ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 19:48
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประชาธิปไตยออกแบบไม่ได้ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประชาธิปไตยออกแบบไม่ได้  (อ่าน 1378 ครั้ง)
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« เมื่อ: 17-06-2007, 12:34 »

เรียน คุณใบตองแห้ง

15 มิถุนายน 2550

อ้างถึง

วันนี้ขอเอา "ของแท้ต้นตำรับ" ในเรื่องประชาธิปไตยมาคุยกับคุณครับ นักเขียนที่มีชื่อเสียงของสหรัฐชื่อ โรเบิร์ต ดี. แคลพแลน ผู้เขียนหนังสือขายดีเรื่อง "บาลานซ์สกอคาร์ด"

    ที่นักบริหารชาวไทยชื่นชม  ถึงกับประณามรัฐบาลสหรัฐอย่างดุดันว่า  "ตั้งแต่หลังสงครามเย็น สหรัฐผิดพลาดอย่างยิ่งที่ส่งออกระบบประชาธิปไตยไปยังประเทศต่างๆ  ที่ไม่มีปัจจัยที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องประชาธิปไตย" เขากล่าวเช่นนี้เพราะเขาเชื่อว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจะไม่พร้อมที่จะใช้ ระบบประชาธิปไตย จนกว่าฐานะทางเศรษฐกิจจะดีอยู่ในระดับซึ่งประชาชนไม่ต้องก้มหน้าก้มตาหา เช้ากินค่ำ   และมีเวลาพอที่จะสนใจประชาธิปไตย   นอกจากฐานะทางเศรษฐกิจแล้ว สภาวะทางสังคมโดยเฉพาะการศึกษาต้องดีพอที่ประชาชนจะรู้และรับผิดชอบในระบบ นี้ได้ด้วย  ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของ "ตัวกูของกู" แต่เป็นเรื่องของ "พวกเรา" ซึ่งประกอบด้วยผู้คนในประเทศที่หลากหลายที่ต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติให้ ได้  (ไม่ใช่กระทืบคนแก่ที่สยามพารากอน  เพราะเขามีความเห็นที่แตกต่าง หรือด่าทอและเอาขวดน้ำขว้างใส่ตำรวจที่เขาห้ามปรามระหว่างชุมนุม หรือมีคนไปบุกรุก นสพ.ผู้จัดการและเอาอุจจาระขว้างใส่เพราะไม่พอใจที่เขาลงข่าววิพากษ์ วิจารณ์     หรือไล่ประชาธิปัตย์ลงจากเวทีที่เชียงใหม่ หรือไล่พันธมิตรที่อุดร ฯลฯ)  ในองค์กรหรือประเทศใดก็ตามถ้ามีแต่ "ดีครับนาย ใช่ครับท่าน" องค์กรหรือประเทศนั้นต้องล่มสลายแน่นอน  จำได้ไหมครับ นายยอร์ช บุช ตอบจดหมายฟ้อง (หวังนอกล้อมใน) ของนายทักษิณว่า "ประชาธิปไตยคือการยอมรับความแตกต่าง" จดหมายถึงนายบุชตีความได้ว่า ประเทศไทยไม่มีอธิปไตย  เหมือนหลายธนาคารในไทยที่ต้องรายงานและรอรับการตัดสินใจของสิงคโปร์ การกระทำเช่นนี้น่าภูมิใจนักหรือ ???

    นอกจากนายแคลพแลนฯ แล้ว นักสังคมศาสตร์คนหนี่งของสหรัฐชื่อ ซีมัวร์ มาร์ติน ลิพเซ็ต ก็กล่าวเช่นเดียวกันว่า  "ยิ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่ประชาธิปไตยจะยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น"  ยิ่งกว่านั้น นายแซมมวล ฮันติงตัน นักรัฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ ยังกล่าวคำที่ผู้นำ "ที่ไม่ใช่ตะวันตก" ของหลายประเทศยอมรับว่า "การเร่งเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วและรุนแรงนั้นก่อให้เกิดผลเสีย"

    ผู้นำหลายประเทศกล่าวว่า ประชาธิปไตยต้องนำไปใช้อย่าง "เลือกสรร" (ไม่ใช่แจกปืนให้เด็กทั้งๆ  ที่เด็กยังยิงปืนและดูแลรับผิดชอบไม่เป็น)  อดีตกษัตริย์ฟาฮัดของซาอุดีอาระเบีย ถึงกับประกาศว่า  "คุณค่าประชาธิปไตยของตะวันตกไม่เหมาะสมกับภูมิภาคนี้  (ตะวันออกกลาง) อิสลามคือกฎหมายทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและระบบยุติธรรมของเรา" ในทำนองเดียวกัน มหาเธร์ของมาเลเซียก็โจมตี  "ความเสื่อมทรามทางศีลธรรม"  ที่ปรากฏอยู่ในระบบประชาธิปไตยของตะวันตกอยู่บ่อยๆ  และเห็นว่า  "คุณค่าของเอเชีย" นั้นเหนือกว่าของตะวันตกด้วย (แต่คนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าคุณค่าของตะวันตกดีเด่นกว่าคุณค่าของตนเอง ??) แม้แต่นายลีกวนยูของสิงคโปร์ ก็เคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร  "นโยบายต่างประเทศ" (Foreign  Affairs) ของสหรัฐว่า  "สังคมเอเชียไม่เหมือนสังคมตะวันตก สิ่งที่เรามองหาคือรูปแบบของรัฐบาลที่สามารถตอบสนองความต้องการของเรา ไม่กดขี่ข่มเหงและเปิดโอกาสให้เราอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นระบบคนเดียวเสียงเดียว  หรือหลายคนเสียงเดียว หรือหลายคนสองเสียง ก็ต้องเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเรา   ผมไม่เชื่อว่าระบบคนเดียวเสียงเดียวจะดีที่สุด"  ผู้นำที่มองทะลุเห็นความ จริงและไม่ถูกครอบงำทางปัญญา จึงจะนำพาประเทศไปรอดอย่างมีศักดิ์ศรี ??

    ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าไม่ว่าซาอุดีอาระเบีย  มาเลเซีย  และสิงคโปร์ ต่างก็เจริญเติบโตมีความสงบสุข และประชาชนร่วมกันก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้ระบบประชาธิปไตย (เขาตัดเสื้อขนาดที่พอดีกับสรีระของเขาใส่ ไม่ได้เอาเสื้อขนาดใหญ่ของฝรั่งมาใส่อย่างมืดบอด)  ในขณะที่ประเทศไทยสะดุดเท้าตัวเองล้มอยู่เรื่อยๆ จนมาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งเล็กกว่าเราก็แซงไปแล้ว   เกาหลีใต้ซึ่งเคยล้าหลังก็แซงไปแล้ว  เวียดนามซึ่งต่อให้ไทยเพราะต้องทำสงครามกู้ชาติบ้านเมืองอยู่กว่า  50 ปีก็กำลัง "หายใจรดต้นคอ" พม่าและกัมพูชากำลังพบก๊าซและน้ำมันจำนวนมหาศาล ส่วนลาวนั้น นครหลวงพระบางได้รับการยกย่องจากนิตยสารท่องเที่ยวของยุโรปว่าเป็น  "เมืองทางด้านวัฒนธรรมอันดับหนึ่ง"  ในขณะที่กล่าวถึงเชียงใหม่ว่า "กำลังแย่ลงเรื่อยๆ  เพราะพัฒนาจนแทบไม่เหลือร่องรอยของเอกลักษณ์และความดีงาม"    ฝรั่งเขาเขียนถึงประเทศไทยว่า  "ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา" คือพัฒนาแต่ทางวัตถุ ไม่ได้พัฒนาคนซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอันดับหนึ่ง

    พูดถึงของแท้รุ่นปัจจุบันแล้วต้องดู  "ของแท้รุ่นดั้งเดิม" บ้างครับ นักคิดด้านประชาธิปไตยของตะวันตกสมัยเก่า (จำชื่อไม่ได้ คิดว่าเป็นอริสโตเติล และ จอห์น สจ๊วต มิลล์) พูดถึงจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยว่า คือ "ความโง่เขลาของประชาชน" ซึ่งสืบเนื่องมาจากการไร้การศึกษา  หรือการไม่รู้เท่าทัน  เพราะถูกปิดกั้นหรือบิดเบือนข้อมูลก็ตาม สรุปได้ว่า "เสียงส่วนใหญ่" ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป  เสียงส่วนใหญ่จะต้องฟังและให้ความเคารพเสียงส่วนน้อย ทั้งในสภาและนอกสภา   ไม่ใช่สภาแทบจะไม่เคยไปฟัง  หรือฟังแล้วแต่ก็ไม่ตอบคำถาม  เพราะถือว่าคุมเสียงส่วนใหญ่ไว้เด็ดขาดแล้ว  (เผด็จการทางรัฐสภา) ส่วนนอกสภาก็ใช้อำนาจข่มขู่ ปิดกั้น ทำร้ายผู้ที่ไม่เห็นด้วยและต่อต้าน

    ฉบับนี้ขอพูดถึงหลักหรือจิตวิญญาณของประชาธิปไตยคร่าวๆ เพียงแค่นี้ พร้อมกับตั้งคำถามว่า คนไทยมีความเข้าใจและซึมซับหลักนี้บ้างหรือเปล่า ฉบับต่อไปจะคุยกันเรื่องคุณสมบัติของคนไทยว่าเหมาะกับการปกครองแบบ ประชาธิปไตยหรือไม่ครับ

    ขอแสดงความนับถือ
    ไดโนเสาร์


อ้างถึง
    ตอบ คุณไดโนเสาร์

    ซาอุฯ ไม่ใช่ไม่มีปัญหานะครับ แต่เขาเป็นเศรษฐีน้ำมัน ส่วนสิงคโปร์ และมาเลเซีย คือตัวอย่างของการเมืองผูกขาดที่ทักษิณอยากเป็น เราอยากเป็นเช่นนั้นหรือ

    อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตกุล บอกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยมี 2 หลัก คือหลักการปกครองด้วยกฎหมาย หรือหลักนิติรัฐ และหลักการปกครอง ด้วยประชาชน หรือหลักประชาธิปไตย ทั้งสองอย่างประกอบกัน

    ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นปัญหาไม่น้อยกว่าอย่างหลังก็คืออย่างแรก คือหลักนิติ รัฐที่ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย

    อันนี้ไม่ใช่เฉพาะเมืองไทย หลายประเทศในเอเชียก็ล้มลุกคลุกคลาน เพราะ "คุณค่าของเอเชีย"  คือสังคมอุปถัมภ์ มีความผูกพันกับพวกพ้องวงศาคณาญาติ เชื่อฟังผู้อาวุโส ตอบแทนผู้มีพระคุณ เคารพศรัทธาผู้หลักผู้ใหญ่ มากกว่าเคารพกฎเกณฑ์ และผู้ผลักผู้ใหญ่ก็พึงพอใจให้ผู้น้อยเคารพเชื่อฟัง ตัวเองมากกว่ายึดหลักเกณฑ์

    มันมีทั้งด้านดี-ด้านเสีย เราเป็นสังคมประนีประนอม มีน้ำใจ สยามเมืองยิ้ม แต่ยิ้มแห้งๆ ด้วยความเกรงใจใครต่อใคร ไม่เหมือนฝรั่งที่มันอาจจะแล้งน้ำ ใจแค่เคารพกติกา ลูกสาวประธานาธิบดีเข้าผับอายุไม่ถึงโดนจับไม่ไว้หน้า

    ในระดับบนเราก็ไม่ได้ปกครองด้วยนิติรัฐ เราปกครองแบบเชื่อผู้หลักผู้ ใหญ่ ที่ผมวิพากษ์ว่าอมาตยาธิปไตย ไม่ใช่ผู้หลักผู้ใหญ่ไม่ดี แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ไม่ไว้วางใจกฎเกณฑ์ ไม่ส่งเสริมกฎเกณฑ์พัฒนากติกา ผู้หลักผู้ใหญ่ยกเว้นกติกาไว้ให้ตัวเองแทรกแซงอยู่เสมอด้วยอำนาจแฝงนอกระบบ เพราะความเชื่อว่าสังคมต้องมีคนดีชี้นำ ปล่อยให้เดินเองไม่ได้ สังคมก็เข้าสู่กฎเกณฑ์ไม่ได้

    เมื่อไม่เคารพกติกาตั้งแต่บนลงล่าง มันก็เลอะเทอะ เมื่ออยู่กันด้วยความเชื่อศรัทธา ยกเว้นอะลุ่มอล่วยให้น้ำใจ ความชิดใกล้ บุญคุณ ความแค้น มันก็เปิดช่อง ให้วิ่งเต้นเส้นสายฉ้อฉลหาผลประโยชน์ เมื่อนักการเมืองก็เข้ามารับมรดกอำนาจนั้น มันก็ยิ่งเละเทะ

    ถ้าดูข้อนี้เปรียบเทียบกับเกาหลี  ญี่ปุ่น  สิงคโปร์  มาเลเซีย  หรือ เวียดนาม คุณจะเห็นว่าเราต่างกับเขาจริงๆ ประเทศเหล่านี้เคารพกติกามากกว่าเรา อาจจะเพราะเขามีประสบการณ์ที่เจ็บปวด เคยเป็นเมืองขึ้น เคยแพ้สงคราม แม้จะเป็นรัฐบาลผูกขาด แต่ความเข้มแข็งทางนิติรัฐ การบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เลือกปฏิบัติ เสมอภาคกันตั้งแต่ชนชั้นสูงถึงชั้นล่าง ก็ทำให้เขาเป็นประชาธิปไตยกว่าเรา มีอภิสิทธิ์ชนน้อยกว่าเรา มีความเป็นเจ้าขุนมูลนายน้อยกว่าเรา

    ในหลักที่สองคือ การปกครองโดยประชาชนผ่านรูปแบบการเลือกตั้ง มีข้อถกเถียงกันมาตลอดว่า ประชาชนโง่และยากจน ไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตย คำถามคือเมื่อไหร่จะพร้อม แล้วต้องเปรียบเทียบด้วยว่าไม่เป็นประชาธิปไตยแล้วเป็นอะไร เป็นเผด็จการคุณธรรมหรือ ใครรับประกันว่าเผด็จการจะมีคุณธรรมไปตลอด

    การวิพากษ์วิจารณ์ประชาธิปไตยต้องเปรียบเทียบ ว่าไม่เอาประชาธิปไตยแล้ว คุณจะเอาระบอบอะไร เพราะประชาธิปไตยไม่ได้วิเศษเลิศสุด แต่มันเป็นระบบที่แย่น้อยที่สุดและเหมาะกับสังคมปัจจุบันมากที่สุด

    ถ้าบอกว่าประชาชนยังโง่และยากจน ถามว่าเผด็จการที่ผ่านมาใน ประวัติศาสตร์ไทย มันช่วยให้ประชาชนฉลาดและเศรษฐกิจดีขึ้นไหม แล้วถ้าปกครองด้วยเผด็จการต่อไป ประชาชนจะมีจิตสำนึกประชาธิปไตยมากขึ้นไหม เอาทหารไปสอนประชาธิปไตยชาวบ้านสักสิบปี แจกประกาศนียบัตร แล้วจะเลิกขายเสียงอย่างที่คนกรุงเทพฯ คิดไหม

    ประชาธิปไตยต้องเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่ผ่านมาประชาชนไม่เคยได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจริงจัง เพราะประชาธิปไตยไม่ใช่แค่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วจบ มันต้องประกอบด้วยความกล้าแสดงออก คิดวิพากษ์วิจารณ์ เรียกร้อง ชุมนุม เดินขบวน ประชาชนตกอยู่ใต้อำนาจเผด็จการยาวนาน ถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพตั้งแต่ ปี  2490-2530  มีช่วงสั้นๆก่อน  2500  และ  2516-2519  แล้วก็ถูกปราบ แม้ตอนหลังจะเรียกว่าเผด็จการครึ่งใบ(ประชาธิปไตยครึ่งใบ) ก็อยู่ใต้การ ครอบงำของระบบราชการ เพิ่งเริ่มต่อเนื่องหลังปี 35  หลังรัฐธรรมนูญ  40  แต่พอมันมีอุปสรรคเพราะรัฐบาลจากการเลือกตั้งมีอำนาจมาก เราก็จะไม่เอาประชาธิปไตยเสียแล้ว

    คุณพูดถูกว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกเสมอไป ประชาธิปไตยจึงประกันสิทธิของเสียงข้างน้อยด้วยเสรีภาพในการแสดงความเห็นต่าง ในการโต้แย้งคัดค้านไปจนชุมนุมแสดงพลัง คุณว่ายุคทักษิณผูกขาด แล้วเผด็จการยอมรับความเห็นต่างหรือ

    สิ่งที่เห็นวันนี้เป็นภาพลวงตาของเผด็จการ ที่ทำไมต้องเป็นเผด็จการหน่อ มแน้มยอมให้ชุมนุม ยอมให้แสดงตวามเห็นยอมฟังเสียงประชาชนบ้าง ความเป็นจริงก็คือประชาธิปไตยฝังรากลึกในสังคมไทยจนเผด็จการอย่างสมัย  2500  ไม่ได้แล้ว ต้องขอบคุณประชาธิปไตยต่างหากที่ทำให้เป็นเผด็จการใจกว้าง

    จริงๆ แล้วผู้มีอำนาจที่ออกมาโจมตี "ประชาธิปไตยตะวันตก" ต้องการอะไร ถ้าไม่ใช่ต้องการประชาธิปไตยค่อนใบ แบบที่ตัวเองยังแอบแฝงแทรกแซงได้ ใช้อำนาจแบบ "คุณขอมา"  โดยที่ "คุณ" ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องถูกตรวจสอบ ซึ่งผมอยากเรียกว่า "ประชาธิปไตยอีแอบ" (ต้องถามอาจารย์เสรีว่าอยากได้ประชาธิปไตยแบบนี้ใช่ไหม)

    "ท่านอาจได้ยินวาทะของบางคนว่า ระบอบประชาธิปไตยในอนาคตของประเทศไทยนั้นจะต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างไทยๆ วาทะนี้ฟังดูแล้วน่าเลื่อมใส ถ้าผู้กล่าวปรารถนาอย่างจริงใจให้ระบอบ การเมืองของไทยเหมาะสมแก่สภาพท้องที่กาลสมัยของมวลราษฎรไทย แต่ก็ควรพิจารณาว่าคำที่ว่าอย่างไทยๆ นั้น ขออย่าให้เหมาะสมเพียงแต่เฉพาะคนไทยส่วนน้อยของสังคมเท่านั้น" อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ กล่าวไว้ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2516

    ขอแสดงความนับถือ
    ใบตองแห้ง


น่าฟังทั้งสองฝ่าย
แต่ของใบตองแห้งตรงสีแดงๆ ดูแย้งกันเองยังไงก็ไม่รู้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-06-2007, 12:39 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 17-06-2007, 15:33 »

ถ้าผมเป็นคุณใบตองแห้ง  ป่านนี้ผมไม่อยู่หรอกครับประเทศไทย หนีไปอยู่ต่างประเทศแล้ว เพราะอับอายกับอดีตที่ประเทศไทยปกครองโดยระบบทหารมาโดยตลอด

คุณใบตองแห้งคิดว่าประชาธิปไตยเป็นยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาไปได้ซะทุกเรื่อง

อีกหน่อยคงมีการเขียนว่าควรยกเลิกวันสงกรานต์ ยกเลิกประเพณีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่ต้องเชื่อฟังพ่อแม่  ถึงจะซะใจคุณใบตองแห้ง

ประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้าก็ไปโทษผู้ใหญ่ว่าพูดชี้นำ  ก็ถ้าคนฟังมันมีความรู้มีความคิด  ถ้าผู้ใหญ่พูดผิด  ใครมันจะไปเชื่อฟัง

แต่ถ้าท่านพูดถูก ก็ต้องรู้จักคิดและแก้ไขกัน  ไม่ใช่บอกไม่เชื่อฟัง  เพราะจะทำให้ประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้า
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 18-06-2007, 00:46 »

ผมว่าเราไปให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยในตัวหนังสือ
อย่าง รธน. หรือกฎหมายนั่นนี่ มากเกินไป

ถึงตอนนี้ประเทศได้ชื่อว่าไม่ได้ปกครองระบอบประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้งไป แต่ใบตองแห้งเองก็ยอมรับว่า
ทหารไม่สามารถเป็นเผด็จการได้เต็มที่เหมือนยุคก่อนๆ

เพราะประชาธิปไตยในตัวประชาชนยังอยู่แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะถูกยกเลิกไปแล้ว


จะออกแบบรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นประชาธิปไตยแค่ไหน
ผมว่ามันก็ไม่เวิร์คถ้าวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยยังไม่พัฒนา
สมัยเหลี่ยมประชาธิปไตยก็ไม่ได้ก้าวหน้าไปกว่าสมัยครึ่งใบค่อนใบ
ระบบอุปถัมภ์ก็ยังยึดถือกันเหมือนเดิม แต่อาจจะเปลี่ยนตัวผู้ยิ่งใหญ่จากกลุ่มหนึ่งไปเป็นอีกกลุ่มเท่านั้น

ฟังท่าน ว.วชิระ เมธี บอกว่าประชาธิปไตยต้องใช้เวลาเป็นร้อยปี
จะหวังอะไรมากมายกับ รธน. ที่ร่างกันไม่กี่เดือน



บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Gamobank
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #3 เมื่อ: 03-09-2007, 22:33 »

ออกแบบไม่ได้ให้ถูกใจมนุษย์ทุกคน ที่มีกิเลสตัณหาหนาบางไม่เท่ากัน
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #4 เมื่อ: 03-09-2007, 22:38 »

ประชาธิปไตย ไม่มีในโลก

มีแต่เผด็จการทหาร เผด็จการนายทุน เผด็จการกรรมาชีพ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #5 เมื่อ: 03-09-2007, 22:48 »

ประชาธิปไตย ไม่มีในโลก

มีแต่เผด็จการทหาร เผด็จการนายทุน เผด็จการกรรมาชีพ

  ลืมเผด็จการเมียไปอีกหนึ่งครับ


กระจายไปทั่วทุกประเทศ
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
หน้า: [1]
    กระโดดไป: