มาตรา 299 ซ่อนอะไรไว้ จดหมายเปิดผนึกโต้กรรมาธิการยกร่างโดย ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนส่วนใหญ่ไม่สนใจมาตรา 299 ในร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็มองเพียงแค่ว่าเป็นการ
นิรโทษกรรมผู้ก่อการรัฐประหาร แต่จริงๆ แล้ว มาตรานี้มีอะไรที่ร้ายแรงกว่านั้น ซึ่ง
บทความนี้จะได้วิเคราะห์กันอีกครั้ง
เพื่อให้ท่านกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้โปรดทบทวนจุดยืนของท่าน
1.
เนื้อความมาตรา 299มาตรา 299 "บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
ชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง การ
กระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือ
ว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"
เนื้อความเขียนไว้อย่างนี้ อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย นักกฎหมายบางคนยังไม่เข้าใจอีกด้วย
หรือท่านกรรมาธิการ
ประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น?
2.
ย้อนดู รธน. ชั่วคราว 2549ถ้าต้องการจะเข้าใจมาตรา 299 ต้องย้อนกลับไปดูมาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ
ชั่วคราว พ.ศ. 2549 ความว่า "บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะ
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้
ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้
รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติ-
บัญญัติในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและให้ถือว่าประกาศ
หรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือ
คำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือ
การปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ"
3.
คำอธิบายประกอบ3.1
หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญคำว่า "ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" นั้นมีความหมายพิเศษเฉพาะ เพราะเกี่ยวกับหลักกฎหมาย
ที่เรียกว่า "หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" (Constitutionality) ซึ่งในประเทศที่มี
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ถือว่าเป็นหลักการสำคัญที่ศาลใช้ในการควบคุมมิให้
กฎหมาย หรือการกระทำต่างๆ ของรัฐขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดกติกาของประเทศ และเป็นหลัก
ประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องมีกลไกในการควบคุมมิให้กฎหมายหรือการ
กระทำของรัฐขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้องค์กรรัฐใช้อำนาจไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนและก้าวล่วงอำนาจขององค์กรอื่นๆ จนทำลายดุลยภาพของอำนาจ นำไปสู่
การล้มล้างระบบกฎหมายและระบอบการปกครองที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นในท้ายที่สุด
เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในตัวรัฐธรรมนูญเองว่า "สิ่งใดชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" แล้ว จึง
เท่ากับเป็นการปิดทางมิให้ศาลพิพากษาว่าสิ่งนั้นขัดรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจริงๆ แล้ว เนื้อหา
สาระของสิ่งนั้นอาจจะข้ดกับหลักการที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างร้ายแรงก็ได้
ดังนั้น การบัญญัติว่ สิ่งใดชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงทำลายคุณค่าความเป็นกฎหมายสูง
สุดของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3.2
หลักนิติธรรมหรือนิติรัฐหลัก "นิติธรรม" (Rule of Law) หรือ "นิติรัฐ" (Legal State) อาจมีเนื้อหาสาระ
แตกต่างกันบ้างตามแต่ประเทศเจ้าของหลักการ แต่มีจุดร่วมกันประการหนึ่งคือ การใช้
อำนาจรัฐที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ และจะต้อง
กระทำโดยถูกต้องตามกฎหมายทั้งในแง่เนื้อหาสาระ กระบวนการ และวัตถุประสงค์
และที่สำคัญ หลักการดังกล่าวจะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อมีองค์กรศาลที่เป็นอิสระเข้ามา
ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐว่าได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วย
รัฐธรรมนูญจริงหรือไม่
ในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเป็นเครื่องจำกัดอำนาจของ
รัฐสภา ถือว่ารัฐสภาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย (Parliamentary Sovereignty)
เพราะประกอบด้วยผู้แทนประชาชน กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือพระ-
ราชบัญญัติจึงถือเป็นสิ่งสูงสุดในระบบกฎหมาย และศาลไม่มีอำนาจพิพากษาว่า พระ-
ราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญได้
ด้วยเหตุที่ฝ่ายบริหารอังกฤษครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (House of
Commons) ทำให้รัฐสภามีแนวโน้วตรากฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารมากขึ้นๆ
และบางครั้งมากถึงขนาดที่ว่า ต้องการให้อำนาจนั้นเป็นอำนาจโดยแท้ของฝ่ายบริหาร
และไม่ต้องการให้ศาลเข้าตรวจสอบ บทบัญญัติทำนองนี้เรียกว่า "Ouster Clause"
เริ่มต้นจากกฎหมายฉบับหนึ่งบัญญัติว่า คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดและเด็ดขาด
(Final and Conclusive) แต่เมื่อประชาชนนำคดีไปสู่ศาล ศาลอังกฤษกลับวินิจฉัยว่า
คำสั่งดังกล่าวจะเป็นที่สุดและเด็ดขาดก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
รัฐสภาอังกฤษไม่พอใจและแก้ไขกฎหมายเสียใหม่ว่า คำสั่งของรัฐมนตรีให้ถือเสมือน
หนึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น (As if enacted) ซึ่งตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของ
รัฐสภาดังกล่าว ศาลน่าจะตรวจสอบไม่ได้ แต่ศาลก็ได้ตัดสินว่า คำสั่งดังกล่าวจะถือเป็น
กฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น ก็ต่อเมื่อ เป็นคำสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
จนในที่สุด รัฐสภางัดไม้ตายเขียนกฎหมายตรงๆ เลยว่าคำสั่งของรัฐมนตรีไม่อาจถูกโต้
แย้งในศาลใดๆ ได้ (Decisions made by the Minister shall not be questioned
in any court of law) แต่ผลลัพธ์ก็ยังเหมือนเดิม ศาลอังกฤษยังคงยึดมั่นในหลักนิติ-
ธรรม จึงพิพากษาว่าคำสั่งของรัฐมนตรีที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่อาจถูกโต้แย้งในศาล
ใดๆ ได้ แต่ในคดีนี้ ขอศาลตรวจดูให้ดีเสียก่อนว่า คำสั่งดังกล่าวนั้นชอบด้วยกฎหมาย
จริงหรือไม่
ส่งผลให้รัฐสภาอังกฤษเลิกความพยายามที่จะให้อำนาจเด็ดขาดที่ปราศจากการตรวจ
สอบให้แก่ฝ่ายบริหาร และศาลอังกฤษก็ได้อ้างหลักนิติธรรมเป็นรากฐานในการปฏิเสธ
บทบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าวมาโดยตลอด ทั้งนี้ ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชน
อนึ่ง บรรพตุลาการไทยในอดีตนั้นยอดเยี่ยมไม่น้อยหน้าตุลาการอังกฤษ คดีหลายคดี
ล้วนแล้วแต่สะท้อนหลักนิติธรรมไทยเพื่อคุ้มครองประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐโดย
มิชอบ
ตัวอย่างเช่นคำพิพกาษาฎีกาที่ 646-647/2510 (ประชุมใหญ่) เป็นบรรทัดฐานตราบ
จนปัจจุบันว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่พระราช
บัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503
กำหนด "ให้เป็นที่สุด" นั้น หมายความว่า คำวินิจฉัยนั้นจะเป็นที่สุดก็คือเมื่อเป็นคำ
วินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมิได้หมายความว่าแม้คำวินิจฉัยนั้นจะไม่ถูกต้องตาม
กฎหมายก็จะถึงที่สุด นำมาฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ไปด้วย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาได้
ว่า คำวินิจฉัยนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาฎีกาที่ 913/2536 (ประชุมใหญ่) ซึ่งก่อนอื่น ขออธิบาย
ว่า ในปี 2534 นั้นเรามีรัฐธรรมนูญสองฉบับ ฉบับแรกคือ ธรรมนูญการปกครองราช-
อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เรียกย่อๆ ว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ประกาศใช้หลังการ
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันไม่นานนัก และฉบับที่สองคือ รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เรียกโดยย่อว่ารัฐธรรมนูญถาวร"34 ประกาศใช้เมื่อวันที่
9 ธันวาคม 2534
ในคดีนี้ ศาลฎีกาพิพากษาว่าประกาศ รสช. เรื่อง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
(คตส.) ใช้บังคับมิได้ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญถาวร"34 มาตรา 222 ได้
บัญญัติไว้อย่างชัด
แจ้งว่า "ประกาศหรือคำสั่งของ รสช....ให้มีผลใช้บังคับต่อไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ"
แต่ศาลฎีกากลับเพิกเฉยและหลีกเลี่ยงไม่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาวินิจฉัยเลย โดยอธิบายว่า
ประกาศ รสช.ดังกล่าวสิ้นสภาพบังคับไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวร
จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยผลของมาตรา 222 นี้
ก่อนหน้านั้น ศาลตีความมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ที่รับรองว่า ประกาศ
รสช. นั้นชอบด้วยกฎหมาย ว่าหมายถึงมีผลใช้บังคับได้ดังเช่นกฎหมาย แต่ไม่ได้หมาย-
ความว่าจะสามารถขัดหรือแย้งต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งรับรองไว้ในมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 ซึ่งมี
ค่าบังคับเป็น "หลักกฎหมายทั่วไปในระดับรัฐธรรมนูญ" ได้ จึงไม่ใช่กฎหมายที่มีอยู่ใน
วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวร"34
มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า
รัฐธรรมนูญชั่วคราว"34 รับรองไว้เพียงแค่ว่าประกาศ รสช. ชอบ
ด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้รับรองถึงขนาดว่าประกาศ รสช.
ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังเช่นที่
บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถาวร"34 จึงเป็นช่องทางให้ศาลฎีกาใช้ในการควบคุมตรวจ
สอบโดย
ย้อนเวลากลับไปใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว"34
ทั้งๆ ที่ได้ตัดสินคดีนั้นในปี 2536อันเป็นช่วงที่ใช่รัฐธรรมนูญถาวร"34 แล้ว
3.3
"วัตถุ" ที่ศาลมุ่งควบคุมตรวจสอบ"วัตถุ" (Object) ที่ศาลควบคุมตรวจสอบอาจแบ่งได้เป็นสองลักษณะคือ
(1) ตัวบุคคล (Person) หรือเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการโดยใช้อำนาจรัฐ
(2) การกระทำ (Act) ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะแสดงออกในรูปต่างๆ
อาทิ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎกระทรวง คำสั่งทางปกครอง หรือการ
กระทำทางกายภาพ เช่น การเข้ารื้อถอนอาคาร
สมมุติว่า รัฐมนตรี ก. ออกใบอนุญาตโรงงานให้แก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งโดยรับสินบน
ทั้งๆ ที่ตามกฎหมายแล้วไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ต่อมาเมื่อผู้เกี่ยวข้องฟ้องร้อง
ต่อศาลปกครอง ศาลจะตรวจสอบว่าการกระทำของรัฐมนตรีที่แสดงออกในรูปใบอนุญาต
(คำสั่งทางปกครอง) ว่ากระทำโดยมีอำนาจหรือไม่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์กฎหมายหรือ
ไม่ ฯลฯ ถ้าไม่ ศาลปกครองก็จะพิพากษาว่า การออกใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายและ
สั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น กรณีนี้ เห็นได้ชัดว่าศาลปกครองควบคุม "การกระทำ" ของ
รัฐมนตรีที่แสดงออกในรูปใบอนุญาต
หรือหากมีการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม เมื่อศาลตัดสินว่ารัฐมนตรี ก.รับสินบนจริง มีความ
ผิด ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำคุก รัฐมนตรี ก.จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า "วัตถุ" ที่ศาล
ยุติธรรมมุ่งตรวจสอบคือ "ตัวบุคคล" โดยพิเคราะห์จาก "การกระทำ" และ "เจตนา"
ของคนคนนั้น
อนึ่ง "การกระทำ" ครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดความรับผิด (Liability) ได้หลายสถานเช่น
ความรับผิดทางอาญา ทางแพ่ง ทางรัฐธรรมนูญ (เช่น ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง)
หรือทางวินัยสำหรับข้าราชการซึ่งความรับผิดแต่ละอย่างจะมีวัตถุประสงค์แห่งการลง-
โทษแตกต่างกันออกไป
4.
เหตุผลของกรรมาธิการจากบทสัมภาษณ์ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และการพูดคุยกับกรรมาธิการบางท่านสรุป
เหตุผลของการมีมาตรา 299 ได้ว่า
4.1 ถ้าไม่มีมาตรานี้ ไม่แน่ใจว่าเมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว คตส. ที่ตั้งขึ้น ตาม
ประกาศ คปค. จะมีอำนาจดำเนินการต่อไปหรือไม่ จึงต้องเขียนรองรับเอาไว้
4.2 ป้องกันไม่ให้คนมาฟ้องว่า ส.ส.ร. ชุดนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตั้งโดย คมช.
หรือ คตส. นั้น ไม่มีหน่วยงานใดๆ หรือกฎหมายใดให้ความคุ้มครองเลย ทั้งที่เสีย
สละเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ จึงอยากให้มีการคุ้มครอง คตส.
5.
ผลของร่างมาตรา 299 ประกอบมาตรา 365.1 ประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ของ คปค.ย่อมถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
5.2 การกระทำตามประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ดังกล่าวย่อมถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
5.3 ผลที่ตามมาก็คือ หากตีความตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด ศาลย่อมไม่
สามารถพิพากษาได้ว่า ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำต่างๆ ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ
และไม่มีผลใช้บังคับได้
ในด้านหนึ่ง เป็นจริงอย่างที่กรรมาธิการท่านว่าไว้คือ มาตรานี้เป็นการคุ้มครอง "ตัว
บุคคล" เช่น กรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่ให้ถูกฟ้องร้องได้ ไม่ว่าทางแพ่งหรือทาง
อาญา หรือแม้จะถูกฟ้องร้อง แต่ศาลก็ต้องตัดสินว่าไม่ผิด และไม่มีความรับผิด
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง กลับเป็นการคุ้มครอง "การกระทำ" ของบุคคลดังกล่าว
เช่น การออกคำสั่ง การสอบสวน ฯลฯ โดยไม่คำนึงว่า "การกระทำ" เหล่านี้ได้กระทำ
โดยถูกต้องหรือไม่ โดยบทบัญญัติมาตรา 299 จะบังคับให้ศาลตัดสินว่า การกระทำ
เหล่านี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
6.
มาตรา 299 ร้ายแรงอย่างไร6.1 ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยรัฐ-
ธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ในมาตรา 6 เพราะประกาศ หรือคำสั่ง คปค.
และการกระทำต่างๆ ตามประกาศที่แม้จะขัดรัฐธรรมนูญ ก็ใช้บังคับได้
6.2 ทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยรัฐ-
ธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ในมาตรา 6 เพราะประกาศ หรือคำสั่ง คปค.
และการกระทำต่างๆ ตามประกาศที่แม้จะขัดรัฐธรรมนูญ ก็ใช้บังคับได้
6.2 ทำลายหลักนิติธรรมหรือนิติรัฐที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ในมาตรา 3 เพราะมีผลเป็น
การจำกัดอำนาจศาล ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง แล้วแต่
กรณี ในการจะวินิจฉัยว่าประกาศคำสั่ง หรือการกระทำตามประกาศหรือคำสั่งนั้น
ขัดรัฐธรรมนูญ
6.3 เช่นเดียวกัน เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศ คำสั่ง หรือ
การกระทำดังกล่าว มิให้ได้รับการเยียวยาทางกฎหมาย
6.4 ที่สำคัญ
เป็นวิธีการเขียนรัฐธรรมนูญที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม วันหน้าใครมีอำนาจ
ในบ้านเมือง นึกจะออกกฎหมาย จะเขียนรัฐธรรมนูญให้มีเนื้อหาสาระอย่างไรก็ได้
ทั้งๆ ที่อาจจะขัดต่อหลักกฎหมาย แล้วเราจะเรียนจะสอนนิติศาสตร์ไปทำไมกัน
6.5 อย่างไรก็ตาม หากท่านกรรมาธิการแย้งว่า คดีที่ยกมาในข้อ 3.2 ก็สะท้อนแล้วว่า
ข้อ 6.1-6.3 จะไม่เกิดขึ้น
แต่หากท่านลองคิดดีๆ การที่ศาลไทยและอังกฤษวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าว แสดงว่า
การบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ใช่หรือไม่ ศาลจึงไม่บังคับให้ได้ผล
ตามนั้น
7.
มีวิธีการเขียนอย่างอื่นหรือไม่เหตุผลที่ท่านกรรมาธิการอ้างทั้งสองข้อนั้น น่าสงสัยเหมือนกันว่าหวังผลจริงๆ เพียง
เท่านั้นหรือไม่ เนื่องจาก
7.1 หากต้องการรับรององค์กรที่ตั้งขึ้นโดยประกาศ คปค. ให้ทำงานต่อไปได้ ทำไม
ไม่เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญ เช่น "ให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้
เกิดความเสียหายต่อรัฐมีอำนาจและหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในประกาศ คปค.ฉบับ...
และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ"
7.2 หรือถ้าต้องการคุ้มครอง "ผู้เสียสละต่อชาติบ้านเมือง" จริง ทำไมไม่บัญญัติชัดๆ
เลยว่า "ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่ว-
คราว 2549 และประกาศ คปค. ฉบับ... พ้นจากความผิดและความรับผิดทั้งปวง
อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตในตำแหน่งดังกล่าว ไม่ว่าการปฏิบัติ
หน้าที่นั้นจะกระทำขึ้นก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้"
เนื้องความข้างต้น น่าจะตรงตามความประสงค์ที่ท่านกล่าวอ้างไว้มากกว่าซะอีก
8.
ความส่งท้าย8.1 ไม่ได้เพิ่งจะออกมาคัดค้านมาตรา 299 แต่วิจารณ์มาตั้งแต่เห็นมาตรา 36 ของ
รัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว ในบทความชื่อ "บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ไม่ควรมอง
ข้าม" หนังสือพิมพ์มติชน 19 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้ดักคอไว้ล่วงหน้าแล้วว่า
รัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่จะจัดทำขึ้นใหม่ต้องมีบทบัญญัติหน้าตาทำนองนี้แน่
8.2 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อยากให้เอาผิด ส.ส.ร. คตส. หรือแม้แต่ คมช. เลย แต่ใน
ฐานะนักวิชาการคงต้องแย้งสิ่งที่ผิดปกติ โดยเฉพาะประเด็นที่สังคมมองข้าม
8.3 ไม่ได้ค้านร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ "ติเพื่อก่อ" อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดี
ที่สุดเหมือนท่านนั่นแหละ
8.4 ยังไงก็ตาม เห็นว่าไม่ควรบัญญัติเนื้อหาตามข้อ 7.1 หรือ 7.2 ไว้ในรัฐธรรมนูญ
ลำพังเพียงแค่การออกเป็นพระราชบัญญัติก็มากเพียงพอแล้ว
สุดท้าย ขอเรียกร้องบรรดาอาจารย์ที่สอนกฎหมายและตุลาการทั้งหลายที่นั่งในคณะ
กรรมาธิการยกร่าง ถ้าท่านยังเชื่อว่านิติศาสตร์เป็น "ศาสตร์" ที่มีหลักการไม่ใช่แค่
"เทคนิค" ในการเขียนการใช้กฎเกณฑ์ เชื่อในความถูกต้องเป็นธรรม และเชื่อว่าศาล
ไทยยังสามารถอำนวยความยุติธรรมให้ได้
ได้โปรดตัดมาตรา 299 ออกจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เสียเถิด มติชน วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10670http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01280550&show=1§ionid=0130&day=2007/05/28