ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 08:24
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ความต่างระหว่างการจับผิดตามหน้าที่กับการเพ่งโทษ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ความต่างระหว่างการจับผิดตามหน้าที่กับการเพ่งโทษ  (อ่าน 686 ครั้ง)
กาลามชน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 717


« เมื่อ: 04-06-2007, 13:01 »

จากเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว (ผู้แต่ง - ดังตฤณ) เล่มที่ 1 ตอนที่ 2

ปัญญาทางโลกแบบที่ต้องคอยสังเกตสังกาหรือตรวจสอบการกระทำของผู้อื่นนั้นมีหลายแบบครับ ลองดูแล้วกันว่าของคุณเข้าข่ายแบบใด

๑) การตรวจสอบแบบที่มีเจตนาป้องกัน หรือระงับยับยั้งความเสื่อมเสียของตัวเขาเอง หรือลดความเสียหายของส่วนรวม โดยมีสติ มีเหตุผล ปราศอคติชอบชังเป็นส่วนตัว อย่างนี้บางทีเมื่อต้องตักเตือนก็อาจทำให้เกิดเวรต่อผู้เจ็บใจก็จริง เพราะคนเราไม่ชอบถูกใครว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการรายงานหรือบันทึกความประพฤติที่ผิดพลาดเอาไว้ ก็จะเป็นเหมือนการไปสร้างบาดแผลไว้กลางใจคนที่โดน

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้มีหน้าที่ตรวจสอบในแนวทางนี้ตายไปก็จะไม่ไปอบายเพราะกรรมที่ต้องตรวจสอบผู้อื่นโดยสุจริต และแม้เกิดใหม่ก็จะไม่ไปอยู่ในบ้านหรือที่ทำงานที่ราวีกันอย่างไร้เหตุผล ภัยเวรที่อาจมีบ้างก็จะมาในรูปของการเจรจาแก้ปัญหากันด้วยสันติวิธี มีเหตุผล ถ้าเจอคู่เวรแบบที่ต้องพบกันประจำก็มักเป็นประเภทมีทิฐิมานะน้อย ไม่เอาชนะกันด้วยวิธีสกปรก (ใช่จะไม่มีสิทธิ์เจอคนประเภทพยายามเอาชนะด้วยวิธีสกปรกเสียเลย เพียงแต่จะไม่ใช่คู่กัดถาวร ไม่ต้องทนทู่ซี้อยู่กับเขาเป็นปีๆ)

๒) การตรวจสอบแบบที่มีเจตนาหาจุดอ่อนของคู่แข่งเพื่อนำมาสร้างอาวุธทำลายล้างกัน กรรมข้อนี้นับเป็นการก่อเวรอย่างชัดเจน เหมือนเกมที่ต้องเอาชนะกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ บุคคลละความชนะและความแพ้เสียแล้ว จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข คนที่ต้องทำงานหรือทำกิจกรรมแบบจ้องชิงชัยหักล้างกันย่อมทราบผลกรรมอันเป็นปัจจุบันได้อยู่แล้ว

หากการเอาชนะเป็นประเภทคอขาดบาดตาย จัดเป็นกรรมที่ยืนพื้นอยู่บนโทสะ สังเกตง่ายๆว่าถ้าแพ้จะโกรธฉุนเฉียว ถ้าชนะจะสะใจสมน้ำหน้าคู่แข่ง เมื่อละจากโลกนี้อาจได้ไปอบาย เพราะอบายเป็นสถานที่รองรับกรรมซึ่งยืนอยู่บนพื้นกิเลส (คือราคะ โทสะ โมหะ) แต่ถ้ามีกรรมดีอื่นอุ้มไว้ก็อาจไม่ตกต่ำลงถึงอบาย ทว่าถึงคราวกลับมาเป็นมนุษย์อีกก็จะเข้ามาอยู่ในวังวนภัยเวรวงจรเดิมๆ มีแพ้มีชนะ มีการก่อเวร มีการนอนอมทุกข์ และมักเจอะเจอคนใกล้ชิดที่ชวนให้ระหองระแหงง่าย ต่างฝ่ายต่างชอบเอาชนะ แม้จะเป็นพ่อแม่ลูกกันแท้ๆก็ตาม ประเภทขิงก็ราข่าก็แรง เมื่อทำงานก็มักเจอแต่ภาระประเภทต้องเอาหอกดาบจริงๆไปทิ่มแทง หรือเอาขวานในปากไปจามแก้วหูผู้อื่น

๓) การตรวจสอบแบบที่มีอคติ มีความเกลียดชัง มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกประมาณว่าเพื่อด่าเอามัน พูดง่ายๆว่าแกพูดหรือทำอะไรมาฉันด่าแหลก จับผิดลูกเดียว เที่ยวไปโพนทะนาให้เจ็บใจโดยไม่มีความปรารถนาดีต่อกันอยู่เลย

ตายจากชาติปัจจุบันมีสิทธิ์ไปอบายมากกว่าข้ออื่น เพราะกรรมยืนพื้นอยู่บนโทสะและโมหะอย่างแรง คือคนเราต้องมีโทสะมากถึงเกลียดกันได้ขนาดทำอะไรมาด่าหมด และจะต้องมีโมหะ (หลงสำคัญผิด) ห่อหุ้มจิตมืดมิดยิ่งถึงไม่เห็นความดีของเขาเลย คล้ายม้าโดนครอบให้เห็นลู่วิ่งทางเดียว พุ่งไปในทางเดียว ไม่มีมุมมองอื่นที่แตกต่างไปจากนั้น

หากมีสิทธิ์เกิดเป็นมนุษย์ใหม่ในคราวหน้า ก็อาจระเห็จไปอยู่ในบ้านที่ญาติๆจ้องแต่จะหาแพะรับบาป จะรู้เห็นเรื่องการโยนโทษให้คนอื่นมาตั้งแต่เด็กๆ โยนผิดได้เป็นโยน ไม่เผื่อใจไว้เห็นความผิดตัวเองบ้างเลย พอโตขึ้นก็จะมองโลกในแง่ร้ายเสียมาก ความดีชัดๆของคนอื่นมองไม่ค่อยเห็น เห็นแต่ความเลวแม้เพียงเล็กน้อยของเขา

โลกนี้ไม่มีคนปราศจากอคติ แต่ก็มีการฝึกฝนอบรม ขัดเกลานิสัยให้อคติน้อยลงได้ ปัจจุบันชั้นเรียนประถมของบางโรงเรียนก็สอนให้หาที่ติของเพื่อนๆ รวมทั้งฝึกให้ยอมรับเสียงติติงจากคนอื่น นี่ก็เป็นแนวทางลดความลำเอียงลงได้มาก

ในทางพุทธมีข้อธรรมประการหนึ่งคือในพรหมวิหาร ๔ คือพระพุทธเจ้าสอนให้มองผู้อื่นอย่างมีเมตตา เมื่อมีเมตตาก็ยากขึ้นที่เราจะอยากก่อเวรแม้ด้วยความคิดกับเขา แต่เมื่อต้องทำงานร่วมกัน จำเป็นต้องตักเตือนหรือบันทึกความผิดของผู้อื่นตามหน้าที่ ก็จะมีความเป็นกลาง เป็นอุเบกขา คือไม่ได้ตักเตือนหรือบันทึกความผิดของเขาด้วยอคติหรือมีเจตนาประทุษร้าย ทว่าเห็นกรรมหรือข้อบกพร่องของเขาตามจริง และทราบว่าที่ต้องเตือนหรือบันทึกความผิดไว้นั้น จัดเป็นการที่เขาต้องเสวยผลที่เขาทำมาเอง อย่างนี้ได้ชื่อว่าเราสานเวรไว้น้อยที่สุดหรือไม่มีเวรเลย (ถ้าเขาไม่ผูกใจเจ็บ)

อยู่ในโลกมนุษย์นั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กระทบกระทั่งกัน แม้แต่ในวินัยของพระ ยังมีบัญญัติว่าถ้าเห็นพระด้วยกันทำผิดแล้วไม่ตักเตือนจัดเป็นอาบัติเลยทีเดียว สิ่งที่ควรคำนึงก็มีแต่ว่าจะคิดอย่างไร ตั้งจิตไว้อย่างไรจึงตักเตือนหรือบันทึกความผิดผู้อื่นโดยปราศจากการครอบงำของอคติและความชิงชังเท่านั้น
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04-06-2007, 13:06 »

มันก็เป็นแบบนี้ทั้งสองฝ่ายมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล่วล่ะครับ แต่มันมีฝ่ายธรรมะและอธรรม พวกที่ผิดแล้วไม่ยอมรับผิด สร้างแต่ความชั่วร้ายก็เป็นฝ่ายอธรรมหรือฝ่ายมารอย่างทรท. ไม่รู้จักแพ้ มีแต่จะเอาชนะ บ้านเมืองมันถึงจะล่มจมถอยหลังลงคลองอยู่แบบนี้ไง
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


หน้า: [1]
    กระโดดไป: