ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-04-2024, 10:11
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ปัญญาชนบนเขาควาย? False Dilemma? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ปัญญาชนบนเขาควาย? False Dilemma?  (อ่าน 2348 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 10-04-2007, 01:56 »

ปัญญาชนบนเขาควาย?

โดย วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

"ถึงเวลาต้องเลือกข้างได้แล้ว"
-สนธิ ลิ้มทองกุล (จากการอภิปรายหลายครั้งในปี 2549)


"ถ้าผมปฏิเสธรัฐประหาร หมายความว่าผมต้องเลือกการนองเลือดใช่ไหม พูดง่ายๆ
ระหว่างทักษิณกับรัฐประหารผมเอาอะไร มันเป็นโศกนาฏกรรม (tragedy) ที่เรา
ต้องอยู่ตรงนั้น"
--ไชยันต์ ไชยพร (คำสัมภาษณ์ใน สารคดี ตุลาคม 2549)


"ในชีวิตผมไม่เคยเป็นกลาง ไม่เคยเป็นกลางระหว่างความถูกต้องและความผิด ไม่เป็น
กลางระหว่างความถูกกับความชั่ว ระหว่างประชาธิปไตยกับไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่
เคยเป็นกลางระหว่างธรรมะและอธรรม ไม่เคยเป็นกลางระหว่างวิชาและอวิชา หรือ
ระหว่างกติการัฐธรรมนูญที่ถูกต้องกับกติกาที่จัดตั้ง ไม่เคยเป็นกลางระหว่างอิสรภาพ
ของสื่อกับการกีดกันอิสรภาพ ไม่เคยเป็นกลางระหว่างหลักนิติธรรมกับการใช้ความ
อยุติธรรม ไม่เคยเป็นกลางระหว่างความดีและความไม่ดี ผมอยู่ฝ่ายหนึ่งเสมอไป และ
ตลอดชีวิตเชื่อว่าฝ่ายที่ผมอยู่นั้นถูกต้อง"
อานันท์ ปันยารชุน ปาฐกถา "ปฏิรูปสังคมและการเมืองครั้งใหม่" 30 สิงหาคม 2549


สำหรับสังคมไทยที่ใครต่อใครมักจะนิยมพูดถึงทางสายกลาง และในหลายครั้งเราได้
พบเห็นการประนีประนอมกันทางการเมืองอย่างที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักการเท่าใดนัก

ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ต่างจากปกติ กล่าวคือมีการรณรงค์ให้
"เลือกข้าง" เพื่อชาติ ซึ่งทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อย (รวมทั้งชนชั้นกลางในเมืองที่
มักจะเชื่อว่าตัวเอง "มีการศึกษา" และคนที่คิดว่าตัวเองเป็น "ปัญญาชน" ทั้งหลาย)
ต้องปรับตัวเพื่อรับกับโจทย์ใหม่ข้อนี้

และก็ไม่แปลกอะไรที่ในสังคมที่มีการปลูกฝังค่านิยมให้ผู้น้อยเชื่อฟังผู้ใหญ่ พ่อแม่
ครูอาจารย์ รวมทั้งผู้มากบารมีทั้งหลายนั้น ชนชั้นกลางและนักวิชาการจำนวนมาก
มีปัญหากับการปรับตัวครั้งนี้

จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วว่า มีหลายกรณีที่การปรับตัวที่ไม่เหมือนกันของคนที่
ใกล้ชิดกัน ได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือเพื่อนร่วมงาน

จนบางท่านที่ "ใจไม่แข็งพอ" ถึงกับบอกว่าไม่ขอพบกับเพื่อนที่มีความเห็นต่างกัน
ในระยะนี้ เพราะไม่อยากเสี่ยงที่จะเสียเพื่อนที่ "อาจจะ" ได้ทะเลาะกันในเรื่องพวกนี้
ถ้ามาพบหน้าค่าตากัน

ไม่มีข้อมูลพอที่จะบอกได้ว่าการปลุกระดมด้วยวาทกรรม "ต้องเลือกข้าง" ที่คุณสนธิ
ลิ้มทองกุล ผลักดันมาเป็นเวลานานมีผลต่อพฤติกรรมของ "ปัญญาชน" และชนชั้น
กลางในเมือง (ที่ไม่ค่อยคิดว่าตัวเองจะมีโอกาสถูกหลอกหรือมอมเมาได้ง่ายๆ เหมือน
ชาว "รากหญ้า"
) หรือไม่เพียงใด

แต่การสังเกตจากแวดวงที่พอรู้จัก ก็พบว่ามีคนจำนวนมากเห็นว่าตัวเองจำเป็นหรือ
สมควรต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่งในบรรดาสองพลังที่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง
ในขณะนั้น คือเลือกสนับสนุนคุณสนธิและพันธมิตร หรือสนับสนุนคุณทักษิณและพรรค
ไทยรักไทย

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คนเหล่านั้นก็ยังเห็นว่ายังมีความจำเป็นต้อง
เลือกข้างกันต่อไป
(แต่ข้างแรกเปลี่ยนจากพันธมิตร มาเป็นคณะรัฐประหารที่นำโดย
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน และรัฐบาลที่เกิดขึ้นตามมาจากการรัฐประหารครั้งนั้นแทน)

ในสังคมที่เชื่อในหลักการประชาธิปไตยนั้น การเลือกดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
หรือให้ความสนับสนุนผู้นำ พรรค หรือกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดด้วยความเชื่อทาง
อุดมการณ์ (หรือแม้กระทั่งด้วยผลประโยชน์) ที่สอดคล้องต้องกัน ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด
ปกติอะไร

แต่สิ่งที่ถือได้ว่าเป็น "ความไม่ปกติ" ของปรากฏการณ์และวาทกรรม "เลือกข้าง"
ในปีที่ผ่านมาก็คือ มีคนจำนวนมากที่รู้สึกว่าตนต้องเลือกข้างด้วยความ "จำใจ"
เพราะเป็นการเลือกจากสองข้าง (หรือสองขั้ว) ที่ตนมีข้อกังขาในพฤติกรรมที่ผ่านมา
ในหลายๆ ด้าน

หรืออีกนัยหนึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้เชื่อว่าตัวเองกำลังเลือกข้างระหว่าง "ความถูกต้องและ
ความผิด ความดีกับความชั่ว หรือระหว่างประชาธิปไตยกับไม่เป็นประชาธิปไตย" อย่าง
ที่คุณอานันท์ได้กล่าวถึง

แต่พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องเลือกจากตัวเลือกที่เป็น
"สีเทา" ที่ตนไม่อยากเลือกทั้งสองตัว แต่ที่ต้อง "จำใจเลือก" ก็เพราะเชื่อว่าเป็น
สิ่งที่ "จำเป็น" สำหรับบ้านเมืองที่พลเมืองดีอย่างพวกเขาไม่ควรเพิกเฉยหรือปฏิเสธ
ความรับผิดชอบโดยไม่เลือกฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

