ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 14:06
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อย่าหมกมุ่นกับการเมือง จนลืมสนใจทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อย่าหมกมุ่นกับการเมือง จนลืมสนใจทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม  (อ่าน 2869 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 23-06-2007, 08:24 »



เมื่อธาตุดินลงโทษ

บ้านเขาเมืองเรา : ไสว บุญมา  กรุงเทพธุรกิจ  วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550


เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกิดฝนตกใหญ่ในทางตอนใต้ของบังกลาเทศ ยังผลให้แผ่นดินถล่มทลาย และไหลลงทับที่อยู่อาศัยในย่านชานเมืองจิตตะกอง ชาวบ้านที่หนีไม่ทันถูกโคลนทับตายไปอย่างน้อย 135 คน ทุกปีจะมีโศกนาฏกรรมทำนองนี้เกิดขึ้นกับชาวบังกลาเทศจนดูเสมือนว่าฟ้าจ้องจะลงโทษพวกเขามากกว่าชาวโลกทั่วๆ ไป จะโทษฟ้าก็คงได้ แต่มันคงไม่ช่วยแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นเวลาสองสัปดาห์ติดต่อกันที่คอลัมน์นี้นำธาตุสี่ มาเป็นฐานของการวิเคราะห์ วันนี้จึงจะใช้ธาตุสี่อีกครั้ง ได้แก่ธาตุดินซึ่งพังทับชาวบังกลาเทศตาย

สถานที่ตั้งของบังกลาเทศอยู่ในเขตมรสุมซึ่งแต่ละปีจะมีฝนตกหนัก แต่การถล่มทลายของดิน จนทำให้คนเสียชีวิตอาจไม่เกิดขึ้น หากบังกลาเทศมีประชากรเพียง 15 ล้านคนแทนที่จะเป็นเกือบ 150 ล้านคนเช่นในขณะนี้ส่งผลให้บังกลาเทศมีประชากรมากกว่า 1,000 คนต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่หนาแน่นที่สุดในโลกยกเว้นในประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ

การมีประชากรมากถึงขนาดนั้นสร้างความจำเป็นให้ชาวบังกลาเทศต้องตัดต้นไม้ตามชายเขา และที่ลาดชันเพื่อนำที่ดินมาปลูกพืชเป็นอาหาร และสร้างบ้านเรือนรวมทั้งในย่านที่มีน้ำไหลบ่าเมื่อฝนตกลงมาอย่างหนักด้วย แต่สิ่งที่เกิดกับชาวบังกลาเทศมิใช่ของใหม่ หากชาวโลกไม่หันไปดูประวัติศาสตร์จากมุมมองของธาตุดิน และนำบทเรียนมาใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างจริงจังจะถูกดินลงโทษเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศแน่นอน

ย้อนไปเมื่อราวหมื่นปีก่อนที่บรรพบุรุษของมนุษย์จะรู้จักปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อันเป็นฐานของการผลิตอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับดินไม่แนบแน่นนักเนื่องจากมนุษย์เร่ร่อนไปตามฤดูกาลเพื่อเก็บของป่าและล่าสัตว์ หลังการค้นพบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในย่านตะวันออกกลาง ทางตอนเหนือของจีนและอเมริกากลาง มนุษย์เริ่มตั้งหลักแหล่งถาวรและมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับดินซึ่งให้ทั้งแหล่งผลิตอาหารและปลูกบ้านเรือน

ความสามารถในการผลิตอาหารได้มากจากเกษตรกรรมนำไปสู่การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นสร้างความจำเป็นให้พวกเขาต้องขยายแหล่งผลิตอาหารออกไปเรื่อยๆ จนในที่สุดต้องตัดต้นไม้ตามไหล่เขาและที่ลาดชัน การกระทำเช่นนั้นนำไปสู่การพังทลายของดิน เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในบังกลาเทศ นอกจากนั้นผืนดินที่นำมาใช้ในการเกษตรยังจืดลงบ้าง เค็มบ้าง ถูกกัดเซาะหายไปกับสายน้ำและสายลมบ้าง และถูกนำไปใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอย่างอื่นบ้าง

ในประวัติศาสตร์การขาดแคลนที่ดินเพื่อผลิตอาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้สังคมอ่อนแอจนล่มสลายไปในที่สุด ตัวอย่างมีทั่วโลก อาณาจักรสุมาเรียนในย่านตะวันออกกลางซึ่งสร้างขึ้นในย่านอิรักในปัจจุบัน หลังการค้นพบการปลูกข้าวสาลีเป็นอารยธรรมแรกที่เกิดขึ้นและล่มสลายไปเมื่อไม่มีที่ดินเพียงพอสำหรับผลิตอาหาร อาณาจักรกรีซและโรมันซึ่งเรียนรู้วิธีทำการเกษตรจากย่านตะวันออกกลางก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน

แม่น้ำฮวงโหเป็นแม่น้ำสายสำคัญของอาณาจักรจีนซึ่งเกิดขึ้นหลังการค้นพบการปลูกข้าว แม่น้ำสายนี้มีสมญานามว่าแม่น้ำเหลืองและแม่น้ำวิปโยคเพราะเวลาฝนตกหนักทางต้นน้ำ สีน้ำมักขุ่นข้นจนดูคล้ายสีเหลืองและมักล้นฝั่งออกไปท่วมทุ่งนาและคร่าชีวิตชาวจีนครั้งละเป็นแสนเป็นล้านคน สีเหลืองของน้ำเกิดจากดินที่พังทลายในช่วงต้นน้ำ เนื่องจากประชากรจีนมีมากจนต้องรุกเข้าไปตัดต้นไม้ตามที่ลาดชัน และไหล่เขาเพื่อเอาที่ดินมาผลิตอาหาร

ส่วนชาวจีนในย่านที่ราบๆ รอบสายน้ำก็อยู่กันอย่างหนาแน่นเพราะต้องใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วเพื่อการเกษตร ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีใหม่เอื้อให้มีเขื่อนที่แข็งแกร่งเพื่อลดความรุนแรงของภาวะน้ำท่วม แต่แม่น้ำฮวงโหยังล้นฝั่งและสร้างความเสียหายใหญ่หลวงเป็นครั้งคราว

ในย่านอเมริกากลาง อาณาจักรมายาเกิดขึ้นหลังการค้นพบการเพาะปลูกข้าวโพด และเดินตามวงจรของความรุ่งเรืองสู่ความล่มสลาย เช่นเดียวกับอาณาจักรสุมาเรียน กรีซและโรมัน นอกจากอาณาจักรใหญ่ๆ เหล่านั้นแล้ว ยังมีสังคมเล็กๆ อีกมากที่เสื่อมโทรมลงไปเมื่อไม่มีที่ดินเพียงพอสำหรับผลิตอาหารได้ทันประชากรที่เพิ่มขึ้น

แม้เทคโนโลยีใหม่จะเอื้อให้มนุษย์ผลิตอาหารได้มากกว่าแต่ก่อน แต่การเพิ่มของประชากรอย่างไม่หยุดยั้ง ยังสร้างความจำเป็นที่จะต้องหาที่ดินมาเพิ่ม การตัดไม้ทำลายป่า และการกดดันรัฐบาลให้แสวงหาที่ดินมาแจกจ่าย จึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศด้อยพัฒนา ทั้งที่โลกใบนี้ไม่มีที่ดินในเขตปลอดภัยให้นำมาใช้เพื่อการเกษตรอีกแล้ว

ในขณะเดียวกันการใช้ที่ดินแบบไม่เหมาะสมยังทำให้แหล่งผลิตอาหารมานานหดหายไปเรื่อยๆ เพราะดินจืดไปบ้าง เค็มบ้าง ถูกน้ำและลมเซาะไปบ้าง และถูกใช้สร้างอย่างอื่นบ้าง ในสภาพเช่นนี้ปราชญ์ส่วนใหญ่จึงเสนอให้ชาวโลกดูแล และรักษาที่ดินอย่างดีดังกับว่ามันเป็นทองคำพร้อมกับพยายามลดจำนวนประชากรลงให้เหลือน้อยกว่าในระดับปัจจุบัน บางคน เช่น Paul Ehrlich เสนอให้ลดลงเหลือ 2 พันล้านคน James Lovelock บอกว่าน่าจะลดลงเหลือ 1 พันล้านคน ส่วน Ted Turner บอกว่าโลกใบนี้มีคน 400 ล้านคนก็มากพอแล้ว

ข้อเสนอของปราชญ์เหล่านั้นถูกคัดค้านจากผู้ที่เชื่อว่าเทคโนโลยีจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง และจากผู้ที่ตีความคำสอนของศาสนาแบบไม่ลืมตาดูสภาพความเป็นจริงของโลก เช่น คณะบาทหลวงคาทอลิกแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเสนอว่าโลกนี้อาจมีประชากรได้ถึง 4 หมื่นล้านคน หรือ กว่า 6 เท่าของจำนวนประชากรในปัจจุบัน หากคนไทยเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนนั้น เมืองไทยจะมีคนราว 400 ล้านคน หรือ เกือบ 800 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งใกล้ความหนาแน่นในบังกลาเทศในปัจจุบัน

ระหว่างปราชญ์ เช่น Paul Ehrlich กับบาทหลวงคาทอลิก เราจะฟังใครคงต้องใช้ทั้งสามัญสำนึก บทเรียนจากประวัติศาสตร์และความเป็นไปในปัจจุบันเป็นเครื่องตัดสิน แต่เหนือสิ่งอื่นใดในขณะนี้ เราจะต้องดูแลรักษาที่ดินที่มีอยู่ ดังกับว่ามันมีค่าปานทองคำ อย่านำมันมาใช้สร้างสิ่งต่างๆ เกินความจำเป็น อย่าให้มันจืด เค็ม เจือปนด้วยสารเคมีและปฏิกูล หรือสูญหายไปกับสายน้ำสายลม มิฉะนั้นธาตุดินจะพิโรธ และลงโทษเราเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23-06-2007, 08:26 »



อันตรายในธาตุลม
บ้านเขาเมืองเรา : ไสว บุญมา  กรุงเทพธุรกิจ  วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550



เมื่อวันศุกร์ที่แล้วอันเป็นวันเดียวกันกับที่คอลัมน์นี้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "น้ำ ธาตุ ชาติ ชีวิต" สื่อบางฉบับรายงานว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้สั่งให้โรงงานในย่านมาบตาพุด 76 แห่ง เสนอแผนลดมลพิษ จึงขอขยายเนื้อความเกี่ยวกับธาตุลม ซึ่งบทความที่กล่าวถึงเขียนไว้เพียงสั้นๆ

ย้อนไปเมื่อราว 40-50 ปี โรงงานอุตสาหกรรมและรถยนต์ปล่อยควันออกไปในอากาศโดยปราศจากการควบคุม เพราะในยุคนั้นเราคิดกันว่าอากาศสามารถดูดซับควันไว้ได้อย่างไม่จำกัด หลังจากอากาศในบางแห่งเริ่มเป็นพิษ และบางพื้นที่มีฝนตกเป็นกรด การค้นคว้าหาสาเหตุจึงเกิดขึ้นและได้ข้อสรุปว่า อากาศมีความสามารถในการดูดซับสิ่งที่มีพิษเพียงจำกัด การปล่อยควันหรือสารเคมีออกไปในอากาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะนำไปสู่ "จุดพลิกผัน" (Tipping Point) ณ จุดนั้นควันหรือสารเคมีที่ปล่อยออกไปจะทำให้อากาศเป็นพิษทันที การค้นพบนั้นนำไปสู่การต่อสู้กันอย่างเข้มข้นระหว่างเจ้าของโรงงาน และประชาชนที่เคลื่อนไหวให้มีการควบคุมมลพิษในแนวที่คอลัมน์นี้เขียนถึงเมื่อสัปดาห์ก่อนเรื่อง "วันนี้ยังมีเสียงนก"

ข้อสรุปนั้นนำไปสู่การออกกฎหมายควบคุมการปล่อยควันและสารเคมีของโรงงานและรถยนต์ และการใช้สารเคมีในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการอุตสาหกรรมสูง การควบคุมควันพิษและสารเคมีทำได้หลายวิธี เช่น การติดตั้งกระบวนการ "ฟอก" ควันพิษ ก่อนปล่อยออกไปในอากาศและการห้ามใช้สารเคมีที่มีหลักฐานยืนยันว่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมนั้น ต้องใช้เงินยังผลให้ต้นทุนของสินค้าเพิ่มขึ้น เจ้าของโรงงานที่ปล่อยควันพิษและผลิตสารเคมี จึงหาทางหลีกเลี่ยงด้วยการย้ายโรงงานไปตั้งในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งมีมาตรฐานในการควบคุมควันพิษและสารเคมีต่ำ หรือมีพนักงานของรัฐฉ้อฉลจนการบังคับใช้กฎหมายไร้ผล

โรงงานในย่านมาบตาพุดมีที่มาที่ไปในแนวนี้ ผู้เดินทางไปในย่านนั้นจึงมักได้กลิ่นควันและสารเคมี หรือรู้สึกแสบตาขึ้นมาทันทีโดยไม่รู้สาเหตุ สภาพเช่นนี้มีค่าเท่ากับรัฐบาลไทยขายธาตุลมของชาติ อันเป็นอากาศบริสุทธิ์ที่ชาวบ้านในย่านนั้นใช้หายใจให้แก่นายทุน ซึ่งเป็นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ผลกระทบของการหายใจอากาศพิษนั้นเข้าไปจะเป็นอย่างไร อาจยังไม่มีข้อมูลแน่นอนในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ขอยกตัวอย่างในต่างประเทศมาเล่าไว้เป็นอุทาหรณ์

เมื่อปี 2512 บริษัทยูเนี่ยนคาร์ไบด์ของสหรัฐไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตสารเคมีที่เมืองโบพาลในอินเดีย โรงงานนั้นทำกำไรได้อย่างงดงาม อีก 10 ปีต่อมาบริษัทจึงขยายโรงงาน ทั้งที่มีการต่อต้าน แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถยับยั้งหรือสั่งให้บริษัทย้ายโรงงานออกจากย่านชุมชนได้ เนื่องจากบริษัทอ้างว่ามันจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น จนสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน

นอกจากจะไม่ย้ายโรงงานออกไปจากย่านชุมชนแล้ว บริษัทยังพยายามลดต้นทุนด้วยการใช้วัตถุดิบที่มีราคาต่ำ ทั้งที่มันมีโอกาสระเบิดได้ง่าย และซ้ำร้ายยังจงใจใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพต่ำ และพยายามหลีกเลี่ยงกฎข้อบังคับ สำหรับควบคุมสารอันตรายอีกด้วย ต่อมาอีกราว 5 ปีคือเมื่อเช้ามืดของวันที่ 3 ธันวาคม 2527 ถังเก็บสารอันตรายของโรงงานก็ระเบิด ชาวโบพาลราว 3,000 คนเสียชีวิตทันทีจากการสูดเอาสารเคมีเข้าไปในปริมาณมาก ต่อมาการศึกษาพบว่าชาวโบพาลอีกอย่างน้อย 15,000 คนเสียชีวิตจากโรคร้ายอันเกิดจากการหายใจ เอาสารเคมีที่ระเบิดออกมาในคืนนั้นเข้าไป

การตายของชาวโบพาลเป็นข่าวพาดหัวและสร้างความสนใจให้แก่ชาวโลก แต่การตายนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย ของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ยังมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งซ่อนอยู่และส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการตายแบบผ่อนส่ง หลังจากคนงานและชาวบ้านในท้องถิ่นต้องหายใจเอาควันพิษและสารอันตรายเข้าไปอย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้ไม่จำกัดอยู่ที่ควันและสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น หากเกิดจากภาคเกษตรกรรมด้วย

ตัวอย่างที่ถูกอ้างถึงบ่อยๆ ได้แก่ การไปลงทุนในละตินอเมริกาของบริษัทอเมริกัน เพื่อผลิตผลไม้ ผักและดอกกุหลาบสำหรับสนองความต้องการในสหรัฐ บริษัทจ้างคนงานท้องถิ่นเพื่อฉีดยาฆ่าแมลงและวัชพืช คนงานเหล่านั้นไม่ได้รับการปกป้องจากสารเคมีอย่างเพียงพอ หลังจากฉีดยาไปชั่วระยะหนึ่ง พวกเขามักป่วยด้วยโรคต่างๆ เรื่องทำนองนี้ไม่ค่อยเป็นข่าวพาดหัว แต่อาจหาอ่านได้ในหนังสือเรื่อง Cultivating Crisis : Human Cost of Pesticides in Latin America ของ Douglas Murray

การตายผ่อนส่งจากการสูดควันและสารเคมีเกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับรอบๆ เมืองไทย สำนักข่าวอังกฤษ รายงานเรื่องราวของชาวเขมรว่า การใช้สารเคมีเป็นเวลานาน ทำให้คนงานเกษตรป่วยกันอย่างกว้างขวาง (Cambodia’s Pesticide Gamblers, by Eric Unmacht, 9 July 2003) รัฐบาลเขมรอ้างว่า ได้สั่งห้ามใช้สารเคมีที่มีพิษร้ายหลายอย่างแล้ว รวมทั้ง Methyl Parathion ซึ่งเมืองไทยไม่ห้าม อย่างไรก็ตาม นักข่าวยังสงสัยเรื่องการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลเขมร

ในปัจจุบันนี้ แม้จะมีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า อากาศมีความสามารถในการดูดซับสารพิษเพียงจำกัด แต่สารพิษยังถูกปล่อยออกไปในปริมาณสูง ยังผลให้มีคนตายจากอากาศเป็นพิษปีละหลายล้านคน องค์การอนามัยโลกประเมินว่า แต่ละปีมีคนตายจากอากาศเป็นพิษ 4.6 ล้านคน ราว 3 ล้านคนตายจากอากาศภายนอกเป็นพิษ ส่วนอีก 1.6 ล้านคนตายเพราะอากาศภายในบ้านและสำนักงานเป็นพิษ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา ผู้ที่มีโอกาสออกไปเดินตามถนนในกรุงเทพฯ และผ่านไปในย่านมาบตาพุดคงพอเข้าใจถึงปัญหาอากาศภายนอกเป็นพิษ

แต่เรื่องอากาศภายในบ้านและสำนักงานเป็นพิษยากที่จะเข้าใจ จึงใคร่เสนอให้ไปอ่านหนังสือเรื่อง Fresh Air for Life: How to Win Your Unseen War Against Indoor Air Pollution ของ นายแพทย์ Allan Somersall หรือนิตยสาร National Geographic ฉบับประจำเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว มลพิษใช่ไหมที่ทำให้ไอคิวของเด็กไทยลดลง ?

ความจริงและข้อมูลต่างๆ ที่อ้างถึงน่าจะยืนยันว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะประกาศรวมเอาธาตุลมไว้ในวาระแห่งชาติ เช่นเดียวกับธาตุน้ำ ธาตุดินและธาตุไฟดังที่ได้เสนอไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 23-06-2007, 08:37 »



The Revenge of Gaia : เมื่อโลกแก้แค้น (1)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  โดย ดร.ไสว บุญมา  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3906 (3106)



ภาวะโลกร้อนเป็นข่าวพาดหัวบ่อยครั้งหลังจากนักการเมืองชื่อดังเช่นอดีตรองประธานาธิบดี แอล กอร์ ของสหรัฐอเมริกาเขียนหนังสือและสร้างภาพยนตร์รางวัลตุ๊กตาทองออกมาฉาย ตามด้วยการพิมพ์รายงาน ของคณะกรรมการระหว่างประเทศ เพื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel for Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทุกภาคของโลก คณะกรรมการชุดนี้ เพิ่งจัดประชุมครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การเป็นข่าวพาดหัวอาจสร้างความตื่นตัว ให้กับชาวโลกมากขึ้น แต่การตื่นตัวนั้นอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหา เพราะปัจจัยหลายอย่า งรวมทั้งระบบการคิดในการมองปัญหาด้วย ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่เน้นระบบการคิดใหม่ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์รุ่นลายครามชาวอังกฤษชื่อ James Lovelock ซึ่งตอนนี้อายุ 88 ปีแล้ว เขาเสนอแนะให้เรามองโลกว่า เป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตที่มีระบบการทำงานสลับซับซ้อนสูงและตั้งชื่อแนวคิดของเขาว่า "ทฤษฎีกายา" (Gaia Theory) พร้อมกับเสนอการแก้ปัญหาโลกร้อนไว้ในหนังสือขนาด 170 หน้าของเขาชื่อ The Revenge of Gaia: Earth"s Climate in Crisis and the Fate of Humanity ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2549

ผู้เขียนเริ่มบทแรกด้วยการกล่าวถึงความเสียหายที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปลายปี 2548 และจากมหา พายุแคทรีนาที่ถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 แม้ภัยใหญ่หลวงทั้งสองนั้นจะฆ่าคนเป็นเรือนแสน แต่ผู้เขียนบอกว่าเหตุการณ์ในวันข้างหน้าจะคร่าชีวิตคนมากกว่านั้นหลายเท่านัก หากเรายังมีพฤติกรรมในแนวกระทำชำเราโลกต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ที่เป็นเช่นนั้น เพราะขณะนี้โลกมีอายุมากขึ้น และอยู่ในสภาพอ่อนแอกว่าแต่ก่อน มันจึงไม่สามารถที่จะรับภาระจากการกระทำของเราได้เท่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ที่ดินทำการเกษตร ใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดพิษต่างๆ หรือแม้กระทั่งการกระทำที่เราคิดว่า น่าจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นเพียงการเสนอให้รักษามะเร็งปอดด้วยการหยุดสูบบุหรี่เท่านั้น เขาเห็นว่าแม้เราจะหยุดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อโลก ณ วันนี้ เช่น หยุดนำที่ดินใหม่มาใช้เพื่อการเกษตร และหยุดปล่อยควันพิษออกไปในอากาศ โลกก็จะต้องใช้เวลากว่าพันปีจึงจะฟื้นคืนกลับสู่สภาพ ก่อนที่มนุษย์จะสร้างความเสียหายใหญ่หลวง ร้ายยิ่งกว่านั้นเขาเสนอว่าความเสียหายที่เราได้สร้างขึ้นแล้วนั้น กำลังผลักดันให้โลกเดินเข้าสู่จุดเปลี่ยนขนานใหญ่ ที่จะยังผลให้การกระทำของเราต่อไปเกิดความเสียหายแบบทวีคูณ และ ณ จุดนั้นการตอบสนองของโลกจะได้แก่การทำลายผู้ที่ก่อความเสียหายไม่ต่างกับการแก้แค้น

ตามมุมมองผู้เขียน "โลก" มีความหมาย กว้างกว่าที่เรามักเข้าใจกันและเขาตั้งชื่อมันว่า "กายา" ตามชื่อเทพเจ้าในเทพนิยายกรีก ในความหมายของเขาซึ่งเขาสาธยายไว้ในบทที่ 2-3 "โลก/กายา" รวมทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนเปลือกโลกซึ่งมีความหนาประมาณ 200 ไมล์โดยวัดจากจุดเชื่อมต่อระหว่างส่วนที่เป็นของแข็งกับส่วนที่เป็นเหลวในใจกลางของลูกโลก ซึ่งอยู่ลึกจากผิวโลกลงไปประมาณ 100 ไมล์ ออกไปจนถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างชั้นบรรยากาศกับห้วงอวกาศ ซึ่งอยู่นอกผิวโลกออกไปประมาณ 100 ไมล์ โลก/กายานี้มีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต นั่นคือ เป็นระบบที่มีการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งรวมทั้งส่วนที่เป็นกายภาพ ส่วนที่เป็นสารเคมีและส่วนที่มีชีวิต เพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะแก่การคงอยู่ของตัวมันเอง การมองโลกแบบนี้จะแก้ข้อบกพร่อง อันเกิดจากการมองแบบแยกส่วนของนักวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ เพราะพวกเขามักศึกษามาเพียงด้านเดียว

โลก/กายามีความสามารถที่จะปรับตัวตามความจำเป็นเช่นเดียวกับสัตว์บางชนิด เช่น อูฐ นั่นคือ ในตอนกลางวัน เมื่ออากาศในทะเลทรายร้อนจัด อูฐจะปรับอุณหภูมิภายในร่างกายของมันให้ขึ้นไปอยู่ที่ 40 องศาเซนติเกรดเพื่อป้องกันมิให้เหงื่อไหล และสูญเสียน้ำซึ่งแสนหายาก พอตกกลางคืนอุณหภูมิภายนอกลดลง อูฐก็จะลดอุณหภูมิภายในร่างกายของมันให้เหลือแค่ 34 องศา มิฉะนั้นมันจะรู้สึกหนาวมากเนื่องจากร่างกายต้องเสียความร้อน การทำงานของโลก/กายามีความสลับซับซ้อนสูงมากจนยากแก่การถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาของเรา ในปัจจุบันนี้สิ่งที่เราคิดว่าเราเข้าใจนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยเท่าๆ กับระดับที่ปลาไหลเข้าใจในการทำงานของทะเลที่มันอาศัยอยู่

ย้อนไปก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุณหภูมิของโลกอยู่ในระดับคงที่ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี แต่ตอนนี้โลกกำลังจะปรับอุณหภูมิให้ขึ้นไปอยู่ในอีกระดับหนึ่งซึ่งเคยเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อ 55 ล้านปีที่แล้ว เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ได้สร้างผลกระทบสะสมมาเป็นเวลานาน เช่น การเผาผลาญพลังงานที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตร ในครั้งนั้นอุณหภูมิบนผิวโลกสูงกว่าในระดับปัจจุบันราว 8 องศาเซนติเกรดในแถบเขตหนาวและ 5 องศาเซนติเกรดแถบในเขตร้อน โลก/กายาต้องใช้เวลาราว 2 แสนปีก่อนที่มันจะปรับอุณหภูมิให้เย็นลงได้ นั่นหมายความว่าเมื่อโลก/กายาปรับอุณหภูมิขึ้นไปอยู่ในระดับนั้นอีกครั้ง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจจะตายไปเกือบหมดเพราะน้ำแข็งในแถบขั้วโลกจะละลายทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นถึง 14 เมตรยังผลให้ศูนย์กลางของประชากรขนาดใหญ่ๆ จมลงอยู่ใต้น้ำเกือบทั้งหมด

ในบทที่ 4 ผู้เขียนพูดถึงคำพยากรณ์สำหรับคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเริ่มมา 7 ปีแล้ว เขาอ้างถึงคำพยากรณ์ที่มีอยู่ในรายงานครั้งที่ 3 ของ IPCC ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อปี ค.ศ.2001 (ปีนี้ IPCC ได้พิมพ์รายงานครั้งที่ 4 ออกมาส่วนหนึ่งแล้ว รายงานครั้งที่ 4 ไม่มีอะไรขัดแย้งกับรายงานครั้งที่ 3) ในหนังสือเรื่อง Global Warming ของ Sir John Houghton ซึ่งพิมพ์ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2004 และในหนังสือชื่อเดียวกันของ Stephen Schneider ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2532 นักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อน พยากรณ์ไว้ในรูปของช่วงอุณหภูมิ ระหว่างสูงกับต่ำ หากอุณหภูมิจริงขึ้นไปใกล้กับระดับต่ำของคำพยากรณ์ เราอาจไม่ต้องเผชิญกับปัญหาหนักหนาสาหัสนัก หากอุณหภูมิจริงขึ้นไปใกล้ระดับสูง โลกกำลังจะเดินเข้าสู่จุดเปลี่ยน ชนิดกู่ไม่กลับ ผู้เขียนนำคำทำนายเหล่านั้นมาเสนอพร้อมกับชี้ว่า ในขณะนี้โลกมีอุณหภูมิจริงใกล้กับระดับสูงที่ปราชญ์เหล่านั้น ได้ทำนายไว้แล้ว ฉะนั้นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิต่อไปจะสร้างความเสียหายใหญ่หลวงอย่างแน่นอน แต่ที่ร้ายยิ่งกว่านั้นก็คือ การเพิ่มขึ้นของมันจะไม่เป็นแบบทีละน้อยๆ และค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง หากจะเป็นในรูปของแบบทันทีทันใด และไม่ต่อเนื่องกัน และการพุ่งขึ้นแบบนั้น จะเป็นชนวนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ที่สร้างความเสียหายต่อไปแบบทวีคูณ ผู้เขียนนำการศึกษามาเสนอ 3 อย่างด้วยกันคือ

1) เมื่ออุณหภูมิของผิวโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.7 องศาเซนติเกรด การละลายของธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ จะเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ นั่นคือ มันจะละลายต่อไปอย่างต่อเนื่องจนหมดแม้อุณหภูมิจะลดลงมาต่ำกว่านั้นก็ตาม เมื่อธารน้ำแข็งหมดไป โลกจะขาดกลไกในด้านการทำความเย็นตัวสำคัญยังผลให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

2) เมื่ออุณหภูมิของผิวโลกเพิ่มขึ้นไปถึง 4 องศาเซนติเกรด ป่าดงดิบในเขตร้อนจะสูญหายไป ทำให้พื้นที่กลายเป็นทะเลทราย หรือไม่ก็มีเพียงต้นไม้จำพวกพุ่มเตี้ยๆ ขึ้นอยู่ นั่นหมายความว่าโลกจะสูญกลไกในการทำความเย็นสำคัญยิ่งอีกตัวหนึ่ง ยังผลให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นต่อไปในอัตราเร่ง

3) ในระหว่างที่อุณหภูมิบนผิวโลกร้อนขึ้นไปนั้น น้ำทะเลก็จะร้อนขึ้นด้วย น้ำทะเลที่ร้อนขึ้นจะทำให้สาหร่ายในทะเลตาย สาหร่ายทำหน้าที่สำคัญในด้านทำให้โลกเย็นคือ ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อสาหร่ายไม่สามารถดูดซับได้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 500 ส่วนในล้านส่วนของอากาศ นั่นจะเป็นจุดที่สาหร่ายตายหมด และธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายต่อไปจนหมด

ณ วันนี้อากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใกล้ 500 ส่วนแล้ว
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 23-06-2007, 08:38 »




The Revenge of Gaia : เมื่อโลกแก้แค้น (2) - คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์

คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  โดย ดร.ไสว บุญมา  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3907 (3107)




ในบทที่ 5 ผู้เขียนพูดถึงที่มาของพลังงานโดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่โลกปัจจุบันขาดไม่ได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม มุมมองของเขามักต่างจากแนวคิดกระแสหลักของนักวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่

กลุ่มแรกได้แก่พลังงานจากฟอสซิลอันเกิดจากซากสัตว์และพืชซึ่งตายทับถมกันไว้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์อันประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ผู้เขียนมองว่าเนื่องจากฟอสซิลเกิดจากสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นมันจึงเกิดขึ้นใหม่ได้เช่นเดียวกับที่มาของพลังงานชนิดอื่น เช่น ต้นไม้ และการเผาฟอสซิลเพื่อเอาพลังงานไม่ต่างจากการเผาท่อนไม้ ความจริงข้อนี้คนส่วนใหญ่มองข้าม ทำให้พากันคิดกันว่าฟอสซิลจะหมดไปโดยไม่มีการเกิดขึ้นใหม่มาแทน นั่นอาจเป็นความจริงหากเรามองในกรอบเวลาเพียงสั้นๆ แต่อายุของโลกต้องนับกันเป็นพันล้านปี

เราผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาน้ำมันและถ่านหิน ในกระบวนการเผานี้เราเก็บพลังงานได้เพียงราว 40% ส่วนอีก 60% สูญเสียไปในในรูปต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ เท่าที่ผ่านมาเราไม่สามารถเก็บพลังงานได้มากกว่านี้ เพราะเทคโนโลยีมีข้อจำกัด ในขณะนี้เทคโนโลยีใหม่เริ่มเกิดขึ้นซึ่งจะเอื้อให้เก็บพลังงานได้มากขึ้น พร้อมกับฟอกควันให้สะอาด ก่อนที่มันจะถูกปล่อยออกไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเราผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึงปีละ 27,000 ล้านตัน หากเราทำให้มันเย็นลงถึงลบ 80 องศาเซนติเกรด มันจะแข็งเป็นภูเขาสูงขนาด 1 ไมล์ และมีเส้นรอบฐานยาว 12 ไมล์ เราจะไปเก็บมันไว้ที่ไหนยังเป็นปริศนา ฉะนั้นผู้เขียนจึงมองว่ายังอีกนานกว่าเทคโนโลยีใหม่จะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง

ส่วนก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและในบ้านเพื่อการหุงต้มและทำความร้อนก็มีปัญหามากเช่นกัน จริงอยู่การเผาผลาญก๊าซธรรมชาติจะสะอาดกว่าการเผาถ่านหิน แต่ก๊าซธรรมชาติมักรั่วไหลได้ง่ายซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้ ก๊าซที่รั่วออกไปเป็นมีเทน ซึ่งมีผลร้ายในการสร้างก๊าซเรือนกระสูงถึง 12 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ ฉะนั้นการมองเพียงด้านเดียวจึงไม่พอ

กลุ่มที่ 2 เป็นก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเราต้องผลิตขึ้นมาจากสิ่งอื่น เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำ จริงอยู่ก๊าซไฮโดรเจนผลิตไม่ยาก แต่ผู้เขียนมองว่าโอกาสที่มันจะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอนาคตอันใกล้มีน้อย เพราะข้อจำกัดต่างๆ เช่น ราคาแพงและยากแก่การเก็บ นอกจากนั้นมันยังระเบิดง่ายอีกด้วย

กลุ่มที่ 3 เป็นสิ่งที่ไม่หมดไปหรือผลิตขึ้นมาทดแทนได้เมื่อนำมาใช้ซึ่งประกอบด้วยลม คลื่น น้ำ ชีวมวลและแสงแดด ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าถ้ามนุษย์เราสามารถใช้พลังงานกลุ่มนี้แทนการเผาผลาญฟอสซิลได้แล้ว เราจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปโดยไม่สร้างปัญหาให้แก่โลก เขาเห็นว่านั่นอาจเป็นความจริง ถ้าเรามีประชากรต่ำกว่าในปัจจุบัน ณ วันนี้โลกมีประชากรมากถึงกว่า 6 พันล้านคน และทุกคนต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น พลังงานจากกลุ่มนี้จึงไม่สามารถที่จะสนับสนุนระดับการบริโภคนั้นได้โดยไม่สร้างปัญหาต่อโลก

ประเทศในทวีปยุโรปตั้งความหวังที่จะใช้พลังงานจากลมไว้สูงมาก แต่ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าความหวังนั้นอาจเป็นความฝันลมๆ แล้งด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ เช่น (1) การผลิตกระแสไฟฟ้าจากกังหันลมมีต้นทุนสอง 2.5-3 เท่า ของการผลิตจากก๊าซธรรมชาติ และจากพลังนิวเคลียร์ (2) ลมพัดในเพียงบางเวลา มันจึงผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 16-25% ของเวลาทั้งมดเท่านั้น ในช่วงเวลาที่เหลือเราต้องใช้พลังงานที่เก็บไว้หรือใช้จากแหล่งอื่น แต่การเก็บพลังงานในปริมาณมหาศาลยังทำไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นในช่วงเวลาที่มีลมพัดก็จะต้องสร้างกังหันลมจำนวนมาก จึงจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้พอใช้ เช่น อังกฤษจะต้องสร้างกังหันลมถึง 276,000 ตัว หรือ 3 ตัวต่อเนื้อที่ 1 ตารางไมล์ ซึ่งจะทำให้เนื้อที่ทั้งประเทศเต็มไปด้วยกังหันลม และ (3) กระแสลมที่เราเข้าใจในปัจจุบันว่าจะเกิดขึ้นนั้น อาจไม่เกิดอีกต่อไปเมื่อผิวโลกร้อนขึ้น ยังผลให้เขตร้อนขยายออกไปจนครอบคลุมเขตอบอุ่นในปัจจุบัน

ในด้านการใช้พลังงานจากคลื่นในมหาสมุทร ผู้เขียนมองว่าการค้นคว้าเพิ่งเริ่มต้นและคงต้องใช้เวลาอีกราว 20-40 ปีกว่าจะนำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง ส่วนพลังงานจากกระแสน้ำนั้นมีอันตรายน้อยกว่าจากฟอสซิลจริง แต่กระแสน้ำมีน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนคนบนผิวโลก ตอนนี้มีการพูดถึงพลังงานจากชีวมวลกันมาก แต่ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าการผลิตชีวมวลจำนวนมากแฝงไว้ด้วยอันตรายที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึง นั่นคือ มันต้องการที่ดินซึ่งโลกใบนี้ไม่มีให้อีกแล้ว ฉะนั้นพลังงานจากแหล่งนี้จำกัดอยู่ที่การเผาผลพลอยได้จากการเกษตร เช่น ฟางและแกลบ ส่วนพลังงานจากแสงอาทิตย์ยังมีข้อจำกัดทั้งที่มีการพัฒนามาหลายสิบปีแล้ว เช่น ราคายังแพงมาก แสงแดดไม่มีตลอดเวลาและยังไม่สามารถเก็บพลังงานที่ผลิตได้ไว้ใช้ในยามที่ไม่มีแดด

กลุ่มที่ 4 เป็นพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งผู้เขียนมองว่าน่าจะเป็นแหล่งที่ถูกนำมาใช้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ความเห็นของเขาต่างจากของนักวิทยาศาสตร์และคนส่วนใหญ่ซึ่งเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์มีอันตรายสูง เขานำข้อมูลมากมายมาเสนอเพื่อแย้งว่าความเชื่อนั้นไม่ได้วางอยู่บนฐานของข้อมูลที่แท้จริง และเพื่อแสดงว่าอันตรายที่อาจเกิดจากการผลิตไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์นั้นต่ำกว่าอันตรายที่เกิดจากการเผาผลาญฟอสซิล

อย่างไรก็ตาม เขาไม่เสนอให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ตลอดไป เขามองว่าในระหว่างที่เรามองหาแหล่งที่มาของพลังงานใหม่ ที่จะไม่สร้างอันตรายต่อโลก นิวเคลียร์เป็นพลังงานสำหรับใช้ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่เหมาะสมที่สุด มิฉะนั้นเราจะต้องเปลี่ยนแนวการดำรงชีวิตกันขนานใหญ่เพื่อจำกัดการใช้พลังงาน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เต็มใจที่จะทำ

ในบทที่ 6 ผู้เขียนพูดถึงสิ่งที่เรากระทำในนามของการปกป้องสิ่งแวดล้อมหลังจากถูก Rachel Carson ปลุกให้ตื่นจากภวังค์ด้วยหนังสือชื่อ Silent Spring ซึ่งคงแปลว่า "เมื่อโลกนี้ไม่มีเสียงนก" เมื่อปี 2505 หนังสือเรื่องนี้ชี้ให้เห็นอันตรายของการใช้สารเคมีเพื่อฆ่าวัชพืชและแมลงที่ทำลายพืชผักผลไม้ในนา ในไร่และในสวน เมื่อนกตายจากการกินแมลงที่มีสารเคมีตกค้างอยู่

อันตรายนั้นนำไปสู่การห้ามใช้สารเคมีต่างๆ รวมทั้งดีดีทีซึ่งมีประโยชน์สูงมากในการกำจัดยุงที่มีชื้อมาลาเรีย ปราศจากดีดีทีประชาชนจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากโรคนั้นทั้งที่ปัญหาไม่ได้เกิดจากการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมโรคร้าย

หากเกิดจากการใช้สารเคมีมากเกินไปเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง การห้ามใช้สารเคมีซึ่งมีประโยชน์จึงเป็นการมองแบบแยกส่วน แทนที่จะมองภาพรวมทั้งหมด เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมี ที่มีสารไนเตรดซึ่งเราเข้ากันใจว่าเป็นอันตราย การใช้ปุ๋ยคอกเพียงเล็กน้อยไม่สร้างปัญหาหนักหนาสาหัส แต่การใช้จำนวนมาก ทำให้ส่วนหนึ่ง ไหลลงสู่สายน้ำยังผลให้น้ำสกปรกจนปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ อยู่ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นผลการวิจัยซึ่งลงพิมพ์ในวารสาร Scientific American เมื่อเดือนกันยายน 2547 ชี้ให้เห็นว่าสารไนเตรดในอาหารและน้ำไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของคน ตรงข้ามมันช่วยในการย่อยอาหารและฆ่าแบคทีเรียในร่างกาย

การกระทำด้วยความตั้งใจดีแต่มองปัญหาแบบแยกส่วนและไม่ศึกษาต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริงนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย เช่น การกำจัดฝนพิษ เนื่องจากหมอกควันส่วนหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดฝนพิษเป็นละอองของกำมะถันจากการพ่นแอโรโซล หมอกควันนี้มีประโยชน์เพราะมันช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปทำให้ผิวโลกเย็นลงหลายองศา การกำจัดหมอกควันจึงทำให้ปัญหาโลกร้อนร้ายแรงยิ่งขึ้น

ในยุคนี้สิ่งที่เรากลัวกันมากที่สุดอย่างหนึ่งได้แก่โรคมะเร็ง เราพยายามจำกัดสารเคมีต่างๆ เพราะคิดว่ามันเป็นต้นตอของโรค แต่ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่ก่อเกิดโรคมะเร็งมากที่สุดมีอยู่แล้วในธรรมชาติ เช่น ก๊าซออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไปทุกวันนั้น เป็นตัวก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดมะเร็ง เช่นเดียวกับกัมมันตภาพรังสี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในดิน ในอากาศและในบ้านของเราเอง ยิ่งไปกว่านั้นพืชที่เราคิดว่าเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารของเรานั้น อันที่จริงแล้วไม่ชอบให้เรากินมันเลย มันจึงพยายามผลิตสารพิษขึ้นมาต่อต้านเรา อาหารจึงเป็นต้นตอของโรคมะเร็งด้วย

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 23-06-2007, 08:40 »



บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว!!!
ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3907 (3107)


ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ทีเอ็นเอส เวิลด์พาแนล บริษัทวิจัยการตลาดค้าปลีกชั้นนำ สำรวจพฤติกรรม ผู้บริโภคคนไทยจากกลุ่มตัวอย่างถาวร จำนวน 2,000 ครัวเรือน ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีพบว่า พฤติกรรมของคนไทย ได้ปรับเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง โดยมีราคาน้ำมันเป็นกลไกสำคัญ ผลสำรวจพบว่า 77% ของผู้บริโภคไทย ตั้งงบประมาณในการจับจ่ายซื้อของแต่ละครั้ง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภค ลดความถี่ในการเดินทางออกไปจับจ่ายใช้สอยลง และเริ่มหันมาซื้อยกโหล และซื้อเฉพาะสิ่งของที่จำเป็น

ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญด้านราคาเพิ่มมากขึ้น โดย 67% ของผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบราคาสินค้ากับปริมาณที่จะได้รับ และ 81% ของผู้บริโภคมีความเห็นว่าราคาคือปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจ

ทีเอ็นเอสระบุด้วยว่า จากค่าเฉลี่ยแต่ละครัวเรือนในตัวเมืองปัจจุบัน ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 3 คน หรือน้อยกว่านั้น ประกอบกับ ผู้บริโภคต่างมีข้อจำกัดเรื่องเวลามากขึ้น ความสะดวกสบายได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า สำหรับหลายๆ คน

ด้านศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากลและศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลับศรีปทุม ระบุว่า ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าทั้งจากร้านค้าแบบโมเดิร์นเทรดและร้านค้า แบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเลือกร้านค้าที่อยู่ใกล้บ้านมากที่สุด คิดเป็นอัตรา 44.0% และ 60.5% ตามลำดับ

ในกรณีของการจับจ่ายสินค้าในโมเดิร์นเทรด ผู้บริโภคจะเลือก ร้านค้าที่อยู่ใกล้ที่ทำงาน คิดเป็น 23.0% ส่วนผู้บริโภคร้านค้าแบบดั้งเดิมผู้บริโภคจะเลือกร้านค้าที่อยู่ใกล้โรงเรียนคิดเป็น 13.8%

จากการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าโมเดิร์นเทรด ส่วนใหญ่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางไปซื้อสินค้า คิดเป็น 35.5% ส่วนผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ จะเดินทางไปซื้อสินค้าโดยการเดินไปซื้อสินค้า คิดเป็น 36.8%

ผลวิจัยสามารถสรุปได้ว่าผู้บริโภคให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือก ร้านค้าว่า ในกรณีของโมเดิร์นเทรด จะให้ความสำคัญกับสถานที่เป็นอันดับ 1 ราคา เป็นอันดับ 2 และให้ความสำคัญกับราคาสินค้า เป็นอันดับสุดท้าย ส่วนกรณีของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ผู้บริโภค ให้ความสำคัญกับการจัดวางสินค้า เป็นอันดับ 1 สถานที่เป็นอันดับ 2 ส่วนการโฆษณาและสินค้า ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นอันดับสุดท้าย

ด้านสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัย Thai View ครั้งที่ 6 ถึงพฤติกรรมคนกรุงเทพฯ ในไตรมาสแรกของปี 2550 พบว่า 82% ของคนกรุงเทพฯ หลังเลิกงานหรือเสร็จสิ้นกิจกรรมอื่นๆ จะเดินทางกลับบ้านทันที ขณะที่ 40% จะออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา โดยที่ 1 ใน 3 จะออกไปช็อปปิ้ง แสดงให้เห็นว่า คนกรุงเทพฯนิยม ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

ส่วนสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจมากที่สุดคือห้างสรรพสินค้า



--------------------------------------------------------------------------------

คอมมิวนิตี้ มอลล์ ผงาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

วิเคราะห์  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3907 (3107)


วันนี้ "คอมมิวนิตี้ มอลล์" กลายเป็นโมเดลค้าปลีกรูปแบบใหม่ ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ด้วยพื้นที่ไม่ใหญ่ไม่โตมากนักแต่ครบครันด้วยสถานบริการ ร้านอาหาร และร้านค้าที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้ "คอมมิวนิตี้ มอลล์" สามารถตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างลงตัว

จากเดิมที่มีเพียงบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บุกขยายกิจการเพียงรายเดียว แต่ปัจจุบันโมเดลค้าปลีกดังกล่าว กำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด และมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ อาทิ เพียวเพลส ของบริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ หรือแม้แต่ยักษ์ใหญ่ในเครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ อย่างคิวเฮ้าส์ที่หวังเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด

เฉพาะอย่างยิ่งล่าสุด "เทสโก้ โลตัส" เป็นยักษ์ใหญ่อีกรายหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างทดลองค้าปลีกโมเดลนี้อยู่ โดยมีเป้าหมายจะเปิดตัว 3-5 แห่ง ภายในปี 2550 นี้

แต่ละโครงการของเทสโก้ โลตัส คอมมิวนิตี้ มอลล์ จะประกอบไปด้วย โลตัส เอ็กซ์เพรส ขนาด 300 ตารางเมตร ลานจอดรถ ส่วนพื้นที่ที่เหลือ จะเปิดให้ร้านค้าที่สนใจเข้ามาเช่าพื้นที่ ซึ่งแต่ละร้านที่เข้ามาส่วนใหญ่ จะเป็นร้านอาหารที่มีแบรนด์ อาทิ สเวนเซ่นส์ ร้านสุกี้เอ็มเค ฯลฯ

นอกจากนี้ ในเทสโก้ โลตัส คอมมิวนิตี้ มอลล์ ยังจะมีจุดให้บริการ ของธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมไปถึงสถาบันการเรียน การสอนต่างๆ อาทิ โรงเรียนกวดวิชา ในส่วนที่เป็นพื้นที่เช่านี้ยังเปิดกว้าง ให้มีร้านค้าท้องถิ่นในย่านดังกล่าวเข้ามาเปิดให้บริการได้อีกด้วย

ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

ผู้คร่ำหวอดในแวดวงค้าปลีกของไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเกิดขึ้นของค้าปลีกในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของ ผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม อาทิ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเน้นจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด จะมีลูกค้าเป็นแม่บ้านเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นผู้บริโภคที่ชอบความหรูหรา มีระดับ พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนี้ จะนิยมไปจับจ่ายตามศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของคอมมิวนิตี้ มอลล์ จะตอบสนองผู้บริโภคในย่านนั้นๆ เป็นสำคัญ ต้องมีสถานบริการ และร้านอาหารเพื่อรองรับคนกลุ่มนี้

ขณะที่ผู้บริหารในธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่อีกรายหนึ่งกล่าวว่า การเกิดขึ้นของศูนย์การค้าในรูปแบบคอมมิวนิตี้ มอลล์ ซึ่งได้รับการยอมรับจาก ผู้บริโภคเป็นจำนวนไม่น้อยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไป ไม่ต้องการเดินทางเข้าเมืองหากไม่มีการซื้อของชิ้นใหญ่ หรือต้องเข้าไปธุระในเมืองในช่วงวันหยุด ในขณะเดียวกันก็สามารถหา ร้านค้า ร้านอาหารที่มีแบรนด์รับประทานหรือใช้บริการใกล้ๆ บ้านได้

อีกประเด็นหนึ่งน่าจะมาจากเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ผู้บริโภคไม่นิยมเดินทาง เพราะต้องการเซฟต้นทุน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ตรงกันกับข้อมูลจากห้าง สรรพสินค้าใจกลางเมืองที่พบว่า มีจำนวนลูกค้าเดินห้างน้อยลง ในขณะเดียวกันยอดขายก็ลดลงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าในส่วนพลาซ่า ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ หรือในซูเปอร์มาร์เก็ตก็ตาม

"รูปแบบของคอมมิวนิตี้ มอลล์ส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มากกว่า ซึ่งบังเอิญไปสอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เริ่มเปลี่ยนไปแบบพอดิบพอดี การที่เราสามารถใช้ชีวิตในช่วงวันหยุด ให้มีสีสันในบริเวณใกล้ๆ บ้านโดยไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับการจราจรที่คับคั่ง หรือความวุ่นวายในเมืองได้ น่าจะมองเป็นเรื่องที่ดี" แหล่งข่าวให้ความเห็น

โครงสร้างเมืองเปลี่ยน ผู้บริโภคเปลี่ยน

นักสังเกตการณ์ทางการตลาดระบุว่า การขยายตัวของชุมชนไปยัง พื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯ โดยเฉพาะนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดใหม่จำนวนมาก พฤติกรรมของคนเหล่านี้จะเดินทาง ออกจากบ้านแต่เช้ามืด เพื่อหนีปัญหาการจราจรติดขัด จากนั้นจะใช้ชีวิตในเมืองทั้งวัน ตกเย็นจะเดินทางออกนอกเมือง เพื่อกลับบ้าน เมื่อถึงวันหยุด สุดสัปดาห์คนกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตในศูนย์การค้าไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้ง คอมมิวนิตี้ มอลล์ ในละแวกที่ตัวเองอยู่อาศัย และจะเข้ามาช็อบปิ้งกลางเมืองในบางโอกาสเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการโยกย้ายถิ่นที่อยู่ดังกล่าวทำให้ วิถีชีวิตคนเหล่านี้ เปลี่ยนไป แต่ไม่ได้หมายความว่าพฤติกรรมการจับจ่าย จะเปลี่ยนไปด้วย ทุกคนยังต้องการแหล่งจับจ่ายดีๆ ซูเปอร์มาร์เก็ตดีๆ ร้านอาหารดีๆ ยังต้องใช้บริการด้านการเงิน และบริการด้านอื่นๆ แน่นอนว่าคอมมิวนิตี้ มอลล์ สามารถสนองความต้องการนี้ได้

อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของคอมมิวนิตี้ มอลล์ ผู้ประกอบการ จะรอจนกว่าชุมชนเหล่านั้นมีผู้อยู่อาศัยหนาแน่นแล้วจริงๆ มีการสำรวจ ทางสถิติแล้วว่า เป็นย่านที่มีกำลังซื้อเพียงพอต่อการเปิดกิจการค้าปลีก ในรูปแบบดังกล่าวได้

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของนายเอียน ไพย์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ที่ออกมายอมรับว่า ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงไป ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม สังเกตได้จากจำนวนครั้งต่อการเข้ามาซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตต่อเดือนลดลง จากเดิมที่มีสถิติการเข้าซื้ออยู่ที่ 2.8 ครั้งต่อเดือน ลดลงเหลือประมาณ 2.5 ครั้งต่อเดือน แต่จำนวนการซื้อต่อครั้งเพิ่มขึ้นราว 20% หรือประมาณ 450 บาท สาเหตุหลักๆ มาจากลูกค้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการซื้อสินค้าต่อครั้งที่เพิ่มขึ้นน่าจะบ่งชี้ได้ว่า ลูกค้าจะไม่เข้ามาจับจ่ายด้วยความถี่เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ชี้ถึงยุคร้านค้าใกล้บ้าน

นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้คนตระหนักคิดมากขึ้น ระวังการจับจ่ายใช้สอย บวกกับราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นที่ผ่านมา ชัดเจนว่าส่งผล ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ที่หันมาซื้อของใกล้บ้านมากขึ้น ซึ่งอานิสงส์ จะไปตกกับบรรดาร้านสะดวกซื้อทั้งหลาย ร้านโชห่วย ร้านในชุมชน ขณะที่ยอดขาย ของบรรดาไฮเปอร์มาร์เก็ตน่าจะได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ตามการที่บรรดายักษ์ใหญ่ค้าปลีกเร่งเพิ่มจำนวนสาขา ในรูปแบบต่างๆ นั้นนายสมชายยอมรับว่าได้ทำให้การแข่งขันถือว่า รุนแรงมากขึ้น เพราะเป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของเซเว่นอีเลฟเว่น, โลตัส เอ็กซ์เพรส และล่าสุดกับ ไนน์ ไนน์ ไนน์ ของเครือ ซี.พี. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโชห่วยอย่างแน่นอน เชื่อว่าในอนาคตจะเหลือเพียงร้านค้าที่เป็นเชนเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้

นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล ประธานบริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด ในฐานะนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงพฤติกรรม ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปขณะนี้ว่า มีการหันมาซื้อสินค้าใกล้บ้านมากกว่า การเดินทางไปโมเดิร์นเทรดจริง เห็นชัดเจนว่าบรรดาห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรดบางแห่งมียอดขายติดลบ หรือมีการเติบโตเพียง 2-3%

คอมมิวนิตี้ มอลล์ อนาคตใส

บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้จุดกระแสศูนย์การค้าชุมชน หรือคอมมิวนิตี้ มอลล์ เดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2550 นี้ สยามฟิวเจอร์เตรียมเม็ดเงินลงทุนอีกถึง 1,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่อีก 5 โครงการ แผนการลงทุนดังกล่าว มีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

นายนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ธุรกิจในรูปแบบนี้ยังไม่โอเวอร์ซัพพลายอย่างแน่นอน

"เราเองมองว่าในกรุงเทพฯเองยังมีพื้นที่อีกมากที่จะสามารถขยาย เข้าไปได้ และหลักๆ ก็จะเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของพฤติกรรม ของผู้บริโภคในปัจจุบัน เราต้องการที่จะขยายเข้าไปในถนนหลักๆ ทุกเส้น ซึ่งที่มองไว้ก็มีทั้งลาดพร้าว รัชดาภิเษก ราชพฤกษ์ ศรีนครินทร์ บางนา"

แผนการของสยามฟิวเจอร์ฯ รวมไปถึงการขยายเข้าไปในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายๆ ราย คาดว่าจะได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมในปีหน้า ซึ่งโครงการ บ้านจัดสรรที่จะเข้าไปนั้น จะพิจารณาจากทำเลโดยรอบประกอบด้วย คือ ต้องมีจำนวนบ้านอย่างน้อย 20,000 หลังคาเรือน

ทั้งยังต้องมีจำนวนประชากรอย่างน้อย 50,000 คนขึ้นไป

บันทึกการเข้า

ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #5 เมื่อ: 23-06-2007, 09:38 »


คาดว่าเรื่องมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด น่าจะเป็นกรณีศึกษาในอนาคต
ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ไม่ได้เกิดขึ้นฉับพลัน แต่เกิดจากการสะสม และปรากฏผลในระยะยาว
ซึ่งหน่วยงานที่ศึกษาต้องใช้เวลานานกว่าจะคลอดผลการวิจัยว่ามีสาเหตุจากอะไรบ้าง

ถึงเวลานั้น ก็สายเกินกว่าจะเยียวยา
ปัญหาคือ เจ้าของโรงงานไม่ตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อผู้อื่น มุ่งลงทุนต่ำ แสวงหากำไรเป็นหลัก
ที่สำคัญคือภาครัฐเอง ที่ต้องการขยายการลงทุน ขยายตัวเลขการพัฒนา จนลืมไปว่าคุณค่าชีวิตของคนในพื้นที่
ก็มีราคาเหมือนกัน

มลพิษในมาบตาพุดยังแก้ไม่ได้เป็นรูปธรรม กลับอนุมัติขยายพื้นที่โรงงานเพิ่มอีก โดยไม่มีแผนรองรับ
การหวังแต่ผลได้เฉพาะหน้า จะส่งผลเสียในระยะยาว
ปัญหาในมาบตาพุด จะทำให้เกิดการต่อต้านโครงการเซาท์เทรินซีบอร์ดอย่างแน่นอน
เหมือนการคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมย่านตาขาว ที่ชาวบ้าน "ไม่เอา"
บันทึกการเข้า
ใบไม้ทะเล
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,321


In politics stupidity is not a handicap


« ตอบ #6 เมื่อ: 23-06-2007, 10:12 »

ตอนนี้ที่จังหวัดระยอง ประชาชนเป็นโรคอะไรมากสุด ทุกคนน่าจะรู้ผลกระทบจากอะไร

กิเลสของมนุษย์มีมากกว่าความรู้สึกชั่วดีค่ะ อย่าสนใจเลยว่าพวกเขาเหล่านั้นจะหันมาดูแลธรรมชาติ ถ้าพวกเขาไม่มีความพอ ไม่มีความอยู่ดีกินดี

ธรรมชาติให้อะไรกับพวกเรามามาก แต่พวกเราไม่เคยที่จะตอบแทนกลับเขาเลย

บทลงโทษของธรรมชาติก็เห็นๆๆกันอยู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-06-2007, 10:34 โดย ใบไม้ทะเล » บันทึกการเข้า

立てばしゃくやく、座ればぼたん、歩く姿はゆりの花
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 23-06-2007, 10:25 »




โรคภูมิแพ้ มะเร็ง เอดส์ และหวัดนก โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ผมคิดว่าเป็นโรคที่มีอิทธิพลอยู่ตอนนี้ครับ
บันทึกการเข้า

see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #8 เมื่อ: 23-06-2007, 20:41 »

*  น่ารักแบบนี้ ... กำลังเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก

   

    อาหารมีน้อยลง ... เพราะ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง   ฤดูน้ำแข็ง    สั้นลง

    หมีขั้วโลกกำลังจะอดตาย ...........


   

    อุตสาหกรรมจากน้ำมือมนุษย์ ... เป็นตัวทำลายสภาวะแวดล้อม   ที่ส่งผลกระทบกับทุกชีวิต

   

    ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกะสภาวะโลกร้อน .. ซึ่งจะส่งผลแก่ทุกชีวิตนะแหละ

    แต่บ้านเรา .....  ยังมีคนไปเย้วที่หนามหลวงอยู่เลย  ........................  เซ็ง   !!!


บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #9 เมื่อ: 23-06-2007, 21:10 »

เมื่อไร อเมริกาจะหยุดดูดน้ำมันจากอิรัก!!
เมื่อไร อเมริกาจะหยุดทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ ใต้ดิน!!
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #10 เมื่อ: 23-06-2007, 22:24 »

บทเพลง สิ้นเสียงปืน

คำร้อง : สืบ นาคะเสถียร
ทำนอง : สายัณห์ น้ำทิพย์


เสียงปืนที่ดั่งลั่น ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ
ลูกน้อยที่กอดไว้ กระดอนไปเพราะแรงปืน
ฝืนใจเข้ากอดแม่ หวังแก้ให้แม่ฟื้น
แม่จ๋าเพราะเสียงปืน จึงไม่คืนชีวิตมา


โทษใดให้ประหาร ศาลไหนพิพากษา
หากลูกท่านเป็นสัตว์ป่า ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม


ชีวิตใครก็รัก ท่านประจักษ์บ้างหรือไม่
โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน


อนิจจา สัตว์ป่าผู้น่าสงสาร ถูกล้างผลาญเข่นฆ่าให้อาสัญ
ผิดด้วยหรือต้องถูกฆ่าให้จาบัลย์....


โอ้ มนุษย์นั้นจะโหดร้าย ถึงไหนกัน......

บางคราวชีวิตก็ตายง่ายเสียเหรอเกิน บางทีมนุษย์ก็เข่นฆ่า คนอื่น สิ่งอื่น เพื่อเอาเปรียบเช่นเดียวกัน


1 กันยายน ครบรอบการจากไปของ คุณสืบ นาคะเสถียร 

ขอขอบคุณมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
O_envi
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



« ตอบ #11 เมื่อ: 24-06-2007, 21:13 »

รณรงค์ไปเรื่อยๆ อย่างนี้แหละครับรับรองได้ผล
แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ ลืมไป ผมว่าต้องลดจำนวนประชากรเป็นอันดับแรกเลย

บันทึกการเข้า

The change musts come one by one.It has to start with you
ภูดิน
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 232


Where the mind is freedom


« ตอบ #12 เมื่อ: 24-06-2007, 22:01 »

ขอบคุณทุกท่าน  ที่นำบทความมาให้อ่าน  และภาพน่ารัก  และรำลึกถึงคุณสืบ นาคะเสถียร

บันทึกการเข้า

The silkworm  weaves  its  cocoon  and  stays  inside, therefore  it is  imprisoned;
the  spider  weaves  its  web  and  stays  outsides, therefore  it  is  free. (chinese proverb)

ตัวไหมชักใยไหม  แล้วอยู่ในรังไข่  จึงถูกจองจำ
แมงมุมชักใยแล้วอยู่ภายนอก  จึงเป็นอิสระ
(กรุณา กุศลาสัย ..."คำคมบ่มชีวิต")
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 25-06-2007, 21:48 »



สปสช.จับมือ รพ.รามาฯ เปิดสายด่วนศูนย์ข้อมูลสารพิษ 1130 
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2550 19:55 น.
 
 
       สำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ โรงพยาบาลรามาธิบดี พัฒนาศูนย์พิษวิทยาให้เป็นศูนย์ข้อมูลเรื่องสารพิษ เปิดสายด่วน 1130 แนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หวังลดจำนวนผู้เสียชีวิตเพราะสารพิษ

 
 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: