ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 13:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  วิพากษ์คำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ : คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคด 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
วิพากษ์คำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ : คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคด  (อ่าน 1741 ครั้ง)
อนุทิน
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


เสรีภาพ อิสรภาพ สงบสุข และยุติธรรมทางกฎหมาย


« เมื่อ: 06-06-2007, 19:48 »

ก่อนจะเข้าสู่ภาคคำร้อง ผมขอเกริ่นนำความรู้ที่จะใช้ประกอบการวิพากษ์ดังนี้

1.) หลักนิติธรรม คือ
1. การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหาย การกำหนดกฎ กติกา และการปฏิบัติตาม กฎ กติกา ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของสมาชิก

2. ไม่มีพระราชาองค์ใด พระราชินีองค์ใด ประธานาธิบดีใด นายกรัฐมนตรีใด บุคคลใด หรือประชาชนใดอยู่เหนือกฎหมาย

3. รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยใช้อำนาจของตนผ่านทางกฎหมายและต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นกัน

4. กฎหมายต้องแสดงเจตจำนงของประชาชน ไม่ใช่ของพระราชา พระราชินี ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี เผด็จการทหาร ผู้นำทางศาสนา หรือพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเอง

5. ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยเต็มใจเชื่อฟังกฎหมาย และพวกเขาอยู่ใต้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆเช่นกัน

6. ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้เมื่อกฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยคนที่เคารพกฎหมายนั้น

7. ภายใต้หลักนิติธรรมที่แข็งแกร่งนั้น ระบบศาลที่เข้มแข็ง จะมีความเป็นอิสระ มีอำนาจ ทรัพยากร เกียรติภูมิ รวมทั้งถูกถ่วงดุล ตรวจสอบ และถูกตรวจสอบอำนาจที่ทัดเทียมกัน(อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจฝ่ายบริหาร) ด้วยเหตุนี้

8. ผู้พิพากษาต้องผ่านการศึกษาอบรมอย่างดี มีความสามารถ เป็นมืออาชีพ เป็นอิสระ  ไม่ฝักใฝ่หรือเอนเอียงเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพื่อดำรงบทบาทที่จำเป็นในระบบกฎหมายและการเมือง ผู้พิพากษาต้องยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย


โดยมีหลักย่อยต่างๆ เช่น

1. บุคคลจะได้รับผลร้าย ก็ต่อเมื่อเขาได้กระทำการอันกฎหมายได้บัญญัติว่าเป็นความผิด ในขณะที่เขากระทำ
และบุคคล จักได้รับผลร้าย เกินจากกฎหมายที่มีอยู่ในขณะที่เขากระทำความผิดไม่ได้ เรียกว่าหลัก "ไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย”

2. ในกรณีที่มีบางคนในคณะ ได้กระทำความผิดคณะนั้นหรือคนอื่นในคณะนั้น อาจต้องรับผิดด้วย ถ้าได้มอบหมาย เห็นชอบ ร่วม รู้เห็นหรือยินยอมกับการกระทำความผิดนั้น ซึ่งหลักนี้ เป็นการยกเว้นหลักทั่วไปที่ว่า บุคคล จักได้รับผลร้าย
ก็เฉพาะจากการกระทำความผิดของเขาเอง


2.) นิติประเพณีของไทย
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจตุลาการโดยผ่านทางศาล


3.) ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ

1. หมวด 1 อุดมการณ์ของผู้พิพากษา ข้อ 1 หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย และนิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนเองและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ

2. หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี ข้อ 10 การบันทึกคำเบิกความ ผู้พิพากษาจักต้องบันทึกเฉพาะข้อความในประเด็นข้อพิพาท หรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาท และต้องได้สาระถูกต้องครบถ้วนตามคำเบิกความ
การบันทึกคำแถลงและรายงานกระบวนพิจารณา จักต้องให้ได้ความชัดแจ้งและตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ


4.) หลักของกฎหมาย

กฎหมายจะต้องกติกาที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ มีกระบวนการออกกฎหมายที่ถูกต้องตามข้องตกลงของสังคม ประกันความยุติธรรมโดยทั่วไปไม่ใช่จำเพาะเจาะจง และต้องมีสภาพบังคับ


5.) นิติรัฐ คือ

กระบวนการบริหารการปกครองที่ใช้กฎหมายเป็นหลัก


6.) หลักนิติปรัชญา คือ

หลักการและปรัชญาทางกฎหมายที่สังคมได้สร้างสมมานานอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป



เมื่อเรามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแล้ว คราวนี้เรามาวิพากษ์คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ 30 พฤกษาคม 2550 กัน ดังนี้

ประเด็นวินิจฉัยข้อ 1 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่

ข้อวิพากษ์ : ทางพรรคไทยรักไทย อ้างว่า อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดียุบพรรคการเมืองเป็นอำนาจของศาลซึ่งเป็นอำนาจตุลาการในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล และไม่ใช่องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้ว อำนาจหน้าที่และภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง แม้ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจาณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจพิจาณาคดีนี้เพราะขัดกับหลักนิติรัฐ อีกทั้งขัดต่อหลักการปกครองตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่าน(นิติปรัชญา) และขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(นิติประเพณี)


ข้อโต้แย้ง : คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแย้งว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า

บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยทีประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยวิธีลงคะแนนลับจำนวน 2 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ

และ มาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติว่า

บรรดาอรรถคดี หรือการใด ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบ ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจพิจาณาพิพากษาคดีนี้ ไม่ว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นศาลหรือหรือองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ก็ตาม



ข้อวิพากษ์ : พรรคไทยรักไทยอ้างว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้เพราะขัดกับหลักนิติรัฐ อีกทั้งขัดต่อหลักการปกครองตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่าน (นิติปรัชญา) และขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (นิติประเพณี)


ข้อโต้แย้ง : คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแย้งว่า เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยคณะผู้พิพากษาและตุลาการที่มาจากศาลยุติธรรมและศาลปกครองอันเป็นองค์กรตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และมีความเป็นอิสระ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงไม่ขัดต่อหลักนิติรัฐ



ข้อวิพากษ์ต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณีประเด็นวินิจฉัยนี้

1.คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ แย้งข้อวิพากษ์ของพรรคไทยรักไทยเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น คือ อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ขัดหลักนิติรัฐ แต่ไม่มีข้อแย้งว่า อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขัดกับนิติปรัชญาและหลักนิติประเพณีหรือไม่


2. การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ้างความชอบธรรมในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ โดยอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 ถือว่าเป็นการขัดกับหลักนิติธรรมที่ว่า

กฎหมายต้องแสดงเจตจำนงของประชาชน ไม่ใช่ของพระราชา พระราชินี ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี เผด็จการทหาร ผู้นำทางศาสนา หรือพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเอง

เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 ไม่ได้ออกโดยเจตจำนงของประชาชน แต่ออกโดยคณะรัฐประหาร(เผด็จการทหาร)


3.การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ้างว่า

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยคณะผู้พิพากษาและตุลาการที่มาจากศาลยุติธรรมและศาลปกครองอันเป็นองค์กรตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และมีความเป็นอิสระ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 วรรคสี่ บัญญัติให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอำนาจคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงไม่ขัดต่อหลักนิติรัฐ 
      
เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง เป็นคนละองค์กรกัน ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น รับรองแล้ว ต่อตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านไผ่ว่างลง นาย ก. จะไปปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลบ้านไผ่ โดยอ้างว่า ตนเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น รับรองแล้ว ไม่ได้


4. อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขัดต่อนิติประเพณี เนื่องจากข้อ(3)ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ที่คณะผู้พิพากษาสังกัดอยู่ กับศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคนละองค์กรกัน และขณะที่ปฏิบัติงานหน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์  (พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยให้คณะผู้พิพากษานี้ ปฏิบัติงานในหน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ)


5. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผิดต่อประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ หมวด 1 อุดมการณ์ของผู้พิพากษา ข้อ 1

หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย และนิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนเองและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ

เนื่องจาก ข้อ(4) ขัดต่อนิติประเพณี


6. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผิดต่อประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี ข้อ 10

การบันทึกคำเบิกความ ผู้พิพากษาจักต้องบันทึกเฉพาะข้อความในประเด็นข้อพิพาท หรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาท และต้องได้สาระถูกต้องครบถ้วนตามคำเบิกความ
การบันทึกคำแถลงและรายงานกระบวนพิจารณา จักต้องให้ได้ความชัดแจ้งและตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ

เนื่องจาก ข้อ(1) คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ตอบประเด็นข้อพิพาท ไม่ครบถ้วนตามคำเบิกความ โดยตอบเฉพาะประเด็นนิติรัฐ แต่ไม่ตอบในประเด็นนิติปรัชญา และนิติประเพณี



ดังนั้น

จากข้อวิพากษ์ต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณีประเด็นวินิจฉัยนี้ ทั้งหมด สรุปได้ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 06-06-2007, 20:04 »

ข้อความที่ยกมา ให้ความรูดีค่ะ

แต่สำหรับประโยคนี้

อ้างถึง
จากข้อวิพากษ์ต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณีประเด็นวินิจฉัยนี้ ทั้งหมด สรุปได้ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

สรุปได้ไม่ตรงประเด็นค่ะ

อำนาจ ค่ะ  ต้องพิจารณาคำว่า อำนาจ

ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจรณาพิพากษาคดีหรือไม่ อยู่ที่ พิพากษาแล้วบังคับผลการพิพากษานั้นได้หรือไม่

ศาลเจ้าแป๊ะกง ถ้าพิพากษาใช้เครื่องประหารหัวสุนัข ตัดหัวจำเลยแล้ว สามารถบังคับใช้คำพิพากษานั้น ตัดหัวจำเลยได้ ศาลเจ้าแป๊ะกงนั้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีค่ะ   
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06-06-2007, 20:19 »




วิพากษ์ไมได้ครับ ระวังติดคุก 

แต่วิจารณ์ได้ เพียงแต่สิ่งที่ยกมา ฟังไม่ขึ้นเลยครับ..

ลองอ่านนิติปรัชญาและนิติประเพณีของคุณใหม่นะครับ..ข้อเท็จจริงของคดีไม่มีเลยครับ เลื่อนลอยไร้นำหนัก..
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: