ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 23:51
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เห็นด้วยหรือไม่ ใช้ชื่อประเทศ “สยาม” แทน “ไทย” 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โพลล์
คำถาม: เห็นด้วยหรือไม่ ใช้ชื่อประเทศ “สยาม” แทน “ไทย”
เห็นด้วย - 13 (65%)
ไม่เห็นด้วย - 4 (20%)
no comment - 3 (15%)
จำนวนผู้โหวตทั้งหมด: 20

หน้า: [1]
เห็นด้วยหรือไม่ ใช้ชื่อประเทศ “สยาม” แทน “ไทย”  (อ่าน 4124 ครั้ง)
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« เมื่อ: 10-04-2007, 23:10 »

เรื่อง ขอให้ลงชื่อเรียกร้องให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยใช้นามประเทศว่า “สยาม” แทน “ไทย” (Siam not Thailand) 

--------------------------------------------------------------------------------

To:  กัลยาณมิตร

(1) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” และจาก Siam เป็น Thailand

(2) รัฐบาลสมัยนั้นให้เหตุผลทาง “เชื้อชาตินิยม” ว่า “รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความนิยมของประชาชน”

(3) เหตุผลที่รัฐบาลในสมัยนั้น ยกขึ้นมาอ้างว่าด้วยเชื้อชาตินั้น ไม่ถูกต้องตาม “ความเป็นจริง” และ “ข้อมูล” ทางประวัติศาสตร์

(4) ประชาชนที่ประกอบกันขึ้นเป็นพลเมืองของประเทศของเรานั้น มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม มีทั้งไทย ลาว มอญ เขมร กูย แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ แคะ จาม ชวา มลายู ซาไก มอแกน ทมิฬ เปอร์เซีย อาหรับ ฮ่อ พวน
ไทใหญ่ ไทดำ ผู้ไท ขึน เวียด ยอง ลั๊วะ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอร์ อะข่า ขะมุ มลาบรี ชอง ญากูร์ ฝรั่ง (ชาติต่างๆ) แขก (ชาติต่างๆ) ฯลฯ ฯลฯ

(5) รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ก็ใช้นามประเทศว่า “สยาม” และในการร่างรัฐธรรมนูญอีกหลายครั้ง ก็ได้มีการอภิปรายในประเด็นที่จะเปลี่ยนนามประเทศเป็น “สยาม” อีก เช่น ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และฉบับ 2511 เป็นต้น

(6) ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริง” ทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม และตรงตาม “ข้อมูล” ทางประวัติศาสตร์ จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะให้ใช้นามประเทศในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 นี้ว่า “สยาม” และ Siam สืบไปทั้งนี้เพื่อ “หลักการณ์ของความสมานฉันท์ การยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม และประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน” เช่นเรา

(7) หากท่านเห็นชอบด้วยขอให้ร่วมลงชื่อในจดหมายนี้ หรือส่งความเห็น หรือรวบรวมความเห็น รายชื่อ หมู่คณะของท่านเสนอโดยตรงต่อ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี
ประธานศาลฎีกา
สสร.
พรรคการเมืองและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
หรือจะเสนอผ่านมายังข้าพเจ้า เพื่อรวมรวมส่งอีกครั้งหนึ่งก็แล้วแต่จะเห็นควร

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Sincerely,

http://www.petitiononline.com/siam2007/petition.html
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
รักษ์สยาม
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16


คนไทยผู้รักชาติ


« ตอบ #1 เมื่อ: 10-04-2007, 23:24 »

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทย เพราะลัทธิคลั่งเชื้อชาติเอาอย่างญี่ปุ่นและเยอรมัน ยุคเดียวกับยุคบังคับคนสวมหมวก ห้ามกินหมาก ห้ามนุ่งโจงกระเบน เล่นดนตรีไทยก็ห้ามนั่งอย่างในหนังโหมโรง

แม้แต่พระปฐมบรมราชโองการของในหลวง ก็ระบุว่า เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม มิใช่เพียงคนเชื้อชาติไทย

ร. ๔ ก็ทรงบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ที่รัฐบาลจอมพล "แปลก" พิบูลสงคราม พยายามจะเปลี่ยนเป็นพระไทยเทวาธิราชเหมือนกัน

ผมเป็นคนไทยแท้ แต่สนับสนุนให้ใช้สยามเป็นนามประเทศและสัญชาติ

สัญชาติสยาม เชื้อชาติไทยครับ
บันทึกการเข้า

"ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด" - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เซอร์เวย์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 168



« ตอบ #2 เมื่อ: 10-04-2007, 23:29 »

ไม่เกี่ยงอะจะใช้อะไรก็ได้ขอให้ประเทศไทย ยังขึ้นต้นด้วย Kingdom ไม่ใช่ขึ้นต้นด้วย Republic เหมือนพวกที่จ้องจะทำกันอยู่ ผมคงจะยอมไม่ได้

 
บันทึกการเข้า

หัวใจถูกแทงกี่ขั้ว ตามตัวถูกฟันกี่แผล
ปู่ไทยตายไปกี่คนแน่ ไทยจึงได้แผ่มาถึงแหลมทอง
กระดูกไทยกระเด็นไปกี่ท่อน เชิงตะกอนเผาไปกี่หน
คอขาดกันไปกี่คน ไทยทุกคนจึงได้ไทยครอบครอง
เสียเลือดกันไปเท่าไหร่ เสียใจกันไปกี่ครั้ง
น้ำตาของไทยไหลหลั่ง ทุกๆครั้งที่ถูกเฉือนขวานทอง
เข่นฆ่ากันทำไม เราเป็นคนไทยด้วยกันทั้งผอง
ไทยฆ่าไทย ให้ชาติอื่นครอง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจั***
ไทยฆ่าไทยให้ชาติอื่นครอง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจั***
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจั***
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #3 เมื่อ: 11-04-2007, 00:09 »

สำหรับผมคิดว่า การเราเปลี่ยนชื่อประเทศตาม
ผู้นำระบอบฟาสซิส อย่างจอมพล แปลก
ถ้าจะเปลี่ยนกลับผมก็เห็นควร
แต่ถ้าจะให้ก้เห็นควรเช่นกัน

ตราบใดที่แผ่นดินนี้คือแผ่นดินของในหลวง
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
public limited
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 11-04-2007, 08:43 »

ภาวะตอนนี้ไม่ใช่จะมาสร้างปัจจัยยุ่งยากให้เพิ่มเติม ผมว่างั้นนะ ที่ว่ายุ่งยากคือ ลองนึกถึงการต้องประชาสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาแค่ชื่อบอกประเทศ และอะไรต่างๆ นานาที่จะตามมา ...ลำพังแค่เรื่องประชาสัมพันธ์ต่อโลกให้กลับมาลงทุน ให้เข้าใจถึงการเมืองภายใน ให้เข้าใจถึงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ อย่าให้ต่างชาติมาจาบจ้วง ฯลฯ แค่นี้มันก็งานหนัก และยังไม่สัมฤทธิ์ผลเลยแม้แต่น้อย   อะไรที่อยู่นิ่งๆ สงบๆ ก็อย่าเพิ่งปลุกให้ผสมความยุ่งยากซับซ้อนเลย

จะไทยหรือจะสยาม มันก็บอกอาณาเขตตรงนี้ เอาอะไรกับเพียงชื่อครับ ถ้าฝรั่งจะด่าว่า "ไทยไอ้ทาสสิงค์" เราก็เจ็บ ถ้าจะด่าว่า "สยามไอ้ทาสสิงค์" เราก็เจ็บ เพราะในหัวใจของเราคือ รักแผ่นดิน ครับ หาได้ไปรักหรือยึดติดที่คำอันเป็นเพียง นามธรรมแทนตัว อย่างไรเสียสองชื่อนี้ก็แทนชาติพันธุ์ของเรา ชนิดที่ต่อให้เปลี่ยนกลับไปมาอย่างไร ก็ไม่อาจลบหายไปได้ ในประวัติศาสตร์จารึกไว้สองชื่อไปแล้ว 

จะงงไหมถ้าจะพูดถึงไทย ต้องแยกช่วงปีกันอีกละ สยามระหว่างปี ... ไทยระหว่างปี ... กลับมาสยามระหว่างปี ... เปลี่ยนเป้นไทยอีกในปี ... รัฐบาลยุคอวกาศเสนอ สยาม อีกครั้งในปี ...   พอเถอะๆๆๆๆๆ !!!!

แต่ผมยังไงก็ได้นะ ไม่ค้านและไม่สนับสนุน เพราะตามที่เรียน
เราลบชื่อใดชื่อหนึ่งไม่ได้แล้ว ชื่อไหนก็สื่อ ไทย/สยาม เหมือนกัน
บันทึกการเข้า

เปิดความคิด พิชิตความไม่รู้ ต้องดู-ต้องอ่าน-ต้องฟัง และสิ่งสำคัญคือมีคุณธรรมต่อชาติบ้านเมือง
-3-
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,186


« ตอบ #5 เมื่อ: 11-04-2007, 08:51 »

จะชื่ออะไรก็เป็นคนภายใต้ธงไตรรงค์อยู่ดีแหละครับ มีพ่อหลวงคนเดียวกันด้วย (แต่ผมชอบสยามมากกว่านะ)

หมายเหตุ ถ้าเปลี่ยนชื่อแล้วกลับไปเป็น 'Land of Smile' ได้ก็ทำไปเถอะครับ ไม่ขัดข้อง
บันทึกการเข้า



ประชาธิปไตยตัดสินความต้องการได้ แต่ตัดสินความถูกต้องไม่ได้!!
เก็ดถวา
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2,753



« ตอบ #6 เมื่อ: 11-04-2007, 08:54 »


โดยส่วนตัว ชอบชื่อ "สยาม" นะคะ

แต่กับกรณีการเปลี่ยนชื่อจาก "ไทย" กลับมาเป็น "สยาม" นี้

ไม่แน่ใจนักว่าจะมีผลยุ่งยากตามมามากน้อยแค่ไหน คุ้มหรือไม่...

และค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณ public limited ค่ะ
 
บันทึกการเข้า

Avada Kedavra!!!!!!!
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #7 เมื่อ: 11-04-2007, 09:16 »

ผมโหวดไปแล้วครับ....เห็นด้วย
ลงชื่อไปแล้ว..(เรื่องนี้ไม่มีผิดถูก)
แต่คำว่า"สยาม"จะเป็นสิริมงคลมากกว่า
เพราะ.........บ่งบอกถึงเอกราช
ความมั่นคง, ความหลากหลาย
ทางชาติพันธุ์...
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #8 เมื่อ: 11-04-2007, 10:27 »

มูลเหตุของการเปลี่ยนชื่อประเทศนั้น นอกจากเรื่องคลั่งชาติ และต้องการให้ตรงกับเผ่าพันธ์ไท ก็ยังมีนัยะแอบแฝงอยู่อีกเรื่องหนึ่ง อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ว่าด้วยนามกำเนิดค่ะ

การจะเปลี่ยนชื่อประเทศนั้น ก็คงต้องขอประชามติจากประชาชน เพราะนับว่าเป็ฯเรื่องสำคัญของคนทั้งชาติ ชื่อ สยาม นั้น ก็นับว่าไพเราะดีค่ะ ลองสอบถามประชามติของประชาชนดู แล้วก็จัดการไปตามประชามตินั้นๆ

แต่เมื่อเปลี่ยนชื่อชาติ ก็ต้องเปลี่ยนเพลงชาติ จะย้อนกลับไปใช้ของเดิมก็ไพเราะดีนะคะ เลยนำเนื้อเพลงชาติเก่ามาให้หัดร้องกันค่ะ

แผ่นดินสยามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้ง- ประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
รวมรักษาสา - มัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรุ - จู่โจมตี
ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไทย
สยามสมัยโบราณลอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือ - ว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา
เราจะสามัคคี - ร่วมมีใจ
รักชาติประเทศ - เอกราชจงดี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดไทย ไชโย

 
บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #9 เมื่อ: 11-04-2007, 10:36 »

ผมไม่มีความเห็นครับ

แต่ผมเห็นว่า ไม่สมควรจะมาเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงนี้

เห็นด้วยกับ คุณ public limited

หรือ ถ้าจะทำก็สมควร จะมีประชามติ จากประชาชน

ส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้ามันแก้ปัญหาได้จริงก็สมควรเปลี่ยน แต่ไม่ใช่มาเปลี่ยนตอนนี้

ควรจะลำดับความสำคัญให้ถูกนะครับ ว่า ควรจะทำอะไรก่อน
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #10 เมื่อ: 11-04-2007, 10:44 »

จะเปลี่ยนยังไงก็เอาเถิด

ยังไงก็นึกถึงเอกสารต่าง ๆ ทั้งราชการและเอกชนที่ต้องเปลี่ยนตามด้วยนะครับ

บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #11 เมื่อ: 11-04-2007, 10:46 »

*  ยังไม่ได้โหวต .. แต่มีคำถามมาถามเพราะสงสัย

    ในเมื่อใช้คำว่า  “ไทย”  หรือ  Thailand  มาตั้งแต่ปี 2482

    แล้วตอนนี้ปี   2550    จะเปลี่ยนกลับไปเพื่ออะไร ?

    เปลี่ยนกลับไปแล้วส่งผลทางแง่บวก หรือ ลบ ในเรื่องใดบ้าง

    เช่น  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  วัฒนธรรม  ต่างประเทศ  ?

   
    และถ้ายังคงใช้คำว่า  Thailand  ต่อไปจะส่งผลกระทบทางด้านใดหรือไม่ ?   

     คำว่า .. ความเป้นไทยอยู่ที่คำเรียก

    หรือ ..  การรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนจนมี  อารยะ  ของตัวเองเช่นทุกวันนี้ ?

    คือ .. ที่ถามเนี่ยเพราะสงสัยจริง ๆ นะคะ ไม่ได้กวน

    เชิญผู้รู้มาช่วยอธิบายเพิ่มเติมในแง่มุมต่างๆ ด้วยค่ะ  .. แทงกิ้ว
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
ฮอยล้อ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 99


A Night Firefly


« ตอบ #12 เมื่อ: 11-04-2007, 11:11 »

บ้าหรือเปล่า...
...ไม่มีอะไรทำแล้วหรือไงจึงมาคิดเรื่องแบบนี้...
...ใช้หมอง   ให้เป็นประโยชน์  และ  สร้างสรรค์หน่อย
บันทึกการเข้า

"Power without justice is brutal
Justice without power is a mere suggestion"
kman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 102


« ตอบ #13 เมื่อ: 11-04-2007, 11:55 »

เปลี่ยนแล้วมีอะไรดีขึ้นไหม แล้วจะต้องมีต้นทุนอะไรบ้าง อันนี้เป็นเรื่องจำเป็นต้องคิด บางคนมันคิดแค่จะทำอะไร
แต่ไม่เคยคิดว่าทำแล้วมีผลกระทบอะไร

อีกอย่าง เปลี่ยนกลับเป็นสยาม ระวังจะกลายเป็น เสียม แล้วสุดท้ายกลายเป็นเมืองขึ้นของเขมรไป
บันทึกการเข้า
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #14 เมื่อ: 11-04-2007, 13:04 »

อืมม์ พม่าเปลี่ยนจาก Burma เป็น Myanmar แต่ไม่ทราบว่า เปลี่ยนแล้วดีขึ้นมั้ย ? 

สำหรับเรื่องนี้โนคอมเมนต์ค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-04-2007, 13:30 โดย aiwen^mei » บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #15 เมื่อ: 11-04-2007, 13:08 »

เปลี่ยนแล้วมีอะไรดีขึ้นไหม แล้วจะต้องมีต้นทุนอะไรบ้าง อันนี้เป็นเรื่องจำเป็นต้องคิด บางคนมันคิดแค่จะทำอะไร
แต่ไม่เคยคิดว่าทำแล้วมีผลกระทบอะไร

อีกอย่าง เปลี่ยนกลับเป็นสยาม ระวังจะกลายเป็น เสียม แล้วสุดท้ายกลายเป็นเมืองขึ้นของเขมรไป

ได้ยินว่า เมื่อก่อนคนสิงคโปร์ เรียกคนไทยที่เห่อไปช็อปปิ้งที่นั่นว่า เซียมตือ(ไล้เหลี่ยว) มีความหมายว่า  หมูสยาม (มาแล้ว)  Shocked

ปล. คนจีน(แต้จิ๋ว) ก็จะกลับไปเรียกเมืองสยามว่า เสี่ยมหล่อกก แทน ไท่กก ด้วย
บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #16 เมื่อ: 11-04-2007, 13:35 »

The Kingdom of Siam
ราชอาณาจักรสยาม

The Kingdom of Thailand
ราชอาณาจักรไทย

 

เป็น 2 คำตอบสุดท้าย อันไหนก็ได้
อย่างอื่น..ไม่ต้องพูดถึง



บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #17 เมื่อ: 11-04-2007, 18:37 »

ไม่ได้โหวต .......เพราะ ไม่คิดว่าสำคัญอะไร .........แต่ถ้าถามว่าชอบชื่อไหน.......ส่วนตัว แล้ว ผมชอบ "สยาม" ฟังดูแล้วรู้สึกขลังดี
บันทึกการเข้า
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #18 เมื่อ: 11-04-2007, 19:20 »

เอาเวลา มันสมอง สติปัญญา  ไปสร้างเนื้อ เขียนหลักสูตร ปวศ ให้เยาวชนรุ่นใหม่ รู้จัก เข้าใจ เกิดปัญญา วัฒนธรรม รากเหง้าของคนไทยดีกว่า  มันนั่งคิด เรื่องนี้  ชื่อ กับ เนื้อหา (content)  สำคัญที่เนื้อหา
กับมาเสียเวลากับเรื่องนี้ (ไม่น่าเชื่อเลย คนระดับนี้)
 

 วิกฤตขนาดนี้แล้วจริง ๆ หรือ  ระบบการศึกษา  ระบบการคิด   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-04-2007, 19:23 โดย drop » บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #19 เมื่อ: 11-04-2007, 19:36 »

เอาบทความของท่านปรีดี พนมยงค์ มาฝาก

ส่วนเรื่อง เปลี่ยน - ไม่เปลี่ยน ไม่มีความเห็นหรอกครับ

จะเปลี่ยนเป็นชื่อประเทศ จิ้งจก ตุ๊กแก อะไร ผมก็ต้องอยู่ในประเทศนี้เหมือนเดิม


*************

ความเป็นมาของชื่อ  “ประเทศสยาม” กับ  “ประเทศไทย”

ปรีดี พนมยงค์

 

               ๑ บางคนอาศัยพจนานุกรมภาษาสันสกฤต – อังกฤษ ของเซอร์ โมเนียวร์วิลเลียม   (พิมพ์ในศตวรรษที่ ๑๘)
เป็นหลักในการค้นหามูลศัพท์ภาษาไทยนั้นพบว่า มีคำสันสกฤตคำหนึ่งเขียนเป็นอักษรลาตินตามเครื่องหมายออกเสียงสำหรับสันสกฤตว่า
“SYAMA” ตรงกับอักษรวิธีไทย “ศยามะ” แปลว่า “ดำ”  “สีคล้ำ”, “สีน้ำเงินแก่”, “สีน้ำตาลแก่”, ฯลฯ บางคนที่กล่าวถึงนี้จึงสันนิษฐานว่าคำว่า “สยาม” มิได้มีมูลศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ครั้นแล้วก็สันนิษฐานว่าคำว่า “สยาม” แผลงมาจากคำจีน “เซี่ยมล้อ” อันเป็นภาษาของจีนแต้จิ๋วตามที่ผู้สันนิษฐานสันทัดในการได้ยินคนจีนส่วนมากที่อยู่ในสยามโดยมิได้คำนึงว่าจีนแต้จิ๋วเป็นจีนเพียงในจังหวัดหนึ่งแห่งมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน อันที่จริงจีนส่วนมากหลายร้อยล้านคนในประเทศจีนนั้นพูดภาษาจีนกลาง หรือใกล้เคียงกับจีนกลาง เรียกชื่อประเทศสยามมาตั้งแต่โบราณกาลว่า “เซียนโล๋” มิใช่ “เซี่ยมล้อ”
            ส่วนชาวยุโรปที่เดินทางเรืออ้อมแหลมอาฟริกามายังอินเดียตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ แล้วเดินทางต่อมายังประเทศสยามนั้นได้เรียกและเขียนชื่อประเทศสยามว่า “SIAM” มิใช่เขาเดินทางเรือไปประเทศจีนก่อนแล้วจึงวกกลับมาประเทศสยาม ดั่งนั้นชาวยุโรปสมัยนั้นและสมัยต่อมาจึงเรียกชื่อประเทศสยามตามที่ชาวอินเดียใต้, ชาวสิงหฬ, ชาวมลายู เรียกว่า “เซียม” และก็ตรงกับที่พระมหากษัตริย์สยามได้เรียกชื่อประเทศของพระองค์ในพระราชสาส์นที่มีไปยังประมุขประเทศต่าง ๆ จึงทำให้นานาประเทศรู้จักประเทศสยามในนามว่า “SIAM” มาหลายศตวรรษ เอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศสยามมีอยู่มากมายที่เราจะค้นดูได้จากสารบัญว่า “SIAM”

             ๒. การศึกษาประวัติศาสตร์ทางนิรุกติศาสตร์ก็ดี นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ก็ดีนั้นจำต้องอาศัยเอกสารทางราชการเป็นหลักอ้างอิงด้วย ในบรรดาเอกสารทางราชการนั้นมีบทกฏหมายที่พระมหากษัตริย์สยามตั้งแต่สมัยโบราณได้จารึกไว้ เท่าที่ค้นได้ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีจารึกไว้ในสมุดข่อยที่เรียกชื่อประเทศสยามเป็นภาษาบาลีว่า “สามปเทส”

            เมื่อจุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๗ รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนากฎหมายตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา,ธนบุรี,ที่ยังใช้อยู่แล้วมีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมจารึกไว้บนสมุดข่อย (ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ และฉบับต่อมาได้เอาอย่างมาจารึกรัฐธรรมนูญ) แล้วประทับตรา ๓ ดวง คือ ตราพระราชสีห์, พระคชสีห์, บัวแก้ว กฎหมายนี้มีชื่อเรียกกันว่า “กฎหมายตรา ๓ ดวง” ซึ่งเป็นต้นฉบับเก็บไว้ห้องเครื่อง ๑ ฉบับ, หอหลวง ๑ ฉบับ, ศาลหลวงสำหรับลูกขุน ๑ ฉบับ

            ในรัชกาลที่ ๔ หมอบรัดเลได้คัดมาพิมพ์โดยวิธีเรียงพิมพ์เรียกกันว่า “กฎหมาย ๒ เล่ม”

            ในรัชกาลที่๕ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรี (พระอิสริยยศขณะนั้น) ได้คัดมาพิมพ์โดยวิธีเรียงพิมพ์เรียกกันว่า “กฎหมายราชบุรี” มี ๒ เล่ม

            ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ข้าพเจ้าได้พิมพ์โดยถ่ายภาพจากต้นฉบับสมุดข่อยแล้วทำบล๊อคเพื่อให้ตรงตามต้นฉบับเฉพาะ “บานแพนก” และ “พระธรรมศาสตร์” แต่เพราะเหตุที่คำบาลีในต้นฉบับเขียนเป็นอักษรขอม ข้าพเจ้าจึงได้พิมพ์โดยวิธีเรียงพิมพ์อีกฉบับหนึ่ง ถ่ายทอดอักษรขอมนั้นเป็นภาษาไทย ส่วนข้อความใดที่เป็นอักษรไทยอยู่แล้วก็ได้เรียงพิมพ์ตามอักขรวิธีในต้นฉบับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ (ภายหลักรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐) ได้ใช้หนังสือเล่มนั้นของข้าพเจ้าเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่อ้างอิงไว้ด้วยดั่งปรากฏในบัญชีอักษรย่อที่ใช้ในพจนานุกรมนั้นหน้า ๖ ว่าดังนี้

            “ตราสามดวง” : กฎหมายตราสามดวง ฉบับเรียงพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ รวมรวมโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม”

            ความปรากฏว่าคำว่า “สยาม” มาจากภาษาบาลี “สาม” (สามะ) ข้าพเจ้าจึงขอคัดความตอนหนึ่งในหมวด “พระธรรมศาสตร์” ดังต่อไปนี้

            “….ยญจ สตฺถํ อันว่าคัมภีรอันใด โลกหิตํ เป็นปรโยชนแก่สัตวโลกย ปากฏํ ปรากฏิ ธมฺมสตฺถํ อิติ ชื่อว่าคำภีรพระธรรมสาตร มนุสาเรน อันพระมโนสารฤาษี ภาสิตํ กล่าว อาทิโต ในต้นมูลภาสาย ด้วยมคธภาษา ปรมฺปราภตํ อันปรำปราจารยนำสืบกันมา ปติฏฐิตํ ตั้งอยู่ รามญฺเญสุ ในรามัญปรเทษ ภาสาย ด้วยภาษา รามญฺญสฺสจ แห่งรามัญ       ก็ดี อิทานิ ในกาลบัดนี้ ปุริเสน อันบุรุษผู้เป็นวินิจฉัยอำมาตย ทุคฺคาฬฺหํ จะยังรู้เปน            อันยาก อหิ สามเทเสในสยามปรเทษนี้ ตสฺมา เหตุดั่งนั้น อหํ อันว่าข้า รจิสฺสํ จักตกแต่ง ตํ ธมฺมสตฺถํ ซึ่งคำภีรพระธรรมสาตรนั้น สามภาสาย ด้วยสยามภาษา ตุมฺเห อันว่าท่านทั้งหลาย สุณาถ จงฟัง ตํ สตฺถํ ซึ่งคัมภีรพระธรรมศาสตร์นั้น สนฺติกา แต่สำนักนิ เม           แห่งเรา”

            ๓. คำว่า “เทเส” เป็นคำบาลีที่แปลงท้ายคำตามไวยากรณ์บาลี (วิภัตติ) ของมูลศัพท์ “เทส” ซึ่งแปลว่าบ้านเมือง,แว่นแคว้น มีความหมายตรงกับ “ปเทส” (PADESA) คำว่า “สาม” (สามะ) ในภาษาบาลีมีความหมายอย่างตามที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ของริสเดวิดส์กล่าวไว้เช่น

            (๑) สีดำ

            (๒) สีเหลือง, สีทอง ตามความหมายนี้ “สามปเทส” จึงหมายถึงแว่นแคว้นแห่งเมืองทองหรือสุวรรณภูมิดังที่เพลงชาติของประเทศสยามก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยมีเนื้อร้องตั้งต้นด้วยประโยคว่า “ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง…” ต่อมาเมื่อเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทยแล้วทางราชการได้เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อ            ชาติเชื้อไทย”  ซึ่งไม่ตรงตามหลักวิชาว่าด้วยเชื้อชาติเพราะในประเทศไทยมีคนเชื้อชาติอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เนื้อเพลงนี้จึงเป็นการคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เพื่อรวมคนเชื้อชาติไทยในดินแดน      อื่นๆ ด้วย โดยไม่คำนึงว่าคนเชื้อชาติไทยในดินแดนเหล่านี้จะยอมผนวกเข้ากับประเทศไทยหรือจะเรียกร้องเป็นอย่างอื่น

            (๓) ข้าพเจ้าเห็นว่ายังมีความหมายที่อาจแผลงมาจากคำบาลี “สม” (สะมะ) ที่แปลว่า “ความสงบเรียบร้อย” “ความเสมอภาค” ถ้าพิจารณาถึงชื่อ “กรุงศรีอยุธยา” ที่แปลว่า กรุงแห่งไม่มีการรบอันประเสริฐคือสันติภาพอย่างยิ่งแล้ว ก็ควรเชื่อได้ว่า พระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนได้ใช้คำว่า “สยาม” โดยแผลงมากจากคำว่า “สาม” ทั้งในความหมายของ “เมืองทอง” และในความหมายที่แผลงมาจาก “สม” (สะมะ) ที่แปลว่าความสงบเรียบร้อยและความเสมอภาค เพราะพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนทรงทราบเป็นอย่างดีว่าราชอาณาจักรที่พระองค์ทรงเป็นประมุขนั้น แม้ประกอบด้วยชนชาติไทยเป็นส่วนมากก็ตามแต่ก็ยังมีคนเชื้อชาติอื่นๆ รวมอยู่ด้วย จึงทรงเห็นเป็นการเหมาะสมที่จะเรียกอาณาจักรนี้ว่า “สยาม” หมายความว่าทุกชนชาติที่รวมอยู่ในประเทศของเรานี้มีความเสมอภาคกันและมีอุดมคติสันติภาพตั้งอยู่ในแว่นแคว้นแห่งเมืองทองหรือ            สุวรรณภูมิ

            ๔. สาเหตุแห่งการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยนั้นสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น) ได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในบรรดารัฐมนตรีแห่งรัฐบาลนั้นมีข้าพเจ้าด้วยผู้หนึ่งซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ มีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นรัฐมนตรีลอย (ไม่ว่าการกระทรวง)

            ต่อมาประมาณอีก ๔-๕ เดือน หลวงวิจิตรวาทการได้เดินทางไปฮานอยเพื่อชมกิจการโบราณคดีของสำนักตะวันออกไกลฝรั่งเศส  เมื่อหลวงวิจิตรฯ กลับจากฮานอยได้นำแผนที่ฉบับหนึ่งซึ่งสำนักฝรั่งเศสนั้นได้จัดทำขึ้นแสดงว่ามีคนเชื้อชาติไทยอยู่มากมายหลายแห่งในแหลม      อินโดจีน ,ในประเทศจีนใต้, ในพม่า, และในมณฑลอัสสัมของอินเดีย

            ครั้นแล้วผู้ฟังวิทยุกระจายเสียงได้ยินและหลายคนยังคงจำกันได้ว่าสถานีวิทยุกรมโฆษณาการ (ต่อมาปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) ได้กระจายเสียงเพลงที่หลวงวิจิตรฯ รำพันถึงชนเชื้อชาติไทยที่มีอยู่ในดินแดงต่างๆ และมีการโฆษณาเรื่อง “มหาอาณาจักรไทย” ที่จะรวม         ชนเชื้อชาติไทยในประเทศต่างๆ เข้าเป็นมหาอาณาจักรเดียวกันทำนองที่ฮิตเลอร์กำลังทำอยู่ในยุโรปในการรวมชนเชื้อชาติเยอรมันในประเทศต่างๆ ให้เข้าอยู่ในมหาอาณาจักรเยอรมัน

            ในการประชุมวันหนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปัญหาด่วนนอกระเบียบวาระโดยให้หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้แถลงให้เปลี่ยนชื่อ “ประเทศสยาม” เป็น “ประเทศไทย” โดยนำสำเนาแผนที่ฉบับที่สำนักตะวันออกไกลฝรั่งเศสทำไว้ว่าด้วยแหล่งของชนเชื้อชาติไทยต่างๆ มาแสดงในที่ประชุมด้วย โดยอ้างว่า “สยาม” มาจากภาษาสันสกฤต “ศยามะ” แปลว่า “ดำ” จึงไม่ใช่ชื่อประเทศของคนเชื้อชาติไทยซึ่งเป็นคนผิวเหลืองไม่ใช่ผิวดำ และอ้างว่าคำว่า “สยาม” แผลงมาจากจีน “เซี่ยมล้อ”

            ข้าพเจ้าได้คัดค้านว่าโดยที่ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ค้นคว้ากฏหมายเก่าของไทยโดยอาศัยหลักฐานเอกสารที่จารึกไว้โดยพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนรวมทั้ง “กฎหมายตราสามดวง”               ซึ่งรัชกาลที่ ๑ (พระพุทธยอดฟ้าฯ) ได้โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาย (ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวในข้อ ๒) และมิใช่คำว่า “สยาม” แผลงมาจากคำจีนแต้จิ๋ว “เซี่ยมล้อ” (ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในข้อ ๑) แต่จุดประสงค์เบื้องหลังของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีส่วนหนึ่งต้องการเปลี่ยนชื่อประเทศว่าประเทศไทยเพื่อรวมชนชาติไทยในดินแดนต่างๆ เข้าอยู่ในมหาอาณาจักรไทย ดังนั้นรัฐมนตรีส่วนมากจึงตกลงตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็น “ประเทศไทย” ข้าพเจ้าเป็นฝ่ายข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี

            ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ลงมติเห็นชอบในการเปลี่ยนชื่อประเทศซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามให้ตราเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

            ๕. เมื่อได้ตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยแล้วก็เกิดปัญหาว่าในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ต้องเขียนชื่อประเทศไทยนั้นจะใช้คำภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส อย่างไร

            ผู้ที่ได้รับคำยกย่องว่ามีความรู้ในภาษาต่างประเทศรวมทั้งหลวงวิจิตรวาทการได้เสนอให้เรียกประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAILAND” และภาษาฝรั่งเศสว่า “THAILANDE” และพลเมืองของประเทศนี้เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “THAILANDAIS” ซึ่งฝรั่งพากันงง

            ข้าพเจ้าได้เสนอว่าควรให้เรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า “SIAM” ตามที่คนทั่วโลกได้รู้จักชื่อประเทศของเราในนามนั้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็มีตัวอย่างอยู่เช่นประเทศเยอรมันซึ่งเรียกชื่อประเทศเป็นภาษาเยอรมันว่า “DEUTSCHLAND” นั้น เขาก็มิได้กำหนดให้เรียกชื่อประเทศของเขา เป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสตามชื่อภาษาเยอรมัน หากเรียกชื่อประเทศของเขาเป็นภาษาอังกฤษว่า “GERMANY” และภาษาฝรั่งเศส “ALLEMAGNE” ตามที่คนอังกฤษและฝรั่งเศสเคยเรียกและเคยรู้จักชื่อประเทศของเขาในนามนั้น

            ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นต่อไปว่าการที่จะเอาคำว่า “LAND” ต่อท้ายคำว่า “THAI” เป็น “THAILAND” ก็ดีย่อมทำให้คล้ายกันกับประเทศเมืองขึ้นในอาฟริกาของอังกฤษ (สมัยนั้น) และเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (สมัยนั้น) ที่ลงท้ายด้วยคำว่า “LAND” หรือ “LANDE” ข้าพเจ้าได้ให้ข้อสังเกตว่าประเทศ “IRELAND” ได้เมื่อได้เป็นเอกราชจากอังกฤษแล้วก็ตัดคำว่า “LAND” ออก โดยเรียกชื่อประเทศของตนว่า “EIRE” ส่วนในประเทศยุโรปบางประเทศที่มีคำท้ายว่า “LAND” เช่น “ICELAND” ก็เพราะภาษาของเขาอยู่ในตระกูลเดียวกันกับภาษาอังกฤษจึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องเอาตัวอย่างนี้ แต่ความเห็นส่วนข้างมากในคณะรัฐมนตรีให้เปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษด้วย ตามที่มีผู้เสนอให้เปลี่ยนเป็น “THAILAND” ในภาษาอังกฤษ และ “THAILANDE” ในภาษาฝรั่งเศส

            ข้าพเจ้าได้เสนอต่อไปอีกว่าถ้าส่วนข้างมากต้องการให้ชาวโลกเรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสโดยมีคำว่า “THAI” เป็นสำคัญแล้วก็ขออย่างเอาคำว่า “LAND” หรือ “LANDE” ไปต่อท้ายไว้ด้วยเลย คือให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสทับศัพท์ตามที่สามัญชนคนไทยเรียกชื่อประเทศของตนว่า “เมืองไทย” เป็นภาษาอังกฤษ “MUANG THAI” ฝรั่งเศส “MUANG THAI” แต่ส่วนมากในคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย

            ๖. เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลทวี บุณยเกตุเห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยนั้นใช้บังคับเฉพาะชื่อประเทศไทยในภาษาไทยเท่านั้น รัฐบาลนั้นจึงได้ประกาศให้ใช้ชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า “SIAM” ตามที่เกือบทั่วโลกรู้จักประเทศไทยในคำนั้นมาหลายศตวรรษแล้ว

            ฉะนั้นเอกสารทางราชการที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสจึงเรียกชื่อประเทศไทยว่า “SIAM” รวมทั้งหนังสือเดินทางให้เขียนเรียกชื่อประเทศในภาษาไทยว่า “ประเทศไทย” ส่วนในภาษาฝรั่งเศสให้เขียนว่า “SIAM” และสัญชาติของผู้ถือหนังสือเดินทางให้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “SIAMOIS”

            ทั้งนี้ ก็ตรงกับที่ข้าพเจ้าได้เคยเสนอดังกล่าวไว้แล้วในข้อ ๕ ว่า แม้ประเทศเยอรมันเรียกชื่อประเทศของเขาเป็นภาษาเยอรมันว่า “DEUTSCHLAND” แต่ในภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า “GERMANY”และในภาษาในฝรั่งเศส “ALLEMAGNE” ส่วนในประเทศในตะวันออกไกล เช่น ประเทศจีนซึ่งเรียกตามภาษาจีนว่า “จงกัวะ” แปลว่า “ประเทศกลาง” นั้น ทางราชการจีนก็เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “CHINA” และภาษาฝรั่งเศสว่า “CHINE” ตามที่เกือบทั่วโลกรู้จักประเทศจีนในภาษานั้นแล้วมาหลายศตวรรษ ประเทศญี่ปุ่นเรียกชื่อประเทศเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “นิปปอนโกกุ” แปลว่าประเทศแห่งพระอาทิตย์อุทัยนั้น ทางราชการญี่ปุ่นเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “JAPAN” และภาษาฝรั่งเศสว่า “JAPON” ตามที่เกือบทั่วโลกรู้จักประเทศญี่ปุ่นในภาษานั้นมาหลายศตวรรษ แม้ว่าลัทธิแสนยานุภาพญี่ปุ่นจะมีทัศนะ “คลั่งชาติ” (CHAUVINISM) แต่ก็ไม่คลั่งจนถึงขนาด ทำให้คนเกือบทั่วโลกงงถ้าหากต้องเรียกชื่อประเทศญี่ปุ่นตามภาษาญี่ปุ่นฯลฯ

            ๗. เมื่อได้เกิดรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ แล้ว นายควงเป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ ๓ เดือนเศษ รัฐบาลนี้คงเรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า “SIAM” ต่อไปอีก

            ต่อมาในเดือนเมษายน ๒๔๙๐ รัฐบาลพิบูลสงครามเข้ารับตำแหน่งแทนรัฐบาลควงแล้วก็ได้กลับเปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า “THAILAND” และในภาษาฝรั่งเศส “THAILANDE” ซึ่งรัฐบาลต่อๆ มาก็ได้ใช้ตามจนปัจจุบันนี้

            ๘. ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๑๑ ที่ใช้เวลาร่างนานที่สุดประมาณ ๑๐  ปีนั้น ได้มีสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นคนเชื้อชาติไทยแท้ๆ และมีนายทหารชั้นนายพลคนหนึ่งร่วมด้วยในการเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นประเทศสยามตามเดิม แต่สมาชิกส่วนมากไม่ยอมรับความเห็นนี้

            ต่อมาในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๑๗ ก็มีกรรมการบางคนเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นประเทศสยามแต่กรรมการส่วนมากไม่ยอมรับความเห็นนี้เพราะบางคนให้ความเห็นว่า “เรื่องชื่อประเทศเป็นเรื่องเล็ก” ครั้นแล้วรัฐบาลได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๑๗ ต่อสภานิติบัญญัติสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคนได้แสดงความเห็นขอแก้ชื่อประเทศไทยให้เป็นประเทศสยามตามเดิม ดังนั้นคงมีหลายคนขอแปรญัตติในคณะกรรมาธิการแต่เสียงข้างมากในคณะกรรมาธิการและในสภานิติบัญญัติจะเห็นด้วยหรือไม่ก็สุดแท้แต่ทัศนะซึ่งท่านเหล่านั้นยึดถือ

            ๙. ผู้สนใจที่ศึกษาปรากฏการณ์แห่งความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยย่อมเห็นได้ว่าปัญหานี้ไม่อาจจบลงได้อย่างง่ายๆ แม้มีรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังมีผู้ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นประเทศสยามตามเดิม หรือเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เรื่องนี้ไม่ควรพิจารณาอย่างผิวเผินว่าเป็น “เรื่องเล็ก” เพราะการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยนั้นสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างคนเชื้อชาติไทยที่มีทัศนะทางสังคมแตกต่างกันคือฝ่ายหนึ่งถือ “ทัศนะรักชาติ” (Patriotism) กับอีกฝ่ายหนึ่งถือ “ทัศนะเชื้อชาตินิยม” (Racism) ประกอบด้วย “ทัศนะคลั่งชาติ” (Chauvinism)  ที่เกินขอบเขตยิ่งกว่าทัศนะคลั่งชาติของฮิตเลอร์และแสนยานุภาพญี่ปุ่น

            (๑) ความขัดแย้งเกี่ยวกับที่มาแห่งมูลศัพท์ (นิรุกติศาสตร์) ของคำว่า “สยาม” นั้นเป็นปัญหารองซึ่งนักวิชาการผู้สนใจในวิชาการนิรุกติศาสตร์แท้จริง โดยไม่มีอุปาทานจากซากทัศนะเชื้อชาตินิยมและทัศนะคลั่งชาติก็ย่อมค้นคว้าหาสัจจะทางวิชาการนี้ได้

            ส่วนผู้จงรักภักดีแท้จริงในสถาบันพระมหากษัตริย์ก็คงศึกษาพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๔) หรือได้ยินพระภิกษุสงฆ์ที่รอบรู้เล่าให้ฟังบ้างว่า         พระจอมเกล้าฯ ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้ภาษาไทย,ภาษาบาลี-สันสกฤต, ภาษาลาติน, ภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ปรากฏว่าคนในสยามจนถึงปัจจุบันนี้จะมีความรู้นั้นเท่าเทียมพระองค์ได้  ดังนั้นเราจึงควรใช้ความคิดว่า ถ้าพระองค์เห็นว่าคำว่า “สยาม” ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนใช้เรียกราชอาณาจักรของพระองค์ไม่ถูกต้องในทางภาษาและนิรุกติศาสตร์แล้ว พระองค์ก็คงจะได้เปลี่ยนชื่อราชอาณาจักรก่อนชนรุ่งหลังแล้ว ส่วนคำอังกฤษ ฝรั่งเศส “SIAM” นั้นพระองค์ก็ใช้ต่อมาในการเรียกชื่อราชอาณาจักรตามภาษานั้น ยิ่งกว่านั้นพระองค์ก็ยังได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเป็นภาษาลาตินตามมูลศัพท์ “SIAM” ว่า “REX SIAMENSIS” แปลว่า “พระราชาแห่งสยาม” ซึ่งตรงกับ “สยามินทร์” หรือ “ สยามินทราธิราช” ซึ่งมีคำนี้อยู่ในพระปรมาภิไธยเต็มของพระมหากษัตริย์รวมทั้งองค์ปัจจุบันดังต่อไปนี้

            “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรี            นฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”

            พระปรมาภิไธยขององค์ปัจจุบันได้จารึกในคำปรารภในรัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรหลายฉบับรวมทั้งจะจารึกในฉบับ ๒๕๑๗ ด้วย แต่น่าเสียดายที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๑๗ เรียกชื่อราชอาณาจักรประเทศไทยซึ่งไม่สอดคล้องกับพระปรมาภิไธย

            ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าความขัดแย้งเรื่องชื่อของประเทศนี้สืบเนื่องจากรากฐานแห่งทัศนะทางสังคมซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญได้ยืดถือเป็นสำคัญยิ่งกว่าทางวิชาการ             นิรุกติศาสตร์

            (๒) “ทัศนะรักชาติ” (Patriotism) เป็นทัศนะประชาธิปไตยซึ่งรักทุกเชื้อชาติและชนชาติที่ประกอบเป็น “ชาติ” เดียวกัน ครอบครองดินแดนประเทศเดียวกันคือเป็นปิตุภูมิ (Patrie) เดียวกัน มีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจอันเป็นรากฐานของสังคมเดียวกันยอมเสียสละส่วนตัวเพื่อชาติและปิตุภูมิเป็นส่วนรวม

            ทุกชาติในปัจจุบันนี้ต่างกับกลุ่มเผ่าพันธุ์ที่ประกอบด้วยคนเผ่าพันธุ์เดียวหรือเชื้อชาติเดียว ทุกชาติเป็นผลแห่งวิวรรตการทางประวัติศาสตร์ช้านานซึ่งประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและชนชาติซึ่งเดิมมีดินแดนโดยเฉพาะ แล้วต่อๆ มาได้สมานกันประกอบเป็นชาติเดียวกัน

            ประวัติศาสตร์ชาติไทยเพียง ๒๐๐ ปี ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าก่อนนั้นมีแว่นแคว้นหรือรัฐมากมาย ซึ่งแต่ละเชื้อชาติและชนชาติแยกย้ายกันอยู่ ครั้นแล้วก็ค่อยๆ วิวรรตประกอบเป็นชาติเดียวกันแห่งประเทศสยาม เอกภาพของชาติจะมั่นคงได้ก็โดยระบบประชาธิปไตยสมบูรณ์ คือประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ, ทางการเมือง, ทัศนะประชาธิปไตย ซึ่งรวมทั้ง “ทัศนะรักชาติ” (PATRIOTISM)

            (๓) “ทัศนะเชื้อชาตินิยม” (RACISM) เป็นทัศนะที่นิยมหรือรักเฉพาะคนเชื้อชาติเดียว       อันเป็นทัศนะคับแคบที่สืบมาจากทัศนะสังคมต่างกลุ่มเผ่าพันธุ์ โดยมิได้คำนึงถึงความเป็นจริงในปัจจุบันและในประวัติศาสตร์และวิวรรตการของ “ชาติ” ดังกล่าวในข้อ (๒)

            ซากของ “ทัศนะเชื้อชาตินิยม” (RACISM) ยังคงตกค้างอยู่ในหลายชาติจึงเป็นเหตุให้คนจำนวนหนึ่งแห่งเชื้อชาตินั้นๆ ถือว่าเชื้อชาติของตนอยู่เหนือเชื้อชาติและชนชาติอื่นซึ่งเป็นส่วนข้างน้อยอยู่ในชาติเดียวกันอันเป็นการบั่นทอนเอกภาพของชาติซึ่งทำให้ชนส่วนน้อย (Minority) ในชาติดิ้นรนแยกดินแดนดังปรากฎอยู่ในหลายประเทศ

            พวก “เชื้อชาตินิยม” ได้ผลักดันทัศนะของตนเป็นการ “คลั่งเชื้อชาติ” หรือ “คลั่งชาติ” (CHAUVINISM) เพราะถือว่าชาติเป็นเชื้อชาติเขาเท่านั้น ครั้นแล้วก็คิดรวมคนเชื้อชาติเดียวกันที่อยู่ในดินแดนต่างๆ เข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันเช่นที่ฮิตเลอร์ได้ดำเนินซึ่งเป็นการล้มเหลวและนำความพ่ายแพ้มาสู่ประเทศเยอรมัน

            ส่วนในสยามนั้นความฝันของพวกเชื้อชาตินิยมที่จะสถาปนามหาอาณาจักรไทยรวมรวมคนเชื้อชาติไทยต่างๆ ในอาเซียนั้นไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ซากความฝันนั้นก็ยังคงมีอยู่ที่เป็นมรดก ตกทอดมา

            (๔) นักโฆษณา และผู้เขียนประวัติศาสตร์ชนเชื้อชาติไทยซึ่งโดยมากเขียนจากหนังสือที่ชาวยุโรปอเมริกันเขียนไว้ก็ดี เขียนจากความสันนิษฐานตามชื่อท้องที่ แล้วเดาว่าเป็นภาษาไทยก็ดี ได้ทำให้ผู้อ่านที่บริสุทธิ์หลงเชื่อว่าชนเชื้อชาติไทยมีอยู่มากมายในทวีปเอเชีย ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรชี้แจงตามที่ได้เคยไปยังท้องที่นั้นและเท่าที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาค้นคว้าดังต่อไปนี้

            (ก) ในประเทศจีนมีคนเชื้อชาติไทยในเขตปกครองตนเองของชนชาติจ้วง (ไทยช่วง) แห่งกวางซี มีสถิติ ค.ศ. ๑๙๖๓ แจ้งว่ามีประมาณ ๗,๗๘๐,๐๐๐ คน ชนชาติจ้วงนี้เป็นชนชาติไทยพูดภาษาไทยเดิมคล้ายกันกับชนเชื้อชาติไทยอื่นๆ ในสิบสองปันนาในมณฑลยุนนาน, สมัยก๊กมินตั๋งนั้นกวางซีเป็นมณฑลหนึ่งขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของจีน ในสมัยปัจจุบันสาธารณรัฐของราษฎรจีนได้สถาปนากวางซีเป็นเขตการปกครองตนเองโดยมีคณะกรรมการบริหารและมีสถาผู้แทนราษฎรของเขตปกครองตนเอง

            ในมณฑลยุนนานมีเขตปกครองตนเองของชนชาติไทยหลายเขตรวมประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน แต่ละเขตมีคณะบริหารและสภาผู้แทนราษฎรของเขต

            ส่วนในเวียดนามเหนือ,ในลาว, ในพม่า และในมณฑลอัสสัมของอินเดียนั้นข้าพเจ้ายังไม่มีตัวเลขแน่นอน

            ปัจจุบันนี้สาธารณรัฐของราษฎรจีนได้แถลงแล้วหลายครั้งว่าไม่ต้องการผนวกดินแดงของชาติอื่น ข้าพเจ้าจึงหวนคิดว่าถ้าเป็นในสมัยก๊กมิ่นตั๋งแล้วถ้าพวก “เชื้อชาตินิยม” ยังมีความคิดแผนการมหาอาณาจักรไทยอยู่อีกแล้ว สมมติว่าคนเชื้อชาติไทยในดินแดงดังกล่าวนี้เกิดยอมรับว่าจะเข้าร่วมเป็นมหาราชอาณาจักรไทยขึ้นมาจริงๆ แต่อ้างว่าพวกเขาเป็น “ไทยเดิม” จึงให้ประเทศสยามที่เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยซึ่งเขาเรียกว่า “ไทยบางกอก” อันเป็นไทยใหม่เข้าร่วมเป็นมหาอาณาจักรเดียวกันกับ “ไทยเดิม” ดังนี้ พวก “เชื้อชาตินิยม” ก็คงไม่ยอมถ้าจะทำให้ได้ก็ต้องทำสงครามกัน ซึ่งก็ต้องอาศัยจักรวรรดินิยมให้หนุนหลัง

            (ข) นักประวัติศาสตร์บางคนเขียนประวัติศาสตร์เชื้อชาติไทยตามที่ฝรั่งเขียนไว้ เช่นเขียนว่า ชนเชื้อชาติไทยเดิมอยู่ที่ “ตาลีฟู” และอ้างว่ากษัตริย์ไทยเดิมชื่อ ตีโล่โกะ โกะโล่ฝง อะไรทำนองนั้น ถ้าหากเราใช้สามัญสำนึกก็จะเห็นว่าชื่อนั้นไม่ใช่ภาษาไทยเลย ส่วนคำว่า “ฟู” นั้น เป็นคำที่ราชวงศ์เช็ง (แมนจู) เมื่อประมาณ ๓ ศตวรรษมานี้ใช้เป็นชื่อเขตต่างๆ ในประเทศจีน ซึ่งเมื่อราชวงศ์เช็งล้มแล้วสาธารณรัฐจีนได้แบ่งแขตปกครองโดยเลิกใช้คำว่า “ฟู” แต่ฝรั่งเขียนหนังสือนั้นในปลายสมัยราชวงศ์เช็ง จึงเรียกตามชื่อสมัยนั้นมิใช่เป็นชื่อเขตปกครองของจีนสมัยโบราณและสมัยปัจจุบัน

            ส่วนคำว่า “ตาลี” นั้นภาษาจีนกลางออกสำเนียง “ต้าหลี่” แปลว่า “การปกครองสงบเรียบร้อยใหญ่”, “ศีลธรรมจรรยาใหญ่” ฯลฯ แต่นักสันนิษฐานบางคนเดาๆ ว่าคำนี้ตรงกับภาษาไทยว่า “ท่าดี” โดยให้เหตุผลว่าจีนพูดาภาษาไทยไม่ชัด ออกสำเนียง “ด” ไม่ได้จึงต้องออกเป็น “ล” ข้าพเจ้าได้ไปเยือนชนชาติในเขต “ต้าหลี่” ปรากฏว่าคนพื้นเมืองเป็นเชื้อชาติ “ไป๋” พูดภาษาที่ต่างกับคนไทยเดิม แม้แต่การนับซึ่งคนจีนกวางตุ้งนับคล้ายกับคนไทย เช่นคือ ยัด ยี่ สาม สี่ อึ้ง ลก ชัด ปัค เก๋า สับ แต่คนเชื้อชาติ “ไป๋” นับแล้วไม่มีคำใดคล้ายคำไทยเดิมเลย

            ในมณฑลยุนนานปัจจุบันมีคนหลายเชื้อชาติ

            (ค) เมื่อก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ในระยะปลายสมัยรัฐบาลพิบูลฯ หลวงวิจิตรวาทการ ได้แสดงละครเรื่องพ่อขุนรามคำแหง และเขียนแผนที่แสดงว่าในสมัยโบราณแดนของชนชาติไทยแผ่คลุมไปถึงตอนเหนือของมณฑลเสฉวน โดยเขียนชื่อที่ตั้งของเมืองจุงกิงปัจจุบันว่า “แป” เพื่อให้ตรงกับภาษาไทยที่หมายถึง “ไม้เครื่องเรือนสำหรับเอากลอนพาด” ท่านผู้นี้คงจำลองแผนที่สมัยเก่าซึ่งฝรั่งเขียนไว้ว่า “PE” แล้วสันนิษฐานว่าเป็นคำไทย ข้าพเจ้าได้ไปเยือนเมืองนี้และเมืองเฉิงตูน           นครหลวงของเล่าปี่แล้วล่องมาตามแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) สอบถามบัณฑิตโบราณคดีจีนได้ความว่าในสมัยโบราณเมืองนี้จีนเรียกว่า “เผ” แปลว่า “กำแพงหลังบ้าง”, “การเลี้ยงดู”,                 “การอบรม”, “ลำน้ำหนึ่งที่คดเคี้ยว”, ฯลฯ แต่ฝรั่งเขียนทับสำเนียงเพี้ยนไปเป็น “PE”

            แผนที่ซึ่งหลวงวิจิตรฯ เขียนประกอบละครเรื่องนั้นได้ทำให้พวก “เชื้อชาตินิยม” สนใจมาก

            (ง) บางคนหลงเชื่อว่า ชนเชื้อชาติไทยเดิมอยู่ที่บริเวณภูเขา “ALTAI” โดยสันนิษฐานว่าท้องที่นั้นมีคำลงท้ายว่า “TAI”

            แต่คำว่า “ALTAI” นั้นเป็นภาษามงโกลแปลว่า “ทอง” มิใช่เป็นคำผสมระหว่าง “อัล” กับ “ไท” ภูเขาอัลไตจึงหมายถึง “ภูเขาทอง”

            บริเวณนี้ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ๔๘ ถึง ๕๓ องศา อยู่ในเขตสหภาพโซเวียต ติดต่อกับเขตแดนตะวันตกเฉียงเหนือของมงโกเลียและของจีน ฤดูหนาวอุณหภูมิใต้ศูนย์ ๓๕–๓๗ องศาเซนติเกรด

            ตามประวัติชนชาตินั้น ในสมัยโบราณกลุ่มเผ่าพันธุ์ “อัวรัต” ซึ่งเป็นเผ่าผสมระหว่างมงโกลกับตุงกุอาศัยอยู่

            ถ้าถือตามพวก “เชื้อชาตินิยม” ว่าชนเชื้อชาติไทยเดิมเป็นเจ้าของเขตนี้แล้วก็ขอคำอธิบายด้วยว่าอยู่ในยุคใดแล้วเคลื่อนมาทางเมือง “แป” (PE), ยุนนาน, กวางซี, ต่อมาถึงสยามตั้งแต่เมื่อใด โดยถูกเผ่ามงโกล-ตุงกุขับไล่หรืออย่างไรเพราะเผ่านี้ก็มีจำนวนคนเล็กน้อยเท่านั้น หรือถูกรุสเซียขับไล่มา แต่รุสเซียก็เพิ่งไปยึดครองเขตนี้เมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมานี้เอง

            ในด้านทรัพยากรธรรมชาตินั้น เขตนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์จนถึงสมัยปัจจุบันคือมีการเลี้ยงสัตว์, เพาะปลูกได้ผลสมบูรณ์ อุดมด้วยแร่ตะกั่ว สังกะสี และทองคำ ซึ่งยังทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ถ้าเชื่อตามพวก “เชื้อชาตินิยม” แล้ว เราก็ควรใช้สามัญสำนึกว่าเหตุใดชนเชื้อชาติไทยเดิมจึงทิ้งถิ่นที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีทองคำแล้วพากันอพยพข้ามทะเลทรายที่อัตคัดหลายพันกิโลเมตรมาหาทองคำในดินแดนใหม่ที่เรียกว่า “สามปเทส” แล้วปล่อยให้เผ่ามงโกล-ตุงกุเสวยสุขสำราญ จากทรัพยากรธรรมชาตินั้น

            ปัจจุบันนี้สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งเขตปกครองตนเองในบริเวณภูเขาอัลไตขึ้นหลายเขต โดยเฉพาะเขตปกครองตนเอง “Gorno – Altayskaya Avtonomnya Oblast” เนื้อที่ ๙๒,๖๐๐ ตารางกิโลเมตรนั้น เมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๗ พลเมือง ๑๖๙,๐๐๐ คน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ๗ ล้านไร่,          ที่เพาะปลูกเมล็ดพืช ๑ ล้านไร่, ๒๓๙ โรงเรียนประถมและมัธยม, วิทยาลัยเทคนิคหลายโรงเรียนมีนักศึกษาชั้นอุดม ๔,๐๐๐ คน, ๓๔ โรงพยาบาล และแพทย์ ๑๘๘ คน, ๑๗๓ สถานเลี้ยงเด็กทารกและโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็ก ๖,๑๐๐ คน เราจึงน่าเทียบกับจังหวัดกำแพงเพชร, ตาก, ชุมพร, ยะลา ทีมีพลเมืองจำนวนใกล้เคียงกันและอีกหลายจังหวัดในสยามว่ามีความสมบูรณ์เทียบกันได้กับคนในบริเวณภูเขาอัลไตหรือไม่ แล้วใช้สามัญสำนึกตามธรรมชาติว่าสมควรที่คนเชื้อชาติไทย (หากเคยเป็นเจ้าของท้องที่นั้นจริง) จะพากันละทิ้งถิ่นอุดมสมบูรณ์เดินทางผ่านทะเลทรายโดยสมัยนั้นยังไม่รู้แผนที่ว่าจุดหมายปลายทางจะมีสุวรรณภูมิที่อุดมสมบูรณ์กว่าหรือไม่ สามัญสำนึกที่ปราศจากอุปาทาน “เชื้อชาตินิยม” เป็นพื้นฐานแห่งหลักวิชาว่าด้วยการอพยพของมนุษยชาติซึ่งต้องย้ายที่อยู่เดิมอันมีความอัตคัดไปสู่ดินแดงใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า

            (จ) สมัยแผ่อำนาจช่วงดินแดนของชาติอื่นนั้น จักรวรรดินิยมใช้วิธีหลายอย่างรวมทั้งวิธีเขียนบนกระดาษแผนที่แล้วประกาศเป็นทางการว่าดินแดนนั้นๆ เป็นของตน เช่น จักรวรรดินิยมอังกฤษได้เขียน “เส้นแมคมาฮอน (Mac Mahon Line)” บนแผนที่ระหว่างอินเดียกับธิเบตของจีน ถือว่าดินแดนใต้เส้นนั้นเป็นของอังกฤษ ประเทศจีนตั้งแต่ราชวงศ์เช็งได้คัดค้าน แต่จักรวรรดินิยมอังกฤษก็ได้ถือว่าดินแดนส่วนนั้นเป็นของอังกฤษ

            ส่วนพวก “เชื้อชาตินิยม” จำพวกที่กล่าวแล้วใช้วิธีแปลกประหลาดง่ายยิ่งกว่าวิธีรุกรานทางแผนที่คือใช้วิธีทึกทักเอาจากชื่อที่เรียกท้องที่ว่าถ้ามีคำที่ออกเสียงว่า “ไท” หรือ “ไต” ก็ดี หรือเดาว่าเป็นคำไทยก็ดี ท้องที่นั้นเป็นของคนเชื้อชาติไทยมาก่อน ซึ่งไม่ถูกต้องตามความจริง

บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 11-04-2007, 20:09 »

ไม่เห็นด้วย เพราะไม่รู้ชัดเจนว่าจะเกิดประโยชน์อะไร
แต่ความยุ่งยากนั้นเห็นชัดเจน
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 11-04-2007, 21:12 »

วันนี้ อ.ชาญวิทย์ พูดที่ fm 101

บอกว่าถ้าไม่รับเข้าพิจารณาในรธนฉบับนี้ แกก็รอฉบับหน้า

Mr. Green

ตอนคิดถึงปัญหาที่จะตามมา ยังนึกสภาพไม่ออกเหมือนกัน  Confused
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
СεгЪεгυŞ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70



« ตอบ #22 เมื่อ: 11-04-2007, 23:02 »

คงคิดว่าในเมื่อพับนกกระดาษแล้วเขายังไม่สมานฉันท์หากเปลี่ยนชื่อเป็นสยามก็ทำให้สุดท้ายเกิดการสมานฉันท์มั้งครับ

อ่านตั้งนาน ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ผลเป็นที่น่าพอใจว่าสยามหมายถึงเชื้อชาติหรือสถานภาพหรือสีผิว

หากสยามหมายถึงเชื้อชาติหรือสีผิวก็คงหนีไม่พ้น Racism เหมือนกัน(แต่ก็น่าแปลกใจที่เราจะเรียกตัวเราเองว่าผิวคล้ำ เพราะมุมมองที่ชินตาเราจะไม่คิดว่าตัวเราขาวไปหรือดำไป) หากหมายถึงสถานภาพก็คงไม่ต่างจากคำว่าไท

ผมว่า น่าจะถกเถียงเรื่องสยามหมายถึงอะไรดีกว่าจะไปเปลี่ยนเป็นสยามนะครับ
บันทึกการเข้า

ม้าหนุ่มแห่งชินจูกุ
aoporadio
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 404


« ตอบ #23 เมื่อ: 12-04-2007, 11:08 »

แค่คืบ เอ้ย แค่ชื่อ เท่าน้านนนนนนนน

เอาเรื่อง ศอกก่อนดีกั่ว

ปัญหา ฉะ - เพาะ หน้า

เร่งด่วนก่าเย้ออออออออออ หนา พี่น้อง

เช่น เรื่อง ความไม่เป็น เอกภาพ ของประเทศ จากรอยร้าวของ 3 ลามไปถึง 4 จังหวัด ณ ภาคใต้

ว่างั้นนะคะ
บันทึกการเข้า
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #24 เมื่อ: 12-04-2007, 20:10 »

ผมว่า น่าจะถกเถียงเรื่องสยามหมายถึงอะไรดีกว่าจะไปเปลี่ยนเป็นสยามนะครับ
ร่วมเสวนาเรื่องความหมาย

เอกสารสำคัญที่มีการค้นคว้าเรื่องนี้   ประวัติความเป็นมาของคำ สยาม ไทย ลาว  ของ จิตร ภูมิศักดิ์ 
(ดร.ชาญวิทย์ เกษรตศิริ  เขียนคำนำ  ๒๐  มิ.ย. ๑๙)
ภาคหนึ่ง  วิเคราะห์ความเป็นมา  ความหมายของคำ สยาม  จากหลักฐานต่าง ๆ  บทที่ ๑๗  บทสรุปของภาคนี้
จิตร เขียนว่า  …
ความหมายของสยามชั้นหลังสุดนี้   จึงมิได้หมายถึงชนชาติ  มิได้เป็นชื่อชนชาติไท – ไต  ตามความหมายเดิมของมันต่อไปอีกแล้ว  มันมิได้มีความหมายเหมือนคำ  เซม  ในภาษามอญ  ซาน  ในภาษาพม่า  และ ส้าน  ในภาษาจีน อีกแล้วโดยเด็ดขาด  หากหมายถึงดินดาจะที่เป็นเอกภาพอันหนึ่ง  ซึ่งภายในดินแดนนี้  มีประชาชนหลายเชื้อชาติร่วมกันเป็นของ  นั่นคือ  สยาม  เป็นชื่อของรัฐประชาชาติรัฐหนึ่งไปโดยเด็ดขาด  และมิได้เป็นชื่อเฉพาะของชนชาติเดียว  ไม่ว่าเขาจะเป็นชนเชื้อชาติเขมร ลาว มอญ  กะเหรี่ยง  มลายู  ส่วย  ไทย ฯลฯ  ทุกคนมีศักดิ์และสิทธิ์
ในฐานะเป็นประชาชนชาวสยาม  อย่างเท่าเทียมกัน  นี่คือความหมายและความสำนึกใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดแห่งรัฐประชาชาติ (หน้า ๓๖๓)
ภาคสอง  วิเคราะห์ความเป็นมาและความหมายคำว่า  ไทย  บทที่ ๑๐  บทสรุปของภาคนี้
จิตร  เขียนว่า ...
จากที่ได้ศึกษาเรื่องความหมายของคำว่า ไท มาละเอียดพอสมควร  ผลได้ปรากฏว่า ไท  มีความหมายแรกสุดเพียงเป็นคนสังคม  ต่อมาได้พัฒนาเป็นเสรีชนที่มิได้เป็นทาส  และท้ายที่สุดหมายถึง  เสรี  อิสระ หรือเอกราชและผู้เป็นใหญ่  ทำให้เราสรุปได้ว่า  ชื่อ ไท  ที่เราเรียกตัวเองนั้น  เป็นชื่อที่มีความหมายดี  และเกิดขึ้นโดยปฏิกริยาตอบโต้กับคำเหยียดหยามดูถูของชนชาติอื่นเป็นต้น
   แต่เรายังมีอีกชื่อหนึ่ง คือ สยามเสียม เสียน เซียม  เซม  ซีม  ซึ่งเป็นชื่อที่ชนชาติอื่นใช้เรียกเรา  และคนไทยทั่วไปก็ไม่เคยยอมรับรู้ชื่อนี้  นอกจากพวกนัหปราชญ์ภาษาบาลีสันสกฤตจำนวนน้อยในอดีตนำมาใช้เป็นครั้งคราวขึ้นก่อน  ซึ่งก็เป็นชื่อประเภทที่ติดร่องแร่งอยู่ในวรรณคดีมานานหลายร้อยปี  จึงได้มาเป็นชื่อประเทศที่คนไทยรับรู้เป็นทางการขึ้นมาเมื่อรัชกาลที่ ๔  แห่งกรุงเทพฯ...

อย่างไรก็ตาม จิตร  ก็บอกว่า  ข้อสมมุติฐานที่ว่า  ชื่อ  สยาม  เป็นชื่อที่ ชนชาติอื่นใช้เรียก เรา อย่างดูถูกเหยียดหยาม นี้ ยังไม่มีหลักฐานรองรับชัดเจน  หากจะค้นคว้าหาหลักฐานมาแสดงก็จะดียิ่ง

อ่านจากการค้นคว้าของ จิตร แล้ว  เห็ว่า  ชื่อ  ไท  นี้ มีความหมาย ดี  เสรี อิสระ เอกราช  ผู้เป็นใหญ่

ทำไม ไท  จึงมี  ย   สะกด  จิตร  อธิบายไว้ในหน้า  ๖๑๐
...ข้อนี้ดูเหมือนจะเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่า  เกิดจากความเฟื่องในภาษาบาลี สันสกฤต  จิตร  ยกหลักฐานจากศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงเขียน ไท เฉย ๆ ไม่มี ย  แต่ในจารึกพญาลือไท  พบคำที่สะกดด้วย  ไอ (ภาษาบาลี ไม่มี ไอ) ว่า  เทยฺย (ไท)  พญาลือไท (ลีเทยฺย)   นักปราชญ์ทางภาษาบาลีสันสกฤต จึงเขียน  ไท  เป็น  ไทย

ตามที่อ่านจากการค้นคว้าของ จิตร   เราใช้ชื่อ  ไทย  นี้  นับว่า  เป็นความหมายที่สุดยอดแล้ว 

ขอให้คนไทยเราร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน ชาติเดียวกัน   สมกับ ชื่อ  ไท  (ตามการค้นค้ว้า ของ จิตร)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-04-2007, 20:14 โดย drop » บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #25 เมื่อ: 12-04-2007, 20:25 »

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000042656

ทายาทกรมพระยาดำรงฯ หนุนเปลี่ยนชื่อ"ไทย" เป็น "สยาม"

ประธานหอสมุดดำรงราชานุภาพ ทายาทกรมพระยาดำรงราชานุภาพ "ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล" ลงชื่อสนับสนุนกำหนดชื่อสยาม (SIAM) ในร.ธ.น.2550 เผยอยากให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจว่า สยามเป็นชื่อของศูนย์การค้าหรือโรงภาพยนตร์เท่านั้น
       
       ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ในฐานะประธานหอสมุดฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้เป็นเหลนในตระกูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าวสนับสนุนแนวคิดของนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ แห่งโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พร้อมด้วยผู้ลงนามเรียกร้องในเว็บ http://www.petitiononline.com/siam2007/petition.html เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้กำหนดชื่อสยาม (SIAM) แทนประเทศไทย (THAILAND) ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550
       
       ด้วยเห็นว่า การปรับเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ.2482 เป็นไปตามอำเภอใจล้วนๆ ของผู้นำรัฐบาลในขณะนั้น ทั้งที่มีเสียงโต้แย้งมากมายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริงทางความเป็นชาติ โดยลืมไปว่าสยามเป็นชื่อพระราชทานมาจากในหลวง บ่งบอกถึงความเป็นชาติประเทศที่เก่าแก่ ในประการสำคัญ คือพระวิสัยทัศน์ขององค์พระมหากษัตริย์แห่งสยาม ที่มีพระราชประสงค์ให้ชื่อประเทศ (ไม่รวมถึงชื่อภาษา) ครอบคลุมประชาชนพลเมืองจากหล่กหลายชาติพันธุ์ ภาษา และอัตลักษณ์วัฒนธรรม ทั้งไทย ลาว จีน อีสาน มอญ มลายู กะเหรี่ยง แขก ฯลฯ หาใช่มุ่งสร้างความเป็นชาตินิยมแก่ชาติพันธุ์หนึ่งชาติพันธุ์ใด
       
       อีกเหตุผลหนึ่งต่อหลักการเรียนรู้ภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน ได้แก่กรณีที่ผู้คนในต่างประเทศจะสับสนระหว่างชื่อของไต้หวันกับประเทศไทย ทั้งที่ประวัติศาสตร์สยามประเทศมีวิวัฒนาการแห่งความภาคภูมิใจอันยาวนาน โดยไม่เคยถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกเพียงชาติเดียวในภูมิภาคนี้
       
       "มีรายละเอียดอีกมากมายที่ทุกฝ่ายสามารถยกขึ้นเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ท่านอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยกประเด็นนี้ขึ้นในขณะนี้ เพราะไม่เพียงแต่ปีนี้เป็นปีสำคัญอีกปีหนึ่งของประชาชนชาวสยาม หากยังเป็นการรักษารากเหง้าในความเป็นชาติอารยะ และเป็นการแก้เคล็ดต่อสถานการณ์ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังเกิดขึ้น อย่างน้อยที่สุด สมควรได้มีการรณรงค์ให้ดำรงรักษาชื่อสยามอยู่เคียงคู่ประเทศไทยในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550 ดังเช่นประเทศกรีกและเฮเลนิก , สวิสเซอร์แลนด์และฮาเวลเทีย,เนเธอร์แลนด์กับฮอลแลนด์ ,จ.นครราชสีมากับโคราช,ฉะเชิงเทรากับแปดริ้ว เพียงขออย่าให้คนรุ่นใหม่เข้าใจว่า สยามเป็นชื่อของศูนย์การค้าหรือโรงภาพยนตร์เท่านั้น" มล.ปนัดดากล่าว
บันทึกการเข้า
drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #26 เมื่อ: 12-04-2007, 21:01 »

ข้าพเจ้าแสดงความเห็นไว้แล้ว ว่า ชื่อ กับ เนื้อหา  ย่อมสำคัญที่เนื้อหา

.  ....ครอบคลุมประชาชนพลเมืองจากหล่กหลายชาติพันธุ์ ภาษา และอัตลักษณ์วัฒนธรรม ทั้งไทย ลาว จีน อีสาน มอญ มลายู กะเหรี่ยง แขก ฯลฯ หาใช่มุ่งสร้างความเป็นชาตินิยมแก่ชาติพันธุ์หนึ่งชาติพันธุ์ใด

ตรงกับการค้นคว้า ของ จิตร
       
...ประวัติศาสตร์สยามประเทศมีวิวัฒนาการแห่งความภาคภูมิใจอันยาวนาน โดยไม่เคยถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกเพียงชาติเดียวในภูมิภาคนี้...

ร่วมกันสร้างเนื้อหาให้เยาวชนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความภูมิใจนี้

ยินดีที่ได้ร่วมเสวนาด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
СεгЪεгυŞ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70



« ตอบ #27 เมื่อ: 12-04-2007, 21:36 »

ขอบคุณครับคุณ drop

อ้างถึง
ความหมายของสยามชั้นหลังสุดนี้   จึงมิได้หมายถึงชนชาติ  มิได้เป็นชื่อชนชาติไท – ไต  ตามความหมายเดิมของมันต่อไปอีกแล้ว

ผมเข้าใจว่าก่อนหน้านี้มันมีประโยคที่กล่าวถึงความหมายของสยามแต่ดั้งเดิม รวมทั้งความหมายของคำว่าศยามะ (อย่างที่พี่แบร๊ด พิดยกคำอ้างของคุณปรีดีมา)

คุณจิตรกำลังสรุปในความเข้าใจของคุณจิตรว่าคำว่าสยามได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้ที่อาศัยในราชอาณาจักรรับทราบและเข้าใจว่าเป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นตัวผู้อาศัยไม่ว่าเขามีเชื้อมอญ ลาว พม่า กะเหรี่ยง มลายู จีน ซาไก ฯลฯ

นั่นคือเดิมทีคำว่าสยามอาจหมายถึงเผ่าพันธุ์ แต่ภายหลังสยามหมายถึงชาติ นี่คือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่กำลังเกิดซ้ำในปัจจุบัน

นั่นคือสิ่งที่คนไทยทุกวันนี้รับทราบกัน เราทราบว่าเรานั้นมีเชื้อสายจากไหน แต่เราก็คิดว่าเราเป็นคนไทย แม้ว่าจะไม่ได้มีเชื้อสายเผ่าไท เพราะผมเชื่อว่าคำสองคำนี้มันต่างกันครับ
บันทึกการเข้า

ม้าหนุ่มแห่งชินจูกุ
Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 13-04-2007, 02:22 »

ส่วนตัวยังไงก็ได้ แต่ผมเป็นห่วงถึงผลกระทบอื่นๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมต่างๆ ระหว่างประเทศ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

GN-001 Exia
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 809


Celestial Being...


« ตอบ #29 เมื่อ: 13-04-2007, 08:28 »

เปลี่ยนชื่อแล้วต้องเปลี่ยนเพลงชาติรึเปล่าครับ?

เพราะเพลงชาติร้องว่าประเทศไทย ถ้าเปลี่ยนป็นสยามจะมีผลกับตรงนี้รึเปล่า
บันทึกการเข้า


พวกที่เอาคำว่า "เสรีภาพ" มาบังหน้าเพื่อเบียดเบียนคนอื่นนี่มันเลวที่สุด
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #30 เมื่อ: 13-04-2007, 08:51 »

สนใจอะไรกับแค่ชื่อ
ในเมื่อคนในชาติก็ยังงมโข่งอยู่ที่เดิม
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 13-04-2007, 10:28 »

สนใจอะไรกับแค่ชื่อ
ในเมื่อคนในชาติก็ยังงมโข่งอยู่ที่เดิม

มีเหตุผลครับ รู้สึกเหมือนคนที่จะเปลี่ยนชื่อเพราะไม่ถูกโฉลกยังไงก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
หน้า: [1]
    กระโดดไป: