ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 23:36
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เหตุแห่งการยุบสภาของทักษิณ แย่ยิ่งกว่าเหตุผลของการรัฐประหาร 19 กันยาเสียอีก 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เหตุแห่งการยุบสภาของทักษิณ แย่ยิ่งกว่าเหตุผลของการรัฐประหาร 19 กันยาเสียอีก  (อ่าน 3629 ครั้ง)
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« เมื่อ: 21-04-2007, 00:13 »

ผลสะท้อนในการยุบสภา บทเรียนที่ไม่ควรลืม?

ขอบคุณคุณ อุทิศ สุภาพ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว


บทเรียนของการยุบสภาเป็นวิวัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่อาจเปรียบเทียบได้กับบทเรียนในการปฏิวัติรัฐประหารของประวัติศาสตร์ชาติไทย

ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 แต่ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยได้ล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด เนื่องจากมีการปฏิวัติรัฐประหารเป็นระยะๆ ต่อเนื่องกันมาจนทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเกิดความชะงักงันไม่พัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างสมบูรณ์แบบเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษหรือประเทศอเมริกา ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเกือบอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นแม่แบบมาตรฐานก็ได้ เป็นต้น

จนในที่สุด เมื่อปี พ.ศ.2535 ก็เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และเกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนชาวไทยทุกคนคงจะพอจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นได้ เรียกว่า \"พฤษภาทมิฬ\"

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น สืบเนื่องมาจากกลุ่มประชาชนซึ่งได้รวมตัวกันเรียกร้องและชุมนุมในการต่อต้านผู้มีอำนาจของรัฐที่ใช้อำนาจในการทำการรัฐประหารซึ่งเรียกว่า คณะ ร.ส.ช. โดยผู้มีอำนาจส่วนใหญ่จะเป็นทหารที่พยายามจะสืบทอดการใช้อำนาจของรัฐไปยังทายาททางการเมือง ทำให้ประชาชนลุกฮือกันขับไล่และมีการนองเลือด

จนในที่สุดต้องอาศัยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคลี่คลายสถานการณ์ให้สงบลงได้ โดยผู้มีอำนาจในขณะนั้นต้องยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติคืนอำนาจให้ประชาชน ด้วยการจัดให้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันขึ้น

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ผู้เขียนเคยคิดและเคยสนทนากับเพื่อนๆ และเคยแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยจะหยุดยั้งการปฏิวัติรัฐประหารได้ก็ต่อเมื่อ ประชาชนส่วนใหญ่จะต้องไม่ยอมรับในการกระทำของผู้มีอำนาจที่ยึดอำนาจการปกครอง โดยแสดงการคัดค้านหรือประท้วง เพื่อก่อให้เกิดกระแสต่อต้าน และมีผลทำให้การคิดที่จะยึดอำนาจค่อยๆ หมดไป

ซึ่งข้อคิดอันนี้ก็ตรงกับพฤษภาทมิฬที่เกิดขึ้น และเป็นผลสะท้อนให้ผู้มีอำนาจรัฐเกิดข้อคิดและพัฒนาความคิดไม่หวนไปใช้อำนาจแบบสมัยเก่าๆ ที่ผ่านมา อันถือว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่ของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยที่ว่างเว้นการปฏิวัติรัฐประหารมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจจะนับได้ว่านานที่สุดก็ได้

ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าบทเรียนของการปฏิวัติรัฐประหารและมีการต่อต้านจากประชาชนครั้งใหญ่นี้ ทำให้ผู้คิดที่จะก่อการยืดอำนาจมีความรอบคอบระมัดระวังขึ้น ไม่หลงระเริงกับอำนาจ และหวั่นเกรงต่อความอยู่รอด รวมทั้งเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนมากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้มีอำนาจโดยเฉพาะทหารยังมีวิสัยทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคำนึงถึงการรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไว้เหนือสิ่งใด

ทั้งนี้ เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ถ้ายึดหลักการและเหตุผลในกติกาของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเป็นที่ตั้งแล้ว เชื่อได้ว่าเป็นระบอบที่นำพาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองได้เร็วและยั่งยืนนานตลอดไป

ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่ดีกว่าระบอบการปกครองในรูปแบบอื่นๆ โดยทั่วไปก็ได้

การยุบสภานั้น เป็นกลไกในระบอบประชาธิปไตยอย่างหนึ่งที่มีไว้สำหรับการควบคุม ถ่วงดุล (CHECK AND BALANCE) การใช้อำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร


ซึ่งการยุบสภานั้นเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร โดยกำหนดไว้เพื่อโต้ตอบการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งหลักการสำคัญของการยุบสภาตามแนวคิดและทฤษฎีอันถือเป็นหลักสากลนั้น ได้ยอมรับกันว่าสาเหตุหรือปัจจัยที่ควรจะนำมาอ้างในการยุบสภาได้นั้นมีแนวทางอยู่หลายประการด้วยกันคือ

1) มีการขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น ฝ่ายบริหารเสนอร่างกฎหมายสำคัญๆ สู่สภา แต่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เห็นด้วย และไม่ผ่านร่างกฎหมายที่สำคัญๆ นั้น เช่น ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ หรือร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น

2) มีการขัดแย้งระหว่างสภาสูงกับสภาล่างในการจัดทำกฎหมายสำคัญ

3) มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งยังไม่ทราบว่าประชาชนเห็นด้วยกับฝ่ายที่ขอให้แก้ไขหรือไม่

4) ต้องการเร่งกำหนดเลือกตั้งใหม่ให้เร็วขึ้น ในขณะที่ฝ่ายบริหารกำลังได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน

5) สมาชิกสภากำลังจะลงมติหรือเข้าชื่อกันลงมติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล จึงสมควรให้ประชาชนตัดสินปัญหานี้แทนที่จะให้สภาเป็นผู้ตัดสิน

6) เกิดปัญหาไม่อาจตั้งรัฐบาลใหม่ได้ หรือต้องตั้งในรูปรัฐบาลผสมจากหลายพรรคมากเกินไป จึงยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่อีกหน

7) รัฐบาลขาดเสถียรภาพ เช่น พรรคร่วมรัฐบาลหรือผสมมีเสียงแตกกัน เป็นต้น


จากหลักการที่เกี่ยวข้องกับการยุบสภานั้น จะเห็นได้ว่าจะต้องกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือกระทำเพื่อให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเท่านั้น

ฝ่ายบริหารจะนำเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ มาเป็นเหตุในการยุบสภานั้นน่าจะไม่ถูกต้องชอบธรรม แต่ตรงกันข้ามน่าจะเป็นเรื่องที่กระทำตามอำเภอใจเสียมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดเหตุแห่งการยุบสภาไว้ก็ตาม แต่ผู้นำประเทศหรือรัฐบาลควรจะต้องใช้วิจารณญาณโดยอาศัยเหตุผลที่ชอบธรรมและถูกต้องมาเป็นเหตุผลในการยุบสภา

ไม่ใช่จะอาศัยเหตุผลส่วนตัวของนักการเมืองคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะมาอ้างเท่านั้น

ดังจะเห็นได้จากเหตุผลในพระราชกฤษฎีกาที่เสนอขอยุบสภาโดยอ้างว่าเกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงขึ้นนั้น ทั้งๆ ที่ปัญหาต้นเหตุของความขัดแย้งอยู่ที่ตัวบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่ปัญหาโดยส่วนรวมเลยแต่อย่างใด

ถึงแม้ว่าในหลายๆ ประเทศจะมีการปฏิบัติในการยุบสภาเช่นนี้กันมาแล้วก็ตาม แต่ประเทศไทยก็ไม่ควรจะยึดถือตามสิ่งที่ไม่ชอบธรรมมาเป็นตัวอย่าง

เนื่องจากเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีอันจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยถอยหลังไม่เดินหน้าไปตามทิศทางที่กำหนดไว้

เพราะการกระทำสิ่งใด ถ้าขาดเหตุผลหรือหลักการที่ชอบธรรมแล้ว ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความไม่สงบเรียบร้อยวุ่นวายขึ้นในประเทศ

ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการชุมนุมเรียกร้องในสิ่งที่เห็นว่าผู้นำหรือผู้ใช้อำนาจรัฐกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบธรรม ซึ่งทำให้บ้านเมืองได้รับความเสียหายทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

ซึ่งในทั้งสามด้านนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากด้านใดด้านหนึ่งเกิดความปั่นป่วนขึ้นก็จะส่งผลถึงกันและกัน

สำหรับในขณะนี้ การเมืองของประเทศไทยซึ่งนับได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองเข้าสู่วิกฤตการณ์ในหลายๆ ด้าน ทั้งที่ระยะเวลาก็ผ่านมาหลายเดือนแล้ว บ้านเมืองก็ยังไม่ค่อยเข้ารูปเข้ารอยสู่ความสงบเรียบร้อยเลย

ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเหตุการณ์ในการยุบสภาครั้งนี้ ก็คงจะเป็นบทเรียนของผู้นำฝ่ายรัฐบาลอันเปรียบได้ คล้ายกับการที่ผู้มีอำนาจจะคิดปฏิวัติรัฐประหารมีความยับยั้งชั่งใจได้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว

ซึ่งการจะใช้อำนาจในการยุบสภานั้นก็มีลักษณะคล้ายกัน จะต้องใช้วิจารณญาณด้วยความระมัดระวัง ชอบด้วยเหตุและผล มิใช่ใช้อำนาจตามความอำเภอใจ ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมืองและประเทศชาติโดยส่วนรวมอย่างใหญ่หลวงได้

ผู้เขียนเห็นว่ามีผลสะท้อนที่เกิดขึ้นในหลายๆ อย่าง เช่น การเลือกตั้งเป็นโมฆะต้องเลือกตั้งใหม่ หรือการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่ชอบธรรม ไม่มีความเป็นกลาง ต้องถูกพิพากษาให้จำคุก เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มองเห็นชัดได้ว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทยเลย แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่มีนักการเมืองยุคใหม่หรือยุคไอทีหรือไฮเทค (Hi-Tech) ที่ทำให้เกิดขึ้นเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ทั้งที่วิสัยพื้นฐานของคนไทยโดยทั่วไปแล้ว ไม่เคยมีพฤติกรรมเชิงนโยบายที่ซับซ้อนมากเช่นนี้มาก่อน

นอกจากนี้ ผลสะท้อนซึ่งแสดงให้เห็นที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ การยุบสภาเพื่อหลบการตรวจสอบขององค์กรต่างๆ เช่น หลบการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติในสภา หรือหลบการตรวจสอบของประชาชน 50,000 คน ซึ่งให้วุฒิสมาชิกเป็นผู้พิจารณา โดยมีการชิงยุบสภาเสียก่อน ทำให้วุฒิสมาชิกหมดอำนาจไปโดยปริยายด้วยการอาศัยเทคนิคในการใช้อำนาจทางกฎหมาย เป็นต้น

แต่แล้วการหลบการตรวจสอบก็หนีไม่พ้นในทางตรงกันข้าม กลับต้องมาเจอกับการตรวจสอบของมวลมหาชนหรือพลังนอกระบบรัฐสภา เสมือนหนีเสือปะจระเข้อีก

จึงสะท้อนให้เห็นได้ชัดว่า การกระทำหน้าที่ไม่ชอบธรรม ย่อมไม่สามารถรักษาตัวรอดได้ หรือธรรมย่อมชนะอธรรมนั่นเอง

ดังนั้น บทเรียนของการยุบสภาในครั้งนี้ จึงสะท้อนพฤติกรรมของนักการเมืองและวัฒนธรรมขององค์กรการเมืองในหลายๆ รูปแบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน

อันถือได้ว่าเป็นบทเรียนที่เป็นอมตะที่ทุกคนไม่ควรที่จะลืมอันเป็นประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย

จึงใคร่ขอเสนอแนะผู้นำในรัฐบาลที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ขอให้ใช้บทเรียนทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นอันนี้เป็นข้อพิจารณาที่จะป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการเมืองในประเทศไทยต่อไป

อันจะส่งผลให้วิวัฒนาการในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทยมีความก้าวหน้าได้เทียบทันประเทศอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นแม่แบบและประสบความสำเร็จให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้


 
บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #1 เมื่อ: 21-04-2007, 00:15 »

สะท้อนให้เห็นภาวะของอดีตผู้นำหน้าเหลี่ยมคนนี้ว่า ไร้ซึ่งความเป็นผู้นำ แม้แต่เรื่องความเป็นผู้นำครอบครัวยังทำได้แย่เหลือเกิน โดยการปล่อยให้ลูกต้องมารับผลกรรมกับการเห็นแก่ตัวของตนเอง

การใช้เหตุผลมั่วๆในการยุบสภานี้ในครั้งนั้น ช่างไร้สติปัญญา หนีปัญหา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่สุด

ไม่เคยคำนึงถึงชาติ เลยแม้แต่น้อย เป็นนายกที่ ไร้ยางอายที่สุดในประวัติศาสตร์

ซึ่งเหตุผลนั้นต่างจากการที่ คปค.เข้ามาปฏิวัติมาก เพราะคปค.เข้ามาด้วยเหตุผล ไม่อยากให้เกิดการนองเลือดของ ปชช.และเห็นถึงความชั่วร้ายของระบอบทักษิณที่ทุจริตโกงชาติบ้านเมือง


แต่ผิดกับทักษิณที่ยุบสภาโดยอ้างเหตุผลที่ประชาชนเรียกร้องให้ตอบคำถามการทุจริตของตัวเองแต่ตัวเองตอบไม่ได้ เลยอ้างว่าประชาชนกดดันให้ยุบ

ใครสมเหตุสมผลกว่ากัน

และที่ว่าทหารมาปฏิวัติก่อนนั้น แท้จริงแล้ว ทักษิณนั่นแหละเป็นคนประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ปฏิวัติตัวเองก่อน แต่ไม่สำเร็จ ทางช่อง 9 อสมท.


พวกที่เรียกร้องอยู่ว่าคมช.ปฏิวัติทำไม ควรไปสำรวจว่าใครเป็นคนปฏิวัติขึ้นก่อนเป็นคนแรก และทำบ้านเมืองวุ่นวายจนถึงทุกวันนี้

และต้องอยู่ในฐานะกบฏต่อแผ่นดินด้วยซ้ำที่ปฏิวัติไม่สำเร็จ


บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
kman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 102


« ตอบ #2 เมื่อ: 21-04-2007, 01:43 »

ถ้าเหตุผลแย่ขนาดนั้น แล้วยังให้ยุบ คุณต้องการตำหนิคนที่ยอมให้ยุบ แบบที่สนธิ ทำใช่หรือไม่?
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #3 เมื่อ: 21-04-2007, 06:37 »

ถ้าเหตุผลแย่ขนาดนั้น แล้วยังให้ยุบ คุณต้องการตำหนิคนที่ยอมให้ยุบ แบบที่สนธิ ทำใช่หรือไม่?

โง่จริงหรือแกล้งโง่ครับ ตอนนั้นมีใครอยากให้ยุบบ้าง
มีแต่จะรอสับรมต.กระทบเหลี่ยมในอภิปรายทั้งนั้น
แต่ไม่รู้ผู้ชายหน้าเพศแม่คนไหนชิงยุบหนีอภิปรายไปซะก่อน

แล้วจะยุบได้หรือไมได้เนี่ย คุณไม่รู้จริงๆหรือครับว่าอยู่ที่ใคร
ผมว่าคุณทานขนหน้าแข้งมากไปหน่อยจนประสาทเสื่อมแล้วมั๊งครับ
หันไปทานผักทานหญ้าบ้างก็ได้
บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 21-04-2007, 07:49 »

ถ้าเหตุผลแย่ขนาดนั้น แล้วยังให้ยุบ คุณต้องการตำหนิคนที่ยอมให้ยุบ แบบที่สนธิ ทำใช่หรือไม่?

โง่จริงหรือแกล้งโง่ครับ ตอนนั้นมีใครอยากให้ยุบบ้าง
มีแต่จะรอสับรมต.กระทบเหลี่ยมในอภิปรายทั้งนั้น
แต่ไม่รู้ผู้ชายหน้าเพศแม่คนไหนชิงยุบหนีอภิปรายไปซะก่อน

แล้วจะยุบได้หรือไมได้เนี่ย คุณไม่รู้จริงๆหรือครับว่าอยู่ที่ใคร
ผมว่าคุณทานขนหน้าแข้งมากไปหน่อยจนประสาทเสื่อมแล้วมั๊งครับ
หันไปทานผักทานหญ้าบ้างก็ได้


มีคนถ่มน้ำลายขึ้นไปบนฟ้าว่า "ชาติหน้าตอนบ่าย ๆ ถึงจะยุบสภา" แล้วน้ำลายมันก็ร่วงลงมาใส่หน้าเหลี่ยม ๆ ของตัวเอง
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #5 เมื่อ: 21-04-2007, 09:50 »

  

ขำกลิ้งควายกับแม้ว 

คิดว่า ตั้งแต่มีเมืองไทยมา ยังไม่เคยมีรัฐบาลไหนที่ประกาศยุบสภาหนีการอภิปราย
หรือว่า มีรัฐบาลไหนที่ทุจริตแล้วยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่

สมัยรัฐบาล ชวน ๑. มีเรื่องทุจริตที่ดิน สปก. รัฐบาลก็ปล่อยให้อภิปรายได้เต็มที่
แล้วเทพเทือกก็ลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี
แต่เหตุที่ รัฐบาล ชวน ๑. จำเป็นต้องประกาศยุบสภา เนื่องมาจากพรรคพลังธรรม
ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้เสียงสนับสนุนจาก ส.ส. ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง

ส่วนทักษิณที่ชอบพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่องว่า "ต้องบังคับใช้กฏหมาย 

แต่กลับยุบสภาโดยให้เหตุผลว่า "ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน(เรื่องคอร์รัปชั่น)" 

ตกลงว่า อีกหน่อย นักการเมืองคนไหนโกง ก็ไม่ต้องส่งฟ่้องศาล แต่ให้ประชาชนตัดสิน

อย่างนั้นหรือ    .. ขำกลิ้ง ควาย กับ แม้ว    


และคงจะเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ที่รัฐบาลพรรคเดียว มีเสียงข้างมากสามในสี่ของสภา ขี้ขลาดตาขาวหนีการอภิปราย
   
...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-04-2007, 09:58 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #6 เมื่อ: 21-04-2007, 10:52 »

ถ้าเหตุผลแย่ขนาดนั้น แล้วยังให้ยุบ คุณต้องการตำหนิคนที่ยอมให้ยุบ แบบที่สนธิ ทำใช่หรือไม่?

โถ ตะแบงไม่ออกแล้วสิ


ความจริงบังไงก็ คือว่า ไอ้ปิ๊บพ่อลิ่วล้อเป้นตัวประกาศยุบสภาหนีการตรวจสอบแหละ
บันทึกการเข้า
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #7 เมื่อ: 22-04-2007, 00:33 »

อ้างถึง
ถ้าเหตุผลแย่ขนาดนั้น แล้วยังให้ยุบ คุณต้องการตำหนิคนที่ยอมให้ยุบ แบบที่สนธิ ทำใช่หรือไม่?

ใครยอมให้ยุบครับ สนธิขอให้ลาออกรับผิดชอบความผิดของตัวเองผู้เดียวครับ เพราะว่าเป็นเรื่องการทุจริตของตนเองและครอบครัว คนๆเดียว

สภาไม่เกี่ยว สภาผิดอะไร ไปยุบทำไม พอยุบสภาก็ยังด้านรักษาการณ์ตลอดชีพอีก นี่หรือคนที่บอกผมพอแล้ว
บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
หน้า: [1]
    กระโดดไป: