ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 09:18
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ท่านเห็นว่ารัฐธรรมนูญไทยควรระบุมาตราเพื่อแก้ไขได้หรือไม่? บ่อยเพียงไร? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โพลล์
คำถาม: ควเปิดช่องให้แก้ไขได้หรือไม่? แก้ไขโหวตได้ครับ อายุโพลล์7วันครับ..  (ปิดการโหวต: 29-04-2007, 21:17)
ไม่ควร - 0 (0%)
ทุก16ปี - 0 (0%)
ทุก12ปี - 0 (0%)
ทุก8ปี - 3 (75%)
ทุก4ปี - 0 (0%)
แก้ไขได้เมื่อประชาชนเข้าชื่อจำนวนหนึ่งที่มากเพียงพอ - 1 (25%)
จำนวนผู้โหวตทั้งหมด: 4

หน้า: [1]
ท่านเห็นว่ารัฐธรรมนูญไทยควรระบุมาตราเพื่อแก้ไขได้หรือไม่? บ่อยเพียงไร?  (อ่าน 1979 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 14-04-2007, 21:17 »



ท่านเห็นว่ารัฐธรรมนูญไทยควรระบุมาตราเพื่อแก้ไขได้หรือไม่? บ่อยเพียงไร?

แสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติมได้ครับ...เรียนเชิญทุกท่านครับ

ท่านใดติดตามรัฐธรรมนูญที่ยกร่างกันอยู่ นำข้อมูลมาแสดงได้ครับ
 
บันทึกการเข้า

ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #1 เมื่อ: 14-04-2007, 22:30 »

ผมคิดว่าประเด็นที่ละเอียดอ่อนควรมีการสามารถชำระได้ระครับ
 

ผมคิดว่าทุก8ปีกำลังดี เพราะเป็นช่วงอายุเปลี่ยนของคน

มากกว่านั้นจะเกินไป



บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21-04-2007, 18:40 »



สรุปว่า ณ ขณะนี้  รัฐธรรมนูญไทย ควรต้องแก้ไขได้ทุก8ปีครับ..

เพราะไม่มีใครผูกขาดอำนาจได้จริงอย่างที่หลายคนกล่าวอ้างมาได้ ผมจึงไม่ได้กังวลมากนักในประเด็นผูกขาดทั้งในและนอกระบบ

แต่กังวล ในประเด็น การพัฒนาสังคม และยุติธรรมมาภิวัฒน์มากกว่า

หากตั้งใจจะทำให้ได้จะให้เริ่มต้นพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายไทยใหม่ทั้งหมดก็ยอมครับ เรียนกฎหมายกันใหม่ทั้งประเทศเลย...
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 21-04-2007, 19:24 »


แถมบทความ ครับ

อัตลักษณ์ที่น่ารู้ ของรัฐธรรมนูญไทย  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006may03p2.htm
โดย เชาวนะ ไตรมาศ มติชนรายวัน วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10280

1) รัฐธรรมนูญไทยเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษร

2) รัฐธรรมนูญไทยมีหลายฉบับ อีกทั้งเปลี่ยนแปลงเร็วในแง่เวลา และเปลี่ยนแปลงมากในแง่เนื้อหาสาระด้วย

3) รัฐธรรมนูญไทยมีอายุใช้งานนานสุด 13 ปี 4 เดือน 29 วัน และเร็วสุด 4 เดือน 13 วัน

4) รัฐธรรมนูญไทยมีอายุใช้งานเฉลี่ยฉบับละ 4 ปี

5) รัฐธรรมนูญไทยมีทั้งฉบับชั่วคราว และฉบับถาวร โดยที่ฉบับชั่วคราวสามารถมีอายุใช้งานได้นานถึง 9 ปี 5 เดือน 22 วัน ขณะที่ฉบับถาวรบางฉบับมีอายุเพียง 1 ปี

6) รัฐธรรมนูญไทยมีถึง 3 ระบอบ คือ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เผด็จการ และกึ่งประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญเผด็จการมีอายุใช้งานรวมมากที่สุดถึง 39 ปี 4 เดือน 2 วัน

7) รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่เอื้อต่อการเข้าสู่อำนาจและการพ้นจากอำนาจของผู้ปกครอง โดยอาศัยกำลังบังคับ ซึ่งเป็นวิถีทางของการใช้ความรุนแรง

Cool รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่เน้นส่งเสริมอำนาจของผู้ปกครองมากกว่าการรับรองและประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน

9) รัฐธรรมนูญไทยทั้ง 16 ฉบับ มีที่มาจากการใช้กำลังบังคับ 8 ฉบับ และจากความตกลงยินยอม 8 ฉบับ

10) รัฐธรรมนูญไทยมีที่มาจากผู้ปกครองเกือบทั้งสิ้น

11) รัฐธรรมนูญไทยมีบทบัญญัติมากที่สุด 336 มาตรา และน้อยที่สุด 20 มาตรา

12) รัฐธรรมนูญไทยมีที่มาเริ่มแรกจากการสถาปนาระบอบการปกครองใหม่

13) รัฐธรรมนูญไทยทั้งเริ่มแรกและส่วนใหญ่มาจากการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของผู้ปกครอง

14) รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นหรือจุดเปลี่ยนของการสร้างวิวัฒนาการใหม่ในทางการเมืองการปกครอง

15) รัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมาจะลิดรอนสิทธิของประชาชนมากกว่าส่งเสริมและเป็นอุปกรณ์เกื้อกูลสิทธิของประชาชน

16) รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ยังขาดความเป็นกฎหมายสูงสุด

17) รัฐธรรมนูญไทยมีเนื้อหาสาระและเจตนารมณ์โน้มเอียงไปทางหลังรัฐธรรมนูญนิยม แต่ในทางปฏิบัติมักนำไปใช้ ไม่สอดคล้องสนองตอบต่อหลักการของรัฐธรรมนูญ

18) รัฐธรรมนูญไทยมักจะอิงกับหลักการสิทธิ ประชาชนเกิดขึ้นมาทีหลังรัฐธรรมนูญ

19) รัฐธรรมนูญไทยมีแนวโน้มอิงหลักปฏิบัติได้ หรือเน้นปฏิบัตินิยมมากกว่าหลักความสมบูรณ์แบบหรือเน้นอุดมคตินิยม

20) รัฐธรรมนูญไทยอยู่ใต้กระแสการเมืองมากกว่าการเป็นปัจจัยอุปกรณ์ในการกำหนดวิวัฒนาการทางการเมือง หรือเป็นกระจกสะท้อนการเมืองมากกว่าเป็นกลไกกำกับควบคุมการเมือง

21) รัฐธรรมนูญไทยให้ความสำคัญกับสิทธิในการแข่งขันเข้ากุมอำนาจของผู้ปกครอง มากกว่าสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจ

22) รัฐธรรมนูญไทยให้ความสำคัญการใช้อำนาจเพื่อการปกครองของผู้ปกครอง มากกว่าการประกันสิทธิอำนาจของประชาชนในฐานะผู้ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครอง

23) รัฐธรรมนูญไทยมุ่งตอบสนองเจตนารมณ์ของผู้ปกครองมากกว่ามุ่งบรรลุเจตจำนงของประชาชน

24) รัฐธรรมนูญไทยมีฐานะเป็นเครื่องมือของผู้ปกครอง มากกว่าฐานะของกฎหมาย และการเป็นองค์ประกอบร่วมของระบบการเมือง

25) รัฐธรรมนูญไทยส่วนน้อยที่รับรองให้มีพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ไม่รับรองให้มี

26) รัฐธรรมนูญไทยมีภาพลักษณ์เหมือนเป็นพินัยกรรมอำนาจของชนชั้นนำทางการเมือง

27) รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับปัจจุบัน) เน้นการปฏิรูปการเมืองในรูปแบบและทิศทางที่ก้าวหน้ากว่าในอดีตมาก

28) รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับปัจจุบัน) ก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนในการสร้างวิวัฒนาการใหม่ทางการเมืองการปกครอง โดยสร้างระบบการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชน (strong participation) ในระบอบประชาธิปไตยแบบส่วนร่วม (participatory democracy)

29) รัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยังคงเผชิญอยู่กับภาวะวิกฤตความชอบธรรมในชั้นของการสร้างความเป็นสถาบัน (institutionalization) ของโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองการปกครอง (fundamental structure) อยู่อีกต่อไป ได้แก่ วิกฤตความชอบธรรมในการสร้างความเป็นสถาบันของ

(1) การจัดระเบียบองค์กรอำนาจทางการเมืองการปกครอง

(2) การสร้างความเห็นพ้องในระบอบการเมืองการปกครอง

(3) การสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในสภาพบังคับของรัฐธรรมนูญ

(4) การสร้างผลึกของระบบกฎหมายและการปกครองโดยกฎหมาย

(5) การสร้างกฎเหล็กของระบบนิติรัฐ และ

(6) การสร้างอุดมการณ์ของลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม

ซึ่งปัจจัยปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะสร้างความเปราะบางแกว่งไกวของระบบการเมืองไทยไปพร้อมๆ กับความไร้เสถียรภาพของรัฐธรรมนูญเอง อันเป็นบททดสอบถึงสภาวะทวิลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญกับการเมือง ตามกรอบความสัมพันธ์ที่ว่าแท้ที่จริงแล้วรัฐธรรมนูญเป็นเพียงกระจกสะท้อนภาพของการเมือง ตามคำกล่าวที่ว่า "การเมืองเป็นเช่นไร-รัฐธรรมนูญก็พึงเป็นไปเช่นนั้น"

หรือแท้ที่จริงแล้ว รัฐธรรมนูญเป็นกลไกกำกับควบคุมการเมืองตามคำกล่าวที่ว่า "รัฐธรรมนูญเป็นเช่นไร-การเมืองก็พึงเป็นไปเช่นนั้น" หรือไม่

ซึ่งปริศนาสำคัญของกรอบความสัมพันธ์ดังกล่าวก็คือ มีข้อสงสัยว่าประสบการณ์จากการใช้รัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 16 ฉบับที่ผ่านมานั้น เรากำลังใช้รัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง หรือใช้การเมืองปฏิรูปรัฐธรรมนูญ

หากสังคมไทยยังไม่สามารถคลี่คลายปัญหาพื้นฐานเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้เสียก่อน ก็จะดูเหมือนว่าเรายังเดินย้ำรอยเดิมอยู่ในวังวนของการใช้รัฐธรรมนูญกันอย่างสิ้นเปลือง หลายฉบับโดยที่เรายังไม่ได้มีการเริ่มต้นในการสร้างกติกาพื้นฐานของการใช้รัฐธรรมนูญขึ้นมายึดถือรวมกันได้เสียก่อนเลย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเอาไข่มากินโดยที่ยังไม่รู้ว่าจะเลี้ยงไก่ให้ออกไข่ได้อย่างไร

หากเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปเรื่อยๆ วัฒนธรรมการแก้กฎก็จะเข้ามาแทนที่การแก้คน เข้าทำนอง "กฎเท่านั้นที่ผิด คนไม่มีวันผิด" ไม่ต่างจากการปกครองโดยคนแทนการปกครองโดยกฎ รัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็นแพะรับบาปอยู่ต่อไป จนไม่มีใครรู้สึกตระหนักในความเคารพศรัทธาและการหวงแหนปกป้องรัฐธรรมนูญเลย รัฐธรรมนูญก็จะขาดความหมายไร้คุณค่าไปในที่สุด

30) รัฐธรรมนูญไทยหากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ควรให้ความสำคัญกับวิธีการในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ให้ทัดเทียมกับการให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญด้วย เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุดทางการเมืองการปกครองที่จำต้องอาศัยความเห็นพ้องของคนส่วนใหญ่เป็นรากฐานสำคัญ

การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญไทยในอดีตมักละเลยถึงวิธีการในการจัดทำจึงเป็นการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้ผ่านการมีส่วนร่วม ในการแสดงเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานรองรับของการใช้เหตุผล ความต้องการ เป้าหมาย คุณธรรมและผลประโยชน์ของคนหมู่มากที่แท้จริง รัฐธรรมนูญจึงไม่มีเจ้าภาพหลักของคนหมู่มาก ที่จะเข้ามามีความเป็นเจ้าของร่วมกัน

31) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคตควรให้ความสำคัญกับการสร้างความสามารถในการทำหน้าที่พื้นฐาน คือ สามารถใช้เป็นกลไกในการบังคับใช้เพื่อกำกับควบคุมระบบการเมืองได้ และการสร้างความสามารถในการทำประโยชน์พื้นฐาน คือ สามารถใช้เป็นกลไกในการบังคับใช้เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาและผลักดันการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายได้

บทเรียนจากประสบการณ์ของการใช้รัฐธรรมนูญในอดีตล้วนสะท้อนให้เห็นปัญหาร่วมอยู่ใน 2 ด้านดังกล่าวเป็นสำคัญ กล่าวคือ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นประชาธิปไตย เผด็จการ หรือกึ่งเผด็จการ-กึ่งประชาธิปไตยก็ตาม ต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันคือ

(1) รัฐธรรมนูญทำหน้าที่พื้นฐานในการควบคุมระบบการเมืองไม่ได้

และ (2) รัฐธรรมนูญทำประโยชน์พื้นฐานในการผลักดันการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศไม่ได้ เข้าทำนองปัญหาหนีเสือปะจระเข้ คือ รัฐธรรมนูญแบบไหนก็ใช้ไม่ได้

หากหวังจะสร้างรัฐธรรมนูญที่ดีเลิศขึ้นมาใช้ก็จะเจอปัญหาว่าทำหน้าที่พื้นฐานไม่ได้ เพราะเอาไปใช้บังคับในการกำกับควบคุมการเมืองไม่ได้

ในทางกลับกัน หากหวังจะสร้างรัฐธรรมนูญที่ไม่หวังจะให้ดีเลิศเพียงแต่หวังว่าจะพอปฏิบัติได้ขึ้นมาใช้ ก็จะเจอปัญหาว่าทำประโยชน์พื้นฐานไม่ได้ เพราะแม้จะเอาไปใช้บังคับในการกำกับควบคุมการเมืองได้ แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรตามมา เนื่องจากผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศไม่ได้

32) รัฐธรรมนูญไทยในอนาคต ควรดำเนินจุดหมายให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้รัฐธรรมนูญสามารถสร้างกลไกอัตโนมัติขึ้นมาใช้ในการปรับแก้และรักษาตัวเอง ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนได้ในทุกสภาวการณ์ทางการเมือง ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ

(1) การสร้างกติการ่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนยอมรับอำนาจบังคับในความเป็นกฎหมายสูงสุด และความเป็นกฎหมายพื้นฐานทางการเมืองการปกครองของรัฐธรรมนูญเสียก่อน

(2) การสร้างความเชื่อถือร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนมีความเคารพศรัทธา หวงแหนและปกป้องรักษาความมั่นคงมีเสถียรภาพของรัฐธรรมนูญเสียก่อน

(3) การสร้างสำนึกร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนยึดถือแก่นสารสำคัญที่การทำหน้าที่และการส่งประโยชน์ของรัฐธรรมนูญว่า เป็นสาระสำคัญแทนการยึดถือแต่รายละเอียดของรัฐธรรมนูญเสียก่อน

(4) การสร้างวัฒนธรรมร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนเห็นแก่กฎมากกว่าเห็นแก่คน เห็นว่าการแก้ไขพฤติกรรมของคนจำเป็นกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(5) การสร้างความเป็นเจ้าของร่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนตระหนักในความจำเป็น ของการสร้างรากฐาน ความเห็นพ้องของคนหมู่มาก ตระหนักถึงความจำเป็น ในการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนวิธีของการจัดทำรัฐธรรมนูญเท่าๆ กับเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ

ซึ่งจะทำให้รัฐธรรมนูญสะท้อนถึงเจตนารมณ์ทั่วไปของคนส่วนใหญ่ได้มากขึ้น และจะส่งผลเกื้อกูลในรัฐธรรมนูญ มีความสอดคล้องกับพื้นฐานความต้องการ เหตุผล ผลประโยชน์ คุณธรรม และเป้าหมายของคนหมู่มากได้อย่างแท้จริงด้วย
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 21-04-2007, 19:40 »



ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่18 ฉบับร่างปัจจุบัน

http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/committee0-upload/0-20070418180610_constitution%20draft.pdf

เกี่ยวกับการแก้ไข อยู่ในหมวด15 มาตรา282 แต่ไม่ได้มีการระบุระยะเวลาหรือกำหนดเวลาในการแก้ไขครับ มีแต่ว่าห้ามเสนอแก้ไข

ผิดจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กล่าวคือ จะกระทำมิได้

                                   
บันทึกการเข้า

aoporadio
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 404


« ตอบ #5 เมื่อ: 22-04-2007, 01:06 »

ควรค่า

บ้านเราไม่มี Bill of Rights

ซึ่งควรจะมีอย่างยิ่ง 

หรือปิดช่องให้ลง ประชามติกัน หลังผ่านร่างกฎหมาย และ บังคับใช้ 2 ปี

ว่า จะเอาใว้ หรือ ปรับปรุง เพิ่มเติม

ผู้เกียวข้องจะได้มีงานทำมากๆหน่อย

ทำงานมากๆ จะได้ไม่มีเวลาคิดเรื่อง ฟุ้งซ่าน
บันทึกการเข้า
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #6 เมื่อ: 22-04-2007, 07:04 »

 Confusedเอ่อ..คงไม่ต้องกำหนดกรอบเวลามั้งครับ..เพราะโดยทั่วไปต้องใช้เสียง สส และ สว ในการเสนอแก้ไขอยู่แล้ว ถ้าเป็นประเด็นที่ควรต้องแก้จริง ๆ ผมว่าคงรวมเสียง สส และ สว ได้อยู่แล้ว...แต่ถ้าเป็นประเด็นที่จะทำให้ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ ถ้าให้รวมเสียงประชาชนเพื่อเสนอแก้ไข ก็น่าจะเปิดช่องให้ทำได้
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
หน้า: [1]
    กระโดดไป: