ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 19:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ปัญหาศาสนาประจำชาติ - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) mp3 ฟังเพลินดีครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ปัญหาศาสนาประจำชาติ - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) mp3 ฟังเพลินดีครับ  (อ่าน 2101 ครั้ง)
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« เมื่อ: 08-05-2007, 03:01 »

ไม่รู้มีใครเอามาโพสต์หรือยัง
ชื่อเต็มๆว่า

เมื่อประชาธิปไตยที่ไม่ประสีประสา มาเจอปัญหาศาสนาประจำชาติ
http://www.dhammathai.org/sounds/pa_payutto/policybud.php

มี 3 ตอน จุใจ  

หัวข้อเป็นประเด็นร้อนอย่างที่ว่า
แต่มีเกร็ดความรู้แทรกธรรมมะตลอด
บรยายอย่างยาว แต่คุ้มค่าทุกนาที (ไม่เกี่ยวกับช่อง 3)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-05-2007, 03:15 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #1 เมื่อ: 08-05-2007, 04:17 »

อันนี้เป็นข้อเขียนตอนหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ของพระธรรมปิฎก
คุณอุบาสกเคยเอาลิงค์มาโพสต์

อ้างถึง

เมื่อเราไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่ได้ศึกษาระบบของเขา
เราก็อ่านไม่ถูก (และมองเขาไม่ทะลุด้วย)


เราไปเห็นชื่อประธานาธิบดีศรีลังกาคนก่อน ที่เขาเขียนว่า Jayawardene เราก็อ่านว่า "ชายาวาร์เดเน" ชายาวาร์เดเนอะไรที่ไหนกัน ที่จริงก็คือนายชยวรรธนะ หรือ ชัยวัฒน (ชัยวัฒน์) นั่นเอง แต่เขียนตามสำเนียงของเขา เมื่อเป็นภาษาอังกฤษจะเป็นอย่างนั้น

อาตมาก็ลองฟังดูว่าที่คนไทยออกเสียง ชายาวาร์เดเน นี้ วิทยุฝรั่ง เช่น V.O.A. และ B.B.C. เขาจะออกเสียงอย่างไร ไปฟังฝรั่งยังออกเสียงใกล้จริงกว่า ฝรั่งออกเสียงว่า ชะยะวาดะนะ ก็ยังใกล้เข้ามา ทำไมฝรั่งออกเสียงได้ดีกว่าคนไทย ก็เพราะคนไทยเราไม่ได้ศึกษาสืบค้นหาความรู้

ทั้งๆ ที่ว่า ศรีลังกานี้ใกล้เมืองไทยมากกว่าฝรั่ง เราอยู่ในสายวัฒนธรรมเดียวกัน คนศรีลังกานั้นชื่อของเขาส่วนมากก็มาจากพุทธศาสนา นายชัยวัฒนนี้ชื่อก็มาจากภาษาบาลีนี้แหละ

อีกตัวอย่างหนึ่ง นายกรัฐมนตรีศรีลังกาคนที่แล้ว ที่ถูกสังหารไป เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Premadasa คนไทยเอามาอ่านออกเสียงทางวิทยุ โฆษกบางคนก็ออกว่า "เประมาดาซ่า" ลองดูว่าอะไรหนอ เประมาดาซ่า อ้อ นายเปรมทาสนี่เอง อย่างนี้เป็นต้น

ที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องของการที่คนไทยเราตื่นความเจริญ แต่ตามความเจริญไม่ถึง ต้องขอพูดอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงได้แต่รูปแบบและเปลือกนอกมา

แม้แต่ในเรื่องที่เราควรจะเหนือและนำเขา เราก็ยังรู้ไม่เท่าไม่ถึงไม่ถูกไม่ทัน ได้แต่งุ่มง่ามงมงำ ถ้าอย่างนี้เราก็จะต้องเป็นผู้ตามเขาแบบเถลไถลไถถาอยู่เรื่อยไป ไม่มีทางจะไปนำเขาได้


พูดเรื่องเดียวกัน แต่เถียงกันคนละเรื่อง

เมื่อถึงวาระที่มีการร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่ตั้งกำหนดกันไว้ ก็ปรากฏว่า ได้มีการถกเถียงกันว่า จะให้มีบทบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ ในที่สุด ฝ่ายที่ไม่ให้มีบัญญัติก็ชนะคะแนนไป อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว

ใครชนะคะแนน ใครชนะใจ เป็นอย่างไร ในที่นี้ไม่ขอวิจารณ์ แต่น่าสังเกตว่า ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น ดูท่าว่าได้มีความเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน และไม่ได้ตกลงกันให้คำจำกัดความเสียด้วยว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" มีความหมายว่าอย่างไร

เมื่อเป็นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นเรื่องน่าขำ หรือจะว่าน่าห่วงใยก็ได้ เพราะมันกลายเป็นว่า คนที่มาประชุมกันนั้น พูดเรื่องเดียวกันแต่เถียงกันคนละเรื่อง แล้วจะไปได้เรื่อง ได้อย่างไร

ทั้งสองฝ่ายที่เถียงกันนั้น นอกจากเข้าใจความหมายของคำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ไม่เหมือนกันแล้ว ความหมายที่แต่ละฝ่ายเข้าใจก็คลุมๆ เครือๆ ไม่ชัดเจนด้วย

ฝ่ายชาวพุทธผู้เห็นควรให้มีบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็มองความหมายไปตามความคิดความเข้าใจของตน ตามแนวทางของวัฒนธรรมประเพณี

บ้างก็มองแค่ว่า ไหนๆ พระพุทธศาสนาเท่าที่ตนมองเห็นก็เป็นศาสนาประจำชาติไทยโดยพฤตินัยอยู่แล้ว ก็ขอให้มีชื่อปรากฏในกฎหมายโดยนิตินัยด้วย

บ้างก็มองว่า ให้มีการบัญญัติอย่างนั้น เพื่อว่ารัฐและสังคมจะได้เอาจริงเอาจังในการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น



อ้างถึง

จะมองแค่ไหนและอย่างไรก็ตาม ชาวพุทธเหล่านั้นก็มองไปแค่ในขอบเขตของวัฒนธรรมและหลักพระพุทธศาสนาที่สืบ ทอดกันมา ที่ว่าทางฝ่ายพระศาสนาโดยเฉพาะพระสงฆ์ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้าน เมือง อาณาจักรก็มีหน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และพุทธจักรก็มีหน้าที่สั่งสอนประชาชนตั้งแต่ผู้ปกครองรัฐลงมา

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่คัดค้าน ซึ่งโดยมากเป็นคนที่เรียกว่าสมัยใหม่ จบการศึกษามาจากเมืองฝรั่ง ก็มองความหมายของ "ศาสนาประจำชาติ" ในเชิงที่ว่าทางฝ่ายศาสนาจะมีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่อกิจการของรัฐอย่างใด อย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ชัดไม่เจนว่าจะมีอำนาจหรืออิทธิพลแค่ไหนอย่างไร เพราะตนเองก็ไม่รู้ชัดอีกเหมือนกันในเรื่องของฝรั่งนั้น ตลอดจนในเรื่องของศาสนาอื่นและสังคมอื่น

เรื่องนี้ควรจะถือเป็นบทเรียนสำหรับการปฏิบัติต่อไปภายภาคหน้า เพราะมีเค้าว่าจะมีการถกเถียงกันในเรื่องนี้อีก ซึ่งไม่ควรจะวกวนกันอยู่อย่างเก่า แต่ควรจะพูดกันให้ชัดเสียที ตั้งแต่จำกัดความหมายให้เข้าใจตรงกัน แล้วจึงเถียงกันว่าจะเอาหรือไม่เอา

อย่างที่บอกแล้วว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ในความหมายของคนไทยชาวบ้านหรือชาวพุทธ มองแค่เป็นความยอมรับสนับสนุนและสัมพันธ์กันเชิงสั่งสอนแนะนำและอุปถัมภ์ บำรุง อย่างที่เรารู้สึกกันในเมืองไทย จนจำติดใจกันสืบมาว่าพระสงฆ์เป็นผู้สละบ้านเรือนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กิจการบ้านเมือง

กิจการศาสนาในความหมายแบบของเราจะเกี่ยวข้องกับชาวบ้านและกิจการบ้านเมืองก็เพียงในการสั่งสอนแสดงหลักการในการบริหารการปกครอง

แต่หันไปดูทางด้านตะวันตกเลยจากเราไป และในสังคมแบบอื่น เขาไม่ได้มองอย่างนี้เลย

ในความหมายของสังคมแบบอื่น กิจการศาสนาของเขารวมไปหมด ทั้งการจัดกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนการจัดการเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง

อย่างที่บอกแล้วว่า คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" ในความหมายของคนไทยชาวบ้านหรือชาวพุทธ มองแค่เป็นความยอมรับสนับสนุนและสัมพันธ์กันเชิงสั่งสอนแนะนำและอุปถัมภ์ บำรุง อย่างที่เรารู้สึกกันในเมืองไทย จนจำติดใจกันสืบมาว่าพระสงฆ์เป็นผู้สละบ้านเรือนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กิจการบ้านเมือง

กิจการศาสนาในความหมายแบบของเรา จะเกี่ยวข้องกับชาวบ้านและกิจการบ้านเมืองก็เพียงในการสั่งสอนแสดงหลักการในการบริหารการปกครอง

แต่หันไปดูทางด้านตะวันตกเลยจากเราไป และในสังคมแบบอื่น เขาไม่ได้มองอย่างนี้เลย

ในความหมายของสังคมแบบอื่น กิจการศาสนาของเขารวมไปหมด ทั้งการจัดกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนการจัดการเศรษฐกิจ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง

ฝรั่งมีคำแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในหลักการที่เรียกว่า Church and State หรือศาสนจักรกับอาณาจักร เพื่อรวบรัด ลองดูความหมายที่เขียนไว้ในสารานุกรมของฝรั่งฉบับหนึ่ง (Compton"s Interactive Encyclopedia, 2000) ขอยกคำของเขามาให้ดูเลยว่า (เพียงยกมาเป็นตัวอย่าง ข้อมูลในเรื่องนี้ยังมีที่น่ารู้อีกมาก)

The name given to the issue--church and state--is misleading, however: Church implies Christianity in one or more of its many denominations.

The issue is really between religion and politics. Which shall be the controlling force in a state?

อย่างไรก็ดี ชื่อที่ใช้เรียกประเด็นนี้ว่า "ศาสนจักร กับ อาณาจักร" นั้น ชวนให้เข้าใจผิด คือ ศาสนจักรเล็งไปที่ศาสนาคริสต์ อันหลากหลายนิกาย นิกายหนึ่งหรือหลายนิกาย

แท้จริงนั้น ประเด็นของเรื่องอยู่ที่ว่า ระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายการเมือง ฝ่ายไหนจะเป็นตัวกุมอำนาจบงการในรัฐ

ที่เขาเขียนอย่างนี้ก็เห็นได้ชัดตามประวัติศาสตร์ของอารยธรรมตะวันตก ที่ฝ่ายศาสนจักรกับอาณาจักร ต่างก็มีอำนาจในการบริหารปกครองกิจการบ้านเมือง จนกระทั่งมีการแก่งแย่งช่วงชิงแข่งอำนาจกัน (ให้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกเอาเอง)

ยิ่งกว่านั้น เมื่อศาสนจักร หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือแม้แต่นิกายใดนิกายหนึ่ง ขึ้นมาเป็นศาสนาแห่งรัฐ หรือเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ศาสนาอื่นๆ หรือนิกายอื่นๆ ก็จะถูกกีดกันออกไป หรือแม้แต่ถูกบังคับกดขี่ข่มเหง

ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งให้เข้าใจง่ายๆ

คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" แบบพุทธ มีความหมายไปได้แค่ว่า รัฐอาจจะตรากฎหมายที่มีบทบัญญัติส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามข้อ บัญญัติทางศาสนา (เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติตามหลักศีล 5)

แต่ "ศาสนาประจำชาติ" แบบตะวันตก/แบบสังคมอื่น หมายความว่า รัฐต้องยกเอาข้อบัญญัติของศาสนา หรือศาสนบัญญัติ ขึ้นมาใช้เป็นกฎหมายบังคับแก่ประชาชน

หรือให้องค์กรศาสนามีอำนาจตรากฎหมายของบ้านเมือง



อ้างถึง

ด้วยเหตุที่ความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา แบบพุทธ กับแบบสังคมอื่น แตกต่างกันไกลอย่างนี้ เมื่อสองระบบที่ต่างกันนั้นเข้ามาปะทะหรือครอบงำกัน จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น

ขอยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศศรีลังกา แต่เดิมมา ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจักรกับอาณาจักร ก็เหมือนกับที่ชาวพุทธในเมืองไทยเข้าใจกันสืบๆ มา

ดังที่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในศรีลังกานั้น มีพระสงฆ์ส่วนหนึ่งไปให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือแก่กษัตริย์ตกยาก แล้วต่อมาพระสงฆ์ส่วนนั้นได้รับการอุปถัมภ์นับถือจากกษัตริย์ที่ได้อำนาจ กลับคืนมา ก็ถูกรังเกียจจากพระสงฆ์อื่นๆ จนเป็นเหตุให้พระสงฆ์แตกแยกกัน

(เหมือนอย่างคนไทยในปัจจุบันยังมีความรู้สึกไม่ค่อยดี เมื่อพบเห็นหรือได้ยินข่าวพระสงฆ์ไปชุมนุมต่อต้านหรือสนับสนุนเหตุการณ์ ต่างๆ ทางบ้านเมือง แม้แต่ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพระศาสนาเอง)

แต่เมื่อศรีลังกาตกเป็นอาณานิคมและฝรั่งเข้ามาปกครอง พร้อมทั้งนำระบบที่ศาสนจักรในศาสนาคริสต์มีอำนาจในกิจการของรัฐเข้ามาด้วย ทำให้พระสงฆ์และวัดวาอารามถูกบีบคั้นเบียดเบียนข่มเหงต่างๆ

จากการถูกกดดันนั้น ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น ทำให้ชาวพุทธและพระสงฆ์ต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจของรัฐเป็นต้น ตลอดจนท่าทีของประชาชนก็เปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันว่า พระสงฆ์ในศรีลังกาชุมนุมประท้วงต่างๆ บ้าง หาเสียงช่วยนักการเมืองบ้าง ตลอดจนเป็นส.ส.เองก็มี

(ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกันนี้)

เรื่องอย่างนี้ ควรศึกษากันให้เข้าใจชัดเจน แต่ในที่นี้ขอปิดท้ายสั้นๆ ว่า

ถ้าพูดว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" สำหรับชาวพุทธไทย ที่เข้าใจกันมาแบบเดิม ก็จะหมายถึงการที่บ้านเมืองยอมรับเป็นทางการและเอาจริงเอาจังในการส่งเสริม สนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจแบบบรรพชิตของท่าน โดยไม่ต้องมาวุ่นวายกับกิจการบ้านเมือง

รัฐจัดการอุปถัมภ์บำรุงส่งเสริมให้พระสงฆ์มีโอกาสเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติและ เผยแผ่สั่งสอนธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม ประเทศชาติ ไปตามหลักพระธรรมวินัย ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่สืบๆ กันมา

ทำให้สังคมมีสภาพเอื้อต่อการอยู่ร่วมกันและปฏิบัติกิจของศาสนิกชนทุกศาสนาโดยสงบสุข

แต่ถ้ารัฐหรือสังคมไทยหลงลืมเพี้ยนไปไม่เข้าใจความหมายอย่างนี้ ก็จะเกิดการกีดกั้น บีบคั้น ซึ่งจะทำให้พระสงฆ์ โดยความสนับสนุนของชาวพุทธเองนั่นแหละ จำนวนมากขึ้นๆ หันมาดิ้นรนเพื่อรักษาสถาบัน กิจการและหลักการของตนในรูปแบบต่างๆ อย่างที่ได้เริ่มปรากฏให้เห็นขึ้นมาบ้างแล้ว ในช่วง ๓-๔ ปีนี้

มองดูให้ดีจะเห็นว่า เรื่องนี้เหมือนจะกลับทางกับความเข้าใจของคนสมัยนี้ คือ ถ้าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวพุทธก็ได้โอกาสที่จะปฏิบัติศาสนธรรมของตนไปโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กิจการบ้านเมือง แต่ถ้าพุทธศาสนาถูกกั้นออกไปจากความเป็นศาสนาประจำชาติ พระสงฆ์และชาวพุทธก็จะถูกบีบคั้นให้มีบทบาทในทางดิ้นรนต่อสู้เพื่อต่อรอง กับอำนาจรัฐมากยิ่งขึ้น

ทั้งหมดนี้ จะเป็นจริงอย่างที่ว่าหรือหาไม่ ก็ลองไปศึกษาดูบนฐานแห่งข้อมูลความรู้ของจริง ซึ่งคิดว่ามีให้เห็นแล้วอย่างเพียงพอ

ในด้านชาวพุทธเอง เมื่อรู้เข้าใจเรื่องศาสนาไปตามหลักการแห่งพระศาสนาของตน และตามวัฒนธรรมไทยที่สอดคล้องกับหลักการนั้น จึงมองเรื่องศาสนาเหมือนกับแยกต่างหากออกไปจากสังคมและกิจการบ้านเมือง

แต่ขณะเดียวกันนั้น พวกชนชาติที่ต่อสู้กันมาในสังคมอื่น ที่ถือศาสนาแบบอื่น เขามองกิจการบ้านเมือง การปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยรวมอยู่ในกิจการของศาสนาด้วย

เมื่อเกิดมีเหตุการณ์ทางศาสนาแบบอื่น ที่นอกวัฒนธรรมและนอกสังคมของตน ชาวพุทธไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ จึงมักมองสถานการณ์ไม่ออก และวางท่าทีไม่ถูก กลายเป็นคนไม่ทันเขา ทั้งรักษาตัวเองก็ไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไร

อย่างน้อยชาวพุทธก็แตกแยกกระจัดกระจายกันเอง ชาวพุทธแบบชาวบ้านก็ไม่ไหวทันตระหนักไว้ ว่าท่านผู้สมัยใหม่มิได้มองความหมายและมิได้คิดเข้าใจอะไรๆ อย่างตน



อ้างถึง

หาความรู้กันก่อนให้ชัดเจน
อย่าเพิ่งใส่ความคิดเห็นเข้าไป


ในการที่จะคิดเห็นพิจารณาเรื่องต่างๆ ให้ได้ผลดีนั้น ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการหาข้อมูลความรู้ ให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเพียงพอ

ในขั้นตอนที่ว่านี้ จุดเน้นที่สำคัญยิ่งตอนหนึ่งก็คือ การรวบรวมและแสดงข้อมูลความรู้ให้ดูตามที่มันเป็น โดยไม่ใส่ความคิดเห็นหรือข้อวิจารณ์ใดๆ

เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในบ้านเมือง หน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐ ตลอดจนสื่อทั้งหลาย ก็คือ การเผยแพร่ข้อมูลความรู้ตามที่มันเป็น อันไม่เจือปนความคิดเห็นอย่างที่ว่านี้

เรื่องศาสนาประจำ ชาตินี้ก็เช่นกัน มีขั้นตอนสำคัญขั้นหนึ่ง คือ การแสวง และแสดงข้อมูลความรู้ ให้ผู้คนจะแจ้งถ่องแท้ชัดเจนตามที่มันเป็น เท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อประชาชนรู้แล้ว เขาจะคิดเห็นอย่างไร ก็ให้โอกาส และจะได้เป็นการเคารพต่อสติปัญญาของเขา

ในที่นี้ จะพูดถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาประจำชาติ ไว้เป็นฐาน และเป็นทุน ที่จะใช้ในการคิดเห็นพิจารณาต่อไป

คำว่า "ศาสนาประจำชาติ" เราต้องเข้าใจตามที่สังคมภายนอกเขารู้และเข้าใจด้วย แล้วจะเทียบดูกับความรู้ความเข้าใจของตัวเราเองอย่างไร ก็พิจารณาเอา

พอพูดว่า "ศาสนาประจำชาติ" คนปัจจุบันก็มักนึกไปตามความหมายของฝรั่ง แต่มักนึกไปตามที่คิดเอาเอง โดยไม่รู้ว่าที่จริงนั้นฝรั่งหมายเอาความอย่างไร

ฝรั่งเรียกศาสนาประจำชาติโดยใช้คำว่า state relegion บ้าง official religion บ้าง

นอกจากนั้นยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงอีก ได้แก่คำว่า national religion บ้าง national church บ้าง established church บ้าง

ประเทศที่มีศาสนาประจำชาตินั้นมีมากมาย ทั้งคริสต์ และอิสลาม ตลอดมาถึงพุทธศาสนา และศาสนาฮินดู

แต่ที่เหนือกว่าการเป็นศาสนาประจำชาติก็คือ เป็นประเทศของศาสนานั้นโดยตรง

ประเทศที่สถาปนาขึ้นเป็นดินแดนแห่งศาสนาโดยตรง เท่าที่พบ ก็มี

๑. รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (ประชากรมุสลิม ๙๙% = สุหนี่ ๘๔% ชีอะฮ์ ๑๕%)
[Islamic State of Afghanistan]

๒. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (มุสลิม ๙๒% = สุหนี่ ๗๗% ชีอะฮ์ ๒๐%)
[Islamic Republic of Pakistan]

๓. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (มุสลิม ๙๙% = สุหนี่ ๖% ชีอะฮ์ ๙๓%)
[Islamic Republic of Iran]

๔. สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย (มุสลิม = สุหนี่ ๙๙%)
[Islamic Republic of Mauritania]

๕. สหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส (มุสลิม = สุหนี่ ๙๘%)
[Federal Islamic Republic of the Comoros]


ถัดลงมาคือประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็เป็นประเทศมุสลิมมากที่สุด ได้แก่

๑. ซาอุดีอาระเบีย/Saudi Arabia (มุสลิม ๑๐๐% = สุหนี่ ๘๕% ชีอะฮ์ ๑๕%)
๒. โซมาเลีย/Somalia (มุสลิม ๙๙% แทบทั้งหมด = สุหนี่)
๓. ตูนิเซีย/Tunisia (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)
๔. โมร็อกโก/Morocco (มุสลิม ๙๘%)
๕. แอลจีเรีย/Algeria (มุสลิม ๙๖%)
๖. ลิเบีย/Libya (มุสลิม ๙๖% = สุหนี่)
๗. อียิปต์/Egypt (มุสลิม ๙๔% ส่วนมาก = สุหนี่)
๘. จอร์แดน/Jordan (มุสลิม ๙๓% แทบทั้งหมด = สุหนี่)
๙. คูเวต/Kuwait (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๔๕% ชีอะฮ์ ๔๐%)
๑๐. บาห์เรน/Bahrain (มุสลิม ๘๕% = สุหนี่ ๒๕% ชีอะฮ์ ๖๐%)
๑๑. มัลดีฟส์/Maldives (มุสลิม ๙๙% ส่วนมาก = สุหนี่)
๑๒. บังกลาเทศ/Bangladesh (มุสลิม ๘๖% ฮินดู ๔๖%)
๑๓. บรูไน/Brunei (มุสลิม ๖๔-๖๗% พุทธ ๙-๑๔% คริสต์ ๘-๑๐% อื่นๆ ๙-๑๙%)
๑๔. มาเลเซีย/Malaysia (มุสลิม ๔๘% คริสต์ ๘% พุทธ ๗% ฮินดู ๗% อื่น ๓๐%)


สำหรับประเทศซาอุดีอาระเบีย มีข้อที่ควรทำความเข้าใจพิเศษว่า แม้จะจัดเข้าในกลุ่มประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แม้ว่าจะไม่ได้เรียกชื่อประเทศว่าเป็นรัฐอิสลาม หรือสาธารณรัฐอิสลาม (ชื่อทางการเรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย/Kingdom of Saudi Arabia) แต่รัฐประกาศิตได้ตราไว้ว่า ซาอุดีอาระเบีย เป็น Islamic State คือเป็นรัฐอิสลาม และบัญญัติให้พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน พร้อมทั้งซุนนะฮ์ (Sunnah) เป็นรัฐธรรมนูญ โดยให้ประเทศใช้กฎหมายอิสลาม

ชาวซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่อัน เคร่งครัด ที่เรียกว่าลัทธิวาฮ์หะบี (Wahhabism) มีตำรวจศาสนาที่เรียกว่า "มุตอวีน" (mutawwiin) คอยตรวจตรากำกับให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อบัญญัติ เช่นให้ร้านค้าปิดในเวลาละหมาด เป็นต้น ประชากรที่มีสัญชาติซาอุดีอาระเบียเป็นมุสลิมทั้งหมดทั้งสิ้น คนที่มิใช่เป็นมุสลิมเป็นคนต่างชาติเท่านั้น

มีขบวนการมุสลิมที่เคร่งครัดในหลายประเทศต่อสู้เพื่อให้ประเทศของตนเป็นรัฐ อิสลาม และใช้กฎหมายอิสลาม ตัวอย่างในระยะใกล้ๆ นี้ ก็เช่น อียิปต์ แอลจีเรีย และอินโดนีเซีย

(โดยเปรียบเทียบ กล่าวกันว่า ในอินโดนีเซีย ที่มีประชากรมุสลิม ๘๕% ชาวมุสลิมที่นั่นมีความเคร่งครัดหย่อนกว่าในที่อื่นๆ และมีขบวนการที่เรียกว่ากบฏ ในรัฐอาเจะฮ์/Acheh/Aceh ซึ่งได้ต่อสู้กับรัฐบาลมาหลายสิบปีแล้ว เพื่อให้อินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลาม หรือไม่ก็แบ่งแยกตัวออกไป)

กฎหมายอิสลาม คือชาริอะ (Sharia) มีบทบัญญัติที่เคร่งครัด เช่น ในทางอาญา ใช้การลงโทษแบบที่เรียกว่าตาต่อตา ฟันต่อฟัน มีโทษที่กำหนดแน่ว่า ถ้าลักของเขา ให้ตัดมือเสีย ถ้าปล้นตามหนทาง ให้ประหารชีวิต ถ้าละทิ้งศาสนา ให้ประหารชีวิต ถ้าสตรีมีชู้ ให้มัดไว้กลางที่ชุมชน และให้คนที่ผ่านไปมา เอาก้อนหินขว้างปาจนกว่าจะตาย ถ้าถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศ ก็ดี ดื่มสุรายาเมา ก็ดี ให้เฆี่ยน ๘๐ ที (รายละเอียดและการใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ต้องขอตรวจสอบกับเอกสารของวงการศาสนาอิสลามอีกที)

ประเทศที่มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติก็มีไม่น้อย แต่มักจะระบุชื่อนิกายใดนิกายหนึ่ง เป็นศาสนาประจำชาติ
มากกว่าจะออกชื่อศาสนาคริสต์


ขอยกมาให้ดู

สหราชอาณาจักร/United Kingdom (แองกลิแคนคือนิกายอังกฤษ ๔๕% โรมันคาทอลิก ๑๐% โปรเตสแตนต์อื่น ๙%)
ศาสนาประจำชาติเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ แห่งนิกายย่อย ๒ ศาสนจักร คือ ศาสนจักรนิกายอังกฤษ (Church of England) และศาสนจักรนิกายสกอตแลนด์ (Church of Scotland) แต่กษัตริย์อังกฤษต้องนับถือนิกายอังกฤษ และเป็นประมุขของนิกายอังกฤษนั้น

มอลตา/Malta (โรมันคาทอลิก ๙๕%)
มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติ

โมนาโก/Monaco (โรมันคาทอลิก ๙๐%)
มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติ

แอนดอร์รา/Andorra (โรมันคาทอลิก ๘๙%)
มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติ

นอร์เวย์/Norway (โปรเตสแตนต์ ๘๘% โรมันคาทอลิก ๑%)
มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ

สวีเดน/Sweden (โปรเตสแตนต์ ๖๘-๙๔% โรมันคาทอลิก ๑.๕-๒%)
มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ (แต่ได้ยกเลิกไปแล้วเมื่อ ค.ศ.2000/พ.ศ.๒๕๔๓)

ฟินแลนด์/Finland (โปรเตสแตนต์ ๘๖-๘๘% ออร์โธดอกซ์ ๑.๑% โรมันคาทอลิก ๐.๑%)
มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรนและออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาประจำชาติ

เดนมาร์ก/Denmark (โปรเตสแตนต์ ๘๘% โรมันคาทอลิก ๑%)
มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ

กรีนแลนด์/Greenland
มีศาสนาคริสต์นิกายลูเธอแรน เป็นศาสนาประจำชาติ

กรีซ/Greece (กรีกออร์โธดอกซ์ ๙๔%)
มีศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาประจำชาติ

เอธิโอเปีย/Ethiopia (เอธิโอเปียนออร์โธดอกซ์ ๓๖% โปรเตสแตนต์ ๑๔% มุสลิม ๓๐%)
มีศาสนาคริสต์นิกายเอธิโอเปียนออร์โธดอกซ์ เป็นศาสนาประจำชาติ

ยังมีประเทศอื่นๆ ที่เคยมีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ แต่ประสบความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์แล้วพ้นภาวะนั้นไป เช่น อาร์เมเนีย/Armenia (เป็นชนชาติที่ถือว่าตนนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติก่อนใครอื่น ตั้งแต่ต้น ค.ศต.4 ปัจจุบันมีชาวคริสต์ ๘๓%) และ ยูเครน/Ukraine (นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่ ค.ศ.988 ปัจจุบันมีชาวคริสต์ ๖๕%) ซึ่งได้เข้ารวมในสหภาพโซเวียต (เป็นคอมมูนิสต์) อยู่นาน จนเพิ่งพ้นออกมาเมื่อสหภาพโซเวียตนั้นสลายในปี 1991/๒๕๓๔)

ฮังการี/Hungary (โรมันคาทอลิก ๖๓% แคลวินิสต์และลูเธอแรน ๒๕%) ก็มีศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่ ค.ศ.1000 แต่ต่อมาได้ถูกต่างชาติปกครอง และระหกระเหินมาจนกลายเป็นประเทศคอมมูนิสต์บริวารของสหภาพโซเวียต แล้วมาเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยอีกในปี 1990/๒๕๓๓

ประเทศอิสราเอล/Israel (ยิว ๗๗% มุสลิม ๑๒%) รู้กันว่าเป็นประเทศเดียวที่มีศาสนายิว (Judaism) เป็นศาสนาประจำชนชาติ


ต่อไป ประเทศที่มีศาสนาฮินดูประจำชาติ
ได้แก่


ประเทศเนปาล (ฮินดู ๘๖% พุทธ ๘% มุสลิม ๔%)

ส่วนประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ได้แก่

๏ ภูฏาน/ภูฐาน/Bhutan (พุทธ ๗๔% ฮินดู ๒๑%)

๏ กัมพูชา/Cambodia (พุทธ ๘๕% มุสลิม ๒%)

๏ ลาว/Laos (พุทธ ๖๐% อื่นๆ ๔๐%)


สิกขิม/Sikkim เคยเป็นประเทศเอกราชและมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ปัจจุบันสิกขิมได้เข้ารวมเป็นรัฐที่ ๒๒ ของอินเดียแล้ว

ที่ว่ามานี้เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงที่จำเป็นต้องรู้ ยกมาให้อ่านให้ดูกันเพียงเป็นตัวอย่าง เรื่องที่ควรรู้ยังมีอีกมาก ถ้าต้องการพูดและปฏิบัติต่อสถานการณ์ให้ถูกต้องจะต้องหาความรู้กันให้จริงจัง จึงขอให้ท่านผู้หวังดีต่อส่วนรวมค้นหามาบอกกัน ไม่ใช่แค่พูดกันไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ ว่า สังคมยุคไอทีเป็นสังคมแห่งความรู้

ถ้ามีข้อมูลเป็นฐานไว้พรั่งพร้อมดีแล้ว ต่อไปจะคิดเห็นจะพูดจะทำการใดๆ ก็จะศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิผลจริง ปาฏิหาริย์จึงจะเกิดขึ้นได้




http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10062

ตัดมาบางตอน ในลิงค์มีอีก 

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อังศนา
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,860


Can't fight the moonlight!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 08-05-2007, 07:05 »

..โมทนาสาธุ 
ชอบๆๆ ..ขอบคุณค่ะ


บันทึกการเข้า

แม้ผืนฟ้า มืดดับ เดือนลับละลาย 
ดาวยังพราย ศรัทธา เย้ยฟ้าดิน (จิตร ภูมิศักดิ์)
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #3 เมื่อ: 08-05-2007, 07:22 »

สาธุ  สาธุ  สาธุ   
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
Suraphan07
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #4 เมื่อ: 08-05-2007, 08:39 »

ขอบพระคุณ จขกท.ที่ช่วยนำความรู้ มาเผยแพร่ครับ...

    
บันทึกการเข้า
อังศนา
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,860


Can't fight the moonlight!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 09-05-2007, 21:23 »

ขอดันกระทู้ไว้หน่อย 
กลัวจะหล่นแล้วหลงตาคนที่สนใจประเด็นนี้

บันทึกการเข้า

แม้ผืนฟ้า มืดดับ เดือนลับละลาย 
ดาวยังพราย ศรัทธา เย้ยฟ้าดิน (จิตร ภูมิศักดิ์)
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #6 เมื่อ: 09-05-2007, 23:00 »

ประเด็นแรกเลยท่านแนะว่า
ก่อนที่จะกระโจนเข้าทุ่มเถียงกัน

ให้ศึกษา เรียนรู้ให้เข้าใจ(บ้าง)ก่อน

อย่างชื่อ(หัวข้อ)ของการบรรยายทั้ง 3 ตอน


มองไกล ใจกว้าง

ดูเขา เข้าใจตัว

รู้จักตัว เห็นทั่วโลก


 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
opensky
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 76


« ตอบ #7 เมื่อ: 10-05-2007, 01:33 »

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #8 เมื่อ: 10-05-2007, 06:36 »

ไม่พูดแล้วครับ..ถ้ากำหนดไว้แล้วสังคม หรือจิตใจคนจะดีขึ้น เข้าหาวัดมากขึ้น ทำให้พระนอกรีตน้อยลง งมงายกันน้อยลง ก็ำกำหนดไปเหอะ (แต่เพลา ๆ การสร้างพระเครื่องกับทอดผ้าป่า ทอดกฐินลงหน่อย)
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #9 เมื่อ: 29-05-2007, 02:04 »

อย่าเขวตามข่าว

โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

.......

เมื่อมีผู้บอกเล่าไถ่ถามเรื่องนี้ และในเวลาพูดคุยกับพระใหม่ ได้ตั้งข้อสังเกตให้ดูกันว่าในสังคมไทยเวลานี้ คนชอบให้ความเห็นแต่ไม่หาความรู้ แล้วคนก็มักให้ความเห็นจากความรู้สึก หรือจากการคิดเอาตามพื้นฐานของตน หรือแม้แต่เดาขึ้นมาเอง โดยไม่ศึกษาหาความรู้หรือแม้แต่มองดูข้อมูลข้อเท็จจริง ทำให้เป็นความเห็นที่เลื่อนลอยหรืออย่างดีก็ผิวเผิน

การแสดงความเห็นกันอยู่ในระยะนี้ว่าควรจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่าพระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ก็เป็นตัวอย่างของสภาพสังคมอันไม่พึงปรารถนานี้จะเห็นว่า คนมักแสดงความเห็นกันโดยไม่ใช้ไม่หาความรู้

ไม่ต้องพูดถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาประจำชาติ แม้แต่ความรู้เข้าใจในตัวประเด็นที่ถกเถียงกันคือ "ความเป็นศาสนาประจำชาติ" หมายความว่าอย่างไร (คือ เป็นศาสนาประจำชาติแบบไหน มีรูปแบบความสัมพันธ์กับรัฐอย่างไร) ก็ยังรู้เข้าใจไม่ตรงกัน

ผู้ที่เสนอหรือเรียกร้อง ก็ตั้งเรื่องขึ้นมาโดยมีความหมายที่เข้าใจของเขาอย่างหนึ่ง
ฝ่ายผู้คัดค้านก็ไม่ได้ถามไถ่ศึกษาหรือมาตกลงให้ชัดว่า จะเอาอย่างนั้นในความหมายว่าอย่างไร ก็พูดคัดค้านเรื่องนั้นในความหมายที่ตนนึกไปอีกอย่างหนึ่ง
ผู้คัดค้านอีกคนหนึ่งเข้ามา ก็พูดค้านไปตามความหมายที่ตนรู้สึกนึกคิดไปอีกแบบหนึ่ง
ไปๆ มาๆ ปากพูดเรื่องเดียวกัน แต่ในสมองคิดคนละเรื่อง


สำหรับที่นี่ ในเมื่อเขา (โดยเฉพาะคณะกรรมการร่าง รธน.) ยังไม่ได้ตกลงยุติในตัวประเด็นว่ามีความหมายแค่ไหนอย่างไร ก็ยังมิใช่กาละที่จะให้ความเห็น

แต่ยิ่งกว่านั้นไปอีก เราไม่ต้องการให้ความเห็น (ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยหรือเป็นกลาง ก็ไม่ได้ให้ทั้งนั้น) แต่มุ่งเน้นให้ความรู้ คือให้คนมีความรู้เข้าใจแล้วให้เขาคิดพิจารณาตัดสินใจด้วยตนเอง ให้เป็นการตัดสินใจด้วยปัญญา พร้อมไปกับการพัฒนาปัญญา

ดังนั้น จึงได้พูดแก่พระใหม่ (และแก่ญาติโยมแม้น้อยคนที่มาเล่ามาถาม) ในเรื่องความรู้แง่ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องศาสนาประจำชาติ โยงไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาแบบต่างๆ จนถึงในประวัติศาสตร์ (ดังที่พระได้ทำเป็น CDs แจกญาติโยมไปตามขอ)

แท้จริงนั้น การเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นประเด็นสนใจหรือที่ถกเถียง กันในสังคม พร้อมทั้งเกื้อหนุนให้ประชาชนฝึกฝนพัฒนาการรู้จักพิจารณาตัดสินใจด้วยปัญญา นี้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์มากกว่าตัวการร่างรัฐธรรมนูญเองด้วยซ้ำไป เพราะเป็นการพัฒนาสาระหรือตัวตนของประชาธิปไตย

โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีการร่างรัฐธรรมนูญบ่อยๆ เมื่อผ่านไปถึงวาระที่มีการร่างกันใหม่หรือในครั้งต่อไป ประชาชนก็จะได้พัฒนาและร่างรัฐธรรมนูญได้ดีขึ้น มิใช่ว่าร่างกันครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งรัฐธรรมนูญและประชาชนที่ร่างก็ยังมีคุณภาพเหมือนเดิม

ทั้งนี้ รัฐควรสร้างบรรยากาศแห่งการแสวงปัญญา ซึ่งไม่อาจสำเร็จด้วยการแสดงความคิดเห็นกันอย่างผิวเผินเลื่อยลอย ตามความรู้สึกชอบใจ-ไม่ชอบใจ แต่ต้องเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่สอบถามสืบค้นกันอย่างจริงจัง

ไม่ว่าประเด็นที่ถกเถียง เช่นเรื่องการบัญญัติพระพุทธศาสนาประจำชาติ จะออกผลบวกหรือลบ หรือแม้แต่ว่าตัว รธน.เองจะผ่านหรือไม่ ถ้าได้สร้างบรรยากาศแห่งการแสวงปัญญาอย่างที่กล่าวมา เหตุการณ์ทั้งหมดก็จะไม่ผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ ตรงข้าม ยังได้ประโยชน์คุ้มแรงคุ้มเวลา

คือการได้พัฒนาประชากร ซึ่งก็คือการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นแก่นเป็นสารนั่นเอง

ที่ใครเขียนว่า มีผู้เอาพระพรหมคุณาภรณ์ไปอ้างว่าร่วมเรียกร้องการบัญญัตินี้กับเขาด้วยนั้น อาตมาเองยังไม่พบการอ้างนั้น และคิดว่าอาจจะไม่ใช่ว่ามีใครไปอ้าง หากเป็นเรื่องที่บางคนซึ่งไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง แต่หันไปใช้วิธีตีความเอาเองว่าเป็นอย่างนั้น

ต้นเหตุก็พอมองเห็น คือ หนังสือเรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ ที่เป็นข้อเขียนของอาตมา ซึ่งมีบุคคลและหนังสือพิมพ์นำไปเผยแพร่ในระยะนี้ แล้วผู้ที่อ่านจับความไม่ชัด ยังไม่รู้ที่ไปที่มา ก็ตีความไปอย่างที่ว่านั้น

.....

บทความค่อนข้างยาว ขออนุญาตตัดตอน
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03290550&day=2007/05/29&sectionid=0130
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-05-2007, 02:06 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: