ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 21:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สรุปสำนวน การตรวจสอบเรื่องที่ดินรัชดา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สรุปสำนวน การตรวจสอบเรื่องที่ดินรัชดา  (อ่าน 2071 ครั้ง)
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« เมื่อ: 15-05-2007, 13:10 »

เปิดสำนวนคตส. คดีที่ดินถนนรัชดา ฟัน'พจมาน-ทักษิณ'
 
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 07:09:00
 
สรุปเฉพาะ ๑๐ ประเด็นปัญหา เช่น นายกฯเป็นจนท.รัฐและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายหรือไม่ นายกฯ มีอำนาจกำกับดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูหรือไม่ เอาผิด'พจมาน-ทักษิณ'

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สรุปสำนวนการตรวจสอบไต่สวนที่ คตส.๐๐๔/๒๕๕๐
เรื่อง  การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

กรณี  การซื้อขายที่ดินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ที่ดินถนนรัชดา)

สรุปเฉพาะประเด็นปัญหาที่จะต้องพิจารณา ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ ประเด็น คือ


๑. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในราชการส่วนกลางหรือไม่

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เห็นว่า องค์กรอิสระมีได้ ๒ ระดับ คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระในทางปกครอง เช่น กทช. และ กสช. เป็นต้น ในการจัดตั้งองค์กรอิสระจะต้องปรากฏชัดในกฎหมาย  สำหรับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อพิจารณาตามบทกฎหมายดังต่อไปนี้คือ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๕ มาตรา ๔, ๑๔, ๒๙ ตรี, ๒๙ เบญจ, ๒๙ สัตต 

พระราชบัญญัติคุณสมบัติและมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๔  พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๔

และพิจารณาจากที่กระทรวงการคลัง เคยมีหนังสือลับมากที่ กค ๐๓๐๓/๓๔๒๗๙ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๐  รับรองเป็นหลักฐานว่ารัฐบาลรับรองดูแลให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินการตามโครงการ หากปรากฏว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับความเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าว รัฐบาลรับรองว่าจะดูแลมิให้ความเสียหายตกเป็นภาระแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จากหนังสือของกระทรวงการคลังดังกล่าว

ต่อมา ได้มีการตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อชดเชยความเสียหายและปรับโครงสร้างแหล่งเงินทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จากนั้น รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง  พ.ศ. ๒๕๔๕

คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๔/๒๕๔๓, ๕๔๘๙ - ๕๔๙๔/๒๕๔๓ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๔๘๗/๒๕๑๑ ซึ่งเมื่อพิจารณาบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นประกอบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเห็นว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหน่วยงานของรัฐที่สังกัดในราชการส่วนกลาง ข้ออ้างของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองไม่สามารถที่จะฟังหักล้างตัวบทกฎหมายและแบบอย่างของคำวินิจฉัยดังกล่าวได้

๒. นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายหรือไม่

ในประเด็นนี้คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้แยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี คือ

๒.๑ นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่  ซึ่งเมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ ให้คำนิยามของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า  ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ...และบัญญัติต่อไปว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมายความว่า ๑. นายกรัฐมนตรี ... ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทวิเคราะห์ศัพท์ของกฎหมายดังกล่าว

๒.๒ นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายหรือไม่  คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔, ๕ และ ๖ นั้นระบุว่า  นายกรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง

ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการการเมือง ในฐานะข้าราชการการเมืองที่มีกฎหมายกำหนด จึงต้องถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา

๓. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูหรือไม่
ในประเด็นนี้ คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑, ๓๘, ๓๙  ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรื่องกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒  พ.ศ. ๒๕๔๔  พิจารณาตามธรรมเนียมการปกครองแผ่นดินตามที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับบัญญัติไว้

โดยพิจารณาจากประกาศพระบรมราชโองการการแต่งตั้งรัฐมนตรีและการให้รัฐมนตรีพ้นความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีฉบับต่าง ๆ พิจารณาจากการใช้อำนาจสั่งการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ออกในเรื่องต่าง ๆ เช่น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๔๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เรื่องมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ 

และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งให้ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ดังตัวอย่างเช่น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๖๖/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๖  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๑๗๙/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๓/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๖  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๓/๒๕๔๗  ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ 

พิจารณาจากถ้อยคำที่ใช้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  พิจารณาจากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ในกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รวมทั้งพิจารณาจากคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีเองที่กล่าวในรายการ นายกทักษิณคุยกับประชาชนทางกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งนายกรัฐมนตรีได้เคยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑ (๘) ออกระเบียบเกี่ยวกับกิจการที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการติดตามการดำเนินงานและการพัฒนานโยบายรัฐวิสาหกิจ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๘ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ อันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่ารัฐวิสาหกิจนั้นจะต้องอยู่ในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑

เมื่อประมวลดูเหตุผลตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งถูกต้องห้ามกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๐ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒

จึงจะสอดคล้องกับหลักการบริหารราชการแผ่นดินและเป็นไปตามวิญญาณของกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  มิฉะนั้นก็จะเกิดปัญหาขึ้นว่าปลาเล็กเท่านั้นที่กินเหยื่อแล้วติดเบ็ด แต่ปลาใหญ่กินเหยื่อไม่ติดเบ็ด และเห็นต่อไปว่าในการฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา ๑๐๐ (๑) และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดห้ามกระทำ และถ้าการกระทำที่ได้กระทำไปนั้นได้ประโยชน์ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตตามนิยามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑)

๔. การที่คู่สมรสนายกรัฐมนตรีทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่
คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า คำว่า “ผลประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวม” ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๙ นั้น หมายถึง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๐ (๑) และถ้ามีการกระทำตามที่กล่าวไว้ในแต่ละวงเล็บแล้ว ไม่ว่าการกระทำในการเป็นคู่สัญญาหรือเป็นการเข้าประมูลก็ดีนั้นจะให้ราคาสูงหรือต่ำ ไม่ใช่เป็นส่วนที่เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับมาตรา ๑๐๐  นอกจากนั้นยังได้ความจากคำพยานบุคคลว่าในระหว่างความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย จะมีความต้องการในเรื่องราคาขัดแย้งกัน กล่าวคือ ผู้ซื้อต้องการราคาถูก ผู้ขายต้องการราคาแพง ประธานกรรมการจัดการกองทุนก็ให้ความเห็นไว้ในทำนองนี้  คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงมีความเห็นต้องกันว่า การกระทำของคู่สมรสนายกรัฐมนตรีนั้นเข้าข่ายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๐ (๑) - (๔) ถือว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวม

๕. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ถูกยกเลิกไปแล้วหรือไม่  อย่างไร

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ในประเด็นนี้นั้นคณะกรรมการตรวจสอบได้เคยพิจารณาร่วมกันมาแล้วและเห็นว่าพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ เนื่องจาก

(๑) ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓ ได้ยกเลิกองค์กรทั้งหลาย แต่ไม่ยกเลิกการกระทำขององค์กรนั้นที่กระทำมาแล้ว ได้แก่ พระราชบัญญัติที่เกิดขึ้นจากอำนาจรัฐสภา

(๒) ประกาศ คปค. ฉบับหลัง ๆ ก็ยังแสดงให้เห็นชัดว่าได้รับรองการมีผลบังคับใช้สืบต่อไป ซึ่งหากขาดช่วงจะต้องเขียนประกาศมาอีกลักษณะหนึ่ง

(๓) เป็นจารีตประเพณีที่เป็นมาโดยตลอด กล่าวคือ เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรจะต้องมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ หากต้องการจะให้กฎหมายฉบับใดสิ้นผลก็จะต้องประกาศยกเลิกโดยชัดแจ้ง 

ดังนั้น การยกเลิกรัฐธรรมนูญไม่ได้ยกเลิกกฎหมายที่ออกโดยรัฐธรรมนูญฉบับนั้นด้วย ถ้าถือว่ายกเลิกไปแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาว่ากฎหมายต่าง ๆ ที่บังคับใช้อยู่ในบ้านเมืองที่ออกตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ นั้นยังใช้บังคับอยู่ได้หรือไม่ ถ้าแปลตามความเห็นของผู้ถูกกล่าวหาแล้วก็จะทำให้บ้านเมืองไม่มีกฎหมายที่จะใช้ปกครอง

นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้กำหนดให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะต้องมีสาระสำคัญไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ แต่เกิดจากเจตนารมณ์ของประชาชนผ่านทางรัฐสภา มีสถานะเป็นพระราชบัญญัติ เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกพระราชบัญญัตินั้นก็ยังมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะถูกยกเลิก ประกอบกับตามมาตรา ๒๙๖ และมาตรา ๓๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ระบุว่า ให้ไปตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีสาระสำคัญอย่างไรบ้างเท่านั้น ดังนั้น คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ ไม่ได้ถูกยกเลิกตามประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓

๖. การกระทำของนายกรัฐมนตรีและคู่สมรสเป็นความผิดตามกฎหมายใดบ้าง และนายกรัฐมนตรีเป็นตัวการร่วมกับคู่สมรสในการกระทำผิดหรือไม่  อย่างไร

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้นำเหตุผลที่ได้ให้ความเห็นไว้แล้วในประเด็นที่ ๑ ถึง ๔ มาประกอบการพิจารณาประเด็นข้อนี้  คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงมีความเห็นโดยสรุปว่า การเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายตามสัญญาจะซื้อจะขาย ฉบับลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ และทำสัญญาซื้อขาย ฉบับลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ ระหว่างคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นเป็นการกระทำของนายกรัฐมนตรีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๐ วรรค ๓  และการที่นายกรัฐมนตรีมีหนังสือให้ความยินยอมกับคู่สมรสในการเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ นั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สามารถจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินได้ เพราะถ้าไม่มีหนังสือให้ความยินยอมก็ไม่สามารถที่จะจดทะเบียนซื้อขายได้ การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีและคู่สมรสมีเจตนาร่วมกันในการกระทำการที่เป็นการซื้อขายที่ดินในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖  สำหรับนายกรัฐมนตรี นอกจากจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ในขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีก็ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานอยู่ด้วยในคราวเดียวกัน และเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ดูแลหน่วยงานของรัฐคือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อีกส่วนหนึ่งด้วย 

ดังนั้น นายกรัฐมนตรีและคู่สมรส นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๐ (๑) ซึ่งมีโทษตามมาตรา ๑๒๒ แล้ว การกระทำดังกล่าวเข้าลักษณะที่เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒ อีกบทหนึ่งด้วย และเมื่อมีการกระทำตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๕๒ ซึ่งเป็นการเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะเป็นการกระทำทุจริตตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑)  จึงต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา ๑๕๗ อีกบทหนึ่งด้วย  สำหรับคู่สมรสนั้นถือว่าร่วมกับนายกรัฐมนตรีกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น แต่คู่สมรสมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงเป็นตัวการในการกระทำผิดไม่ได้ แต่ให้ถือว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๖

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงเห็นสมควรเสนออัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ ขอให้ลงโทษนายกรัฐมนตรีผู้ถูกกล่าวหาที่ ๑ และคู่สมรสผู้ถูกกล่าวหาที่ ๒ ว่าร่วมกันกระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกระทงต่างกันตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔, ๑๐๐ (๑) และ ๑๒๒

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑, ๓๓, ๘๓, ๘๖, ๙๑, ๑๕๒ และ ๑๕๗  ส่วนประเด็นปัญหาที่ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่ประกาศไว้ในประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐ นั้น  คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ พิจารณาแล้วเห็นพ้องต้องกันว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองดังกล่าวข้างต้นนั้นเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓๐ ข้อ ๕ (๒) (๓) และ (๔)

๗. ที่ดินและเงินค่าซื้อที่ดินเป็นทรัพย์ที่จะต้องขอริบหรือไม่  อย่างไร

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การทำนิติกรรมที่ขัดต่อกฎหมายไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ใด ๆ กรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ยังไม่เคลื่อนจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปยังคู่สมรสของนายกรัฐมนตรี แต่เงินเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดสามารถขอให้ริบได้ เมื่อการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ ที่ดินที่ซื้อขายแม้จะมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ก็เป็นการจดทะเบียนตามนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยต่อประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐ ต้องเพิกถอน ต้องเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ทางทะเบียนต่อไป ส่วนเงินที่ได้ชำระเป็นค่าที่ดินเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดต้องขอให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓

อนึ่ง ที่ผู้รับมอบอำนาจผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองขอให้ทบทวนมติที่ประชุมเรื่องริบที่ดิน ตามหนังสือลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นั้น เมื่อมติที่ประชุมมิได้มีมติให้ริบที่ดิน จึงไม่มีเหตุที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จะต้องทบทวนมติที่ประชุมข้างต้น

๘. หนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาชอบหรือไม่
 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาหนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา และระบุความเสียหายมาในหนังสือฉบับที่ ๒ นั้น เกิดจากการกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เอง ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีเพียงหนังสือแนะนำไปทางกระทรวงการคลังให้ผู้เสียหายมายื่นคำร้องเท่านั้น และคำร้องฉบับที่ ๒ ก็เป็นไปตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ มิได้เกิดจากการบังคับของคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนฯ แต่อย่างใด

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับปัจจุบันก็ปรากฏว่า หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๖ ที่ต้องให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การดำเนินการตรวจสอบไต่สวนจึงสามารถทำได้

๙. การกระทำในส่วนของเจ้าพนักงานที่ดินนั้นมีส่วนที่จะถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือไม่  อย่างไร

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีข้อบ่งบอกอย่างใดว่าการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดินมีส่วนที่จะเป็นความผิดตามกฎหมาย

๑๐. การกระทำของกองทุนและเจ้าหน้าที่กองทุนนั้นจะถือเป็นการกระทำที่เป็นความผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไร จะดำเนินการในส่วนของเจ้าหน้าที่กองทุนอย่างไร หรือไม่

คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เห็นว่าในส่วนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้น การดำเนินการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในส่วนของเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการจัดการกองทุนนั้นยังมีข้อเท็จจริงที่เป็นข้อสงสัยว่าน่าจะมีการกระทำผิดทางอาญาหรือวินัยหรือไม่ ให้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไป

คณะกรรมการตรวจสอบมีมติเห็นชอบด้วยกับความเห็นข้างต้น และให้ดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เสนอ

เหตุผลที่คณะกรรมการตรวจสอบให้สรุปประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมดนั้น ก็เพื่อสาธารณชนได้รับทราบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ในเรื่องนี้ว่าเป็นอย่างไร และการดำเนินการของ คณะกรรมการตรวจสอบมีอคติหรือกลั่นแกล้งบุคคลใดโดยปราศจากพยานหลักฐานหรือบทกฎหมายที่ใช้อ้างอิงหรือไม่
 

นับเป็นความกรุณา ของลิ่วล้อ และแฟนพันธ์แท้ ทักษิณ ที่ได้กรุณาตั้งคำถาม การตรวจสอบ ของ คตส.  ฮ่า ๆ ๆ ๆ  ๆ
บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #1 เมื่อ: 15-05-2007, 14:30 »

โห ชัดเจน ขนาดนี้ มันจะไปเหลืออะไร วิ่งร้อยเมตร 5 วิ ให้ทันแล้วกัน นะครับ ถึงจะรอด 

และกรุณาอย่าไปโทษคนอื่นเลย ถ้าผิดจริง โทษสันดานชั่วตัวเองดีกว่า ไม่งั้นก็ขอโทษประชาชนซะ หนูไม่รู้หนูผิดไปแล้ว อาจจะมีคน(บางคน)ให้อภัยนะ   
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
Nai_puan
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 231


« ตอบ #2 เมื่อ: 15-05-2007, 14:40 »

เก่งจังครับ  ยอมลงทุนแก้ไขกฎหมาย ปปช.  เพื่อจะเอาผิดคนๆเดียวให้ได้

ว่าแต่ พรบ.ปปช. ที่แก้ไขใหม่สดๆร้อนๆเนี่ยะ  จะมีผลย้อนหลังไปใช้กับคดีดำเนินการไปก่อนแล้ว ได้หรือ?

ผิดหลักการกฎหมายหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 15-05-2007, 14:43 »

เก่งจังครับ  ยอมลงทุนแก้ไขกฎหมาย ปปช.  เพื่อจะเอาผิดคนๆเดียวให้ได้

ว่าแต่ พรบ.ปปช. ที่แก้ไขใหม่สดๆร้อนๆเนี่ยะ  จะมีผลย้อนหลังไปใช้กับคดีดำเนินการไปก่อนแล้ว ได้หรือ?

ผิดหลักการกฎหมายหรือเปล่า?


มั่วอะไรคะ ไม่เกี่ยวกันเลย 
บันทึกการเข้า
Nai_puan
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 231


« ตอบ #4 เมื่อ: 15-05-2007, 14:51 »

คุณพรรณชมพู  ไม่ได้อ่านตรงนี้เหรอครับ?


๘. หนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาชอบหรือไม่
 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาหนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา และระบุความเสียหายมาในหนังสือฉบับที่ ๒ นั้น เกิดจากการกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เอง ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีเพียงหนังสือแนะนำไปทางกระทรวงการคลังให้ผู้เสียหายมายื่นคำร้องเท่านั้น และคำร้องฉบับที่ ๒ ก็เป็นไปตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ มิได้เกิดจากการบังคับของคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนฯ แต่อย่างใด

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับปัจจุบันก็ปรากฏว่า หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๖ ที่ต้องให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การดำเนินการตรวจสอบไต่สวนจึงสามารถทำได้


กฎหมาย ปปช.ที่แก้ไขใหม่ในเรื่องนี้  เพิ่งประกาศใช้ไม่กี่วันนี่เอง

ที่สนธิ ลิ้มฯ  ออกมาโวยวายจาบจ้วงกับทางท่านราชเลขาธิการฯ ไงครับ
บันทึกการเข้า
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #5 เมื่อ: 15-05-2007, 15:11 »

ยังไงงง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-05-2007, 15:14 โดย room5 » บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #6 เมื่อ: 15-05-2007, 15:36 »

คตส. น่าจะพิจารณา"มติ"ของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่สอบสวน ย้อนหลังล้วนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและได้รับผลประโยชน์จากทักษิณทั้งสิ้นว่า การวินิจฉัยกรณีน้องสาวฯ,ยิ่งลักษณ์นั้นถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #7 เมื่อ: 15-05-2007, 18:09 »

คุณพรรณชมพู  ไม่ได้อ่านตรงนี้เหรอครับ?


๘. หนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาชอบหรือไม่
 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาหนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา และระบุความเสียหายมาในหนังสือฉบับที่ ๒ นั้น เกิดจากการกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เอง ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีเพียงหนังสือแนะนำไปทางกระทรวงการคลังให้ผู้เสียหายมายื่นคำร้องเท่านั้น และคำร้องฉบับที่ ๒ ก็เป็นไปตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ มิได้เกิดจากการบังคับของคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนฯ แต่อย่างใด

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับปัจจุบันก็ปรากฏว่า หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๖ ที่ต้องให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การดำเนินการตรวจสอบไต่สวนจึงสามารถทำได้


กฎหมาย ปปช.ที่แก้ไขใหม่ในเรื่องนี้  เพิ่งประกาศใช้ไม่กี่วันนี่เอง

ที่สนธิ ลิ้มฯ  ออกมาโวยวายจาบจ้วงกับทางท่านราชเลขาธิการฯ ไงครับ



ผมว่าคุณ Nai_puan กำลังถกเรื่องประเด็นปลีกย่อย....กรณีที่มีการแก้ไข ไม่ใช่ สาระสำคัญของการเอาผิด....การแก้กฏหมาย ที่ คุณกล่าวอ้าง เป็นเพียงการเพิ่มอำนาจ คตส.มีอำนาจเพิ่มขึ้นในการยื่นฟ้องร้อง เพื่อดำเนินคดี.....เป็นการแก้ระเบียบปฏิบัติ เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกียร์ว่าง.....มันจะทำให้เสียเวลา ยื่นเรื่องต่อศาล....จะได้ไม่โดน คุณNai_puan ร้องท้าทายอีกไงล่ะ

ประเด็นสำคัญคือ......

"นายกฯเป็นจนท.รัฐและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายหรือไม่ นายกฯ มีอำนาจกำกับดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูหรือไม่ เอาผิด'พจมาน-ทักษิณ"


 
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15-05-2007, 18:10 »

คุณพรรณชมพู  ไม่ได้อ่านตรงนี้เหรอครับ?


๘. หนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาชอบหรือไม่
 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาหนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา และระบุความเสียหายมาในหนังสือฉบับที่ ๒ นั้น เกิดจากการกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เอง ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีเพียงหนังสือแนะนำไปทางกระทรวงการคลังให้ผู้เสียหายมายื่นคำร้องเท่านั้น และคำร้องฉบับที่ ๒ ก็เป็นไปตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ มิได้เกิดจากการบังคับของคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนฯ แต่อย่างใด

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับปัจจุบันก็ปรากฏว่า หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๖ ที่ต้องให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การดำเนินการตรวจสอบไต่สวนจึงสามารถทำได้


กฎหมาย ปปช.ที่แก้ไขใหม่ในเรื่องนี้  เพิ่งประกาศใช้ไม่กี่วันนี่เอง

ที่สนธิ ลิ้มฯ  ออกมาโวยวายจาบจ้วงกับทางท่านราชเลขาธิการฯ ไงครับ


เป็นแค่กฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดี ไม่เกี่ยวข้องกับความผิด ดำเนินคดี ณ วันนี้ ก็ใช้กฎหมายของ ณ วันนี้
ถึงกระทำความผิดเมื่อสิบปีก่อน ก็ใช้วิธีดำเนินคดีตามกฎหมายใหม่ได้ ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด
แต่ก็ต้องระวัง เพราะหน้าเหลี่ยมและพวกพยายามทุกวิถีทาง ที่จะทำให้การดำเนินการของ คตส. เป็นโมฆะ
อาจจะเพราะรู้ดีว่าถ้าขึ้นศาลแล้วก็จบเห่กระมัง
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #9 เมื่อ: 15-05-2007, 18:18 »

คุณพรรณชมพู  ไม่ได้อ่านตรงนี้เหรอครับ?


๘. หนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาชอบหรือไม่
 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาหนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา และระบุความเสียหายมาในหนังสือฉบับที่ ๒ นั้น เกิดจากการกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เอง ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีเพียงหนังสือแนะนำไปทางกระทรวงการคลังให้ผู้เสียหายมายื่นคำร้องเท่านั้น และคำร้องฉบับที่ ๒ ก็เป็นไปตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ มิได้เกิดจากการบังคับของคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะอนุกรรมการตรวจสอบไต่สวนฯ แต่อย่างใด

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับปัจจุบันก็ปรากฏว่า หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๖ ที่ต้องให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การดำเนินการตรวจสอบไต่สวนจึงสามารถทำได้


กฎหมาย ปปช.ที่แก้ไขใหม่ในเรื่องนี้  เพิ่งประกาศใช้ไม่กี่วันนี่เอง

ที่สนธิ ลิ้มฯ  ออกมาโวยวายจาบจ้วงกับทางท่านราชเลขาธิการฯ ไงครับ


ผมอ่านแล้วได้ความว่าอย่างนี้ครับ คุณ Nai_puan

1. หนังสือของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
    เพราะกองทุนฯ เป็นผู้ดำเนินการออกหนังสือโดยไม่ได้ถูกบังคับ

2. การยื่นคำร้องฯ นั้นต่อให้กองทุนฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ยื่นคำร้องเอง ก็ไม่มีผลอะไรอยู่ดี
    เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวยกเลิกไปแล้ว การตรวจสอบไต่สวนจึงสามารถดำเนินการต่อไป
    โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าหนังสือของกองทุนฯ ตามข้อ 1 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

3. อันนี้ผมเพิ่มเอง.. ถ้ามีปัญหามากนัก ทาง คตส. ก็แค่เป็นผู้ยื่นคำร้องเองก็จบแล้วครับ
    เพราะ พรบ. ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในเรื่องการกฏเกณฑ์การยื่นคำร้องฯ
    ไม่มีผลกระทบกับกระบวนการตรวจสอบไต่สวนคดีทั้งหมดที่ คตส. ได้ดำเนินการมา
    ดังนั้นประเด็นโต้แย้งนี้จึงมีผลมากที่สุดแค่การประวิงเวลาเท่านั้น  เพื่อความรวดเร็ว
    จึงควรดำเนินคดีต่อไปเลยน่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-05-2007, 19:31 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #10 เมื่อ: 15-05-2007, 19:23 »

“นาม”อโหสิกรรม“หญิงอ้อ” เตือนระวังเจอข้อแจ้งความเท็จ
 นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) กล่าวถึงกรณีถูกคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ฟ้องว่า กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งถ้าจะฟ้องกลับก็จะฟ้องในนามส่วนตัวในข้อหาแจ้งความเท็จ โดยจะไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อให้ตำรวจส่งให้อัยการสั่งฟ้องต่อไป แต่ในอีกทางหนึ่งตนอาจไม่ฟ้องกลับก็ได้โดยถือว่าอโหสิกรรมให้ แต่อยากเตือนว่าการที่คุณหญิงพจมาน ฟ้องตนเป็นเรื่องไร้สาระ ต้องการหาเรื่องทำลายสมาธิของตน และเป็นการฟ้องเท็จ ซึ่งการฟ้องเท็จก็มีโทษทางอาญา ยอมความไม่ได้ ซึ่งนายนาม กล่าวว่า ในคดีการซื้อขายที่ดินย่านรัชดา ตนไม่ได้ข่มขู่ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินให้เข้ามาร้องทุกข์กับคตส. เพียงแต่แจ้งให้กองทุนมาร้องทุกข์กล่าวโทษ เท่านั้น  ยืนยันว่าตนทำงานตามหน้าที่ มีกฎระเบียบชัดเจน ทุกอย่างทำตามมติคตส.ไม่ได้พิจารณาเพียงลำพัง ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร

เมื่อถามว่า ถึงกรณีที่เว็บไฮทักษิณ เผยแพร่คลิปวีดีโอ ของ พ.ต.ท.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุถูกรุมกลั่นแกล้ว นายนาม กล่าวว่า พูดไปเรื่อยเปื่อย ใครจะไปกลั่นแกล้งได้  คตส.ก็ทำตามหน้าที่ ตามระเบียบข้องบังคับที่ได้มีการร่างขึ้นมาใช้ เขาแต่งตั้นเรามาถ้าเราไม่ทำตามหน้าที่ก็เป็นคนเลวแล้ว  เราจะไปแกล้งทำไม คตส.ทุกคนล้วนมีความรู้ มีการศึกษา หากไปกลั่นแกล้งเขาบาปกรรมเปล่าๆอายุก็ปูนนี้แล้ว.
 


เอ้า !! ก่อกวนเข้าไป เอาเลย..... นพดล...แนะนำ นายหญิงเข้าไป.......
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #11 เมื่อ: 16-05-2007, 14:33 »

เมื่อถามว่า ถึงกรณีที่เว็บไฮทักษิณ เผยแพร่ คลิปวีดีโอ ของ พ.ต.ท.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุถูกรุมกลั่นแกล้งนายนาม กล่าวว่า พูดไปเรื่อยเปื่อย ใครจะไปกลั่นแกล้งได้  คตส.ก็ทำตามหน้าที่ ตามระเบียบข้องบังคับที่ได้มีการร่างขึ้นมาใช้ เขาแต่งตั้นเรามาถ้าเราไม่ทำตามหน้าที่ก็เป็นคนเลวแล้ว  เราจะไปแกล้งทำไม คตส.ทุกคนล้วนมีความรู้ มีการศึกษา หากไปกลั่นแกล้งเขาบาปกรรมเปล่าๆอายุก็ปูนนี้แล้ว.
 [/color]

เอ้า !! ก่อกวนเข้าไป เอาเลย..... นพดล...แนะนำ นายหญิงเข้าไป.......


ประธานคณะกรรมการ คตส.คุณนาม ยิ้มแย้ม ไม่เชื่อถือคลิบวีดีโอของ"เด็กเลี้ยงแกะ"หรอก.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: