ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 16:01
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  แรงต่อต้านรัฐธรรมนูญอาจจะมีมาจากทางราชการด้วย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
แรงต่อต้านรัฐธรรมนูญอาจจะมีมาจากทางราชการด้วย  (อ่าน 707 ครั้ง)
กาลามชน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 717


« เมื่อ: 30-04-2007, 20:17 »

คลังดิ้นพล่านรีบศึกษาด่วน แฉร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ป่วนงบประมาณ
ไทยรัฐ [30 เม.ย. 50 - 04:12]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังศึกษาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ... ฉบับรับฟังความคิดเห็น ในหมวด 8 ที่ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ จะส่งผลกระทบต่อการบริหาร และการจัดการงบประมาณของประเทศในด้านไหนอย่างไรบ้าง

เนื่องจากในประวัติศาสตร์ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่กำหนดเรื่องการเงิน การคลัง และงบประมาณ เพียงแต่ระบุว่า “งบประมาณต้องทำเป็นกฎหมาย” เท่านั้น ทั้งนี้ ในร่างรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยเรื่องการเงิน การคลัง และงบประมาณ มีทั้งหมด 5 มาตรการ เริ่มตั้งแต่ มาตรา 162 จนถึงมาตรา 166 และในแต่ละมาตรา ล้วนแต่มีความสำคัญกับการบริหารและการจัดการงบประมาณแผ่นดินทั้งสิ้น โดยเฉพาะมาตรา 163 ระบุว่า ในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ นอกจากจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณแล้ว ยังต้องแสดงฐานะทางการคลังของประเทศเกี่ยวกับภาพรวมจากการใช้จ่าย และการจัดหารายได้ การขาดรายได้จากการยกเว้นภาษีในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการตั้งงบประมาณผูกพันข้ามปี การก่อหนี้รัฐบาล และฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจ ทำให้รัฐบาลต้องร่างกฎหมายการเงิน การคลังของรัฐขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายของประเทศ ทั้งในส่วนของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ

สำหรับกฎหมายการเงิน การคลังฉบับนี้ มีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดรายได้ การกำหนดรายจ่าย การก่อหนี้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์ของรัฐ หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ซึ่งจะทำให้บทบาทของกระทรวงการคลังในการออกมาตรการภาษี เช่น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น ไม่สามารถทำได้ทันที เพราะมาตรการใดๆที่จะทำให้รัฐขาดรายได้ต้องมีการวางแผนและการจัดการไว้ล่วงหน้า  ทำให้บทบาทของสำนักงบประมาณเหลือเพียงแค่หน่วยงานอนุมัติเงินงวดในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ  ส่วนการพิจารณาการใช้จ่ายเงินงบประมาณของแต่ละส่วนราชการจะอยู่ใต้การกำกับดูแลกฎหมายฉบับใหม่

มาตรา 164 กำหนดการพิจารณา พ.ร.บ.ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 105 วัน จากเดิมที่ใช้เวลานานกว่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ขณะที่มาตรา 165 การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำเฉพาะที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายที่เกี่ยวกับการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง แต่กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในกรณีนี้ สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางจะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เป็นตัวเงินจริงๆ จากเดิมที่สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางจะใช้คืนเฉพาะตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น เพื่อป้องกันเงินคงคลังหดหาย.

http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic&content=45363
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 30-04-2007, 20:37 »

เหรอจ๊ะ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: