http://www.dontrithai.com เพลงต่างๆที่นำมาลงใน Homepage นี้ จัดทำขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่เพลงไทยเดิม จึงได้เลือกเพลงที่มักได้ยินบ่อยครั้ง และจะพยายามนำเพลงที่ หาฟังได้ยากมาลงให้ได้ Download ไปฟังกันในคราวต่อๆไป
ถ้าต้องการ Save ไฟล์ ให้ทำการคลิกเมาส์ขวาบนชื่อเพลง และเลือกเมนู Save Target As
ได้เลยนะครับ
เดี่ยวระนาดทุ้ม ของครูบุญยัง เกตุคง ศิลปินแห่งชาติ
พม่ากลองยาว สารถี
จีนขิมใหญ่ ลาวแพน
เขมรกลาง นกขมิ้น
ญี่ปุ่นรำพึง พญาโศก
ฮะยูฮายะ
ระนาดไม้แข็ง
เพลงอัศวลีลา เพลงฝั่งโขง
เพลงจีนรัว เพลงพม่ารำขวาน
เพลงขับนกขับไม้ เพลงคางคกปากบ่อ
เพลงวรเชษฐ์
ปี่พาทย์ไม้นวม
เพลงวิลันดาโอด เพลงตับนก
เพลงมอญกละ เพลงแม่งู
มโหรี
เพลงนางนาค-มหาฤกษ์-มหาชัย เพลงตับนิทราชาคริต
เพลงตับวิวาห์พระสมุทร
เพลงลาวจ้อย
เป็นเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น สำเนียงลาว ใช้เป็นทำนองเพลงนำไปประกอบระบำไก่หมู่ ที่เรียกว่า ระบำไก่ ซึ่งมีบทร้องขึ้นว่า สร้องแสงแดงพระพาย
ขนเขียวลายระยับ ต่อมามีผู้เรียกชื่อเพลงว่า เพลงสร้อยแสงแดง หรือเพลงลาวเซิ้ง เหตุที่เรียกว่าเพลงลาวจ้อย ก็เนื่องจากสร้อยของทำนองเพลงสำเนียงลาวเพลงหนึ่ง ที่มีบทสร้อยว่า จ้อยแม่นา บางแห่งก็เรียกว่าเพลงต่อไก่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเรียกชื่อเพลงต่างๆกัน แต่ทำนองเพลง และบทร้องยังคงเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
เพลงลาวดวงเดือน
พระองค์ชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในกระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดา มรกฏ ประสูติเมื่อ
วันที่ 13 กันยายน 2425 ได้เสด็จ ไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับมาแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ และในปีวอก พ.ศ.2451พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้า
เพ็ญพัฒนพงศ์เป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมทรงสนพระทัยในดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ถึงกับมีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง ที่เรียกกันว่า "วงพระองค์เพ็ญ" และนอกจากนี้แล้วพระองค์ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ
พระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง "ลาวดวงเดือน" ในขณะออกตรวจราชการโดยใช้เกวียน โดยทรงตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "ลาวดำเนินเกวียน" เนื่องจากเพลงนี้มีเนื้อร้องและทำนองซาบซึ้งติดอกติดใจ และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เมื่อนำออกเผยแพร่ประกอบกับเนื้อเพลงมีคำว่า "ดวงเดือน" ตั้งแต่เริ่มและเน้นในส่วนสำคัญของคำว่า "ดวงเดือน" ตลอดจึงเรียกว่า "เพลงลาวดวงเดือน" โดยแท้จริงแล้วเพลงนี้ผู้ทรงนิพนธ์เพลง ตั้งชื่อว่า "เพลงลาวดำเนินเกวียน"
เนื้อร้องมีดังนี้
"โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือน เอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
จะหาใหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย เราละหนอ"
เพลงลาวคำหอม
เพลงลาวคำหอมเป็นเพลงที่แต่ขึ้นเพื่อร้องอวดกันในการเล่นสักวา โดยจะแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่มีเพลงใดเป็นสมุฏฐาน โดยเพลงเหล่านี้จะมีทำนองที่แต่ขึ้นอย่างไพเราะคมคาย เพลงลาวคำหอมเป็นเพลงที่จ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า "จ่าโคม" นักร้องและนักแต่งเพลงสักวามีชื่อผู้หนึ่งแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติทั้งบทร้องและทำนองเพลง เพลงลาวคำหอมนี้ แม้จะมีประโยคคล้ายและลีลาเป็นอัตรา 2 ชั้นก็จริง แต่ก็มีความยาวไล่เลี่ยกับเพลงอัตรา 3 ชั้นบางเพลง และมีทำนองไพเราะน่าฟังมากจนเป็นที่นิยมแพร่หลายเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรีโดยทั่วไป เมื่อทำนองเพลงลาวคำหอมได้รับความนิยมเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรี พระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึงแต่งทำนองดนตรีขึ้นสำหรับบรรเลงรับร้อง โดยถอดจากทำนองร้องของจ่าเผ่นผยองยิ่งอีกชั้นหนึ่ง และก็ได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการดนตรีทุกชนิดจนปัจจุบัน
เพลงบุหลันลอยเลื่อน
เพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงบุหลันเลื่อนลอยฟ้า เป็นเพลงที่มีความไพเราะซาบซึ้งเป็นเยี่ยมเพลงหนึ่ง
เพลงนี้เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงซอสามสายคู่พระหัตถ์ ที่ชื่อว่าซอสายฟ้าฟาด ก็เสด็จเข้าที่พระบรรทม ทรงพระสุบิน(ฝัน) ไปว่า พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งสวยงามมากไม่มีที่แห่งใดในโลกเสมอเหมือน ขณะนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นดวงจันทร์ค่อยๆลอยเคลื่อนเข้ามาใกล้พระองค์
ทีละน้อยๆและสายแสงสว่างไปทั่วบริเวณ ทันใดนั้นก็ปรากฏเป็นเสียงทิพยดนตรีแว่วกังวานหวานไพเราะเสนาะพระกรรณ์ พระองค์ประทับทอดพระเนตร และทรงสดับเสียงดนตรีนั้นด้วยความเพลิดเพลินพระราชหฤทัย จนดวงจันทร์ค่อยๆลอยเลื่อนเคลื่อนห่างออกไปในท้องฟ้า พร้อมกับสำเนียงเสียงทิพย์ดนตรีนั้นค่อยจางลงๆ จน
หมดเสียงพลันก็เสด็จตื่นบรรทม แม้เสด็จตื่นแล้ว สำเนียงเสียงดนตรีในพระสุบินยังคงแว่วกังวานในพระโสต
อยู่จึงโปรดให้ เจ้าพนักงานดนตรีเข้ามาต่อเพลงนั้นไว้
เพลงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้พระราชทานชื่อว่า "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือเพลง
"บุหลันลอยฟ้า"หรือบางทีก็เรียกว่า "เพลงพระสุบิน"
เพลงลาวครวญ
เพลงนี้เป็นเพลง 2 ชั้น มักใช้ขับร้องเป็นเพลงตับในเรื่องพระลอ หรือเพลงตับลาวต่างๆ นายถีร ปี่เพราะ
ได้แต่งขึ้นเป็น 3 ชั้นและตัดลงเป็นชั้นเดียว ให้รวมเป็นเพลงเถา เมื่อราว พ.ศ. 2490พร้อมกับคิดทำนอง ร้องประกอบความหมายของทำนองเพลง หมายถึงการรำพึงถึงความหลังด้วยความโศกเศร้า
เพลงพระเจ้าลอยถาด
เพลงพระเจ้าลอยถาดเป็นเพลงหน้าพาทย์พิเศษเพลงหนึ่ง เป็นเพลงเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โอกาสที่จะใช้เพลงนี้ คือ
สำหรับเมื่อเวลาพระสงฆ์ฉันภัตตาหารและอนุโมทนาแล้ว
นับเป็นเพลงที่เหมาะสมกับโอกาสเป็นอย่างยิ่งทำนองเพลงและไม้กลอง ฟังเป็นเสียงกระเพื่อมของผิวน้ำ ทำให้ผู้ที่ได้รับฟัง และสาธุชนทั่วไปหวลรำลึกถึงเมื่อครั้งสมเด็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดานำมาถวายในวันแรกที่ตรัสรู้
เสร็จแล้วทรงลอยถาดทองลงบนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชรา
เพลงนกขมิ้น
จัดเป็นเพลงหวานซาบซึ้งทั้งเนื้อร้อง และทำนอง มักใช้เป็นเพลงกล่อมบุตรหลาน
เพลงนี้ครูเพ็ง แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 จากทำนอง 2 ชั้นของเก่าที่ปรากฏอยู่ในเพลงเรื่อง "แม่ม่ายคร่ำครวญ"
ต่อมา อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้ปรับปรุงแก้ไขแต่งบทและทำนองร้อง 2 ชั้น และชั้นเดียวขึ้น ในปี พ.ศ. 2476 และเพิ่ม
ทำนองร้องและว่าดอก ตามแนวทางของครูเพ็ง
เนื้อร้องของเก่าดังนี้
เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วเจ้าจะนอนที่รังใหน
นอนใหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ที่เคยนอน
สมพัดมาอ่อนอ่อน เจ้าก็ร่อนไปตามลมเอย
ดอกเอ๋ย ดอกขจร
นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนที่ใหนเอย
เพลงหน้าทับ
หมายถึงลีลาของเครื่องหนังที่ใช้ตีกำกับจังหวะในวงดนตรีไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. หน้าทับปรบไก่
2. หน้าทับสองไม้
3. หน้าทับพิเศษ
เครื่องหนัง ก็คือเครื่องตีกำกับจังหวะที่ขึงด้วยหนังซึ่งจะขึงหน้าเดียวหรือสองหน้าก็ได้ เช่น ตะโพน,
กลองทัด,กลองแขกกลองสองหน้า,โทน - รำมะนา เป็นต้น ส่วนเครื่องที่บรรเลงทำนองดนตรี แม้ว่าบางชนิดจะขึงด้วยหนัง เช่น ซอสามสาย,ซออู้,ซอด้วงเราก็ไม่เรียกว่าเครื่องหนัง
เพลงบังใบ เดี่ยวซอสามสาย: บรรเลงโดย ศิลปี ตราโมท ควบคุม: สมาน กาญจนะผลิน
เพลงบังใบในอัตรา 2 ชั้น แต่เดิมมาใช้ขับร้องในการประกอบการแสดงโขนและละครภายหลัง ได้มีผู้ประดิษฐ์แต่งทำนองขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น และตัดแต่งลงเป็นชั้นเดียว หลายทางด้วยกัน
เพลงคลี่นกระทบฝั่ง
เพลงคลื่นกระทบฝั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็น 3 ชั้น จากเพลงคลื่นกระทบฝั่งของเดิม ซึ่งเป็น 2 ชั้น ใช้เป็นเพลงโหมโรงประเภทเสภา ให้ชื่อว่าแสนคำนึง ตามความรู้สึกของเพลงที่มีความหมายไปในทางเศร้าสร้อยครุ่นคิดคำนึงและคร่ำครวญถึงความยากลำบาก
เพลงลาวดำเนินทราย
เพลงลาวดำเนินทราย 2 ชั้น เป็นเพลงของจ่าเผ่นผยองยิ่ง(โคม) ได้คิดขึ้นโดยเฉพาะแต่ทางร้อง ซึ่งเรียกกันว่า
หางสักว่า ต่อมา พระยาประสาน ดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์) ได้คิดทางดนตรีขึ้นไว้สำหรับขับร้องในวงเครื่องสายปี่ชวา ทำนองของเพลงแสดงความหมายเป็นเชิงลาจากกันไปตามกำหนดเวลา
เพลงพม่าแปลง
เป็นเพลง 2 ชั้น เดิมเป็นของหม่อมต่วน วรวรรณ เป็นผู้คิดตัดทำนองขึ้นจากเพลงมอญแปลง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและโดยที่ท่านทำให้มีสำเนียงเป็นพม่า จึงให้ชื่อเสียใหม่ว่า
เพลง "มะตะแบ" ภายหลังมีผู้เรียกว่า "พม่าแปลง" และเรียกกันสืบมา ต่อมาได้มีผู้แต่งขึ้นเป็น 3 ชั้นและตัดลงเป็นชั้นเดียว
เมื่อรวมกับ 2 ชั้นของเดิมก็ครบเป็นเพลงเถา
เพลงลาวเสี่ยงเทียน
เมื่อราว พ.ศ. 2476 หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำทำนองเพลงลาวเสี่ยงเทียนของเก่าซึ่งเป็นอัตรา 2 ชั้น และมี 2 ท่อนนั้นมาแต่งขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้นทั้งทำนองร้องและทำนองดนตรีโดยประดิษฐ์ ทำนองให้มีสำเนียงเป็นภาคเหนือตามสำเนียงเดิม โดยตั้งใจบรรเลงเป็น 3 ชั้นเท่านั้น จึงได้แต่งทำนองเที่ยวกลับ
ให้ผิดจากเที่ยวแรก เรียกกันว่า "ทางเปลี่ยน" เมื่อบรรเลงรวมกัน จึงเท่ากับ 4 ท่อน มาภายหลังประสงค์ที่จะร้องและ
บรรเลงเพลงลาวเสี่ยงเทียนให้เป็นเพลงเถาโดยเพิ่มอัตรา 2 ชั้นและชั้นเดียวต่อไปอีก ครั้นจะตัดทำนอง 3ชั้นท่อนใด ท่อนหนึ่งออกก็ไม่เหมาะสม จึงให้คงไว้ทั้งหมดเมื่ออัตรา 3 ชั้น กลับต้นเป็น 2 เที่ยวเช่นนั้น อัตรา 2 ชั้นและชั้นเดียวก็ดำเนินไปในเกณฑ์เดียวกัน ทำนองในอัตรา 2 ชั้นจึงเป็นของเก่าเที่ยวเดียวแต่งขึ้นใหม่ เป็นทางเปลี่ยนอีกเที่ยวหนึ่งและชั้นเดียวแต่งขึ้นใหม่ทั้ง 2 เที่ยว
เพลงลาวกระทบไม้
เพลงลาวกระทบไม้เป็นเพลงที่สนุกสนาน มีขึ้นพร้อมๆกับการเล่นรำลาวกระทบไม้ ผู้แต่งบทร้องคือ
อาจารย์มนตรี ตราโมท โดยท่ารำในการละเล่นลาวกระทบไม้ กรมศิลปากรได้ปรับปรุงท่ารำให้รวดเร็ว แต่ยังรักษาความชดช้อยน่ารักไว้
เพลงนางครวญ เถา
สามชั้น
โอ้ว่าป่านฉะนี้พระพี่เจ้า จะโศกเศร้ารัญจวนหวนหา
ตั้งแต่ไปแก้สงสัยมา ไม่เห็นขนิษฐาในถ้ำทอง
สองชั้น
พระจะแสนโศกสร้อยละห้อยไห้ ร้อยราชหฤทัยหม่นหมอง
จะดั้นด้นค้นคว้าเที่ยวหาน้อง ทุกประเทศเถื่อนท้องพนาลี
ชั้นเดียว
อกเอ๋ยทำไฉนจะได้รู้ ว่าน้องอยู่ประมอต้นกรุงศรี
แม้นใครทูลแถลงแจ้งคดี เห็นทีจะรีบมาด้วยอาลัย
(อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2)
ประวัติ
เพลงนางครวญนี้เข้าใจว่ามีที่มาจากเพลง นางร่ำ 2 ชั้น ในเพลงตับนเรศวร์ ชนช้างตามตำรามโหรี ผู้แต่งคงจะเป็นคนเดียวกับผู้แต่งเพลงสุดสงวน เพื่อให้มีทำนองคู่กัน และแต่งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ลีลาของเพลงแสดงความหมายตามชื่อเพลง คือเป็นการคร่ำครวญ รำพึงรำพันความโศกเศร้าของผู้หญิงเมื่อ
พ.ศ. 2476 ครูมนตรี ตราโมท ได้ตัดแต่งจาก 3 ชั้นลงเป็น 2 ชั้น และชั้นเดียวจนครบเป็นเพลงเถา
โดยเลียนทำนอง 2 ชั้น และชั้นเดียวจากเพลงสุดสงวน
เพลงอาหนู เถา
สามชั้น
อาหนูน้อยน้อย ค่อยบรรเลงทำเพลงเล่น
ไม่กระจ่างทางสุนทรที่ซ่อนเร้น ฟังก็เป็นเพลงได้แต่ไม่ดี
ฉันยังเล็กเด็กอยู่ครูพึ่งสอน ปัญญาก็อ่อนลีมเลือนเชือนวิถี
ทั้งร้องรับขับลำเพลงดนตรี จะหาที่เพราะยากลำบากใจ
ขออภัยในอักษรกลอนประเทียบ ยังไม่เรียบร้อยแน่เชิญแก้ไข
เอ็นดูด้วยช่วยเป็นครูอาหนูเอย
สองชั้น
เจ้าสาวสาวสาว สาวสะเทิ้น ค่อยค่อยเดินค่อยเดิน เดินตามทาง
ล้วนอนงค์ ทรงสำอาง นางสาวศรี ห่มสี
ใส่กำไล แลวิไล ทองใบอย่างดี ทองดีดี
ประดับสี เพชรพลอย พลอยงาม ดูงาม
ชั้นเดียว
ใส่ต่างหู สองหู หูทัดดอกไม้ สตรีใด ชนใด ในสยาม
จะหางาม งามกว่า มาเทียบไม่ เทียม
ชวนกันเดินพากันเดินรีบเดินมา จะไปฟังสักวาที่ในวัง
ประวัติ
เพลงอาหนู ของเดิมเป็นเพลงจีน ที่ดัดแปลงมาจนเรียกว่า เพลงจีนของเก่า ครูปุย ปาปุยะวาทย์ ได้นำมาแต่งเป็น 3 ชั้น ใล่เลี่ยกับที่ จางวางทั่ว พาทยโกศล ที่แต่งไว้อีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งได้ตัดลงเป็นชั้นเดียวครบเป็นเถา
phaisarn@dontrithai.com