ในสถานการณ์ที่อยู่ "ระหว่างเขาควาย" ที่ไม่พึงปรารถนาทั้งคู่นั้น หลายท่านได้
พยายาม "ชั่งน้ำหนัก" และเลือกที่จะอยู่ข้างฝ่ายที่ตนคิดว่า "เลวน้อยกว่า"

และบางรายก็แอบหวังอยู่ลึกๆ ว่าตนคง "เลือกไม่ผิด" ถึงแม้ว่าหลายคนจะอดห่วง
ไม่ได้ว่าในที่สุดฝ่ายที่ต้องสูญเสียโดยไม่ได้อะไรกลับมาก็คือฝ่ายประชาชนที่เป็น
กำลังสนับสนุนที่คงจะไม่ได้มีโอกาสได้ดิบได้ดีเหมือนกับขุนพลในสองฟากนี้

นอกจากการตัดสินใจเข้าไปร่วมวงไพบูลย์กับข้างใดข้างหนึ่งแล้ว บรรดา "ปัญญาชน
ผู้เห็นแก่บ้านเมือง" เหล่านี้ยังพยายามโน้มน้าวให้ผู้อื่นเข้าไปร่วมกับตนด้วย การโน้ม-
น้าวด้วยตรรกะข้างต้นถูกขยายไปสู่ระดับที่ว่า "ถ้าคุณไม่เข้ามาร่วมขบวนของสนธิก็
หมายความว่าคุณเป็นพวกหรือเป็นแนวร่วมของทักษิณ"

หรือ "ถ้าคุณคัดค้านทักษิณ คุณก็คือพวกสนธิ-จำลอง" (หรือเป็นพวกนิยมอำนาจเก่า
ทาสศักดินา นิยมมาตรา 7 นิยมรัฐประหาร ฯลฯ)

ด้วยตรรกะทำนองนี้ หลายคนที่เคยออกมาคัดค้านมาตรการอาชญากรรมของรัฐใน
กรณีฆ่าตัดตอนและอุ้มฆ่าภาคใต้อย่างรุนแรงตั้งแต่ยังไม่มี "ขบวนการสนธิ" ก็ถูกคน
กลุ่มหนึ่งเหมารวมเข้าเป็น "สมุนทักษิณ" เมื่อพวกเขาแสดงความเห็นว่าข้อเรียกร้อง
หลายประการของ "ขบวนการสนธิและพันธมิตร" เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

และในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ถูกคนอีกกลุ่ม (ซึ่งเห็นว่าทักษิณเป็นทางเลือกที่
"ก้าวหน้ากว่า") มองว่าการคัดค้านทักษิณของคนกลุ่มนี้เป็นเพียงการ "ค้านแก้เก้อ"
ที่โดยพฤตินัยแล้วเป็นการสร้างความเข้มแข็งพฤติกรรมที่สนับสนุนขั้วอำนาจเก่า ทั้งๆ
ที่กลุ่มผู้ที่ถูกกล่าวถึงก็คัดค้านการขอรัฐบาลพระราชทานและคัดค้านรัฐประหารมาโดย
ตลอดด้วยเช่นกัน

และตลกร้ายที่บางท่านในกลุ่มนี้เจออีกก็คือ เมื่อบางท่านออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย
กับรัฐประหาร โดยเน้นถึงความสำคัญของหลักการประชาธิปไตย ก็ได้รับคำวิจารณ์กลับ
มาว่าพวกเขาเป็นพวก "fundamentalist ที่หลับหูหลับตายึดหลักการอย่างสุดโต่ง" และ
บอกว่าข้อดีของสังคมไทยคือ "ความไม่สุดโต่ง" และความเป็น "pragmatism" ไปเสียอีก


ในชีวิตจริงของคนเรานั้น อาจมีหลายโอกาสที่เราต้องตัดสินใจ "เลือกข้าง" เมื่อเดินมา
ถึงทางสองแพร่งที่ชัดเจน (เช่น ระหว่าง "ความถูกกับความผิด" หรือระหว่าง "ความดี
กับความชั่ว") ซึ่งสำหรับหลายคนแล้ว การใช้จริยธรรมสำนึกของตนนำทางจะช่วยให้
ตนสามารถเลือกข้างและออกจากสถานการณ์ที่เป็นทางสองแพร่งแบบนั้นได้โดยไม่
ยากนัก (ถึงแม้ว่าบางครั้งการเลือกทางที่ถูกอาจทำให้ชีวิตลำบากกว่าก็ตาม)

แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาเป็นข้อบ่งชี้ว่าในชีวิตจริงนั้น มีโอกาสเช่นกัน
ที่เราอาจจะหลงผิด (หรือถูกโน้มน้าวให้เชื่อ) ว่าเรามีความจำเป็นต้อง "เลือกข้าง"
ถึงแม้ว่าในทั้งสองข้างที่มีให้เลือกตั้ง ล้วนแล้วแต่เป็น "สีเทา" ที่จริยธรรมสำนึกของ
เราจะปฏิเสธไม่เลือกในยามปกติ

ซึ่งชวนให้ตั้งคำถามต่อไปอีกข้อหนึ่งว่า แล้วทำไมหลายคนกลับรู้สึกว่าจำเป็นต้องเลือก
ในสภาวการณ์ที่มีตัวเลือกที่เป็น "สีเทา" เพิ่มขึ้นเป็นสองตัวเล่า?

ข้ออ้างประการหนึ่งถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกข้าง "สีเทา" ข้างใดข้างหนึ่งก็คือ ถึงแม้
ในความเป็นจริงอาจมีทางเลือกมากกว่าสองทาง (ตัวอย่างของทางเลือกที่สามที่ผ่าน
มาก็มีกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านทั้งทักษิณและการขอรัฐบาลพระราชทาน และต่อมาก็
คัดค้านรัฐประหารด้วย
)

แต่ในสมการการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจนั้น มีเพียงสองขั้วใหญ่เท่านั้นที่มีพลังพอที่จะสู้รบ
ปรบมือกันได้
ดังนั้น ถ้าคุณ "ไร้เดียงสา" ไปเลือกทางที่สามหรือที่สี่ที่ห้า เสียง (หรือ
"พลัง") ของคุณก็จะไม่มีความหมาย

ซึ่งการประเมินทำนองนี้มีส่วนจริงในทางการเมือง แต่คนเหล่านี้คงมองข้ามไปว่าใน
ระบบที่มีการเลือกตั้งนั้น ปกติเสียงของปัจเจกแต่ละรายก็ไม่เคยเป็นเสียงชี้ขาดอยู่แล้ว
(แม้กระทั่งในการเลือกตั้งที่ถือว่า "สูสีมาก" ก็มักจะแพ้ชนะกันเป็นหลายร้อยหรือเป็น
พันเสียง) และในระบบเผด็จการนั้น เสียงของปัญญาชน (และประชาชนทั่วไป) ก็มัก
จะไม่ได้รับการรับฟังเท่าใดนัก

แน่นอนว่า รัฐบาลมักจะยินดีรับฟังเสียงของนักวิชาการที่เป็น "หุ้นส่วน" ในการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองของตน ซึ่งคงเป็นเหตุผลที่ดีพอสำหรับนักวิชาการที่หวัง
จะได้ตำแหน่งทางการเมืองที่จะ "เลือกข้าง" ที่ตนคิดว่ามีศักยภาพที่จะ "ชนะ" ได้

แต่สำหรับนักวิชาการที่คิดว่างานหลักของตนคือเผยแพร่ความรู้และหลักการที่ถูกต้อง
นั้น ก็ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องไปเลือกข้างที่ตนเห็นว่าเป็นสีดำหรือแม้กระทั่งสีเทา

(และถ้าทำแบบนี้ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาไปสรรหาข้อแก้ตัวให้กับพฤติกรรมของ
ตัวเอง ซึ่งบางครั้งก็ทำได้จำกัดและด้วยความอิหลักอิเหลื่อ ตัวอย่างเช่น อธิการบดี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงกับต้องไปงัดคำพูดจากนิยายกำลังภายในของโกวเล้งว่า
"ถ้าหากเราไม่ลงนรก แล้วผู้ใดจะลงนรก" มาสร้างความชอบธรรมให้กับการตัดสินใจ
เข้าไปควบตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติของท่าน)

ความจริงปัญหา "ทางสองแพร่งลวง" ("False Dilemma" หรือ "False Dichotomy")
หรือความเชื่อที่ว่าเรามีเพียงสองทางเลือกในขณะที่ในความเป็นจริงมีทางเลือกมากกว่า
สองทาง
เป็นความผิดพลาดเชิงตรรกะ (Fallacy) ประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีในวงวิชาการ
แต่คงจะไม่แพร่หลายนักในวงวิชาการไทยที่อาจารย์จำนวนไม่น้อยยังให้ความสำคัญกับ
การเช็คเวลาเข้าห้องเรียนเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีนักศึกษามาฟังและจดจำหรือ "เชื่อ"
สิ่งที่ตนบรรยายมากกว่าการสร้างนักศึกษาที่เป็น "นักคิด" หรือ "ปัญญาชน" (และก็ดู
เหมือนว่านอกจากอาจารย์ไทยหลายท่านจะไม่ตระหนักถึงความผิดพลาดเชิงตรรกะดัง
กล่าวแล้ว หลายท่านยังกลับเต็มไปด้วยทักษะในการ "เสี้ยมคนให้ไปอยู่ตรงเขาควาย"
ไปเสียอีก)

ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะได้ยินได้ฟังอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยที่
มีชื่อเสียงท่านหนึ่งสามารถอธิบายความชอบธรรมของรัฐประหารด้วยเหตุผลประเภท
"คุณจะเลือกอะไรระหว่างรัฐประหารที่ไม่มีการนองเลือดในคืนวันที่ 19 กันยายน หรือ
จะต้องรอให้มีการนองเลือดเกิดขึ้นเสียก่อน"

ทั้งๆ ที่ตั้งแต่ปลายปี 2548 ถึงกลางเดือนกันยายน 2549 นั้น มีการชุมนุมมาแล้วรวม
เป็นเวลาหลายสิบวันและยังไม่การนองเลือดเกิดขึ้น และก็ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ที่ชี้ให้
เห็นว่าการชุมนุมวันที่ 20 กันยายน 2549 จะต่างไปจากครั้งก่อนๆ อย่างไร (นอกเหนือ
ไปจากข่าวลือที่ปล่อยจากฝ่ายที่จะจัดชุมนุม ซึ่งมีหลักฐานแวดล้อมว่าบางกลุ่มมีส่วน
เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร)

นอกจากปัญหา "ทางสองแพร่งลวง" จะเกิดขึ้นในกรณีที่ในความเป็นจริงมีทางเลือกที่
มากกว่าสองทางแล้ว ยังมีโอกาสเกิดขึ้นกับกรณีที่เราหลงเชื่อว่าจะต้องเลือกทางหนึ่ง
ทางใดจากทางเลือกทั้งสองเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงสามารถเลือกใช้ทั้งสองทาง
ประกอบกันได้

ตัวอย่างเช่น ในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น การใช้นโยบายสมานฉันท์
(ที่อดีตนายกฯทักษิณดูแคลนว่าเป็น "นโยบายปูผ้ากราบ") กับชาวมุสลิมโดยทั่วไป กับ
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด (และเป็นธรรม) กับผู้ที่ก่ออาชญากรรม ก็สามารถ
ดำเนินการไปด้วยกันโดยไม่จำเป็นต้องเลือกเอาทางหนึ่งทางใดเท่านั้น

หรือการดำเนินคดีกับนักการเมืองก็สามารถดำเนินการไปพร้อมกับการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำรัฐประหาร และห้ามพรรคการเมืองทำ
กิจกรรมหลักของตนเสมอไป

จนถึงทุกวันนี้ ที่เหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมืองได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่าหนึ่งปี ก็ยัง
ไม่เห็นวี่แววที่สังคมไทยจะหลุดพ้นไปจากกับดักทางสองแพร่งลวงอันนี้เลย

ทรรศนะแบบนี้มีผลต่อการทำงานของหลายฝ่าย

ในขณะนี้ เรามีคณะรัฐประหารที่บอกว่าตัวเองเป็นสุภาพบุรุษและเสนอนโยบายสมาน-
ฉันท์ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นสมานฉันท์ภายใต้ "ความเงียบ" (แบบที่ให้ผู้ที่มีความเห็น
ต่างออกไปสงบปากสงบคำเสีย)

สื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยก็ยังคงตกอยู่ในกับดักนี้จนหลายท่านคงจะยังทำหน้าที่
"กองเชียร์" แทน "หมาเฝ้าบ้าน" ไปอีกสักพักใหญ่ (อาจจะจนกระทั่งหายกลัวว่า
"[ระบอบ] ทักษิณจะกลับมา")


แต่สำหรับนักวิชาการที่เป็น "ปัญญาชน" อีกหลายท่านที่ไม่ได้มีเจตนาหวังเดินทางลัด
เข้าสู่ศูนย์อำนาจใดๆ นั้น ผู้เขียนขออนุญาตส่งเสียงร้องเรียกดังๆ ว่า "ไหนๆ ก็ผ่านมา
เป็นปีแล้ว เมื่อไหร่ท่านจะลงจากเขาควายมาทำหน้าที่ของตัวเองกันเสียที?"

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกับจุดยืน
ของสถาบันต้นสังกัด


มติชน วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10622

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04100450&day=2007/04/10&sectionid=0130
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-04-2007, 02:16 »

โดยส่วนตัวแล้ว เป็นพวกทางเลือกที่สามตามบทความนี้
คือ เป็นพวกไม่เอาทักษิณ และไม่เอารัฐประหาร
เพราะไม่ชอบเผด็จการทุกรูปแบบ

แต่ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล บอกว่าเป็นไปไม่ได้
ในโลกแห่งความจริงแล้ว มีเพียงสองทาง
http://www.sameskybooks.org/webboard/show.php?Category=sameskybooks&No=4028&page=1

ทำนองเดียวกับที่บทความข้างบนนี้กล่าวคือ

ในสมการการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจนั้น
มีเพียงสองขั้วใหญ่เท่านั้นที่มีพลังพอที่จะสู้รบปรบมือกันได้
ดังนั้น ถ้าคุณ "ไร้เดียงสา" ไปเลือกทางที่สามหรือที่สี่ที่ห้า
เสียง (หรือ "พลัง") ของคุณก็จะไม่มีความหมาย


เพื่อนๆ คิดว่าเป็นไปได้หรือเปล่า
ที่เราจะมีทางเลือกได้มากกว่าสองทาง?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #2 เมื่อ: 10-04-2007, 09:17 »

มันเป็นเรื่องเสียเวลาสำหรับคนอยากเรียนรู้ความจริงจากความหายนะ เนื่องจากสมองไม่สามารถจินตนาการ
ความหายนะของจริงได้ว่าเป็นอย่างไร การเลือกข้างแล้วทำตัวให้สุกงอมในสถานการณ์ที่มันยังไม่มีอะไรบ่ง
ชี้เลยเข้าทางกลุ่มที่อ้างเหตุผลเพื่อจะมายึดอำนาจโดยไม่ต้องฟังเสียงว่าข้างไหนเป็นความต้องการของประ
ชาชนจริงมากกว่า หรือว่าข้างไหนเสียงมากกว่า อ้างความชอบธรรมด้วยกำลังทหารแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีเหตุ
ผลเป็นชิ้นเป็นอันอะไรสนับสนุนนอกจากจินตนาการถึงความรุนแรงในเหตุการณ์ที่ว่าจะเกิดแต่ไม่เคยเกิด ปิด
ปากฝั่งตรงข้ามทั้งด้วยการขู่กำลังอาวุธกฎหมายรวมทั้งจ้างทีมให้กำจัดอีกฝ่ายโดยไม่สนคำว่า "จริยธรรม"

ความหายนะมันเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติในโลกทุนนิยมปัจจุบันอยู่แล้ว เพียงแค่บริหารประเทศโง่กว่าชาวบ้าน
เท่านั้น แม้แต่นิดเดียวก็ได้ที่โหล่ในอาเซียนภายในหกเดือน สิ่งที่จะเป็นบทเรียนให้รู้ว่าไอ้ที่เสียเวลาเลือกข้าง
มันไร้สาระก็คือความล่มจมของเศรษฐกิจที่ยากจะแก้ไขในเวลาอันสั้น แปลว่าต้องมีปัญหาเรื่องปากท้องของ
ประชาชนในประเทศอย่างแรง ตอนนั้นเสียงส่วนใหญ่ของจริงคงออกมารักษาสิทธิและสามารถที่จะจูงใจคน
กลุ่มนี้ได้ไม่ยากถ้าพูดถึงอดีตอันใกล้ที่เจริญรุ่งเรืองเทียบกับปัจจุบันที่ขัดสนราวฟ้ากะเหว เมื่อถึงเวลานั้นผู้มี
อำนาจปัจจุบันยังดื้นรั้นงกอำนาจกลัวต้องลี้ภัยและตัดสินใจใช้กำลังทหารให้เด็ดขาดไปกว่าเดิมเพื่อเทียบชั้น
พม่า ความหายนะคงจะบานเบิกขึ้นไปอีกเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศที่ไม่น่าจำอีกครั้ง

บทเรียนคงมีแค่ว่าจะเลือกข้างก็อย่าเว่อร์มาก รอไปเลือกตั้งและยอมรับผลมัน ถ้าปากท้องประชาชนไม่หิวแล้ว
เวลาจะเป็นตัวกำจัดการโกงของผู้บริหารประเทศได้เอง ควรตั้งสมมติฐานไว้ว่าประชาชนในประเทศไม่ได้โง่ถึง
ขนาดไม่อยากให้ตัวเองเจริญต้องขอเค้ากินไปตลอดชีวิต และที่สำคัญที่สุดทหารเป็นพวกที่ไว้ใจไม่ได้มากที่
สุดสำหรับการบริหารประเทศ เพราะไม่ใช่หน้าที่ ไม่มีคุณสมบัติ ที่สำคัญวุฒิภาวะและวิสัยทัศน์ต่ำมากจนไม่น่า
เชื่อ แสดงความเป็นศาลเตี้ยตัดสินผู้คนตามอารมณ์ย้อนยุค อีกทั้งยังแสดงความโง่ทับซ้อนในการจ้างคนใกล้ชิด
บันทึกการเข้า
katindork
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 369


« ตอบ #3 เมื่อ: 10-04-2007, 19:46 »

ตกลง ชอบแถไม่เลือกข้างละซี   
เวอร์หรือ


เราว่าโกหกเวอร์นะซี
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #4 เมื่อ: 14-04-2007, 16:51 »

วิบากรัฐธรรมนูญ 50

คอลัมน์ เดินหน้าชน
โดย จุฬาลักษณ์ ภู่เกิด


ไม่ว่าจะมีพิมพ์เขียว "ของแท้" ซุกซ่อนเนื้อหาไว้อย่างไร แต่พิมพ์เขียวแรกของ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านการทำคลอดโดย 35 ส.ส.ร.นำ ทีมโดย น.ต.ประสงค์
สุ่นศิริ ก็เสร็จสิ้นตามกรอบเวลาคือ 11 เมษายน

จากนี้ก็จะมีขั้นตอนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อหวังให้เป็นที่รับรู้ของประชาชนให้มาก
ที่สุด ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้มากมายก่อนนำไปสู่การเปิดให้ประชาชนลงประชามติ
ว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้

หากวัดจากสถานการณ์ ณ ขณะนี้ ยังถือว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่รัฐธรรมนูญฉบับ
คมช. จะแท้งก่อนเกิด แล้วเปิดทางให้ คมช. นำฉบับใดฉบับหนึ่งที่เหมาะสมมา
ปัดฝุ่นแล้วประกาศใช้ได้เลยทันที

ซึ่งแม้จะมีคำมั่นสัญญาจากบิ๊กๆ ใน คมช. ว่าจะยึดเอารัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เพิ่งฉีก
ไปหยกๆ มาเป็นตัวตั้ง

แต่ดูเหมือนไม่มีใครเชื่อใครโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
และ คมช. ลดต่ำลงทุกวัน

ขณะเดียวกันผู้คนรู้สึกว่าการปฏิวัติซ้ำปฏิวัติซ้อนมีสิทธิจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จน
ไม่อยากจะฝากความหวังหรือใส่ใจว่าชะตากรรมของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จะ
เป็นเช่นไร

ที่สำคัญกระบวนการจัดร่างตั้งแต่ต้นจนใกล้จบ ถึงจะทำทีเหมือนต้องการให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงข้อเสนอแนะจากเวทีรับฟังความเห็นจาก
ทั่วประเทศแทบจะไม่มีโอกาสสอดแทรกเข้าไปอยู่ในเนื้อหา รัฐธรรมนูญฉบับนี้เลย
กลายเป็นสิ่งแปลกแยกสำหรับประชาชน

ยิ่งในท้ายที่สุดเนื้อหาประหลาดๆ กลับโผล่ออกมาโดยไม่ได้เริ่มต้นจากแนวคิดที่คำนึง
ถึงอำนาจอธิปไตยของประชาชนเลยแม้แต่น้อย หากแต่วาบขึ้นมาจากฝันบรรเจิดของ
นักวิชาการนักกฎหมายส่วนหนึ่ง ผสมผสานกับความหวาดระแวงในภาพเงา "อำนาจเก่า"
อีกส่วนหนึ่ง ทำให้เป็นรัฐธรรมนูญที่เต็มไปด้วยกติกาอันพิสดาร เมื่อเทียบกับฉบับ
"ประชาชน" ที่เพิ่งถูกฉีก

โดยที่พิสดารที่สุดเห็นจะเป็นมาตรา 67 ที่กำหนดให้มี "องค์กรแก้ไขปัญหายาม
ประเทศเกิดวิกฤต"
โดยยกอำนาจในการบริหารจัดการทั้งหมดให้กับประมุข 8 องค์กร
ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

เป็นการให้น้ำหนักกับ "ภาวะวิกฤต" อย่างผิดปกติ ซึ่งมองได้อีกแง่ว่าคงหวาดผวากับ
ภาวะที่ดำรงอยู่ในสังคมเวลานี้ที่ถือว่าเป็น "วิกฤตที่สุด" ครั้งหนึ่งของประเทศ

แต่ขณะเดียวกัน กลับมองข้ามกระบวนการทางการเมืองปกติที่เห็นหลักสากลทั่วโลก
ราวกับว่าประเทศไทยยังจะต้องเผชิญกับวังวนแห่งวิกฤตเช่นนี้ไม่จบสิ้น จนต้องมี
กระบวนการพิเศษนี้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ทั้งที่วิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นเวลานี้ เกิดจากบุคคลเพียงไม่กี่คนที่สำคัญตนว่า
เป็นผู้กุมชะตาชีวิตประเทศ โดยไม่เคยมองประชาชนอีกกว่า 60 ล้านคน อยู่ในสายตา

ขั้นตอนแก้วิกฤตประเทศที่ออกมาจึงยังรวมศูนย์อำนาจจัดการไว้ในมือบุคคลแค่ 8 คน

เป็นการกำหนดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่รู้ว่าใครจะมาเป็นผู้ชี้ขาดว่าอะไรคือ "ภาวะวิกฤต
ของประเทศ"
เมื่อไหร่ที่ทั้ง 8 อรหันต์นี้จะเข้ามาดูแลจัดการ และจะรับผิดชอบผลที่
ตามมาของตนอย่างไร

ที่สำคัญหากเป็นสถานการณ์ที่เข้าขั้นวิกฤตจริงๆ แน่ใจหรือว่าคนแค่ 8 คนนี้จะฝ่าข้าม
ไปได้โดยไม่ทำให้ประเทศเสียหาย หรืออำนาจอธิปไตยของประชาชนไม่ถูกทำลาย
มากไปกว่านี้

แปลกที่ว่าทำไมเราจึงไม่คิดกำหนดสาระแห่งรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักธรรมดา
เช่นสากลประเทศอื่นๆ และเคารพความรู้สึกนึกคิด รวมทั้งสิทธิของประชาชนเจ้าของ
ประเทศมากกว่าที่จะรับเหมาทำแทนเช่นนี้

ถ้าเริ่มจากกรอบคิดเช่นนี้แล้ว เมื่อไหร่ประชาชนคนสามัญธรรมดาจะได้เรียนรู้และมี
ประสบการณ์อันเข้มแข็งในการบริหารจัดการแก้ปัญหาของตนเอง โดยไม่ต้องเป็น
หนี้บุญคุณ "วีรบุรุษ" ทั้งหลายไม่จบสิ้น

ดังนั้น ไม่ว่าสาระในมาตราอื่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะดูเปิดกว้างแค่ไหน ก็ดูจะขัดแย้ง
กับบทบัญญัติในมาตรานี้

ซึ่งถ้าจะว่าไป การเปิดกว้างที่ว่าก็ไม่ได้ดีวิเศษไปกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 แถมบาง
ประเด็นสำคัญ เช่น ที่มาของนายกฯที่เดิมมีการจุดประเด็นให้มาจากคนนอก ก็จำยอม
ต้องให้เป็นมาจาก ส.ส.เช่นเดิมตามแรงกดดันของสังคม แต่ก็ยังดันทุรังให้ ส.ว.มาจาก
การลากตั้งจนได้เพราะกลัวสมาชิกสภาสูงอันทรงเกียรติจะต้องกลายเป็น "นักเลือกตั้ง"
เหมือน ส.ส. ที่ถูกรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดกรอบไว้เข้มข้นเชิงหมิ่นแคลนและหวาด
ระแวง มากกว่าที่จะมองว่านี่คือตัวแทนของประชาชน


ถึงจะมีโอกาสรอดไปถึงวันลงประชามติ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ดูท่าจะไปไม่ถึงฝั่ง

และประชาชนคงไม่ได้มีแค่ 2 ทางให้เลือก

มติชน วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10626

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03140450&day=2007/04/14&sectionid=0130

ไม่เอา รัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. ร่าง
และ
ไม่เอา รัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. เลือก (ถ้าอันที่ร่างใหม่ไม่ผ่าน)
แล้วจะเอาอะไร?

เขากำหนดมาให้แค่ 2 ทางให้เลือก
มีทางที่ 3, 4 หรือ 5 ฯลฯ หรือเปล่า?
เจ้าของบทความที่คิดว่า น่าจะมี
ไม่ได้บอกซะด้วยว่าคืออะไร?


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-04-2007, 17:02 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #5 เมื่อ: 14-04-2007, 17:02 »

ปัญหาของบ้านเราตอนนี้คือ สื่อมวลชน

สื่อหลายครั้งเสนอข่าวไม่รับผิดชอบ..นำข่าวลือมาตั้งคำถาม..และใช้กระแสสังคมเป็นตัวกำหนดการนำเสนอโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง

อีกปัญหาคือคนที่พยายามกลับมามีอำนาจ (ทั้งฝ่ายทหาร และ ฝ่ายนายทุน)

dilemma ไม่น่าจะใช่ เพราะอย่างน้อยทางเลือกที่ถูกต้องก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่มีใครสนใจเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
aoporadio
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 404


« ตอบ #6 เมื่อ: 14-04-2007, 17:12 »

มีทางเลือก มากกว่า ไม่เอาข้างนี้ กะรูก็ต้องโยนตัวไปอยู่ข้างนู้นแน่นอน

เพราะข้าพเจ้าชอบอยู่ข้างบน(ว่ะ)ค่ะ

ไดเลมม่า เกิดขึ้นพราะ เรา ไปเพ่ง ปัญหา เกินไป  ห่วงหน้าพะวงหลังไรเงี้ยะ 

ไม่เห็นทางรอดดอก
ผ่อนออกมาดูข้างนอกเรื่องเสียบ้าง พี่น้อง

บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #7 เมื่อ: 14-04-2007, 17:22 »

นอกจากการตัดสินใจเข้าไปร่วมวงไพบูลย์กับข้างใดข้างหนึ่งแล้ว บรรดา "ปัญญาชน
ผู้เห็นแก่บ้านเมือง" เหล่านี้ยังพยายามโน้มน้าวให้ผู้อื่นเข้าไปร่วมกับตนด้วย การโน้ม-
น้าวด้วยตรรกะข้างต้นถูกขยายไปสู่ระดับที่ว่า "ถ้าคุณไม่เข้ามาร่วมขบวนของสนธิก็
หมายความว่าคุณเป็นพวกหรือเป็นแนวร่วมของทักษิณ"

หรือ "ถ้าคุณคัดค้านทักษิณ คุณก็คือพวกสนธิ-จำลอง" (หรือเป็นพวกนิยมอำนาจเก่า
ทาสศักดินา นิยมมาตรา 7 นิยมรัฐประหาร ฯลฯ)

ด้วยตรรกะทำนองนี้ หลายคนที่เคยออกมาคัดค้านมาตรการอาชญากรรมของรัฐใน
กรณีฆ่าตัดตอนและอุ้มฆ่าภาคใต้อย่างรุนแรงตั้งแต่ยังไม่มี "ขบวนการสนธิ" ก็ถูกคน
กลุ่มหนึ่งเหมารวมเข้าเป็น "สมุนทักษิณ" เมื่อพวกเขาแสดงความเห็นว่าข้อเรียกร้อง
หลายประการของ "ขบวนการสนธิและพันธมิตร" เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

และในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ถูกคนอีกกลุ่ม (ซึ่งเห็นว่าทักษิณเป็นทางเลือกที่
"ก้าวหน้ากว่า") มองว่าการคัดค้านทักษิณของคนกลุ่มนี้เป็นเพียงการ "ค้านแก้เก้อ"
ที่โดยพฤตินัยแล้วเป็นการสร้างความเข้มแข็งพฤติกรรมที่สนับสนุนขั้วอำนาจเก่า ทั้งๆ
ที่กลุ่มผู้ที่ถูกกล่าวถึงก็คัดค้านการขอรัฐบาลพระราชทานและคัดค้านรัฐประหารมาโดย
ตลอดด้วยเช่นกัน

และตลกร้ายที่บางท่านในกลุ่มนี้เจออีกก็คือ เมื่อบางท่านออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย
กับรัฐประหาร โดยเน้นถึงความสำคัญของหลักการประชาธิปไตย ก็ได้รับคำวิจารณ์กลับ
มาว่าพวกเขาเป็นพวก "fundamentalist ที่หลับหูหลับตายึดหลักการอย่างสุดโต่ง" และ
บอกว่าข้อดีของสังคมไทยคือ "ความไม่สุดโต่ง" และความเป็น "pragmatism" ไปเสียอีก


ในชีวิตจริงของคนเรานั้น อาจมีหลายโอกาสที่เราต้องตัดสินใจ "เลือกข้าง" เมื่อเดินมา
ถึงทางสองแพร่งที่ชัดเจน (เช่น ระหว่าง "ความถูกกับความผิด" หรือระหว่าง "ความดี
กับความชั่ว") ซึ่งสำหรับหลายคนแล้ว การใช้จริยธรรมสำนึกของตนนำทางจะช่วยให้
ตนสามารถเลือกข้างและออกจากสถานการณ์ที่เป็นทางสองแพร่งแบบนั้นได้โดยไม่
ยากนัก (ถึงแม้ว่าบางครั้งการเลือกทางที่ถูกอาจทำให้ชีวิตลำบากกว่าก็ตาม)

แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาเป็นข้อบ่งชี้ว่าในชีวิตจริงนั้น มีโอกาสเช่นกัน
ที่เราอาจจะหลงผิด (หรือถูกโน้มน้าวให้เชื่อ) ว่าเรามีความจำเป็นต้อง "เลือกข้าง"
ถึงแม้ว่าในทั้งสองข้างที่มีให้เลือกตั้ง ล้วนแล้วแต่เป็น "สีเทา" ที่จริยธรรมสำนึกของ
เราจะปฏิเสธไม่เลือกในยามปกติ

ซึ่งชวนให้ตั้งคำถามต่อไปอีกข้อหนึ่งว่า แล้วทำไมหลายคนกลับรู้สึกว่าจำเป็นต้องเลือก
ในสภาวการณ์ที่มีตัวเลือกที่เป็น "สีเทา" เพิ่มขึ้นเป็นสองตัวเล่า?

ข้ออ้างประการหนึ่งถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกข้าง "สีเทา" ข้างใดข้างหนึ่งก็คือ ถึงแม้
ในความเป็นจริงอาจมีทางเลือกมากกว่าสองทาง (ตัวอย่างของทางเลือกที่สามที่ผ่าน
มาก็มีกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านทั้งทักษิณและการขอรัฐบาลพระราชทาน และต่อมาก็
คัดค้านรัฐประหารด้วย)

แต่ในสมการการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจนั้น มีเพียงสองขั้วใหญ่เท่านั้นที่มีพลังพอที่จะสู้รบ
ปรบมือกันได้ ดังนั้น ถ้าคุณ "ไร้เดียงสา" ไปเลือกทางที่สามหรือที่สี่ที่ห้า เสียง (หรือ
"พลัง") ของคุณก็จะไม่มีความหมาย



ไม่ใช่คุณสนธิและแกนนำ"พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" จะให้"เลือกข้าง"
ทักษิณ แกนนำพรรคฯ และคนรักทักษิณ ก็เรียกร้องให้คนที่ยังไม่เลือกข้าง รีบตัดสินใจ......


คนรักทักษิณสร้างความสับสนให้คนที่ต่อต้านการ'ฆ่าตัดตอน' หรือ ต่อต้านทักษิณเรื่องอื่น ๆ
ให้เลือกเอาว่าจะเข้ากับคุณสนธิและกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ หรือไม่......

ด้วยกลยุทธ์แบบนี้ทำให้คนต่อต้านทักษิณด้วยเหตุอื่น ๆ จำนวนหนึ่ง"ชะงัก" ไม่กล้าเข้าร่วมกับคุณสนธิและ"พันธมิตรประชาธิปไตยฯ" ทั้งที่พวกเขาต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจเป็นธรรม และคนไร้คุณธรรม ด้วย เพราะคิดว่าพวกเขาไม่ได้สนับสนุนคุณสนธิ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ....


กลยุทธ์นี้ใช้ไม่ได้ผลกับคณาจารย์ นักวิชาการ และผู้นำทางความคิดฯ ที่ไม่เข้าร่วมกับคุณสนธิและกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ  แต่เคลื่อนไหวต่อต้าน และขับไล่ทักษิณ แยกต่างหากไป ไม่คัดค้าน ไม่ต่อต้านคุณสนธิ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ ด้วยหลักการ "แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง"......


ถ้ามีความคิดต่อต้าน ขับไล่ทักษิณ ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าร่วมกลุ่ม ลงบัญชีรายชื่อกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯเลย.......

ดังนั้น อย่าสับสน หรือ สร้างความสับสนให้คนอื่น ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-04-2007, 17:25 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #8 เมื่อ: 14-04-2007, 17:28 »

วิบากรัฐธรรมนูญ 50

คอลัมน์ เดินหน้าชน
โดย จุฬาลักษณ์ ภู่เกิด


ไม่ว่าจะมีพิมพ์เขียว "ของแท้" ซุกซ่อนเนื้อหาไว้อย่างไร แต่พิมพ์เขียวแรกของ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านการทำคลอดโดย 35 ส.ส.ร. นำทีมโดย น.ต.ประสงค์
สุ่นศิริ ก็เสร็จสิ้นตามกรอบเวลาคือ 11 เมษายน ...

มติชน วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10626


http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03140450&day=2007/04/14&sectionid=0130

ที่ถูกควรเป็น 35 กมธ. นะคะ
เนื่องจากในจำนวนนี้มี 10 ท่าน ที่ คมช. แต่งตั้ง จาก “คนนอก” ที่ไม่ได้เป็น สสร.

ป.ล. 1 ไม่ทราบว่าที่ติดคุกไป 1 ท่าน* มีการตั้งใครมาแทนหรือยัง?
          ถ้ายัง ก็จะแค่ 34 กมธ.
          ใครที่ติดตาม/ทราบ ช่วยบอกด้วย

ป.ล. 2 เขียนเรื่อง * นี้ทีไร กระทู้หายทุกที ไม่รู้มีอาถรรพ์อะไร
           มี mod ท่านไหนเป็นญาติ อ.ธนบูลย์?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
หน้าเหลี่ยมด้าน ณ ประชาไท
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 219


กูขอสู้พวกมึง ถึงเวลา กูจะออกไป แน่นอนขอให้เรียก


« ตอบ #9 เมื่อ: 14-04-2007, 17:54 »



ถ้าประเทศไหนไม่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐ   ประเทศนั้นแสดงว่าเข้าข้างพวกก่อการร้าย
บันทึกการเข้า

ผมไม่ใช่แฟน ประชาธิปัตย์ 
ไม่ใช่แฟน พลังประชาชน

แต่


สนับสนุน การกวาดล้างไอ้พวก นักการเมือง ชั่วๆ แบบเดิม

ไอ้เสนาะ ไอ้เตี้ยหมาตื่น ไอ้หนั่น ไอ้พวก***นี้ไม่ต้องไปเรียก ป๋านำหน้าหรอก



ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #10 เมื่อ: 15-04-2007, 00:20 »

เท่าที่สังเกตจากผลการเลือกตั้ง และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันทั่วไป

เห็นได้ชัดว่า คนไทยส่วนใหญ่เลือกข้างชัดเจนแล้ว เลือกมานานแล้ว

นั่นคือ  เลือกอยู่ข้างที่ทำให้ตัวเองได้ผลประโยชน์สูงสุด

ให้เลือกความเป็นระเบียบ กับความสะดวกสบาย  กูเลือกความง่ายสบายทำตามใจ

ผู้นำมีทั้งความดีความชั่วในตัว 
แต่เวลาเลือกตั้ง กูเลือกคนที่ให้ผลประโยชน์กับกูมากที่สุด  ส่วนข้อเลวของมัน กูไม่รู้ไม่เห็นทั้งสิ้น

คำว่าประชาธิปไตยของคนไทย คือการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

ถ้านักการเมือง ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นคนไหน มีกลิ่นไม่ดีว่าจะโกง กิน เอารัดเอาเปรียบ
ถามว่า  พลังเสียงของคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้  ทำอะไรเพื่อกำจัดคนชั่วบ้าง????  แสดงพลังอะไรเป็นบ้าง
หรือดีแต่รอคอยให้ขั้วอำนาจตรงข้ามจัดการกับคู่ต่อสู้ไปเอง  ประชาชนกูนั่งดูละครดีกว่า

ไม่ใช่แค่กลุ่มอำนาจหรอก ที่แหกหลักการประชาธิปไตย  ประชาชนนั่นแหละ ยังไม่รู้จักปกป้องผลประโยชน์ของชาติเลยด้วยซ้ำ

พลังประชาชน  ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ก็อีตอนเลือกคนที่ให้ผลประโยชน์กับตนที่สุด  เท่านั้นเองประชาธิปไตย


ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่า ธรรมชาติของสังคมไทย จะนำไปสู่สภาวะการผูกขาดอำนาจของนักการเมืองอย่างง่ายดาย
ขอเพียงแค่มีภาพลักษณ์ให้ผลประโยชน์แก่ประชาชน  คนๆนั้นจะผูกขาดอำนาจไปได้ตลอดกาล

รัฐธรรมนูญ ต้องกำจัดจุดนี้แหละครับดีที่สุด  แล้วประเทศก็จะค่อยๆก้าวไป
อาจจะไม่รวดเร็วนัก แต่ก็ยังดีกว่าให้มีการผูกขาดอำนาจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-04-2007, 00:44 โดย ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว » บันทึกการเข้า
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 15-04-2007, 02:41 »

เท่าที่สังเกตจากผลการเลือกตั้ง และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันทั่วไป

เห็นได้ชัดว่า คนไทยส่วนใหญ่เลือกข้างชัดเจนแล้ว เลือกมานานแล้ว

นั่นคือ  เลือกอยู่ข้างที่ทำให้ตัวเองได้ผลประโยชน์สูงสุด

ให้เลือกความเป็นระเบียบ กับความสะดวกสบาย  กูเลือกความง่ายสบายทำตามใจ

ผู้นำมีทั้งความดีความชั่วในตัว 
แต่เวลาเลือกตั้ง กูเลือกคนที่ให้ผลประโยชน์กับกูมากที่สุด  ส่วนข้อเลวของมัน กูไม่รู้ไม่เห็นทั้งสิ้น

คำว่าประชาธิปไตยของคนไทย คือการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

ถ้านักการเมือง ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นคนไหน มีกลิ่นไม่ดีว่าจะโกง กิน เอารัดเอาเปรียบ
ถามว่า  พลังเสียงของคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้  ทำอะไรเพื่อกำจัดคนชั่วบ้าง????  แสดงพลังอะไรเป็นบ้าง
หรือดีแต่รอคอยให้ขั้วอำนาจตรงข้ามจัดการกับคู่ต่อสู้ไปเอง  ประชาชนกูนั่งดูละครดีกว่า

ไม่ใช่แค่กลุ่มอำนาจหรอก ที่แหกหลักการประชาธิปไตย  ประชาชนนั่นแหละ ยังไม่รู้จักปกป้องผลประโยชน์ของชาติเลยด้วยซ้ำ

พลังประชาชน  ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ก็อีตอนเลือกคนที่ให้ผลประโยชน์กับตนที่สุด  เท่านั้นเองประชาธิปไตย


ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่า ธรรมชาติของสังคมไทย จะนำไปสู่สภาวะการผูกขาดอำนาจของนักการเมืองอย่างง่ายดาย
ขอเพียงแค่มีภาพลักษณ์ให้ผลประโยชน์แก่ประชาชน  คนๆนั้นจะผูกขาดอำนาจไปได้ตลอดกาล

รัฐธรรมนูญ ต้องกำจัดจุดนี้แหละครับดีที่สุด  แล้วประเทศก็จะค่อยๆก้าวไป
อาจจะไม่รวดเร็วนัก แต่ก็ยังดีกว่าให้มีการผูกขาดอำนาจ


เห็นด้วยกับคุณนะ  นิสัยของคนไทย  เอาสบายไว้ก่อน

ใครจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ถ้าเรื่องเดือดร้อนไม่มาถึงตัว ก็มักจะบอกว่า ช่างมันเถอะ

เรื่องใครผิดใครถูกไม่รู้ แต่ถ้าใครทำให้ตัวเองเดือดร้อน คนนั้นละผิด


นิสัยแบบนี้เป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับระบบประชาธิปไตยแบบพวกตะวันตก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะนิสัยแล้ว มันยากจริงๆที่ เราจะทำแบบเค้าได้ ถ้ายังเป็นกันอยู่แบบนี้

ยิ่งมาบวกกับพวกคลั่งสิทธิเสรีภาพแล้วยิ่งไปกันใหญ่  ทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด คิดว่าเสรีภาพคือทำอะไรก็ได้ตามใจ จนบ้านเมืองมันวุ่นวาย หาหลักยึดไม่ถูก ตกเป็นเครื่องมือของพวกบ้าอำนาจที่แท้จริงทั้งหลาย  แต่พวกนี้ไม่รู้ว่ามันจะรู้ตัวกันหรือเปล่า 

หลักการแต่ละอย่างมันก็มีเงื่่อนไขของมันอยู่  ว่าทำอย่างนี้แล้วถึงจะได้อย่างนั้น  ไม่ใช่ว่านึกอยากจะทำอะไรก็ทำ อยากจะได้อย่างโน้นแต่ไม่ทำตามเงื่อนไข พอไม่ได้มาก็ออกมาโวยวาย ว่าคนโน้นทีคนนี้ทีทำผิดหลักการผิดทฤษฏี  ทั้งๆที่สาเหตุมันมีหลายอย่าง แต่ไม่ยอมพูดถึง  พูดแต่เรื่องที่ทำให้ตัวเองดูดี  ทำให้คนอื่นดูผิด     

ใครจะเลือกข้างใหน ความจริงมันก็ไม่ใช่ปัญหาอยู่แล้ว เพราะถ้าคนรู้ระบอบประชาธิปไตยดี เค้าไม่มาพูดเรื่องแบบนี้กันหรอก  แต่เค้าจะพยายามอธิบายเหตุผลว่าทำไมเค้าจึงคิดแบบนี้ มีข้อมูลอะไร  จึงได้เลือกทำแบบนี้  ไม่ใช่ว่าเอาแต่ดิสเครดิตกัน  มานั่งวิเคราะห์คนอื่นว่าที่เค้าคิดแบบนั้นแบบนี้ จัดอยู่ในคนกลุ่มไหน หรือเป็นพวกอะไร


แต่บทความ จขกท. ยังอ่านไม่จบหรอก แต่อ่านจากความเห็นก็พอจะสรุปได้ละ  บทความบางทีเนื้อหามันก็ไม่มีอะไรมาก แต่คนเขียนมันก็พยายามชักแม่น้ำทั้งโลกมารวมๆกัน กลายเป็นมีแต่น้ำ หลักใหญ่ใจมันก็เดิมๆ  เวลายิ่งมีน้อย บางทีการจะสื่อสารให้คนอื่นรู้เรื่องอะไร มัวแต่ยื่นเย้อมากเกินไป  ก็อาจเกิดความเบื่อหน่ายได้  เอาไว้ถ้ามีเวลาจะพยายามมานั่งอ่านให้ครบทุกตัว   
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
opensky
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 76


« ตอบ #12 เมื่อ: 15-04-2007, 20:00 »

ปัญญาชนในเมืองไทยงมงายอยู่กับความคิดที่ว่า
๑. ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เลวร้ายน้อยที่สุด
๒. เผด็จการเป็นระบอบการปกครองที่เลวร้ายมากที่สุด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: