ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
07-07-2025, 00:24
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทำไมประเทศไทยไม่มีโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
ทำไมประเทศไทยไม่มีโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์?  (อ่าน 7353 ครั้ง)
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« เมื่อ: 27-04-2007, 17:13 »

ทำไมประเทศไทยไม่มีโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์?
สงสัย จะเหตุผลทำนองเดียวกับคลองคอดกระหรือเปล่าว
คือผู้เสียผลประโยชน์ร่วมขัดขวาง คิดกันยังไงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-04-2007, 15:18 โดย room5 » บันทึกการเข้า
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27-04-2007, 17:31 »

ถ้ายังมีระบบการจัดการแบบไทยๆ รักษาความปลอดภัยแบบไทยๆ ก็ยังไม่ควรจะมีในตอนนี้ครับ
ยังจำเหตุระเบิดที่โรงงานนึงได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า

Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 27-04-2007, 18:05 »

ถ้ายังมีระบบการจัดการแบบไทยๆ รักษาความปลอดภัยแบบไทยๆ ก็ยังไม่ควรจะมีในตอนนี้ครับ
ยังจำเหตุระเบิดที่โรงงานนึงได้ไหมครับ

เห็นด้วยกับความคิดนี้เป็นอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #3 เมื่อ: 27-04-2007, 18:56 »

ถ้ายังมีระบบการจัดการแบบไทยๆ รักษาความปลอดภัยแบบไทยๆ ก็ยังไม่ควรจะมีในตอนนี้ครับ
ยังจำเหตุระเบิดที่โรงงานนึงได้ไหมครับ

เห็นด้วยครับ
การที่สร้างไม่ได้ อยู่ที่ระบบการจัดการของเรามากกว่า ไม่ได้อยู่ที่มีคนเสียประโยชน์
และสิ่งที่อยากให้คำนึงถึงก่อนที่จะสร้างคือควรคิดให้รอบคอบว่า
สร้างแล้วได้อะไรเสียอะไร มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่
่ไม่ใช่จะสร้าง จะรับประทานก็ดันๆกันไป
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #4 เมื่อ: 27-04-2007, 20:06 »

1. ราคาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แพงและยังไม่คุ้มที่จะสร้างในขณะนี้
2. ไม่มีสถานที่ตั้ง หากมีความคิดจะสร้าง ก็จะได้รับการต่อต้านในทุกพื้นที่
3. ไม่มีเทคโนโลยีที่ดีจริง สำหรับกิจการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทุกเทคโนโลยี ล้วนแล้วแต่มีปัญหา และก่อมลพิษ ไม่คุ้มกับการลงทุน
4. ไม่จำเป็นเลย เพราะถึงโลกจะขาดพลังงานอื่นๆจนหมดแล้ว การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ทดแทนไม่ได้ พลังงานที่ได้ก็จะแพงเหมือนกัน เพราะอยู่ภายใต้การผูกขาดของประเทศมหาอำนาจไม่กี่ชาติ ที่กำหนดราคาโรงไฟฟ้าชนิดแพงเกินจริง บวกกำไรประมาณห้าหกร้อยเท่าได้กระมัง
5. พลังงานที่เราใช้อยู่อย่างฟุ่มเฟือยในปัจจุบัญนี้ เพียงเพื่อสนองตอบระบบทุนนิยมงี่เง่า เพียงแต่เราเปลี่ยนวิถีชีวิต กลับไปใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พลังงานที่เราผลิตได้เองจากภาคเกษตร เพียงพอที่จะให้ประชากรของเราใช้งานอยู่แล้ว
6. รูปร่างโรงไฟฟ้ามันทุเรศค่ะ 
บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27-04-2007, 20:57 »

ศักยภาพของไทย

1. ราคาของโรงไฟฟ้าเราจ่ายได้ครับ แพง แต่อยู่ในวิสัยที่จ่ายได้
2. มีพื้นที่ ที่เหมาะสมกับการตั้งโรงไฟฟ้าหลายที่

ปัญหา

1. เราไม่มีเชื้อเพลิงเป็นของตนเอง ทำให้ต้องซื้อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งแพงมากและมีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีขาย
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสังคม รอบ ๆ โรงไฟฟ้า เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก
3. ปัญหาการกำจัดขยะนิวเคลียร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไม่ตกทั่วโลก

สิ่งที่เป็นอยู่

1. พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน ยังคงมีราคาถูก ถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาต้องใช้น้ำมันเตาในการปั่นไฟ ก็ยังถูกกว่าใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
2. ปัจจุบันเราใช้วิธีซื้อไฟฟ้าจาก ลาว และลงทุนสร้างเขื่อนในพม่า แน่นอนว่าก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในลาวกับพม่า แต่เมื่อเทียบต้นทุนในการสร้างเพิ่มในไทย ปัญหาน้อยกว่าเยอะ
3. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในไทยในตอนนี้ยังไม่เข้าขั้นวิกฤต
4. ประมาณการการใช้ไฟฟ้าในไทย เมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตในไทย และลาว พม่า (ซึ่งซื้อมาในราคาถูก) ยังเพียงพอไปอีกนับสิบปี

อนาคต

ไทยเราจะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แน่นอนครับ รูปแบบคงจะเป็นเอกชนลงทุนร่วมกับการไฟฟ้าฯ แต่น่าจะอยู่ราว ๆ อีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งในตอนนั้นคาดว่าประเทศอื่น ๆ อาจมีเทคโนโลยีที่ถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปแล้ว แต่ไทยยังไม่มีกำลังที่จะซื้อ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่ถูกกว่า

เทคโนโลยีสะอาด ตอนนี้อเมริกาทำได้สำเร็จแล้ว คือการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนล้วน ๆ เพียงแต่ราคาของมันยังแพงอยู่ เลยมีแค่ต้นแบบไม่กี่คัน รถยนต์ไฮบริด แบบไฟฟ้า - น้ำมัน ยังคงมีราคาถูกกว่าและเป็นไปได้มากกว่า จึงยังไม่มีการนำออกมาใช้ แน่นอน ในเมื่อผลิตใส่ลงไปในรถได้ เค้าก็คิดที่จะทำโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนด้วยเช่นกัน ตอนนี้มันขึ้นอยู่กับเรื่องราคาของเทคโนโลยีเท่านั้น ในวันหนึ่งข้างหน้าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยมาก ๆ เพราะการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ก็ยังคงพัฒนาให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นกัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง ทั้งราคา ทั้งเทคโนยีที่ก้าวหน้า จะทำให้มันคุ้มทุน และปลอดภัยพอ ที่จะสร้าง ตอนนั้น ไทยเราก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #6 เมื่อ: 27-04-2007, 22:06 »

เข้ามาอ่าน............ เพื่อความรู้ครับ
ไม่มีความสามารถพอที่จะวิพากษ์....
จะติดตามอ่านครับ เรื่องนี้ก็น่าสนใจ
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเครียร์...
ในอนาคต
อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเมืองไทยก็ได้
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #7 เมื่อ: 27-04-2007, 22:41 »

ลองทำประชาพิจารณ์ดูซิครับ
ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่จังหวัดไหนดี

 
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
Suraphan07
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #8 เมื่อ: 27-04-2007, 23:21 »

อือ ม ม...
จะพอเทียบเคียงกับคำถามว่า...

"ทำไมประเทศไทย ไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง"
ได้หรือเปล่าเนี่ยะ...

เคยได้ยินว่ามีรัฐบาลหนึ่ง พยายามผลักดันให้ไทยเป็น ดีทรอยด์ แห่งเอเชีย...
ก็ไม่เข้าใจมากนักว่า ไอ้ดีทรอยด์น่ะ มันเป็นยังไง...

รู้แต่ว่าตอนนี้ การออกแบบ-พัฒนาและการผลิต(รถ) ในไทย.
ล้วนอาศัยจมูกคนอื่นหายใจ ทั้งนั้น...

ทั้งๆที่ รถยนต์ในไทยนอกจากจะแพงกว่าแล้ว ยังมีอยู่บนถนนมากกว่าหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้ว...

ถ้าจะทำอะไรแล้วยังต้องคอย อ้าปากรอหรือขอส่วนบุญจากคนอื่น (ตปท).
ผลประโยชน์ มันก็ไม่หนีไปไหนหรอกครับ...

ตกอยู่กับคนอื่น วันยังค่ำ...


ประเด็นพลังงานนิวเคลียร์นี่ ก็น่าคิดจริงๆ
ขอฟังและศึกษา คคห.จากผู้รู้ ด้วยคนแล๊ะกัน...
บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 27-04-2007, 23:35 »

"ทำไมประเทศไทย ไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง"

คนไทยเราทำรถยนต์ได้ดีครับ เก่งกว่ามาเลย์ หรือจีน ซึ่งมีรถยนต์ของตัวเองอีก ดูอย่างไทยรุ่งสิครับ แบบสวยใช้ได้เลย รถปิ๊กอัพหลายยี่ห้อ หลัง ๆ นี่ก็ออกแบบในไทยนะครับ แต่ที่เราไม่มีคือ เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ครับ โดยเฉพาะด้านโลหะ ทำให้เราไม่สามารถผลิตเครื่องยนต์ได้เอง ทั้ง ๆ ที่เราออกแบบได้ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ของไทย เก่งพอครับ แต่เราไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือมากพอที่จะทำมันขึ้นมา เนื่องจากเราไม่มีงบประมาณ (ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากภาครัฐ และเอกชนก็ไม่สนใจจะลงทุน) เราสร้างตัวถังได้ แต่ต้องนำเข้าเครื่องยนต์จากต่างประเทศ

ม.เกษตร เคยออกแบบและผลิตเฮลิคอปเตอร์ แต่ก็ต้องนำเข้าเครื่องยนต์จากต่างประเทศครับ เรารู้ว่ากลไกเครื่องยนต์ทำงานอย่างไร ต้องผลิตชิ้นส่วนใหนบ้าง เราออกแบบเครื่องยนต์ได้เองด้วยซ้ำ กล่องควบคุมเราก็ผลิตเองได้ ออกแบบเองได้ แต่เราหล่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์เองไม่ได้ครับ นั่นคือปัญหา
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
kman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 102


« ตอบ #10 เมื่อ: 27-04-2007, 23:54 »

เค้ากลัวมาตรฐานแบบไทยๆ ครับ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #11 เมื่อ: 28-04-2007, 04:20 »

ปัญหาใหญ่ที่สุดคือความเข้าใจของชาวบ้านครับ ลองมีคนเอาเรื่องระเบิดนิวเคลียร์หรือเรื่องที่เชอร์โนบิลไปกล่อมชาวบ้านแค่นี้ก็ลุกฮือกันมาแล้วครับ ในอดีตถ้าจำไม่ผิด โรงงานสกัดแร่กัมมันตภาพรังสีถูกเผาเพราะความไม่เข้าใจของชาวบ้านนี่แหละ
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 28-04-2007, 05:09 »

เข้ามาอ่านครับ

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ถามผมว่าเห็นด้วยหรือเปล่า ก็ตอบว่า  หนักใจ

ปัญหาเท่าที่ทราบ คุณคนในวงการ ตอบได้ใกล้เคียงครับ..

โครงการของรัฐในส่วนของการศึกษาเรื่องนี้ ต้องถามว่าหัวหน้าโครงการมีความรู้และคนเพียงพอหรือยัง???

งบประมาณเรื่องแบบนี้ ต้องเป็นเงินระยะยาว และต้องมีแหล่งวัตถุดิบ แหล่งกำจัดหรือทิ้งของเสีย ที่แน่นอน มีการกำหนดมาตรฐานทุกด้าน

โครงสร้างรายได้ประชากรต่อหัวเป็นอีกตัวหนึ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถ้าหากทุกอย่างมาบรรจบกันได้ในเวลาที่เหมาะสม ก็สามารถมีได้ครับ ตราบเท่าที่ต้นทุนทุกด้านโดยรวมมันถูกกว่าวิธีการอื่นๆ

ดังนั้น ผมยังเชื่อว่าปัจจัยชี้ขาด เป็นเรื่องวิสัยทัศน์ในด้านการปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปสังคม การดึงเอาพลังความร่วมมือของคนไทยมาใช้

หากจะให้ทุกอย่างเกิดขึ้นเองตามปกติ ก็เข้าใจว่าเราคงจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ เนื่องจากเราขาดแคลนส่วนประกอบที่สำคัญ เช่นเดียวกับที่เราขาดแคลนเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ ไม่มีอุตสาหกรรมที่แข่งขันได้ ไม่มีตลาดรองรับ ฯลฯ

มาถึงข้อสรุปของตัวผมเอง  ผมเข้าใจว่า เรื่องไฟฟ้า เนื่องจากเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญ ภาครัฐต้องกำหนดแนวทางการส่งเสริมที่สำคัญ

ตั้งแต่ฐานรากเลย ตลอดจนไปถึงโครงสร้างของตัวสังคมทั้งหมดให้ความจริงสอดคล้องกับภาพสังคมในอนาคตที่มุ่งหวังได้ให้มากที่สุด.. ผลประโยชน์ที่ควรได้ก็จะตกอยู่กับสังคมไทยของเรา


ตอบตอนนี้ก็คิดว่า แนวโน้มแล้วเราคงได้ทดลองใช้เทคโนโลยีต่างๆแต่คงเป็นไปในต้นทุนที่สูงกว่าการที่เราเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีเองครับ ขึ้นอยู่กับแผนงานยุทธศาสตร์ของภาครัฐและสถาบันทางวิชาการ

ก็ยังเชื่อว่า ไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นสิ่งจำเป็นครับ ตราบเท่าที่เรายังต้องใช้เครื่องปรับอากาศและมีเครื่องปรับอากาศใช้...

                   


 



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-04-2007, 05:14 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Me.
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 153


« ตอบ #13 เมื่อ: 28-04-2007, 05:28 »

เห็นด้วยกับ คุณ ********Q******** ครับ

ลองไปถามใน www.pantip.com/cafe/wahkor สิครับ
รับรองกระจ่าง คนเก่งทางเทคโนโลยี อาจารย์มหาวิทยาลัยก็เยอะ ลองดูสิว่า
เค้าสนับสนุนให้มีกันไหม  

เรื่อง การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรืออุตสาหกรรม เหมือนกัน
ดูอย่างประเทศ จีน ซิครับ หรือ ญี่ปุ่น ในอดีต
C&D --> R&D

( มันก่อให้เกิดการสร้างงานอย่างมหาศาลและ
การเกิดที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการผลิตมากมาย)

มันเป็นไปตามกระบวนการ การเรียนรู้

ก่อนเขียนหนังสือได้ เราก็ต้องฝึกเขียนตามตัวอย่างก่อนจริง ไหม ?
ก่อนที่จะพูดได้ เราก็ต้อง พูดตามคนที่สอนเราพูด
ก่อนที่เราจะวิ่ง เราก็ต้องเดินได้มั่นคงเสียก่อน

แล้วเราจะเดินได้อย่างไร ถ้าไม่มีคนมาหัดเดินให้เรา

แน่นอนการค้าย่อมมีผลประโยชน์ แต่คนมีการศีกษาไม่ได้โง่ทุกคนนี่ครับ
ถึงแม้ โนว์ฮาว ต่าง ๆ หรือบางอย่างเค้าจะกันเราได้ แต่สักวันเราก็จะทำได้

แต่ถ้าเรามัวแต่คิด เดี้ยวมันมากอบโกยอย่างนู้นอย่างนี้
มองประเทศจีน ตอนนี้ซิครับ

มันเป็นเรื่องของ "วิสัยทรรศน์" ครับ

หรือ " สนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างชาติ ออกจากประเทศไทยไปให้หมด  ?"

หรือจะมาอ้างว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เป็นไร ๆ เราใช้พลังงานเท่าที่มีอยู่ก็พอ
ถ้าคุณอ้างว่า คุณเล่นอินเตอร์เนตวันละ ครึ่ง ชม ก็เพียงพอสำหรับคุณแล้ว
แต่ถ้าคุณไปถามคนอื่น ๆ ละเค้าต้องการเล่น ครึ่ง ชม เท่ากับคุณไหม ?
ถาม 10 คนก็ตอบไม่เท่ากันหรอกครับ

ความพอเพียง ของ คนเราไม่เท่ากันครับ
งั้นถ้า ถามกลับ เราจะหา "ความเพียงพอ" ของแต่ละคนได้อย่างไร ?

เพราะฉนั้น อย่างเอาหลังชนวัง
แล้วพูดอะไรโดยปราศจากพิ้นฐานความรู้ที่มีอยู่จริง ๆ
 
อย่าพูดแบบฟัง ๆ เค้ามา แล้วเชื่อเลย
ฟังแล้วคิดตาม แล้วไปค้นคว้านะครับ อย่างน้อยเราจะได้ไม่โดนใครหลอก
บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 28-04-2007, 07:29 »

เห็นด้วยกับ คุณ ********Q******** ครับ

ลองไปถามใน www.pantip.com/cafe/wahkor สิครับ
รับรองกระจ่าง คนเก่งทางเทคโนโลยี อาจารย์มหาวิทยาลัยก็เยอะ ลองดูสิว่า
เค้าสนับสนุนให้มีกันไหม 

เรื่อง การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรืออุตสาหกรรม เหมือนกัน
ดูอย่างประเทศ จีน ซิครับ หรือ ญี่ปุ่น ในอดีต
C&D --> R&D

( มันก่อให้เกิดการสร้างงานอย่างมหาศาลและ
การเกิดที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการผลิตมากมาย)

มันเป็นไปตามกระบวนการ การเรียนรู้

ก่อนเขียนหนังสือได้ เราก็ต้องฝึกเขียนตามตัวอย่างก่อนจริง ไหม ?
ก่อนที่จะพูดได้ เราก็ต้อง พูดตามคนที่สอนเราพูด
ก่อนที่เราจะวิ่ง เราก็ต้องเดินได้มั่นคงเสียก่อน

แล้วเราจะเดินได้อย่างไร ถ้าไม่มีคนมาหัดเดินให้เรา

แน่นอนการค้าย่อมมีผลประโยชน์ แต่คนมีการศีกษาไม่ได้โง่ทุกคนนี่ครับ
ถึงแม้ โนว์ฮาว ต่าง ๆ หรือบางอย่างเค้าจะกันเราได้ แต่สักวันเราก็จะทำได้

แต่ถ้าเรามัวแต่คิด เดี้ยวมันมากอบโกยอย่างนู้นอย่างนี้
มองประเทศจีน ตอนนี้ซิครับ

มันเป็นเรื่องของ "วิสัยทรรศน์" ครับ

หรือ " สนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างชาติ ออกจากประเทศไทยไปให้หมด  ?"

หรือจะมาอ้างว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เป็นไร ๆ เราใช้พลังงานเท่าที่มีอยู่ก็พอ
ถ้าคุณอ้างว่า คุณเล่นอินเตอร์เนตวันละ ครึ่ง ชม ก็เพียงพอสำหรับคุณแล้ว
แต่ถ้าคุณไปถามคนอื่น ๆ ละเค้าต้องการเล่น ครึ่ง ชม เท่ากับคุณไหม ?
ถาม 10 คนก็ตอบไม่เท่ากันหรอกครับ

ความพอเพียง ของ คนเราไม่เท่ากันครับ
งั้นถ้า ถามกลับ เราจะหา "ความเพียงพอ" ของแต่ละคนได้อย่างไร ?

เพราะฉนั้น อย่างเอาหลังชนวัง
แล้วพูดอะไรโดยปราศจากพิ้นฐานความรู้ที่มีอยู่จริง ๆ
 
อย่าพูดแบบฟัง ๆ เค้ามา แล้วเชื่อเลย
ฟังแล้วคิดตาม แล้วไปค้นคว้านะครับ อย่างน้อยเราจะได้ไม่โดนใครหลอก

แบบนี้เค้าเรียกว่า กึ่งยิงกึ่งผ่าน นับได้ว่า ตอบกระทู้ได้ เนียนมาก ขอชม เนียนจริง ๆ ขอบอก 555 ไม่อ่านดี ๆ ไม่รู้เลยนะเนี่ย 555
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 28-04-2007, 08:47 »

การกำจัดแร่กัมมันตภาพรังสี ยังเอาไปกองไว้ที่ทิ้งขยะ จนคนเก็บขยะเอาไปขาย จนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตไม่ใช่รึ
ส่วนความจำเป็นในแง่ความต้องการพลังงานที่มากขึ้น ผมมองว่า ยังมีทางที่จะลงทุนในด้านอื่นๆ เช่น ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะคุ้มค่ามากกว่าตั้งโรงงานเองครับ
สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาในตอนนี้ เหมือนกับขี่ช้างจับตั๊กแตนน่ะครับ
บันทึกการเข้า

พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #16 เมื่อ: 28-04-2007, 09:50 »

อ้างถึง
เทคโนโลยีสะอาด ตอนนี้อเมริกาทำได้สำเร็จแล้ว คือการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนล้วน ๆ เพียงแต่ราคาของมันยังแพงอยู่ เลยมีแค่ต้นแบบไม่กี่คัน รถยนต์ไฮบริด แบบไฟฟ้า - น้ำมัน ยังคงมีราคาถูกกว่าและเป็นไปได้มากกว่า จึงยังไม่มีการนำออกมาใช้ แน่นอน ในเมื่อผลิตใส่ลงไปในรถได้ เค้าก็คิดที่จะทำโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนด้วยเช่นกัน ตอนนี้มันขึ้นอยู่กับเรื่องราคาของเทคโนโลยีเท่านั้น ในวันหนึ่งข้างหน้าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยมาก ๆ เพราะการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ก็ยังคงพัฒนาให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นกัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง ทั้งราคา ทั้งเทคโนยีที่ก้าวหน้า จะทำให้มันคุ้มทุน และปลอดภัยพอ ที่จะสร้าง ตอนนั้น ไทยเราก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วครับ

หนูขอค้านท่านประธานค่ะ ยกสองแขนเลย

พลังงานไฮโดรเจนสะอาด ไม่เถียงค่ะ แต่ปัญหาคือ จะเอาไฮโดรเจนจากไหน คำตอบง่ายๆก็คือจากน้ำ อันประกอบด้วยไฮโดรเจนสองอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอม คำถามต่อมาคือ จะแยกมันออกมาได้อย่างไร คำตอบคือ แยกมันด้วยไฟฟ้า คำถามต่อมาก็คือ จะเอาไฟฟ้ามาจากไหน คำตอบคือ จากพลังงานอื่นๆเอามาผลิตไฟฟ้านั่นเอง

การใช้ไฮโดรเจน หรือ ไฟฟ้า ในรถยนต์ เป็นเพียงการเปลี่ยนสื่อกลางของพลังงานที่ใส่เข้าไปในรถยนต์เท่านั้น จะใช้น้ำมัน ไฟฟ้า ไฮโดรเจน ก็คือเอาพลังงานเติมเข้าไปในรถยนต์ และเราต้องหาพลังงานนั้นมาเสียก่อน

เหตุที่พัฒนาพลังไฮโดรเจน ก็เพราะการเก็บพลังงานไฟฟ้านั้นยากลำบาก แบตเตอรี่ชาร์จไฟใช้เวลานาน น้ำหนักต่ออัตราความจุไฟฟ้าต่ำ ยังไม่ค้นพบวิธีเก็บประจุไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพพอค่ะ จึงมีการคิดค้นรถยนต์ไฮโดรเจนขึ้น

แต่สรุปสุดท้าน เรายังคงต้องการพลังงาน เพื่อไปชาร์จไฟฟ้า หรือแยกไฮโดรเจนอยู่ดี

หากจะคิดว่ารถทุกคันในโลกใช้พลังงานไฮโดรเจน เราจะต้องผลิตไฟฟ้ามากเท่าไหร่ เพื่อไปแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ??? โรงไฟฟ้าจะต้องเพิ่มอีกกี่โรง เอาเฉพาะในประเทศไทย ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีกกี่เท่า และจะเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ไหนมาจึงจะพอ

และที่สำคัญ ยูเรเนียม อันเป็นสารตั้งตันในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บนโลกนี้มีจำกัดเช่นเดียวกับน้ำมัน ไม่ได้มีชนิดเอาเท่าไหร่ก็ได้ เมื่อทุกคนต้องการใช้ มันก็ขาดคลนได้เช่นกันค่ะ

บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 28-04-2007, 09:52 »

เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 10 กว่าปีก่อนผมเคยบอกเพื่อว่า ถ้าขบวนรถไฟไม่มีคนขับวิ่งไปชนสถานีหัวลำโพงได้ เราก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ได้

ผมชอบเพลง เมดอินไทยแลนด์ของคาราบาวมาก เนื้อหาดีมาก ๆ แต่ที่บ้านแอ๊ด คาราบาว ไม่ได้ใช้วิทยุ หรือโทรทัศน์ธานินทร์ แล้วแอ๊ดก็ไม่ได้สูบบุหรี่เกล็ดทอง

สิ่งที่ผมว่ามามันคงพออธิบายอะไรได้บ้างว่า ทำไมเราไม่ทำไอ้นั่นเอง ทำไมเราไม่ทำไอ้นี่เอง ถาวรคอมพิวเตอร์ ก็ยังอยู่ไม่ได้เลยน่ะครับ
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 28-04-2007, 10:26 »

ศักยภาพของไทย

1. ราคาของโรงไฟฟ้าเราจ่ายได้ครับ แพง แต่อยู่ในวิสัยที่จ่ายได้
2. มีพื้นที่ ที่เหมาะสมกับการตั้งโรงไฟฟ้าหลายที่

ปัญหา

1. เราไม่มีเชื้อเพลิงเป็นของตนเอง ทำให้ต้องซื้อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งแพงมากและมีเพียงไม่กี่ประเทศที่มีขาย
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสังคม รอบ ๆ โรงไฟฟ้า เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก
3. ปัญหาการกำจัดขยะนิวเคลียร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไม่ตกทั่วโลก

สิ่งที่เป็นอยู่

1. พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน ยังคงมีราคาถูก ถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาต้องใช้น้ำมันเตาในการปั่นไฟ ก็ยังถูกกว่าใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
2. ปัจจุบันเราใช้วิธีซื้อไฟฟ้าจาก ลาว และลงทุนสร้างเขื่อนในพม่า แน่นอนว่าก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในลาวกับพม่า แต่เมื่อเทียบต้นทุนในการสร้างเพิ่มในไทย ปัญหาน้อยกว่าเยอะ
3. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในไทยในตอนนี้ยังไม่เข้าขั้นวิกฤต
4. ประมาณการการใช้ไฟฟ้าในไทย เมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตในไทย และลาว พม่า (ซึ่งซื้อมาในราคาถูก) ยังเพียงพอไปอีกนับสิบปี

อนาคต

ไทยเราจะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แน่นอนครับ รูปแบบคงจะเป็นเอกชนลงทุนร่วมกับการไฟฟ้าฯ แต่น่าจะอยู่ราว ๆ อีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งในตอนนั้นคาดว่าประเทศอื่น ๆ อาจมีเทคโนโลยีที่ถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปแล้ว แต่ไทยยังไม่มีกำลังที่จะซื้อ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่ถูกกว่า

เทคโนโลยีสะอาด ตอนนี้อเมริกาทำได้สำเร็จแล้ว คือการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนล้วน ๆ เพียงแต่ราคาของมันยังแพงอยู่ เลยมีแค่ต้นแบบไม่กี่คัน รถยนต์ไฮบริด แบบไฟฟ้า - น้ำมัน ยังคงมีราคาถูกกว่าและเป็นไปได้มากกว่า จึงยังไม่มีการนำออกมาใช้ แน่นอน ในเมื่อผลิตใส่ลงไปในรถได้ เค้าก็คิดที่จะทำโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนด้วยเช่นกัน ตอนนี้มันขึ้นอยู่กับเรื่องราคาของเทคโนโลยีเท่านั้น ในวันหนึ่งข้างหน้าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยมาก ๆ เพราะการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ก็ยังคงพัฒนาให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นกัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง ทั้งราคา ทั้งเทคโนยีที่ก้าวหน้า จะทำให้มันคุ้มทุน และปลอดภัยพอ ที่จะสร้าง ตอนนั้น ไทยเราก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วครับ

จริงๆเรื่องของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ผมไม่ได้กลัวเทคโนโลยีเท่าไหร่หรอกครับ

แต่ที่กลัวจริงๆ คือ คน ครับ อย่างที่เชอร์โนบิล ที่มันระเบิด ก็เกิดจาก คน ที่ควบคุมมัน เนี่ยแหล่ะครับ

ทีนี้ ถ้ามาไทยผมว่ามันจะเกิดปัญหาตั้งแต่การก่อสร้างเลยล่ะครับ คุณมั่นใจแค่ไหนว่า การก่อสร้างจะไม่มีนอกไม่มีในกับผู้ได้เสียผลประโยชน์ (สุวรรณภูมเป็นตัวอย่าง เมื่อคืน ได้ยินใครไม่รู้ออก TV ว่า สุวรรณภูมิ มีการโกงกันเยอะมาก แต่หาหลักฐานเอาผิดไม่ได้) แล้วถ้าการก่อสร้างมันไม่ได้มาตรฐาน มันก็ Chipหาย เท่านั้นแหล่ะครับ


ส่วนเรื่องเทคโนโลยีสะอาน เคยดูรายการ TV รายการนึงเรื่องการผลิตไฟฟ้าโดยใช้กังหันลม อ.ท่านว่าท่านวิจัยสำเร็จแล้ว สำหรับกังหันลมที่ใช้ได้ดีในประเทศไทย แต่ไม่มีใครเอาไปผลิต เพื่อทำขายในเชิงธุรกิจ (สาเหตุที่ต้องผลิตเองเพราะกังหันลมที่ผลิตในต่างประเทศ ใช้กับไทยไม่ได้ เพราะที่ต่างประเทศ(ผู้ผลิต)ลมแรงกว่าไทยเยอะ เมื่อเอามาติดที่ไทย(แหลมพรมเทพ จ.ภูเก็ต)ตัวกังหันทำงานได้ไม่ถึง 50% ของตัวมันเองเลยด้วยซ้ำ) สาเหตุที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ก็เพราะคนไทย ไม่เชื่อมือคนไทยด้วยกัน และ ถ้าเป็นของนอกมันกินค่าคอมมิชชั่นได้ ก็เท่านั้น

คนไทยเราทำรถยนต์ได้ดีครับ เก่งกว่ามาเลย์ หรือจีน ซึ่งมีรถยนต์ของตัวเองอีก ดูอย่างไทยรุ่งสิครับ แบบสวยใช้ได้เลย รถปิ๊กอัพหลายยี่ห้อ หลัง ๆ นี่ก็ออกแบบในไทยนะครับ แต่ที่เราไม่มีคือ เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ครับ โดยเฉพาะด้านโลหะ ทำให้เราไม่สามารถผลิตเครื่องยนต์ได้เอง ทั้ง ๆ ที่เราออกแบบได้ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ของไทย เก่งพอครับ แต่เราไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือมากพอที่จะทำมันขึ้นมา เนื่องจากเราไม่มีงบประมาณ (ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากภาครัฐ และเอกชนก็ไม่สนใจจะลงทุน) เราสร้างตัวถังได้ แต่ต้องนำเข้าเครื่องยนต์จากต่างประเทศ

ม.เกษตร เคยออกแบบและผลิตเฮลิคอปเตอร์ แต่ก็ต้องนำเข้าเครื่องยนต์จากต่างประเทศครับ เรารู้ว่ากลไกเครื่องยนต์ทำงานอย่างไร ต้องผลิตชิ้นส่วนใหนบ้าง เราออกแบบเครื่องยนต์ได้เองด้วยซ้ำ กล่องควบคุมเราก็ผลิตเองได้ ออกแบบเองได้ แต่เราหล่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์เองไม่ได้ครับ นั่นคือปัญหา
อันนี้ฟังดูแล้ว รู้สึกเศร้าจัง 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #19 เมื่อ: 28-04-2007, 14:48 »

เราฝังใจกับเชอร์โนบิลมากเกินไปหรือเปล่าครับพี่น้อง??

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีกี่ร้อยโรงล่ะครับ ที่มันระเบิดน่ะแค่โรงเดียวเองนะครับมันไม่ง่ายยั่งงั้นหรอก

มันระเบิดเพราะการดำนินการจริงรึเปล่าก็ไม่รู้ มันอาจจะมีประเทศใหญ่ที่กลัวศักยภาพของรัสเซียทำให้มันระเบิดก็เป็นได้ใช่มั้ยครับ

การสร้างโรงไฟฟ้าซักที่ไม่ใช่ง่ายๆนะครับ เขาก็ศึกษามาอย่างยากลำบากกว่าจะมาสร้างได้ คนที่สร้างมันก็กลัวตายเหมือนกันนะครับ

จริงๆแล้วการนำนิวเคลียร์มาใช้มันจะเร็วไปหน่อยเพราะเมืองไทยเรามีพลังงานอีกมาก อย่างพลังน้ำ ซึ่งถ้าเรามีเขื่อนเพิ่มขึ้น เราจะมีพลังงานใช้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อพลังงานจากต่างประเทศ...

แต่แล้วก็สร้างไม่ได้เพราะมีพวกNGOs(อ่านออกเสียงไปเลย) รับเงินรับทองมาพูดกระตุ้นความเห็นแก่ตัวของชาวบ้าน โอกาสตรงนี้เราก็เลยเสียไปมาก

แค่สร้างเขื่อนก็ยากแล้ว นิวเคลียร์คงต้องฝันค้าง ต้องซื้อไฟจากนอกต่อไปก็แล้วกัน...
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #20 เมื่อ: 28-04-2007, 15:25 »

  โหวต ให้เป็นกระทู้สาระยอดเยี่ยม

ตามแผนคร่าวๆ ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในปี 2565

สิบกว่าปีที่เหลือ นวัตกรรมคงจะคืบหน้าไปมาก

แต่สำหรับประเทศไทย แม้ภายใน 5 ปีนี้ เราจะมีกำลังไฟฟ้าสำรองที่เพียงพอต่อความต้องการ

แต่ในการประมาณกำลังใช้ จำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้า 15 ปีขึ้นไป

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของไทย จะถูกต่อต้านเสมอ ถ้าเป็นเขื่อน ก็จะถูกกระแสต้านจากคนในพื้นที่

แม้ว่าการสร้างเขื่อนจะมีประโยชน์ทั้งการผลิตไฟฟ้า กักเก็บน้ำ และบรรเทาปัญหาน้ำท่วม

แต่สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ คือ คนในพื้นที่ ซึ่งอยู่อาศัยมานับแต่บรรพบุรุษ ไม่มีใครอยากย้ายออก

หากเราหันกลับมามองทรัพยากรธรรมชาติที่มี ด้านพลังแสงอาทิตย์เหมาะที่สุดที่จะเป็นวัตถุดิบ

แต่ปัญหา คือ ต้นทุนการผลิต ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราค่าไฟฟ้า หนำซ้ำรัฐบาลแทบไม่มีการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม

ส่วนกังหันลม เป็นไปได้ไม่มากนัก เพราะบ้านเราลมไม่แรงพอ จึงต้องใช้กังหันลมหมุนช้า ซึ่งราคาแพงอีก

โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อชุมชนในพื้นที่อย่างมาก เพราะประเทศไทยก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีต่ำ

อ้างสาเหตุจาก "ต้นทุน" แต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน ที่สำคัญ คือ ภาพพจน์ของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ และการบริหารจัดการ

ทำให้ทุกพื้นที่ ที่เป็นจุดก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกต่อต้านอย่างหนัก แสดงถึงการที่ กฟผ.คำนึงถึงต้นทุนเฉพาะหน้า

โดยละเลย "ต้นทุนค่าเสียโอกาส" และต้นทุนทางสังคม ซึ่งเมื่อนำมาบวกลบกันแล้วกลับพอๆ กันกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสูง

ซึ่งสามารถกำจัดมลพิษจากการผลิตได้สูงมาก ดังเช่นที่ญี่ปุ่น ซึ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เกิดปัญหาต่อชุมชนเหมือนบ้านเรา

บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #21 เมื่อ: 28-04-2007, 15:34 »


หนทางที่จะหาพลังงานสำรองมารองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ คือ

การซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน พม่า และลาว

รัฐบาลควรเพิ่มสัดส่วนให้มากขึ้น ไม่ใช่กำหนดใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินมากถึง 70% ดังเช่นที่เป็นอยู่

การกระจายแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นความมั่นคงด้านพลังงาน

เพราะเราต้องซื้อถ่านหินจากต่างประเทศ เช่นเดียวกับที่เราต้องซื้อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จากประเทศอื่น

ในวาระที่ทั่วโลกตระหนักถึงภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และปัญหาโลกร้อน

เราต้องคำนึงถึงผลพวงจากการผลิตไฟฟ้าด้วย เราไม่อาจต้านทานกระแสโลกได้ เราจึงต้องมองไปข้างหน้าให้ไกล

คิดหาหนทางเลือกให้มาก อย่าย่ำเท้าไปกับรอยเดิมๆ

วันจันทร์นี้มีประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ มาดูกันว่ารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องของไทย

มีวิสัยทัศน์อย่างไร แต่วิสัยทัศน์ต้องมาพร้อมกับการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมด้วยนะจ๊ะ ท่านรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า
engg
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 388


« ตอบ #22 เมื่อ: 28-04-2007, 15:47 »

คุณพรรณชมพูใช้อะไรทำอาหาร ใช้พัดมือถือ ใช้แสงจันทร์ดูหนังสีอ ไม่ดูทีวี ไม่ฟังวิทยุ ไม่มีตู้เย็น ไม่ใช้พัดลม ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

วางแผน สร้างเสร็จจ่ายไฟฟ้าได้ปี 2563

ปัจจุบันมีพลังนิวเคลียร์ เทียบเท่าโรงไฟฟ้า 4 เมกวัตต์ที่องครักษ์

ริมถนนวิภาวดีข้างม.เกษตรก็มี 3 เมกวัตต์ มีมาหลายสิบปีแล้ว

30 ปีที่แล้วมี 25 ล้านคน ขณะนี้มี 60 ล้านคน อีก 30 ปี 120 ล้านคน (3จังหวัดภาคใต้อาจเป็น 20 ล้าน)

ปัญหาเกิดจากเราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #23 เมื่อ: 28-04-2007, 16:09 »

ปัญหาเกิดจากเราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้

 
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 28-04-2007, 22:14 »

ปัญหาเกิดจากเราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้

เคยดูหนังเรื่อง VIRUS ไม๊ครับ

ผมว่า มนุษย์เราเนี่ย เหมือน VIRUS นะครับ


ปล. เห็นด้วยกับคุณ engg เป็นครั้งแรก 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 28-04-2007, 23:26 »

ตัวอย่างเรื่อง

เขื่อน ท่อก๊าซ ....

มีบทเรียนเรื่องการประท้วงของคนท้องถิ่น(+ngo)ที่มาแล้ว

ผมว่า ปัญหามันอยู่ที่ การจัดการ การทำความเข้าใจ ระหว่างรัฐ กับประชาชน

การจัดสรรประโยชน์ ที่เหมาะสม ระหว่างผู้ที่เสียประโยชน์และผู้ที่ได้ประโยชน์ในเรื่องนี้

มันอยู่ที่ ยอมกันได้รึเปล่าและเหตุที่ยอมได้หรือไม่ อยู่ที่จุดไหน.. รัฐต้องหาให้เจอและจัดการความขัดแย้งนั้นให้ได้
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #26 เมื่อ: 28-04-2007, 23:38 »

คลังแสงระเบิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ายังไม่สามารถจัดการปัญหาหญ้าปากคอกแบบนี้ได้

ขอบอกตรงๆ หากมองข้ามชอรต์ไปถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่กล้าคิด
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #27 เมื่อ: 29-04-2007, 10:19 »

คุณพรรณชมพูใช้อะไรทำอาหาร ใช้พัดมือถือ ใช้แสงจันทร์ดูหนังสีอ ไม่ดูทีวี ไม่ฟังวิทยุ ไม่มีตู้เย็น ไม่ใช้พัดลม ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

วางแผน สร้างเสร็จจ่ายไฟฟ้าได้ปี 2563

ปัจจุบันมีพลังนิวเคลียร์ เทียบเท่าโรงไฟฟ้า 4 เมกวัตต์ที่องครักษ์

ริมถนนวิภาวดีข้างม.เกษตรก็มี 3 เมกวัตต์ มีมาหลายสิบปีแล้ว

30 ปีที่แล้วมี 25 ล้านคน ขณะนี้มี 60 ล้านคน อีก 30 ปี 120 ล้านคน (3จังหวัดภาคใต้อาจเป็น 20 ล้าน)

ปัญหาเกิดจากเราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้


คุณมองโลกแคบไปค่ะ ก่อนมนุษย์จะผลิตไฟฟ้าใช้ เราก็มีอารยธรรมมานานแล้ว โดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้า คุณเกิดมาในโลกที่มีสวิทช์ไฟให้เปิดได้เมื่อต้องการพลังงาน ก็มองเห็นแค่นั้นเอง

การพัฒนาพลังงานทดแทน โดยไม่ต้องพึ่งพลังงานไฟฟ้าจากการเผาเชื้อเพลิงที่ได้มาจากฟอสซิล หรือสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังมีหนทางอีกเยอะค่ะ เพียงแต่ต้องมีวิสัยทัศน์เท่านั้น ความเคยชินใช้แก้ปัญหาได้ที่ปลายเหตุเท่านั้นค่ะ  เคยมีไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใช้อยู่ เมื่อขาดแคลน ก็หาทางอะไรก็ได้เพื่อจะให้มีไฟฟ้าใช้ต่อไป เป็นแกรแก้ที่ปลายเหตุ เหมือนคนติดยา หิวยา ก็หายามาเสพบำบัดอาการไป จนตาย ไม่คิดแก้ไขที่ต้นเหตุ

ก่อนจะมีไฟฟ้าใช้ มนุษย์ใช้อะไรทำอาหารคะ ใช้อะไรให้แสงสว่าง ก่อนจะมีเทคโนโลยีส่งกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ คนสมัยนั้นเขาทำอะไรกันหรือคะ และเมื่อมีเทคโนโลยีแล้ว หากไม่มีโรงไฟฟ้า มันสิ้นคิดถึงกับไม่สามารถจะออกอากาศกันได้ต่อไปเชียวหรือคะ พัดลมต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเท่านั้นหรือคะ เครื่องทำความเย็นทั้งหลาย ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเท่านั้นหรือคะ  ไปหาความรู้มาใหม่ค่ะ ความรูในโลกนี้ยังมีอีกเยอะ รอให้คุณไปค้นหา

ความจำเป็นเป็นมารดาแห่งการประดิษฐ  (ไม่ใช่ผลกำไรนะคะ อย่างที่พวกทุนนิยมโง่เง่าชอบอ้าง)

รีบศึกษาค่ะ ระวังตกยุค 
บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #28 เมื่อ: 29-04-2007, 11:57 »

ด้วยศักยภาพของประเทศไทยตอนนี้ เราสร้างและดูแลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ครับ

แต่  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะถูกสร้างและบริหารจัดการในแบบต่ำกว่ามาตรฐานเหมือนสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้โดยเด็ดขาด!

ขณะนี้เวียดนามกำลังมีแผนขึ้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 โรงเร็ว ๆ นี้  รัฐบาลเวียดนามแจ้งว่าถ้ามีการโกงกินจนทำให้โรงไฟฟ้ามีความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐานในขั้นตอนไหนก็ตาม บอร์ดและผู้รับเหมามีโทษถึงประหารหรือจำคุกตลอดชีวิตครับ

บ้านเราจะทำได้อย่างเขาหรือไม่ น่าคิดครับ ตราบใดที่เรายังมีการฮั้วประมูลและคอรัปชั่นกันอย่างโจ่งครึ่มแบบนี้

อายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างมากสุด ไม่เกิน 30 ปี

- เมื่อหมดอายุการใช้งานต้องทำการปิดเตาปฎิกรณ์ หลังจากการปิดเตาปฎิกรณ์ยังต้องคงการทำงานของระบบน้ำหล่อเย็นต่อไปอีก 30 ปี เพื่อทำให้อุณหภูมิของแท่งปฎิกรณ์ลดลงอย่างช้า ๆ นั่นเท่ากับว่าเราจะต้องมีต้นทุนในการหล่อเย็นแท่งปฏิกรณ์อีกประมาณ 30 ปี หลังจากปิดโรงไฟฟ้าแล้ว

- การกำจัดกากกัมมันตภาพรังสี จะใช้วิธีหล่อซีเมนส์ถ่วงทะเล หรือฝังดิน ก็น่าหวาดเสียวทั้งนั้นจะส่งไปฝังที่ประเทศด้อยพัฒนาเหมือนที่มีคนอยากทำกับเมืองไทย ก็น่าจะยาก


ตอนนี้อินเดียและจีนกำลังมุ่งไปยังเชื้อเพลิงราคาถูกสำหรับเตาปฎิกรณ์อย่าง Thorium มากกว่า Uranium ซึ่งแพงและหายากกว่า ในขณะที่ Thorium นั้น ทั้งอินเดียและจีนในกลับมีอยู่อย่างเกลื่อนกลาด และยังบริหารจัดการกับเตาปฎิการณ์ได้ง่ายกว่า ทางเลือกนี้อาจจะน่าสนใจครับ สำหรับเมืองไทย ถ้าจำเป็นจะต้องนำเอามาใช้จริง ๆ ในอนาคตอันใกล้

บันทึกการเข้า
engg
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 388


« ตอบ #29 เมื่อ: 29-04-2007, 14:51 »

ความรู้ในโลกนี้ยังมีอีกเยอะ รอให้คุณไปค้นหา


ขอบคุณครับ ตามธรรมชาติ จะได้อย่างต้องเสียอย่าง ทำอาหารใช้ฟืนจากไม้ แสงสว่างจากไขสัตว์หรือยางไม้ ถ้าโลกนี้มีคน10หรือ100ล้านคนอาจทำได้ แต่คน2000ล้านคนต้นไม้ไม่พอให้ตัด ไขสัตว์ฆ่าเท่าไรก็ไม่พอ ที่ปลูกต้นไม้เลี้ยงสัตว์ลดลง เพราะคนไปแย่งมาใช้งาน

ที่จำเป็นต้องทำคือให้ทุกอย่างได้ประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพถึง50% ซึ่งสูงกว่าการใช้ฟืน ไขสัตว์

พลังนิวเคลียร์ ไม่อาจปฏิเสธได้ ทำได้เพียงชลอให้ช้าที่สุด แต่จะสูญเสียโอกาสอย่างมากมาย

โรงไฟฟ้าฝรั่งเศส 70 % เป็นนิวเคลียร์
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #30 เมื่อ: 29-04-2007, 15:41 »

ความรู้ในโลกนี้ยังมีอีกเยอะ รอให้คุณไปค้นหา


ขอบคุณครับ ตามธรรมชาติ จะได้อย่างต้องเสียอย่าง ทำอาหารใช้ฟืนจากไม้ แสงสว่างจากไขสัตว์หรือยางไม้ ถ้าโลกนี้มีคน10หรือ100ล้านคนอาจทำได้ แต่คน2000ล้านคนต้นไม้ไม่พอให้ตัด ไขสัตว์ฆ่าเท่าไรก็ไม่พอ ที่ปลูกต้นไม้เลี้ยงสัตว์ลดลง เพราะคนไปแย่งมาใช้งาน

ที่จำเป็นต้องทำคือให้ทุกอย่างได้ประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพถึง50% ซึ่งสูงกว่าการใช้ฟืน ไขสัตว์

พลังนิวเคลียร์ ไม่อาจปฏิเสธได้ ทำได้เพียงชลอให้ช้าที่สุด แต่จะสูญเสียโอกาสอย่างมากมาย

โรงไฟฟ้าฝรั่งเศส 70 % เป็นนิวเคลียร์


มองได้ย้อนยุคน่าประทับใจค่ะ แต่หนูมองเรื่องก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ในฟาร์ม น้ำมันไบโอดีเซลจากภาคเกษตร เครื่องปรับอากาศจากระบบความชื้น ตู้เย็นพลังงานก๊าซชีวภาพ การประหยัดพลังงาน เศรษฐกิจพอเพียง และเลิกฟุ่มเฟือยไร้สาระ

ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพหนึ่งห้าง ใช้พลังงานเท่ากับประชาชนทั่วไปจะใช้อย่างประหยัดในหนึ่งจังหวัด (ที่ไม่ใช่มหานคร) หากเราต้องเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาตั้ง เพื่อให้ห้างเหล่านี้มีไฟฟ้าไปเปิดแอร์ให้เย็นๆ เปิดไฟให้สว่างไสว นับว่าโง่อย่างไร้สาระค่ะ

ถามจริงๆเหอะ นอกจากใช้ฟินหุงข้าว ใช้ไขสัตว์ให้แสงสว่างแล้ว  คิดไกลกว่านั้นไม่ออกจริงๆเหรอ 
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #31 เมื่อ: 29-04-2007, 16:51 »

ความรู้ในโลกนี้ยังมีอีกเยอะ รอให้คุณไปค้นหา


ขอบคุณครับ ตามธรรมชาติ จะได้อย่างต้องเสียอย่าง ทำอาหารใช้ฟืนจากไม้ แสงสว่างจากไขสัตว์หรือยางไม้ ถ้าโลกนี้มีคน10หรือ100ล้านคนอาจทำได้ แต่คน2000ล้านคนต้นไม้ไม่พอให้ตัด ไขสัตว์ฆ่าเท่าไรก็ไม่พอ ที่ปลูกต้นไม้เลี้ยงสัตว์ลดลง เพราะคนไปแย่งมาใช้งาน

ที่จำเป็นต้องทำคือให้ทุกอย่างได้ประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพถึง50% ซึ่งสูงกว่าการใช้ฟืน ไขสัตว์

พลังนิวเคลียร์ ไม่อาจปฏิเสธได้ ทำได้เพียงชลอให้ช้าที่สุด แต่จะสูญเสียโอกาสอย่างมากมาย

โรงไฟฟ้าฝรั่งเศส 70 % เป็นนิวเคลียร์

แล้วอะไรคือประสิทธิภาพสูงสุดกันแน่รับ
เคยมีใครคิดไหมครับว่าจะเอาน้ำมันจากดินมาเป็นเชื้อเพลิงรถ
มีแต่เผาทิ้งและหลีกเลี่ยงความอันตรายของมัน

เคยมีใครคิดไหมว่าแสงแดดจะทำให้รถวิ่งได้
เห็นแต่เอาไปตากผ้า ทำเนื้อแดดเดียว

มีใครเคยเอาน้ำมาเข้าหม้อต้ม ใช้พลังงานมากมายเพียงเพื่อให้รถขยับไปนิดเดียว
แต่ทุกวันนี้ใช้ไฟฟ้าเริ่มต้นนิดเดียวกับน้ำ กลายเป็นพลังงานที่บ้านหลังนึงจะใช้ได้เป็นเดือน

50%ของที่คุณคิดว่าทำได้ในปัจจุบัน โรงไฟฟ้า70%ของฝรั่งเศสที่คุณยกมาอ้าง
เป็นพลังงานที่คุ้มค่าจริงหรือ ผมคิดว่ามันยังไม่ถึงกับเสี้ยวหนึ่งของประสิทธิภาพที่ควรเป็น
ผมว่าไม่ควรยึดติดกับอะไรเกินไปหันมาพัฒนาหลังงานที่ใช้ได้ในปัจจุบัน และหาพลังงานที่คุ้มค่ากว่าในอนาคต
ผมยังคิดอีกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียอาจจะเป็นทางเลือกสำหรับหลายๆประเทศ แต่ไม่ใช่สำหรับประเทศไทยครับ
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #32 เมื่อ: 29-04-2007, 17:23 »

ไม่มีความเห็น

แค่เข้ามาอ่าน นายหมี
หลอกด่าจ้าว ได้เนียนจริง ๆ

กล้า ๆ หน่อย ก็ดีนะ
เก่งจริง ต้องกล้าจริงสิ คนเรา
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #33 เมื่อ: 29-04-2007, 23:30 »

เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับผมแล้วกำลังรอผลการทดลองโรงไฟฟ้าเทอร์โมนิวเคลียร์
ที่เป็นนิวเคลียร์ฟิวชั่นอุณหภูมิสูง ใช้แสงเลเซอร์รวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมแล้วได้พลังงาน
เตาปฏิกรณ์เล็กเท่ารถบรรทุกผลิตไฟฟ้าได้เท่าเขื่อนภูมิพลอยู่ครับ ไม่มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบ
และไม่มีปัญหามลพิษด้วย

ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิสชั่นแบบเก่าๆ เทคโนโลยีโบราณมีแต่ปัญหาครับอย่าสร้างเลย
ถ้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ยังไม่ออกมาก็รอไปก่อนดีกว่า

ระหว่างนี้การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไปพลางก่อน ตามความเห็นผมเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าครับ
(หมายถึงถ่านหินคุณภาพดีๆ จากต่างประเทศ ไม่ใช่ถ่านลิกไนต์ลำปางนะครับ) เพราะก่อ
มลพิษไม่มากกว่าก๊าซธรรมชาติ ปริมาณสำรองมีมากมายมหาศาลใช้ไปได้อีก 4-5 ร้อยปี
ทำให้ราคาคงที่มีเสถียรภาพตลอดเวลา ดีกว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ราคาจะขึ้นไปตลอด
แต่ปัญหาก็คือภาพลักษณ์โรงไฟฟ้าถ่านหินแบบเดิมๆ ของการไฟฟ้าที่คนไม่ยอมรับเท่านั้นเอง

...

ส่วนการแก้ปัญหาที่ผมอยากให้มีมากที่สุด ถ้าใครรู้จักนักวิจัยลองไปเสนอเขาดูก็ได้นะครับ
คือเราน่าจะวิจัยเครื่องจักรไอน้ำมาใช้งานกันอีกครั้ง ปัดฝุ่นเทคโนโลยีเก่าๆ สมัย ร.3 - ร.4
มาใช้กันอีกครั้ง เพราะมีจุดเด่นคือมีอิสระจากประเภทเชื้อเพลิงที่จะนำมาใช้ไม่ต้องพึ่งน้ำมัน
แต่เพียงอย่างเดียวเหมือนเครื่องยนต์สันดาปภายใน  เทคโนโลยีก็ไม่มีอะไรเข้าใจยากเลย
วิทยาลัยเทคนิกที่ไหนก็สามารถทำได้ทั้งนั้น ทำเป็นเครื่องเล็กๆ เหมือนเครื่องรถไถ

เราเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้วหาอะไรมาต้มน้ำได้ง่ายจะตายไป จะใช้ฟืนใช้ถ่าน หรือ
เอาฟางเอาแกลบมาอัดเป็นแท่ง หมักมูลสัตว์เป็นก๊าซชีวภาพ หรือทำไบโอดีเซลอะไรก็ได้

เราเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้วจะนั่งรอน้ำเดือดสัก 10-15 นาทีไม่น่ามีปัญหาตรงไหน
ได้เครื่องจักรไอน้ำมาแล้วก็เอาไปทำได้ทุกอย่างที่เครื่องเบนซินทำได้ เช่น วิดน้ำเข้านา
ทำเครื่องสีข้าว ต่อเป็นรถอีแต๋น หรือจะเอาไปปั่นไฟฟ้า ก็ทำได้ทั้งนั้น แต่เรามีอิสระในการ
เลือกใช้เชื้อเพลิง แบบไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานในส่วนนี้ไปเลย

ผมว่าแต่ละบ้านตามชนบทมีแบบนี้อยู่สักเครื่องก็แก้ปัญหาพลังงานไปได้เยอะแล้วนะครับ
ส่วนที่ต่างประเทศเขาใช้พลังงานแสงอาทิตย์แยกไฮโดรเจนไปเติมรถนั่นก็วิธีของเขาไป

เราทำเองง่ายๆ ของเราก็เท่ห์ไปอีกแบบ พึ่งพาตัวเองได้เหมือนกันน่ะครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-04-2007, 23:36 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #34 เมื่อ: 29-04-2007, 23:39 »

ขอบคุณครับได้ความรู้ เยะเลยนะเนี่ย
บันทึกการเข้า
(ลุง)ถึก สไลเดอร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,026



« ตอบ #35 เมื่อ: 30-04-2007, 00:01 »

ประเทศสวีเดนต้องขุดอุโมงค์ลึกเป็นกิโลเมตร เพื่อที่จะเก็บ
ขยะนิวเคลียร์ ต้องใช้อุปกรณ์และบุคคลากรเป็นจำนวนมาก
ต้องใช้เวลาประมาณ30ปี เพื่อควบคุมมิให้รังสีของนิวเคลียร์ูหลุดรอดไปสร้างปัญหา
ให้กับประชากรของเขา
  ตอนนี้สั่งปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หมดแล้วทั่วประเทศ หันมาใช้พลังน้ำ ลม แสงอาทิตย์
และอื่นๆแทน
  ใครอยากจะสร้า่งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ก็เชิญสร้างได้เลย เอาขยะนิวเคลียร์ูไปทิ้งไว้แถวๆ
ทุ่งกุลาก็ได้เน๊าะ
บันทึกการเข้า

(ลุง)ถึก สไลเดอร์
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 30-04-2007, 01:35 »


ลองติดตามข่าวคราวกันดูครับ  http://www.gnep.energy.gov/gnepPRs/gnepPR011007.html 

January 10, 2007

Department of Energy Releases Global Nuclear Energy Partnership Strategic Plan

WASHINGTON, DC – The U.S. Department of Energy (DOE) Assistant Secretary for Nuclear Energy Dennis Spurgeon today released the Global Nuclear Energy Partnership (GNEP) Strategic Plan, which details the Initiative’s purpose, principles and implementation strategy. The Plan outlines a path forward to enable worldwide increase in the use of safe, emissions-free nuclear energy without contributing to the spread of nuclear weapons capabilities in a manner that responsibly addresses the waste produced.

“For the United States, GNEP is good policy; for industry, it could be very good business,” Assistant Secretary Spurgeon said. “Releasing GNEP’s Strategic Plan demonstrates the seriousness DOE places on this Initiative as well as the seriousness of our nation’s need to incorporate safe, emissions-free nuclear power into our nation’s energy mix. While DOE labs and research facilities host some of the best scientists, the GNEP Strategic Plan gives researchers, experts and industry the opportunity to examine and understand our vision.”

The Strategic Plan is a guiding document, one that can be modified if the U.S. Government, our international partners and industry deem it appropriate. It lays out DOE’s plan to prepare for construction and operation of a nuclear fuel recycling center and an advanced recycling reactor, and for continuing an aggressive research and development program focused on advanced fuel cycle technology. The Plan also specifies criteria necessary to consider in order to safely and successfully implement the goals of GNEP.

The Strategic Plan provides a framework for the U.S. to:

Expand nuclear power to meet growing energy demand;
Develop, demonstrate, and deploy advanced technologies for recycling spent nuclear fuel without separating plutonium;
Develop, demonstrate, and deploy advance reactors that consume transuranics;
Establish reliable fuel services worldwide;
Develop, demonstrate, and deploy proliferation resistant reactors appropriate to power grids and;
Develop enhanced safeguards to ensure nuclear energy systems are used for peaceful purposes.
This Plan identifies the technology, economic and environmental information necessary to present a convincing case to the Secretary of Energy for his decision on a path forward regarding the design and construction of recycling facilities in support of GNEP.

NEP is a part of President Bush's Advanced Energy Initiative, which seeks to reduce our reliance in imported oil by changing the way we power our cars, homes and business. For more information on GNEP, visit: www.gnep.gov.

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 30-04-2007, 02:29 »

NUCLEAR STATISTICS   http://www.nei.org/index.asp?catnum=2&catid=352

 
 
World Statistics

..............

http://www.iaea.org/programmes/a2/index.html

LATEST NEWS RELATED TO PRIS AND THE STATUS OF NUCLEAR POWER PLANTS
Current status of the nuclear industry:
436 nuclear power plants in operation with a total net installed capacity of 368.858 GW(e)
6 nuclear power plants in long term shutdown
31 nuclear power plants under construction 

.............

http://www.energyquest.ca.gov/story/index.html

The Energy Story - Table of Contents
Introduction
Chapter 1:   Energy - What Is It?
Chapter 2:   Electricity
Chapter 3:   Static Electricity & Resistance
Chapter 4:   Electrical Circuits
Chapter 5:   Stored Energy & Batteries
Chapter 6:   Generators, Turbines and Power Plants
Chapter 7:   Electricity Transmission System
Chapter 8:   Fossil Fuels - Coal, Oil and Natural Gas
Chapter 9:   Natural Gas Distribution System
Chapter 10: Biomass Energy
Chapter 11: Geothermal Energy
Chapter 12: Hydro Power
Chapter 13: Nuclear Energy - Fission and Fusion
Chapter 14: Ocean Energy
Chapter 15: Solar Energy
Chapter 16: Wind Energy
Chapter 17: Renewable vs. Nonrenewable - Environment & Air Quality
Chapter 18: Energy for Transportation
Chapter 19: Saving Energy and Energy Efficiency
Chapter 20: Hydrogen and Energy In Our Future
Conclusion

 
 
 
| EQ Homepage | Energy Story | Science Projects | Library | Games |
| News | Find It | Links | About EQ | Privacy Info | Contact Us |


Energy Story Section Updated: April 22, 2002
© 2006 California Energy Commission. All rights reserved.
 
............

Energy  http://en.wikipedia.org/wiki/Energy
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
This article is about energy in terms of natural sciences. For other uses, see Energy (disambiguation).
 

In physics and other sciences, energy (from the Greek ενεργός, energos, "at work") is a concept, a quantifiable attribute of physical systems. It is not an object or a substance, but it is quantifiable in ways which show that it cannot be created or destroyed. The units used to quantitate energy are the same as those used to define work in physics. Many forms of energy are defined in the natural sciences, e.g. kinetic energy, potential energy, electrical energy; chemical energy etc.; any one of them can be transformed into another form, often through a process that involves mechanical work. However, the transformation from one form to another is not always total, it is limited by the second law of thermodynamics. A fraction of the energy remains in the form of thermal energy in many such transformations.

Contents [hide]
1 Definitions
2 Historical perspective
3 Energy and contexts in science
4 Physics
4.1 Salient points
4.2 Energy transfer
4.3 Energy and the laws of motion
4.4 The Hamiltonian
4.5 The Lagrangian
4.6 Energy and thermodynamics
4.7 Equipartition of energy
4.8 Oscillators, phonons, and photons
4.9 Work and virtual work
4.10 Quantum mechanics
4.11 Relativity
5 Chemistry
6 Biology
7 Meteorology
8 Geology
9 Astronomy and cosmology
10 Measurement
10.1 Methods
10.2 Units
11 Kinetic and potential energy
12 Forms of energy
12.1 Gravitational potential energy
12.2 Electric potential energy
12.3 Magnetic energy
12.4 Thermal potential energy
12.5 Chemical potential energy
12.6 Elastic potential energy
12.7 Nuclear potential energy
13 Transformations of energy
14 Law of conservation of energy
15 See also
16 Notes and references
16.1 Other books
17 External links
 



บันทึกการเข้า

ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 30-04-2007, 06:03 »

พลังงาน ไม่ใช่ปัญหาเดียวของโลก  มลภาวะก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ จะใช้ฟืน ถ่านหิน หรือน้ำมัน มันก็ทำให้เกิดมลภาวะ สิ่งที่ต้องพยายามกันก็คือ หาทางนำเอาพลังงานที่ไม่ทำให้เกิดมลภาวะมาใช้ให้ได้มากที่สุด แสงอาทิตย์ ลม คลื่น พลังงานเหล่านี้ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ

ปัญหาสำคัญก็คือ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลม หรือคลื่น มันสูงมาก สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์หลายประเทศกำลังคิดกันคือ ทำอย่างไรจะทำให้ต้นทุนพลังงานเหล่านี้ต่ำลงมาอยู่ในจุดที่คุ้มต่อการลงทุน

อาทิตย์ที่แล้ว วันจันทร์กับวันอังคาร อากาศร้อนพอสมควร 50-60 F พอวันพุธพฤหัส กลับเย็นลง 36-45 F เรื่อยมาถึงวันศุกร์ วันอาทิตย์ฝนตก

ลมฟ้าอากาศมันแปรปรวนมาก โลกเราร้อนขึ้นเยอะมาก

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่มันยังไปไม่ถึงไหน ปัญหาก็คือ แบตตารี่ที่ดีที่สุด ยังเก็บไฟฟ้าได้ไม่มากพอ เวลาชาร์จก็ใช้เวลานาน

สาเหตุที่นิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่เขานำมาใช้ก็เพราะ ใส่เขื้อเพลิงเข้าไปนิดเดียว แต่ได้พลังงานออกมามหาศาล หลายล้านเท่าเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงที่ใส่เข้าไป แต่มันก็มีปัญหาเรื่องนิวเคลียร์เวสท์ ที่เป็นอันตราย แล้วตัวโรงปฏิกรณ์ก็มีอันตราย ความรับผิดชอบแบบไทย ๆ น่ากลัวมาก นอกจากนี้ การรักษาความปลอดภัย ก็สำคัญ หลัง 9-11 เป็นต้นมา ที่อเมริกานี่ต้องใช้เงินในเรื่องการป้องกันวินาศกรรมโรงงานนิวเคลียร์เยอะมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า

วัฒนธรรมไทย ๆ ยามที่จ้าง ๆ กันมา ส่วนใหญ่จะเหมือนจ้างให้มานั่งหลับ
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 30-04-2007, 09:37 »

คลังแสงระเบิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ายังไม่สามารถจัดการปัญหาหญ้าปากคอกแบบนี้ได้

ขอบอกตรงๆ หากมองข้ามชอรต์ไปถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่กล้าคิด


พูดถึงเรื่องคลังแสงเนี่ย ไม่เข้าใจจริงๆ ในเมื่อมันมีประสบการณ์ตั้งหลายครั้งแล้วไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมไม่สร้างใหม่ให้มันดีๆหน่อย

หรือว่าจะขุดลงไปอยู่ใต้ดินได้ ก็น่าจะดีนะ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #40 เมื่อ: 30-04-2007, 14:16 »

ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ไม่ใช่ความต้องการเพื่อการอยู่อาศัยของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นการต้องการเพื่อระบบทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาเมืองอย่างไรทิศทาง ฟุ่มเฟือย สิ้นเปลือง ไร้สาระ

การประมาณการในอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้า ประมาณตามความต้องการและการคาดหมายของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ที่ตั้งค่าความปลอดภัยไว้เท่ากับศูนย์ ไม่มองถึงภาวะแท้จริงของแหล่งพลังงาน และมลภาวะที่กำลังเลวร้ายลง

การตะบี้ตะบันเพิ่มจำนวนโรงไฟฟ้า การทำเทคโนโลยีสกปรกเข้ามาผลิตไฟฟ้า การพึ่งพิงแหล่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน การตั้งเป้าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ภาคอุตสาหกรรม เป็นแนวคิดที่มีวิสัยทัศน์สั้น และจะล้มเหลวในระยะเวลาอันสั้นนี้ ผู้ที่รับผิดชอบด้านพลังงานไฟฟ้า เพียงอยากสร้างๆๆและสร้าง จะเพื่อเม็ดเงินที่ไหลไปไหน ก็คิดกันเอาเอง

เมื่อวิกฤติน้ำมันโลกมาถึง ในเร็ววันข้างหน้านี้ ระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยจะเริ่มล้มระเนระนาด ระบบเมืองใหญ่ไร้สาระที่เรากำลังสร้าง จะประสบวิกฤติทั้งเรื่องพลังงานและน้ำ ผู้คนจะแตกกระจายกลับสู่ชนบท ระบบไฟฟ้าที่ออกแบบไว้สำหรับทุนนิยม จะต้องปรับเปลี่ยนกันขนานใหญ่ สิ่งที่ลงทุนไปอย่างโง่ๆในกิจการไฟฟ้า จะเป็นความสูญเปล่า

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะนำมาตั้งไว้ในประเทศไทย จะเป็นอนุสาวรีย์ความโง่อีกชิ้นหนึ่งเท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #41 เมื่อ: 30-04-2007, 14:34 »

ตอนนี้ฝรั่งมันก็หัวเราะเยาะแย้ยในปัญญาของเราล่ะครับ..

ที่ว่าผลิตพลังงานเองไม่ได้ ไม่พอ จริงๆแล้วเมืองไทยนี่ไม่จำเป็นต้องไปนำเข้าพลังงานจากไหนเลย

ฝรั่งมันบอกผมว่า...ยูเอาพลังน้ำมาเป็นกระแสไฟฟ้า แล้วเอาแก๊สมาเติมรถสิ ยูจะได้ไม่ต้องซื้อน้ำมันแขกไง แก๊สยูก็มีไม่ใช่เรอะ

ส่วนเรื่องอุตสาหกรรมเมื่อพังไปแล้ว ไฟที่สร้างไว้ก็ไม่จำเป็นขายซะก็ได้ ไม่ถึงกับโง่มากหรอกครับ พลังงานยิ่งเยอะยิ่งดี
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 30-04-2007, 15:04 »



ผมตามอ่านความเห็นของแต่ละท่านอยู่ครับ ลองตั้งคำถามครับ คำตอบเป็นสิ่งที่ต้องนำไปคิดต่อ...   


ตอนนี้ที่บ้านและที่ทำงานใช้ไฟกันราคาหน่วยละเท่าไหร่กันครับ...?

เดินทางทุกวันด้วยวิธีการเช่นใดครับ?


อยากให้ราคาไฟฟ้าต่อหน่วยในภาพรวมทั้งประเทศอยู่ในช่วงราคาต่อหน่วยสักเท่าไร?

แล้วก็ราคาค่าไฟควรปรับราคาขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่??
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 01-05-2007, 00:22 »


เรื่องมลภาวะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ครับ เป็นปัญหาระดับโลก

การที่ประเทศไทยจะต้องเป็นตัวผู้เล่นที่สำคัญในเวทีโลก จึงเป็นทางออกในการคงความเป็นตัวของตัวเองของเราไว้ได้ ไม่ว่าเราจะตัดสินใจก้าวย่างในจังะหวะและทิศทางอย่างไร?



จากข้อเท็จจริง คำว่านิวเคลียร์ ประทับบาดแผลฉกรรจ์ไว้ในใจคนทั้งโลก หลังจากที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณู2ลูกที่ญี่ปุ่น และผมหวังว่าจะไม่มีการทำลายล้างกันด้วยวิธีการนี้อีกครับ

หากมีเราก็ควรทราบวิธีรับมือกับมันอย่างดีที่สุด...


ภัยพิบัติทุกอย่างที่ไม่ใช่ภัยตามธรรมชาติในยุคเดิม เกิดจากน้ำมือของมนุษย์อย่างขาดความระมัดระวัง และไม่คาดฝันครับ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องภาวะเรือนกระจก และโลกร้อนในปัจจุบัน...
ทางแก้ไขคือการพยายามจับพวงมาลัยบังคับทิศทางให้ดี พร้อมไปกับการแตะเบรคและเหยียบคันเร่งในจังหวะที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องทราบจุดหมายปลายทางของชาวโลกด้วยครับ.
ว่าจุดหมายใดคือจุดหมายที่ไม่สมควรจะไป ยกตัวอย่างเช่นสงครามโลก สงครามอาวุธนิวเคลียร์ ฯลฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-05-2007, 00:31 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #44 เมื่อ: 01-05-2007, 01:04 »

พูดถึงเรื่องคลังแสงเนี่ย ไม่เข้าใจจริงๆ ในเมื่อมันมีประสบการณ์ตั้งหลายครั้งแล้วไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมไม่สร้างใหม่ให้มันดีๆหน่อย

หรือว่าจะขุดลงไปอยู่ใต้ดินได้ ก็น่าจะดีนะ


ตัวอย่างแบบนี้ไงคะ ปัญหาที่น่าจะปรับปรุงแก้ไขกลับละเลยกันไป

วันนี้มีฝนตกแถวบ้านไฟฟ้าก็ดับ หากฝนตกทุกวันไฟฟ้าก็ดับทุกวัน จนอยากจะโทรไปถามคอลเซนเตอร์

ว่าวันนี้ฉันเป็นหวัดและจามแรงไปรึเปล่าไฟถึงดับ?

ระบบการดูแลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศเรายังหาความแน่นอนในมาตราฐานที่ดีไม่ได้

นับว่าเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะมองไปถึงการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 01-05-2007, 01:26 »


ตัวอย่างแบบนี้ไงคะ ปัญหาที่น่าจะปรับปรุงแก้ไขกลับละเลยกันไป

วันนี้มีฝนตกแถวบ้านไฟฟ้าก็ดับ หากฝนตกทุกวันไฟฟ้าก็ดับทุกวัน จนอยากจะโทรไปถามคอลเซนเตอร์

ว่าวันนี้ฉันเป็นหวัดและจามแรงไปรึเปล่าไฟถึงดับ?

ระบบการดูแลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศเรายังหาความแน่นอนในมาตราฐานที่ดีไม่ได้

นับว่าเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะมองไปถึงการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ผมมองว่าโดยส่วนใหญ่ความสะดวกสบายเป็นคนละประเด็นกับความปลอดภัยครับ ยกตัวอย่างเช่น การนั่งสายการบินไทย กัปตันขับเครื่องบินไทย ก็ไม่เห็นว่าจะอันตรายมากกว่าหรือมากจนรับไม่ได้ครับ..
บันทึกการเข้า

ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #46 เมื่อ: 01-05-2007, 01:39 »


อันที่จริง อุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ ถ้าประมาท

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่น่าเลือก แต่น่าเสียดายที่เรามีหลายเหตุการณ์ที่ไม่น่าจดจำ

ที่ทำให้เราหวาดระแวงนิวเคลียร์

การจัดการ และประสิทธิภาพในการดูแล เก็บรักษา เป็นปัจจัยสำคัญมาก

ถ้าประเทศไทย ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของโรงไฟฟ้าถ่านหินได้

ก็คงไม่สามารถโน้มน้าวให้เชื่อมั่นในพลังงานนิวเคลียร์ได้


บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 01-05-2007, 01:47 »

อันที่จริง อุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ ถ้าประมาท

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นทางเลือกที่น่าเลือก แต่น่าเสียดายที่เรามีหลายเหตุการณ์ที่ไม่น่าจดจำ

ที่ทำให้เราหวาดระแวงนิวเคลียร์

การจัดการ และประสิทธิภาพในการดูแล เก็บรักษา เป็นปัจจัยสำคัญมาก

ถ้าประเทศไทย ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของโรงไฟฟ้าถ่านหินได้

ก็คงไม่สามารถโน้มน้าวให้เชื่อมั่นในพลังงานนิวเคลียร์ได้




โรงไฟฟ้าถ่านหินของเราสมควรจะต้องปิดไปครับ หากว่าเป็นตัวอย่างที่เลวในด้านมลพิษ อาจจะเป็นปัญหาเทคโนโลยี เช่นเดียวกับรถดีเซลควันดำที่เห็นได้ชัดด้วยตาครับ.. 
บันทึกการเข้า

ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #48 เมื่อ: 01-05-2007, 01:54 »

ดอกฟ้าฯกำลังพูดถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานแบบผูกขาดที่รัฐบาลดูแลอยู่ค่ะคุณคิว

เช่น ไฟฟ้า ประปา ขนส่งมวลชนระดับล่าง ส่วนเรื่องสายการบินไทย ขืนตกกันวันเว้นวัน

หรือปีละครั้ง รัฐบาลจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหนล่ะคะ การเลือกปฎิบัติแบบผักชีโรยหน้า

ยังคงอยู่ในวัฒนธรรมของนักการเมืองไทยที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลที่กำกับดูแลเสมอค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-05-2007, 02:01 โดย ดอกฟ้ากับหมาวัด » บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 01-05-2007, 02:02 »

ดอกฟ้าฯกำลังพูดถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานแบบผูกขาดที่รัฐบาลดูแลอยู่ค่ะคุณคิว

เช่น ไฟฟ้า ประปา ขนส่งมวลชนระดับล่าง ส่วนเรื่องสายการบินไทย ขืนตกกันวันเว้นวัน

หรือปีละครั้ง รัฐบาลจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหนล่ะคะ การเลือกปฎิบัติแบบผักชีโรยหน้า

ยังคงอยู่ในวัฒธรรมของนักการเมืองไทยที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลที่กำกับดูแลเสมอค่ะ



ครับ นักการเมืองไทยทำให้ขาดความน่าเชื่อถือจริงๆ เล่นใช้วุฒิบัตรปลอม คนรุ่นใหม่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างและสมควรประณามครับ..แต่ทว่าเราคงรอให้พวกนี้แก่ตายไม่ได้หรอกครับ ต้องหาทางที่ดีกว่า.

ในขณะที่การนิ่งก็เหมือนการตัดสินใจอย่างหนึ่งในการอรับปัญหาเดิมที่จะวิ่งวนมาชนเราได้อีกเรื่อยๆเช่นกัน.. สิ่งใหม่ที่ดีกว่าควรจะมาทดแทนสิ่งเก่าๆที่ไม่ดีครับ..
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: