ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 00:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "ไพบูลย์"เตรียมไขก๊อกหากพรบ.สภาองศ์กรชุมชนไม่ผ่าน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"ไพบูลย์"เตรียมไขก๊อกหากพรบ.สภาองศ์กรชุมชนไม่ผ่าน  (อ่าน 1477 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 07-06-2007, 09:37 »



"ไพบูลย์"เตรียมไขก๊อกหากพรบ.สภาองศ์กรชุมชนไม่ผ่าน 6 มิถุนายน 2550 14:44 น.
"ไพบูลย์" ระบุ ชัดไขก๊อก หากพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนไม่ผ่าน ด้านรมช.พม.พร้อมแก้ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน หากซ้ำซ้อนอำนาจมหาดไทย ย้ำ กม.ไม่ผ่านออกแน่ ยันทำด้วยความบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยววางฐานอำนาจ ไม่ต้องการชื่อเสียง-วีรบุรุษ


(6มิย.) นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อต้องการให้สังคมมีความเข้มแข็ง ซึ่งทางกระทรวงได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการยกร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย รวมถึงคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอครม.แล้ว แต่ก็มีการทักท้วงจากหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขจนทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน จึงได้เสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาแต่มีรัฐมนตรีบางคนซึ่งได้รับข้อทักท้วงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังเป็นข้อมูลเดิมที่ตนได้ชี้แจงไปแล้ว อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดปัญหาทางกระทรวงก็จะเรียกหน่วยงานหรือองค์กรที่ยังไม่เข้าใจมาชี้แจงอีกครั้ง ซึ่งตนในฐานะที่เป็นผู้บริหารกระทรวง เมื่อนำเสนอเรื่องที่มีความสำคัญสูงต่อครม. ถ้ามีปัญหาก็ต้องรับผิดชอบ ถือเป็นการแสดงจุดยืนให้เห็น

เมื่อถามว่าในที่ประชุมครม.ได้ชี้แจงหรือไม่ว่าจะรับผิดชอบอย่างไรหากร่าง พ.ร.บ.ไม่ผ่าน นายไพบูลย์ กล่าวว่า ก็ต้องพิจารณาตัวเอง พูดแค่นี้ก็น่าจะเข้าใจแล้ว เมื่อถามว่านายกฯ แสดงความเห็นอย่างไรในที่ประชุมครม. นายไพบูลย์ กล่าวว่า ยังไม่ถือเป็นประเด็นปัญหา ตนเพียงแต่ชี้ให้เห็นความสำคัญและความรับผิดชอบในฐานะผู้บริหารกระทรวง ซึ่งถ้าจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกก็ต้องไปพร้อมกับ รมช.พัฒนาสังคมฯ เพราะถ้าจะไปก็ไปด้วยกัน รวมถึงตำแหน่งรองนายกฯ ของตนด้วย ซึ่งตนถือว่าเรื่องนี้เป็นหลักการที่ดีที่ควรส่งเสริม เมื่อทำนโยบายสำคัญก็ต้องมีความรับผิดชอบ

ด้านนพ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตีกลับร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น จนทำให้นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พม.และตนต้องประกาศเอาตำแหน่งเป็นเดิมพันหากกฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบ ว่า ยืนยันตนและนายไพบูลย์ ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง สิ่งที่ดำเนินการทุกอย่างเพราะเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหาจัดการท้องถิ่นได้ดีในสภาวะที่สถานการณ์อยู่ในช่วงวิกฤติ

อย่างไรก็ตามในเมื่อยังมีข้อสังเกตจากกระทรวงมหาไทยที่เกรงว่ากฎหมายฉบับนี้จะไปซ้ำซ้อนหรือลดทอนอำนาจของ อปท.และ อบต. ทางพม.ก็ยินดีแก้ไขรายละเอียดให้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้ ไม่ได้เป็นปัญหาเกาเหลาระหว่างกระทรวง

นพ.พลเดช กล่าวอีกว่า สิ่งที่ได้พูดในที่ประชุม ครม.เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่ได้ซ้ำเติมสถานการณ์ของรัฐบาล หรือต้องการวางฐานอำนาจภายหลังจากพ้นครม.ชุดนี้แล้วตามที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าตนและนายไพบูลย์ต้องการสร้างเครือข่ายฐานมวลชนโดยมีกฎหมายรองรับชัดเจนหลังจากหมดอำนาจ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตนไม่รู้ว่าจะทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร เพราะในแง่ของชื่อเสียงและวีรบุรุษ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ตนและนายไพบูลย์แสวงหา ทั้งนี้ตนได้นัดหารือกับนายบัญญัติ จันเสนะ รมช.มหาดไทยเพื่อทำความเข้าใจต่อร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย

“ผมและนายไพบูลย์ ไม่ได้ขู่ใคร จึงไม่ต้องการให้มีการขยายเรื่องนี้ หลักการคือเราสองคนเข้ามาช่วยรัฐบาลทำงาน เพราะเห็นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศที่จะต้องวางรากฐานในการพัฒนาสังคม ซึ่งเป็นงานระยะยาว เพราะฉะนั้นจึงต้องการมาวางยุทธศาสตร์ไม่ใช่มาทำเป็นงานประจำ ซึ่งปลัดกระทรวงและข้าราชการทำได้ดีอยู่แล้ว การออกกฎหมายที่ดี เพื่อวางรากฐานในการพัฒนาสังคมในระยะยาว โดย พม.ให้ความสำคัญกับ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนมาก ซึ่งถ้าไม่ผ่านก็ไม่มีประโยชน์ที่จะทำงานต่อ ”นพ.พลเดช กล่าว

นพ.พลเดช กล่าวด้วยว่า หลังจากที่หารือกับนายบัญญัติแล้วเชื่อมั่นว่าจะผ่านการพิจารณาในท้ายที่สุด เพราะประเด็นคัดค้านของกระทรวงมหาดไทย เป็นการคัดค้านเนื้อหาเก่า แต่ร่าง พ.ร.บ.นี้ ได้หารือและปรับปรุงหลายส่วนแล้ว ซึ่งหลายท่านยังไม่ทราบรายละเอียดของพ.ร.บ.นี้

นายจินดา บุญจันทร์ ผู้นำชุมชนลุ่มน้ำหลังสวน จ.ชุมพร และแกนนำเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากรณีเป็นความเห็นต่างธรรมดา แต่อยากบอกว่า พ.ร.บ.นี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่เป็นระบบล่างขึ้นบน ซึ่งไม่ได้มีความขัดแย้งหรือทับซ้อนกับ อบต. อปท.แต่อย่างใด เพียงแต่ส่งเสริมการวางแผนชุมชนร่วมกันเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาจะเห็นได้ อบต.และ อปท.มีอำนาจจำกัดอยู่ในราชการและการเมืองเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีแผนแม่บทชัดเจนแต่ในทางปฏิบัติชุมชนไม่เคยมีส่วนร่วม หากพูดไป อบต.เป็นเหมือนเงาของพรรคการเมืองใหญ่ กฎหมายนี้จะเป็นเครื่องมือทำให้ชุมชนแข็งแกร่ง เนื่องจากที่ผ่าน

มานโยบายรัฐบาลล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะองค์กรชุมชนตั้งรับไม่ทันกับสิ่งที่รัฐสนับสนุนทุนแต่ไม่มีการวางแผน เช่น โครงการผักสวนครัว เป็นต้น จึงทำให้งบสูญเปล่า

นายจินดา กล่าวด้วยว่า เครือข่ายรู้สึกเสียดายกฎหมายไม่ผ่านแล้วนายไพบูลย์ต้องลาออก แต่อย่างใดก็ตามพวกตนจะนำเรื่องนี้ไปเผยแพร่ไปสู่สาธารณชนเพื่อสังคมจะได้ช่วยกันตัดสิน พร้อมกับจะนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปลงมือปฏิบัติกับ 300 ตำบลทั่วประเทศ ส่วนการกดดันจะเป็นทางเลือกสุดท้าย

ด้านนายสน รูปสูง เลขาธิการที่ปรึกษาชุมชนสหกรณ์ภาคอีสานและเลขาธิการสมัชชา องค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงการคัดค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างหนักจากกระทรวงมหาดไทย ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นเจตนารมณ์ของชาวบ้านและผู้นำชุมชนที่ร่วมกันเขียนขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเกิดเสถียรภาพในระดับฐานล่าง ซึ่งที่ผ่านมาผู้แทนของกระทรวงมหาดไทยนับตั้งแต่ปลัดกระทรวง ได้พยายามคัดค้านมาตลอด เพราะมองภาพเหมือนกับร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นเหมือนปีศาจ แม้ล่าสุดได้มีการแก้ไขไปบางมาตราแล้วก็ตาม

นายสน กล่าวว่า ในมาตรา 19 ของร่างกฎหมายฉบับนี้ระบุว่าเมื่อมีกิจกรรมหรือ โครงการขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยหรือคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีการเปิดเวทีสมัชชาชุมชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการอยู่ในตำบล ซึ่งสิทธิต่างๆเหล่านี้ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสิทธิของชุมชนที่มีมาช้านาน ดังนั้นการออกกฎหมายนี้ก่อนหรือหลังรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่ประเด็น

“การที่คุณอารีย์ (วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) และคนของกระทรวงมหาดไทยออกมาขวาง ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจเพราะคนเหล่านี้เป็นพวกอำนาจนิยม เคยชินอยู่กับการเห็นชาวบ้านเป็นทาส พอประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมก็ทนไม่ได้ ผมรู้สึกผิดหวังจริงๆที่เราอุดส่าหนีระบอบทักษิณมาแล้ว แต่กลับมาเจอระบอบมหาดไทยที่เลวร้ายกว่านั้นเสียอีก แล้วอย่างนี้จะมาพูดถึงเรื่องการปฎิรูปการเมืองกันไปทำไม เพราะร่างกฎหมายนี้เป็นก้าวสำคัญ แต่รัฐบาลกับไม่มีท่าทีชัดเจนเหมือนกับยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์อันสับสนให้สับสนมากขึ้นไปอีก” นายสนกล่าว

นายสนกล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังเครือข่ายของสอท.ทั่วประเทศเพื่อให้มารวมตัวกันแสดงจุดยืนและยื่นหนังสือถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว นอกจากเรียกร้องเรื่องร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว ยังเห็นว่าควรเรียกร้องให้นายกฯปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย เพราะมีความคิดที่ล้าหลัง ทำให้ไม่เหมาะสมต่อการบริหารประเทศต่อไป
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 07-06-2007, 09:39 »



"อารีย์" ไม่เห็นด้วยเสนอร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2550 12:59 น.
 
 
       นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวแสดงไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน เนื่องจากหลักการบริหารแผ่นดินต้องเป็นองค์กรของประเทศที่ถูกกฎหมาย หากมีองค์กรอื่นมาแทรก เกรงจะเกิดปัญหาด้านการบริหารและอาจจะเกิดความขัดแย้ง
        นอกจากนี้ ยังเห็นว่า การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งสามารถทำได้ในระดับ อบต. และ อบจ. ส่วนเหตุผลที่ว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง ตนเห็นว่าการเมืองแทรกแซงได้ทุกองค์กร ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ส่วนการที่นายไพบูลย์ จะเดิมพันด้วยตำแหน่ง ถือเป็นสิทธิส่วนตัวที่จะตัดสินใจ ทั้งยืนยัน โดยส่วนตัว ตนและนายไพบูลย์ ไม่มีความขัดแย้งกัน

 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 07-06-2007, 09:42 »



ผมค่อนข้างจะโน้มเอียง ไปทางเห็นด้วยกับ พรบ. สภาองค์กรชุมชนครับ

มหาดไทยไม่ควรหวงอำนาจ 75ปีแล้ว ปชต.ไทย 

ควรให้ชุมชนได้มีโอกาส พิจารณาปัญหาที่กระทบชุมชนของตน เปรียบเทียบกับชุมชนอื่นๆทั่วประเทศ
บันทึกการเข้า

An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 07-06-2007, 09:57 »

หมั่นไส้อารีย์จริงๆ...

ไม่รู้จัตั้งเเง่ไปหาพระเเสงอะไร...


บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #4 เมื่อ: 07-06-2007, 10:18 »

คนจากมหาดไทย จะไม่ยอมให้กระจายอำนาจลงสู่ประชาชน เป็นเรื่องปกติค่ะ

เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ยกเลิก กำนันผู้ใหญ่บ้าน มหาดไทยและเลือดมหาดไทยจะค้านสุดแรงเกิดค่ะ เป็นมานานแล้ว ค่านิยมของเขาปลูกฝังมาอย่างนั้น

หากมีการกระจายอำนาจลงสู่ประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ โฉมหน้าของมหาดไทยอาจเปลี่ยนโฉม ถึงอาจหมดสภาพหน่วยงานไปเลยก็ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
อังศนา
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,860


Can't fight the moonlight!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 07-06-2007, 10:20 »

..เห็นชื่อคนที่ขวาง พรบ นี้แล้วไม่แปลกใจเลย 

..นายอารีย์เป็น 'ลูกหม้อ' มหาดไทยที่ยังคงความเป็นความ 'อำนาจนิยม'
สุดๆ อย่างเขาว่า อีกคนก็นายอำพน จากสภาพัฒน์ฯ นั่นก็เป็นคนกลวงๆ
ที่เผอิญได้ดิบได้ดีสมัยเหลี่ยม

บันทึกการเข้า

แม้ผืนฟ้า มืดดับ เดือนลับละลาย 
ดาวยังพราย ศรัทธา เย้ยฟ้าดิน (จิตร ภูมิศักดิ์)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #6 เมื่อ: 07-06-2007, 10:39 »

..เห็นชื่อคนที่ขวาง พรบ นี้แล้วไม่แปลกใจเลย 

..นายอารีย์เป็น 'ลูกหม้อ' มหาดไทยที่ยังคงความเป็นความ 'อำนาจนิยม'
สุดๆ อย่างเขาว่า อีกคนก็นายอำพน จากสภาพัฒน์ฯ นั่นก็เป็นคนกลวงๆ
ที่เผอิญได้ดิบได้ดีสมัยเหลี่ยม




60อดีตส.ส.ทรท.โดดร่วมไล่คมช.ปัดรับน้ำเลี้ยงทักษิณ
 
7 มิถุนายน พ.ศ. 2550 06:06:00
 
เปิดตัวกลุ่ม"คนรักทักษิณ ไม่เอาเผด็จการ" ประกาศร่วมยึดสนามหลวงชุมนุมไล่คมช. ปัดไม่มีน้ำเลี้ยง“ทักษิณ" แฉมีม็อบรับจ้างเกลื่อนกรุง สาวโรงงานร่วมชุมนุม 2 ชั่วโมง รับ 500 บาท

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ บ่ายวานนี้(6 มิ.ย.)  กลุ่ม"คนรักทักษิณ ไม่เอาเผด็จการ” นำโดยนายนิสิต สินธุไพร ผู้ประสานงานทั่วประเทศ พร้อมด้วยอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย ประมาณ 20 คน ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวกลุ่ม และแสดงเจตนารมณ์ขับไล่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) 

โดยมีสมาชิกเครือข่ายต่างๆ อีก 19 เครือข่ายร่วมด้วย เช่น ชมรมเครือข่ายแท็กซี่อีสาน กลุ่มผู้ประกอบการมัคคุเทศก์ ชมรมคนร้อยเอ็ดต่อต้านเผด็จการ ชมรมสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น 

นายนิสิต กล่าวว่า กลุ่มตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ 1.เป็นศูนย์กลางประสานงานของประชาชนทุกภาคส่วนทุกสาขาอาชีพในสังคมทั่วประเทศ เพื่อต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ  2.เข้าร่วมขับเคลื่อนกับองค์กรประชาธิปไตย และประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยทั่วประเทศในการขับไล่ คมช. และคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ และ 3.ให้คมช.คืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยเร็ว 

นายนิสิต กล่าวว่า ขณะนี้มีอดีต ส.ส.จากพรรคไทยรักไทย จากทุกกลุ่ม ทุกภาค กว่า 60 คน มาร่วมอุดมการณ์ด้วย และค่ำวันเดียวกันนี้ ทางกลุ่มจะเข้าร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวง   

"ยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มจะอยู่ในแนวทางสันติวิธี ที่จะไม่สร้างความรุนแรง และไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มไทยรักไทย"
/color]

http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/07/WW10_WW10_news.php?newsid=77657


อดีตสส.ทรท.กลุ่มนี้และอดีตกรรมการพรรคฯ 111 คน น่าจะใช้ความเห็นขัดแย้งของสองรัฐมนตรี
กรณีร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน เป็นประเด็นต่อต้าน คมช.และ รัฐบาลนี้มากกว่า ประชาชนจะในชนบทจะได้เห็นความจริงใจจะพัฒนาชนบทที่ไม่มีโครงการ"ประชานิยม" แบบว่า "กรรมการครึ่งหนึ่ง วัดครึ่งหนึ่ง" ให้เห็น...

อดีตสส.ทรท.ควรเข้าไปสนับสนุนฝ่าย"อารีย์" ที่ยังเป็นพรรคพวกเดียวกัน ร่วม"นายผู้ชาย"คนเดียวกัน......



ปล.ประชาชนเห็นว่าการต่อต้าน คมช.และ รัฐบาลนี้ ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นี้ ไม่ได้เพื่อต่อต้านรัฐประหาร เผด็จการทหารจริง ๆ แต่เป็นการเคลื่อนไหว ปลุกระดมเพื่อเรียกร้องให้"นายผู้ชาย" กลับประเทศไทย เพื่อมีอำนาจและปกป้องทรัพย์สินที่กำลังจะถูกยึดและโทษอาญา ต้องจำคุก....

เพราะพิสูจน์ได้ว่า ได้มาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปกป้องผลประโยชน์ทับซ้อนของธุรกิจส่วนตัวของ"นายผู้ชาย"....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-06-2007, 10:44 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 07-06-2007, 12:48 »



'ไพบูลย์-อารีย์'งัดข้อร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น
6 มิถุนายน พ.ศ. 2550 19:40:00
 
 
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
 
รมว.พัฒนาสังคมฯ ยันเดินหน้าผลักดันร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนหลังไม่ผ่านครม.(5มิ.ย.) พร้อมไขก๊อกถ้าไม่ผ่านอีก ด้านรมว.มหาดไทย ยันหวั่นซ้ำซ้อนสร้างความขัดแย้งอปท.-การเมืองท้องถิ่น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวถึงกระแสข่าวเขาจะลาออก เพราะไม่พอใจที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.สภาผู้นำชุมชน ที่นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้(5 มิ.ย.)ว่าได้อธิบายให้ที่ประชุมฟังว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นโยบายด้านสังคมเรื่องแรกคือ การปฏิรูปสังคม สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขอย่างสมานฉันท์ ซึ่งได้แปรมาเป็นยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ดำเนินการอยู่ คือ ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็ง และสังคมคุณธรรม"

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สังคมเข้มแข็งจะมาจากฐานรากที่สำคัญคือ ชุมชุนท้องถิ่น ซึ่งเครื่องมือสำคัญของชุมชนท้องถิ่น คือองค์กรชุมชน ซึ่งได้รวมตัวกันเป็นเครือข่าย ซึ่งขณะนี้มีอยู่หลายหมื่นแห่งทั่วประเทศ ในแต่ละตำบล ในเขตเทศบาลจะรวมตัวกันเอง ไม่มีกฎหมายรองรับ จึงเห็นว่าถ้ามีกฎหมายรองรับ และเรียกตัวเองว่า สภาองค์กรชุมชน มีตัวแทนจากชุมชนต่างๆ มารวมตันกันเป็นสภา จะได้เป็นที่ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น และร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นมีความเข็มแข็ง เป็น 3 ขา และมีความสมดุลคือ ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาองค์กรชุมชน

ผู้สื่อข่าวถามว่า กระทรวงมหาดไทยไม่เห็นด้วยในเรื่องของอำนาจ เพราะเกรงจะไปซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรงนี้ได้มีการพูดคุยกันหรือยัง นายไพบูลย์ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.สภาผู้นำชุมชน จะไม่มีอำนาจทางกฎหมายเป็นในทำนองสภาปรึกษาหารือกันเอง และหารือกับหน่วยงานอื่น ซึ่งรูปแบบนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพอใจมาก แต่ปัญหาคือร่างพ.ร.บ.ช่วงแรกได้ให้อำนาจผู้นำชุมชน คือมีอำนาจยับยั้งโครงการที่สภาฯ เห็นว่าไม่เหมาะสม ก็จะไปซ้ำซ้อน และทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหวั่นเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งกัน

แต่เมื่อมีเสียงคัดค้าน ตนได้ให้ผู้คัดค้านและผู้เสนอ ได้หารือร่วมกัน และตัดอำนาจดังกล่าวออกไป แต่ทางกระทรวงมหาดไทย คงยังอยู่กับข้อมูลเก่า อย่างไรก็ตาม ในเร็ว ๆ นี้จะให้ผู้คัดค้านมาหาปรึกษาหารือกันอีกครั้ง โดยจะให้ทางมหาดไทยดำเนินการ และอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน

นายไพบูลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้จะไม่นำไปสู่ปัญหาความแตกหัก เพราะไม่ใช่ความขัดแย้ง และไม่ใช่เรื่องแพ้ชนะ แต่เป็นเรื่องข้อมูลยังไม่พร้อม และความจริงทางมหาดไทย ทั้งนายบัญญัติ จันทน์เสนะ รมช.มหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้พูดคุยหมดแล้ว เพียงแต่ รมว.มหาดไทย และพล.ต.ท. ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ รมช.มหาดไทย ที่เข้ามาใหม่ ไม่ได้มารับรู้กระบวนการที่หารือกัน

"ผมเชื่อว่าเรื่องนี้ทำความเข้าใจกันได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ต่างคนต่างมีจุดยืนต่างกัน แต่เป็นเรื่องที่มีผู้คัดค้านมา ทางกระทรวงมหาดไทยก็เป็นห่วง ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด และพ.ร.บ.ฉบับอื่นมีความเห็นแตกต่างกว่านี้อีก ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าผมพูดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ หากร่างพ.ร.บ.ไม่ผ่านความเห็นชอบนั้น ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของกระทรวงอันดับหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล สมมุติว่าเรื่องนี้ไม่ผ่าน ก็แปลว่าเรื่องสำคัญไม่ผ่าน นโยบายสำคัญที่ทำมาในนามรัฐบาลไม่ผ่าน ผู้บริหารกระทรวงก็ต้องรับผิดชอบ” นายไพบูลย์ กล่าว

ต่อข้อถามว่านายกรัฐมนตรีว่าอย่างไร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้ว่าอะไร เพราะเป็นประธานในที่ประชุม เมื่อมีความเห็นยังไม่ตรงกัน ก็ไปทำให้ตรงกัน ปรึกษาหารือกัน ให้กฤษฎีกาดูแลเรื่องกฎหมาย

เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีห่วงหรือไม่ที่จะมีการลาออกไปอีกคน นายไพบูลย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่ากังวล เป็นเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ เจ้ากระทรวงต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ดำเนินการ

'หมอพลเดช' พร้อมไขก๊อกตาม'ไพบูลย์' หากไม่ผ่านครม.

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า เมื่อเห็นพาดหัวข่าววันนี้ว่า “ไพบูลย์-พลเดช ขู่ไขก๊อก” ก็ตกใจ ไม่ต้องการให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น เพราะโดยนิสัยและบุคลิกส่วนตัวของตนและนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ พม. ไม่เคยให้ร้ายใคร ไม่ขู่ใคร จะทำก็ทำเลย จึงไม่ต้องการให้มีการขยายเรื่องนี้ หลักการคือ เราสองคนเข้ามาช่วยรัฐบาลทำงาน เพราะเห็นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศที่จะต้องวางรากฐานในการพัฒนาสังคม ซึ่งเป็นงานระยะยาว เพราะฉะนั้น จึงต้องการมาวางยุทธศาสตร์ไม่ใช่มาทำเป็นงานประจำ ซึ่งปลัดกระทรวงและข้าราชการทำได้ดีอยู่แล้ว

นพ.พลเดช กล่าวว่า ตน และนายไพบูลย์ จึงให้ความสำคัญงานยุทธศาสตร์และนโยบาย ซึ่งหนึ่งในนโยบายสำคัญของ พม. และรัฐบาล คือ การออกกฎหมายที่ดี มีประโยชน์ เพื่อวางรากฐานในการพัฒนาสังคมในระยะยาว ซึ่งมีกฎหมาย 3 ฉบับ ที่ให้ความสำคัญ ฉบับแรก คือ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ที่ให้ความสำคัญมาก ดังนั้น ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะทำงานต่อ เพราะถือว่าไม่มีประโยชน์ที่จะได้ทำงานด้านยุทธศาสตร์ หมายความว่าไม่ควรอยู่ต่อ

สำหรับแนวโน้มของร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนนั้น นพ.พลเดช กล่าวว่า เชื่อมั่นว่า จะผ่านการพิจารณาในท้ายที่สุด เพราะประเด็นคัดค้านของนายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นการคัดค้านเนื้อหาเก่า แต่ร่าง พ.ร.บ.นี้ ได้หารือและปรับปรุงหลายส่วนแล้ว ซึ่งทั้งสองคนยังไม่ทราบ

"เมื่อวานนี้ (5 มิ.ย.) หลังจากรับประทานอาหารหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้หารือกันอีกนาน แต่ท้ายที่สุดก็เริ่มรับฟังกันได้"

'อารีย์' เมิน'ไพบูลย์'หวั่นขัดแย้ง อปท.-การเมืองท้องถิ่น

นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.... ว่าตามหลักการบริหารราชการแผ่นดิน จำเป็นต้องมีองค์กรที่ถูกต้องตามหลักการ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อบังคับใช้ในการบริหารราชแผ่นดิน

ดังนั้น เมื่อมีองค์กรอื่นเข้ามาแทรกแซงระบบของการบริหารราชการแผ่นดิน ก็จะเกิดปัญหาว่าหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่นี้จะขึ้นกับใคร ใครจะเป็นผู้บริหาร และถ้าหากมีความขัดแย้งขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กรซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ใครจะเป็นคนตัดสิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นกฎหมายขึ้นมาแล้ว ผู้ว่าราชการก็ไม่มีอำนาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวประการใด ที่ตนคัดค้าน ไม่ได้โกรธหรือมีปัญหากัน แต่พูดกันด้วยเหตุผล โดยนึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ และชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่า ถ้าจะสร้างอะไรขึ้นมาสักอย่าง จะต้องไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

เมื่อถามว่า การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนนอกจากจะทำให้ฝ่ายบริหารงานมีปัญหาแล้ว ยังทำให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ด้วย นายอารีย์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะเป็นคนละองค์กรซึ่งมีความเห็นแตกต่างกัน คงบริหารงานลำบาก เพราะเวลาใช้งบประมาณทำโครงการต่างๆ ก็ไม่รู้จะใช้งบประมาณในลักษณะใด ส่วนไหนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะต้องดำเนินการพิจารณา ส่วนไหนองค์กรที่ตั้งขึ้นใหม่จะพิจารณา มันจะเกิดความสับสน

"ผมคิดว่าสภาองค์กรชุมชนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ประชาชนปรึกษาหารือกันเอง หรือปรึกษาผู้นำของเขา แล้วผู้นำก็ปรึกษากับองค์กรซึ่งเป็นหลักของประเทศ คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มันก็จะเข้ากันได้ เพราะเขาเข้าใจกัน ตราบใดที่ตั้งองค์กรแยกออกมา ผมยืนยันว่ามีปัญหาแน่นอน" นายอารีย์ กล่าว

เมื่อถามว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ต้องการแก้ไขเรื่องที่อปท.ถูกแทรกแซงทางการเมือง นายอารีย์ กล่าวว่า มีองค์กรใดบ้างที่การเมืองไม่เข้าไปแทรกแซง องค์กรที่บอกว่าเป็นกลาง บางครั้งก็ไม่เป็นกลาง เมื่อมีหลายองค์กร การเมืองต้องเข้าแทรกแน่ และไม่มีอะไรมายืนยันว่าการเมืองจะไม่เข้าแทรก สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นการเมืองทั้งนั้น อ้างอย่างอื่นไม่ได้ ตนไม่ได้สนใจเรื่องการเมือง การเมืองเป็นสิ่งจำเป็นของประเทศ จึงต้องมีบทบาท แต่ถ้าบทบาทนั้นสร้างความขัดแย้งให้การเมืองท้องถิ่นมากขึ้น ก็ยิ่งเกิดความสับสนมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่นายไพบูลย์ ใช้ตำแหน่งรัฐมนตรีฯ เป็นเดิมพันนั้น จะทำให้เกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ นายอารีย์ กล่าวว่า ไม่ เพราะใช้หลักการและเหตุผลพูดกัน สิ่งที่ทำเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

เมื่อถามต่อว่า นายไพบูลย์ ระบุว่า ถ้าร่างพ.ร.บ.นี้ไม่ได้รับการสนับสนุน จะไม่ทำงานร่วมรัฐบาลต่อ นายอารีย์ กล่าวว่า "เป็นเรื่องของท่าน ไม่เกี่ยวกับผม" ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน ครม. จะลาออกจากตำแหน่งเหมือนนายไพบูลย์หรือไม่ นายอารีย์ ไม่ตอบอะไร ได้แต่หัวเราะและเดินขึ้นห้องทำงานไป

'ทิพาวดี' หนุนร่างกม.สภาชุมชน

คุณหญิงทิพาวดี เฆมสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย เรื่องพ.ร.บ.สภาชุมชุน ว่า เป็นเรื่องปกติที่การพิจารณากฏหมายสำคัญ ๆ รัฐมนตรีแต่ละคนจะช่วยกันพิจารณาและให้ความเห็นต่าง ๆ แต่เมื่อการอภิปรายยุติลงแล้วก็ต้องมอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฏีกา ช่วยดูในประเด็นทางกฏหมาย ซึ่งตนคิดว่าเมื่อคณะกรรมการกฤษฏีการพิจารณาเรียบร้อยแล้วก็คงสามารถผ่านไปได้

ต่อข้อถามที่ว่ามีข่าวว่านายไพบูลย์ขู่ลาออกหากกฏหมายดังกล่าวไม่ผ่านการพิจารณาของครม.และสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ ปัญหาจะบานปลายหรือไม่ รมต.ประจำสำนักรนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายไพบูลย์คงไม่ได้พูดขนาดนั้น ซึ่งในที่ประชุมครม.ก็นั่งประชุมติดกัน ซึ่งท่านมองในประเด็นที่ว่ากฏหมายนี้เป็นกฏหมายสำคัญ ทั้งนี้ตนได้ให้ความเห็นสนับสนุนกฏหมายดังกล่าวเช่นกัน

"ในบางประเด็นที่รมต.บางคนเห็นแตกต่างกันนั้นก็เป็นเรื่องปรกติ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใหญ่โตอะไร กลับมองว่าเป็นการช่วยกันดูความรอบคอบของกฏหมาย ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการนำเรื่องต่าง ๆ เข้าครม. และเรื่องใหญ่ ๆ หลายเรื่องในครม.เองก็ยังมีความเห็นแตกต่างกัน คิดว่า รองไพบูลย์ท่านหนักแน่น ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้มีประโยชน์ มีข้อขัดแย้งในประเด็นเล็กน้อย ก็อย่าถือเป็นเรื่องใหญ่โตเลย และคิดว่าคงไม่ทำให้บรรยากาศการประชุมครม.แตกแยก” รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าว
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 08-06-2007, 20:14 »



มท.1 ลั่นไม่ร่วมเวทีหารือร่าง ก.ม.สภาองค์กรฯ ไม่หวั่นการชุมนุมขับไล่
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มิถุนายน 2550 12:46 น.
 
 
       เครือข่ายสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย กว่า 300 คน นำโดยนายสน รูปสูง เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลผ่านร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ที่ถูกคัดค้านโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จนกลายเป็นประเด็นข้อขัดแย้งกับนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
        นายสน ยืนยันว่า จะเคลื่อนไหวผลักดันกฎหมายฉบับนี้จนถึงที่สุด เพราะถือเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นโดยองค์กรชุมชนทั่วประเทศ และขู่ว่า จะชุมนุมกดดันหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังขัดขวางการออกกฎหมาย ซึ่งจะสร้างความแตกแยกให้กับชุมชน และเป็นการหวงอำนาจ
        จากนั้น ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาฯ ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และนายไพบูลย์ โดยได้มีการหารือกันประมาณ 20 นาที ทั้งสองฝ่ายจึงมีท่าทีที่อ่อนลง เนื่องจากนายกรัฐมนตรี รับปากว่าจะทำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ล่าสุด ยืนยันว่า เห็นด้วยกับหลักการของกฎหมายสภาองค์กรชุมชน เพราะถือว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ แต่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน
        ด้านนายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศว่า จะไม่ร่วมประชุมเพื่อหารือถึงการหาทางออกในการร่างกฎหมายฉบับนี้ ร่วมกับทางกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยยืนยันว่า จะยึดกติกาตามที่คณะรัฐมนตรีชี้ขาด ดังนั้น คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จึงไม่จำเป็นต้องเชิญเข้าร่วมประชุมอีก
        นายอารีย์ ยืนยันว่า ไม่รู้สึกกังวลต่อคำขู่เคลื่อนไหวกดดันให้ออกจากตำแหน่งของกลุ่มสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย และไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์สาเหตุที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พยายามเร่งรัดให้ออกกฎหมายสภาองค์กรชุมชน
        การประชุมคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะนำเรื่องโครงสร้างของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ขึ้นมาพิจารณา โดยนายสุริชัย หวันแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการฯ แนะให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ หาจุดสมดุลของทั้งสองหน่วยงาน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และเห็นว่าหากมีสภาองค์กรชุมชนเข้าไปก็จะสามารถถ่วงดุลและลดความรุนแรงทางการเมืองได้ หรือเปลี่ยนแปลงการพัฒนาท้องถิ่นในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการเดินตามนโยบายอยู่ดีมีสุข
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 08-06-2007, 20:15 »



"ไพบูลย์" ขึ้นเวทีสมัชชาฯ ยืนยันนายกฯ จะผลักดันร่างฯ สภาองค์กรชุมชน
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มิถุนายน 2550 12:24 น.
 
 
       นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีกลุ่มสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย ที่เดินทางมาสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายไพบูลย์ ระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันที่จะดูแลร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ผ่านการพิจารณา และเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม อีกทั้งนายกรัฐมนตรียังมุ่งมั่นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง เป็นนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล ขณะที่จะจัดการประชุมกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ที่ท้วงติง ในเร็ววันนี้ โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
        เช่นเดียวกับ พล.อ.พงษ์เทพ ที่ระบุว่า เรื่องดังกล่าวไม่ถือเป็นความขัดแย้งระหว่าง 2 กระทรวง และมองเป็นปกติของความเห็นขัดแย้งและแตกต่าง แต่จะเป็นเรื่องดี เพราะในที่สุดรัฐบาลจะทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในทุกเรื่อง

 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 13-06-2007, 01:23 »



อันนี้นายกฯและรัฐมนตรีท่านอื่นๆ ต้องช่วยกันออกแรงดัน

อย่าหวงอำนาจครับ  ข้าราชการไทยใช่ว่าจะทำอะไรเองได้ดี..


ข้าราชการไทยบนหอคอย ข้าราชการเช้าชามเย็นชาม ข้าราชการเกิน มีมากมายเกินไป

กพ.ต้องปฏิรูปคุณภาพข้าราชการต่อไป..ผ่านการปฏิรูประบบราชการเป็นแกนหลักครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 14-06-2007, 20:33 »



พวกสนับสนุนทักษิณ สมาชิกประชาไท และราชดำเนิน ที่ผ่านมา

ไม่มีความเห็นต่อประเด็นกระทู้เลยหรือครับ?

คุยดีๆ ที่นี่ไม่มีใครว่าหรอกครับ..แต่ทำผิดให้เหตุผลอันเป็นเท็จ บิดเบือนแอบแฝงประการใดก็ต้องประจาน.. Exclamation

เพราะผมว่า บอร์ดเสรีไทยแห่งนี้ไม่ใช้ส้วม ให้ถ่ายแล้วให้คนอื่นตามล้างตามเช็ดครับ..

                                                                                                                       
บันทึกการเข้า

banana_dot
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 187



« ตอบ #12 เมื่อ: 14-06-2007, 21:47 »

ผมเห็นด้วยกับคุณไพบูลย์ที่พยายามดันร่างพรบ.สภาองค์กรชุมชน เพื่อที่ความเป็นอยู่จะได้ไม่ขึ้นกับ ส.ส. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด มากจนเกินไป
นายอารีย์ อาศัยและ หากินกับระบบนี้มานาน เป็นธรรมดาที่ไม่ต้องการให้อำนาจ ถูกตัดทอนลง ถ้ามีองค์กรท้องถิ่นที่ตัดสินใจเรื่อง งบประมาณจำเป็นต่างๆ
แล้วละก็ ข้าราชการกับส.ส.ก็จะเหมือนผู้ถูกจ้างจากประชาชนโดยตรง เพียงแค่รัฐบาลสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นแข็งแกร่งขึ้นเท่าไหร่ก็จะทำให้ประเทศ
ก้าวหน้ามากขึ้นเท่านั้น....
บันทึกการเข้า

-"ภาพแห่งความทรงจำ แม้จะเลือนรางไปตามการเวลา หากแต่เป็นเรื่องที่มีคุณค่าทางจิตใจ ย่อมจะย้อนกลับมาทำให้มีความสุขทุกครั้งที่นึกถึงเสมอ "
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 15-06-2007, 03:01 »

ผมก็สนับสนุนนะครับ ร่าง พรบ. อันนี้

ยังไงปัญหามันก็ต้องเกิดขึ้นแน่  แต่จะเกิดอย่างไรถ้าไม่ลองก็คงไม่ได้รู้

ปัญหาที่กลัวว่าจะเกิด  ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่จะมาอ้างเพื่อไม่ให้มี พรบ. นี้

มีปัญหาก็ต้องแก้กันไป  ทำเพื่อให้เกิดการพัฒนา ถ้าไม่ทำมันจะไปพัฒนาได้อย่างไร


สมัยนี้ระบบราชการต้องยอมรับว่าคงไม่สามารถที่จะตอบสนองประชาชนได้อย่างเต็มที่

เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ปัญหาก็เพิ่มเป็นเงาตามตัว หากมัวรอให้ทางราชการมาแก้ปัญหาคงไม่ทันการ

ตัวอย่างเรื่องตำรวจจะเห็นได้ชัด ว่ามีจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับประชากร ทำให้ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง พอมีปัญหาคนมาแจ้ง ก็ทำได้เพียงบันทึกไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้


ภาครัฐควรเปลี่ยนบทบาทแนวคิดว่ามีหน้าที่ปกครองประชาชน   เป็นมีหน้าที่สนับสนุน, ส่งเสริม, ประสานงาน  มากกว่า

ให้คนในพื้นที่เค้าได้เรียนรู้ที่จะคิดริเริ่มพัฒนา รับผิดชอบ กันเองบ้าง   

บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15-06-2007, 20:51 »



วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3905 (3105) จากประชาชาติธุรกิจ

"ไพบูลย์"ถอยยอมปรับร่างกม.ให้อปท.เป็นสมาชิกสภาชุมชน

"ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม" ยัน พ.ร.บ.สภาชุมชนมีทางออก เชื่อจับเข่าคุยมหาดไทยไม่ยาก พร้อมเปิดห้องรับฟังความเห็นตัวแทนส่วนปกครองท้องถิ่น 15 มิ.ย.นี้ เปิดทางยอมปรับร่างให้ตัวแทน อบต.-เทศบาล-อบจ. เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาได้

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างในกรณีที่ตนผลักดันร่าง พ.ร.บ.สภาผู้นำชุมชน เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พร้อมอธิบายหลักการและเหตุผลว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า จะทำให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง เกิดพลังทางสังคม จะสามารถจัดการตัวเองได้ แต่ปรากฏว่า ทั้งนายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายบัญญัติ จันทร์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แสดงท่าทีคัดค้าน อ้างว่าสมาคมองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) 3 องค์กร ไม่เห็นด้วยกับร่างดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน จนในที่สุดที่ประชุม ครม. และนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการหารือรับฟังความคิดเห็นและให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนส่งกลับมายัง ครม.โดยเร็วนั้น

ล่าสุดได้มีการสรุปความคิดเห็นในหลายๆ แง่มุม และเชื่อว่าน่าจะหาข้อสรุปหรือหาทางออกร่วมกันได้ โดยนายไพบูลย์เชื่อว่า หลังจากหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 12 มิ.ย. 2550 โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้าน ร่วมระดมความเห็นนั้น ตนจะเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียดว่า ตัวร่าง พ.ร.บ.สภาผู้นำชุมชนล่าสุดนั้นมีความแตกต่างจากร่างแรก โดยตัดเอาประเด็นสำคัญที่หลายๆ ฝ่ายเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็นความซ้ำซ้อนในการทำงาน การให้อำนาจสภาผู้นำชุมชน หรือการสนับสนุนงบประมาณที่เกรงว่าจะเป็นภาระนั้น ได้ปรับและตัดออกไปหมดแล้ว ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.สภาผู้นำชุมชน จึงเป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยไม่ได้มีอำนาจ ไม่มีงบประมาณ และไม่ซ้ำซ้อนกับการบริหารส่วนราชการท้องถิ่น หรือการทำงานของส่วนงานกระทรวงมหาดไทยแน่นอน

"เชื่อว่าพูดคุยให้ทราบในรายละเอียดแล้วก็จะเกิดความเข้าใจกันได้ หาทางออกร่วมกันได้ในเรื่องนี้ ไม่ใช่ประเด็นที่ผมมุ่งมั่นที่จะผลักดัน แต่ถือเป็นภารกิจของกระทรวงที่จะก่อให้เกิดผลดีในระยะยาว จุดไหนที่มีความเห็นต่าง มีข้อเสนอในการปรับแก้ก็มาพูดคุยกัน โดยในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ ผมก็เชิญตัวแทนขององค์กรปกครองท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต. และเทศบาลมาหาแนวทางร่วมกัน ตรงไหนที่เขายังติดใจก็มาคุยกัน ส่วนประเด็นที่ว่า ในตัวร่างไม่เปิดโอกาสให้ตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้นำชุมชนนั้น ก็สามารถปรับแก้ไขได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำให้เสียหลักการแต่อย่างใด" นายไพบูลย์กล่าว

ทั้งนี้เชื่อว่า หากมีข้อยุติร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและทำความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ขั้นตอนของการดำเนินการก็จะรอเพียงความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะส่งกลับมาเพื่อพิจารณา

รายละเอียดในตัวร่าง พ.ร.บ.สภาผู้นำชุมชนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าอาจจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1 เดือน จึงจะนำกลับเข้าไปพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อีกครั้ง

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: