ทัศนะวิจารณ์
เศรษฐศาสตร์จานร้อน:สาเหตุของการยุบพรรคไทยรักไทย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
คำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีของพรรคไทยรักไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย มีความยาวถึง 105 หน้า ทำให้ทุกคนยอมรับว่า มีความครบถ้วนและครอบคลุมทุกประเด็น แต่ประเด็นที่ผมเห็นว่าสำคัญและน่าศึกษามากที่สุด คือ ประเด็นวินิจฉัยข้อ 11 (หน้า 96-100) ที่ว่าด้วยสาเหตุที่สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้งสาม (รวมทั้งไทยรักไทย) ตุลาการฯ กล่าวว่า "
พรรคการเมืองจะต้อง...มีเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม แต่เมื่อพิจารณาถึงที่มาของการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกายุบสภา ว่าเป็นเพราะมีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน และขยายตัวไปในทางกว้างขวางและรุนแรงขึ้น
ซึ่งการชุมนุมดังกล่าว ปรากฏในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ...ว่ามีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนไม่พอใจที่พันตำรวจโททักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทยขายกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐให้แก่บริษัทที่เป็นของรัฐบาลต่างชาติเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแก่รัฐ และปรากฏว่าก่อนการขายกิจการดังกล่าวเพียง 3 วัน ก็มีการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ที่มีเนื้อหาสาระ เป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยในกิจการโทรคมนาคม...
อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นกฎหมายที่ตราออกมา เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายกิจการดังกล่าว การยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จึงมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวของหัวหน้าพรรคไทยรักไทย มิได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างองค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ หรือระหว่างพรรคการเมืองในฝ่ายบริหารด้วยกันเอง หรือมีปัญหาอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่สมควรคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองแก่ประชาชนด้วยการยุบสภา ทั้งการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัว...[/color"
ด้วยเหตุนี้ คณะตุลาการฯ สรุปว่า เหตุดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าหัวหน้าพรรคไทยรักไทย มีอำนาจเหนืออุดมการณ์ของพรรคอย่างเด็ดขาด นอกจากนั้น การกำหนดการเลือกตั้งเพียง 37 วัน หลังการยุบสภา ก็เป็นข้ออ้างให้พรรคการเมืองฝ่ายค้าน นำมาเป็นข้ออ้างในการไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และนำไปสู่การที่พรรคไทยรักไทยให้เงินสนับสนุนพรรคเล็กส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ ทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ครั้งที่ 2 และ 3 และในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อ 8 พฤษภาคม 2549 ให้เพิกถอนการเลือกตั้ง จนต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และเกิดการยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 19 กันยายน คณะตุลาการฯ มีความเห็นว่า
"ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเริ่มมาจากปัญหาส่วนตัวของหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และการกระทำของพรรคไทยรักไทย ไม่เพียงเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศไทย โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ...
การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อ 2 เมษายน 2549 เป็นเพียงแบบพิธีที่จะทำไปสู่การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น...แสดงให้เห็นว่า พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน... พรรคไทยรักไทยมิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ เพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้า ดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ... จนยากที่จะหาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดิน โดยแอบแฝงไว้ ซึ่งผลประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้อง พฤติการณ์ของพรรคไทยรักไทยดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่า พรรคไทยรักไทยไม่อาจดำรงความเป็นพรรคการเมืองที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครองของประเทศโดยรวมได้อีกต่อไป กรณีนี้ จึงมีเหตุอันสมควรยุบพรรคไทยรักไทย"
ผมจึงสรุปว่า การขายบริษัทโทรคมนาคมที่ได้สัมปทานจากรัฐให้กับต่างชาติโดยไม่เสียภาษีและความเคลือบแคลงสงสัยว่า มีการออกกฎหมายเพื่อรองรับการขายธุรกิจดังกล่าว ทำให้ประชาชนคัดค้านอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้ต้องยุบสภา โกงเลือกตั้ง ซึ่งสร้างปัญหาจนเกิดการยึดอำนาจในที่สุด นั่นคือ พรรคไทยรักไทยกระทำการทั้งตามกฎหมายและนอกกฎหมายเพื่อผูกขาดอำนาจ ดังนั้น จึงมีเหตุสมควรต้องยุบพรรคไทยรักไทย ทั้งนี้ ทำให้รู้สึกเป็นห่วงพัฒนาการประชาธิปไตยในเมืองไทย เพราะคนไทยนั้นดูเหมือนว่าถูกหลอกลวงให้เลือกพรรคไทยรักไทยเข้ามาสู่อำนาจได้อย่างง่ายดาย จึงต้องระวังอย่างยิ่ง มิให้ถูกชี้นำเช่นนี้อีกครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/04/WW12_1210_news.php?newsid=76131 อดีต"รักษาการหัวหน้าพรรคฯ"จาตุรนต์และแกนนำพรรคฯ จะกล่าวถึงปลายเหตุว่า การยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกิจกรรมการเมืองของกรรมการพรรคฯ 5 ปี นั้นรุนแรง โดยไม่ยอมพูดถึงการวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า 5-6 ปีที่พตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคฯ และกรรมการพรรคฯ ได้ร่วมกันกระทำทำร้ายระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และ ฉ้อราษฎร์บังหลวง การหลีกเลี่ยงภาษี มากมายเพียงใด ตามที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ได้นำมากล่าวอ้างถึงในบทความนี้....คนไทยที่ได้ฟัง ได้ชมการให้สัมภาษณ์ของแกนนำพรรคไทยรักไทย อาจจะสับสนคิดว่าตุลาการรัฐธรรมนูญ "รุนแรง"กว่าเหตุ.....
หรือ คนที่ได้อ่านกระทู้หรือคคห.ของคนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก หรือ นักรักประชาธิปไตย(รูปแบบ) ได้แสดงความคิดเห็นแนวเดียวกับอดีต"รักษาการหัวหน้า" อาจจะสับสน หรือ คล้อยตามไปด้วย....
จึงแนะนำให้อ่านคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ละเอียดและถ่องแท้เสียก่อน จะหลงคารมแกนนำพรรคไทยรักไทย....ปล. คุณสราวุธ เบญจกุล ในฐานะ"โฆษกศาลยุติธรรม" แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้อดีต"รักษาการหัวหน้าพรรคฯ" จาตุรนต์ แปลคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ เพื่อแพร่สู่สาธารณชนทั่วโลกด้วย น่าจะเป็นสิ่งยืนยันการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เที่ยงธรรม และยุติธรรมของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้.....
