกการเมืองแล้ว มันก็ลืมเป็นเรื่องธรรมดา

เป็นห่วงไทยรักไทยหรือไม่

ผมคิดว่าวันนี้ไม่อยากให้ตัวผมเองเกิดความขัดแย้ง เพราะเขาไม่แฮปปี้กับผม แม้คนส่วนใหญ่จะแฮปปี้กับผม สิ่งที่สังคมไทยควรจะเป็น คือการแสดงออกในการเลือกตั้ง ชอบก็เลือก ไม่ชอบก็ไม่ต้องเลือก จบกันไป ใครชนะก็ต้องไปทำหน้าที่ให้ดี เป็นกติกาสากล แต่ถ้าเราไม่ยอมรับอำนาจประชาชน โทษว่าประชาชนยังโง่อยู่ จนซื้อได้ อย่างนี้เราไม่มีทางจะพัฒนาประเทศได้ แต่ถ้าพวกเรายังมองว่า ไม่มีจิตสำนึก ความจริงวันนี้ความคิดนี้เปลี่ยนไปแล้ว ถ้างั้นทหารคงไม่ตั้งงบ ส่งคนไปกดดัน เพราะถ้าทหารเขารู้ว่าเขาคิดเป็น ก็ต้องข่มขู่ นี่คือสิ่งที่เคยตัว

ความตั้งใจเลิกการเมืองเพราะโดนยึดอำนาจใช่หรือไม่

ไม่เกี่ยวนี่ เพราะผมคิดว่าเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดของสังคมไทย และผมได้ทำงานมาเยอะแล้วทางการเมือง เมียก็บอกว่าถ้ากลับไปเล่นการเมือง สงสัยต้องกลับไปหย่า

เสียงวิจารณ์ท่านส่งท่อน้ำเลี้ยงให้กับการชุมนุม

โอ้ว...วันนี้รัฐบาลมีกลไกในการติดตามเงิน ก็รู้ว่าเงินในบัญชีเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง เงินไม่ได้เคลื่อนไหวเลย มีแต่เอาไปลงทุน ซึ่งธรรมดาใครจะเก็บเงินสดทั้งหมดล่ะ ก็ต้องซื้อหุ้นบ้าง ซื้อที่ดินบ้าง ไปลงทุนซื้อกิจการอย่างอื่น เห็นชัดอยู่แล้ว เงินไม่ได้ไปไหน

มองอนาคตการเมืองอย่างไรต่อรัฐธรรมนูญใหม่

คงมีปัญหาเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตย ถ้านกยังไงก็คลอดลูกเป็นนก ไม่เป็นไก่หรอก ฉะนั้นในเมื่อคณะปฏิวัติคลอดรัฐธรรมนูญจะให้เป็นประชาธิปไตยคงยาก ก็ต้องให้นักประชาธิปไตย เอาไปผ่าตัดใหม่ เพื่อให้มันเป็นประชาธิปไตยต่อไป แต่เมื่อเราถอยหลังมาตรงนี้ ใช้เวลาเดินหน้าต่อไป ไม่ว่ายังไงก็แล้วแต่ ประเทศต้องเดินหน้าต่อไป

มองกลุ่มไทยรักไทยที่วงแตกแยกออกไปตั้งพรรคใหม่

เป็นธรรมดา เลือกตั้งแต่ละครั้งมีคนเข้าคนออก เลือกตั้งครั้งนี้มันพิเศษ เพราะว่ายุบพรรคโดยตั้งธงไว้ก่อน ยุบเสร็จก็อายัดเงิน เพื่อให้ ส.ส.วิ่งหนี เพราะ ส.ส.เขาอยู่กับประชาชน เขารู้ว่าประชาชนคิดยังไง หนีอะไรก็หนีได้ แต่หนีประชาชนไม่ได้ ในที่สุด ส.ส.ก็ต้องไปอยู่ในสิ่งที่ประชาชนเขาบอก เพราะ ไม่งั้นเขาก็ไม่ได้เป็น ส.ส. ธรรมชาติของส.ส. คือความอยู่รอด ความยังชีพ ครั้งแรกต้องเป็น ส.ส. เพราะ ส.ส.เหมือนไก่ชน ถ้าชนะเลือกตั้งก็มีคุณค่า ถ้าไก่แพ้ก็เอามาต้มมาแกง ชั่งเป็นกิโล 30 บาท ฉะนั้น ส.ส.ก็ต้องให้ชนะเลือกตั้ง การรวมตัวตรงนี้ผมคิดว่าทหารเข้าใจการเมืองแค่ระดับหนึ่ง แต่ไม่เข้าใจการเมืองที่เปลี่ยนไปแล้ว เขายังเข้าใจการเมืองเหมือนสมัยสามัคคีธรรม คิดว่าควรเอามารวมมากๆ ถึงเวลาก็แจกๆๆๆ นึกว่าพ่อค้ามาจ่าย ซื้อๆๆๆ กันไป จะได้ชนะเลือกตั้ง วันนี้ประชาชนไม่เหมือนเดิม ประชาชนเปลี่ยนไปเยอะ เพราะเขาทันการเมือง

มองอย่างไรกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

คืออยู่ที่ว่าจะบริหารประเทศอย่างไร ถ้าบริหารแบบไปเรื่อยๆ ให้ข้าราชการประจำทำให้ และตัวเองมีหน้าที่เห็นชอบไม่เห็นชอบตามราชการ ถ้าอย่างนี้ใครก็เป็นนายกฯ ได้ถ้าคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันการแข่งขัน จนมีรายได้ดีมีเงินใช้ ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง แต่ว่าสิ่งที่โดนกับผม คงจะหาคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงได้ยากแล้ว ฉะนั้น ทุกคนก็จะมาทำงานแบบรูทีน เพราะไม่มีใครกล้าเปลี่ยน ผลสุดท้ายก็โดน ขนาดผมก็ยังโดนอย่างนี้

ผู้นำใหม่ควรมีคุณสมบัติอย่างไร

ตอนนี้ผมปล่อยวางจริงๆ ไม่คิดเลย แล้วแต่ประชาชน ประชาชนก็ทำหน้าที่ได้ส่วนหนึ่ง วันนี้กระบวนการจัดการมันเหมือนหนวดปลาหมึก ลงไปถึงหมู่บ้าน ผมยังเอาตัวไม่รอดเลย ขนาดคนเคยเป็นอดีตนายกฯ ยังถูกทำร้ายขนาดนี้ เราทำร้ายกันเอง ประเทศอื่นเขานั่งหัวเราะเยาะ มองว่ามันยังไม่รักกันเลย

มองอย่างไรกับข้อกล่าวหา คมช. 4 ข้อ
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ผมว่าสื่อมวลชนรู้ดี จนไม่กล้าเขียน บางคนก็ไม่กล้าเขียนเพราะว่ามีคนสั่ง บางคนไม่กล้าเพราะไม่กล้า บางคนไม่กล้าเพราะว่าถูกให้อะไรบางอย่าง บางคนก็ไปเป็นโน่นเป็นนี่ ก็ได้ประโยชน์กันไป แต่ว่าวันนี้ตัวเองรอดแล้วชาติล่ม ในที่สุดเราก็ล้มด้วย

มีแนวทางต่อสู้ในการถูกอายัดทรัพย์อย่างไร
ถ้าจำได้สมัยอยู่พรรคพลังธรรม ผมเป็น รมว.ต่างประเทศ วันนั้นกฎหมายรัฐธรรมนูญบอกไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน แต่พรรคพลังธรรมให้แสดงบัญชีทรัพย์สิน ผมก็ประกาศผมมี 6 หมื่นกว่าล้าน นิตยสารฟอร์บส์ก็ลงว่าผมมี 2 บิลเลียนกว่าๆ ถึงวันนี้ผมก็ยังมีเท่าเดิม ค่าเงินเปลี่ยนบ้าง หุ้นขึ้นๆ ลงๆ ถ้าอ้างหุ้นขึ้นเพราะผมเป็นนายกฯ ก็ขึ้นทุกตัว ทั้งหมดเป็นเรื่องคนกล่าวหาผม

เป็นห่วงหรือไม่กับการถูกดำเนินคดีที่ดินรัชดา
เรื่องที่ดินนะ ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า กองทุนฟื้นฟูเป็นองค์กรอิสระ ผู้ว่าการแบงก์ชาติเป็นประธาน การจะตั้งใครไม่ตั้งใคร กองทุนฟื้นฟูมีสิทธิ การประกวดราคาโปร่งใสถูกต้อง ก็หาว่าไม่โปร่งใส ที่ดินนี้เป็นที่ที่มีข้อห้าม เช่น ไม่ให้สร้างตึกสูง การคำนวณเพื่อไปทำพาณิชย์ไม่เหมาะ ไม่มีใครทำ ทางครอบครัวผมประกวดราคาได้ เพราะเอามาปลูกบ้าน และทำบ้านแล้ว จ่ายค่าสถาปนิกแล้ว ไม่ได้ทำค้าขาย และประมูลถูกต้อง ถ้าเราจะทำไม่ถูกต้องทำไมใช้ชื่อเมีย แต่เพราะต้องการให้โปร่งใสตรงไปตรงมา จึงใช้ชื่อเมีย ต้นทุนยึดมา 100 ล้าน แต่ขายได้เกือบ 800 ล้าน

คตส.จี้ให้แบงค์ชาติตรวจสอบเงินซื้อแมนฯซิตี้

เงินผมทำมาหากิน ผมประกาศแจ้งไว้ก่อนล่วงหน้าที่จะเข้ามาเล่นการเมือง ถามว่าถูกต้องหรือเปล่า โดยจริยธรรม คุณธรรมถูกต้องมั้ย ข้อกฎหมายถูกต้องมั้ย สรุปแล้วคือว่า ต่อไปนี้ใครจะเข้าการเมืองต้องอย่ามีอะไรแล้ว ถ้ามีอะไรกูจะยึดให้หมด เงินผมทำมาหากิน สร้างตัวเอง มา 20 กว่าปี ถูกต้องหรือเปล่า ฝากช่วยคิดด้วย

คดีหลายคดีที่ถูกฟ้องมีความมั่นใจจะต่อสู้ได้หรือไม่

ถ้าตรงไปตรงมาเราไม่มีผิดสักเรื่อง แต่มันเล่นเอาธงไปปัก วันนี้มันเป็นเรื่องของธง ทุกอย่างธงหมด

ใช้เวลาเท่าไรที่จะกลับมาสู้คดีในเมืองไทย

ผมไม่เคยคิดว่าประเทศไทยที่ผมรักจะเป็นอย่างนี้ สิ่งที่บรรพบุรุษสร้างมาชั่วลูกชั่วหลานที่ทำให้ระบบเป็นที่น่าเชื่อถือ วันนี้จะถูกทำร้ายขนาดนี้

จะกลับมาสู้คดีหรือไม่

ถ้ากลับมาช่วงนี้ คงไม่มีความเป็นธรรมแน่ บางคดีอยู่ๆ เปลี่ยนองค์คณะ ถ้าคนไหนพิจารณาตรงไปตรงมา โดนแล้ว อย่างนี้มันเสียหายทั้งระบบ

ที่ผ่านมาได้คุยกับนายกฯ สุรยุทธ์ จุลานนท์และประธาน คมช.บ้างหรือไม่

คุยกันไม่รู้เรื่องหรอก ธงของเขาคือต้องจัดการผม คุยไม่รู้เรื่อง เคยโทรศัพท์คุยกับนายกฯ แต่ 1-2 ครั้ง

การไม่กลับเพราะกลัวความไม่ปลอดภัยหรือไม่

มันมีอยู่เรื่อยๆ มีช่วงหนึ่งมีข่าวว่าจะส่งคนไปที่อังกฤษ

กระแสขอลี้ภัยการเมืองเป็นอย่างไร
ไม่ลี้หรอก ทำไมต้องลี้ ผมเป็น คนอำเภอสันกำแพง ไม่ใช่อำเภอลี้

แนวทางสมานฉันท์จะเกิดขึ้นหรือไม่

ถ้าเที่ยวปักธงไปหมด คงยาก ไปตรงไหนก็ปักธงตรงนั้น ใครเชียร์ไทยรักไทยก็ปักธงต้องล้างออกให้หมด วิธีสมานฉันท์ดีที่สุดคือหันหน้าเข้าหากัน พูดด้วยเหตุผล ให้ความเป็นธรรมซึ่งกันและกัน ใครผิดว่าตามผิด ถูกว่าตามถูก ไม่ใช่เอาศัตรูคนไม่ชอบกันมานั่งสอบสวนกัน มันไม่มีระบบยุติธรรมที่ไหนในโลก

มองอย่างไรกับการที่ประธานคมช.ส่งสัญญาณเล่นการเมือง

ก็ดี ลงมาเลยจะได้ถูกตรวจสอบ บ้าง

บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #116 เมื่อ: 11-07-2007, 09:19 »

นั่นไง...ท่าน 55555 เสพอาหารสมองไปแป๊บเดียว....ฉลาดขึ้นทันตาราวเสกเลยอ่ะ  ท้าวฯดีใจน๊ะที่การทำบุญโดยการนำอาหารสมองมาครั้งนี้ไม่เสียเปล่า


ขอบุญกุศลที่ท่าน 55555 กระทำเพื่อช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ผู้หิวโหย(อาหารขมอง) จงส่งผลให้ท่าน 55555 มีสุขะ พละ อายุที่ดีด้วยเถิด....สาธุ
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #117 เมื่อ: 11-07-2007, 09:33 »

ท้าวฯใคร่ขอนำคลังอาหารสมองมอบแด่สาธุชนทั้งหลายเพื่อบุญกุศลจงมีแด่ตัวท่านเองด้วยเถิด www.xxx.com มีหลายเรื่องในเว๊บนั้นที่คนโง่ไม่มีสิทธิ์ได้ทราบมาก่อน

นั่งเทียน
ใช้บริการฟรี ไม่ลงทุนเปิดเว็บ
ประหยัดงบวอร์รูมไทยรักเมาเส้ก
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #118 เมื่อ: 11-07-2007, 10:07 »


เอ๊ะ...เดี๋ยวนี้ศูนย์หนังสือจุฬาเค้าเอาใบปลิวเข้าไปจัดจำหน่วยได้แล้วฤา!?!

อิอิอิ แบบนี้เรียกว่า "ใบปลิว" หรือคะ ดูให้ชัด ๆ นะจ๊ะ ทั่นทูตแถไรจ๊ะ เอ๊ยย ทั่นเท้า มะ-หา-เทบบบ 

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #119 เมื่อ: 11-07-2007, 10:11 »

อิอิอิ แบบนี้เรียกว่า "ใบปลิว" หรือคะ ดูให้ชัด ๆ นะจ๊ะ ทั่นทูตแถไรจ๊ะ เอ๊ยย ทั่นเท้า มะ-หา-เทบบบ 



ทั่น oO:
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #120 เมื่อ: 11-07-2007, 10:47 »

อิอิอิ แบบนี้เรียกว่า "ใบปลิว" หรือคะ ดูให้ชัด ๆ นะจ๊ะ ทั่นทูตแถไรจ๊ะ เอ๊ยย ทั่นเท้า มะ-หา-เทบบบ 


ตาบอดสี เห็นทักษิณเหมือนยักษ์ เห็นคนอื่นเหมือนมด
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #121 เมื่อ: 11-07-2007, 11:14 »

ปั๊ดโธ่ท่านก้อ...เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีเค้าไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว กะเรื่องแค่เอาความในใจของตาสีตาสียายมายายมีมาพิมพ์ใส่กระดาษแล้วจ้างโรงพิมพ์โม่เข้าไปซิ...จะเอากี่พันกี่หมื่นเล่มก็แค่มีตังค์จ่ายโรงพิมพ์เค้าไป ขายกันเองในหมู่คนขี้แพ้อกหักซะเป็นส่วนมาก มีไม่กี่สิบเล่มที่พอขายได้ใน public จริงๆ เรื่องเด็กๆแบบนี้....ท้าวฯไม่ค่อยชินอ่ะ
บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #122 เมื่อ: 11-07-2007, 13:10 »

กฎหมายฉบับดังกล่าวร่างในสมัยชวน 2 นี่นา...DTAC, Orange ใช้กฎหมายฉบับเดียวกันใช่หรือไม่!?!

โถ AIS ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าหมายเลข 200 บาท/เดือน/หมายเลข แต่ของ orange + DTAC ต้องจ่าย...
ไม่ทราบว่ากฎหมายเดียวกันหรือไม่
บันทึกการเข้า

(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #123 เมื่อ: 11-07-2007, 13:12 »


เอ๊ะ...เดี๋ยวนี้ศูนย์หนังสือจุฬาเค้าเอาใบปลิวเข้าไปจัดจำหน่วยได้แล้วฤา!?!

555... ยังไงก็ยังดีกว่าหนังสือก่อนตายของอดีต กกต.
ขนาดยัดใส่มือ ยังเอาลงถังเลย
บันทึกการเข้า

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #124 เมื่อ: 17-07-2007, 07:52 »

หลังจาเมื่อวานนี้บางเว๊บเดี๊ยงเพราะพิษค่าเงินบาทเศรษฐกิจลงเหว....ส่งผลให้สมาชิกเกิดอาการหงิกไม่โพสต์

เช้าวันนี้....ท้าวฯจึงขันอาสานำอาหารสมองล่าสุดมาให้ท่านทั้งหลายเพื่อเสพกันได้ตามบุญกุศลและปัญญาของแต่ละท่านพึงมี โปรดพิจารณาด้วยจิตใจที่สงบด้วยเถิด



"คณะ กก.ประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ประกาศไม่รับ รธน.50

ที่มา เวบไซต์ประชาไท
โดย ประชาไท
16 กรกฎาคม 2550

เวทีประชุมของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)หัวข้อ ‘วิพากษ์และแสดงจุดยืนร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550’ ที่มีการถกเถียงอภิปรายอย่างเข้มข้นระหว่างวันที่ 14 – 15 ก.ค. ณ บ้านนานาชาติบางกอกรามาเพลส (บ้านสิริรามาเพลส) กรุงเทพฯ โดยมีตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนทั่วประเทศจาก 15 องค์กรเข้าร่วมนั้น

วานนี้ (15 ก.ค.) ซึ่งเป็นการประชุมวันสุดท้าย คณะกรรมการของ กป.อพช. นำโดย นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธาน กป.อพช., นายเดช พุ่มคชา, นายไพโรจน์ พลเพชร, นายบรรจง นะแส, ต่อพงษ์ เสลานนท์ ฯลฯ ได้มีการแถลง “คำประกาศจุดยืนการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับการลงประชามติของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)”

สาระโดยสรุปของแถลงการณ์ระบุว่าแม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีสาระบางประเด็นที่ก้าวหน้าจากรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันต่อสู้ขององค์กรเครือข่าย เช่น การทำสัญญาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองสิทธิเด็ก สิทธิคนพิการ สิทธิผู้บริโภค สิทธิสตรี การใช้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมีผลทันทีโดยไม่ต้องออกกฎหมายลูก เป็นต้น แต่ กป.อพช.เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยรวมไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองอย่างแท้จริง และละเลยอำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรมของประชาชนในหลายด้าน แต่กลับให้อำนาจดังกล่าวแก่กลุ่มข้าราชการและโดยเฉพาะข้าราชการตุลาการ

กป.อพช. ยังระบุว่ารัฐบาลชั่วคราว และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกำลังดำเนินการ เพื่อสืบทอดอำนาจต่อไปโดยการพยายามผลักดันออกกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ที่อาจถือได้ว่าเป็นการ “รัฐประหารเงียบ” เพื่อสร้างรัฐทหารใหม่ซ้อนรัฐที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ย่อมเป็นการยกเลิกเพิกถอนสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไปโดยทันที

โดยในท้ายแถลงการณ์ระบุว่า กป.อพช. มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับการลงประชามติ และมีข้อเสนอสามข้อได้แก่

1. ควรปรับปรุงร่างกฎหมายการทำประชามติให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยการเปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ก่อนการลงประชามติ

2. ในการลงประชามติ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิทำเครื่องหมายในช่อง “ไม่แสดงความคิดเห็น” หรือ “ไม่ออกเสียงลงประชามติ” ได้

3. รัฐบาลต้องยุติการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ....ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยทันที เนื่องจากมีสาระที่ขัดกับหลักการสิทธิเสรีภาพของประชนอย่างรุนแรง และทำให้สิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิง

ในช่วงตอบคำถามสื่อมวลชน นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธาน กป.อพช. กล่าวว่า กป.อพช.มีจุดยืนร่วมกันและเป็นมติโดยเอกฉันท์ ทั้งนี้ในเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและประชาชนทั่วไปเราทราบดีว่ามีความเห็นหลากหลายต่อรัฐธรรมนูญ โดย กป.อพช.เคารพสิทธิต่อทั้งบุคคลและองค์กรภาคประชาชนที่จะมีความเห็นของตนได้ มติวันนี้เป็นของ กป.อพช.ร่วม แต่ภายในเครือข่ายของ กป.อพช. มีความเห็นอย่างไรก็มีสิทธิที่จะทำได้

“เราเชื่อมั่นใจวิจารณญาณของประชาชน เราจะไม่ชี้นำประชาชนในการลงประชามติ แต่จะแจ้งให้ทราบว่า กป.อพช.มีมติไม่รับรัฐธรรมนูญ” นายจอนกล่าว

ประธาน กป.อพช. ยังกล่าวว่า รัฐธรรมนูญในอนาคตที่ควรจะได้ ควรมีส่วนดีของรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ที่บางส่วนมีข้อดีหลายอย่างเช่น เสรีภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆ การเข้าชื่อประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการมีสิทธิชุมชน หรือข้อตกลงการค้าเสรีที่ต้องผ่านการพิจารณาของสภา แต่โดยรวมเราไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ดังนั้น กป.อพช.จึงเห็นว่าหลังการเลือกตั้งภาคประชาชนทุกส่วนต้องผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป เพื่อให้มีการปฏิรูปการเมืองโดยแท้จริง

ด้านนายบรรจง นะแส เลขาธิการ กป.อพช.ภาคใต้ กล่าวว่าที่ภาคประชาชนหลายส่วนเข้าไปยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น กป.อพช.มีเป้าหมายที่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แก้ปัญหาทางโครงสร้าง ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจน ความกินดีอยู่ดีของพี่น้อง ไม่ว่าประเด็นเรื่องการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีในรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน ม.84 แต่ไม่มีมาตรการรองรับว่าจะเป็นจริงได้ ในเรื่องการถือครองปัจจัยการผลิตของเกษตรกร เสรีภาพกินไม่ได้ ที่ดินปลูกข้าวกินได้ แต่รัฐธรรมนูญนี้ก็ไม่ได้จัดการตรงนี้ ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนที่เราเสนอมาตรการภาษีก้าวหน้า ภาษีมรดก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ระบุ ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้กินไม่ได้และแก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ได้

นายบรรจงยอมรับว่าที่ผ่านมา กระบวนการยกร่างที่ผ่านมา มีสมาชิกของ กป.อพช. บางส่วนเข้าไปมีส่วนร่วม และเรามีจุดยืนว่าเข้าไปเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างที่ทำให้เกิดความยากจนและความอยุติธรรม แต่ปรากฏว่าโดยสภาพทั่วไปของรัฐธรรมนูญรวมถึงการพยายามผลักดัน พ.ร.บ.ความมั่นคง ชี้ชัดว่ารัฐบาลมีแนวโน้มจะพัฒนาประเทศไปสู่เผด็จการ ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่เราต้องการ

นายไพโรจน์ พลเพชร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กป.อพช.ยืนหยัดที่จะค้านเผด็จการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเกิดเผด็จการอีกรอบตามที่หลายฝ่ายหวั่นเราก็พร้อมที่ต่อสู้ รณรงค์คัดค้านอย่างถึงที่สุด และถ้ามีการเลือกตั้ง เราก็จะผลักดันให้ประชาธิปไตยไปข้างหน้า ให้มีกติกาที่สามารถปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสังคมได้

นายจอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวการให้ความเห็นของรัฐบาลและ คมช. ที่ว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะไม่มีการเลือกตั้ง ว่า เขาไม่เห็นว่ามีเหตุผลใดที่การไม่รับรัฐธรรมนูญ จะทำให้ไม่เกิดการเลือกตั้ง โดยเขาเห็นว่าต้องเกิดการเลือกตั้งและต้องกลับสู่ประชาธิปไตย ไม่ว่าผลการลงประชามติจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ การขู่ของ คมช. ว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะไม่มีการเลือกตั้ง ลักษณะนี้เป็นการมัดมือชกต่อประชาน ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความเห็นโดยเสรี ว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่การมีสิทธิขอไม่ลงความเห็น ก็ควรเป็นสิทธิของประชาชน และไม่ควรมีคำขู่ว่าถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญแล้วผลจะเป็นอย่างนี้จะเป็นอย่างนั้น




คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
NGO Coordinating Committee on
Development (NGO-COD)

คำประกาศจุดยืน
การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับการลงประชามติ
ของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)
-----------------------------------------------------------


คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)ได้จัดประชุมองค์กรสมาชิกและองค์กรเครือข่าย เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ภายหลังจาก กป.อพช. ได้เคยเสนอความคิดเห็นประเด็นสำคัญต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผลจากการพิจารณาของที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีสาระบางประเด็นที่ก้าวหน้าจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันต่อสู้ขององค์กรเครือข่าย เช่น การทำสัญญาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองสิทธิเด็ก สิทธิคนพิการ สิทธิผู้บริโภค สิทธิสตรี การใช้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมีผลทันทีโดยไม่ต้องออกกฎหมายลูก เป็นต้น แต่ กป.อพช.เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยรวมไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองอย่างแท้จริง และละเลยอำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรมของประชาชนในหลายด้าน แต่กลับให้อำนาจดังกล่าวแก่กลุ่มข้าราชการและโดยเฉพาะข้าราชการตุลาการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

๑.การไม่ยอมรับสิทธิการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิทธิในการพัฒนาที่จะทำให้ประชาชนสามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนเองได้

๒.การไม่ยอมรับการปฏิรูประบบสวัสดิการทางสังคม เช่นการจัดสวัสดิการด้านสาธารณสุขแก่ทุกคน การจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุทุกคน

๓.การไม่ยอมรับการปฏิรูประบบภาษี ให้เป็นมาตรการในการกระจายรายได้เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม เช่น การเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก หรือภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า

๔.การไม่ยอมรับการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรอิสระองค์กรเดียวรวมอำนาจการจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทคมนาคมไว้ด้วยกัน

๕.การไม่ยอมรับการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรรายย่อย เพื่อรักษาอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของประเทศชาติ

๖.การไม่ยอมรับสิทธิในที่อยู่อาศัยและความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของประชาชนทุกคน

๗.การไม่ยอมรับสิทธิและความหลากหลายทางชาติพันธุ์

๘.การไม่ยอมรับสิทธิของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แต่กลับถ่ายโอนอำนาจหรือสิทธิการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไปให้กับบุคคลเพียงเจ็ดคนที่เป็นตัวแทนของศาลจำนวนสามคนและองค์กรอิสระจำนวนสี่คน

๙.การไม่ยอมรับให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองและข้าราชการ แต่กลับให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยตัวแทนของศาลจำนวนห้าคน และตัวแทนของพรรคการเมืองจำนวนสองคน ย่อมทำให้ศาลเป็นผู้ทรงอำนาจเด็ดขาดในการคัดเลือกคนเป็นกรรมการองค์กรอิสระ และมีแนวโน้มที่ทำให้เชื่อได้ว่าองค์กรอิสระจะกลายเป็นที่รองรับชนชั้นนำของภาคราชการ

กป.อพช.ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการจัดทำประชามติ เนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้ที่ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ความคิดเห็นทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน โดยรัฐบาลต้องมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้อย่างเต็มที่ หาใช่การกระทำที่พยายามใช้กลไกของรัฐทุกวิถีทางในการให้ประชาชนมาลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ แต่กลับกีดกันหรือจะลงโทษผู้ที่จะเผยแพร่ความเห็นไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการให้มีเพียงสองทางเลือก ในการรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ เท่านั้น

นอกจากนี้ รัฐบาลชั่วคราว และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกำลังดำเนินการ เพื่อสืบทอดอำนาจต่อไปโดยการพยายามผลักดันออกกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ที่อาจถือได้ว่าเป็นการ “รัฐประหารเงียบ” เพื่อสร้างรัฐทหารใหม่ซ้อนรัฐที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ย่อมเป็นการยกเลิกเพิกถอนสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไปโดยทันที

กป.อพช. จึงมีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับการลงประชามติ และมีข้อเสนอ ดังนี้

๑. ควรปรับปรุงร่างกฎหมายการทำประชามติให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยการเปิดโอกาสให้ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ก่อนการลงประชามติ

๒. ในการลงประชามติ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิทำเครื่องหมายในช่อง “ไม่แสดงความคิดเห็น” หรือ “ไม่ออกเสียงลงประชามติ” ได้

๓. รัฐบาลต้องยุติการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ....
ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยทันที เนื่องจากมีสาระที่ขัดกับหลักการสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง และทำให้สิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิง



ประกาศวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐"
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #125 เมื่อ: 17-07-2007, 08:04 »

และแน่นอนว่าเมื่อพูดถึงนักวิชาการอิสระตัวจริงแห่งยุคสมัยนี้ ชื่อของ รศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชนแห่งท่าพระจันทร์ย่อมปรากฎขึ้นมาในชื่อแรกๆ ท้าวฯคิดว่าอาจารย์หนุ่มท่านนี้มีมุมมองที่เป็นกลาง ชัดเจน และแหลมคมที่สังคมไทยต้องฟัง ต้องทบทวน และต้องศึกษาแนวคิดของอาจารย์วรเจตน์เป็นอย่างยิ่ง


ยุคสมัยนักวิชาการที่ใส่เสื้อกั๊กแถลงข่าววันอาทิตย์ด้วยถ้อยคำที่แปลกประหลาดเพื่อให้ลงสื่อหน้าหนึ่งในเช้าวันจันทร์นั้น....ถูกสยบอย่างราบคาบด้วยนักวิชาการอิสระอย่างอาจารย์วรเจตน์รุ่นน้องที่มาแรง......น่าจับตาดูจริงๆ



"รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ มธ. ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550

ที่มา เวบไซต์ประชาชาติธุรกิจ


16 กรกฎาคม 2550


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 บรรยายพิเศษทางวิชาการ "เรื่องร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการออกเสียงประชามติ" ในวันที่ 12 ก.ค.2550 ณ. ห้องประชุม อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ซึ่งถือเป็นเวทีแรกแห่งชำแหละรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของ สสร. (6 ก.ค.)
หลังจากนี้วันอาทิตย์ 15 กรกฎาคม ดร.วรเจตน์และเครือข่าย จะออกแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ



สิทธิเสรีภาพไม่ใช่แค่ตัวอักษร


ดร.วรเจตน์กล่าวว่า จุดเด่นของรัฐธรรมนูญคือเพิ่มสิทธิเสรีภาพบางประการเข้ามาให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง จะเป็นจุดที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเอามาใช้เพื่อโฆษณาว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น สามารถเสนอกฎหมายได้ มีสิทธิชุมชนดีขึ้นต่างๆ


ถามว่าจริงไหมที่ประชาชนในแง่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญมีการเพิ่มเติมสิทธิเสรีภาพดังกล่าวนั้น คำตอบคือจริง จุดนี้มีการเพิ่มเติมจริง หากถามต่อว่ามันเป็นนัยสำคัญไหมเพิ่มเติมขึ้นเป็นประเด็นเดียวทำให้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่


ต้องเรียนให้ทราบว่า ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย ให้มันดีอย่างไรก็เขียนได้ หรือจะเขียนให้แดนดินถิ่นวิเศษ ก็พรรณนาได้ แต่การเขียนอย่างนั้นจะปรากฏเป็นจริงหรือไม่ในทางปฏิบัติเป็นอีกประเด็นหนึ่ง อยากเรียนว่ารัฐธรรมนูญปี '40 ได้บัญญัติสิทธิเสรีภาพไว้ดีมาก แต่ในหลายกรณีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี '40 ยังไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติจริง


ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในบ้านเมืองของเรา มันจึงไม่ได้เป็นปัญหาของการบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่เป็นปัญหาของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ อยากเรียนว่า หากเรายังใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ดีอยู่ หมวดสิทธิเสรีภาพไม่ต้องมีอะไรเพิ่มเข้ามาใหม่ แต่ขอให้มันบังคับได้จริงๆ ทุกมาตราที่อยู่ในรัฐธรรมนูญปี'40 อาจไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในตัวรัฐธรรมนูญ


"ผมเรียนว่าเรื่องสิทธิเสรีภาพอยู่ที่เรื่องการปฏิบัติ ถ้าหากเราจะอ่านเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีอย่างไรก็เขียนได้ แต่ปัญหาคือ มันจะมีกลไกเขียนอย่างนี้บังคับตามสิทธินั้นหรือไม่นี่เป็นประเด็น" โครงสร้างสถาบันต่างหากคือปัญหา !!!ประเด็นที่น่าวิพากษ์วิจารณ์ คือเรื่องโครงสร้างทางการเมือง เรื่องสถาบันทางการเมือง ที่มาของ ส.ส. ส.ว.ต่างๆ ถ้าดูระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา แต่หากลองเปรียบเทียบดูหลักการและเหตุผลระบบเลือกตั้งปี '40 แล้ว ยังดีกว่าอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามติ "นี่คือทรรศนะของผม


ถามว่าระบบเลือกตั้ง ส.ส.ปี '40 น่าจะดีกว่าปี '50


ท่านลองดูว่ารัฐธรรมนูญปี '40 แบ่งเขตออกเป็น 400 เขต มี ส.ส. 400 คน เขตไหนก็ตามเรามี ส.ส. 1 คะแนนเสียงเท่ากัน และเลือก ส.ส.เราได้กันทุกเขตทั่วประเทศ ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ ปัตตานี เท่ากันทั่วประเทศ เขตเลือกตั้งละ 1 คนเท่ากัน ทุกคนมี 1 คะแนน และมี ส.ส. 1 คน" ส่วน ส.ส.ในระบบสัดส่วน แบบบัญชีรายชื่อแบบปาร์ตี้ลิสต์ใช้ประเทศเป็นเขต จะมีจุดแข็งคือทำให้นักการเมืองสามารถกำหนดนโยบายระดับประเทศได้ มันได้ถูกแยกออกไปกลุ่มจังหวัด เวลาเสนอเขาส่งบัญชีรายชื่อ 100 คน สามารถส่งนโยบายระดับประเทศได้ กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญปี '40 มีจุดแข็งเลยทีเดียวในหลักการตรงนี้ อาจจะมีข้อตำหนิติเตียนให้เหมือนกันแต่ค่อนข้างน้อย เช่น อาจจะทำให้คนชนะการเลือกตั้งสามารถอ้างคะแนนได้ 14 ล้านเสียง 19 ล้านเสียง อะไรพวกนี้ อาจเป็นจุดที่บางคนอาจจะไม่ชอบใจ แต่ในจุดหนึ่งที่เป็นจุดแข็งคือการมีบัญชีรายชื่อประเทศ มันส่งผลให้นักการเมืองต้องทำนโยบายที่พูดง่ายๆ ให้ถูกใจคนทั้งประเทศ ถามว่า ในต่างประเทศมีไหม ส่วนใหญ่ต่างประเทศเขาจะแบ่งออกเป็นภาค ถ้าเราไม่ใช้ระบบเลือกตั้งแบบทั้งประเทศจะใช้แบบบัญชีรายชื่อแบบตามภาคยังพอรับได้ หมายถึงภาคอีสาน ภาคเหนือมีบัญชีรายชื่อของภาคเหนือ ภาคกลางมีบัญชีรายชื่อของภาคกลาง ภาคใต้มีบัญชีรายชื่อภาคใต้ แต่โดยเหตุที่ประชากรในแต่ละภาคไม่เท่ากัน จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมันไม่เท่ากัน อีสานมีประชากรมากก็ย่อมมีสิทธิได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากกว่า ภาคใต้เป็นไปได้ บัญชีรายชื่ออาจจะถึง 630 คน อย่างนี้ภาคใต้อาจจะทำ 10 คน 12 คน ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วน ประชากร ถ้าเป็นภาคแบบนั้น โดยส่วนตัวยังพอรับได้


แต่อย่างนี้รับไม่ค่อยได้ คือการแบ่งออกเป็นกลุ่มจังหวัด เป็นกลุ่มจังหวัดทั้งประเทศแบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด และ 8 กลุ่มจังหวัด มี ส.ส. 10 คน คำถามคือว่า กลุ่มจังหวัดแต่ละกลุ่มจังหวัดนี้ มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจังหวัดละ 10 คน ตอบคำถามอะไร ผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละกลุ่มจังหวัด เป็นผู้แทนของอะไร ถ้าเป็นรายชื่อ 100 คน ผู้แทนของ ส.ส.บัญชีรายชื่อคือผู้แทนของประเทศจากบัญชีรายชื่อ จากนโยบายที่ทำ แต่ถ้าเกิดไม่เอาประเทศ จะแก้ทั้งภาค ก็ยังตอบได้ว่าแต่ละภาคผู้แทนของประโยชน์แต่ละภาคและวัฒนธรรมของแต่ละภาค อันนี้ก็ยังฟังได้อยู่ แต่เมื่อแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด มันอาจจะตอบคำถามไม่ได้ว่าเราจะแบ่งกลุ่มจังหวัดอย่างไร ที่มันได้พอดีกัน คนใน 8 กลุ่มจังหวัดมีความเป็นมาเป็นไปในทางวัฒนธรรมเดียวกัน ความรู้สึกนึกคิดคล้ายกัน และมี ส.ส.บัญชีรายชื่อที่เป็นพวกเดียวกัน ไม่มีฐานที่จะอธิบายในทางเหตุผลได้เลย


"ผมไม่ค่อยเห็นด้วยการใช้กลุ่มจังหวัด เป็นฐานคำนวณ ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มละ 10 คน หันกลับมาดู ส.ส.แบบแบ่งเขตตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เขตละ 1 คน ง่ายดีตามรัฐธรรมนูญที่จะออกเสียงลงประชามติระบบแบ่งเขต เขาอาจจะทำให้ ส.ส.ไม่เท่ากันได้ ส่วนใหญ่คงมีเขตละ 3 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยที่แบ่งเขตละ 3 คนไม่ได้ อาจเหลือ 2 คน หรือบางจังหวัดเล็กมากมี ส.ส. 1 คน ผลคือคนในแต่ละพื้นที่นั้นมีสิทธิออกเสียงเลือก ส.ส.ได้ไม่เท่ากัน"


"ผมอยู่จังหวัดเล็กผมเลือก ส.ส.ได้ 1 คน คนอยู่จังหวัดใหญ่มีเขตเลือกตั้ง 3 คน เลือกได้ 3 เบอร์ อธิบายลำบาก ผลคือเป็นไปได้ด้วยว่าการที่ให้แบ่งเขต เขตละ 3 คน มันอาจเกิดระบบเบี้ยหัวแตก เพราะว่าการรณรงค์หาเสียงสมมติพรรค A ส่งเบอร์ 1, 2, 3 พรรค B ส่งเบอร์ 4, 5, 6 พรรค C ส่งเบอร์ 7, 8, 9 เวลาเลือกอาจจะเลือกเบอร์ 1 พรรค A เบอร์ 4 พรรค B เบอร์ 9 พรรค C คือเลือกแยกทำให้พรรคการเมืองเข้าสภา อาจจะเป็นระบบหลายๆ พรรค เหมือนกับที่เกิดขึ้นมาก่อนปี 2540 แล้วมันส่งผลทำให้รัฐบาลอาจจะทำให้เป็นรัฐบาลผสมขึ้นมา ซึ่งจะส่งผลให้ต่อไปถึงเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน อันนี้ก็จะเป็นประเด็นเหมือนกัน"


ระบบเลือกตั้ง


ไร้เหตุผลอธิบาย ถามว่าทำไมผู้ร่างรัฐธรรมนูญออกแบบระบบเลือกตั้งแบบนี้ เป็นไปได้ว่าฝ่ายผู้ร่างรัฐธรรมนูญอาจจะเห็นว่าการระบบเลือกตั้งเมื่อปี '40 ทำให้ได้รัฐบาลที่เข้มแข็งมากไปคุมยาก แต่ต้องเรียนว่ารัฐบาลที่เข้มแข็งมีข้อดีในเชิงนโยบาย เขาสามารถผลักนโยบายออกไปเป็นรูปธรรมได้มาก อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการใหญ่มากเกินไป อำนาจมีมากเกินไปอาจจะเป็นอันตราย ซึ่งอาจต้องไปแก้โดยการจัดกลไกการควบคุมการตรวจสอบอำนาจ ไม่น่าจะทำให้ตัวเกิดระบบการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้มีหลายพรรคการเมือง แล้วอาจเกิดรัฐบาลผสมขึ้นมา ทำให้เกิดการอ่อนแอของรัฐบาล แล้วกลับไปสู่ปัญหาเดิมๆ ก่อนปี '40


"ปัญหาระบบเลือกตั้ง ส.ส. ผมไม่ค่อยเห็นด้วย อีกประเด็นหนึ่งที่มาของ ส.ว.ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร แม้ว่าแต่ละคนจะไปออกเสียงได้ 1 คะแนนพร้อมกันหมด แต่ว่าจำนวน ส.ส.แต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน จังหวัดไหนมีประชากรมากก็จะมี ส.ว.มาก แต่ฉบับปี 2550 แต่ละจังหวัดมี ส.ว.ได้ 1 คนเท่ากัน คำถามคือเป็นธรรมและมันถูกต้องไหม"


ถามว่าในต่างประเทศมันมีไหมที่เขากำหนดให้การเลือกตั้ง ส.ว. มี ส.ว.เท่ากัน (มีครับ) ในประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ มลรัฐใหญ่ มลรัฐเล็ก เขามี ส.ว.เท่ากัน เหตุผลเขาไม่ต้องการให้มลรัฐเล็ก มลรัฐใหญ่เสียเปรียบในแง่ของประโยชน์ในทาง รัฐ แต่ประเทศไทยเราไม่ได้ปกครองแบบนั้น เราปกครองแบบรัฐเดียว จังหวัดเป็นราชการส่วนภูมิภาค ส่วนกลางส่งออกมา และตัวจังหวัดเองไม่ได้มีผลประโยชน์ของตัวเองโดยฐาน ฉะนั้นการกำหนดให้มี ส.ว.จังหวัดละ 1 คน จึงไม่ตอบคำถามอะไรเลย กรุงเทพฯมีคนหลายล้าน มี ส.ว. 1 คน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าระนองไม่สำคัญ หมายความว่าอัตราส่วนของประชากรมันแตกต่างกันมาก จนกระทั่งทำให้เข้าใจได้ว่าการจัดระบบ ส.ว.อย่างนี้ มันยุติธรรมในแง่ของการเลือกตั้ง ที่หนักไปกว่านั้นคือมี ส.ว.อีกครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้งคือ 74 คน แล้วคนที่มาแต่งตั้งอาจไม่ถนัด คือ สรรหาแล้วก็ไปแต่งตั้ง คือคนที่มาสรรหาคณะกรรมการสรรหา ส.ว.เราจะพบว่ามาจากประธานองค์กรอิสระ และศาล ศาลก็จะเข้ามาพัวพันการเลือกคนเข้ามาเป็น ส.ว. ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่ตัวประธานจะมานั่งเป็นกรรมการสรรหา ส.ว. และผู้พิพากษาศาลฎีกา และตุลาการศาลปกครองสูงสุด ซึ่งกรณีนี้อาจมีปัญหาต่อไปทำให้บุคลากรผู้พิพากษามีส่วนเข้ามาพัวพันประโยชน์ได้เสียทางการเมือง กรณีนี้แต่ละคนก็อยากเป็น ส.ว.มาจากการสรรหา การสรรหาจริงๆ ก็คือการแต่งตั้ง แต่ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาจากบัญชีที่ กกต.เสนอมาจากภาคต่างๆ ภาครัฐ ประชาชน วิชาชีพต่างๆ แต่อำนาจจริงๆ มันอยู่ที่คณะกรรมการสรรหาค่อนข้างเด็ดขาดทีเดียว คณะกรรมการชุดนี้มี 7 คน น่ากังวลอย่างยิ่งว่าในอนาคตจะเป็นการดึงเอาคนจากหน่วยงานพวกนี้เข้ามาพัวพันการเมืองมากขึ้นหรือไม่ และในแง่ความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยอาจจะตอบคำถามไม่ได้ เพราะ ส.ว.ครึ่งหนึ่งไม่ได้มีที่มาที่มีจุดเชื่อมโยงจากประชาชนเลย มีอำนาจไปถอดถอนนายกฯ ส.ส.ได้ด้วย พวก ส.ว.ที่มาจากการสรรหานี้ ซึ่งน่าจะไม่ถูกต้อง อำนาจศาลเหนือการเมือง


ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ล้วนมาจากการสรรหาทั้งสิ้น โดยคนที่มีบทบาทสำคัญเช่นประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด มิหนำซ้ำ ยังมีบุคคลที่ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด เลือกมาเป็นกรรมการสรรหาอีกด้วย แปลว่าคนที่จะเป็นกรรมการสรรหาน้ำหนักจะมาจากฝ่ายศาลมาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเน้นอำนาจทางตุลาการอย่างสูง จะสังเกตเห็นได้ ถ้าอ่านรัฐธรรมนูญจะพบว่าลำดับการเรียงตัวตำแหน่ง เช่นประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร เขาให้น้ำหนักศาลเหนือกว่าการเมือง คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งความจริงต้องยอมรับว่าจะมากน้อยจะดีหรือชั่ว ประธานสภาในแง่ประชาธิปไตยเขาเป็นประมุขในทางนิติบัญญัติ หรืออย่างนั้น เขามีความชอบธรรมสูงเพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในทางศักดิ์ศรีของตำแหน่งสูงมาก แต่ในแง่เชิงลำดับจะอยู่หลังบรรดาประธานศาลทั้ง 3


จุดที่น่าสนใจสังเกตคือบรรดาคณะกรรมการสรรหาที่ไปสรรหาคนเข้าสู่องค์กรอิสระ ถ้ามองดูจะพบว่าคู่หนึ่งที่น่าสนใจคือประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน คล้ายกับเห็นว่าทั้งคู่อยู่คนละข้างกันคือประธานสภาเป็นฝ่ายรัฐบาล และมีผู้นำฝ่ายค้านในสภาเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการสรรหา คล้ายเป็นการถ่วงดุลกัน วิธีคิดนี้อาจไม่ถูกต้องในทางปฏิบัติ ประธานสภามักจะเป็นคนของพรรครัฐบาลเป็นปกติ เพียงแต่เมื่อเขาเป็นประธานสภาแล้ว เขาต้องเป็นกลางในทางการเมือง เขามีสถานะไม่เหมือนผู้นำฝ่ายค้านในสภา ถ้าจะจับคู่ให้มีคนจากสภาเข้าไปเป็นกรรมการสรรหา จะต้องเป็นผู้นำฝ่ายค้านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องในเชิงระบบ


จุดชี้ขาดรับไม่รับรัฐธรรมนูญ


ดร.วรเจตน์กล่าวว่า จุดชี้ขาดว่าควรจะรับหรือไม่ ไม่รับรัฐธรรมนูญอย่างไร นั่นก็คือเรื่องของการนิรโทษกรรม อันนี้เรื่องใหญ่ แต่เอามาพูดกันน้อยมาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้บอกว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ หมายความว่าอย่างไร ต้องอธิบายความแบบนี้ ก่อนวันที่ 19 ก.ย. มีการยึดอำนาจโดยตัวของมันเอง เป็นการกระทำผิดในทางอาญา ถ้าทำไม่สำเร็จก็เป็นขบถ มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต แต่เมื่อทำสำเร็จระบบกฎหมายเราก็ยอมรับว่าเขาเป็นคนที่ทรงอำนาจในทางความเป็นจริง เมื่อคณะยึดอำนาจ ยึดการปกครองสำเร็จ เขาสามารถออกประกาศต่างๆ ออกมาได้หลายฉบับ แล้วระบบกฎหมายไทยก็ยอมรับให้ประกาศอันนั้นมีค่าเป็นกฎหมาย แม้ไม่ผ่านสภา คนยึดอำนาจไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ต้องยอมให้เป็นกฎหมาย


จะมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งคือช่วง 19 ก.ย.-30 ก.ย.49 ที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในช่วงเวลา 10 กว่าวันนั้น คณะผู้ยึดอำนาจครองอำนาจสูงสุด ก็ออกประกาศ ออกอะไรต่างๆ มาหลายฉบับ ผมจะบอกให้การนิรโทษกรรมไปแล้ว มีปัญหาว่า พอหลังจากมีประกาศรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว คมช.ก็จะมีอำนาจทางกฎหมายแล้ว คือ คปค.มาเปลี่ยนชื่อเป็น คมช. เดิมเรียกว่า คปค. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คมช. คือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ที่เป็นองค์กรในรัฐธรรมนูญ ทีนี้มันก็มีปัญหาว่าในเวลานี้ คมช.ก็มีอำนาจและก็ดำเนินการอะไรต่างๆ ไป ปัญหามีอยู่ว่าอำนาจที่เขาใช้ไปในเวลานี้มันชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญไหม นี่คือประเด็น และรวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจด้วย ยกตัวอย่างเช่น คตส. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พวกนี้เกิดขึ้นจากการกระทำรัฐประหารทั้งสิ้น


"ถ้าเกิดโหวตรับรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญนี้ผ่านนะครับ สิ่งที่ประชาชนโหวตรับคือ การกระทำทั้งหลายทั้งปวงของ คมช. คตส. ของใครก็ตาม ว่ามันชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฟังให้ดีนะ ผมคิดว่าเป็นไปได้ เดี๋ยวจะหาว่าผมหมิ่นประมาท เป็นไปได้นะว่าการกระทำดังกล่าวนั้นมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายและความชอบรัฐธรรมนูญในเวลานี้ หรืออาจจะไม่มีก็ได้เราไม่รู้ ปัญหาในเวลานี้ เราไม่สามารถทราบได้ว่า คมช. การกระทำใดอันไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า เราไม่ทราบผมก็ไม่ทราบ


"ถ้าตีความในแง่นี้ตามตัวอักษรตามมาตรา 309 แม้หากการกระทำนี้มันไม่ชอบ ก็จะถูกถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ เพราะมาตรานี้เขียนเอาไว้ ถือว่ามันชอบและก็จะอ้างไว้ว่าอันนี้มันผ่านประชามติแล้ว นี่คือปัญหาใหญ่ของรัฐธรรมนูญ ทีนี้มีคนมา บอกว่าการรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่ากับเป็นการยอมรับนิรโทษกรรม ให้กับการกระทำรัฐประหารเรื่องนั้นก็โอเค แต่ว่ามันมากไปกว่านั้น คือไปนิรโทษกรรมการกระทำที่เกิดขึ้นหลังวันประกาศรัฐธรรมนูญนี้ ไปทำอะไรที่ไม่ชอบแล้วทำอะไรไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนว่ามันชอบ มันยังไม่รู้เลยว่าทำอะไรชอบหรือไม่ชอบ นี่คือปัญหาใหญ่ ฉะนั้นมีคนบอกว่ามาตรา 309 เป็นจุดดำหรือเป็นรอยด่างที่สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมก็เห็นเช่นนั้น และสำหรับผมจุดดำจุดนี้ ในมาตรานี้มันเพียงพอที่จะทำลายความก้าวหน้าบางเรื่องในบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพสำหรับผม แต่สำหรับบางคนบางท่านอาจจะคิดตรงข้ามกันว่า ได้บทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพได้มนุษยธรรม จึงยอมหยวนๆ แต่สำหรับผม ชั่งน้ำหนักแล้วมันไม่คุ้ม ผมก็โหวตไม่รับ


คนเขียน รธน.ทับซ้อนเรื่องตำแหน่งในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนี่ก็มีข้ออ่อน เพราะบุคคลที่เขาไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญนี้ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องของการทับซ้อนกันในเชิงตำแหน่งอยู่ เช่น บางท่านที่เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ บางคนเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันก็เป็น สสร. และเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและเขียนรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างนี้มันเป็นการทับซ้อนในเชิงตำแหน่ง ซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่น่าจะถูก และมิหนำซ้ำเดี๋ยวคนที่เป็นกรรมาธิการยกร่างซึ่งเป็นกรรมการเลือกตั้งด้วยยิ่งจะมาเป็นคนจัดประชามติอีก คือในแง่ของตัวบุคคลซึ่งไปทำนี่มันมีความทับซ้อนในเชิงตำแหน่ง และมันอธิบายในกฎหมายมิได้ นี่คือปัญหาในสังคมไทยเรา บางทีเราชี้นิ้วไปที่คนอื่นและเราก็บอกว่าคนคนนี้มีปัญหาทับซ้อนอย่างนั้นอย่างนี้ แต่คำถามที่เราขาดไปเราไม่เคยชี้นิ้วกลับมาถามตัวเรา


19 ส.ค.2550 อำนาจอยู่ในมือประชาชน

"ผมพูดวันนี้ก็เป็นเพียงทรรศนะคนที่มองรัฐธรรมนูญคนหนึ่งเท่านั้น อย่าเพิ่งเอาเป็นข้อยุติเด็ดขาด แต่ท่านจะต้องลองไปศึกษาผู้รู้ท่านอื่นได้วิเคราะห์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ ถ้าให้ดีก็ลองอ่านรัฐธรรมนูญและสนใจปัญหาการบ้านการเมืองและการตัดสินใจด้วยตนเอง อย่าไปเชื่อใครทั้งนั้น ไม่ต้องเชื่อ ตัดสินใจด้วยตัวท่านเอง ในที่สุดแล้ววันที่ 19 ส.ค. เมื่อท่านไปออกเสียงประชามติ ท่านจะตัดสินใจอย่างไรอยู่ในตัวท่าน ทุกคนอำนาจสูงสุดอยู่ในมือของท่านทั้งหลายในวันที่ 19 ส.ค." "
บันทึกการเข้า
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #126 เมื่อ: 17-07-2007, 08:09 »

ดูตามสถานการณ์แล้ว ผมว่า ร่าง รธน.ปี2550 ผ่านฉลุยแน่นอน
ฟันธงล่วงหน้าได้เลย....เอิ้กกกกก

 
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #127 เมื่อ: 17-07-2007, 08:43 »

ดูตามสถานการณ์แล้ว ผมว่า ร่าง รธน.ปี2550 ผ่านฉลุยแน่นอน
ฟันธงล่วงหน้าได้เลย....เอิ้กกกกก

 


เป็นไปได้ว่าคุณลุงอาจจะได้หัวเราะทั้งน้ำตาหลังจากฟันธงไปแล้ว....แต่ธงหลุดมือไปต่อหน้าต่อตา!! อิ อิ
บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #128 เมื่อ: 17-07-2007, 11:10 »

อ้าวพี่จ๊ะ กลับมาแล้วเรอะ คราวนี้นึกไงเป็นเทพอ่ะ 

ปล ถ้าไม่รับร่าง รธน 50 พี่จ๊ะคิดว่าจะใช้ฉบับไหนแทนครับ แล้วจะรับได้ไหมครับ เพราะมันก็ผ่านมือ คมช เหมือนกัน 
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #129 เมื่อ: 17-07-2007, 12:19 »

เอาฉบับไหนมา โคตรพ่อแม้วของ ขี้ข้า e ตุ๊ด'จ๊ะ ก็จะถูกล้างโคตร
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #130 เมื่อ: 17-07-2007, 13:20 »

อ้าวพี่จ๊ะ กลับมาแล้วเรอะ คราวนี้นึกไงเป็นเทพอ่ะ 

ปล ถ้าไม่รับร่าง รธน 50 พี่จ๊ะคิดว่าจะใช้ฉบับไหนแทนครับ แล้วจะรับได้ไหมครับ เพราะมันก็ผ่านมือ คมช เหมือนกัน 


น้อง-3-ถามได้เข้าท่า....ท้าวฯจึงมีคำบัญชาว่า ต้องนำรธน.ปี2540กลับมาใช้เท่านั้น ซึ่งเป็นรธน.ที่ร่างโดยปชช.และเป็นปชต.มากที่สุดฉบับหนึ่ง   คมช.ต้องสำนึกบาปและไถ่บาปด้วยการประกาศกราบขอขมาปชช.และลาออกไปซะดีๆ อย่าลืมเป็นอันขาดว่าทหารอาชีพมีอยู่จริงในกองทัพ...และพวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะกอบกู้ศักดิ์ศรีคืนมา!!

ท้าวฯเตือนครั้งเดียว....
บันทึกการเข้า
โฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 83


« ตอบ #131 เมื่อ: 17-07-2007, 13:31 »

จ้ะมันคงเตรียมทหารรุ่น 10 ของพี่ทักสินซินะ  เเหม
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #132 เมื่อ: 17-07-2007, 14:06 »

จ้ะมันคงเตรียมทหารรุ่น 10 ของพี่ทักสินซินะ  เเหม


รุ่นไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับว่ามีความเป็นทหารอาชีพ...หรือจะเป็นเพียงทหารธุรกิจ ทหารการเมือง!?! ไม่อย่างนั้นพวกบิ๊กๆจะเปลี่ยนบ้านเปลี่ยนที่นอนกันเหร๊อ? บางรายต้องไปนอนในค่ายทหารเพราะกลัวตาย!!
บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #133 เมื่อ: 17-07-2007, 14:08 »

ทำไมไม่ใช้ รธน 2475 ครับ หรือว่าฉบับนั้นยังเป็นประชาธิปไตยไม่พอ 

ปล ถ้าจะแก้ไข รธน 40 ต้องทำอย่างไรบ้างครับ?


น้อง-3-ถามได้เข้าท่า....ท้าวฯจึงมีคำบัญชาว่า ต้องนำรธน.ปี2540กลับมาใช้เท่านั้น ซึ่งเป็นรธน.ที่ร่างโดยปชช.และเป็นปชต.มากที่สุดฉบับหนึ่ง   คมช.ต้องสำนึกบาปและไถ่บาปด้วยการประกาศกราบขอขมาปชช.และลาออกไปซะดีๆ อย่าลืมเป็นอันขาดว่าทหารอาชีพมีอยู่จริงในกองทัพ...และพวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะกอบกู้ศักดิ์ศรีคืนมา!!

ท้าวฯเตือนครั้งเดียว....

บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #134 เมื่อ: 17-07-2007, 14:13 »

ทำไมไม่ใช้ รธน 2475 ครับ หรือว่าฉบับนั้นยังเป็นประชาธิปไตยไม่พอ 

ยุคโน้นต่างกับยุคนี้...มีเพียงฉบับปี 2540 เท่านั้นที่มีความเป็นปชต.สูงสุดและสะท้อนสถานะการณ์ปัจจุบันมากที่สุด


ปล ถ้าจะแก้ไข รธน 40 ต้องทำอย่างไรบ้างครับ?

ถ้าอยากแก้เรื่องจำนวนสส.ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนไม่ไว้วางใจรมต./นรต. ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้กับทุกฝ่าย

บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #135 เมื่อ: 17-07-2007, 14:26 »

ยุคโน้นต่างกับยุคนี้...มีเพียงฉบับปี 2540 เท่านั้นที่มีความเป็นปชต.สูงสุดและสะท้อนสถานะการณ์ปัจจุบันมากที่สุด

งั้น 50 ก็น่าจะปัจจุบันกว่าสิครับ 


ถ้าอยากแก้เรื่องจำนวนสส.ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนไม่ไว้วางใจรมต./นรต. ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้กับทุกฝ่าย

ผมถามว่าจะทำได้ยังไง ไม่ใช่ถามว่าประเด็นไหนควรแก้ 

บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #136 เมื่อ: 17-07-2007, 15:11 »




ร่างรธน.ปี2550 ถือเป็น 'สิ่งแปลกปลอม' ที่ฝ่ายเผด็จการต้องการให้คนไทยรับไว้ให้เป็นตราบาปโดยการแบล๊คเมลว่าหากไม่รับ...ก็จะมีการเลือกตั้งช้าไปอีกและไม่รู้ว่า คมช. จะเอารธน.ฉบับไหนมาใช้ ประเด็นก็คือ คนไทยต้องยืนขึ้นทวงสิทธิ์ให้ คมช. นำรธน.ปี 2540 กลับมาใช้โดยไม่มีสิทธิ์ต่อรองใดๆทั้งสิ้นผ่านการลงประชามติคว่ำร่างปี2550

อย่าให้ คมช. มั่นใจว่าจะทำอย่างไรกับคนไทย 65 ล้านคนแบบไหนก็ได้....ศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นเรื่องที่คนไทยต้องลุกขึ้นทวงถาม ไม่ใช่ปล่อยให้ คมช. เป็นฝ่ายกุมชะตากรรมของคนไทยทั้งประเทศแบบที่เป็นนี้เลย


น่าอายจริงๆ
บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #137 เมื่อ: 17-07-2007, 16:00 »

พี่ lnw ครับ ผมถามว่าจะแก้ รธน 40 ได้อย่างไร ไม่เห็นตอบเลยอ่ะ 


ร่างรธน.ปี2550 ถือเป็น 'สิ่งแปลกปลอม' ที่ฝ่ายเผด็จการต้องการให้คนไทยรับไว้ให้เป็นตราบาปโดยการแบล๊คเมลว่าหากไม่รับ...ก็จะมีการเลือกตั้งช้าไปอีกและไม่รู้ว่า คมช. จะเอารธน.ฉบับไหนมาใช้ ประเด็นก็คือ คนไทยต้องยืนขึ้นทวงสิทธิ์ให้ คมช. นำรธน.ปี 2540 กลับมาใช้โดยไม่มีสิทธิ์ต่อรองใดๆทั้งสิ้นผ่านการลงประชามติคว่ำร่างปี2550

อย่าให้ คมช. มั่นใจว่าจะทำอย่างไรกับคนไทย 65 ล้านคนแบบไหนก็ได้....ศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นเรื่องที่คนไทยต้องลุกขึ้นทวงถาม ไม่ใช่ปล่อยให้ คมช. เป็นฝ่ายกุมชะตากรรมของคนไทยทั้งประเทศแบบที่เป็นนี้เลย


น่าอายจริงๆ

บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #138 เมื่อ: 17-07-2007, 16:09 »

พี่ lnw ครับ ผมถามว่าจะแก้ รธน 40 ได้อย่างไร ไม่เห็นตอบเลยอ่ะ 



คมช. สามารถประกาศใช้ รธน. ปี 2540 ได้เลย....แต่มันแค่เสียหน้าเท่านั้นเอง!
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #139 เมื่อ: 20-07-2007, 17:13 »

ท้าวฯขออนุญาตอันเชิญกระทู้เสริมสมองสร้างแคลเซี่ยมถักใยสมองด้วยการนำข้อมูลเกี่ยวกับร่างรธน.โจรมาแฉกันจะจะเลย...ตามนี้

"ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มอบรางวัลสมุน คมช. ต่ออายุผู้พิพากษา10ปี

ที่มา เวบไซต์ Hi-Thaksin
โดย ประดาบ
20 กรกฎาคม 2550

ขบวนการตุลาภิวัฒน์ ที่นำโดยนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตประธานศาลฎีกา ประมุขฝ่ายตุลาการ ที่ลดตัวลงมาเป็นข้ารับใช้ให้แก่คณะเผด็จการทหาร ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายจรัล ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา ซึ่งย้ายมาเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ทำงานเป็นคู่ขา คู่บารมีกับนายชาญชัย อย่างต่อเนื่องตั้งแต่อยู่ที่ศาลฎีกาด้วยกัน และมาอยู่กระทรวงยุติธรรมคู่กันอีกครั้งหนึ่งนั้น นับว่าเป็นขบวนการขับเคลื่อนทางการเมืองที่น่าหวาดกลัวและหวั่นเกรงมากที่สุดในวงการเมืองห้วงยามนี้ และในอนาคตไม่น้อยกว่า 10ปี

ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย ว่า เมื่อปีพ.ศ.2549 คณะผู้พิพากษาจำนวนหนึ่ง ที่เรียกตัวเองว่าขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ได้ใช้ศาล และ กฎหมาย เป็นเครื่องมือสร้างเส้นทางสายรัฐประหารให้แก่คณะเผด็จการทหาร ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิป ไตย ปล้นอำนาจอธิปไตย ไปจากมือประชาชน และ ฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ลงถังขยะ

อีกทั้งยังช่วยเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้แก่คณะเผด็จการทหาร และเป็นมือไม้ เป็นข้าคอยรับใช้คณะเผด็จการทหาร ใช้ความชำนาญทางกฎหมาย เข้าสลายความแข็งแกร่งของพรรคการ เมือง และเล่นงานนักการเมือง ที่ถูกประทับตราว่าเป็นศัตรูของคณะเผด็จการทหาร ที่นำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อย่างซื่อสัตย์และแข็งขัน ราวกับว่าร่วมก่อการรัฐประหารครั้งนี้มาด้วยกัน

ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ว่าเมื่อปี 2549-2550 คณะผู้พิพากษากับคณะโจรกบฏ ได้ร่วมกันปล้นอำนาจอธิปไตยไปจากมือประชาชนที่กำลังจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ประกาศใช้แล้ว

ภาพนายจรัล ภักดีธนากุล ไปร่วมงานเลี้ยงฉลองชัยชนะในวาระโค่นล้มรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงได้ โดยมีนายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ร่วมอยู่ด้วย เป็นหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ และความร่วมมือกันในการโค่นล้มรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ อย่างแนบแน่นยิ่งนักของขบวนการตุลาการภิวัฒน์ กับ คณะรัฐประหาร และ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งภาพนี้ไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ เพิ่มเติมอีกแล้ว

การเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจยิ่งของผู้พิพากษาที่มาจากขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ทั้ง ใน คตส.,กกต.,สนช. และ สสร. นับว่าเป็นพฤติการณ์ที่เหนือความคาดหมายของประชาชนทั่วไป ที่ได้เห็นคณะผู้พิพากษาไปรับใช้คณะรัฐประหาร และยิ่งเหนือความคาดหมายมากขึ้นไปอีก เมื่อได้เห็นคณะผู้พิพากษา ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความสุจริตเที่ยงธรรม ให้โอกาสคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ชี้แจง และปกป้องสิทธิของตนเอง อย่างเท่าเทียมกัน กลับปฏิบัติหน้าที่ด้วยการฟังความเพียงข้างเดียว และใช้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเล่นงานคู่กรณีของคณะเผด็จการทหาร อย่างไม่เป็นธรรม และไม่มีตำรากฎหมายเล่มใดบัญญัติไว้ จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือผลงานของคณะผู้พิพากษา ที่ได้ชื่อว่า สุจริตและเที่ยงธรรม เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ

การพิจารณายกฟ้องคดีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นจำเลย หลายคดี ในขณะที่ประทับรับฟ้องทุกคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ถูกฟ้องเป็นจำเลย เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นได้ว่าขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ยังคงทำงานอย่างเข้มแข็ง

การเพิกเฉยต่อการร้องขอความเป็นธรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูก คตส. กลั่นแกล้งรังแก ไม่รับคำร้อง ไม่ใส่ใจเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ครอบครัวชินวัตร ในขณะที่ให้ความคุ้มครองการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดของกฎหมายของนายสนธิ ลิ้มทองกุล หลายอย่างหลายประการ เช่น คุ้มครองสถานีโทรทัศน์ ASTV ให้ออกอากาศได้ ทั้งๆ ที่กรมประชาสัมพันธ์ ชี้ชัดว่าทำผิดกฎหมาย เป็นการส่งสัญญาณอีกทางหนึ่งว่าขบวนการตุลาการภิวัฒน์ มีอยู่จริง

การวินิจฉัยยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในทุกกรณีที่ถูกกล่าวหา ทั้งๆ ที่มีพยานหลักฐานและพยานบุคคลเชื่อมโยงการกระทำผิด ไปถึงเลขาธิการพรรค และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ชัดเจน แต่ วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คน ที่ไม่ร็เห็น ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ก็เป็นการส่งสัญญาณอีกประการหนึ่งว่า ขบวนการตุลาการภิวัฒน์ เป็นข้าทาสรับใช้เผด็จการทหาร และเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างบันได้ 4 ขั้น สู่ฝันอันสูงสุดของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน คือ เก้าอี้นายกรัฐมนตรี ด้วยความภักดียิ่ง

บทสนทนาระหว่างผู้พิพากษา 2 คน ซึ่งคนหนึ่งเป็นคนใกล้ชิดของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กับอีกคนหนึ่งเป็นคนของนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา กับ ข้าราชการระดับ 11 ว่าด้วยการต่อรองให้กรรมการการเลือกตั้ง ชุดพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ลาออก แล้วจะไม่ถูกคำพิพากษาจำคุก แต่หากไม่ลาออก ก็น่าเป็นห่วง พร้อมทั้งสำทับว่าขบวนการตุลาการภิวัฒน์ กระทำการตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เป็นการส่งสัญญาณที่แรงมาก ว่าขบวนการตุลาการภิวัฒน์ พร้อมจะทำทุกสิ่งทุกอย่าง และรับการต่อรองทุกชนิด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย กระทั่งแอบอ้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทำได้ และทำมาแล้ว

การกำเนิดขึ้นขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ที่นำโดยนายชาญชัย และ นายจรัล เป็นการลดความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาล และกระบวนการยุติธรรม อย่างรุนแรง

การแผ่ขยายอิทธิพลของขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ยิ่งกว้างขวาง และรุนแรงมากเพียงใด ก็ยิ่งทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของศาล ลงมากเป็นทบเท่าทวีคูณ

การมีคำสั่ง คำวินิจฉัย และคำพิพากษาของศาล ในทุกกรณีที่ผ่านมาในห้วงระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมา นับแต่การวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ พิพากษาจำคุกกกต. 3 คน โดยไม่รอลงอาญา การสั่งจำคุกผู้สนับสนุนให้กำลังใจกกต. 3 คน ข้อหาหมิ่นศาล วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คน สั่งยกฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล คดีหมิ่นประมาทตระกูลดามาพงศ์ ล้วนแต่ทำให้ศาล กลายเป็นผู้ต้องสงสัยของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ว่าได้ตัดสินคดีด้วยสุจริตเที่ยงธรรมจริงหรือไม่ และเป็นคำพิพากษาภายใต้พระปรมาภิไธยหรือภายใต้ปากกระบอกปืน กันแน่

การรัฐประหาร ยึดอำนาจของเผด็จการทหารคมช. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการรัฐประหารที่ทำลายทุกสถาบัน ทุกองค์กรของประเทศไทย อย่างย่อยยับ

อำนาจนิติบัญญัติ ที่ประชาชนลงคะแนนเลือกตั้งมา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ถูกกำจัดทิ้งอย่างไม่ไยดี

อำนาจบริหาร ที่ประชาชนให้ความไว้วางใจรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ อย่างท่วมท้นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในรอบ 75 ปี ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทย ถูกปล้นอำนาจและขับไล่ให้ออกไป อย่างน่าสังเวชใจ

อำนาจตุลาการที่เคยเป็นอิสระ และมีศักดิ์ศรีสูงส่งมายาวนานกว่าร้อยปี ถูกนำมาเป็นเครื่องมือรับใช้เผด็จการทหาร เพื่อกลั่นแกล้ง รังแก ผู้ถูกปล้น อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เมื่อผู้พิพากษา ไปรับใช้ โจร ประเทศไทย ที่น่าห่วง ก็ยิ่งต้องห่วงมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว

อำนาจสามฝ่ายที่ประกอบกันเป็นอำนาจอธิปไตย ถูกเผด็จการทหารคมช. ทำลายสิ้นไปหมดแล้ว ที่เหลืออยู่ในขณะนี้ คือ ตัวตึก ตัวอาคาร และ ตัวคน แต่ที่หายและตายไปศักดิ์ศรี จิตวิญญาณของอำนาจสามฝ่าย ที่ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้อีก เพราะไปแอบซุกอยู่ใต้ท็อปบู๊ตทหาร นั่นเอง

มีคำถามมากมายในใจประดาบ ว่า เกิดอะไรขึ้นกับอำนาจตุลาการของประเทศไทย คณะผู้พิพากษา จึงไปรับใช้เผด็จการคมช. โดยไม่สนใจ ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญ และศักดิ์ศรีของผู้พิพากษา กระทั่งไปยอมรับใช้โจร ก็ยังทำได้

คำถามนี้ ได้รับคำตอบจากตัวเอง และผู้คนรอบข้าง ในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่มีใครรู้จริงสักคนว่า "อาจจะเป็นไปได้ว่าผู้พิพากษาที่ไปรับใช้เผด็จการคมช. เหล่านี้ มีอคติกับนายกฯทักษิณ หรือ มีความสนิทชิดชอบกับบุคคลในคณะเผด็จการทหารคมช. กระทั่งถูกครอบงำจากผู้มีบารีนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้ก็เฉลยออกมาแล้วคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่เข้าไปแทรกแซงศาล ตามที่ปรากฏในหลักฐานคำสนทนาของผู้พิพากษา 2 คนกับข้าราชการระดับ11 ที่รับรู้กันไปทั่วแล้ว"

คำตอบข้างต้น เป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น ไม่มีใครยืนยันได้ ชี้ชัดได้ว่าเข้าเค้าความจริงหรือคลาดเคลื่อนจนไม่มีเค้าลางความจริง

กระทั่งเมื่อได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างจริงจัง ด้วยใจจดจ่อแต่ละมาตรา จนมาถึงมาตรา 306 ที่จะเขียนถึงในบรรทัดต่อไป จึงเข้าใจกระจ่างชัดว่าเหตุใด คณะผู้พิพากษา ในขบวนการตุลาการภิวัฒน์ จึงได้ทุ่มกายถวายชีวิตรับใช้เผด็จการทหารคมช.อย่างลืมตัวและลืมตาย ไม่ห่วงว่าศักดิศรีของตุลาการจะหดหายไปหรือไม่ ไม่สนใจกระทั่งพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งถึงสองครั้งสองครา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 และ วันที่ 24 พฤษภาคม 2550

ประดาบ ขอให้ทุกท่านได้อ่านถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 306 ก่อน แล้วค่อยทำความเข้าใจกันอีกครั้ง



"มาตรา 306 ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่เคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2550 สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาตามมาตรา 219 ได้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโส

ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้ตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี และผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีงบประมาณใด ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปี และผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถขอไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลซึ่งไม่สูงกว่าขณะดำรงตำแหน่งได้

กฎหมายที่จะตราขึ้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะต้องมีบทบัญญัติให้ผู้ที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีงบประมาณใดในระยะหกสิบปีแรก นับแต่วันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับทยอยพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เป็นลำดับในแต่ละปีต่อเนื่องกันไป และสามารถขอไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปได้

ให้นำบทบัญญัติในวรรคสอง และวรรคสามไปใช้กับพนักงานอัยการด้วย โดยอนุโลม"

ทำความเข้าใจกันไม่ยากนัก เพราะนายจรัล ภักดีธนากุล คนสำคัญของขบวนการตุลาการภิวัฒน์ เขียนไว้ชัดเจน จะได้ไม่ต้องตีความกันไปในทางอื่นได้ นอกจากว่า ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ต่ออายุผู้พิพากษา ไปอีก 10 ปี ที่เคยต้องเกษียณอายุราชการ เมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้ขยายออกไปอีก 10 ปี ส่งผลให้ผู้พิพากษา จะครบกำหนดเกษียณอายุราชการ เมื่อครบ 70 ปีบริบูรณ์

ผู้พิพากษา จะเป็นข้าราชการกลุ่มเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าข้าราชการทั่วไป 10 ปี เกษียณอายุราชการ เมื่อครบ 70 ปี บริบูรณ์

นี่คือ รางวัลแด่ผู้พิพากษา ที่เผด็จการคมช. มอบให้ ในฐานะข้ารับใช้ที่ซื่อสัตย์
นี่คือ คำยืนยันว่าชนชั้นใดเขียนกฎหมาย แน่แท้ไซร้เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น

ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 แกนนำขบวนการตุลาการภิวัฒน์ เป็นผู้เขียน ก็ย่อมแสวงหาประโยชน์แก่ตุลาการด้วยกัน นั่นเอง
การขยายอายุราชการให้แก่ผู้พิพากษา ไปถึง 70 ปีบริบูรณ์ จะก่อให้เกิดผลสำคัญ 3 ประการในอนาคต ได้แก่

1. บุคคลที่จะสอบเข้าเป็นข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ จะมีโอกาสน้อย เนื่องจากผู้พิพากษาอาวุโส และ อัยการอาวุโส ได้รับการต่ออายุออกไปอีก 10 ปี ในขณะที่งบประมาณการจัดจ้างบุคลากรของรัฐ ถูกควบคุมไว้ ด้วยหลักเกณฑ์ของรัฐ ที่ผูกมัดว่าการจะบรรจุบุคลากรใหม่ ต้องอยู่บนเงื่อนไขเพียง 2 ประการคือ เกษียณอายุราชการ และเสียชีวิต ดังนั้น ในฝ่ายตุลาการ และ อัยการ ที่ได้รับการขยายอายุจากร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ให้เกษียณอายุ 70 ปีบริบูรณ์ ก็จะมีแต่ผู้พิพากษาอาวุโส และ อัยการอาวุโส มากกว่าผู้พิพากษารุ่นใหม่ ซึ่งจะกระทบต่อการพิจารณาอรรถคดีที่ต้องการผู้พิพากษาที่มีความรอบรู้ ความเท่าทันสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีสมัย ใหม่

บัณฑิตนิติศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย ที่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต ที่ตำแหน่งอัยการ และ ผู้พิพากษา ในห้วงเวลา 10 ปีนับจากนี้ไป จึงจะเป็นผู้เสียโอกาสจากร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จนแทบจะหมดโอกาสเลยทีเดียว

2. ผู้พิพากษา และ อัยการ ที่ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคดีความต่างๆ ของนายกฯทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว จะทำงานต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 70 ปี ซึ่งหมายความว่าภายใน 10 ปีนับจากนี้ไป การจองเวรต่อพ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่มีทางยุติได้ง่ายๆ และอีกทางหนึ่ง ผู้พิพากษาที่มี "ธง" อยู่ในใจ ก็จะเป็นปราการที่แข็งแกร่ง และเป็นหลักประกันแก่เผด็จการทหารคมช. อีกด้วย หากวันหนึ่งข้างหน้า มีผู้รื้อฟื้นคดีก่อการรัฐประหาร ขึ้นมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาล อีกครั้ง คมช.จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญ ให้ประโยชน์แก่ทั้งผู้พิพากษา และ อัยการ เพื่อสร้างบุญคุณให้ผู้คนในสององค์กรนี้ ได้ระลึกไว้เสมอว่า ที่ได้ต่ออายุราชการถึง 70 ปี เพราะคมช. เมตตาและกรุณาต่อชีวิตให้ เหตุที่ต้องให้ทั้งผู้พิพากษา และอัยการนั้น ก็เพราะว่า สององค์กรนี้ต้องทำงานเคียงคู่กัน และไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะทำให้กระบวนการยุติธรรม และ ขบวนการตุลาการภิวัฒน์ มีอาณุภาพสูงสุด ในการทำลายล้างศัตรูของ คมช. ไม่ให้ได้ผุดได้เกิดอีกเลย

3. องค์กรอื่นๆ จะอาศัยกรณีของผู้พิพากษา และ อัยการ เป็นต้นแบบในการร้องขอให้มีการขยายอายุราชการออกไปอีก เช่น ทหาร ตำรวจ นักวิชาการ แพทย์ ซึ่งจะเป็นภาระแก่งบประมาณแผ่นดิน อย่างมาก และเป็นการสืบทอดอำนาจ กระทั่งฝังรากลึกในระบบราชการ จนยากที่ประชาชน จะมีสิทธิ มีเสียงมีพละกำลังมากพอที่เขย่าสั่นคลอน หรือ ต่อสู้กับระบบราชการ หรือระบอบอำมาตยาธิปไตย ให้รู้สึกว่าในประเทศนี้ มีประชาชนอาศัยอยู่ด้วย ได้อีก

ข้อความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 จึงเป็นการส่งสัญญาณว่า ขบวนการตุลาการภิวัฒน์ จะทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปี และ จะขยายผลไปสู่ อัยการ ด้วย เพราะได้รับอานิสงส์จากร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 306 นี้ด้วย

ข้อความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 จึงเป็นการแสดงให้ประชาชนเห็นว่า ผู้ที่รับใช้เผด็จการคมช. จะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน อย่างคุ้มค่า

ข้อความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผล ที่ ประดาบ ต้องไปลงมติ "ไม่เห็นชอบ"กับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อหยุดยั้งขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ให้จงได้ แต่การจะหยุดได้จริง ต้องอาศัยพลังประชาชนทั้งประเทศ ไปลงประชามติ "ไม่เห็นชอบ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างพร้อมเพรียงกัน ในวันที่ 19 สิงหาคม นี้

หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้เห็น และตระหนักถึงเภทภัย อันตรายที่จะมาเยือนประเทศชาติ และประชาชนทุกคนได้ หากปล่อยให้ขบวนการตุลาการภิวัฒน์ เติบโต และแผ่ขยายอิทธิพล มากไปกว่านี้

โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของศาล และ กระบวนการยุติธรรม ของประเทศ เป็นดัชนีชี้วัดความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่เป็นมาตรฐานสากล และเป็นปัจจัยหนึ่ง เงื่อนไขหนึ่ง ที่นักลงทุนต่างประเทศ ใช้ในการพิจารณาตัดสินใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

หากศาล และอัยการ ตลอดจนกระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย ยังยืนอยู่บนพื้นฐานความแค้นทางการเมืองที่ควบแน่นกับความอาฆาตพยาบาทของคมช. จนจับต้องได้ว่ามีบรรยากาศของความไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม เกิดขึ้นเช่นที่รู้สึกได้ในขณะนี้ ไม่ใช่เพียงแต่ปัญหาการเมืองในประเทศ ที่จะเผชิญหน้ากันรุนแรงมากขึ้น ปัญหาระหว่างประเทศ ปัญหาการค้าระหว่างไทยกับนานาชาติ จะปรากฎขึ้นทันที

เมื่อใดที่ศาลและอัยการ อยู่ใต้การครอบงำของผู้ครองอำนาจรัฐ ก็เป็นที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้เลยว่า การลงทุนจากต่างประเทศ การค้าขาย การทำธุรกิจระหว่างไทยกับนานาชาติ จะมีแนวโน้มลดน้อยถอยลงและหดหายอย่างแน่นอน เพราะนานาชาติขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการอำนวยความยุติ ธรรมของประเทศไทย อันจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ให้ทรุดหนักลงไปอีก จนยากจะเยียวยา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม และศาล เป็นปัญหาที่ใหญ่โตและรุนแรง ยิ่งกว่าปัญหาค่าเงินผันผวน น้ำมันราคาแพง ค่าแรงพุ่ง เช่นที่เราประสบอยู่ในขณะนี้

วันใดที่ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้รับความเห็นชอบ ศาล และ อัยการ ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของผู้มีอำนาจรัฐ ตามที่ซ่อนเงื่อนและหมกเม็ดไว้ในมาตรา 306 ที่ยกมานี้ วันนั้นประเทศไทย จะพังลงอย่างพร้อมกัน ทั้ง อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ไม่ได้รับความเชื่อจากนานาชาติ อีกต่อไป

นี่คืออันตรายของ มาตรา 306 แห่งร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันสกัดกั้นไม่ให้เกิดขึ้นได้ตามเจตนารมณ์ชั่วร้ายของคมช.

ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคน ต้องร่วมมือร่วมใจกันหยุดยั้ง ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และ หยุดยั้งขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ก่อนที่ประเทศไทยจะเสียหายไปมากกว่านี้

ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อหยุดยั้ง ขบวนการตุลาการภิวัฒน์

ปล. หากเห็นด้วยกับบทความนี้ หากเห็นด้วยที่จะหยุดยั้งขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ขอความกรุณาเผยแพร่บทความชิ้นนี้ไปยังบุคคลที่ท่านรู้จักให้มากที่สุด เพื่อจะได้เห็นและตระหนักถึงภัยอันตรายที่ซ่อนซุกและหมกเม็ดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างทั่วถึงและกว้างขวางทั้งประเทศ"
บันทึกการเข้า
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #140 เมื่อ: 20-07-2007, 17:50 »

อ้างจาก: ท้าวมหาเทพฯ link=topic=15067.msg201452#msg201452 date=1 184926399
ท้าวฯขออนุญาตอันเชิญกระทู้เสริมสมองสร้างแคลเซี่ยมถักใยสมองด้วยการนำข้อมูลเกี่ยวกับร่างรธน.โจรมาแฉกันจะจะเลย...ตามนี้

"ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มอบรางวัลสมุน คมช. ต่ออายุผู้พิพากษา10ปี

ที่มา เวบไซต์ Hi-Thaksin
โดย ประดาบ
20 กรกฎาคม 2550

...


ปล. หากเห็นด้วยกับบทความนี้ หากเห็นด้วยที่จะหยุดยั้งขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ขอความกรุณาเผยแพร่บทความชิ้นนี้ไปยังบุคคลที่ท่านรู้จักให้มากที่สุด เพื่อจะได้เห็นและตระหนักถึงภัยอันตรายที่ซ่อนซุกและหมกเม็ดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างทั่วถึงและกว้างขวางทั้งประเทศ"

ตัดแปะใบบอก แล้วส่งจดหมายลูกโซ่
พระครูธรรมโชติเห้นแล้วยงอาย ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
...

 
 
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #141 เมื่อ: 23-07-2007, 16:20 »

ท้าวฯขอเชิญชวนท่านใดก็ตามที่คิดว่าจะรับร่างรธน.2550 ได้โปรดอ่านบทความต่อไปนี้อย่างมีสมาธิก็จักเป็นบุญเป็นกุศลต่อตัวท่านเองอย่างมาก.....สาธุ


"6 คณาจารย์นิติ มธ. ออกแถลงการณ์ปฏิเสธร่างฯ 50 ด้วยเหตุ 26 ประการพร้อม 4 ข้อเสนอหากมหาชนไม่รับร่างฯ


ที่มา เวบไซต์ประชาไท
โดย ประชาไท
22 กรกฎาคม 2550

6 คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์ระบุ หลังศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างละเอียด ขอประกาศไม่รับฯ ด้วยเหตุผลรวม 26 ประเด็นใน 6 ข้อ 1.ที่มาไม่ถูกต้อง 2.เพราะความไม่มีเหตุผลของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 3.เนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย 4.บทบัญญัตินิรโทษกรรมทำลายหลักกฎหมายสูงสุด 5.ความไม่เป็นธรรมในการออกเสียงประชามติ 6.เพื่อปฏิเสธระบบทหารและอำมาตยาธิปไตย พร้อมกับจัดทำข้อเสนอ 4 ข้อในกรณีร่างไม่ผ่านประชามติ…พลาดไม่ได้




แถลงการณ์ เรื่อง
การปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... จึงมีผลให้ต้องดำเนินการต่อไปตามความในมาตรา 29 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าประชาชนจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวทั้งฉบับหรือไม่ และบัดนี้ สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดให้ประชาชนออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย ได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติโดยละเอียดแล้ว เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความไม่เหมาะสมยิ่งต่อการจะนำไปบังคับใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงขอประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติดังกล่าว ด้วยเหตุผล ดังนี้

1 . ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเพราะที่มาของร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง

1.1 การจัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่หรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต้องมีพื้นฐานที่มาโดยอาศัยอำนาจจากรัฐธรรมนูญเดิม หรือจากประชาชน และผู้มีอำนาจชั้นสุดท้ายในการให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาชนหรือองค์กรสถาปนารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบของปวงชน คุณลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้รัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยในอันที่จะนำไปบังคับใช้กับองค์กรทั้งหลายของรัฐและประชาชน

1.2 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มิได้ถูกยกร่างขึ้นในสถานการณ์ปกติของประเทศ แต่เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกจัดให้มีขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2549 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นโดยอำนาจของคณะรัฐประหาร ภายหลังจากที่คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศและกระทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กล่าวอีกนัยหนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็นผลผลิตอันสืบเนื่องโดยตรงมาจากการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นั่นเอง

1.3 การใช้กำลังอาวุธของคณะรัฐประหารในการเข้ายึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนนั้น มิเพียงแต่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ในทางกฎหมายอาญาอันมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต หากทว่าในทางการเมือง ยังเป็นวิธีการอันมิชอบในการลบล้างอำนาจการตัดสินใจของประชาชนฝ่ายข้างมากในการกำหนดผู้ทำหน้าที่บริหารประเทศโดยผ่านระบบการเลือกตั้ง การลบล้างอำนาจการตัดสินใจของประชาชนโดยคณะรัฐประหารในกรณีนี้ มิอาจมองเป็นอื่นได้นอกเสียจากว่าอำนาจการตัดสินใจในการกำหนดวิถีชีวิตของตนด้วยตนเองโดยอาศัยกระบวนการเลือกตั้งของประชาชนนั้น มิได้มีความหมายและคุณค่าในสายตาของคณะรัฐประหาร และเท่ากับคณะรัฐประหารไม่ยอมรับการจัดให้มีรัฐธรรมนูญใหม่โดยสันติวิธี

1.4 เมื่อร่างรัฐธรรมนูญนี้มีที่มาอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับรัฐประหาร แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะถูกทำให้ชอบด้วยกฎหมายโดยวิธีการทางเทคนิคก็ตาม ความชอบด้วยกฎหมายจากวิธีการดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการรับรองให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความชอบธรรมตามความเป็นจริงในสายตาของผู้ยึดถือวิธีการแก้ไขปัญหาของสังคมโดยการใช้เหตุผลไม่

1.5 อนึ่ง การที่คณะรัฐประหารและพวกจำต้องกำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แท้จริงก็เพื่อเป็นข้ออ้างหนึ่งสำหรับใช้อธิบายเหตุผลและความจำเป็นของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เท่านั้น โดยหาได้มีความประสงค์โดยสุจริตแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อปฏิรูปการเมือง ย่อมสามารถกระทำได้โดยอาศัยกระบวนการปกติที่มิจำเป็นต้องใช้อำนาจผ่านการใช้กำลังอาวุธ

2. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเพราะ ความไม่มีเหตุผลของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

2.1 นอกจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นผลผลิตต่อเนื่องมาจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อันแสดงให้เห็นถึงการขาดความชอบธรรมตั้งแต่แรกแล้ว กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังไม่สะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตยและความหลากหลายของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ จริงอยู่แม้จะมีกระบวนการคัดเลือกผ่านกลไกที่เรียกว่า ‘สมัชชาแห่งชาติ’ แต่ผลที่ได้ก็คือ บุคคลที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญยังผูกขาดเฉพาะกับบุคคลจากวงการศาลและนักวิชาการมหาวิทยาลัยเท่านั้น มิพักต้องกล่าวถึงข้อกล่าวหาที่ว่าคณะรัฐประหารต่างส่ง ‘ตัวแทน’ ของตนเข้าไปอีก ดังจะเห็นได้จากกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

2.2 กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่ปกติหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายใต้บรรยากาศที่หาความเป็นประชาธิปไตยมิได้ ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกเถียงหรือต่อรองในประเด็นต่างๆระหว่างกลุ่มการเมือง กลุ่มข้าราชการประจำ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ตรงกันข้าม กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กลับตกอยู่ภายใต้การชี้นำของคณะรัฐประหารและกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คน โดยมีความมุ่งหมายเพียงเพื่อการทำลายล้างทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม และกีดกันมิให้ฝ่ายตรงข้ามกลับมามีอำนาจได้อีก

2.3 ในชั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ปรากฏว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่จะขจัดส่วนได้เสียของบุคคลที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ จึงปรากฏให้เห็นว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งอยู่ในองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จะได้รับผลกระทบจากการจัดทำรัฐธรรมนูญด้วย ยิ่งไปกว่านั้น บุคคลบางคนในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระบางองค์กรยังกลับมาเป็นผู้ดำเนินการจัดการออกเสียงประชามติอีกด้วย ทั้งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติก็ยังมิห้ามบุคคลที่ยกร่างรัฐธรรมนูญมิให้ดำรงตำแหน่งในองค์อิสระต่างๆ การณ์จึงเป็นไปได้ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านั้นในภายหลังซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้การตัดสินใจยกร่างรัฐธรรมนูญมิได้อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

3. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย

3.1 สภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นว่าจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ การรับรองสิทธิและเสรีภาพที่ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพจะมีผลได้จริงย่อมขึ้นอยู่กับกลไกการบังคับใช้มากกว่าลายลักษณ์อักษร กรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติสิทธิและเสรีภาพไว้ในหลายมาตรา ก็มิได้หมายความเสมอไปว่าในที่สุดแล้ว สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้บังคับให้เห็นผล และแม้อาจเห็นกันว่าร่างรัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธิและเสรีภาพไว้ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนอยู่บ้าง แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติในส่วนอื่นๆแล้ว เห็นว่า เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ( เช่น ลดจำนวนการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ) หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งบทบัญญัติในหมวดจริยธรรมของนักการเมืองซึ่งไม่แน่ว่าจะใช้บังคับได้จริง หากประชาชนจะต้องยอมสูญเสียสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งกว่าไป กล่าวคือ อำนาจของประชาชนซึ่งแสดงออกผ่านผู้แทนของตนต้องถูกลดทอนลง หรือต้องลดความมีเสถียรภาพของฝ่ายบริหาร หรือต้องยอมให้ข้าราชการระดับสูงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทหรืออำนาจทางการเมืองและกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองโดยมิสอดคล้องกับระบบแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ ทั้งจะต้องยอมรับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำของคณะรัฐประหารและพวกด้วย การสูญเสียคุณค่าดังกล่าวนี้ พิจารณาในเชิงเปรียบเทียบกับสิทธิเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น ก็มีมากเกินกว่าที่จะยอมรับได้

3.2 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติกำหนดให้มี ส.ส. 480 คน เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และ ส.ส.ระบบสัดส่วน 80 คน ในส่วนของ ส.ส.ระบบแบบแบ่งเขต ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ตามจำนวนส.ส.ที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น นั่นย่อมหมายความว่าผู้มีสิทธิแต่ละคนมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน บางเขตเลือกตั้งอาจเลือกได้ 1 คนหรือ 2 คนหรือ 3 คนแล้วแต่กรณี ซึ่งสร้างความไม่เท่าเทียมกันในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต และอาจจะส่งผลกระทบต่อไปถึงความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาที่ระบบการเมืองไทยประสบมายาวนานและพยายามหลีกเลี่ยง แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกลับร่างรัฐธรรมนูญโดยวางกลไกระบบเลือกตั้งเพื่อย้อนกลับไปสู่ปัญหาที่พยายามหลีกเลี่ยงมาแต่เดิมอีก

3.3 สำหรับ ส.ส.ระบบสัดส่วนจำนวน 80 คน ซึ่งมาจากการเลือกบัญชีรายชื่อโดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด กลุ่มละ 10 คนนั้น ก็มิสามารถอธิบายฐานคิดในการกำหนดกลุ่มจังหวัดได้ว่าต้องการให้ผู้แทนตามบัญชีรายชื่อของแต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นผู้แทนของกลุ่มประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ใด และจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการแบ่งกลุ่มจังหวัด การจัดแบ่งบัญชีรายชื่อเป็น 8 บัญชีและลดจำนวน ส.ส.ระบบสัดส่วนให้เหลือเพียง 80 คน ได้ทำลายข้อดีของระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนตามรัฐธรรมนูญ 2540 ลงโดยไม่มีเหตุผลใดในทางวิชาการรองรับ นอกจากเหตุผลที่ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญหวาดกลัวพรรคการเมืองใหญ่ในอดีตที่เคยเข้ายึดครองที่นั่งของ ส.ส.ระบบสัดส่วนเป็นจำนวนมาก และมีการอ้างตัวเลขคะแนนเสียงที่ประชาชนสนับสนุน เท่านั้น

3.4 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา พบว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้อำนาจแก่วุฒิสภามาก ทั้งการกลั่นกรองร่างกฎหมาย การให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง แต่กลับกำหนดให้ ส.ว. มีจำนวน 150 คนมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนและจำนวนที่เหลือให้มาจากการสรรหา การผสมสัดส่วนของส.ว.ที่มาจากการสรรหา ไม่อาจตอบปัญหาความเป็นตัวแทนของประชาชนได้ตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอำนาจอันมีอยู่มากของวุฒิสภา ยิ่งกว่านั้น การกำหนดให้จังหวัดแต่ละจังหวัดไม่ว่าจะมีจำนวนประชากรเท่าใดมี ส.ว.ได้จังหวัดละ 1 คน ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ในทางวิชาการ สำหรับ ส.ว.ซึ่งมีที่มาจากการสรรหานั้น ก็ปรากฏว่าคณะกรรมการสรรหาล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลซึ่งมาจากฝ่ายตุลาการและข้าราชการระดับสูงซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าองค์กรอิสระต่างๆ โดยหาความเชื่อมโยงกับประชาชนมิได้ อันสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นให้คุณค่าแก่บรรดาอภิชนมากกว่าการยอมรับนับถืออำนาจการตัดสินใจของประชาชน

3.5 เป็นที่ชัดเจนว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญและเพิ่มบทบาทแก่องค์กรตุลาการมากเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากกระบวนการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานศาลฎีกาและบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก เข้าไปเป็นกรรมการสรรหา ในส่วนของศาลยุติธรรม นอกจากศาลยุติธรรมจะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองผ่านทางการสรรหาบุคคลไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและวุฒิสภาแล้ว ศาลยุติธรรมยังมีบทบาทในการพิจารณาคดีทางการเมืองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือคดีเลือกตั้งภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ความข้อนี้ แสดงให้เห็นว่าคดีที่เกี่ยวพันกับนักการเมืองต่างตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลยุติธรรม โดยที่ไม่มีการสร้างระบบถ่วงดุลที่เหมาะสมให้ศาลยุติธรรมต้องตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบขององค์กรอื่น

3.6 สมควรกล่าวด้วยว่า เป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่ร่างรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาเกษียณอายุของผู้พิพากษาโดยกำหนดให้ตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมดำรงตำแหน่งได้ถึงอายุครบ 70 ปี ความสำคัญของกรณีดังกล่าว มิได้อยู่ที่ว่าการขยายระยะเวลาเกษียณอายุของผู้พิพากษาจะเหมาะสมหรือไม่ หากอยู่ที่ว่ามีความจำเป็นเพียงใดที่ต้องกำหนดกรณีดังนี้ไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์กรทั้งหลายของรัฐ ควรมอบหมายให้เป็นการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติตามแต่นิตินโยบาย อนึ่ง จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตให้เห็นว่าไม่ปรากฏบทบัญญัติการขยายเวลาเกษียณอายุของผู้พิพากษาดังกล่าวนี้ในร่างรัฐธรรมนูญชั้นรับฟังความคิดเห็น

3.7 ในส่วนของคดีเลือกตั้ง ร่ างรัฐธรรมนูญ มาตรา 239 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนมีการประกาศผลการเลือกตั้ง และคำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด หากมีการประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ความข้อนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนมีการประกาศผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตั้งแต่การจัดการเลือกตั้ง การสืบสวนสอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดแจ้ง

3.8 ในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหลายมาตรากำหนดการสืบทอดการดำเนินการขององค์กรที่คณะรัฐประหารรับรองไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลในองค์กรอิสระที่ให้ดำรงตำแหน่งไปจนครบวาระ ทั้งๆที่เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ความชอบธรรมของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรดังกล่าวน่าจะหมดสิ้นไป และควรจะกำหนดให้บุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสรรหาใหม่โดยให้มีที่มาซึ่งยึดโยงกับอำนาจโดยอ้อมของประชาชนผ่านทางรัฐสภา นอกจากนี้ ไม่มีการกำหนดห้ามสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมิได้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมัครรับเลือกตั้งหรือเข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นสมาชิกวุฒิสภา อีกทั้ง มาตรา 308 ของร่างรัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยไม่มีการอธิบายใดๆจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่า เหตุใดต้องเป็นคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันที่มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กรณีดังนี้ จึงมิอาจมองให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากว่าบทบัญญัติในมาตรา 308 คือช่องทางแห่งการสืบทอดอำนาจในอีกลักษณะหนึ่งของรัฐบาลของคณะรัฐประหาร เท่านั้น

3.9 จากการพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญโดยภาพรวม เห็นได้ว่าบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมให้บรรดาข้าราชการระดับสูงมีบทบาทและอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังลดทอนอำนาจการตัดสินใจของประชาชนในสาระสำคัญอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังทำลายความสำคัญของพรรคการเมือง กีดกันโอกาสในการเข้าไปดำเนินนโยบายของพรรคการเมือง ไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ตลอดจนมุ่งหมายให้การกำหนดทิศทางประเทศขึ้นอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้ ยังมิพักต้องพิจารณาถึงข้อบกพร่องในทางเทคนิคที่ปรากฏอยู่อีกในบทบัญญัติหลายมาตรา อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งผู้ร่างรัฐธรรมนูญแยกออกเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

4. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรมทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

4.1 การรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คำสั่ง และการปฏิบัติของบุคคลตามประกาศหรือคำสั่งของคณะหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 อันมีเนื้อความให้บรรดาการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

4.2 ผลพวงของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือ ประกาศ คปค. คำสั่งของหัวหน้า คปค. และการปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ต่างก็ได้รับการรับรองว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้ว่าการปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังรับรองให้การปฏิบัติตามประกาศ คปค. หรือคำสั่งของหัวหน้า คปค. เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้จะได้มีการกระทำภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติมีผลใช้บังคับด้วย ซึ่งหมายความว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำต่างๆในอนาคตไว้ล่วงหน้า โดยไม่สนใจไยดีถึงเนื้อหาของการกระทำนั้นๆ ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

4.3 เมื่อมีการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. คำสั่งหัวหน้า คปค. และการปฏิบัติของบุคคลตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ไม่ว่าประกาศคำสั่งหรือการปฏิบัติเช่นว่านั้นจะมีรูปแบบและหรือเนื้อหาที่มิชอบหรือขัดแย้งกับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ภายในรัฐอย่างไรให้ชอบด้วยกฎหมายเสียแล้ว ผู้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของการกระทำต่างๆ ตามประกาศและคำสั่งข้างต้นจึงย่อมมิอาจขอรับความเป็นธรรมในทางกฎหมายได้ อีกทั้งประกาศ คำสั่งและการปฏิบัติต่างๆ ก็ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบไม่ว่าในทางใดอีก ผลที่ตามมาก็คือ ผู้กระทำการอันมิชอบต่างก็หลุดพ้นจากความรับผิดในทางต่างๆโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมิเกินเลยหากจะกล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดและหลักความเสมอภาคในการได้รับการอำนวยความยุติธรรมจากรัฐโดยตัวของรัฐธรรมนูญเอง ผลจากการนี้ ผู้ตกอยู่ภายใต้บังคับดังกล่าวจะยอมรับต่อความอยุติธรรมเช่นนี้หรือไม่ และสังคมจะตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมได้อย่างไร วิญญูชนย่อมตรึกตรองได้เอง

5. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะความไม่เป็นธรรมในการออกเสียงประชามติ

5.1 การลงประชามติ คือการให้ประชาชนใช้สิทธิทางตรงในการตัดสินใจประเด็นปัญหาทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญ ร่างกฎหมาย หรือนโยบายที่สำคัญของชาติ การลงประชามติจึงเป็นกลไกที่ส่งผลทางการเมืองและสะท้อนเจตจำนงของประชาชนชัดเจนที่สุดกลไกหนึ่ง

5.2 เพื่อให้ประชามติเป็นประชามติที่สมบูรณ์ การลงประชามติต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ปราศจากการกดดัน -ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยชัดเจนและโดยปริยาย-จากผู้มีอำนาจ ปราศจากการทำลายความน่าเชื่อถือของอีกฝ่ายด้วยข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ เปิดให้ทั้งฝ่ายที่เห็นควรให้รับร่างรัฐธรรมนูญและฝ่ายที่เห็นควรไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญมีโอกาสรณรงค์ในเป้าหมายของตนอย่างเต็มที่ตามวิถีทางประชาธิปไตยโดยปราศจากการใช้กลไกของรัฐเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม สภาพการณ์ที่ควรจะเป็นดังที่กล่าวมานี้ ดำรงอยู่ในกระบวนการลงประชามติหรือไม่ เป็นที่น่าสงสัยยิ่ง

5.3 นอกจากนี้ การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ องค์กรผู้ทำหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติ ยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นของการออกเสียงประชามติด้วย กล่าวคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีหน้าที่จัดการ ควบคุม และประกาศผลการออกเสียงประชามติ ในขณะที่มีกรรมการเลือกตั้งอยู่ 2 คนดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยข้อเท็จจริงดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่ากรรมการเลือกตั้ง 2 คนมีส่วนได้เสียกับการออกเสียงประชามติ อันทำให้สภาวะความเป็นกลางของผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติเสียไป เพราะในฐานะของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และในฐานะของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนี้ก่อนนำมาออกเสียงประชามติ จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าผู้มีหน้าที่จัดการลงประชามตินั้น ย่อมมีความโน้มเอียงไปในทางฝ่ายรับร่างรัฐธรรมนูญ กรณีนี้แม้ในทางกฎหมายอาจจะยังถกเถียงกันได้ว่าจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการออกเสียงประชามติหรือไม่ แต่ในทางการเมืองก็ต้องถือว่ากระทบต่อความชอบธรรมในการจัดการออกเสียงประชามติอย่างรุนแรง และในที่สุดแล้วย่อมกระทบต่อมาตรฐานในการออกเสียงประชามติในสายตาของนานาชาติด้วย

5.4 การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการลงประชามติที่ปราศจากทางเลือกให้แก่ประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 มาตรา 32 กำหนดให้ในกรณีที่ประชาชนไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ คมช. เลือกเอารัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ มาปรับปรุงและประกาศใช้บังคับแทนภายใน 30 วัน โดยที่คมช.ไม่เคยประกาศให้ทราบล่วงหน้าเลยว่าหากประชาชนโดยเสียงข้างมากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คมช.จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาประกาศใช้บังคับแทน แท้จริงแล้ว การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องให้ประชาชนเห็นทางเลือกชัดเจนว่า หากรับร่างรัฐธรรมนูญจะได้รัฐธรรมนูญแบบใดใช้บังคับ และหากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะได้รัฐธรรมนูญแบบใดใช้บังคับ การลงประชามติที่ผู้มีอำนาจบอกว่าให้เลือกเฉพาะสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าดีกว่าเลือกสิ่งที่ยังมองไม่เห็น จึงหาใช่การออกเสียงประชามติโดยแท้จริงไม่

6 . ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธระบบทหารและอำมาตยาธิปไตย

6.1 ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมาภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารและพวก ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีแต่ทำให้บ้านเมืองตกอยู่ในถาวะถดถอย กล่าวคือ นอกจากจะไร้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเดิมแล้ว ยังสร้างปัญหาใหม่ให้รุมเร้าเพิ่มมากขึ้น คณะรัฐประหารและพวกพยายามสถาปนา ‘รัฐทหาร-รัฐราชการ’ กลับมาใหม่ ให้อาญาสิทธิ์ในการตัดสินใจความเป็นไปของประเทศไว้กับบรรดาอภิชน และได้ตรากฎหมายตลอดจนพยายามตรากฎหมายลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ย่อมเป็นการเปิดทางให้ระบบทหารและอำมาตยาธิปไตยฝังรากลึกในการเมืองไทยต่อไปได้อีกโดยมิสอดรับกับความเป็นจริงของโลก

6.2 ด้วยสภาพการณ์ในปัจจุบัน การใช้สิทธิออกเสียงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นทางเดียวที่จะแสดงให้เห็นว่าเราไม่ปรารถนาระบบทหาร-อำมาตยาธิปไตย การใช้สิทธิลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นทางเดียวที่จะเชิญเหล่าคณะรัฐประหารและพวกออกไปจากอำนาจอย่างสันติ การใช้สิทธิลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นทางเดียวที่จะพลิกฟื้นการปกครองโดย ‘กฎหมาย’ ให้กลับมาแทนที่การปกครองโดย ‘กฎทหาร’ และการใช้สิทธิลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นทางเดียวที่จะฟื้นฟูสถานะความเป็นประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

7 . ข้อเสนอในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน

ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย ขอเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาประกาศใช้ภายใน 15 วัน โดยมิต้องแก้ไขบทบัญญัติมาตราใดๆ ทั้งสิ้น แต่ให้กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และก่อตั้งคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของปวงชนชาวไทยผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญ คือ

7.1 ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) สิ้นสุดลงพร้อมกัน โดยให้โอนบรรดาการต่างๆ ที่คั่งค้างการตรวจสอบอยู่ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

7.2 ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ทำหน้าที่เป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งเข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ โดยยกเว้นบทบัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติของรัฐมนตรีบางประการเพื่อให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งต่อไปได้

7.3 ให้บรรดาบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ ในขณะนี้คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เสร็จสิ้น ซึ่งต้องไม่เกินสิบแปดเดือน นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสร็จสิ้นลง เว้นแต่องค์กรอิสระและองค์กรตุลาการบางองค์กรที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนี้หรือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านั้นดำรงตำแหน่งครบวาระหรือโดยสภาพขององค์กรจำเป็นต้องดำเนินการสรรหาใหม่ ให้ดำเนินการสรรหาให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องมีผลใช้บังคับต่อไป ในกรณีที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องสิ้นผลบังคับไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นกลับมาใช้บังคับใหม่

7.4 ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ทั้งนี้ ในกรณีของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคการเมืองและระยะเวลาการสังกัดพรรคการเมือง ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี แต่ในกรณีที่บุคคลใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ในขณะที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้บุคคลดังกล่าวคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต่อไป และให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขเยียวยาการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายต่อบุคคลตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโดยให้รัฐสภาหรือองค์กรที่ดำเนินการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดำเนินการ

ข้อเสนอดังกล่าวมานี้ เป็นข้อเสนอเบื้องต้นเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อมิให้เกิดภาวะชะงักงันในการเปลี่ยนผ่านให้ประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ใช่การยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหาร แต่ต้องการให้คณะรัฐประหารรับผิดชอบกับการกระทำของตน ทั้งนี้ ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน คณะรัฐประหารและพวกต้องถอนตัวออกจากอำนาจซึ่งได้มาจากการกระทำที่มิชอบ กลับไปเป็นทหารอาชีพดังเช่นทหารในบรรดาประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย และองค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งโดยพลันเพื่อให้ประเทศไทยได้ก้าวเดินบนเส้นทางประชาธิปไตยต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล
อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ ธีระ สุธีวรางกูร

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22 กรกฎาคม 2550"
บันทึกการเข้า
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #142 เมื่อ: 23-07-2007, 16:28 »

ดูเหมือนแหล่งปัญญาของท่านเท้า จะมาจากเว็บประชาไท ทั้งนั้นเลยเนอะ
ข้อแม้วเยอะมากมาย

ทำไมท่านเท้าไม่บอกตรงๆเลยล่ะครับว่าท่านเท้าอยากได้ รธน ของ คมช ถ้า ของปี 2550 ไม่ผ่านประชามติ
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #143 เมื่อ: 23-07-2007, 16:32 »

ดูเหมือนแหล่งปัญญาของท่านเท้า จะมาจากเว็บประชาไท ทั้งนั้นเลยเนอะ
ข้อแม้วเยอะมากมาย

ทำไมท่านเท้าไม่บอกตรงๆเลยล่ะครับว่าท่านเท้าอยากได้ รธน ของ คมช ถ้า ของปี 2550 ไม่ผ่านประชามติ

คมช.ไม่มีทางเลือกอื่นใด...นอกจากนำรธน.ฉบับปี2540มาใช้โดยไม่มีการแก้ไขเท่านั้น!!
บันทึกการเข้า
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #144 เมื่อ: 23-07-2007, 16:38 »

ผมจะเอา 2475 อ่ะ 

คมช.ไม่มีทางเลือกอื่นใด...นอกจากนำรธน.ฉบับปี2540มาใช้โดยไม่มีการแก้ไขเท่านั้น!!
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #145 เมื่อ: 23-07-2007, 16:46 »

ผมจะเอา 2475 อ่ะ 



เอา รธน ชั่วคราว ที่คมช ใช้อยู่ตอนนี้แหละ ไม่ต้องเปลี่ยนละ ชอบ
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #146 เมื่อ: 23-07-2007, 16:56 »



เอา รธน ชั่วคราว ที่คมช ใช้อยู่ตอนนี้แหละ ไม่ต้องเปลี่ยนละ ชอบ



ไม่ว่าจะเอาเหตุการณ์ 2475 มา replay หรือว่าจะเอารธน.ชั่วคาวของ คมช. .....มันก็เป็นเรื่องที่ปชช.ต้องออกมาเรียกร้องเอง ไม่ใช่นอนแบะอ้าซ่าอยู่ที่บ้าน!!
บันทึกการเข้า
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #147 เมื่อ: 23-07-2007, 17:00 »


ไม่ว่าจะเอาเหตุการณ์ 2475 มา replay หรือว่าจะเอารธน.ชั่วคาวของ คมช. .....มันก็เป็นเรื่องที่ปชช.ต้องออกมาเรียกร้องเอง ไม่ใช่นอนแบะอ้าซ่าอยู่ที่บ้าน!!

เปล่าครับ ไม่ได้นอนอยู่ที่บ้าน
ตอนนี้กำลังทำงานรับใช้ระบอบอมาตยาธิปไตยอยู่ครับ

แต่ไม่ทราบเช่นกันว่าทานรับใช้ระบอบทักษิณอยู่ที่ไหน
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #148 เมื่อ: 23-07-2007, 17:05 »

ไม่รับ รธน 50 ก็หมายความว่าเอา รธน ฉบับไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ 50 ไม่ใช่หรือครับ? 


ไม่ว่าจะเอาเหตุการณ์ 2475 มา replay หรือว่าจะเอารธน.ชั่วคาวของ คมช. .....มันก็เป็นเรื่องที่ปชช.ต้องออกมาเรียกร้องเอง ไม่ใช่นอนแบะอ้าซ่าอยู่ที่บ้าน!!
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #149 เมื่อ: 23-07-2007, 17:11 »

เปล่าครับ ไม่ได้นอนอยู่ที่บ้าน
ตอนนี้กำลังทำงานรับใช้ระบอบอมาตยาธิปไตยอยู่ครับ

แต่ไม่ทราบเช่นกันว่าทานรับใช้ระบอบทักษิณอยู่ที่ไหน


กลับตัวกลับใจหันมารับใช้ปชช.ดีไหมเอ่ย? อมาตยาธิปไตยมันหมดยุคแล้วน๊า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
    กระโดดไป: