[size=24]
บันทึกจากเรื่องจริง เหตุการณ์ 14-15 ตุลา วันมหาวิปโยค 2516[/size]
[size=16]
เหตุการณ์ 14-15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ วันมหาวิปโยค
เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน
ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร[/size]
14 ตุลาคม 2516นับแต่หลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม นักเรีบน นิสิต นักศึกษา และประชาชน
ที่ชุมนุมประท้วงกันมาหลายวันหลายคืนก็มารวมกันอยู่ที่บริเวณ หน้าสวนจิตรลดาอย่างแน่นขนัด
เพื่อหวังพระบารมีเป็นที่พึ่ง เวลาประมาณตี 5 ขณะที่มีการเริ่มสลายตัวของฝูงชน
ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เชิดสกุล เมฆศรีวรรณ นักหนังสือพิมพ์ที่ทั้งเห็นเหตุการณ์วิกฤต
และสูญเสียดวงตาไปหนึ่งดวงในวันนั้น เล่าเป็นประจักษ์พยานว่าที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดา
ช่วงถนนพระราม 5 ใกล้กับถนนราชวิถี พ.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ผู้แทนพระองค์
ได้อ่านพระบรมราโชวาทให้ฝูงชนฟัง จบแล้วฝูงชนก็เริ่มสลายตัวตามพระราชประสงค์
กลุ่มนักเรียนอาชีวะถือว่าเป็นหน่วยกล้าตายที่มีอาวุธพวกไม้ แป๊ปน้ำกันเกือบทุกคน ต่างได้ทิ้งอาวุธ
พร้อมกับทำลายระเบิดขวด ฝูงชนที่จะกลับทางถนนราชวิถี (กลับ) ถูกสกัดกั้นด้วยตำรวจคอมมานโด
ตำรวจเหล่านี้มีไม้พลอง โล่ หวาย และปืนยิงแก๊สน้ำตา ภายใต้การบัญชาการของ
พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น และพล.ต.ต.ณรงค์ มหานนท์ ฝูงชนเมื่อรู้แน่ว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้ผ่านออกไป
ก็เริ่มมีปฎิกริยาด้วยการใช้ ข้าวห่อขว้างปาใส่ตำรวจ ฝูงชนที่ถูกสกัดกั้นรายหนึ่งได้ใช้ท่อนไม้ ขว้างใส่ถูกตำรวจ ได้รับบาดเจ็บนายหนึ่ง
หลังจานั้นให้หลังไม่ถึงสิบนาที รถตำรวจที่ใช้ ปราบจลาจลติดไซเรนสองคัน ก็พุ่งเข้าใส่กลุ่มฝูงชน โดยมีตำรวจคอมมานโด
สวมหมวกกันน็อค ทั้งนครบาล และกองปราบ พร้อมด้วยสอง นายตำรวจผู้อื้อฉาว จากคดีทุ่งใหญ่
ก็ตามเข้าไปใช้กระบองหวดเข้าฝูงชนทันที ไม่ว่าเด็กหรือผู้หญิง การนองเลือดได้เริ่ม จากจุดนี้ สร้างความเครียดแค้นให้ฝูงชนมากขึ้น
เมื่อเห็นเด็กนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งถูกแก๊สน้ำตาจนล้มฟุบ ฝูงชนที่หนีได้ก็ปีน ป่ายกำแพงเข้าไปในสวนสึตว์
และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้า วังสวนจิตรฯ โดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้าไป
การปะทะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คือเริ่มตั้งแต่เวลา 6.30 - 6.45 น.
จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดาฯ เหตุการณ์ก็บานปลายลุกลาม ไปอย่างไม่มีใครคาดคิดไว้
รัฐบาลใช้กำลังทหาร และตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุม ประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน
ตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ อำนาจเผด็จการคณาธิปไตย
พยายามยึดกรมประชาสัมพันธ์ ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่ บิดเบือนตลอดจนสถานีตำรวจ
นับตั้งแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ กล่าวหาว่ามีกลุ่มนักเรียนบุกรุกเข้า
ไปในพระราชฐานสวนจิตรลดา และก่อวินาศกรรม ในขณะเดียวกันก็เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่า นักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์
ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชายถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย สร้างความโกรธแค้น ให้กับผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น
รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บางลำพู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 - 05.30 น.
ประกาศปิดโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และศิลปากรเป็นเขตอันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่
14.00 น. สำนักงานกองสลากกินแบ่ง และตึก กตป. ถูกไฟเผา นักเรียนและประชาชนต่อสู้อย่างทรหด ยึดรถเมล์ใช้วิ่งชนรถถัง
แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บถูกหามเข้าส่งโรงพยาบาลสิริราชตลอดเวลา
18.00 น. จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ความตอนหนึ่งว่า
วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนคร ถึงขั้นจลาจล
มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิต ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีพระราชดำรัส ทางโทรทัศน์ แสดงความห่วงใย และ 23.30 น.
ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ปราศัยทางโทรทัศน์ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และประกาศ
จะใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม 24.00 น. ของคืนวันนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ยังคงออกแถลงการณ์ว่ามีผู้ที่ พยายามนำลัทธิการปกครองอื่นที่เลวร้ายมาล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย
จึงขอให้เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่จนสุดความสามารถ ซึ่งก็คือการปราบปรามนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยังคงดำเนินไป
ตลอดคืนนั้น มีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการ ตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
ฝ่ายนักเรียนและ ประชาชนปักหลักสู้จาก ตึกบริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
มีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิต เช่น
เสกสรร ประเสริฐกุล และเสาวณีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจึดตั้ง ศูนย์ปวงชนชาวไทย ขึ้นชั่วคราวเพื่อประสานงาน
และคลี่คลายสถานการณ์ มีจีรนันท์ พิตรปรีชา รวมอยู่ด้วย ส่วนแถบถนนราชดำเนินกลายเป็นสีแดง มีไฟควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ
การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยยังคงดำเนินไปตลอดทั้งคืน
แผ่นแรก1.
http://sv2.gushare.com/file.php?file=22bd47026643c7c1d39566fb078b2c7a 2.
http://sv2.gushare.com/file.php?file=cc31b8bc38d04a0095555bf2581a732e3.
http://sv3.gushare.com/file.php?file=5b3ead10c0f9ddb64adab9e9b9a1f23f4.
http://sv3.gushare.com/file.php?file=35505da9d2634869e3dd43fae1916127แผ่นสอง1.
http://sv2.gushare.com/file.php?file=c80fbc86acfb60faf4e04ca83aabecf02.
http://sv5.gushare.com/file.php?file=b0e17c086531978616f0079487f9d3cf3.
http://sv2.gushare.com/file.php?file=5471513b661e0a1092478ec4139b5bff4.
http://sv2.gushare.com/file.php?file=f29a1d3280c850ab19ed0dc5b21baf8e5.
http://sv2.gushare.com/file.php?file=4059078c1c64655305435da53fefbaf1 15 ตุลาคม 2516ตลอดคืนที่ผ่านมา นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนยังคงยืนหยัด ชุมนุมกันหนาแน่นที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
คำประกาศเตือนและ ขู่ของรัฐบาลหาเป็นผลไม่ กลับมีคนออกจากบ้าน มาร่วมชุมนุมไม่ขาดระยะ
รัฐบาลมีประกาศหยุดราชการในวันนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีประกาศปิดธนาคารทุกแห่ง
ในขณะเดียวกันนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนก็ยืนหยัดต่อ สู้อย่างเด็ดเดี่ยวมีการลุกฮือเป็นจุด ๆ
ทั่วกรุงเทพมหานคร และในบางท้องที่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนางเลิ้ง
นักเรียน และประชาชนพยายามต่อสู้บุกเข้ายึด และต่อสู้บุกเข้ายึดและเผาตลอดคืนจนรุ่งเช้า
จากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้จอมพลถนอม กิตติขจร จะลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม
แต่ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ และก็ยังปรากฏว่า การปราบปราม นักเรียน นิสิต นักศึกษา
และประชาชนยังดำเนินอยู่ต่อไป พร้อมกับมีแถลงการณ์ว่า มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ส่งพลพรรคมีอาวุธร้ายแรงสวมรอยเข้ามา ยิ่งทำให้เห็นว่าเป็น การสร้างความเท็จ สร้างความโกรธแค้น
และเกลียดชังยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนเกิดพลังในการต่อสู้ต่อไป แม้จะบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมากก็ตาม
จากการปราบปรามอย่างรุนแรง และไร้มนุษยธรรม ใช้ทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ อาวุธสงครามหนัก ทหาร และตำรวจจำนวนร้อย
ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในวงการ รัฐบาลอย่างหนัก มีทหาร และตำรวจที่ไม่เห็นด้วย พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก
เอง ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรุนแรงนี้ ทางด้านทหารอากาศ และทหารเรือ ก็เห็นด้วยกับผู้บัญชาการทหารบก
กลายเป็นแรงผลักดันให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่ง และในที่สุดทรราชทั้งสาม ถนอม ประภาส ณรงค์
ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยไป เหตุการณ์ทั้งหมดจึงสงบลง ทันที่มีการประกาศว่าบุคคลทั้ง 3
ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เวลา 18.40 น.
จอมพลถนอม กิตติขจร/จอมพลประภาส จารุเสถียร/พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ตุลาคม พุทธศักราช 2516 เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้าน ไปร่วมกันความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์
หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับ ไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เยี่ยงวีรชน ผู้ผ่านศึกพร้อมแผลทั้งกายและใจ
เหตุการณ์ 14 - 15 ตุลาคม มีผู้เสียชวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน
วันที่ 14 - 15 ตุลาคม 2516 ตำนานแห่งวีรชนที่จารึกไว้ในแผ่นดิน
บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ คืออะไรเมื่อ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102
เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม มีดาราหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย ผู้เสียชีวิต 6 คน
ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิง ซึ่งล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน
สร้างกระแสไม่พอใจอย่างมากในหมู่นักศึกษาและประชาชน ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกหนังสือชื่อ " บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ " เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้
ผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516ผลในแง่บวกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น1.ประชาชนมีความตื่นตัวด้านการเมือง การปกครองมากขึ้น
2.แสดงถึงผลดีของการปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย
3.แสดงถึงผลเสียของการปกครองด้วยระบอบเผด็จการ
4.นักเรียน นักศึกษา แสดงถึงพลังของคนรุ่นใหม่
5.คนไทยมีความจงรักภักดิ์ดี และเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
6.ประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของผู้นำเผด็จการ หรือของใครคนใดคนหนึ่ง
7.แสดงถึงความกล้าหาญ และความสามัคคีของวีรชนผู้กล้าที่จะเรียกร้องความเป็นธรรม
8.ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
9.อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคน มิใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
10.เป็นอุทาหรณ์ หรือบทเรียนไว้ให้กับคนรุ่นหลัง
ผลในทางลบกับเหตุการณ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง1.มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตกับเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก
2.คนไทยเกิดการเข้าใจผิดกันเอง เพราะมีกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีคอยสร้างสถานการณ์อยู่เรื่อยๆ
3.เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นโดยมีการใช้อาวุธและกำลังอย่างรุนแรง
4.เศรษฐกิจตกต่ำ
5.รัฐบาลใช้อำนาจในทางที่ผิด และใช้ความรุนแรงในการปราบจราจล
6.เกิดความชุลมุนและความวุ่นวาย
7.เหตุการณ์ไม่ได้จบเพียงแค่วันที่ 14 ตุลาคมปี พ.ศ.2516 แต่ยังได้เกิดขึ้นอีกในวันที่ 6 ตุลาคม ปี พ.ศ.2519
8.มีเยาวชนและปัญญาชนของชาติต้องเสียชีวิตไปกับเหตุการณ์ในครั้งนี้
9.กรมประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารที่ บิดเบือนความจริง
10.มีการใช้กำลังรุนแรงกับเด็ก และผู้หญิง
11.การงานของประเทศได้หยุดชะงัก
12. สถานที่ต่างๆ เกิดความเสียหาย
[size=18]เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นอีกในแผ่นดินไทย ทั้งปัจจุบันและอนาคต[/size]เพลง เพื่อมวลชน โดยวง กรรมาชนhttp://www.managerradio.com/Radio/DetailRadio.asp?program_no=1026&mmsID=1026%2F1026%2D1071%2Ewma&program_id=1849 --- เพื่อมวลชน คลิกแล้วฟังได้เลย ---
ถ้าหากฉัน เกิดเป็นนกที่โผบิน
ติดปีกบินไปให้ไกล ไกลแสนไกล
จะขอเป็นนกพิราบขาว ช่วยชี้นำชาวประชาสู่เสรี
ถ้าหากฉัน เกิดเป็นเมฆบนนภา
จะนำพาความร่มเย็นเพื่อท้องนา
หากฉันเกิดเป็นเม็ดทราย จะโถมกายเป็นทางเพื่อมวลชน
ชีวา ยอมพลีให้ มวลชน
ที่ทุกข์ทน ขอพลีตนไม่ว่าจะตายกี่ครั้ง