ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 19:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เปิดร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เปิดร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ  (อ่าน 3723 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 21-06-2007, 23:54 »

 

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10694

เปิดร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ เขี้ยวเล็บ"กอ.รมน."!



หมายเหตุ - เป็นรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ..... ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน เห็นชอบในหลักการ และเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป



หลักการ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

เหตุผล โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็วสามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย และรักษาความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ....."

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร" หมายความว่า

(1) การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างปกติสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมและผืนแผ่นดินไทย ดำรงไว้ซึ่งเอกราชและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนให้ประชาชนและทุกๆ องค์กรมีความสามัคคี เข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญภยันตรายต่อความมั่นคงของรัฐที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ

(2) การดำเนินการป้องกันและปราบปราม เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์อันเกิดจากการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรให้กลับสู่ภาวะปกติ

"การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันเป็นการมุ่งทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐไม่ว่าจะเป็นการจารกรรมการก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ การบ่อนทำลาย การโฆษณาชวนเชื่อ การยุยง การปลุกปั่นการใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีเจตนามุ่งหมายให้เกิดความไม่สงบสุข ในชีวิตของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ

"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ

"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ

"เจ้าพนักงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องดำเนินการโดยมีเอกภาพในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ มีลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาตามความหนักเบาของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมและมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจมีการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อดำรงไว้ซึ่งความผาสุกของประชาชน สังคม และความมั่นคงของประเทศ

มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้



หมวด 1

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน

มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเสนาธิการทหารบกเป็นกรรมการและเลขานุการ

มาตรา 7 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

(2) วินิจฉัยสถานการณ์ เสนอแนะมาตรการ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ต่อคณะรัฐมนตรี

(3) กำหนดวิธีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในตามแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

(4) กำกับ ดูแลการจัดทำรายงานประจำปีของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเดือนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

(5) ออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

(6) แต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

(7) แต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

(Cool แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(9) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการ

มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอาจขอให้หน่วยงานของรัฐ บุคคลหรือนิติบุคคลใดแล้วแต่กรณี ส่งเอกสารข้อมูล และชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น



หมวด 2

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

มาตรา 9 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกชื่อโดยย่อว่า "กอ.รมน." เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนนรี โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และอนุมัติแผนแม่บทหรือแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

มาตรา 10 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีบทบาทเป็นองค์กรกลางในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐ และวาระเร่งด่วนแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ

การแบ่งงานภายในของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในให้จัดทำเป็นกฎกระทรวง

มาตรา 11 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐ ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในราชอาณาจักร ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 12 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

(1) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินแนวโน้มภัยคุกคามด้านความมั่นคงในราชอาณาจักรเพื่อสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

(2) อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล และเสริมการปฏิบัติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดระเบียบความมั่นคงในพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งทางบกและทางทะเลให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน

(3) เสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ ด้วยการผนึกพลังมวลชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร และความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ภาคในประเทศ

(4) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 13 ให้จัดตั้งสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกโดยย่อว่า "สน.ลธ.รมน." เป็นหน่วยงานภายในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ทำหน้าที่เป็นสำนักงานฝ่ายอำนวยการในการวางแผนอำนวยการ ประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในสายงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยมีเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกโดยย่อว่า "ลธ.รมน" เป็นหัวหน้าฝ่ายอำนวยการรับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ทั้งนี้ ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

มาตรา 14 ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับภารกิจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยกระทำในนามของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี



หมวด 3

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค ในกองทัพภาค โดยมีแม่ทัพภาคเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือหน่วยงานอื่นตามที่แม่ทัพภาคเห็นสมควร รวมจำนวนกรรมการทั้งสิ้นไม่เกินสิบห้าคน

มาตรา 16 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในระดับภาค

(2) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการของกองอำนวยการรักษาความมั่นภายในภาค

(3) พิจารณาข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยวางลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน

(4) กำหนดแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในระดับภาค

(5) แต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด และคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

(6) แต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่

(7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(Cool ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในมอบหมาย

มาตรา 17 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษความมั่นคงภายในภาคเรียกโดยย่อว่า "กอ.รมน.ภาค" ขึ้นในทุกกองทัพภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า "ผอ.รมน.ภาค" มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค และมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ รายงานผลการดำเนินการ จัดทำแผนงานการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือปฏิบัติการอื่นใดตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมอบหมาย



หมวด 4

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

มาตรา 18 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ในแต่ละจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานของรัฐจากฝ่ายพลเรือน ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหารฝ่ายองค์กรบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสามคน รวมจำนวนกรรมการทั้งสิ้นไม่เกินสิบห้าคน

มาตรา 19 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในระดับจังหวัด

(2) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

(3) พิจารณาข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยวางลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

(4) กำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนรวมในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในระดับจังหวัด

(5) เสนอรายชื่อคณะบุคคลหรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคเพื่อแต่งตั้ง

(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(7) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคมอบหมาย

มาตรา 20 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "กอ.รมน.จว." เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "ผอ.รมน.จว." มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เพื่อจัดระเบียบความมั่นคงในจังหวัด รวมทั้งการปฏิบัติงานตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคมอบหมาย



หมวด 5

คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

มาตรา 21 ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานของรัฐจากฝ่ายพลเรือน ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหาร ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเสนอให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสามคน รวมจำนวนกรรมการทั้งสิ้นไม่เกินสิบห้าคน

มาตรา 22 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(2) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

(3) พิจารณาข้อเสนอแนะ และวินิจฉัยวางลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง

(4) กำหนดแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(5) เสนอรายชื่อคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานหรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ ให้กับผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง เพื่อแต่งตั้ง

(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(7) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งมอบหมาย

มาตรา 23 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครเรียกโดยย่อว่า "กอ.รมน.กทม." เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า "ผอ.รมน.กทม." มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจ เพื่อจัดระเบียบความมั่นคงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งการปฏิบัติงานตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งมอบหมาย



หมวด 6

การแก้ไขสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

มาตรา 24 เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีภารกิจในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และให้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้งการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร การฟื้นฟู และการช่วยเหลือประชาชน

ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และอาจมีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอาจมอบหมายให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค หนือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือกรุงเทพมหานครเป็นผู้ใช้อำนาจตามวรรคสองแทน และให้ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง

ให้หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน หรือกระทำการใดๆ เมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงาน

มาตรา 25 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายแรงมากขึ้น ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้

(1) ห้ามบุคคลใดนำอาวุธที่กำหนดในกฎกระทรวงออกนอกเคหสถาน

(2) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(3) ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือมั่วสุมกัน ห้ามการแสดงมหรสพ ห้ามการโฆษณา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นการชักชวนหรือยั่วยุให้มีการกระทำความผิดตามกฎหมาย

(4) ห้ามให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(5) ให้บุคคลใดนำอาวุธที่กำหนดในกฎกระทรวงมามอบไว้เป็นการชั่วคราวตามความจำเป็นโดยการส่งมอบ การรับมอบ และการดูแลรักษาอาวุธดังกล่าวให้กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เห็นสมควร

(6) ให้เจ้าของกิจการ หรือผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในกิจการ หรือการจัดการทุจริต ซึ่งมีพนักงาน หรือลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการ หรือการจัดการธุรกิจ จัดทำและเก็บประวัติและแจ้งการย้ายเข้า การย้ายออก การเลิกจ้าง และแจ้งพฤติการณ์ของบุคคลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานทราบ

(7) ออกคำสั่งให้การซื้อขายใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งอาจใช้กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องรายงาน หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนด

(Cool ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจเช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของทหารจะกระทำได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก

ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานกำหนดพื้นที่ และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้

เมื่อการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลง ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในประกาศยกเลิกข้อกำหนดตามมาตรานี้โดยเร็ว

มาตรา 26 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในออกประกาศให้เจ้าพนักงานมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จับกุม และควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใดๆ อันจะทำให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับการกระทำเช่นว่านั้น

(2) ดำเนินการปราบปรามบุคคล กลุ่มบุคคล หรือกลุ่มองค์กรที่ก่อให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(3) ออกหนังสือสอบถาม หรือออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสาร หรือหลักฐานใด เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(4) ตรวจค้น บุคคล ยานพาหนะ เคหสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ใดๆ ตามความจำเป็นเมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(5) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะก่อให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำเช่นว่านั้นหรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐานลงโทษผู้กระทำผิดได้ เมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่าหากไม่รีบดำเนินการบุคคลนั้นจะหลบหนี หรือทรัพย์สินจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

(6) ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

ในการตรวจค้นตาม (4) หรือ (5) ให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตั้งแต่ระดับ 3 หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เป็นหัวหน้าในการตรวจค้น และหากดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้สามารถกระทำการในเวลากลางคืน หรือนอกเวลาทำการปกติของสถานที่นั้นได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลง หรือป้องกันมิให้เกิดการกระทำเช่นว่านั้น

ในการตรวจค้นตาม (4) หรือ (5) ให้เจ้าพนักงานแสดงความบริสุทธิ์ก่อนเข้าตรวจค้น และให้จัดทำรายงานเหตุผล และผลของการตรวจค้นเป็นหนังสือรายงานต่อผู้บังคับบัญชา และจัดทำเหตุผลในการตรวจค้นเป็นหนังสือมอบไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือสถานที่ที่ตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองสถานที่ในเวลาที่ตรวจค้นให้เจ้าพนักงานส่งมอบสำเนาหนังสือนั้นแก่ผู้ครอบครองทันทีที่สามารถกระทำได้

ในการตรวจค้นตาม (4) เจ้าพนักงานต้องไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการข่มขู่ และให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในการตรวจค้นตาม (5) ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรได้เชื่อว่าหากไม่รีบดำเนินการเอกสาร หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ให้เจ้าพนักงานดำเนินการค้นยึด หรืออายัดเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ต้องมีหมาย แต่ต้องดำเนินการตามวิธีการค้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจะดำเนินการในเวลากลางคืนมิได้ เว้นแต่เป็นเวลาทำการปกติของสถานที่นั้นสำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร

มาตรา 27 ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยตามประกาศในมาตรา 26(1) ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วให้เจ้าพนักงานจับกุม และควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดไว้ซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขกระทำกันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาล เพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกคราวละเจ็ดวัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่าสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดแล้วหากจะควบคุมตัวต่อไปให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุม และควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง และจัดทำสำเนารายงานนั้นไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานเพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้

การร้องขออนุญาตต่อศาลตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกหมายอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 28 ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งตามมาตรา 25 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 เมื่อมีผลใช้บังคับแล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย

มาตรา 29 เมื่อการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรเกิดจากการก่อการร้ายที่มีความรุนแรงหรือการก่อการร้ายสากล ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในรายงานสถานการณ์ต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมอบภารกิจในการแก้ไขสถานการณ์ให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยทันที

มาตรา 30 เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมข่าวสาร หรือป้องกันการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากอยู่ในอำนาจการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานเข้าร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้

มาตรา 31 ในกรณีที่มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดได้กระทำความผิดดังกล่าวเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีเหตุที่ไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคนใด ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสำหรับผู้ต้องหาคนนั้น พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ถ้าผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเห็นชอบด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนว่าไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการถูกฟ้องคดีโดยให้ผู้ต้องหาดังกล่าวเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และจะกำหนดเงื่อนไขให้มารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นครั้งคราวตามที่กำหนดภายหลังการอบรมแล้วด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดระยะเวลาที่ให้มารายงานตัวเกินหนึ่งปีไม่ได้

การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการฟ้องคดีตามวรรคสอง จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ต้องหายินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว และเมื่อผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว จะฟ้องเป็นผู้ต้องหาสำหรับการกระทำที่ต้องหานั้นอีกไม่ได้

มาตรา 32 การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด โดยให้คำนึงถึงการปกป้อง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นหลัก

มาตรา 33 การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการลบล้างอำนาจของฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึกษาหรือตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้ประกาศไว้

มาตรา 34 กรณีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวออกจากพื้นที่ที่กำหนด และห้ามมิให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อีกภายในระยะเวลา หรือเงื่อนไขที่กำหนด แล้วให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล

เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ไปรายงานตัวยังหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัด ในการนี้ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง

มาตรา 35 เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำใดๆ ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือพบว่ามีการกระทำความผิดอาญาที่อาจเชื่อมโยง หรือเกี่ยวพันกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าพนักงานที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

มาตรา 36 ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

มาตรา 37 เจ้าพนักงาน และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าหนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ในการระงับ หรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมายหากเป็นการกระทำที่สุจริตไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

มาตรา 38 การปฏิบัติของเจ้าพนักงานในการปราบปรามตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ในกรณีที่เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วให้ได้สิทธิประโยชน์ตามคำสั่ง ระเบียบ และประกาศของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังด้วย



หมวด 7

บทกำหนดโทษ

มาตรา 39 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตาม มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 หรือ ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 26 มาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-06-2007, 00:35 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22-06-2007, 00:28 »

 

อยากให้ยกเลิกพรก.สถานการณ์ฉุกเฉินในคราวเดียวกันครับ

ส่วนการถกเถียงหรือวิเคราะห์ก็มารอดูติดตามความเห็นต่างๆกันไป

ตัวผมสนับสนุนพรบ.ความมั่นคงใช้แทน พรก.ฉุกเฉินเดิมครับฯ

ของเดิมให้อำนาจนายกฯคนเดียวมากเกินไป..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-06-2007, 00:31 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #2 เมื่อ: 22-06-2007, 00:40 »

เรื่อง พรบ. ฯฉุกเฉินฯ ผมก็เคยเห็นเคยอ่าน

แต่ผมไม่เห็นด้วยที่ จะมาออกเรื่องนี้ ในตอนนี้ครับ

ควรจะให้นักการเมือง ( อีกแร๊ะ ) เค้ามาดำเนินการเองดีกว่าครับ

รออีกนิด

ผมมองแม้กระทั่งแนวร่วมใน สนช.แล้ว ยังไงก็ไม่ผ่าน ให้เอาไปโต้เถียงกันเฉย ๆ ไม่มีประโยชน์

*********
ตอนนี้ก็ใช้ ของเดิมที่ ชุดเก่าทำใว้ และ กฎอัยการศึก ไปก่อน ผมว่าจะมีภาพที่ดีกว่า

ถึงแม้นดีกว่า ของเดิม ก็จริง จำเป็นมั๊ย ก็ใช่จำเป็นต้องมี

แต่ กาละเทศะ ผมตอบตรง ๆ ว่าไม่มีครับ
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 22-06-2007, 00:53 »

เรื่อง พรบ. ฯฉุกเฉินฯ ผมก็เคยเห็นเคยอ่าน

แต่ผมไม่เห็นด้วยที่ จะมาออกเรื่องนี้ ในตอนนี้ครับ

ควรจะให้นักการเมือง ( อีกแร๊ะ ) เค้ามาดำเนินการเองดีกว่าครับ

รออีกนิด

ผมมองแม้กระทั่งแนวร่วมใน สนช.แล้ว ยังไงก็ไม่ผ่าน ให้เอาไปโต้เถียงกันเฉย ๆ ไม่มีประโยชน์

*********
ตอนนี้ก็ใช้ ของเดิมที่ ชุดเก่าทำใว้ และ กฎอัยการศึก ไปก่อน ผมว่าจะมีภาพที่ดีกว่า

ถึงแม้นดีกว่า ของเดิม ก็จริง จำเป็นมั๊ย ก็ใช่จำเป็นต้องมี

แต่ กาละเทศะ ผมตอบตรง ๆ ว่าไม่มีครับ


มุมมองและเหตุผลของผมอย่างนี้ครับ

1.ให้สาธารณชนได้รับทราบและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน

2.ข้อเท็จจริง กฎหมายในการจำกัดอำนาจนักการเมือง สส. สว.เองมักไม่ยอมทำ  ซึ่งอาจเป้นเงื่อนไขให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารได้อีก หากมีนายกฯที่ลุแก่อำนาจคนต่อไป..

3.ตัวร่างกฎหมายเองแล้วดีกว่ากันหรือไม่ เป็นการกระตุ้นวุฒิภาวะของสังคมในหมู่นักกฎหมาย และประชาชนด้วยครับ..

4.กฏอัยการศึกน่าจะใช้เฉพาะการศึกสงครามภายนอกประเทศ มากกว่าการก่อการร้าย

5.หากร่างฯไม่ผ่านสนช. เพราะเกรงประชาชนไม่ตอบรับ ก็คงไม่มีอะไรเสียหาย กระทบไปถึงการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่

เพราะต้องมองว่าเป็นคนละส่วนกันเป็นเรื่องของรัฐบาลนี้กับรัฐบาลหน้าที่ต้องผ่านมาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว..
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22-06-2007, 01:11 »

พรบ.นี้ เบากว่า พรก. ฉุกเฉินครับ

มาตรา 11 ( 6 ) ของ พรก. ฉุกเฉิน เนื้อหาแบบ ม.17 ของจอมพล ส. ( สั่งการได้ทุกอย่าง )

เพิ่งรู้ว่ายังเป็นอำนาจนายกรัฐมนตรี ( ไม่ใช่ ผบ.ทบ. แบบกระทู้ข้างล่าง )

หากมีเลือกตั้งก็ นักการเมืองอยู่ดีครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 22-06-2007, 03:20 »






คัดลอกมาให้อ่านกัน ความเห็นเก่าๆครับ


***ขอประณามกลุ่มคนที่คัดค้าน พรก. ( นายเบื่อ )  http://www.pantown.com/board.php?id=12542&name=board1&topic=4&action=view

   ***ขอประณามกลุ่มคนที่คัดค้าน พรก. สถานการณ์ฉุกเฉินว่าเป็นพวกหนักแผ่นดิน***
ผมขอประณามคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวกหนักแผ่นดิน...

1. กรรมการสมานฉันท์ที่ผ่านมา..ได้ทำอะไรบ้าง...

2. พวกบ้าสิทธิมนุษยชน..ได้ฟังพระราชเสาวณีย์ของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ หรือไม่.ที่ว่า "ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิ์ป้องกันตัวเอง"

3. ไอ้พวกนี้เกลียดรัฐบาล...และกลัวเขามีอำนาจล้นฟ้า....ถามตรง ๆ ....มิงจะให้เขาทำอย่างไร..

4. บอกว่าจะให้เข้าสภา ฯ เพื่อมีการอภิปรายกันก่อน..ถามว่า..อภิปรายไปทำเอี้ยอะไร..ชาวบ้านเขาตายทุกวัน..กว่าจะอภิปรายเสร็จ ชาวบ้านตายไม่รู้กี่คน...

5. ถ้าคุณบริสุทธิ์ใจจริง..จะกลัวทำไมกับการดักฟังโทรศัพท์...

6. ไม่มีใครเห็นด้วยกับการเข่นฆ่า..ไม่ว่าจะเป็นจากเจ้าหน้าที่หรือจากโจร..แต่ที่เขาต้องทำ..เพราะไอ้พวกนั้นมันบ้าไปแล้ว...ขนาดแผ่นดินเกิดมันยังเนรคุณได้..นับประสาอะไรกับชีวิตประชาชนคนอื่น...

7. ฟังคนคัดค้านคนหนึ่ง..บอกว่า "ให้ใช้หลักว่า..อดทน..เพื่อให้เขาวางอาวุธ" ผมฟังแล้วอยากจะเตะปากสักหน่อย...ก่อนที่มันจะวางอาวุธ..มันฆ่าไปแล้วกี่ศพ...

8. ชาวบ้านเขาไม่เอากับโจร..ไม่ต้องห่วงหรอกว่าเขาจะไม่ให้ความร่วมมือ..คนที่คิดแบบนี้..มีแต่พวกนักสิทธิ ที่คิดเองเออเองทั้งนั้น

9. จำได้มั้ย...ชาวบ้านเขียนป้ายด่า ส.ว. และเอ็นจีโอ..ว่าอย่าเก่งแต่ปาก...

10. มือไม่พายอย่าเอาตีนราน้ำ...ไอ้พวกหนักแผ่นดิน

จากคุณ : นายเบื่อ - [ 16 ก.ค. 48 13:11:25 A:203.188.54.119 X: TicketID:071408 >



ความคิดเห็นที่ 1

เจตนาของกฏหมายนี้..เพื่อให้ควบคุมสถานการณ์..และป้องกันภัยต่าง ๆ ...

ถ้าไอ้คนไหนไม่พอใจ..ไปฟ้องศาลปกครอง...

จากคุณ : นายเบื่อ - [ 16 ก.ค. 48 13:13:12 A:203.188.54.119 X: TicketID:071408 >






ความคิดเห็นที่ 2

ก็กฎหมายนี้เขาไม่ให้ฟ้องศาลปกครองไม่ใช่เหรอคุณนายเบื่อ
ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย
มันเยี่ยมมากเลยใช่ไหมละจอร์จจจ

จากคุณ : ridkun - [ 16 ก.ค. 48 13:18:24 >






ความคิดเห็นที่ 3

ฟ้องได้อยู่แล้วคุณ ridkun

ผมถามจริง ๆ ....

การห้ามออกนอกบ้าน..การจำกัดเขต..การห้ามเสนอข่าวบางอย่าง..ในภาวะฉุกเฉิน

มันจะทำให้คนตายสักกี่คน...

จากคุณ : นายเบื่อ - [ 16 ก.ค. 48 13:22:59 A:203.188.54.119 X: TicketID:071408 >






ความคิดเห็นที่ 4

ทำไมไม่ทำให้ผ่านรัฐสภา ทำไมรอจนปิดสภา

ทำไมไม่ใช้รัฐสภาเป็นที่แก้ไขปัญหา

ทำไมชอบออกพระราชกำหนด

หรือชอบทำงานรวบอำนาจ...ทำงานแค่กลุ่มพวกตนเอง

จากคุณ : Can (ไทเมือง) - [ 16 ก.ค. 48 13:26:30 >






ความคิดเห็นที่ 5

อ้อ...ไม่ได้คัดค้านนะ..แต่ไม่ชอบวิธีปฏิบัติ...มักง่ายเกินไป

จากคุณ : Can (ไทเมือง) - [ 16 ก.ค. 48 13:27:16 >






ความคิดเห็นที่ 6

โง่ เซ่อ

ซะไม่มี

ไอ้พวกหนักแผ่นดิน

ขอประณาม


อิ ๆ เอาไปเลย

จากคุณ : soco - [ 16 ก.ค. 48 13:28:04 >






ความคิดเห็นที่ 7

คุณ Can

สภา ฯ ตอนนี้ปิดไปแล้วไม่ใช่หรือ...

การออกพระราชกำหนด..ก็ต้องไปผ่านสภา ฯ เพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติอยู่ดี..

กลัวอะไร...

แต่ถามว่า..กว่าที่กฏหมายจะออกมาเป็น พรบ. ต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่

นับดูตั้งแต่ ผู้พิพากษาระพินทร์ เรือนแก้ว...
ระเบิดที่หาดใหญ่..พระราชินีทรงรับน้องฮ่องเต้ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์...
พระองค์ออกมารับสั่งเรื่องนี้ถึง 3 วโรกาส...

จนกระทั่งถึงยิง ผอ. โรงเรียน.

ก่อนหน้านี้เพียงสองสามวัน..สมุหราชเลขา ฯ ก็ออกมาบอกว่า ทั้งสองพระองค์ทรงห่วงใยปัญหาภาคใต้มาก...

ผมถามว่า..จะรออะไรอยู่อีก...

ถามอีกที..ทักษิณจะออกคำสั่งให้มาดักฟังโทรศัพท์ผมมั้ย...

ตอบเลยว่าไม่...

เพราะอะไร..

เพราะผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย...

ถ้าไม่ได้ทำ..จะกลัวอะไรวะ..

จากคุณ : นายเบื่อ - [ 16 ก.ค. 48 13:33:17 A:203.188.54.119 X: TicketID:071408 >






ความคิดเห็นที่ 8

เพื่อประเทศครับตอนนี้ ผมว่าน่าจะต้องออก พรก.มานะครับ

เพื่อความรวดเร็วในการตัดสินใจ รีรอมิได้แล้ว

อนาคตไม่แน่เรื่องแบบนี้มันอาจลามไปหลายจังหวัด

เพราะกลุ่มคนที่ก่อการร้ายนี้มันไม่ใช่คนไทยครับ

มันไม่สนแล้วว่าตอนนี้ใครจะดีต่อมันหรือใครจะใช้วิธีสงบ
โดย: [0 3] ( IP ) 

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
   กับมัน

จากคุณ : พรรคเทพ - [ 16 ก.ค. 48 13:37:05 A:61.90.74.229 X: TicketID:102405 >






ความคิดเห็นที่ 9

เคยบอกว่า
ถ้าไม่ติดเรื่องเลือกตั้งจะไปนั่งบัญชาการที่ใต้ 3 เดือน
ไหนล่ะคำสัญญา

จากคุณ : คุณนายนอกบ้าน - [ 16 ก.ค. 48 13:39:39 >






ความคิดเห็นที่ 10

ความคิดทำกฎหมายนี้ไม่ใช่เพิ่งมีนี่ ตั้งหลายเดือนแล้วเมื่อคราวตั้งรัฐบาลใหม่ ๆโน่น

ทำอะไรกันอยู่ล่ะ...ทำไมไม่ใช้สภาผ่านกฎหมายพวกนี้

จากคุณ : Can (ไทเมือง) - [ 16 ก.ค. 48 13:43:47 >






ความคิดเห็นที่ 11

คุณนายนอกบ้าน..

อย่าเอามาแขวะกันเลยครับ..ชาติต้องการความสามัคคี..ต้องการพลังสมองมาช่วยกัน..

การท้วงติง พรก. นี้..ทำได้..แต่..ต้องถามตัวเองก่อนว่า..ทำไมถึงค้าน...

จากคุณ : นายเบื่อ - [ 16 ก.ค. 48 13:45:25 A:61.91.36.252 X: TicketID:071408 >






ความคิดเห็นที่ 12

คราวนี้เห็นด้วยกับการออก พรก. นะคะ
ถึงจะโดนจำกัดสิทธิ แต่เป็นแค่ระยะสั้นจนกว่าจะแก้ไขสถานการณ์ได้

จากคุณ : ออกความเห็นหน่อย - [ 16 ก.ค. 48 13:49:57 A:202.176.99.207 X: TicketID:102607 >



อันนี้ของแถม...เหอ

 ความคิดเห็นที่ 15

http://www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000080896

จากคุณ : พล.ต.อ. นพดล จ้องสืบพันธ์ - [ 16 ก.ค. 48 13:57:43 A:61.90.10.14 X: TicketID:103076 >

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22-06-2007, 03:24 »


ตัดมาบางส่วนครับ http://www.mthai.com/webboard/5/138472.html
 
เราจะอภิวัฒน์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เป็นอย่าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้อย่างไร?
.
.
.


4) ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้วางหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย และการแบ่งแยกอำนาจในการปกครอง โดยที่เคยชี้แนะไว้ว่า

“อำนาจสูงสุดในประเทศนั้น แยกออกได้ 3 ประการ คือ

(1) อำนาจในการบัญญัติกฎหมาย หรืออำนาจนิติบัญญัติ

(2) อำนาจในการปฏิบัติตามกฎหมาย หรืออำนาจบริหาร

(3) อำนาจในการวินิจฉัยกฎหมาย หรืออำนาจตุลาการ”

การวางหลักในการแบ่งแยกอำนาจทั้ง 3 ออกจากกัน เพื่อให้เกิดการคานและดุลย์อำนาจ นอกจากนี้ ดร.ปรีดร พนมยงค์ ก็ได้เข้าสู่อำนาจทางการเมืองขณะที่การเมืองมีอำนาจกระจุกตัว แต่ได้ดำเนินการกระจายอำนาจออกไปสู่ท้องถิ่น ระบบเทศบาล พยายามทำอำนาจที่กระจุกตัวให้กระจายตัวออกไป

ยิ่งกว่านั้น ดร.ปรีดี พนมยงค์ ยังเป็นผู้วางหลักการของระบบศาลปกครอง เพื่อหวังจะให้ทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการ มีอำนาจหน้าที่ปกป้องคุ้มครองประชาชนมิให้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐ จนในที่สุด ก็เริ่มต้นที่การมีคณะกรรมการกฤษฎีกา และในที่สุด ประเทศของเราก็มีศาลปกครองในปัจจุบัน

แต่น่าแปลกใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาสู่การเมือง โดยทำให้ระบบที่รัฐธรรมนูญวางไว้สำหรับการกระจายอำนาจ กลับต้องกระจุกอำนาจกลับเข้ามารวมศูนย์ ไม่ว่าจะโดยการงบประมาณ งบกลาง การบริหารงานบุคคล แต่งตั้งโยกย้าย ผู้ว่าซีอีโอที่บูรณาการอำนาจ

ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลทักษิณ ได้ออก พรก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ อันเป็นการตอนอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ และล่วงละเมิดทำลายอำนาจฝ่ายตุลาการ ที่กำหนดไว้ใน พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ไม่สามารถเอาผิดผู้สั่งการและเจ้าหน้าที่ทางแพ่ง อาญา และวินัย นับเป็นกฎหมายที่ลิดรอนอำนาจตุลาการยิ่งกว่าประกาศคณะปฏิวัติ ที่ยังให้ฝ่ายตุลาการคงอำนาจอยู่เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยังได้เป็นการทำลายฐานอำนาจของศาลปกครองเป็นการเฉพาะอีกด้วย!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-06-2007, 03:28 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 22-06-2007, 04:00 »



GOVT:ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ เตรียมใช้แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน   http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5526209/P5526209.html

       คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบหลักการร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เพื่อให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) มีภารกิจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในขั้นต้นได้ทันที
       หากร่างดังกล่าว ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แล้ว จะยกเลิกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
       "หลักการให้อำนาจ กอ.รมน.คิดว่ากฎหมายในด้านความมั่นคงฉบับนี้ เมื่อเข้าสู่สภา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ไม่จำเป็นต้องมีต่อไป สามารถยกเลิกได้" พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าว
       นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า จากนี้จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาในรายละเอียด โดยเฉพาะให้นำข้อสังเกตุของครม.หลายเรื่องไปพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง ก่อนจะส่งให้สนช.พิจารณาต่อไป อาทิ ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้อำนวยการ กอ.รมน. ควรต้องผ่านความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
       เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของรัฐ ต้องมีวุฒิภาวะสูง ,ต้องกำหนดโทษสูงสุดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นต้น
       "กฎหมายฉบับนี้ออกมาดีกว่าเดิม แทนที่เราจะมีกฎอัยการศึกซึ่งแรงเกินไป เพราะกฎอัยการศึกจะใช้ก็ต่อเมื่อมีภาวะสงครามเกิดขึ้นในประเทศหรือกระทบกระทั่ง และใช้มานานล้าสมัยไปแล้ว ส่วนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติมาก่อน" นายกรัฐมนตรีกล่าว
       ด้าน ร.อ.นายแพทย์ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะเป็นการมอบอำนาจให้กอ.รมน.ทำงานด้านความมั่นคงได้อย่างเต็มที่ ที่ผ่านมาไม่มีกฎหมายรองรับ
       เขากล่าวอีกว่า ร่างพ.ร.บ.จะมีการตั้งคณะกรรมการรักษความมั่นคงภายใน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีผู้บัญชาการเหล่าทัพ , หน่วยความมั่นคง เป็นคณะกรรมการ และให้กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่แก้ไขสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานและให้ผู้ที่รับผิดชอบไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง,อาญาและวินัย จากการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการกระทำโดยสุจริต
       ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้ให้อำนาจ กอ.รมน. สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที โดยไม่ต้องประกาศพื้นที่รักษาความมั่นคงภายใน และยังเพิ่มภารกิจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในขั้นแรก แต่หากเป็นการก่อการร้ายที่รุนแรงหรือเป็นก่อการร้ายสากล ให้กอ.รมน.รายงานสถานการณ์ต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: รอยเตอร์ (19 มิ.ย. 50, 18:53)

แก้ไขเมื่อ 19 มิ.ย. 50 19:01:56

บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 23-06-2007, 01:15 »

ท่าทางกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่จะใช้ใน กทม. เป็นหลัก

เพื่อหลีกเลี่ยงการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วมันน่ากลัว

ทั้ง ๆ ที่ กฎหมาย ที่ให้ออกประกาศกฎอัยการศึกก็ยังมีอยู่

ที่จริงเนื้อหาก็เซม ๆ

ท่าทางจะให้อำจทหารลุยก่อนรายงานจริง ๆ นั่นแหละ

เพราะหากจะให้นายกใช้ พรก.ฉุกเฉิน ฝั่ง คมช. อาจไม่ทันใจ

อยากใช้อำนาจเองมากกว่า
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 23-06-2007, 07:08 »



เป็นการวางโครงสร้างนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคง..

หากเกิดการก่อการร้ายทหาร ก็มีบทบาทเกี่ยวข้องมากหน่อย..

ผมมองในแง่ดีครับ คือหน่วยงานต่างๆของบ้านมือง มีการประสานงานกันได้มากขึ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-06-2007, 07:12 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 23-06-2007, 13:51 »



เกร็ดความรู้เรื่องกฎอัยการศึก

๑.กล่าวนำ

                    จากกรณีที่ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงวันที่ ๕-๖ มกราคม ๒๕๔๗ และสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องสั่งให้แม่ทัพภาคที่ ๔ ประกาศใช้กฎอัยการศึกในเขตพื้นที่อำเภอต่างๆ ของ ๓ จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๗ นั้น ทำให้เกิดประเด็นที่น่าสนใจว่า กฎอัยการศึกเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างไร มีความสำคัญหรือความจำเป็นต่อราชการทหารอย่างไร และเมื่อได้ประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกแล้ว จะทำให้ทหารมีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างไร และเมื่อได้ประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกแล้ว จะทำให้ทหารมีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร ดังนั้น กองพระธรรมนูญ กรมสารบรรณทหาร ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอถือโอกาสนี้นำเกร็ดความรู้เรื่องของกฎอัยการศึกมาเสนอเพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป

๒.เจตนารมณ์ของการมีกฎหมายเรื่องกฎอัยการศึก

                    จากประสบการณ์ในอดีตของประเทศไทย จะพบว่าเมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหารแล้ว จะมีการประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีในสายตาของนักประชาธิปไตยว่า กฎอัยการศึกเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการและเป็นสัญญลักษณ์ในการที่ทหารจะเข้ามายึดอำนาจบ้านเมือง แต่แท้ที่จริงแล้ว การมีกฎอัยการศึกไว้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้เป็นเครื่องมือ หรือมาตรการทางกฎหมายในการที่จะรองรับอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ที่จะรักษาความมั่นคงของประเทศชาติเมื่อยามคับขัน และจำเป็นที่ไม่อาจใช้หน่วยงานของฝ่ายพลเรือน จึงต้องใช้หน่วยงานทหารที่มีสมรรถภาพดีกว่าในการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้จะเห็นได้จากคำบรรยายในกฎเสนาบดี๑ ที่บรรยายความถึงความสำคัญและความจำเป็นของการที่ต้องมีกฎอัยการศึกความว่า “เหตุที่จะต้องเรียกว่ากฎอัยการศึกนั้นเพราะเหตุว่ากฎหมายนี้จะประกาศใช้ได้แต่เฉพาะเวลามีสงคราม หรือการจลาจล หรือมีความจำเป็นที่จะรักษาความเรียบร้อยให้ปราศจากภัย” และการที่มีพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกขึ้นไว้ในเวลาปกติเช่นนี้ก็เพื่อสำหรับวางแผนการรักษาพระราชอาณาจักรทั่วไป หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ด้วยอำนาจและกำลังทหารสำหรับตระเตรียมการณ์ไว้พร้อมเมื่อมีตุจำเป็น ก็ปฏิบัติได้ทันที กฎอัยการศึกจึงถือเป็นกฎหมายในยามศึกสงคราม โดยเป็นระบบกฎหมายพิเศษที่มีไว้ใช้ในยามที่ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ และมีความจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนลงไปบ้าง ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็เพื่อความมั่นคงของราชอาณาจักร

๓.ความเป็นมา

                    กฎอัยการศึกเป็นระบบกฎหมายที่มีต้นกำเนิดมาช้านานแล้ว มีการใช้แพร่หลายทั้งในประเทศทางแถบยุโรปรวมทั้งในประเทศไทยด้วย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ประเทศไทยได้มีการประกาศให้ใช้กฎหมายเรื่องกฎอัยการศึกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ โดยเรียกว่า กฎอัยการศึก รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ถูกยกเลิกและตราขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสม ซึ่งกฎหมายที่ประกาศใช้แทนนี้ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗๒ กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น ๕ ครั้ง๓ เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เหตุที่คนทั่วไปมักเรียกเพียงสั้นๆว่า กฎอัยการศึก นั้น เข้ามจว่าเนื่องจากในตัวพระราชบัญญัติเองกำหนดให้เรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ แต่คนส่วนใหญ่เรียกเพียงสั้นๆว่า กฎอัยการศึก

                    ปัจจุบันนี้ยังคงมีเขตพื้นที่ที่ยังให้ใช้กฎอัยการศึกอยู่ในเขตอำเภอที่เป็นพื้นที่ชายแดนรวม ๒๐ จังหวัด ตามประกาศพระบรมราชโองการ๔ ฉบับลงวันที่ ๑๓ พ.ย.๒๕๔๑ จนเมื่อเกิดสถานการณ์การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลจึงได้ให้แม่ทัพภาคที่ ๔ ออกประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่๕ คือ นราธิวาส เฉพาะ อ.บาเจาะ อ.รือเสาะ อ.ตากใบ อ.สุไหวปาดี อ.ยี่งอ และ อ.สุไหวดก-ลก ปัตตานี เฉพาะ อ.กะพ้อ และ ยะลา เฉพาะ อ.รามัน ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมจากประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ ๑๓ พ.ย. ๒๕๔๑

๔.การประกาศใช้กฎอัยการศึกและการเลิกใช้กฎอัยการศึก

                    กฎอัยการศึกนั้นเป็นกฎหมายที่มีลักษณะแตกต่างจากกฎหมายอื่น คือ แม้จะผลบังคับเป็นกฎหมายเพราะได้ตราเป็นพระราชบัญญัติที่เรียกว่า พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ซึ่งใช้บังคับมานานแล้วก็ตาม แต่การที่จะใช้อำนาจหรือมาตรการต่างๆ ตามที่พระราชบัญญัติได้กำหนดไว้ก็จะต้องอยู่ในบังคับเงื่อนไขคือจะต้องให้ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกก่อน โดยจะกำหนดเป้นเขตพื้นที่หรือจะทั่วราชอาณาจักรก็แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่จะประกาศ

                    ๔.๑ การประกาศใช้กฎอัยการศึก
                    ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้

                    ๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ซึ่งถือเป็นพระราชอำนาจของพระองค์ที่แม้แต่รัฐธรรมนูญก็รับรองไว้ (รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๒๒)๖ การประกาศในกรณีนี้จะทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ และอาจจะประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกได้ทั่วราชอาณาจักร หรือเฉพาะเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้ เหตุที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกในกรณีนี้ กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า “เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอกหรือภายในพระราชอาณาจักร...” และในประกาศดังกล่าวอาจจะกำหนดให้ใช้อำนาจในกฎอัยการศึกในทุกมาตราหรือบางมาตราหรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตราก็ได้

                    ๒. ผู้บังคับบัญชาทหาร ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ กรณี คือ
                        กรณีแรก ผู้บังคับบัญชาทหาร ซึ่งมีกำลังทหารอยู่ในบังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน
                        กรณีสอง เป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใดใดของทหาร
                        ผู้บังคับบัญชาทหารที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกตามมาตรา ๔ นี้ กฎหมายให้มีอำนาจประกาศให้กฎอัยการศึกได้เฉพาะแต่ในเขตอำนาจหน้าที่เท่านั้น และเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้วก็จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด๗

                    ๔.๒ การเลิกใช้กฎอัยการศึก
                    ตามบทบัญญัติในมาตรา ๕ การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึก จะทำได้เพียงทางเดียวคือต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเท่านั้น

๕.ผลของการประกาศใช้กฎอัยการศึก

                    เมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว จะทำให้มีผลในทางกฎหมายหลายประการที่พอจะสรุปได้ดังนี้

                    ๑. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในกรณีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอยู่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนใน ๓ เรื่อง คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการยุทธ เรื่องที่เกี่ยวกับการระงับปราบปราม หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยกฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฎิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

                    ๒. อำนาจในการพิจารณาคดีของศาล ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ในมาตรา ๗ โดยทั่วไปแล้วในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกยังคงให้ศาลพลเรือน(ในปัจจุบันนี้น่าจะหมายถึง ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามปกติ เว้นแต่ผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางประเภทที่ได้กำหนดไว้แบ้วในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก แต่ถ้าคดีอาญาเรื่องใดที่มีเหตุผลพิเศษอันเกี่ยวด้วยความมั่งคงของประเทศ แม้คดีอาญาเรื่องนั้นจะมิได้มีอยู่ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาจจะสั่งให้นำคดีอาญาเรื่องนั้นๆ ไปพิจารณาพิพากษาในศาลทหารก็ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตคือ ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ ได้กำหนดให้ศาลทหารในเขตที่มีการใช้กฎอัยการศึกเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา คือ ทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารมีเพียงชั้นเดียว จะไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกอาจจะประกาศกำหนดให้ศาลพลเรือนทำหน้าที่เป็นศาลทหารได้ด้วย

                    ๓. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มีอำนาจในการที่จะตรวจค้น เกณฑ์ ห้าม ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และขับไล่ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ โดยปรากฏตามคำบรรยายในกฎเสนาบดี พอสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่จะมีอำนาจดังกล่าวนั้นมิได้หมายความว่าทหารทุกคนจะมีอำนาจดังกล่าว แต่กฎหมายให้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีอำนาจประกาสให้กฎอัยการศึกเท่านั้น และในทางปฏิบัติเมื่อมีการใช้กฎอัยการศึกแล้ว ผุ้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกก็อาจจะออกประกาศเพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทหาร หรือเจ้าหน้าที่อื่น เพื่อให้กระทำการต่างๆ ดังกล่าวได้

                “การตรวจค้น” เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจในการตรวจค้น ดังนี้

                        ก. ตรวจค้นบรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือต้องเข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคุล ในยายพาหนะ เคหสถานสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ทั้งสิ้น

                        ข. ตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกันในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก

                        ค. ตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บท หรือคำประพันธ์

                “การเกณฑ์” เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเกณฑ์ดังนี้

                        ก. เกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ

                        ข. เกณฑ์ยวดยาน สัตว์พาหนะ เสบียงอาหาร เครื่องศาตราวุธ และเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ จากบุคคลหรือบริษัทใดๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง

                “การห้าม” เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้

                        ก. ห้ามประชาชนมั่วสุม

                        ข. ห้อมออก จำหน่าย จ่ายหรือแจกซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพ บทหรือคำประพันธ์

                        ค. ห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์

                        ง. ห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟ และรถรางที่มีรถเดินด้วย

                        จ. ห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธและเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้

                        ฉ. ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด

                        ช. ห้ามบุคคลออกยอก เข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขจนั้นออกไปจากเขตภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด

                        ซ. ห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

                “การยึด” ตามมาตรา ๑๒ ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็นจะยึดไว้ชั่วคราวบรรดาสิ่งของตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ เพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหารก็กระทำได้

                “การเข้าอาศัย” ตามมาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเข้าพักอาศัยในที่อาศัยใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็นจะใช้ประโยชน์ในราชการทหารก็ได้

                “การทำลาย”หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ ตามมาตรา ๑๔ กำหนดไว้

                        ก. ถ้าการสงครามหรือการสู้รบเป็นรองศัตรู ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเผาทำลายบ้านเรือนและสิ่งของที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ศัตรูเมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้วได้ หรือถ้าสิ่งใดๆ นั้นอยู่ในที่ซึ่งกีดขวางการสู้รบก็ให้ทำลายได้ทั้งสิ้น

                        ข. มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศ หรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้กับศัตรูหรือเตรียมป้องกันรักษาได้ ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

                “การขับไล่” ตามมาตรา ๑๕ ได้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายหทารมีอำนาจขับไล่บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราวได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีความจำเป็น หรือสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใด

                “การกักตัวบุคคล” ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๐๓ ลงวันที่ ๑๓ ธ.ค.๒๕๑๕ ได้กำหนดให้มีมาตรา ๑๕ ทวิ เพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจในการกักตัวบุคคลไว้ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นเป็นราชศัตรู หรือได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องกฎอัยการศึก หรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทั้งนี้ เพื่อการสอบถาม หรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ โดยมีระยะเวลากักได้ไม่เกิน ๗ วัน

๖.บทบัญญัติคุ้มครองเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าปรับ

                    โดยปกติทั่วไปหากเจ้าหน้าที่ไปทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือเอกชนแล้วก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามหลักฐานในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกได้ให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งได้กระทำการไปตามหน้าที่โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ แม้จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือบริษัทใดๆ (หมายถึงเอกชน) ก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างใดๆ เพราะถือว่าเป็นการกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ นั่นเอง

๗.บทบัญญัติให้อำนาจเจ้ากระทรวง

                    ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง รวมทั้งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสามารถออกข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกฎอัยการศึกนี้ได้ด้วย๘

๘.บทส่งท้าย

                    กฎอัยการศึกถือเป็นมาตรการทางกฎหมายอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการรองรับอำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหาร เพื่อให้บรรลุถึงภารกิจในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ จึงได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้อย่างมากมาย อำนาจดังกล่าวมีผลในทางรอนสิทธิของบุคคลที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเห็นว่าการสั่งการโดยใช้อำนาจของฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึกนี้ ควรยึดถือและปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ละเอียดรอบคอบ และมีความจำเป็นอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ

                    สำหรับบทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายเรื่องกฎอัยการศึก ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีความละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อนในการใช้ ยากที่จะนำมาบรรยายให้ความเข้าใจได้ทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้น สมควรที่ผู้สนใจและผู้บังคับบัญชาทหารที่จะต้องใช้กฎหมายนี้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป


--------------------------------------------------------------------------------

(๑) กฎเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๕๗

(๒) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๗

(๓) การแก้ไชกฎอัยการศึก ๕ ครั้ง โดย
        ๑. พระราชกำหนดแก้ไขกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ พุทธศักราช ๒๔๘๕
        ๒. พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๘๓
        ๓. พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๘๓ พุทธศักราช ๒๔๘๘
        ๔. พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๐๒
        ๕. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๓ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕

(๔) ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่อง เลิกใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ (ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง. ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๑)

(๕) ประกาศกองทัพภาคที่ ๔ เรื่อง การใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ ลงวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗

(๖) รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๒๒ บัญญัติไว้ว่า
        “มาตรา ๒๒๒ พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก ตามลักษณะวิธีการตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
        ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก”

(๗) หมายเหตุ ในกรณีที่มีการปฏิวัติแล้ว หัวหน้าคณะปฏิวัติได้ประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกนั้น เป็นเรื่องที่เป็นตามทฤษฎีทางกฎหมายของจอห์น ออสติน ซึ่งเป็นนักกฎหมายอังกฤษ โดยมีความคิดเป็นว่าเมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหาร หรือการยึดอำนาจรัฐแล้ว ถือได้ว่าผู้ที่ยึดอำนาจนั้นเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยสูงสุดของรัฐ จึงมีอำนาจที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกได้

(๘) ความในมาตรา ๑๗ ใช้ว่า “เจ้ากระทรวงซึ่งบังคับทหาร” หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคำว่า “กฎเสนาบดี” หมายถึง กฎกระทรวงในปัจจุบัน ส่วนคำว่า “แม่ทัพใหญ่” ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๐๒ ให้หมายถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 23-06-2007, 13:54 »

กฎหมายดอตคอม     กด Ctrl+F เพื่อค้นหาคำที่ต้องการในหน้านี้   http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/H118/H-118.html
ปรับปรุงเมื่อ 02/17/2003 05:10:48  โดย สนง.กฎหมาย มงคลธรรม486 ถ.อุตรกิจ ต.กระบี่ใหญ่ อ.เมือง จ.กระบี่ โทร.075-612999   

   มาตราที่ 1 2 3 4 5 6 7-7ตรี 8 9 10 11 12 13 14 15-15ทวิ 16 17   
   
:: พ.ร.บ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457  

:: นามพระราชบัญญัติ มาตรา 1
 :: ใช้พระราชบัญญัติ ที่ใดเมื่อใดต้องประกาศ มาตรา 2
 :: ลักษณะประกาศ มาตรา 3
 :: ผู้มีอำนาจใช้กฎอัยการศึก มาตรา 4
 :: เมื่อเลิกต้องประกาศ มาตรา 5
 :: อำนาจทหาร เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก มาตรา 6
 :: อำนาจศาลทหาร และอำนาจศาลพลเรือน เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก มาตรา 7-7ตรี
 :: เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารมีอำนาจ มาตรา 8
 :: การตรวจค้น มาตรา 9
 :: การเกณฑ์ มาตรา 10
 :: การห้าม มาตรา 11
 :: การยึด มาตรา 12
 :: การเข้าอาศัย มาตรา 13
 :: การทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ มาตรา 14
 :: การขับไล่ มาตรา 15-15ทวิ
 :: ร้องขอค่าเสียหาย หรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้ มาตรา 16
:: มอบอำนาจให้เจ้ากระทรวง มาตรา 17
 
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 23-06-2007, 19:42 »

การประกาศภาวะฉุกเฉิน หรือ ประกาศกฎอัยการศึก ในกทม. ย่อมไม่ใช่ของดีนักในสายตาต่างชาติ

ผมเข้าใจว่า นี่อาจเป็นอีกมาตรการ ที่ คมช. เตรียมไว้รองรับสถานการณ์ม้อบต่าง ๆ

ในสถานการณ์มีม้อบเช่นนี้ กลับทำให้การออกกฎหมายเผด็จการมีความจำเป็นมากขึ้น

น่าเสียดายจริง ๆ ไม่น่าเล้ย...


ที่สำคัญ กฎหมายความมั่นคงภายใน เป็นกฎหมายที่ประเทศยุโรป อเมริกา ต่างก็มีเหมือนกันทั้งสิ้น

ผมคิดว่าการใช้ชื่อแบบนี้ ย่อมไม่ทำให้ต่างชาติแอะปากอะไรได้

เพราะในประเทศของเค้า หากต้องปราบม้อบที่เจรจากันไม่ได้ หรือม้อบทำผิดกฎหมาย ผมก็เห็นเค้าทำรุนแรงเป็นข่าวเสมอ ๆ

บางประเทศฉุดกระชากลากถู หรือ ใช้ม้า เข้าไปจัดการอีกต่างหาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-06-2007, 19:48 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 24-06-2007, 08:10 »

 

นอกจากเรื่องม็อบ ก็เรื่องแบ่งแยกดินแดนครับ ลึกๆก็มาจากการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ทั้งนั้น

ดังนั้นอำนาจนิยมโดยไร้อุดมการณ์ทางการเมืองที่ดีพอ มักไปไม่รอด..

สังคมไทยควรมุ่งไปสู่ อุตมรัฐ หรือสังคมอุดมปัญญา ดีที่สุด..

เพราะจะหลุดพ้นจากปัญหานานัปการที่คุกคามสังคมโลกอยู่ทุกวันนี้ได้ในสภาพที่ประชาชนและประเทศบอบช้ำน้อยที่สุด มีเสรีภาพและสุขใจมากที่สุด

                                                                                                                                                                                       
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 03-07-2007, 16:56 »


อยากจะเตือนว่า ถ้าหากยังมีภัยก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นได้ในประเทศของเราดังเช่นภัยใต้

การมีพรบ.ความมั่นคงภายใน ก็เป็นสิ่งที่ดีกว่าพรก.การบริหารในภาวะฉุกเฉินฯมากครับ..

เพราะมีการกระจายความรู้เรื่องความมั่นคงสู่หน่วยงานต่างภาครัฐ ขณะที่ผบ.ทบ.ไม่น่าหวั่นเกรงเท่านายกฯพลเรือนที่ไม่เคยถืออาวุธ

อาวุธควรอยู่ในมือของผู้เข้าใจและทราบข้อจำกัดต่างๆของมัน นั่นเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด นอกจากเราจะไม่มีการพกพาหรือใช้อาวุธกันเลยในประเทศนี้

นอกเหนือจากนั้น ผอ.กอรมน.ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการความมั่นคง จะทำอะไรนอกเหนือนโยบายมิได้ คณะกรรมการสามารถปลดได้ตลอดเวลา..ซึ่งหมายถึงปลดจากตำแหน่งผบ.ทบ.ด้วย

หากผบ.ทบ.คิดทำรัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องมีการแต่งตั้งนายกฯและต้องมีประชาชนจำนวนมากสนับสนุน มิฉะนั้นก็อยู่ได้ไม่นานแน่นอน หากหลุดจากอำนาจในลักษณะดังกล่าว

ก็แน่นอนต้องมีอันตรายต่อตนเองและครอบครัวตลอดจนผู้ร่วมก่อการอย่างมาก อำนาจสั่งการจริงแล้วกฏหมายและอาวุธ ยังไม่สำคัญเท่ากับความชอบธรรม..

รอดูกรณี ของบุชที่บุกอิรักได้ เขาและรีพลับลิกันจะต้องมีปัญหาค่อนข้างแน่นอนหลังจากพ้นวาระการดำรงค์ตำแหน่ง..


สรุปคือ ผมไม่เห็นความน่ากลัวในภาพรวมต่อมวลชนครับ รัฐธรรมนูญได้คุ้มครองประชาชนและสิทธิของประชาชนสุจริตอยู่แล้ว และยังมีกฏหมายที่คุ้มครองผู้สุจริตมากมาย

หากกฏหมายลงโทษผู้ก่อการร้ายไม่ได้ ก็ไม่ได้คุ้มครองผู้สุจริต ในทางกลับกันเป็นการคุ้มครองผู้ก่อการร้ายที่ไม่มีทางกลับใจให้มีโอกาสสร้างความรุนแรงเสียหายได้ต่อไปเรื่อยๆ

ลำพังเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยทั้งตำรวจและทหาร ไม่มีความสามารถจะปราบได้ หากไม่มีมันสมองที่ดี กฎหมายที่อำนวยและประชาชนร่วมมือด้วย..



แต่อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งผบ.ทบ. เป็นอำนาจเสนอทูลเกล้าของนายกฯอยู่แล้วครับ..ดังนั้นการคานอำนาจกันเองภายในนั้นดีกว่าพรก.ฉุกเฉินและกฎอัยการศึกแน่นอน

ที่เอ็นจีโอไม่ชอบ เพราะทำให้ปลุกระดมคนเรียกร้องอะไรบ้าๆบอๆหรือก่อความวุ่นวายยากสักหน่อย ทำให้สร้างผลงาน สร้างอิทธิพลรับเงินสนับสนุนต่างๆโดยเฉพาะจากผู้ไม่ประสงค์ดียากกว่าเดิม

สื่งที่ทหารต้องทำคือ คัดคนและเข้มงวดลงโทษกับผู้ที่ถืออาวุธได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ให้ใช้อาวุธโดยลุแก้อำนาจโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะกับประชาชนที่มิใช่ผู้ก่อการร้ายหรือเป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-07-2007, 17:35 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 05-07-2007, 14:07 »


ถึงมีพรบ.ความมั่นคง นายพลทหารระดับผู้บัญชาการกองทัพ ก็ถูกไล่ได้ครับ..

มีคนไม่กลัวลูกปืน ไม่อย่างนั้นผู้ก่อการร้ายคงไม่เต็มเมือง เขากลัวคนทำงานและรู้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสมมากกว่า..

จะประชาธิปไตยหรือคอมมิวนิสต์หรือระบอบการเมืองใดๆก็ตาม..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-07-2007, 14:13 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

sootyod
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 74



« ตอบ #16 เมื่อ: 09-07-2007, 09:10 »

เห็นด้วยว่ามีคว่ามจำเป็น และเห็นด้วยกับเนื้อหา
ไม่เห็นด้วยกับจังหวะเวลา

ไม่รู้จัก เร็ว ช้า หนัก เบา

เรื่องนี้อาจถูกนำไปขยายผลจากพวก ทรท./นปก. ได้นะเนี่ย
บันทึกการเข้า

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 27-07-2007, 02:09 »

ประธาน คมช.ยอมให้นายกฯเป็น ผอ.กอ.รมน.  http://www.nationchannel.com/xnews/index.php?news_id=8412
 
  (จำนวนคนดูข่าวนี้ : 88 คน)

  ข้อเสนอหลากหลายด้าน เกี่ยวกับร่างพรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาราจักร ยังมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเป็นเรื่อง มีข้อเสนอลดทอนอำนาจทหาร ใน กอ.รมน.ซึ่งเรื่องนี้ ประธาน คมช. ไม่ขัดข้อง

[ วันที่ 20 กรกฎาคม 2550 เวลา 13:29:01 น. ] 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 17-10-2007, 03:32 »

ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 16:56:00


รมต.ประจำสำนักนายกฯ เผยครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในแล้ว พร้อมส่ง สนช.พิจารณา อ้างน่าจะผ่านหลังรัฐบาลนี้พ้นวาระแล้ว



ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยระบุว่า ที่ประชุมครม. ผ่านความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในเรียบร้อยแล้ว เพื่อส่งเข้าที่ประชุม สนช.พิจารณาต่อไป


เมื่อถามว่า รัฐบาลพยายามจะผ่านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เพื่อให้นำออกมาใช้ได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ใช่หรือไม่ นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ขณะนี้หมดความรับผิดชอบของรัฐบาลแล้ว จะผ่านหรือไม่คงต้องขึ้นอยู่กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)


ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ขณะนี้ยังมีแรงต้านในประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิของประชาชน นายธีรภัทร์ กล่าวว่า คงไปพิจารณาใน สนช.ได้ ว่ารายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญจะมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไรหรือไม่ รวมถึงจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องไปพิจารณากันใน สนช.


เมื่อถามว่าที่ต้องเร่งออก พ.ร.บ.ดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งหรือไม่ นายธีรภัทร์ กล่าวว่า พ.ร.บ.นี้กว่าจะออกมาได้ ก็คงจะเป็นช่วงที่หมดภารกิจของรัฐบาลนี้ไปแล้ว และความจริงกฎหมายต่างๆ ที่เข้า สนช.ในช่วงนี้ กว่าจะผ่าน 3 วาระได้ คิดว่าน่าจะเป็นช่วงปลายๆรัฐบาล หรือปลายอายุของ สนช.อยู่แล้ว ซึ่งจะได้เป็นกลไกในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลชุดต่อไป


ผู้สื่อข่าวถามว่าประเมินสถานการณ์อย่างไรกับแรงต้าน พ.ร.บ.ดังกล่าว นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนยังมีความเห็นไม่ได้ เพราะยังไม่ทราบว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร เมื่อถามถึงกรณีที่มีการวิจารณ์ พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่าเป็นกฎหมายเผด็จการ หรือ พ.ร.บ.ฮิตเลอร์ ได้มีการปรับแก้ให้เบาบางลงมากน้อยแค่ไหน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ดูจากภาพรวมได้มีการปรับแก้ไขลงมามากทีเดียว ซึ่งตนจำรายละเอียดไม่ได้ทั้งหมด เพราะทำร่างแรกนานหลายเดือนมาแล้ว แต่ก็เห็นว่ามีการปรับปรุงแก้ไขหลายจุด โดยเฉพาะจุดที่สำคัญ คือ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงจากเดิมที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก

ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ

ด้านนายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ... ซึ่ง ครม.ได้เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาแล้ว

จากนี้จะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ในขั้นตอนต่อไป ประเด็นสำคัญคือ ได้มีการตัดอำนาจพิเศษ ที่กำหนดตามร่างเดิมออกทั้งหมด ที่ลงไว้วันที่ 30 ต.ค.2549  เพราะอำนาจพิเศษเหล่านั้น เป็นมาตรการเดียวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการใช้อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ จึงมีการปรับปรุงร่างใหม่ทั้งหมด โดยให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) มีหน้าที่ในการป้องกัน และระวังเหตุเบื้องต้น หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจเต็มที่ในการระงับเหตุ โดยมิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ ของ กอ.รมน.

นายไชยา กล่าวว่า สาระสำคัญในตัวร่าง พรบ.นี้  ที่ครม.เห็นชอบคือ กอ.รมน.ขึ้นตรงอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และให้ กอ.รมน.มีสถานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.รมน. ผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองผู้อำนวยการ และเสนาธิการทหารบก เป็นเลขาธิการและกำหนดให้ กอ.รมน.มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติ  ทั้งนี้ ผอ.รมน. สามารถมอบอำนาจให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการแทนได้  ซึ่งจะมีแม่ทัพภาคนั้นๆ เป็นผู้อำนวยการ กอ.รมน.ภาค

"โดยสรุปจะมีการแยกส่วนออกมา ในเรื่องการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินตัดออกไป และมีนายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.รมน. ผบ.ทบ.เป็นรอง เสนาธิการทหารบกเป็นเลขา  และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 17 หากฝ่าฝืนต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" นายไชยา กล่าว
 

 
 
   

http://www.bangkokbiznews.com/2007/10/16/WW10_WW10_news.php?newsid=192700
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-10-2007, 03:34 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 17-10-2007, 12:59 »



 

ได้เวลายกเครืองฝ่ายความมั่นคงทั้งระบบ..

ท่านที่มีหน้าที่ คงไม่จำเป็นต้องทำเพื่อให้ใครเห็นนะครับ มันเป็นภารกิจหลักที่มีเกียรติในตัวของมันเองอยู่แล้ว

งานใหม่สำคัญกว่างานเดิมอีกครับ ยังมีคนดีๆอีกมากที่ท่านขอความร่วมมือได้..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-10-2007, 13:03 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 18-10-2007, 11:21 »



เรื่องการเลือกตั้งและวัฒนธรรม ก็ถือเป็นงานด้านนความมั่นคง..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 22-10-2007, 20:50 »



สนับสนุนให้ใช้แทนกฎอัยการศึก และการประกาศภาวะฉุกเฉินครับ


แจงสรรพคุณ พ.ร.บ.ความมั่นคง [21 ต.ค. 50 - 04:43] 
http://www.thairath.co.th/news.php?section=politics&content=65333
 
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 20 ต.ค. พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เปิดบ้านพิษณุโลก” ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ถึงกรณีที่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรที่ ครม.เห็นชอบเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. โดย เฉพาะในเรื่องการลิดรอนสิทธิเสรีภาพว่า ในหลักการที่คิดว่าอยากจะเสนอให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบคือจะเป็นแนวความคิดอันใหม่ คล้ายๆกับแนวความคิดทางการแพทย์ที่จะพูดกันว่าควรป้องกันก่อนที่จะรักษาดีไหม จะสร้างภูมิคุ้มกันก่อนดีไหม เหมือนกับโรคไข้หวัดนก ควรจะมีมาตรการป้องกันก่อนดีไหม ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือแนวทางที่จะดูแลในเรื่องของความมั่นคงตั้งแต่ในยามปกติคือในเชิงป้องกันนั่นเอง เราออกกฎหมายมาไม่ได้หมายความว่าจะไปจำกัดสิทธิของผู้คนอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ เราจะทำก็ต่อเมื่อมันจำเป็น เหมือนกับในร่างกายของคนเราซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ เป็นแต่ว่าเขาจะแสดง ออกมาตอนไหน  ถ้าเรามีภูมิคุ้มกันไปควบคุมเชื้อโรค ซึ่งมีอยู่ในร่างกายของเราไม่ให้แสดงฤทธิ์ได้ แต่ถ้าภูมิ คุ้มกันเราอ่อนลงเมื่อไร  สิ่งเหล่านี้จะแสดงออกมา ลักษณะจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่หมายความว่าทั้งตัวของเราจะต้องนำยานี้ไปใช้ในทุกๆส่วน  คงไม่ใช่ 

ชี้อารยประเทศก็มีเพื่อป้องกัน

พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า จะพูดกันได้ว่าเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ความรุนแรงของภัยคุกคามเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร จะมีการพิจารณาเป็นขั้นเป็นตอน แล้วก็ใช้มาตรการ คือพูดง่ายๆว่าใช้ยาให้เหมาะกับโรคที่เกิดขึ้น นั่นเป็นส่วนที่จะทำให้การทำงานของเราเป็นไปได้ จะเป็นความต่อเนื่อง มีมาตรการที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีมาตรการด้วยนั้น จะเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างจะครอบคลุม แต่เดิมเราจะมีกฎหมายที่มีลักษณะที่ว่าจะดำเนินการต่อเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว จะไม่มีการป้องกัน อันนั้นจะเป็นส่วนที่มีความแตกต่าง กฎหมายในลักษณะอย่างนี้มีในหลายๆประเทศ ประเทศที่เจริญแล้วเขาก็มี สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนีฝรั่งเศส ทุกๆประเทศมีในลักษณะใกล้เคียงกันทั้งหมด อันนี้อยู่ที่ว่าเราจะพิจารณากันอย่างไร ตนมีความเห็นว่าในบ้านเมืองของเราไม่ค่อยจะใช้กฎหมายมาบังคับอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอะไรก็แล้วแต่ การบังคับใช้มักจะไม่เต็มที่ ถึงเวลาใช้จริงๆ ก็ใช้แบบนุ่มนวล ใช้ แบบเห็นอกเห็นใจกัน ไม่ได้ใช้เต็มที่ด้วยความรุนแรง เหมือนอย่างในประเทศอื่นๆ นี่เป็นส่วนที่เห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะของคนไทยมีความแตกต่างตรงนี้

ตปท.ยอมรับใช้แทนกฎอัยการศึก

เมื่อถามว่า แต่ว่ายังมีนักวิชาการหรือว่า สนช. บางคนยังเป็นกังวลว่าจริงๆแล้วคงต้องขึ้นอยู่กับคนใช้ด้วยหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ตอบว่า “ใช่ครับ” เมื่อถามว่า มีการกลัวว่าถ้าอำนาจพิเศษนี้ไปอยู่กับคนใช้ แล้วมีกรอบของกฎหมายร่างเอาไว้อย่างหลายๆ ข้อที่บอกว่ามีอำนาจสั่งให้ยุติการชุมนุมได้หรือว่าการอยู่ในเคหสถานได้หรือไม่ โดยที่ไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน นายกฯ มองว่ายังคงมีรายละเอียดแบบนี้เอาไว้ดีไหม หรือว่าจะรัดกุมเข้มงวดเกินไปหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ตอบว่า จะมีกฎหมายอื่นที่จะเข้ามาเพิ่มเติม ยกตัวอย่างว่าเมื่อมี พ.ร.บ.ความมั่นคงนี้ออกมาแล้ว ถ้าจะใช้ในส่วนของพระราชกฤษฎีกาที่จะประกาศภาวะฉุกเฉินก็สามารถจะทำได้ จะกำหนดห้วงเวลาอะไรต่ออะไรต่างๆได้ สิ่งที่ดีอันหนึ่งคือว่าเราไม่ต้องประกาศกฎอัยการศึกโดยเฉพาะพื้นที่ที่บริเวณชายแดน ซึ่งยังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ยาเสพติด การลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมายการค้ามนุษย์อะไรต่างๆ ไม่อย่างนั้นจะเป็นเรื่องที่จะมีโอกาสเกิดปัญหามากขึ้น เพราะว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศอาเซียนจะไปมาหาสู่กันมากขึ้น ถ้าเราไม่มีวิธีการที่จะดูแลในเรื่องการไปมาหาสู่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ก็จะมีพวกที่ลักลอบเข้า-ออกมากขึ้น สุดท้ายที่คิดว่าน่าจะเป็นประเด็นสำคัญคือเรื่องของการประกาศใช้กฎอัยการศึก เวลาพูดไปประชาคมโลกก็บอกว่าเราล้าหลังถ้าไม่มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาเราจะใช้อะไร ดังนั้น ก็ควรจะมีกฎหมายใหม่ซึ่งอ่อนกว่ากฎอัยการศึก แล้วก็ให้อำนาจที่จะดำเนินการตั้งแต่ในช่วงของการป้องกันไว้ด้วย 

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-10-2007, 20:53 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 07-11-2007, 05:21 »



อ่านข้ออ้างของผู้ที่เปิดประเด็นคัดค้านแล้ว

ไม่มีน้ำหนักมากพอ โดยเฉพาะ สังคมศรีธนญชัย ที่

คนพูดไม่ได้รับผิดชอบหน้าที่ด้านความมั่นคงโดยตรง โดยเฉพาะพวกหากินกับวิชาหัวโบราณ

ส่วนคนฟันดำ หมดอำนาจและความน่าเชื่อถือแล้ว

สนับสนุนให้ใช้กฎหมายนี้ป้องกันการก่อการร้ายภายในภายนอกเท่านั้น และใช้แทนกฎอัยการศึกและการประกาศภาวะฉุกเฉินครับ

เมืองไทยต้องหาทางวิวัฒน์วัฒนธรรมทางการเมืองก่อนที่จะสายเกินไป

75 ปีที่ผ่านมา เป็นเครื่องตอกย้ำความผิดพลาดของนักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์ไทย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 07-11-2007, 13:21 »




พรบ.นี้ควรใช้จัดการกับ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนนอกแถว

ที่เห็นแก่พวกพ้องมากกว่า สังคมไทยทั้งสังคม แขนขาของนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวชั้นเลว
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 09-11-2007, 00:13 »



พรบ.นี้ควรใช้จัดการกับ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนนอกแถว

ที่เห็นแก่พวกพ้องมากกว่า สังคมไทยทั้งสังคม แขนขาของนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวชั้นเลว


อย่าใช้กับประชาชนทั่วไปเป็นอันขาดนะครับ บ้านเมืองจะล่มสลาย..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 09-11-2007, 05:14 »

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2550 01:36 น.
 
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000132941

ผบ.ทบ.ยืนยันกฎหมายความมั่นคงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร ก็จะยอมรับคำตัดสินใจของ สนช. ขณะเดียวกันทหารที่ไปเกาะติดในพื้นที่ก็จะอยู่จนถึงช่วงเลือกตั้งเท่านั้น
       
       พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ในฐานะ ผอ.รมน. กล่าวภายหลังการประชุมและแถลงผลงานในรอบ 1 ปี ของ กอ.รมน. ที่สโมสรทหารบกวิภาวดีรังสิตว่า ต่อจากนี้ไปก็จะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การทำงานบางอย่าง เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       ส่วนเรื่องพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น พล.อ.อนุพงษ์ บอกว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีกฎหมายดังกล่าวก็ทำให้การทำงานภายในกองทัพสะดุด เพราะว่ากฎอัยการศึก และ พรก.ฉุกเฉินไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคม ส่วนกรณีที่อาจจะมีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลและ สนช.ชุดนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงไม่มีสิทธิ์พิจารณากฎหมายฉบับนี้ ก็เป็นสิ่งที่สามารถตีความกันได้ แต่อยากให้ตระหนักถึงภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น
       
       พล.อ.อนุพงษ์ ยืนยันด้วยว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงกฎหมายที่ทำให้ทหารสามารถทำงานได้มากขึ้น ไม่ได้ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนแต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น หากกฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบของ สนช. แต่ทางกองทัพก็พร้อมที่จะยอมรับการพิจารณาของ สนช. เนื่องจากเป็นกระบวนการทำงานของสังคมที่จะต้องเป็นไปตามขั้นตอน อย่างไรก็ตามยังยืนยันว่าการส่งทหารเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อจบการเลือกตั้งแล้ว และทหารก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแน่นอน
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 09-11-2007, 05:16 »

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 พฤศจิกายน 2550 17:22 น.

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000132796


ที่ประชุม สนช.ค้านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ชี้ชัดละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่แพ้กฎอัยการศึก พร้อมเสนอให้ถอนร่าง ด้าน “ประสงค์” ตำหนิ ครม.ขิงแก่ ไม่ให้ความสำคัญการอภิปราย สนช.ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่ ขณะที่ “สำราญ” ยื่นใบลาออก เพื่อเบนเข็มสู่สนามเลือกตั้งในสังกัดพรรค ปชป.แล้ว
       
       วันนี้ (8 พ.ย.)การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช. )วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรพ.ศ....ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นผู้เสนอ มีนาย มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสนช.เป็นประธานการประชุม โดยนาย มีชัย แจ้งว่า สำหรับร่างพ.ร.บ.นี้ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอความเห็นมาคณะกรรมการสิทธิฯได้แจ้งเพิ่มเติมว่า เข้าใจผิดในสาระสำคัญของร่าง เพราะใช้การวิเคราะห์จากร่างของสภาความมั่นคง ไม่ใช่ใช้ร่างที่เข้าสภา ฉะนั้นจึงไม่ขอนำมาเป็นความเห็นประกอบการพิจารณา
       
       ทั้งนี้นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหลักการและเหตุผลว่า ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรงรวดเร็วสามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และสลับซับซ้อน จนอาจกระทบเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต เป็นภัยอันตรายความสงบสุขประชาชน ฉะนั้นเพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมรักษาความมั่นคง เสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน ทั้งในยามปกติ และยามมีสถานการณ์ กำหนดให้มีการควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ จะได้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       นายธีรภัทร์กล่าวว่า รัฐบาลได้แก้ไขร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้หลายครั้ง เพราะกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ปัจจุบันการก่อการร้ายหรือภัยคุกคามได้พัฒนาไปมาก ทั้งอาชญากรรมข้ามชาติ ภัยคุกคามที่ทังคาดการณ์ได้และไม่ได้ การแพร่ระบาดของโรค ภัยธรรมชาติ ภัยที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ หรือการแตกความสามัคคีของคนในชาติ ดังนั้นแนวทางการป้องกันก่อนมีภัยจึงสำคัญ แต่โครงสร้างการจัดการปัญหาของรัฐบาลที่มีอยู่ มีปัญหาค่อนข้างมาก มีการทับซ้อนในอำนาจและหน้าที่ระหว่างหน่วยงานผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะกอ.รมน.ยังมีปัญหาในเรื่องอำนาจทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ที่ผ่านมาประเทศต้องตกอยู่ในภาวะคับขันจนต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน การตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาก็ไม่ได้รับมอบอำนาจทำให้ผู้ปฏิบัติต้องหาช่องทางทำงานด้วยตนเอง บางครั้งก็เกิดปัญหาเพราะไม่มีกฎหมายรองรับ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในเชิงป้องกัน ก่อนที่สถานการณ์จะขยายตัวไปถึงขั้นพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพ.ร.บ.กฎอัยการศึก
       
       กฎหมายฉบับนี้เป็นการบูรณาการประสานทุกส่วนราชการได้ เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคง ให้ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม มีหลักประกันเพื่อป้องกันประชาชนผู้สุจริตที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้ได้รับการชดเชยและเยียวยา หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้สามารถยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังมีอยู่ในบางพื้นที่ บางอำเภอได้ทันที ทั้งนี้ยังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนใน กทม เชียงใหม่และขอนแก่น รวมถึงเวทีจากนักวิชาการ จนได้ข้อสรุปนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องการลิดรอนสิทธิให้ทำเฉพาะที่จำเป็น และต้องใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เปิดให้ผู้แทนจากฝ่ายการเมืองที่เป็นตัวแทนประชาชนมากำกับดูแล เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นคงกับการให้สิทธิเสรีภาพประชาชน เพื่อให้การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่มีความเหมาะสม และก่อนส่งให้สนช.พิจารณาได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาและครม.แล้ว และคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญัติแห่งชาติ(ปนช.) ก็เสนอให้แก้ไขหลายประเด็น เช่น ตัดทิ้งเรื่องการห้ามชุมนุม การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม การกำหนดให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นรองผอ.รมน. และให้เสนาธิการทหาร เป็นเลขาธิการกอ.รมน. แทนเสธ.ทบ.
       
       ต่อมาสมาชิกได้อภิรายฯกันอย่างกว้างขวาง โดยฝ่ายคัดค้านได้อภิปรายฯให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับร่างดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ อาทิ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. อภิปรายว่า น่าเสียใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องความมั่นคง ในระดับนโยบายโดยเฉพาะกระทรวงกลาโหม มหาดไทย การต่างประเทศ ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในและภายนอกประเทศ ไม่ได้มาฟังความเห็นของสภา ทั้งที่มาขออำนาจจากสภาเพื่อจะเอากฎหมายนี้ไปใช้ เรื่องการรักษาความมั่นคงต้องคำนึงถึงเนื้อหาวิธีการที่จะนำมาปฏิบัติว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมือง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญ และกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งที่มีอยู่ การกระทำต่างๆที่เป็นภัยต่อราชอาณาจักร หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งบ้านเมืองมี
       
       น.ต.ประสงค์ กล่าวต่อว่า ถ้าไม่คำนึงเนื้อหา แล้วออกกฎหมายบังคับประชาชน ผลที่เกิดขึ้นจะร้ายแรงไม่แพ้กฎอัยการศึก หรือพ.ร..ก.ภาวะฉุกเฉิน ที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทบต่อสิทธิเสีรีภาพ ความเสมอภาค รัฐบาลมุ่งออกกฎหมายรักษาความมั่นคง ทั้งที่มีกฎหมายอยู่แล้วแต่ปฏิบัติไม่ได้ เช่น กฎหมายรักษาป่า แต่ก็มีการบุกรุกป่สงวน เจ้าหน้าที่มีความสำคัญที่สุดในการใช้กฎหมาย ต้องมุ่งประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สนช.ชุดนี้ มีหน้าที่ในการทำงานชัดเจนของแต่ละฝ่าย แม้ว่าจะมาจากผลผลิตการรัฐประหาร ก็ต้องรักษาผลประโยชน์ประชาชน อย่าฉวยโอกาสเอาอำนาจไปใช้โดยไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ตนทำหน้าที่สนช.ในการสร้างหลักนิติธรรมให้ถูกต้อง เช่นเดียวกับสนช.ทุกคนที่มีหน้าที่อย่างนี้ ความเป็นเพื่อน พี่ น้อง สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องแยกผลประโยชน์ไว้ต่างหากและทำหน้าที่ตามบทบัญญัติรับธรรมนูญ คือทำหน้าที่แทนประชาชน อะไรที่ถูก ผิด เหมาะสม ไม่เหมาะสม เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็น สนช.คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด
       
       “ก่อนหน้านี้มีความพยายามเสนอกฎหมายความมั่นคงมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ได้รับการต่อต้านจนตกไป ผมดูในเนื้อหาของร่างนี้ 15 มาตรา จำลองมาจากกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์ เพียงแต่แตกต่างด้านถ้อยคำเท่านั้น ผมเห็นด้วยที่บ้านเมืองมีความมั่นคงภายใต้กฎหมายที่เป็นธรรม ไม่ใช่ความมั่นคงของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องเป็นความมั่นคงของรัฐ อาณาเขตมีบูรณาภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย ภาคพลเมืองมั่นคงโดยต้องไม่ถูกกระทำจากการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม วันนี้บ้านเมืองมาไกลเกินกว่าจะเลี้ยวซ้าย ขวา ไปหาอำนาจนิยมที่เป็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหยิบฉวยไปใช้ ประเทศมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้หลักประกันกับประชาชนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่พ.ร.บ.ที่รัฐบาลเสนอมา อ่านแล้วเหมือนกับกำลังเซ็นเช็คเปล่าให้ผู้อื่นไปกรอกจำนวนเอาเองตามใจชอบ ลักษณะอย่างนี้” .
       
       น.ต.ประสงค์ได้แจกแจงในมาตราที่เป็นปัญหาว่า การไม่กำหนดสถานการณ์ใดโดยเฉพาะ ยกขึ้นมาลอยๆเท่นั้นว่า อาจจะเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าจะบอกว่าเป็นเรื่องการก่อการร้าย ก็เขียนให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องการปราบปรามการก่อการร้ายอะไร ทั้งนี้ทั้ง 25 มาตรามีหลักการคือ 1.ให้มีกฎหมายรับรองสถานะของกอ.รมน. ซึ่งไม่ผิด แต่เมื่อดูเนื้อหา ใครทำอะไร มากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ต้องดูว่าเหมาะสมหือไม่ ตั้งแต่มาตรา 6 (5) ในส่วของ อำนาจหน้าที่ของกอ.รมน.มีการประกาศใช้ แล้วสามรถเข้าไปสวมแทน ทำงานแทน หรือหน่วยราชการอื่นต้องโอนอำนาจมาให้กอ.รมน. ซึ่ง วิธีการแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ มาตรา 15 (4) สามารถสั่งการให้ย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมกระทบต่อความมั่นคงออกจากพื้นที่ มาตรา 17 ข้อกำหนดต่างๆในการรักษาความมั่นคง เช่น การห้ามออกจากเคหะสถานยามค่ำคืน การประกาศเคอร์ฟิว ก็มีในกฎอัยการศึกอยู่แล้ว มาตรา 18 ให้อำนาจเบ็ดเสร็จในการสอบสวน ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 21 ประกาศ คำสั่ง ตามกฎหมายนี้ไม่อยู่ภายใต้วิธีพิจารณาคดีปกครอง ศาลปกครอง ซึ่งเป็นการอยู่เหนือกฎหมาย มาตรา 22 เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง อาญา วินัย หากทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าทำตามกฎหมาย
       
       “เหล่านี้เป็นการทำลายหลักการสิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษยสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคทางกฎหมาย และยังไม่สามารถตรวจสอบการดำเนินการได้ คือไม่มีการคานอำนาจและดุลอำนาจ เรามาไกลเกินกว่าจะหันซ้ายขวาแล้ว และมีกฎหมายอาญา แพ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว จะให้มีกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้กอ.รมน.เข้ามา ออกกฎอะไรก็ได้ หรือห้ามอะไรก็ได้ ขอฝากไปยังรัฐบาลด้วย ว่า แม้แต่หลักการก็ยังไม่สมควรที่จะรับ และขอสรุปว่า ขณะนี้สังคมไทยกังวลใจในปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันนอกเหนือจาก 3 จังหวัด ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความแตกแยกของในสังคม ซึ่งแทนที่รัฐบาลจะหันมาเอาใจใส่ กลับเสนอขออำนาจ ซึ่งถ้าถ่วงกันเหมาะสมก็น่าจะมีให้ แต่สิ่งต่างๆมีอยู่แล้ว ไม่จำเป็น หรือถ้าจำเป็นต้องแก้กฎหมายแพ่ง อาญา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือจะออกพ.ร.บ.รับรองให้กอ.รมน.มีสถานะทางกฎหมาย ตนก็เห็นด้วย แต่บทบาทหน้าที่ที่เสนอตามกฎหมายนี้ตนไม่เห็นด้วย มีคำกล่าวของอดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งว่า ข้าราชการและประชาชนไม่ได้เกรงเราเพราะเราเข้มงวด กวดขัน แต่เกรงเราเพราะสุจริต ประชาชนไว้ใจเราไม่ใช่เพราะเรามีความสามรรถ แต่ไว้ใจเราเพราะเรามีความยุติธรรม ความสุจริตทำให้เรากระจ่าง ความยุติธรรมทำให้เรามีอำนาจ ก็ขอฝากให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจด้วย”
       
       ด้านนาย โคทม อารียา สนช.และประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อภิปรายว่า การปรับแก้ร่างฯหลายครั้งมาจนเข้าสภา แสดงถึงความใจกว้างของฝ่ายทหาร ครม. วิปรัฐบาล ที่ยอมรับหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ยอมรับหลักการการมีส่วนร่วม และตัดเรื่องการลิดรอนสิทธิออกไปหลายเรื่อง แต่ก็ยังมีส่วนเสียหลายอย่างที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ และยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายที่ซ้ำซ้อนกับของเดิมที่มีอยู่ หากรัฐมนตรีจะนำร่างกลับไปก่อนก็จะเป็นความสง่างาม และควรจะมีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง และสังคายนากฎหมายจำเป็นที่เกี่ยวข้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายก็ควรจะทำการพิจารณาเรื่องนี้เป็นการสำคัญ
       
       ขณะที่ นางบัญญัติ ทัศนียเวช สนช. สายสื่อมวลชน กล่าวว่า กฎหมายนี้ไม่น่านำมาบังคับใช้ในช่วงที่บ้านเมืองเรากำลังก้าวพ้นการถูกครหาตราหน้าว่าเผด็จการ และพึ่งใช้รัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่ามีการให้สิทธิเสรีภาพมากที่สุด แต่กฎหมายนี้จะทำลายบรรยากาศการใช้สิทธิเสรีภาพอย่างสิ้นเชิง แสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของรัฐบาลในการต้องการให้มีอำนาจอยู่ในมือต่อไปดังนั้นตนจึงรับร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้
       
       นายสุรพล นิติไกรพจน์ สนช. กล่าวว่า ตนเห็นความจำเป็นว่าประเทศต้องมีกฎหมายเพื่อความมั่นคง แต่ไม่ใช่วันนี้เราไม่มี เรามีอยู่แล้วสองฉบับ และแน่นอนว่าเราต้องมีการเขียนกฎหมายให้อำนาจศอ.บต.และให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำงานตามแนวชายแดน แต่ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจมากที่เป็นอยู่ขณะนี้ ถ้ากฎหมายนี้ออกมาอย่างนี้ คือเช็คที่ไม่กรอกวันที่ จำนวนเงิน เว้นแต่ลายเซ็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ขอให้สนช.พิจารณาใคร่ครวญก่อนที่จะรับหลักการ
       
       อย่างไรก็ตามสมาชิกในฝ่ายที่สนับสนุนเห็นควรสภามอบอำนาจให้กับเจ้าหน้าในการรักษาความสงบความมั่นคง อาทิ พล.อ. โชคชัย หงส์ทอง สนช. อภิปรายว่า ฉะนั้นความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ในอดีตประเทศมีพ.ร.บ.ป้องกันคอมมิวนิสต์ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และพ.ร.บ.ผู้อำนวยความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทำให้เจ้าหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปราบปรามตอบโต้เหตุการณ์ต่างๆสงบลงได้ แต่ก็เป็นยาแรงไม่เหมาะกับสถานการณ์ จึงเป็นที่มาของกฎหมายฉบับนี้ เป็นยาเบาหน่อยและทุกฝ่ายยอมรับได้ เอาไปแทนกฎอัยการศึกและพ.ร.ก.ภาวะฉุกเฉินที่ประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิก
       
       ทั้งนี้ฝ่ายทหารปรารถนา มุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนเป็นสุขและสงบสุข ไม่ได้ต้องการแสวงหาอำนาจอันใด เพียงแต่ต้องการเครื่องมือปฏิบัติภารกิจตามที่ประชาชนมอบอำนาจไว้ให้ทหารในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้เรื่องสิทธิเสรีภาพ ทหารตระหนัก และต้องการปกป้องคุ้มครองคนส่วนใหญ่ไม่ให้คนกลุ่มน้อยมาละเมิดสิทธิ์ กรณีนี้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์ คนไม่ดีเท่านั้นที่จะลำบาก
       
       “ความมั่นคงเปรียบเหมือนอ๊อกซิเจนหายใจ ถ้าไม่มีถึงจะรู้สึก และจะไปซื้อหาก็ไม่ทัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ ตัดเรื่องละเมิดสิทธิ์ออกเยอะแล้ว แต่ยอมรับว่ามีอยู่บ้าง แต่เพื่อความสงบสุข ประชาชนก็ต้องยอมรับการตัดสิทธิ์บ้าง และกฎหมายก็มีข้อยกเว้น ในชั้นกรรมาธิการ ก็ยังมีการพิจารณาปรับแก้ไข ข้อโต้แย้งที่ไม่ดี ก็ไปว่ากัน เชื่อว่าคงไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดจะออกกฎหมายมาเพื่อให้ประชาชนเกลียด”
       
       นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ สนช.และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด อภิปรายว่า ขอสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้เพราะประเทศไทยประสบปัญหาสถานการณ์ความมั่นคง ซึ่งหลายประเทศที่เจอปัญหาแบบนี้ก็มีกฎหมายลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อดูหลักการแล้วก็เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากประชาชนเป็นผอ.รมน.และการตัดสินใจใดๆก็มาจากมติครม. รวมถึงมีการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีกอ.รมน.ภาค ที่มีประชาชนเป็นที่ปรึกษาจำนวนมากพอสมควร หลักการพวกนี้จึงสะท้อนว่ากฎหมายไม่ต้องการละเมิดสิทธิ์ประชาชน และยังมีหลักการป้องกันผู้ใช้อำนาจ ใช้อำนาจเกิน รัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้แล้วว่าประชาชนสามารถฟ้องศาลได้ ซึ่งข้อดีของกฎหมายนี้เพื่อให้ฝ่ายความมั่นคงมีเครื่องมือการดูแลความมั่นคงได้ทันท่วงที เพราะมีการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ดูแลความมั่นคงอย่างเป็นจริงเป็นจัง และมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายสำราญ รอดเพชร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิก สนช.ต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานฯ เพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขต 7 กทม.ย่านมีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง และบางกะปิ ทั้งนี้ จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (9 พ.ย.)

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 12-11-2007, 22:20 »

เพื่อความสมบูรณ์ของกระทู้ครับ ได้เอารายชื่อมาลงไว้ด้วยแล้ว

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10213&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

เห็นด้วย

นายกงกฤช หิรัญกิจ
นายกระจ่าง จารุพฤกษ์พันธ์

นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล
พลอากาศโทเกรียงเดช เจียจันทร์พงษ์

นายการุณ กิตติสถาพร
นายกำ​ธร​ ​อุดมฤทธิรุจ

หม่อมราชวงศ์กำ​ลูนเทพ​ ​เทวกุล

นาย​กิตติ​ ​ลิ้มชัยกิจ

พลตรี​คณิต​ ​สาพิทักษ์
พลตรีจำ​ลอง​ ​ศรี​เมือง

ว่าที่ร้อยเอก​ ​จิตร์​ ​ศิรธรานนท์
พลเอก​จิรเดช​ ​คชรัตน์
พลเอก​จิรพงศ์​ ​วรรณรัตน์

นาย​จุฑาธวัช​ ​อินทรสุขศรี
พลโท​​จิตติพงศ์​ ​สุวรรณเศรษฐ

คุณหญิงชฎา​ ​วัฒนศิริธรรม
นาย​ชนะศักดิ์​ ​ยุวบูรณ์

นาย​ชลิต​ ​แก้วจินดา
นาง​​ชวนพิศ​ ​ฉายเหมือนวงศ์

พลเอก​ชัยพัฒน์​ ​ธีรธำ​รง
นาย​ชาญชัย​ ​สุนทรมัฏฐ์

นาย​เชนทร์​ ​วิพัฒน์บวรวงศ์
พลเอก​โชคชัย​ ​หงส์ทอง
พลตรี​​ดาว์พงษ์​ ​รัตนสุวรรณ

นาย​​ทรงพล​ ​ทิมาศาสตร์ 

พลเอก​ธวัช​ ​จารุกลัส
นาย​ธีรพจน์​ ​จรูญศรี
คุณหญิง​ ​นันทกา​ ​สุประภาตะนันทน์

นาย​บดินทร์​ ​อัศวาณิชย์ 

นาย​บวรศักดิ์​ ​อุวรรณโณ

พลโท​​บรรเทิง​ ​พูนขำ

พลตำ​รวจเอก​​บุญศรี​ ​หุ่นสวัสดิ์

พลตำ​รวจเอก​​ปทีป​ ​ตันประ​เสริฐ

นาย​ประกิจ​ ​ประจนปัจจนึก
พลเรือเอก​​ประ​เจตน์​ ​ศิริ​เดช
นาย​​ประ​เจิด​ ​สุขแก้ว 

นาย​ประภัทร์​ ​ศรลัมพ์

พลตรี​​ประพาศ​ ​ศกุนตนาค

นาย​​ประยงค์​ ​รณรงค์

พลโท​​ประยุทธ์​ ​จันทร์​โอชา

พลเอก​​ประวิตร​ ​วงษ์สุวรรณ 

พลเรือเอก​​ประ​เสริฐ​ ​บุญทรง   
​นาย​ปรีชา​ ​วัชราภัย
พลเอก​ปรีชา​ ​เปรมาสวัสดิ์

พลเอก​​ปรีดี​ ​สามิภักดิ์

ท่าน​ผู้​หญิงปรียา​ ​เกษมสันต์​ ​ณ​ ​อยุธยา

พลอากาศเอก​​ปัญญา​ ​ศรีสุวรรณ

พลตำ​รวจเอก​ ​พัชรวาท​ ​วงษ์สุวรรณ

นาย​พรชัย​ ​รุจิประภา
นาย​​พรเพชร​ ​วิชิตชลชัย
นาย​​พรสิทธิ์​ ​ศรีอรทัยกุล 

พลเอก​​ชูศิลป์​ ​คุณา​ไทย

พลเอก​​เพิ่มศักดิ์​ ​พวงสา​โรจน์

พลเอก​​ไพศาล​ ​กตัญญู

พลอากาศเอก​​ไพศาล​ ​สีตบุตร

นาย​ภรา​เดช​ ​พยัฆวิ​เชียร
ร้อยโท​​ภูมิศักดิ์​ ​หงษ์หยก
พลเอก​​มนตรี​ ​สังขทรัพย์

นาง​มาณี​ ​ไชยธีรานุวัฒศิริ 

พลเอก​วรเดช​ ​ภูมิจิตร

นาย​วรัชย์​ ​ชวพงศ์

พลเรือเอก​วิชัย​ ​ยุวนางกูร

พลโท​วิ​โรจน์​ ​บัวจรูญ

พลเรือเอก​วีรพล​ ​วรานนท์
พลอากาศเอก​วีรวิท​ ​คงศักดิ์ 

นาย​ศักดิ์ชัย​ ​ธนบุญชัย

นาย​ศักดิ์สิทธิ์​ ​ตรี​เดช

นาย​ศิวะพร​ ​ทรรทรานนท์

พลเอก​สนั่น​ ​มะ​เริงสิทธิ์

พลเอก​สมชาย​ ​อุบลเดชประชารักษ์

นาย​สมพล​ ​พันธุ์มณี

นาย​สมภพ​ ​เจริญกุล
นาย​สมโภชน์​ ​กาญจนาภรณ์

พลตำ​รวจโท​ ​สมศักดิ์​ ​แขวงโสภา

นาย​สังศิต​ ​พิริยะรังสรรค์
นาย​สุจิต​ ​บุญบงการ 

คุณหญิงสุชาดา​ ​กีระนันทน์
พล​.​ร​.​อ.​สุชาต​ ​ญา​โณทัย

พลเอก​สุ​เทพ​ ​สีวะรา

นาง​สุนันทา​ ​สมบุญธรรม

นาย​​สุพัทธ์​ ​พู่ผกา
นาย​​สุรชัย​ ​ภู่ประ​เสริฐ

พลเอก​​สุรพล​ ​ชินะจิตร

นาง​สุรางค์​ ​เปรมปรีดิ์

พลเอก​​สุรินทร์​ ​พิกุลทอง

นาย​สุวรรณ​ ​หันไชยุงวา

นาย​เสฐียรพงษ์​ ​วรรณปก
นาย​เสถียร​ ​เศรษฐสิทธิ์

พลเอก​โสภณ​ ​ศีลพิพัฒน์ 

พลเอก​องค์กร​ ​ทองประสม

นาย​อดิศักดิ์​ ​ศรีสรรพกิจ
นาย​อภิชาติ​ ​จีระพันธุ์
นาย​อัศวิน​ ​ชินกำ​ธรวงศ์
พลเอก​อาทร​ ​โลหิตกุล

พลเอก​อาภรณ์​ ​กุลพงษ์

พลเอก​อู้ด​ ​เบื้องบน

นายชัยสวัสดิ์​ ​กิตติพรไพบูลย์

นายบรรพต​ ​หงษ์ทอง

นายพงศ์​โพยม​ ​วาศภูติ

พลเอก​วุฒิชัย​ ​พรพิบูลย์

นายสมัคร​ ​เชาวภานันท์

 

 

ไม่เห็นด้วย

นาย​โคทม​ ​อารียา
พลโท​เจริญศักดิ์​ ​เที่ยงธรรม

พลตำ​รวจโท​ ​ชัยยันต์​ ​มะกล่ำ​ทอง
นายดำรงค์ สุมาลยศักดิ์

นาย​ตวง​ ​อันทะ​ไชย

นาง​​เตือนใจ​ ​ดี​เทศน์
นายทวี สุรฤทธิกุล
พลเรือเอก​​บรรณวิทย์​ ​เก่งเรียน

นาง​บัญญัติ​ ​ทัศนียะ​เวช
นาย​​ประพันธ์​ ​คูณมี

นาวาอากาศตรี​ ​ประสงค์​ ​สุ่นศิริ

ร้อยตำ​รวจเอก​ ​ปุระชัย​ ​เปี่ยมสมบูรณ์

นาย​​ภัทระ​ ​คำ​พิทักษ์
นาง​​มุกดา​ ​อินต๊ะสาร
นาย​​วัลลภ​ ​ตังคณานุรักษ์

นาย​​วิริยะ​ ​นามศิริพงศ์พันธุ์
นาย​​สมเกียรติ​ ​อ่อนวิมล
นาย​​สมชาย​ ​แสวงการ

นาย​​สุริชัย​ ​หวันแก้ว

นายโสภณ​ ​สุภาพงษ์

 

 

งดออกเสียง

นาย​​ปีติพงศ์​ ​พึ่งบุญ​ ​ณ​ ​อยุธยา
นาย​วิทย์​ ​รายนานนท์

 

 

ไม่อยู่ลงคะแนน

คุณหญิง​กษมา​ ​วรวรรณ​ ​ณ​ ​อยุธยา
นางสาว​กัญจนา​ ​ศิลปอาชา

นาย​กำ​แหง​ ​ภริตานนท์

นาย​กีรติ​ ​บุญเจือ

นาย​ไกรสร​ ​พรสุธี

นาย​คำ​นูณ​ ​สิทธิสมาน
พลเอก​จรัล​ ​กุลละวณิชย์

นาย​จักรมณฑ์​ ​ผาสุกวนิช

นาย​จักราวุธ​ ​นิตยสุทธิ

นาง​จุรี​ ​วิจิตรวาทการ
ร้อยตำ​รวจโท​ ​ฉัตรชัย​ ​บุญยะอนันต์

นาย​ชนินทธ์​ ​โทณวณิก
นาย​ชบ​ ​ยอดแก้ว

นาย​ชัชวาล​ ​อภิบาลศรี

นาย​ชัยอนันต์​ ​สมุทวณิช
นาย​ชาติศิริ​ ​โสภณพนิช
พลอากาศเอก​ ​ชาลี​ ​จันทร์​เรือง

นาย​ไชย​ ​ไชยวรรณ
นาย​ณรงค์​ ​โชควัฒนา

นาย​ณรงค์ชัย​ ​อัครเศรณี

พลอากาศเอก​ ​ณรงค์ศักดิ์​ ​สังขพงศ์
นายดิลก มหาดำรงค์กุล

นาย​แถมสิน​ ​รัตนพันธุ์

นาย​ทศพร​ ​ศิริสัมพันธ์
พลอากาศเอก​ธเรศ​ ​ปุณศรี

พลเรือเอก​นคร​ ​อรัณยะนาค
พลเรือเอก​​นพพร​ ​อาชวาคม

ร้อยตำ​รวจเอก​​นิติภูมิ​ ​นวรัตน์
นาย​บุญสม​ ​ศิริบำ​รุงสุข
พลเอก​ปฐมพงษ์​ ​เกษรศุกร์
นาย​ประกอบ​ ​วิ​โรจนกูฏ
นาง​ประทุมพร​ ​วัชรเสถียร
นางประภา​ ​เหตระกูล​ ​ศรีนวลนัด

นาย​ประมนต์​ ​สุธีวงศ์
นาย​ประสาท​ ​สืบค้า
นาย​ประสาร​ ​มาลีนนท์
นาย​ประ​เสริฐ​ ​บุญสัมพันธ์

นาย​ปราชญ์​ ​บุณยวงศ์วิ​โรจน์
นาย​ปรีชา​ ​บัววิรัตน์​เลิศ

พลเอก​ปรีชา​ ​โรจนเสน

พลเอก​ปานเทพ​ ​ภูวนารถนุรักษ์

นาย​พงศ์ศักติฐ์​ ​เสมสันต์

นาย​พงษ์ศักดิ์​ ​อังกสิทธิ์
นางสาว​พจนีย์​ ​ธนวรานิช
นาย​พชร​ ​ยุติธรรมดำ​รง

นาย​พรชัย​ ​มาตังคสมบัติ
คุณ​พรทิพย์​ ​จาละ
พลเรือโท​พะจุณณ์​ ​ตามประทีป

นาย​พิชัย​ ​วาศนาส่ง

นาย​พูลศักดิ์​ ​อยู่​ประ​เสริฐ
พลเอก​ไพโรจน์​ ​พานิชสมัย
นาย​ไพศาล​ ​พืชมงคล
นาง​ภัทรียา​ ​เบญจพลชัย
นาย​ภิรมย์​ ​สิมะ​เสถียร
นาย​มนัส​ ​โกศล

พลตำ​รวจโท​มา​โนช​ ​ศัตรูลี้

นาย​มีชัย​ ​ฤชุพันธุ์

นาย​โยธิน​ ​อนาวิล
นายรองพล​ ​เจริญพันธุ์

พลอากาศเอก​ระ​เด่น​ ​พึ่งพักตร์

นาย​รังสรรค์​ ​แสงสุข
นาย​วรเดช​ ​อมรวรพิพัฒน์

พลตำ​รวจโท​วัชรพล​ ​ประสารราชกิจ
นาย​วัชระ​ ​พรรณเชษฐ์
นาย​วัฒนา​ ​สวรรยาธิปัติ

นาย​วันชัย​ ​ศิริชนะ
พลอากาศเอก​วัลลภ​ ​มีสมศัพย์

นาย​วิทยา​ ​เวชชาชีวะ

นาย​วินัย​ ​สะมะอุน
นาย​วิบูลย์​ ​เข็มเฉลิม
นาย​วิรุณ​ ​ตั้งเจริญ
พลตำ​รวจโท​วิ​โรจน์​ ​จันทรังษี
นาย​วิษณุ​ ​เครืองาม

นาย​วีรพงษ์​ ​รามางกูร
นาย​วีระชัย​ ​ตันติกุล

พลตำ​รวจตรี​วีระพงษ์​ ​สุนทรางกูร
นาย​วุฒิพงษ์​ ​เพรียบจริยวัฒน์
นายวุฒิพันธุ์​ ​วิชัยรัตน์

นาย​แวดือรา​แม​ ​มะมิงจิ

นาย​แวมาฮาดี​ ​แวดา​โอะ

พลเอก​ไวพจน์​ ​ศรีนวล

พลเอก​สมเจตน์​ ​บุญถนอม

นาย​สมชาย​ ​สกุลสุรรัตน์ 

พลเอก​สมทัต​ ​อัตตะนันทน์

นายสมบัติ​ ​ธำ​รงธัญวงศ์
นายสมบัติ​ ​เมทะนี

พลอากาศเอก​สมหมาย​ ​ดาบเพ็ชร

นาย​สมหมาย​ ​ปาริจฉัตต์
นาย​สราวุธ​ ​วัชรพล
นาย​สฤษดิ์ผล​ ​ชมไพศาล
นาย​สันติ​ ​วิลาสศักดานนท์
นาย​สำ​ราญ​ ​รอดเพชร
พลเอก​สุ​เจตน์​ ​วัฒนสุข

นาย​สุชาติ​ ​ไตรประสิทธิ์

นาย​สุชาติ​ ​อุปถัมภ์
นายสุทธิธรรม​ ​จิราธิวัฒน์
พลตำ​รวจเอก​สุ​เทพ​ ​ธรรมรักษ์

นาย​สุธรรม​ ​จิตรานุ​เคราะห์
พลเอก​สุนทร​ ​ขำ​คมกุล
พลตำ​รวจเอก​สุนทร​ ​ซ้ายขวัญ

นาย​สุภัค​ ​ศิวะรักษ์
นาย​สุมนต์​ ​สกลไชย
นายสุ​เมธ​ ​ตันธุวนิตย์
นาย​สุรพล​ ​นิติ​ไกรพจน์
นาย​สุรินทร์​ ​พิศสุวรรณ
พลเรือเอก​สุรินทร์​ ​เริงอารมณ์

นาย​สุวัฒน์​ ​อ้นใจกล้า

พลอากาศเอก​อดิ​เรก​ ​จำ​รัสฤทธิรงค์
พล​.​ต​.​อดุล​ ​อุบล

พลตำ​รวจโท​อดุลย์​ ​แสงสิงแก้ว
นาย​อนุสรณ์​ ​แสงนิ่มนวล
เรืออากาศโท​ ​อภินันทน์​ ​สุมนะ​เศรณี
นางสาว​อรจิต​ ​สิงคาลวณิช

นาย​อรรคพล​ ​สรสุชาติ

นาย​หะยีอับดุลรอซัค​ ​อาลี
นาย​อับดุลเราะ​แม​ ​เจะ​แซ

นาย​อัมมาร์​ ​สยามวาลา
นาย​อัศวิน​ ​คงสิริ
นาย​อำ​พน​ ​กิตติอำ​พน
นาย​อำ​พล​ ​จินดาวัฒนะ
นาย​อิสมาอีลลุตฟี​ ​จะ​ปะกียา
นาย​อิสมา​แอ​ ​อาลี
พลตำ​รวจเอก​อิสระพันธ์​ ​สนิทวงศ์​ ​ณ​ ​อยุธยา
นาง​อุมา​ ​สุคนธมาน

นายวีระศักดิ์​ ​ฟูตระกูล

พลโท​สุจิตร​ ​สิทธิประภา

พลเรือโท​สุวิทย์​ ​ธาระรูป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-11-2007, 22:23 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 01-12-2007, 14:31 »


การก่อการร้าย เริ่มจากการบิดเบือนสาระสำคัญของทุกสิ่ง

เพียงเพื่อที่ความวุ่นวายจะเกิดขึ้น โปรดเอาบทเรียนจากภาคใต้ไว้เป็นอุทาหรณ์


ผมขอแสดงทัศนะว่า กฎหมายฉบับนี้ มีสาระสำคัญที่ดี และต้องผ่านครับ

ทุกฝ่ายทางการเมืองจะได้ประโยชน์หากระบบความมั่นคงแข็งแรง

ผู้ที่เสียผลประโยชน์คือผู้มุ่งหวังจะก่อการร้ายด้วยวิธีการต่างๆเท่านั้น


พวกเขากลัวว่าจะต้องถูกปราบเมื่อมีคนจับกลโกงบิดเบือนได้

คนหน้าด้าน กลัวการบังคับ คนหน้าบางจะกลัวจิตสำนึกของตนเองครับ


อาวุธเถื่อน ทหารและตำรวจแตกแถวคือปัญหา เพราะซ่อนอยู่ใมมุมมืด รอฟังคำสั่งจากนักการเมืองเลวที่เสแสร้งออกมาอยู่ในที่สว่าง

ดังนั้น พรบ.ความมั่นคงจะสามารถคานอำนาจของ เหล่าพวกแตกแถวได้ เพราะเขาม่สามารถอำพรางพฤติกรรมจากการตรวจสอบด้วยวิธีการเดิมๆได้


ดีกว่าการประกาศกฎอัยหารศึกและการประกาศภาวะฉุกเฉินแน่นอนครับ เพราะมันเป็นหน้าที่เฉพาะแม้แต่ศาลยังต้องพึ่งยามถืออาวุธ

พรบ.นี้ ทหารและตำรวจแตกแถว จะกลัวมาก ออกอาการปากกล้าขาสั่น หนะครับ นักการเมืองเลวๆก็กลัว เพราะกลัวการตรวจสอบอิทธิพลมืดโดยเฉพาะ

การใช้กำลังคุกคามความถูกต้อง ซึ่งพวกเหล่านี้จะไม่สนใจรายละเอียดหรือความถูกต้องของกฎหมายที่ถกเถียงกันอยู่แล้ว


หากไม่มีความมั่นคง คนดีจะถูกปิดปาก ด้วยกำลังและอิทธิพลชั่ว นักการเมืองและศาลเองก็อาจถูกคุกคามถึงชีวิตได้เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-12-2007, 14:38 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 03-12-2007, 02:24 »


สนธิกำลังค้นเป้าหมายเมืองหาดใหญ่-รวบผู้ต้องหาพร้อมของกลางอื้อ
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9500000142995

 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 ธันวาคม 2550 21:11 น.
 
 
 
       ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ตำรวจสงขลาสนธิกำลังค้นเป้าหมายทั่วเมืองหาดใหญ่ เพื่อกวาดล้างอาชยากรรมและยาเสพติด ควบคุมผู้ต้องสงสัยพร้อมของกลางหลายรายการ
       
       วันนี้ (2 ธ.ค.) พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร์ ผบก.ภ.จว.สงขลา สนธิกำลังร่วมตำรวจ ภ.จว.สงขลา, นปพ., ตร.สภ.หาดใหญ่, สารวัตรทหารจากมณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์, ฝ่ายปกครองอำเภอหาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่ ปปส.ภาค 9 รวมจำนวน ประมาณ 200 นาย เข้าแผนทำการกวาดล้างอาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ โดยกำหนดเป้าหมายตรวจค้นจำนวน 11 จุด ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชุมชนบ้านลับแล ม.1 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ใช้หมายค้นของศาลจังหวัดสงขลา เข้าทำการตรวจค้น และตั้งจุดตรวจ จุดสกัดพื้นที่เป้าหมาย 4 จุด โดย พล.ต.ต.วิรุฬ นำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้นย่านชุมชนบ้านลับแล ม.1 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
       
       ผลการปฏิบัติปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านไม่มีเลขที่ ภายในชุมชนบ้านลับแล พบยาบ้าจำนวน 100 เม็ด, น้ำต้มใบกระท่อมหรือยาเสพติด 4 คูณ 100 จำนวน 3ขวด (ขวดโค้กขนาด 1.5 ลิตร) ยาแก้ไข 3 ขวด, เงินสดประมาณกว่า 1 หมื่นบาท, มีดดาบยาวประมาณ 2 ฟุต จำนวน 3 เล่ม, ใบกระท่อมสด, ใบกระท่อมแห้งที่ต้มแล้ว, อุปกรณ์ในการเสพยาบ้า เจ้าหน้าที่ทำการควบคุมตัวบุคคลที่อยู่ภายในบ้าน จำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายอ้าสัน หมัดสี อายุ 21 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71/11 ม.1 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งรับว่าเป็นเจ้าของบ้านดังกล่าว
       
       นอกจากนี้มี นายกฤษณะ บิลหล๊ะ อายุ 16 ปี อยู่บ้านเลขที่ 73/75 ม.1 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, นายรักษ์ หมานหมัด อายุ 19 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32 ม.6 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และนางสาวลินดา ธรรมเส็งอายุ 16 ปี อยู่บ้านเลขที่ 3 ม.5 ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
       
       จากนั้นตรวจค้นบ้านเลขที่ 73/168 ชุมชนลับแลฯ พบยาบ้า 1 เม็ดซุกซ่อนอยู่ภายในเสื้อยกทรงของ นางสาวเปิ้ล อาคชัยยา อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71/101 ม.1 ชุมชนลับแล ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อ้างว่ามีไว้เพื่อเสพ และภายในบ้าน เจ้าหน้าที่ ปปส.
       (ผู้หญิง) ได้ตรวจค้นตัวนางมิหน๊ะ สุขแสง อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 51/1 ม.7 ต.วัดขนุน อ.สิงหนคร จ.สงขลา พบยาบ้าอีกจำนวน 3 เม็ด เบื้องต้นให้การว่ามีไว้เพื่อเสพเช่นกัน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พบโพยรับแทงพนันฟุตบอลอีกจำนวนหนึ่งภายในบ้าน จึงตรวจยึดไว้เพื่อดำเนินการต่อไป
       
       เจ้าหน้าที่อีกชุดเข้าทำการตรวจค้นบ้านเลขที่ 64/7 ถนนรัตนวิบูลย์ ชุมชนจันทร์
       วิโรจน์ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พบมีกัญชาแห้งห่อเล็กจำนวน6ห่อ จึงควบคุมตัวเจ้าของบ้านทราบชื่อ นางลาวัลย์ ทองสุข อายุ 29 ปี เบื้องต้นให้การว่า
       กัญชาทั้งหมดเป็นของสามี คือนายสมชาย อินทุเศรษฐ ขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นไม่ได้
       อยู่บ้าน เจ้าหน้าที่ทำการตรวจยึดของกลางทั้งหมด พร้อมผู้ต้องหานำส่งพนักงานสอบสวน สภ.อ.หาดใหญ่ เพื่อดำเนินการต่อไป

 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 05-12-2007, 05:17 »


วันพุธที่ 5 เดือนธันวาคม พศ. 2550  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=12617

รมว.ยุติธรรม นั่งปธ.ถก กม.ตำรวจ

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม นายพรเพชร วิชิตชลชัย กรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยความคืบหน้าการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่า กมธ.ประชุมนัดแรก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม และมีมติให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน กมธ. นัดประชุมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกวันจันทร์และวันศุกร์ และอาจเพิ่มวันประชุมเพื่อเร่งให้ทันวันที่ 20 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่ กมธ.วิสามัญกิจการ สนช. (วิป สนช.) กำหนดว่า ต้องทำให้เสร็จเพื่อส่งบรรจุวาระการประชุม สนช.ได้ทันวันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ สนช.จะพิจารณาร่างกฎหมายให้ผ่านวาระ 2 และ 3 มิเช่นนั้นกฎหมายจะตกไป   

'ที่มีกระแสข่าวอาจมีการประนีประนอมให้ร่างกฎหมายดังกล่าวพิจารณาไม่ทันในสภาชุดนี้เนื่องจากมีผู้คัดค้านหลายฝ่าย คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะกฎหมายไม่ยาวมาก การจะทำทันหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า จะตกลงหลักการและเหตุผลของแต่ละมาตราได้ทันหรือไม่ แต่ กมธ.มีเป้าหมายทำให้เสร็จทันตามที่วิป สนช.กำหนด' นายพรเพชรกล่าว
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 08-12-2007, 04:07 »



อันนีก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ  
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 11-12-2007, 15:15 »




อันนี้เป็นหลักประกันทางการเมืองและสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกฝ่าย

เป็นหลักการกระจายความมั่นคง และปรับปรุงองค์กรด้านความมั่นคงให้โปร่งใส..


ขอให้สนช. เห็นแก่ชาติคิดให้ลึกซึ้ง คงเห็นปัญหาสื่อขาดความรับผิดชอบกันแล้ว

ทำลายเศรษฐกิจของชาติได้มากเพียงใด แต่นักเลือกตั้งมักไม่กล้าแตะหรือผลักดันตรงนี้

เพราะกลัวถูกโจมตี สูญเสียเสียงสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 14-12-2007, 12:40 »



นายกฯลั่นไม่ถอนร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง  http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/13/WW01_0101_news.php?newsid=211333
 
13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 21:24:00
 
นายกฯประกาศกร้าว ไม่ถอนร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง อ้างเป็นกฎหมายที่จำเป็น โบ้ยกรรมาธิการฯแจงฝ่ายที่ยังเห็นต่าง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่เครือข่ายภาคประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือกฎหมายความมั่นคง ออกจากวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ร่างกฎหมายความมั่นคงเป็นเรื่องที่รัฐบาลเสนอเข้าไปสู่วาระการพิจารณาของ สนช.แล้ว และถือว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็น แต่จะผ่านการพิจารณาให้ทันในรัฐบาลชุดนี้เลยหรือไม่อยู่ที่ สนช. เพราะขณะนี้ผ่านพ้นขั้นตอนของรัฐบาลไปแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลมีสิทธิถอนร่างกฎหมายออกมาก่อนได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา จะดำเนินการหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่ารัฐบาลเห็นว่าร่างกฎหมายความมั่นคงมีความจำเป็น ดังนั้นเราคงไม่ใช้สิทธิถอนออกมา

"ในส่วนที่มีกลุ่มเอ็นจีโอออกมาคัดค้านจนถึงขั้นบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภานั้น ผมคิดว่าเราสามารถทำความเข้าใจได้ ซึ่งผมได้ปรึกษากับคณะกรรมาธิการที่พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วว่า ขอให้ทำความเข้าใจ และทำคำชี้แจงให้กับทุกฝ่ายได้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นข้อห่วงใยเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือประเด็นอื่นๆ ซึ่ง สนช.ได้พิจารณาข้อกังวลเหล่านั้นและได้แก้ไขในส่วนสำคัญไปแล้ว ผมเชื่อว่าถ้าไม่ได้ยึดความคิดของตัวเองมากเกินไปก็จะสามารถรับฟังคำชี้แจงจากคณะกรรมาธิการได้" นายกฯ ระบุ
 

 
 
   
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 22-12-2007, 01:53 »


 


คลอดแล้ว “กม.ความมั่นคง” สนช.พิจารณาผ่านฉลุย
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 ธันวาคม 2550 23:51 น.
 
 

   
 
 
     

 
 
 
  กม.ความมั่นคงผ่านฉลุย กำหนดให้นายกฯต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภา และ ส.ว. ห้าม ปชช.เข้า-ออกในบางสถานที่เฉพาะช่วงปฏิบัติภารกิจเท่านั้น ส่วนการส่งตัวผู้ต้องหากลับใจไปอบรบจะต้องให้ศาลสั่งและเจ้าตัวต้องยินยอม พร้อมตัดประเด็น พนง.ไม่ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาทิ้ง
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเย็นวานนี้ (20 ธ.ค.) นางพจนีย์ ธนวรานิช รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะประธานในที่ประชุม สนช.ได้แจ้งในที่ประชุม สนช.ว่า ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า รัฐบาลได้ขอเลื่อนวาระการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ออกไป 4 ฉบับ ประกอบด้วยร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ... ร่าง พ.ร.บ. น้ำ พ.ศ.. ร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติ (พ.ศ.) และ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยเงื่อนไขหลักเกณฑ์การแปลงสภารัฐวิสาหกิจ พ.ศ... แม้จะมีสมาชิกบางส่วนพยายามคัดค้านและมีการโหวตจากที่ประชุม แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยให้มีการเลื่อนออกไปตามร้องขอ จากนั้นที่ประชุมได้ทยอยพิจารณาร่าง พ.ร.บ.8 ฉบับอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการอภิปราย
       
       จนมาถึงร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ... นายมีชัยได้ทำหน้าที่ประธานการประชุมอีกครั้ง โดยมีสมาชิกขอสงวนคำแปรเพียงคนเดียว คือนายภัทระ คำพิทักษ์
       
       ทั้งนี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในร่างดังกล่าว โดยมีการให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการ กอ.รมน. อีกทั้งยังเพิ่มบทบัญญัติให้นายกรัฐมนตรี รายงานผลการปฏิบัติภารกิจการรักษาความมั่นคง ต่อสภาผู้แทนราษฏร และวุฒิสภาทราบโดยเร็ว และหากมีความจำเป็นที่กอ.รมน.ต้องใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายใดที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐใด ให้ ครม.มีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ใน กอ.รมน.เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้นๆ รวมถึงได้กำหนดขอบเขตการใช้อำนาจออกข้อกำหนด ห้ามเข้า-ออกบริเวณพื้นที่อาคาร หรือสถานที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ ซึ่งจากเดิมไม่ได้มีการกำหนดห้วงเวลาไว้ จึงทำให้เกิดข้อวิจารณ์ถึงอำนาจที่อาจเข้าข่ายเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
       
       นอกจากนี้ยังได้เพิ่มข้อความในมาตรา 19/1 ว่า หากผู้ใดได้กระทำผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคง แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ให้เปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายใน ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนของผู้ต้องหาพร้อมความเห็นไปให้ ผอ.รมน. หากศาลเห็นสมควรอาจสั่งให้ส่งตัวให้ ผอ.รมน.เพื่อเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกำหนดแทนการลงโทษก็ได้ แต่ทั้งนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมเข้ารับการอบรมแทนการลงโทษ
       
       ในส่วนมาตรา 21 ได้มีการปรับปรุงแก้ไข จากที่บัญญัติว่าบรรดาข้อกำหนดประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามหมวดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และการดำเนินการใดๆ อันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามหมวดนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตรการคุ้มครอง หรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และอาญา
       
       ส่วนประเด็นสำคัญ คือ มาตรา 22 ที่กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทั้งวินัย หากกระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและพอสมควรแก่เหตุผลนั้น ได้มีการตัดทิ้งทั้งมาตรา
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของการประชุม นายตวง อินทะไชย สนช.ได้มีข้อสังเกตให้ สนช.นำกลับไปพิจารณาในมาตรา 19/1 เรื่องการใช้อำนาจของ กอ.รมน. ว่าเมื่อเกิดการจับกุมตัวผู้ต้องหา อำนาจในการสอบสวนของ กอ.รมน. หรือจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นอำนาจหมู่หรือเดี่ยว เพราะหากรูปแบบอำนาจไม่ชัดเจนก็จะทำให้การประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีปัญหาและส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
       
       ขณะที่ นายวิริยะ นามศิริพงษ์พันธ์ สนช.ตั้งข้อสังเกตไปยังผู้บังคับใช้กฎหมายว่าให้ผู้บังคับบัญชาดูแลลุกน้องดูแลการใช้อำนาจให้ดีโดยเฉพาะหน่วยงาน กอ.รมน. และผอ.รมน.ต้องกำชับผู้อยู่ใจ้บังคับบัญชาให้ใช้อำนาจอย่างระวัง มิเช่นนั้นอาจจะมีกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีนำไปขยายผลจนเกิดปัญหาตามมาได้ แต่นายพรเพชร วิชิตชลชัย สนช.ได้แย้งว่า ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตอีกแล้ว เพราะในมาตรา 19/1ที่หลายคนกังวล เรื่องการส่งตัวเข้ารับการอบรม ได้มีการปรับแก้ไม่ได้ให้อำนาจ กอ.รมน.นำตัวบุคคลไปอบรมได้ แต่ให้ศาลดำเนินการแทน และมีประเด็นหลายอย่างที่ได้ปรับแก้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ สนช.ต่างหากที่ต้องนำไปชี้แจงกับสังคม ไม่ใช่มานั่งตั้งข้อสังเกตกันเองแบบนี้
       
       จากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติรับวาระ 2 และ 3 ด้วยคะแนนเสียง 105 ต่อ 8 เสียง งดออกเสียง 2
       
       *** “จอน” เตรียมล่ารายชื่อเสนอ กม.ยกเลิก พ.ร.บ.มั่นคง
       
       นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และอดีต ส.ว.กทม.กล่าวภายหลังร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงผ่านสภาว่า ทางเครือข่ายจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยการชุมนุมขององค์กรภาคประชาชนที่บริเวณหน้ารัฐสภา ในวันที่ 21 ธันวาคม จะจัดหาเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อถ่ายบัตรประชาชนของผู้ที่จะมาลงชื่อคัดค้าน ส่วนเรื่องที่นายชีย ฤชุพันธุ์ ประกาศในช่วงเช้าว่าจะนำร่าง พ.ร.บ.ที่มีปัญหาไปพิจารณาทีหลัง แต่กลับนำเอาร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงมาพิจารณาในวันนี้นั้น ตนถือว่าไม่เสียรู้ เพราะคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าสนช.จะต้องพิจารณา พ.ร.บ.ความมั่นคงอยู่แล้ว เพราะ สนช.คงไม่ฟังเสียงของประชาชน แต่ที่ตนไม่ชุมนุมต่อนั้นเนื่องจากผู้ชุมนุมเหนื่อยล้าจากการชุมนุมมาตลอดทั้งวัน และคิดว่าเราแสดงพลังอย่างเต็มที่แล้ว
       
       เมื่อถามว่า สนช.เร่งรัดการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงหรือไม่ นายจอน กล่าวว่า เป็นพฤติกรรมปกติของสนช.ในระยะนี้อยู่แล้ว คือ พิจารณากฎหมายอย่างไม่รอบคอบ ทั้งๆที่มีเพียงสภาเดียว ซึ่งเป็นธรรมดาของสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ส่วนการชุมนุมในวันพรุ่งนี้คงไม่มีการตอบโต้การกระทำของ สนช.แต่อย่างใด ทั้งนี้ตนยืนยันว่าจะมีการชุมนุมโดยสันติวิธี
 
 
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 22-12-2007, 16:56 »





ผมว่าพรบ.แบบนี้เป็นหลักประกันทางความมั่นคงของชาติ ได้อันหนึ่ง..

ชาวบ้านจะไม่วุ่นวาย ถ้าไม่มีการแบ่งแยกโดยวิธีอื่นๆ นอกเหนือจากการแยกแยะอะไรดีอะไรเลว

จากกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนะครับ ...


ปลูกอะไรไว้ ก็ได้ผลเช่นนั้น...
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: