ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 14:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ที่สุดเด็ดขาดของคำวินิจฉัยของตุลาการ รธน.ตามรธน.แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่างๆ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ที่สุดเด็ดขาดของคำวินิจฉัยของตุลาการ รธน.ตามรธน.แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่างๆ  (อ่าน 1101 ครั้ง)
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« เมื่อ: 06-06-2007, 18:32 »

ความเป็นที่สุดเด็ดขาดของคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่างๆ

จากคำวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักไทยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ก็มีปัญหาถกเถียงกันว่าคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นที่สุดเด็ดขาดหรือไม่ พรรคไทยรักไทยหรือกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองจะสามารถอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว เช่น การขอนิรโทษกรรม ไปยังองค์กรใดได้อีกหรือไม่

ปัญหาดังกล่าวจากการศึกษาถึงพัฒนาการของการมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ จะพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 8 ฉบับ ได้แก่ รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2489 พุทธศักราช 2492 พุทธศักราช 2495 พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 พุทธศักราช 2521 พุทธศักราช 2534 และพุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่สุดเด็ดขาด ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บัญญัติว่า"คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด..."

หมายความว่าเมื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นที่สุดเด็ดขาด มีผลผูกพันบุคคลหรือองค์กรผู้เป็นคู่กรณีในเรื่องที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยรวมทั้งองค์กรอื่นของรัฐ บุคคลหรือองค์กรผู้เป็นคู่กรณีหรือองค์กรของรัฐอื่นๆ ไม่สามารถโต้แย้งคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญไปยังองค์กรอื่นใดได้อีกแม้กระทั่งต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญเอง

ทั้งนี้เนื่องจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญมีเพียงองค์กรเดียวหรือศาลเดียวไม่มีลำดับชั้นของศาลเหมือนศาลยุติธรรมที่มี 3 ชั้นศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา หรือศาลปกครองที่อย่างน้อยมี 2 ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด เมื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นที่สุดเด็ดขาดหรือมีผลบังคับในทางกฎหมายทั้งในทางรูปแบบและในทางเนื้อหาตั้งแต่วันที่ได้มีการอ่านคำวินิจฉัยหรือส่งคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญให้คู่กรณีทราบ และส่งผลให้คู่กรณีในคดีหรือหรือองค์กรที่ถูกผูกพันต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นที่สุดเด็ดขาดแล้วด้วยกระบวนการทางกฎหมายต่อไปยังองค์กรอื่นใดได้อีก

ในขณะเดียวกันคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำวินิจฉัยหรือหยิบยกเรื่องที่ตนได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วขึ้นมาทำการวินิจฉัยชี้ขาดใหม่ได้อีก ตามหลักทั่วไปของการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ดังนั้นคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นที่สุดเด็ดขาดนั้นจึงเป็นมาตรการที่แน่นอนในการชี้สิทธิหน้าที่หรือนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญระหว่างคู่กรณีในคดีว่าดำรงอยู่อย่างไรและต้องถูกผูกพันและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว

ในประเทศที่กำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี รัฐธรรมนูญของประเทศดังกล่าวก็มีการกำหนดให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่สุดเด็ดขาดไม่สามารถอุทธรณ์โต้แย้งไปยังองค์กรอื่นใดได้อีกเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญไทย โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสได้บัญญัติรับรองหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส มาตรา 62 วรรคสองว่า "คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่อาจถูกอุทธรณ์หรือโต้แย้งใดๆ ได้เลย และย่อมมีผลบังคับผูกพันอำนาจมหาชนทั้งหลายและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตลอดจนองค์กรตุลาการ" กรณีจึงอาจกล่าวได้ว่าความเป็นที่สุดเด็ดขาดของคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญหรือศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลักทั่วไปของผลบังคับในทางกฎหมายของคำวินิจฉัยขององค์กรที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ

ดังนั้นการที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวจึงเป็นที่สุดเด็ดขาดหรือมีผลบังคับในทางกฎหมายทั้งในทางรูปแบบและในทางเนื้อหาตั้งแต่วันที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยหรือส่งคำวินิจฉัยให้คู่กรณีทราบ พรรคไทยรักไทยหรือกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองในฐานะที่เป็นคู่กรณีในเรื่องที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไม่สามารถอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวไปยังองค์กรอื่นใดได้อีกแม้ต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเอง และแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 จะไม่ได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นที่สุดเด็ดขาดเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาๆ กรณีก็ต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นที่สุดเด็ดขาดไม่สามารถอุทธรณ์โต้แย้งไปยังองค์กรอื่นใดได้อีกเช่นกัน ตามมาตรา 38 ที่บัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข........." เพราะความเป็นที่สุดเด็ดขาดของคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นหลักทั่วไปของผลบังคับในทางกฎหมายของคำวินิจฉัยขององค์กรที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ มิเช่นนั้นแล้วจะก่อให้เกิดความไม่มั่นคงแน่นอนแห่งสิทธิและความไม่น่าเชื่อถือต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

 
บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #1 เมื่อ: 06-06-2007, 18:34 »

บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
หน้า: [1]
    กระโดดไป: