********Q********
|
|
« เมื่อ: 27-03-2007, 09:05 » |
|
ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน : องค์กรใหม่กับประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชัน เขียนโดย เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ Monday, 26 March 2007 ศรัณย์ ธิติลักษณ์ ศูนย์วิจัยธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันการคอร์รัปชันมีรูปแบบ และเทคนิควิธีการดำเนินงานที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมากล่าวคือ การคอร์รัปชัน ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ของตน แสวงหาผลประโยชน์ จากนักธุรกิจและประชาชนโดยตรง (การรับสินบน หรือการเรียกเก็บส่วย) หรือใช้วิธีร่วมมือกับนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจ ในการใช้กฎหมาย หรือใช้ช่องว่างของกฎหมาย เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการ หรือสิทธิผูกขาดในสัมปทานต่างๆ ของรัฐ มาสู่รูปแบบของการร่วมมือกันใช้ความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแง่มุมต่างๆ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันมีอยู่ ในการพัฒนานโยบาย หรือกฎเกณฑ์กฎหมายขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ และขั้นตอนต่างๆ ในการแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ภายหลังจากที่นโยบาย หรือกฎเกณฑ์กฎหมายต่างๆ เหล่านี้ ได้ถูกนำออกมาใช้ดำเนินการ หรือใช้บังคับโดยเฉพาะ หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า "การคอร์รัปชันเชิงนโยบาย (Corruption through Policy)" การที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่า นโยบาย กฎหมาย หรือการกระทำกรณีใดกรณีหนึ่ง เป็นการคอร์รัปชันได้นั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความชำนาญการเฉพาะด้านของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากความชำนาญในด้านกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเทคนิคพิเศษในการรวบรวม และพิจารณาข้อเท็จจริง ตลอดจนเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในประเด็นต่างๆ ที่แต่ละหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อาทิเช่น ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการบัญชี หรือข้อมูลทางด้านการงบประมาณ เป็นต้น ยิ่งมากไปกว่านี้หากเป็นกรณีของการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้เฉพาะวิชาชีพ เช่น วิชาชีพวิศวกรรม หรือวิชาชีพทางการเกษตร มาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานคอร์รัปชันด้วยแล้ว ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาเป็นบุคคลทั้งนักวิชาการ หรือผู้แทนภาคประชาชน ที่เป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องนั้นๆ มาเป็นผู้ร่วมพิจารณา จากนั้นจึงนำเอาข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด มาเชื่อมโยงกัน เพื่อใช้ในการพิสูจน์ว่า การกำหนดนโยบาย กฎหมาย หรือการกระทำเฉพาะกรณีนั้นๆ เป็นการคอร์รัปชันหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินงานป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชัน ในปัจจุบันนั้น ไม่สามารถดำเนินการในลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้ ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมา หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ มักจะมีการดำเนินงานในลักษณะต่างคนต่างทำ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน และมีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานกันอย่างหลวมๆ บางครั้งยังมีการทำหน้าที่เหลื่อมล้ำ หรือทับซ้อนกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชันในแต่ละกรณีแล้ว ยังมีผลทำให้เกิดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน ล่าช้า รวมทั้งสิ้นเปลืองทรัพยากร และงบประมาณอีกด้วย ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างระบบขึ้นมา เพื่อช่วยในการประสานงาน และเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งองค์กรวิชาชีพ และองค์กรภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นักวิชาการท่านหนึ่งได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจว่า ควรที่จะทำการกำหนดบทบาทขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชันองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ถูกจัดตั้งขึ้นอยู่แล้ว ให้มีหน้าที่หลักคือ สร้างความร่วมมือ และประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ และองค์กรวิชาชีพ องค์กรธุรกิจเอกชน และองค์กรภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการคอร์รัปชันเฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่ง รวมทั้งมีการปรับปรุงกฎหมายอำนาจหน้าที่ขององค์กร ให้สามารถนำไปใช้การตรวจสอบการคอร์รัปชันรูปแบบใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยมีขอบเขตการดำเนินงานดังนี้ 1. ให้หน่วยงานดังกล่าว จัดให้มีคณะกรรมการกลางทำหน้าที่ในการพิจารณารับเรื่องราวร้องเรียน หรือร้องทุกข์กล่าวโทษในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างร้ายแรง และเป็นกรณีที่พิจารณาแล้วว่า มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย หรือกฎหมายที่มีวิธีดำเนินงานที่สลับซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยเทคนิควิธี หรือความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการตรวจสอบเท่านั้น ถ้าหากไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ผู้เสียหายดำเนินการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ตามขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานตามปกติ 2. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งที่ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชัน ผู้แทนขององค์กรวิชาชีพ องค์กรธุรกิจเอกชน และองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องขึ้นมาดำเนินการตรวจสอบ โดยกำหนดให้ผู้แทนของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นทุกคณะ และให้ถือว่า คณะกรรมการ เป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายขององค์กรอิสระนี้ รวมทั้งกฎหมายของหน่วยงาน และองค์กรที่ประกอบกันขึ้นได้ทุกฉบับ 3. ให้คณะกรรมการ มีขั้นตอน วิธีดำเนินงาน และขอบเขตระยะเวลาในการดำเนินงานที่ชัดเจน และสามารถขยายได้ โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นให้กับคณะกรรมการกลางพิจารณา 4. ให้คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ และวินิจฉัยว่า เรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าวนั้น เป็นการคอร์รัปชันหรือไม่เท่านั้น ถ้าหากพบว่า ไม่เป็นการคอร์รัปชัน ให้คณะกรรมการยุติเรื่องโดยทันที และแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ แต่ถ้าหากพบว่า เป็นการคอร์รัปชัน ให้แจ้งคณะกรรมการกลางทำความเห็นพร้อมส่งหลักฐานต่างๆ ที่มีอยู่ไปให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่รับเรื่องไปดำเนินการต่อนั้น อาจแสวงหาข้อมูลหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อสามารถที่จะดำเนินการต่อไปจนถึงที่สุดตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่รับผิดชอบได้ แต่ให้ถือว่าหลักฐานต่างๆ ที่คณะกรรมการ ได้ส่งไปถือว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการในลักษณะที่เป็นการซ้ำซ้อนกับหลักฐานที่มีอยู่อีกต่อไป ทั้งนี้ถ้าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อสงสัยประการใดให้สอบถามกับคณะกรรมการ ผู้ทำหน้าที่พิจารณาโดยตรง ประโยชน์สำคัญที่จะได้รับจากการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับองค์กรอิสระองค์กรใดองค์กรหนึ่งให้มีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นคือ จะสามารถลดระยะเวลา และงบประมาณในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชันลงได้ ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้หน่วยงานเหล่านั้น ไม่ต้องดำเนินงานในการสืบสวนสอบสวนเพื่อตัดสินว่า กรณีที่เป็นเรื่องร้องเรียนนั้น เป็นการคอร์รัปชันหรือไม่ ซึ่งเป็นการช่วยลดขั้นตอนในการดำเนินงานลงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลให้ระบบ หรือกระบวนการป้องกัน และปราบปรามการคอร์รัปชันของประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูงสุด จาก http://www.thaicorruptionwatch.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2065
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-04-2007, 08:19 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 27-03-2007, 09:11 » |
|
ตั้ง ป.ป.ช.จังหวัด หวังแก้คอร์รัปชั่นทั่วประเทศ http://www.thaicorruptionwatch.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1902เขียนโดย กรมประชาสัมพันธ์ Sunday, 25 February 2007 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เดินหน้าหามาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เห็นชอบแต่งตั้ง ป.ป.ช.จังหวัด หวังแก้ไขและลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นทุกพื้นที่ การแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจังหวัด หรือ ป.ป.ช.จังหวัด เป็นกิจกรรมหนึ่งที่คณะ ป.ป.ช.ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว เพื่อให้เข้าถึงกระบวนการป้องกันและแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และยังเป็นการปลูกจิตสำนึกประชาชนร่วมปราบคอร์รัปชั่น ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลและ ป.ป.ช.ได้ร่วมประกาศจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณปราบคอร์รัปชั่น ในวันที่ 6 เมษายน 2550 แล้ว แนวคิดการตั้ง ป.ป.ช.จังหวัด เริ่มจากโจทย์ที่ว่า ไม่มีหน่วยงานใดดูแลและป้องกันการคอร์รัปชั่นในระดับภูมิภาคได้ เนื่องจากขณะนี้มีสำนักงาน ป.ป.ช.ในส่วนกลางเท่านั้น ไม่มีสาขาในภูมิภาค ซึ่งนายปานเทพ กล้ารณงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ปัจจุบัน สำนักงาน ป.ป.ช.ส่วนกลาง ต้องดำเนินการทุกอย่างทั้งการป้องกันและปราบปราม รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมบทบาทภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็ง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานระดับภูมิภาครองรับและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามครอบคลุมทุกพื้นที่ ที่สำคัญมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น แต่ติดปัญหาที่ขณะนี้ยังไม่สามารถตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในส่วนภูมิภาคได้ เนื่องจากต้องแก้กฎหมายอีกมาก ทางออกหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ คือ การตั้งองค์กรที่เรียกว่า คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.จังหวัดขึ้นมา โดยมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานบูรณาการในการช่วยเหลือสนับสนุนงานของ ป.ป.ช.ในส่วนกลาง เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาความทุจริต ทั้งนี้ ยังได้กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.จังหวัด มีหน้าที่ ดำเนินการป้องกันการทุจริต เสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งให้ภาครัฐภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปราม นอกจากนี้สามารถเสนอมาตรการความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ต่อ ป.ป.ช.ส่วนกลาง เพื่อปรับปรุงการบริหารของหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐในการป้องกันการทุจริต และประการสุดท้ายคือ คณะกรรมการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายของ ป.ป.ช. เช่น การยื่นแบบทรัพย์สินและหนี้สิน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ป.ป.ช.ได้ดำเนินโครงการนำร่องระยะ 1 ปี โดยจะตั้ง ป.ป.ช.จังหวัดในภาคต่างๆ 4 ภาค ภาคละ 2 จังหวัด รวม 8 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดสุโขทัยและลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสุรินทร์และหนองคาย ภาคกลาง จังหวัดเพชรบุรีและจันทบุรี ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและสงขลา ส่วนการสรรหาผู้ที่จะมาเป็น ป.ป.ช.จังหวัด ได้กำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติไว้แล้ว โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์และมีคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์ ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ขอให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนในแต่ละจังหวัด การแต่งตั้ง ป.ป.ช.จังหวัด หรือการจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณปราบคอร์รัปชั่น เพื่อหวังแก้ไขและลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น จะไม่เกิดประโยชน์ หากทุกคนยังไม่มีจิตสำนึกละเว้นการกระทำผิด และช่วยกันสอดส่อง แจ้งเบาะแสผู้กระทำผิด ดังนั้นผู้พบเห็นการกระทำผิดสามารถแจ้งได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน สายด่วน 1111 เพียงเท่านี้ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นได้ไม่ยากนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 27-03-2007, 09:20 » |
|
แก้คอร์รัปชั่น http://www.thaicorruptionwatch.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1797เขียนโดย เว็บไซต์มติชน Tuesday, 06 February 2007 คอลัมน์ เดินหน้าชน โดย นฤตย์ เสกธีระ ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญเกือบสมบูรณ์แบบแล้ว การทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพทำให้สามารถผลักดันนโยบายของพรรคการเมือง เพื่อประโยชน์ของประชาชนนั้น...ถูกแล้ว การจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ เป็นองค์กรอิสระ ปลอดจากฝ่ายราชการประจำ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายการเมืองก็แลดูดี เพียงแต่ เหตุที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ต้องอัปรางลงก็เพราะ ระบบตรวจสอบถูกทำลาย ไม่ว่าจะถูกทำลายด้วยฝ่ายการเมือง หรือถูกทำลายด้วยตัวเอง แต่สรุปแล้วก็คือ ฝ่ายตรวจสอบถูกทำลาย เมื่อถูกทำลายก็ทำให้ฝ่ายการเมืองย่ามใจ กระโจนเข้าแทรกแซงการทำงานและแสวงหาผลประโยชน์ เอาเงินเข้าพกเข้าห่อ หาหนทางกอบโกยทรัพย์สินเข้าตระกูลกันถ้วนทั่ว ชักธงนำการเลี่ยงความผิดตามบทบัญญัติกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงเจตนาของกฎหมายที่ออกมาเพื่อพิทักษ์ส่วนรวม กระทั่งกลายเป็นเงื่อนปมของคำถามเรื่องจริยธรรม ที่สุดรัฐบาลก็ถูกขับไล่ และเมื่อรัฐบาลไม่ยอมถอย ที่สุดทหารก็ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ หากมองจิตวิทยาสังคมจะพบว่า เหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 กับเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อปี 2534 มีปัจจัยความเบื่อหน่ายต่อการคอร์รัปชั่นเหมือนกัน กำลังทหารที่ใช้ในการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก็ได้รับเสียงเชียร์จากประชาชนเหมือนกับกำลังทหารที่ใช้ในการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และความเบื่อหน่ายต่อการคอร์รัปชั่นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนในชาติต้องการการเปลี่ยนแปลง แม้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 จะจับจุดความต้องการของสังคมได้ และพยายามจะวางองค์กรตรวจสอบการคอร์รัปชั่นเอาไว้แล้ว แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อฝ่ายการเมือง พ่ายแพ้ต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นเหมือนเดิม ดังนั้น สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในลักษณะร่วมด้วยช่วยกัน ลำพังจะให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือให้เจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระเป็นผู้ตรวจสอบอย่างเดียวคงจะไม่เป็นผล ทางที่ดีควรจะดึงพลังภาคประชาชนเข้าไปช่วยในการตรวจสอบ ผมเห็นคุณค่าของกฎหมายข้อมูลข่าวสารทางราชการ แต่ผมคิดว่ามันเห็นผลช้าไป เพราะที่ผ่านมาต้องทำหนังสือถึงต้นสังกัดที่เราต้องการขอข้อมูล หากเขาปฏิเสธมาเป็นลายลักษณ์อักษร จึงนำเรื่องเข้าคณะกรรมข้อมูลข่าวสารเพื่อพิจารณา ซึ่งใช้เวลานานมาก ผมอยากเห็นการตรวจสอบที่รวดเร็ว และแพร่หลายมากกว่านี้ ผมเห็นว่า ข้อมูลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทั้งหลาย ไม่ควรจะปิดบัง และหน่วยงานที่ปิดบังข้อมูลเหล่านี้ควรจะมีความผิด คนที่ไปขอข้อมูลควรจะได้รับการตอบสนองกลับมาภายในเวลาอันรวดเร็ว ช้าที่สุดไม่เกิน 1 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเป็นของภาคประชาชนที่ไปขอข้อมูล ขณะเดียวกัน คนที่ไปขอข้อมูลก็ต้องดูแลข้อมูลที่ตัวเองขอมาให้ดี หากข้อมูลดังกล่าวถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ถือว่า คนๆนั้นต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย จะปรับ จะขัง หรือให้ทำอะไรก็สุดแล้วแต่ วิธีนี้จะทำให้เรามีคนที่คอยจะป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นเต็มไปหมด ทั้งภาคประชาชนในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้าน ระดับตำบล ระดับจังหวัด ระดับประเทศ สามารถใช้สิทธิ์ความเป็นคนไทยนี่แหละไปขอข้อมูลในเรื่องสาธารณะ และการให้ข้อมูลสาธารณะแก่สาธารณะก็ถือเป็นหน้าที่ ใครบ่ายเบี่ยงถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มีโทษเช่นกัน จากวิธีนี้จะทำให้มีคนที่อยากรู้ข้อมูลมีมาก ข้อมูลที่ถูกตรวจสอบมีมาก และผู้ถูกตรวจสอบก็มีมาก ไม่ต้องรอให้เป็นข่าวทางสื่อมวลชนก่อนถึงจะมีการตรวจสอบเหมือนในปัจจุบัน ไม่ต้องรอให้เกิดการขัดผลประโยชน์กันก่อนถึงจะมีการร้องเรียน แล้วปล่อยให้เรื่องที่ฮั้วกันได้ถูกกลบเงียบหายไป ไม่ต้องรอให้คณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตรับเรื่อง ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ใช้อำนาจคณะกรรมการเรียกหลักฐานมาเพื่อดำเนินการตรวจสอบเหมือนปัจจุบัน เพราะในปัจจุบันภาพการตรวจสอบดูเหมือนว่าจะดี เช่น มีการบอกว่า โครงการนี้ถูกตรวจสอบโดยสื่อมวลชนอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่สื่อมวลชนก็ไม่สามารถก้าวเข้าไปตรวจสอบข้อมูลสาธารณะที่อยู่ในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ได้ การตรวจสอบดังกล่าวจึงเป็นเพียงภาพ ไม่ใช่ของแท้ แต่หากจะให้การตรวจสอบไม่ใช่ของเทียม คงต้องเริ่มจากรัฐธรรมนูญที่จะกำหนดกรอบให้การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะเป็นหน้าที่ กำหนดนิยามคำว่า "ข้อมูลสาธารณะ" ที่เปิดทางให้ตรวจสอบมากกว่าปิดบัง และใครที่บิดบัง ถ่วงเวลา ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลก็ให้มีบทลงโทษ ท่านกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเห็นด้วยหรือเปล่า?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 27-03-2007, 09:27 » |
|
เปิดร่างกฎหมายป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนตรวจเข้มญาติ-'บุตร-ภรรยาทั้งใน-นอกสมรส' http://www.thaicorruptionwatch.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1681เขียนโดย เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ Tuesday, 16 January 2007 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ได้พิจารณาอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผลประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ..... ตามที่ รองศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอ ข้อเท็จจริง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า จะเสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบทั้งในภาคการเมืองและภาคราชการ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และส่งเสริมองค์กรอิสระและประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ความเห็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการ แต่มีข้อสังเกตในเรื่อง 1. การจำกัดหรือลิดรอนสิทธิ์ของบุคคลที่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายจะต้องชัดเจนแน่นอน เช่น จำกัดสิทธิอย่างไร ประการใด มีระยะเวลากี่ปี 2. ตามร่างมาตรา 6 ที่กำหนดให้บุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ ต้องรับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดนั้น ไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนว่า "ผู้มีส่วนร่วม" มีความหมายประการใด โดยเฉพาะการกระทำที่มีโทษและความรับผิดทางอาญา จะต้องมีความชัดเจน ทางด้านกระทรวงยุติธรรม เห็นชอบในหลักการ โดยมีข้อสังเกต คือ 1. ร่างมาตรา 7 วรรคสอง ควรแก้ไขเกี่ยวกับการส่งมอบเงินหรือสิ่งของที่มีผู้มอบให้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รู้หรือได้รับแจ้งจากหน่วยงานต้นสังกัดว่าจะต้องส่งมอบ เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2. ตามร่างมาตรา 12 วรรคสอง กำหนดให้ ป.ป.ช. ต้องไต่สวนให้เสร็จภายใน 90 วัน นั้น อาจทำไม่ทันในคดีที่ยุ่งยากซับซ้อน ควรกำหนดให้ขยายระยะเวลาได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ 3. ตามร่างมาตรา 13 ที่ให้ถือว่าข้อเท็จจริงที่ ป.ป.ช. ได้มาเป็นที่ยุติเด็ดขาดนั้น ควรจะให้ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น โดยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีโอกาสนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานได้จะเหมาะสมกว่า 4. ตามร่างมาตรา 15 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช. ระงับโครงการของรัฐนั้น ควรกำหนดขั้นตอนให้ ป.ป.ช. ร้องขอต่อศาลเพื่อใช้อำนาจระงับโครงการ และเปิดโอกาสให้คู่กรณีโต้แย้งได้ นอกจากนี้ควรกำหนดขั้นตอนภายหลังระงับโครงการให้ชัดเจน นอกจากนี้ สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมขึ้นในสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งจะมีผลทำให้ต้องเพิ่มตำแหน่ง อัตรากำลัง และค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว เห็นควรให้สำนักงาน ป.ป.ช. ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ด้านสำนักงาน ก.พ. เห็นชอบในหลักการ และมีข้อสังเกต คือ 1. นิยามคำว่า "ญาติ" ที่กำหนดว่าเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนั้น หมายความรวมถึงการแต่งงานที่เป็นนิตินัยและพฤตินัยด้วยหรือไม่ เพียงใด หากรวมถึงก็ควรขยายความให้ชัดเจน 2. คำว่า "คู่สมรส" ตามร่างมาตรา 5 จะหมายถึงเฉพาะคู่สมรสโดยนิตินัย หรือรวมถึงสามีภรรยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสด้วย 3. ตามร่างมาตรา 13 ที่กำหนดว่า ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชี้แจงภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าข้อเท็จจริงที่ ป.ป.ช.ได้มาเป็นที่ยุตินั้น ควรจะเปิดโอกาสให้ชี้แจงและแสดงเหตุที่ไม่สามารถชี้แจงภายในเวลาที่กำหนดได้ด้วย 4. ภารกิจของสำนักงานป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ควรจะรับผิดชอบเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงเท่านั้น ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ควรเป็นภารกิจขององค์กรบริหารงานบุคคลแต่ละประเภท สำนักงาน ป.ป.ช. มีข้อสังเกตว่า เรื่องใดที่มีหลักการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แล้ว ควรแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่ควรยกร่างเป็นพระราชบัญญัติต่างหาก มติของคณะกรรมการมีดังนี้ 1. ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล สมควรที่จะดำเนินการโดยเร็ว อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ ดังนั้น บทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สมควรที่จะมีข้อความที่ชัดเจน รัดกุม เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว และในขณะเดียวกันการใช้อำนาจที่มีตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะต้องมีความสมดุลในการถ่วงดุลการใช้อำนาจให้อยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม นอกจากนี้การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติต้องไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่ในการดำเนินการกับผู้เกี่ยวข้องที่มีจำนวนมากจนเกินกว่ากรณีที่ต้องดำเนินการ 2. บทนิยามตามร่างมาตรา 3 ความหมายของคำนิยามที่กำหนดไว้ควรพิจารณาให้มีข้อความชัดเจน รัดกุม ตรงตามความประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ 3. การกำหนดให้การกระทำใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมตามร่างมาตรา 5 วรรคสอง เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ต้องมีความชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามบุคคลที่ประพฤติมิชอบโดยตรง และต้องไม่เป็นภาระเกินควรต่อการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพราะจะทำให้การดำเนินการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น (1) การใช้ข้อมูลที่ได้รับรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามร่าง (2) เป็นข้อความที่ค่อนข้างกว้าง ต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณาตัดสินใจ และข้อมูลบางอย่างอาจเป็นข้อมูลที่รับรู้ได้ทั่วไปและไม่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สมควรพิจารณากำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ประสงค์จะควบคุมให้ชัดเจน เช่น ต้องเป็นข้อมูลภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจ หรือการดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ ที่ทำให้เกิดประโยชน์มิชอบหรือประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใดโดยมิชอบ (2) การริเริ่มเสนอโครงการตามร่าง (4) และการใช้อำนาจหน้าที่ตามร่าง (5) เป็นกรณีประพฤติมิชอบในเชิงนโยบาย ถ้อยคำที่ใช้ สมควรพิจารณากำหนดถ้อยคำให้ชัดเจน รัดกุม โดยสมควรพิจารณากำหนดคำว่า "โดยทุจริต" เพิ่มเติมเพื่อให้มีความชัดเจนไว้ด้วยหรือไม่ (3) การกระทำของคู่สมรสและญาติ ตามร่างมาตรา 5 วรรคห้า เป็นการประพฤติมิชอบกรณีของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการกระทำที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ เป็นเรื่องที่สำคัญของการประพฤติมิชอบที่ต้องได้รับการป้องกันและปราบปราม ในปัจจุบันและอนาคต ต้องกำหนดให้ชัดเจนเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ 4. ข้อห้ามเกี่ยวกับการรับของขวัญฯ ตามร่างมาตรา 7 ควรกำหนดให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันและสมเหตุสมผล สามารถปฏิบัติได้ ทั้งนี้ มูลค่าของของขวัญฯ ที่ห้ามรับไว้เป็นของตน ควรสอดคล้องกับบทกำหนดโทษ หากมีการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว 5. การกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจดำเนินการกรณีที่ได้รับแจ้งเบาะแสไม่ว่าจะระบุชื่อผู้แจ้งหรือไม่ ตามร่างมาตรา 12 อาจทำให้คณะกรรมการป.ป.ช. ต้องมีภาระในการดำเนินการมากเกินกว่ากรณีหรือไม่ นอกจากนั้น ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหมายรวมถึงบุคคลใดบ้าง ซึ่งในชั้นนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองน่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐ น่าจะเป็นข้าราชการระดับสูงในตำแหน่งบริหารตั้งแต่ระดับอธิบดีขึ้นไป 6. การจัดตั้งสำนักงานป้องกันการขัดกันฯ ตามร่างมาตรา 16 เป็นการจัดตั้งหน่วยงานธุรการ ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช. และสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องระบุไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ 7. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล จึงสมควรพิจารณาอนุมัติหลักการ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีความเห็นเพิ่มเติมประการใด ก็ให้ส่งความเห็นให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาในชั้นการตรวจพิจารณาต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 27-03-2007, 10:52 » |
|
รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังจะจัดงานใหญ่โตขึ้นในบ้านเมืองคือจัดทำ พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย ในวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2550 เวลา 08.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล และได้เชิญผู้คนทั้งในวงการรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และวงการที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมพิธีกรรมนี้ โดยมีความมุ่งหมายว่าจะเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการปราบปรามทุจริตให้เป็นวาระแห่งชาติ http://forum.serithai.net/index.php?topic=12622.msg172435#msg172435
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
The Grudge โคตรผีดุ
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 27-03-2007, 13:50 » |
|
ปัจจุบันเท่าที่เห็นจากบรรดาสื่อชั่ว นักวิชาการสติเฟื่องทั้งหลาย มักจะสรุปต้นตอแห่งปัญหาการคอรัปชั่น คือ ระบบอุปถัมป์ และตัวการสำคัญคือ นักการเมือง ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น นั่นคือผู้ร้ายในสายตาของคนพวกนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบอุปถัมป์ที่ว่านั้นมันก็คือ "ลัทธิศักดินา" ซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยมาช้านานแล้ว แต่สื่อฯ นักวิชาการ ไม่มีความกล้าพอที่จะไปแตะต้อง การด่า หรือกล่าวโทษ นักการเมือง ง่ายกว่า ไม่มีพิษมีภัย นักการเมืองก็คือเหยื่อ คือกระโถนของสังคมไทยมาตลอด
ใครที่สวามิภักดิ์ สมาทานลัทธินี้ ก็จะมีเกราะป้องกันภัย ไม่ว่าจะเป็น นักเลงท้องถิ่น กำนันดัง จนกระทั่งถึงนักการเมืองระดับชาติ หากมีปัญหาอะไรก็จะวิ่งเข้าหาเพื่อช่วยเคลียร์ความขัดแย้งได้เสมอ
ตัวอย่างเช่น ถ้าฝ่ายหนึ่ง มีปัญหากับอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ละฝ่ายก็จะพยายามวิ่งเข้าหาผู้ใหญ่ที่ใหญ่กว่า อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เข้ามาเคลียร์ปัญหา และในท้ายที่สุด ก็อาจจะไปสิ้นสุดบรรจบ ลงที่ จ้าวแห่งลัทธิศักดินา เจ้าลัทธิไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพย์สฤงคาร อะไรมากนัก พวกเขาไม่คอรัปชั่นเอง แต่ให้คนอื่นจัดการแบ่งปันให้ พวกเขาต้องสะอาด หมดจรด ไร้ราคี มีจริยธรรม คุณธรรมสูงส่ง และที่สำคัญคือบารมีต้องคงอยู่ ลัทธิพวกนี้ ต้องง้อนักการเมือง ไม่สามารถแสดงบทบาทบริหารประเทศเองได้ เพราะรู้ดีว่า โลกนี้ไม่ต้อนรับ เผด็จการลัทธิศักดินานอกรีต ก็เลยต้องพึ่งพานักการเมืองให้มาทำหน้าที่นี้ แล้วก็ครอบงำอำพรางอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความแนบเนียน หลอกทั้งคนไทย และชาวโลก
หากว่านักการเมืองมีปัญหา งัดข้อ เหิมเกริม ไม่สยบยอม เคลียร์ไม่ลงตัว ก็ต้องแสดงกฤดาภินิหาร ความขลังศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการกำจัดให้สิ้นซาก ในพริบตา ด้วยการป้ายสี ว่า คอรัปชั่น ทรยศ ขายชาติ ชั่วช้าสารพัด แล้วก็เชิดนักการเมืองกลุ่มใหม่ขึ้นมาทดแทน แล้วก็ครอบงำ ชี้นำ บงการต่อไป
ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมนักการเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ทั้งหลายเมื่อเข้าสู่สารบบแล้วก็ต้อง สยบยอม ละทิ้งอุดมการณ์ไปเสียสิ้น กลายเป็นตัวตลกในสภา กลายเป็นนักการเมือง โง่ ขี้โกง ซื้อเสียง เห็นแก่ได้ นักเลือกตั้งอาชีพ นักการเมืองซึ่งทำอะไรไม่ได้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว เขาไม่ได้มีอำนาจมากมายที่จะทำอะไรได้อย่างที่คิด ก็ได้แต่ยอมรับ และกอบโกยเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาสถานภาพตัวเองให้อยู่รอด นี่คือวัฏจักรแห่งความชั่วร้าย
ถ้าหากคิดจะกำจัดคอรัปชั่นให้สิ้นซาก ก็ต้องกำจัด "ลัทธิศักดินา" นี้ให้สำเร็จเสียก่อน ในประเทศ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฯ ไม่มีลัทธิที่ว่านี้ จะเห็นได้ว่า ประเทศเขาเจริญก้าวหน้ากันอย่างมากมาย คอรัปชั่นเพียงน้อยนิด ทั้งๆที่ปกครองในระบอบเดียวกันกับเรา หรือว่า พลเมืองเขามีศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมสูงส่งกว่าเรา หรือว่าพลเมืองเขาไม่มีความโลภ ไม่ทำความชั่วกันเลย เปล่า...นั่นเป็นเพราะประเทศเขาเหล่านั้นไม่มี ลัทธิอุบาทว์ที่ว่านี้ต่างหากเล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
irq5
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 27-03-2007, 17:39 » |
|
พิษเศรษฐกิจเน่า 40 คนอ่อนกำลังกันหมด
ยกเว้น SC Asset
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs.. .:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs.. .:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs.. .:M................................................hs.. .:M.............//:................//:.............hs.. .:M...........:MMs.............NMd............hs.. .:M................................................hs.. .:M................................................hs.. .:M.............yNNNNNNNNNN................hs.. .:M.................................................hs.. .:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..
....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD.......... .....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D....... .....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD.......... . . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 27-03-2007, 18:35 » |
|
น่าสงสารมันสมองของประเทศชาติ ที่ต้องมาทำเรื่องไม่ไม่ควรทำเล้ย...
ถ้าเพียงแต่นักการเมืองมันเป็นคนดี ไม่โกงไม่กิน
นักการเมือง ไม่มีจริยธรรม เขียนกฎหมายยังไงมันก็พยายามดิ้นหนีไปสุดฤทธิ์...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
The Grudge โคตรผีดุ
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 27-03-2007, 22:39 » |
|
กลุ่มทุน ความจริงแล้ว ไม่ได้พิศมัย แต่ก็ต้องสยบยอมเป็นสาวกลัทธินี้โดยไม่กล้าแข็งขืน เพราะนี้คือการเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น แต่ก็ต้องจำยอม โดยเนื้อแท้แล้ว ถ้าให้พวกเขาเลือก พวกเขาย่อมที่จะปฏิเสธอย่างแน่นอน
ดูอย่างกลุ่ม Chaebol หรือว่า Keiretsu ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ต้องพึ่งพาลัทธินี้ แต่สามารถนำพาองคาพยพทางธุรกิจ ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำของโลกได้ด้วยความรวดเร็ว Chaebol เกาหลีใต้ นั้นเริ่มต้นหลังเราด้วยซ้ำ เรายังส่งทหารไปช่วยรบกับเกาหลีเหนือ ตามคำสั่งใช้ตะวันตก Keiretsu นั่นก็เพิ่งมาเริ่มเอาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังประเทศพ่ายแพ้สงครามยับเยิน
ประชากรในประเทศเหล่านี้ ไม่ได้มีคุณธรรม จริยธรรม สติปัญญาความคิด สูงส่งกว่าคนไทยเลย แต่กลับมี Ranking ทางด้านความโปร่งใส สูงกว่าเราทั้งสิ้น ทั้งๆที่ในประเทศเหล่านั้นก็มีปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นเช่นกัน แต่ทำไม ทำไม และทำไม....มันถึงไปได้ไกลกว่าเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 27-03-2007, 22:53 » |
|
สวัสดีครับ
เข้ามาต้อนรับทุกท่าน เขียนกันได้ใจความดีครับ
อย่างนี้พออ่านและช่วยกันนำไปชบคิดต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปได้ เป็นกำลังใจให้
และยินดีร่วมมือสนับสนุนในแนวทางหรือประเด็นที่เห็นด้วยเต็มกำลังครับ...
สิทธิพิเศษ ควรเกิดจาก ความศรัทธาของประชาชน ไม่ใช่จากการคอร์รัปชันอำนาจและเงินทองของฝูงเหลือบ เห็บ หมัด ไร ริ้น ใดๆ ทั้งสิ้น...
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-03-2007, 23:15 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 27-03-2007, 23:27 » |
|
กลุ่มทุน ความจริงแล้ว ไม่ได้พิศมัย แต่ก็ต้องสยบยอมเป็นสาวกลัทธินี้โดยไม่กล้าแข็งขืน เพราะนี้คือการเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น แต่ก็ต้องจำยอม โดยเนื้อแท้แล้ว ถ้าให้พวกเขาเลือก พวกเขาย่อมที่จะปฏิเสธอย่างแน่นอน
ดูอย่างกลุ่ม Chaebol หรือว่า Keiretsu ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ต้องพึ่งพาลัทธินี้ แต่สามารถนำพาองคาพยพทางธุรกิจ ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำของโลกได้ด้วยความรวดเร็ว Chaebol เกาหลีใต้ นั้นเริ่มต้นหลังเราด้วยซ้ำ เรายังส่งทหารไปช่วยรบกับเกาหลีเหนือ ตามคำสั่งใช้ตะวันตก Keiretsu นั่นก็เพิ่งมาเริ่มเอาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังประเทศพ่ายแพ้สงครามยับเยิน
ประชากรในประเทศเหล่านี้ ไม่ได้มีคุณธรรม จริยธรรม สติปัญญาความคิด สูงส่งกว่าคนไทยเลย แต่กลับมี Ranking ทางด้านความโปร่งใส สูงกว่าเราทั้งสิ้น ทั้งๆที่ในประเทศเหล่านั้นก็มีปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นเช่นกัน แต่ทำไม ทำไม และทำไม....มันถึงไปได้ไกลกว่าเรา
ตอบแบบง่ายๆเท่าสมองถั่วเขียวนะคะ นักการเมืองแถวบ้านเค้าอาจจะคอร์รัปบ้าง
แต่หน้าไม่ได้อย่างหนาตราช้าง กินแบบปอบเท่าคนแถวนี้ ปอบกับเปรตวิธีบริโภคต่างกันนะคะ
เพราะอย่างน้อยยังมีเวลาให้เอกชนหาเงินมาส่งส่วยเรื่อยๆ แบบว่ารอไข่ทองจากท้องห่านวันละฟองไง
ไม่ใช่จับห่านมาฆ่าเพื่อจะได้กินทั้งตัวกินทั้งไข่แบบนี้ไง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
The Grudge โคตรผีดุ
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 27-03-2007, 23:52 » |
|
อย่าเหิมเกริม จ้วงจาบหยาบช้า ถ้าหมดปัญญาจะเถียงก็จบหลบไปซะ อย่าถือสิทธิ์ว่าเป็นสตรี แล้วจะไม่กล้า "สวน"
โคตรเกลียดเลยไอ้พวกที่ชอบดูถูกคนไทยด้วยกันว่าโง่เขลาเบาปัญญากว่าตน
ทำไมสันดานพวกที่เกลียดทักษิณ ถึงได้ชอบดูแคลนคนไทยด้วยกันเองก็ไม่ทราบ หาว่าคนไทยที่ยากจน มันโง่มั่ง ไร้การศึกษามั่ง นักการเมือง ต่างชาติมันซื่อสัตย์มั่ง ถึงจะโกง ก็โกงน้อยกว่า นักการเมืองไทย
ถ้าแก้ไขอุปนิสัยสันดานที่ชอบดูถูกดูแคลนคนไทยด้วยกันเองไม่ได้ ก็อย่าหวังที่จะไปแสวงหาความเจริญได้ที่ไหน ถ้าแน่จริงลองไปชี้หน้าด่าพวกขับ สามล้อ Taxi ให้ชมเป็นขวัญตาหน่อย ว่าทำไมพวกมันถึงได้โง่เชียร์ทักษิณกันอยู่ได้ พวกมันโง่ พวกมันไร้การศึกษา ใช่หรือเปล่า เชิญไปชี้หน้าด่าได้เลย
แต่ถ้าเจอหน้าคนพวกนั้นแล้วไม่กล้า หดหัวหรุบหางเป็นเต่าในกระดอง เสแสร้งแกล้งทำเป็นคุยดีด้วย นี่ถือว่าเลวยิ่งกว่านักการเมือง ที่ตัวเองด่าเสียอีก เพราะอย่างไรเสีย นักการเมืองบ้านนอกคอกนา ยังไงมันก็ไม่ดูแคลนกำพืดตัวเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 28-03-2007, 00:03 » |
|
พู่หยิงหรือพู่ชายก็มีสมองและสองมือเท่าๆกัน
มันขึ้นอยู่กับรอยหยักในสมองว่ามีเท่ากันรึเปล่ามี จิตสำนึกบุญคุณในประเทศชาติเหมือนกันรึเปล่า
หรือแค่ยึดติดกับตัวบุคคลที่นิยมชมชื่นชนิดว่าชาตินี้ขาดเขาไม่ได้ ขอเชิญปุจฉาวิสัชชนากันต่อ
แต่อย่าใช้วาจาไม่สุภาพและยืนอยู่บนเหตุและผลอย่าทำเป็นพวกขี้แพ้ชวนตีแล้วกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 28-03-2007, 00:26 » |
|
หลังจากได้พินิจพิเคราะห์ตัวอักษรของคุณโครตผีดุว่าเป็นสมาชิกเสรีไทยที่คิดต่างกัน
แต่ก็ยังมีเหตุผลมาพูดคุยกันได้ แต่พอเผยโฉมหน้าธาตุแท้เพราะดันไปสะกิดจุดคีมึ้งคุณเข้า กับการที่คุณเก็บอากัปกิริยาไว้ไม่ได้
หากเป็นเช่นนี้ขอบาย เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะเสวนากับคุณอีกต่อไปเพราะหยาบคายไม่พอ หรือหากคุณยังไม่พอและอยากระบายต่อ
สังคมที่นี่จะตัดสินตัวตนของคุณเอง โชคดีนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 28-03-2007, 01:36 » |
|
"คอร์รัปชัน ไม่ว่าจะมาจากมุมไหน ล้วนเป็นสิ่งชั่วร้ายทั้งสิ้น"ดังนั้น จำเป็นที "ผู้รักความยุติธรรมทั้งหลาย" ต้องร่วมมือกัน ปราบให้สิ้น จากแผ่นดินไทย เพื่อชัยชนะและความเจริญของไทยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Body&Soul
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 28-03-2007, 02:13 » |
|
เข้ามาเยี่ยมชมว่าคอร์รัปชั่นคงยากที่จะหายไปจากสังคมไทย
คงต้องใช้เวลาและปลูกจิตสำนึกกับต้นกล้าที่จะเติบโตโดยปราศจากมลพิษ
ที่ยังแสนจะสงสัยว่าจะมีอีกบ้างหรือไม่ หรือจะต้องวนไปวนมาเหมือนกับคนที่ไม่พ้นกรรม
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-03-2007, 02:24 โดย gem-stone »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Body&Soul
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 28-03-2007, 02:31 » |
|
ตราบใดที่มนุษย์ยังขจัดกิเลสออกจากใจตัวเองด้วย รัก โลภ โกรธ หลงได้
ตราบนั้นสังคมยังคงวุ่นวายกับกิเลสของคนไม่มีที่สิ้นสุด
ตอนนี้ผมทำได้แค่เพียงคอนโทรลกิเลสของตัวเองไม่ต้องไปเบียดเบียนผู้อื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 28-03-2007, 02:35 » |
|
แค่ทักษิณบอกว่า เมืองไทยไม่สามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้
ผมก็หมดศรัทธากับคนแบบนี้แล้ว
แสดงว่า "สงครามคอรัปชั่น" ที่เคยประกาศเอาไว้ ก็คือคำหลอกลวง ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ใช่มั๊ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 28-03-2007, 02:42 » |
|
ตราบใดที่มนุษย์ยังขจัดกิเลสออกจากใจตัวเองด้วย รัก โลภ โกรธ หลงได้
ตราบนั้นสังคมยังคงวุ่นวายกับกิเลสของคนไม่มีที่สิ้นสุด
ตอนนี้ผมทำได้แค่เพียงคอนโทรลกิเลสของตัวเองไม่ต้องไปเบียดเบียนผู้อื่น
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือชนะตนเอง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และยังประโยชน์แค่ทักษิณบอกว่า เมืองไทยไม่สามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้
ผมก็หมดศรัทธากับคนแบบนี้แล้ว
แสดงว่า "สงครามคอรัปชั่น" ที่เคยประกาศเอาไว้ ก็คือคำหลอกลวง ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ใช่มั๊ย
ที่บางคนว่าทักษิณจับโกหกได้ยาก เพราะเขาหล่านั้นขาดตาชั่งที่เที่ยงธรรมครับ
คนอื่นๆเขาจับโกหก หลอกลวง อำพราง ตระบัดสัตย์ กันได้ทุกวันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Body&Soul
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 28-03-2007, 02:43 » |
|
นักการเมืองที่มีอาชีพเป็นนักเลือกตั้งมีใครบ้างเล่าที่จะใจซื่อมือสะอาด
ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าพวกพ้องตนเองประเทศไทยถึงต้องมีปฎิวัติรัฐประหาร
ย้อนยุคให้เจ็บๆคันอยู่เรื่อยไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 28-03-2007, 02:46 » |
|
นักการเมืองที่มีอาชีพเป็นนักเลือกตั้งมีใครบ้างเล่าที่จะใจซื่อมือสะอาด
ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าพวกพ้องตนเองประเทศไทยถึงต้องมีปฎิวัติรัฐประหาร
ย้อนยุคให้เจ็บๆคันอยู่เรื่อยไป
จะหาคนบริสุทธิ์ผุดผ่องในโลกย่อมไม่มี
ความหวังนำพาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอครับ เมื่อตั้งสัตย์แล้วก็ตั้งมั่น อย่าได้วอกแวกเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Body&Soul
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 28-03-2007, 02:55 » |
|
เราจะคงขับเคลื่อนสังคมและแก้ไขสิ่งแวดล้อมใกล้ๆตัวเราจากน้อยไปหามาก
ให้ขับเคลื่อนไปในทางที่ดีเป็นอันดับแรกก่อนน่าจะที่ดีสุดรึเปล่าเราต่างหากที่จะมีคำตอบให้ตัวเองอย่างชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 28-03-2007, 03:04 » |
|
เราจะคงขับเคลื่อนสังคมและแก้ไขสิ่งแวดล้อมใกล้ๆตัวเราจากน้อยไปหามาก
ให้ขับเคลื่อนไปในทางที่ดีเป็นอันดับแรกก่อนน่าจะที่ดีสุดรึเปล่าเราต่างหากที่จะมีคำตอบให้ตัวเองอย่างชัดเจน
แน่นอนครับ แต่ละคนทำในสิ่งที่เหมาะสมกับสถานะของตน และ
คอยตรวจสอบตนเองเป็นอันดับแรก รับฟังเป็นอันดับต่อมา ตัดสินใจเป็นอันดับสุดท้ายนั้นดีอยู่ แต่ก็ต้องรับผลของมันเสมอครับ หลีกเลี่ยงไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Body&Soul
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 28-03-2007, 03:10 » |
|
รู้สึกสนุกที่ได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองกันอยากให้เสรีไทยถ้อยทีถ้อยอาศัยอิงด้วยเหตุด้วยผลแบบนี้
เสมอๆเพราะการสร้างสรรค์มักจะสวยงามมากกว่าทำลายด้วยอคติส่วนตน
ขอบคุณมากครับคุณ********Q********
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 28-03-2007, 03:25 » |
|
รู้สึกสนุกที่ได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองกันอยากให้เสรีไทยถ้อยทีถ้อยอาศัยอิงด้วยเหตุด้วยผลแบบนี้
เสมอๆเพราะการสร้างสรรค์มักจะสวยงามมากกว่าทำลายด้วยอคติส่วนตน
ขอบคุณมากครับคุณ********Q********
ไปนอนแล้วล่ะครับ ไว้ๆๆพบกันใหม่เมื่อเวลามาบรรจบกันอีกครั้ง ขอให้เป็นเช่นนั้น..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 28-03-2007, 11:38 » |
|
ตอบความเห็นที่23 เพิ่มภาษีถือครองที่ดิน ลดภาษีรายได้ และค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินลงครับ...
ส่วนเรื่องค้าขายจะไม่ให้เสี่ยงมากก็ต้องระวังเรื่องสัดส่วนของหนี้ และกระจายการลงทุนตามถนัดเท่านั้น ถูกต้องแล้วครับ
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ http://forum.serithai.net/index.php?topic=7881.0
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-03-2007, 11:46 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 28-03-2007, 12:05 » |
|
เขียนโดย Administrator Thursday, 29 December 2005 หน้า 1 จาก 7 Corrupt Cities แปลโดย ศินารถ คิง บทสรุปนักบริหาร ความพยายามหลายครั้งในการแก้ไขปัญหาฉ้อโกงไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นฐานทางกฏหมายแต่เพียงด้านเดียว อย่างไรก็ตาม หลักสำคัญในการแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงให้ประสบความสำเร็จคือ ควรต้องมียุทธศาสตร์เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น ปัญหาฉ้อโกงเกิดขึ้นเมื่อมีการผสานกันระหว่างการผูกขาด และอำนาจในการตัดสินใจ ทว่าขาดความโปร่งใส สูตรดังกล่าวสรุปได้เป็น การฉ้อโกง = การผูกขาด + อำนาจในการตัดสินใจ ความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาฉ้อโกงควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอำนาจการผูกขาด จำกัดและทำให้อำนาจในการตัดสินใจชัดเจนขึ้น รวมถึงเพิ่มความโปร่งใส (ความน่าเชื่อถือ)หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์การฉ้อโกง ก่อนอื่น รัฐบาลสามารถใช้หลัก การวิเคราะห์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Diagnosis) ในกระบวนการนี้ เราต้องจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีผู้เข้าร่วม 20 25 ท่าน ซึ่งมาจากสถาบันที่มีความฉ้อโกงในระบบ เพื่อร่วมวิเคราะห์และอภิปรายในประเด็นเรื่องระบบการฉ้อโกง โดยไร้ข้อจำกัดทางการเมือง ในขั้นที่สอง รัฐบาลต้องให้ทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชนมีบทบาทในการต่อสู้กับปัญหาฉ้อโกงด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญในการป้องกันและลดปัญหาฉ้อโกงคือ การร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงานรัฐบาล หลักการแก้ไขปัญหานี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานเรื่อง ความร่วมมือกัน และ หน่วยงานหลักในการดำเนินงาน นั่นหมายถึง บุคคลหรือองค์กรราชการหนึ่งๆ ต้องทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา แต่การผลักดันนี้จะสำเร็จได้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นกับความร่วมมือของหลายหน่วยงานเป็นสำคัญ ความพยายามนี้เริ่มต้นได้โดย 1) เลือกเด็ดผลไม้ที่ใกล้พื้นดินก่อน เริ่มต่อสู้กับความฉ้อโกงที่สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน 2) ทลายวัฒนธรรมที่ผู้กระทำผิดรอดจากการลงโทษ (วิธีการจับปลาตัวใหญ่ก่อน) ข้าราชการระดับสูงที่ฉ้อโกงต้องถูกลงโทษ เพื่อประชาชนจะมั่นใจได้ว่าการผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ใช่แค่คำพูด และ 3) เปลี่ยนแปลงระบบ ซึ่งทำได้โดยการออกกฏหมายใหม่ หรือเปลี่ยนแนวคิดพื้นฐานในเรื่องการแข่งขัน อำนาจในการตัดสินใจ ความโปร่งใส รวมถึงแรงจูงใจ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศไม่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลที่ดีกว่าเดิม ด้วยเหตุผลหลักเนื่องจากขาดทักษะในการส่งผ่านข้อมูลและแรงจูงใจ นอกจากนี้ ประเทศเหล่านั้นยังถูกครอบงำโดยการผูกขาดทางการเมือง ในบางครั้งยังรวมถึงความรุนแรงและการถูกกดขี่ข่มเหง หลักในการปฏิรูปราชการของประเทศเหล่านี้ควรรวมถึง 1) เพิ่มเติมข้อมูลและการประเมินผล 2) เสริมสร้างแรงจูงใจ และ 3) ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน และการขับเคลื่อนเพื่อต่อต้านกระแสหลักหรือกลุ่มใหญ่ในสังคม สุดท้าย การจัดซื้อจัดจ้างน่าจะเป็นส่วนที่มีการทุจริตสูงสุด เนื่องจากเกี่ยวข้องกับมูลค่าเงินจำนวนมาก เงื่อนไขสำคัญสองประการที่ช่วยต่อสู้กับการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง คือ 1) ระบบจ้างงานที่ดี โดยเน้นให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนในอัตราที่เหมาะสม และมีอาชีพการงานมั่นคง มีความชัดเจน 2) การประสานงานกับหน่วยงานสืบสวนและหน่วยงานทางกฏหมายนอกเขตพื้นที่ในอำนาจของตน ความผิดพลาดจะไม่เกิดขึ้น หากมีการแบ่งปันข้อมูลตั้งแต่ต้น เมื่อเริ่มสงสัยว่าอาจมีการฉ้อโกงหรือสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อกระทำการดังกล่าว ในท้ายสุด หนังสือยังได้กล่าวถึงผลงานล่าสุดในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และกลไกที่ใช้เพื่อต่อต้านการทุจริตในกระบวนการดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กลไกการต่อต้าน กลไกเพื่อเพิ่มแรงจูงใจ การเน้นย้ำปัญหา การใช้แหล่งทรัพยากรสองด้าน ฯลฯ อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.thaicorruptionwatch.net/index.php?option=com_content&task=view&id=63
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 28-03-2007, 15:37 » |
|
ข้อมูลทีโพสต์มาถ้าเป็นความจริงก็เชิญโพสต์มาเลยครับ รออ่าน
เสียดายคุณแถน่าจะเอามาโพสต์ช่วงที่ รัฐบาลก่อนยังอยู่..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 28-03-2007, 17:44 » |
|
ข้อมูลทีโพสต์มาถ้าเป็นความจริงก็เชิญโพสต์มาเลยครับ รออ่าน
เสียดายคุณแถน่าจะเอามาโพสต์ช่วงที่ รัฐบาลก่อนยังอยู่..
เหอ เหอ พวกใจแคบมันลบเรียบแล้ว อุตส่าห์หามาแปลให้ มีที่มาที่ไปก็ยอมรับไม่ได้ อ้าว นึกว่าลบเอง โดนรัฐมนตรีคลัง สมัยทักษิณเต็มๆเลย ทักษิณจะบอกไม่รู้ก็ไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 28-03-2007, 17:49 » |
|
ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงบอกให้เห็นความมีสองมาตรฐานจริงๆ โดยเฉพาะในสายตาสื่อต่างประเทศ ใครถูกใครผิดก็ตามข้อเท็จจริงที่เห็น วิเคราะห์กันได้ คณะรัฐมนตรีสมัยทักษิณหรือแม้กระทั่ง ทักษิณก็เหอะ ไม่ใช่เทวดาที่ไหน ยอมรับกันมั่งดีกว่า ลบเรียบแบบนี้ปิดหูปิดตาใช่มั้ยล่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 28-03-2007, 17:59 » |
|
ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงบอกให้เห็นความมีสองมาตรฐานจริงๆ โดยเฉพาะในสายตาสื่อต่างประเทศ ใครถูกใครผิดก็ตามข้อเท็จจริงที่เห็น วิเคราะห์กันได้ คณะรัฐมนตรีสมัยทักษิณหรือแม้กระทั่ง ทักษิณก็เหอะ ไม่ใช่เทวดาที่ไหน ยอมรับกันมั่งดีกว่า ลบเรียบแบบนี้ปิดหูปิดตาใช่มั้ยล่ะ
เอาต้นฉบับต่างประเทศมาลง ก็ได้ถ้ามั่นใจว่าผิดกฎหมายนะ มติครม.เจตนาดีต่อประเทศไม่ขัดต่อกฎหมายก็ต้องไม่ผิด
ผิดตรงที่ผิดกฎหมาย เอาเข้ากระเป๋าตัวเอง หรือเอาไว้บีบกันเองครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-03-2007, 18:10 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 28-03-2007, 20:33 » |
|
ลบไปก็หนีความจริงไม่พ้นหรอก เหตุการณ์ในอดีตแก้ไม่ได้ ไม่ใช่สมัยจอมพลป.ที่จะมีการบันทึกแบบคลุมเครือ นี่สมัย ไหนแล้ว มันมีสองมาตรฐานเกิดขึ้น ถ้าคิดหลอกตัวเองต่อไป เรื่อยๆ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเรียกร้องหาความเท่าเทียม ความ โปร่งใสไม่คอรัปชั่นหรอก อยู่ไปอย่างนี้แหละมั่วไปวันๆ ตอแหลกันทั้งประเทศ
อุตส่าห์ตัดส่วนที่เป็นข้อความหมิ่นจากฉบับต่างประเทศ เหลือแต่เหตุการณ์ที่ไม่ใช่ความคิดเห็น ยังลบไม่เหลือซาก มันจะกลัวอะไรนักหนาวะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Body&Soul
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 28-03-2007, 20:43 » |
|
จากเดลินิวส์ ป้องกันคอร์รัปชันด้วยวิธีเปิดกว้าง การทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ล้วนเป็นสิ่งน่า รังเกียจ ไม่เป็นที่ยอมรับทั้งที่ลับและที่แจ้ง แต่การกระทำอันน่าชิงชัง ก็ยังเกิดขึ้นทุกวงการ โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีอำนาจหรือใกล้ชิดศูนย์อำนาจทางการเมือง ที่มักพยายามเสาะหาวิธีอันซับซ้อนเพื่อให้สามารถกระทำการใด ๆ ที่เนื้อแท้คือการคดโกง แต่ประชาชนจะหลงเข้าใจผิด คิดเห็นเป็นความชอบธรรม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกฝ่ายรวมถึงคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญกำลังหาทางร่างแนวทางป้องกัน เป็นแม่บทไว้ในกฎหมายหลักสำคัญสูงสุดของประเทศ ความพยายามที่จะป้องกันการทุจริต คดโกง ของ กลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนผู้ใกล้ชิดอำนาจมีหลาย รูปแบบ นอกจากคิดเองโดยอาศัยประสบการณ์ กับได้เชิญผู้รู้จากต่างประเทศมาให้แนวทาง ซึ่งปรากฏว่าแทบทุกประเทศไม่ได้มีกลไกที่ แยบคายสำหรับป้องกันการทุจริตที่มีความซับซ้อนยอกย้อนอย่างที่เกิด คงมีเพียงกฎเกณฑ์การตรวจสอบด้วยอำนาจประชาชน และการให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ทำหน้าที่อย่างเต็มที่กับระบบการถอดถอนที่มีประสิทธิภาพ ข้อสรุปของนักวิชาการจากต่างประเทศและปัญหา ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศ พบว่าทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ ระบบการถ่วงดุล และความมีเสรีภาพของสื่อมวลชน คือเกราะที่เข้มแข็งที่สุดสำหรับการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงที่ เปิดเผยโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า การเบียดบังหารายได้จากงบประมาณของรัฐได้ขยายตัว ลงลึกถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนมีเรื่องร้องเรียนกว่าหมื่นรายการ ดังนั้นจึงต้องหาทางจัดการโดยจัดตั้ง ป.ป.ช.ระดับจังหวัดขึ้นตรวจสอบ ดังกล่าวแล้วว่า การทุจริตคอร์รัปชันเป็นสิ่งน่า รังเกียจ ผู้กระทำจึงแสวงหาและพยายามทุกวิถีทางเพื่อเบี่ยงเบนผู้อื่น ให้เชื่อว่าสิ่งนั้น ๆ ดี มีประโยชน์ต่อส่วนรวม การจะป้องกันและ ปราบปรามให้ได้ผลจึงต้องอาศัยหูตาของประชาชน โดยเฉพาะสื่อมวลชนเป็นกลไก ซึ่งการจะไปสู่จุดนั้นทางการจะต้องกล้าเปิดข้อมูลทุกด้าน เช่น งบประมาณทุกรายการ ทุกระดับตั้งแต่กระทรวงจนถึงองค์การบริหารส่วนตำบลต้องเผยแพร่บนเว็บไซต์ การดำเนินการทุกขั้นตอน การใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง แม้กระทั่งรายได้ของผู้บริหารระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ต้องเผยแพร่ การทำให้ทุกฝ่ายรับรู้ข้อมูลจะเป็นการดักทางความประพฤติมิชอบได้ดีวิธีหนึ่ง. จะรอดูว่ามีแมวที่ไหนเอากระดิ่งไปผูกคอแมวด้วยกัน....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 28-03-2007, 20:46 » |
|
ลบไปก็หนีความจริงไม่พ้นหรอก เหตุการณ์ในอดีตแก้ไม่ได้ ไม่ใช่สมัยจอมพลป.ที่จะมีการบันทึกแบบคลุมเครือ นี่สมัย ไหนแล้ว มันมีสองมาตรฐานเกิดขึ้น ถ้าคิดหลอกตัวเองต่อไป เรื่อยๆ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเรียกร้องหาความเท่าเทียม ความ โปร่งใสไม่คอรัปชั่นหรอก อยู่ไปอย่างนี้แหละมั่วไปวันๆ ตอแหลกันทั้งประเทศ
อุตส่าห์ตัดส่วนที่เป็นข้อความหมิ่นจากฉบับต่างประเทศ เหลือแต่เหตุการณ์ที่ไม่ใช่ความคิดเห็น ยังลบไม่เหลือซาก มันจะกลัวอะไรนักหนาวะ
จะโพสต์อะไร ไม่แน่ใจว่าจริง ก็อ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดก็แล้วกัน
ด้วยความปรารถนาดีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 29-03-2007, 07:51 » |
|
ข้อคิดประจำวัน
ผิดกฎหมายอาจไม่ใช่การจงใจคอร์รัปชัน และบ่อยครั้งที่คอร์รัปชันไม่ผิดกฎหมายทั่วไปโดยตรง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
buntoshi
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 29-03-2007, 08:55 » |
|
กลุ่มทุน ความจริงแล้ว ไม่ได้พิศมัย แต่ก็ต้องสยบยอมเป็นสาวกลัทธินี้โดยไม่กล้าแข็งขืน เพราะนี้คือการเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น แต่ก็ต้องจำยอม โดยเนื้อแท้แล้ว ถ้าให้พวกเขาเลือก พวกเขาย่อมที่จะปฏิเสธอย่างแน่นอน
ดูอย่างกลุ่ม Chaebol หรือว่า Keiretsu ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ต้องพึ่งพาลัทธินี้ แต่สามารถนำพาองคาพยพทางธุรกิจ ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำของโลกได้ด้วยความรวดเร็ว Chaebol เกาหลีใต้ นั้นเริ่มต้นหลังเราด้วยซ้ำ เรายังส่งทหารไปช่วยรบกับเกาหลีเหนือ ตามคำสั่งใช้ตะวันตก Keiretsu นั่นก็เพิ่งมาเริ่มเอาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังประเทศพ่ายแพ้สงครามยับเยิน
ประชากรในประเทศเหล่านี้ ไม่ได้มีคุณธรรม จริยธรรม สติปัญญาความคิด สูงส่งกว่าคนไทยเลย แต่กลับมี Ranking ทางด้านความโปร่งใส สูงกว่าเราทั้งสิ้น ทั้งๆที่ในประเทศเหล่านั้นก็มีปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นเช่นกัน แต่ทำไม ทำไม และทำไม....มันถึงไปได้ไกลกว่าเรา
ตอบแบบง่ายๆเท่าสมองถั่วเขียวนะคะ นักการเมืองแถวบ้านเค้าอาจจะคอร์รัปบ้าง
แต่หน้าไม่ได้อย่างหนาตราช้าง กินแบบปอบเท่าคนแถวนี้ ปอบกับเปรตวิธีบริโภคต่างกันนะคะ
เพราะอย่างน้อยยังมีเวลาให้เอกชนหาเงินมาส่งส่วยเรื่อยๆ แบบว่ารอไข่ทองจากท้องห่านวันละฟองไง
ไม่ใช่จับห่านมาฆ่าเพื่อจะได้กินทั้งตัวกินทั้งไข่แบบนี้ไง อย่าเหิมเกริม จ้วงจาบหยาบช้า ถ้าหมดปัญญาจะเถียงก็จบหลบไปซะ อย่าถือสิทธิ์ว่าเป็นสตรี แล้วจะไม่กล้า "สวน"
โคตรเกลียดเลยไอ้พวกที่ชอบดูถูกคนไทยด้วยกันว่าโง่เขลาเบาปัญญากว่าตน
ทำไมสันดานพวกที่เกลียดทักษิณ ถึงได้ชอบดูแคลนคนไทยด้วยกันเองก็ไม่ทราบ หาว่าคนไทยที่ยากจน มันโง่มั่ง ไร้การศึกษามั่ง นักการเมือง ต่างชาติมันซื่อสัตย์มั่ง ถึงจะโกง ก็โกงน้อยกว่า นักการเมืองไทย
ถ้าแก้ไขอุปนิสัยสันดานที่ชอบดูถูกดูแคลนคนไทยด้วยกันเองไม่ได้ ก็อย่าหวังที่จะไปแสวงหาความเจริญได้ที่ไหน ถ้าแน่จริงลองไปชี้หน้าด่าพวกขับ สามล้อ Taxi ให้ชมเป็นขวัญตาหน่อย ว่าทำไมพวกมันถึงได้โง่เชียร์ทักษิณกันอยู่ได้ พวกมันโง่ พวกมันไร้การศึกษา ใช่หรือเปล่า เชิญไปชี้หน้าด่าได้เลย
แต่ถ้าเจอหน้าคนพวกนั้นแล้วไม่กล้า หดหัวหรุบหางเป็นเต่าในกระดอง เสแสร้งแกล้งทำเป็นคุยดีด้วย นี่ถือว่าเลวยิ่งกว่านักการเมือง ที่ตัวเองด่าเสียอีก เพราะอย่างไรเสีย นักการเมืองบ้านนอกคอกนา ยังไงมันก็ไม่ดูแคลนกำพืดตัวเอง
คุณโครตผีดุ ผมว่าคุณสันดาน และ ทุเรศมาก คุณอ่านความเห็นเค้าไม่เข้าใจ และ มาด่า เค้าทำไม ทำตัวทุเรศกว่าข้อความอีก
ที่ว่าสมองถั่ว คุณดอกฟ้าเค้าออกตัวหมายถึงสมองเค้าเอง อ่านดูดีๆ ก็น่าจะรู้
นี่อะไรไปกล่าวหาเค้าแล้วมาด่า ว่าจ้วงจาบหยาบช้า ทุเรศว่ะ
ถ้าไม่ขอโทษก็ ไม่รู้ว่าจะพูดว่าอะไรแล้วนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น.... ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ---------------------------
|
|
|
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 29-03-2007, 09:10 » |
|
ข้อคิดประจำวัน ผิดกฎหมายอาจไม่ใช่การจงใจคอร์รัปชัน และบ่อยครั้งที่คอร์รัปชันไม่ผิดกฎหมายทั่วไปโดยตรง
แบบนี้ต้องนิยามคำว่า คอร์รัปชั่น ใหม่แล้ว พยายามให้ความเห็นหลายทีแล้วว่า ให้มอง K และคนรอบข้างแยกจากกัน เพราะคนรอบข้าง รับใช้อาจจะใกล้ชิดหรือไม่ก็ตาม เป็นคน มีกิเลส มีการคิดเอง มีการทำนอกเหนือคำสั่ง มีการ ไม่ทำตามคำสั่ง หาผลประโยชน์ใส่ตัวได้หมด การไปมองว่าพฤติกรรมของคนรอบข้างตลอด จนถึงองค์กรที่อยู่ภายใต้ ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ทุกอย่าง จะเป็นการปกป้องคนรอบข้าง ไปด้วย ถ้าคนรอบข้างกระทำผิด ทุจริต คอรัปชั่นจริง ใครจะตรวจสอบ จะให้คนเหล่านั้นอาศัย พระบารมีมาปกป้องความผิดด้วยเหรอ หลักการง่ายๆ ที่จะมองว่าการกระทำขององค์กรหรือคนรอบข้างทำแล้วไม่น่าจะถูกต้อง ให้เทียบกับหลัก 10 ข้อนี้ ๑. ทาน, ๒. ศีล, ๓. บริจาค, ๔. ความซื่อตรง, ๕. ความอ่อนโยน, ๖. ความเพียร, ๗. ความไม่โกรธ, ๘. ความไม่เบียดเบียน, ๙. ความอดทน, ๑๐. ความเที่ยงธรรม ถ้าผลของการกระทำของคนรอบข้างเหล่านั้นออกมาแล้วมองยังไงก็ไม่เข้าหลักสิบข้อนี้ ให้ ตัดสินได้เลยว่า คนกลุ่มนั้นไม่ได้ทำตามพระราชประสงค์ จะปกป้องใครก็ขอให้อยู่ในขอบเขต ด้วย เดี๋ยวนี้ยุคข้อมูลข่าวสารกันแล้ว ไม่ใช่จะยกเมฆเอาความคิดเห็นด่าแหลกมา post
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 29-03-2007, 15:44 » |
|
ข้อคิดประจำวัน ผิดกฎหมายอาจไม่ใช่การจงใจคอร์รัปชัน และบ่อยครั้งที่คอร์รัปชันไม่ผิดกฎหมายทั่วไปโดยตรง
แบบนี้ต้องนิยามคำว่า คอร์รัปชั่น ใหม่แล้ว พยายามให้ความเห็นหลายทีแล้วว่า ให้มอง K และคนรอบข้างแยกจากกัน เพราะคนรอบข้าง รับใช้อาจจะใกล้ชิดหรือไม่ก็ตาม เป็นคน มีกิเลส มีการคิดเอง มีการทำนอกเหนือคำสั่ง มีการ ไม่ทำตามคำสั่ง หาผลประโยชน์ใส่ตัวได้หมด การไปมองว่าพฤติกรรมของคนรอบข้างตลอด จนถึงองค์กรที่อยู่ภายใต้ ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ทุกอย่าง จะเป็นการปกป้องคนรอบข้าง ไปด้วย ถ้าคนรอบข้างกระทำผิด ทุจริต คอรัปชั่นจริง ใครจะตรวจสอบ จะให้คนเหล่านั้นอาศัย พระบารมีมาปกป้องความผิดด้วยเหรอ หลักการง่ายๆ ที่จะมองว่าการกระทำขององค์กรหรือคนรอบข้างทำแล้วไม่น่าจะถูกต้อง ให้เทียบกับหลัก 10 ข้อนี้ ๑. ทาน, ๒. ศีล, ๓. บริจาค, ๔. ความซื่อตรง, ๕. ความอ่อนโยน, ๖. ความเพียร, ๗. ความไม่โกรธ, ๘. ความไม่เบียดเบียน, ๙. ความอดทน, ๑๐. ความเที่ยงธรรม ถ้าผลของการกระทำของคนรอบข้างเหล่านั้นออกมาแล้วมองยังไงก็ไม่เข้าหลักสิบข้อนี้ ให้ ตัดสินได้เลยว่า คนกลุ่มนั้นไม่ได้ทำตามพระราชประสงค์ จะปกป้องใครก็ขอให้อยู่ในขอบเขต ด้วย เดี๋ยวนี้ยุคข้อมูลข่าวสารกันแล้ว ไม่ใช่จะยกเมฆเอาความคิดเห็นด่าแหลกมา post ข้อเขียนของแถ แสดงให้เห็นว่าแถยังมีความใฝ่ดี และพยายามจะแยกแยะ
แม้ว่าเรื่องคอร์รัปชันและบารมี แถจะยังต้องพยายามตีโจทย์ต่อไปจนถึงที่สุดก็ตามที
ดังนั้นก็อยากจะให้ความเห็นเสนอแนะเรื่องหนึ่งคือ แถอาจจะเป็น "ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการคอร์รัปชันจากมุมมองของทักษิณ" ก็ได้ท่านทราบไหมว่า การให้คำนิยาม และข้อเสนอแนะในการแก้ไขคอร์รัปชันตามบริบทของสังคมไทยสำคัญมาก ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 30-03-2007, 00:09 » |
|
เอาบทความมาแปะครับ
คอร์รัปชั่นจะไม่มีวันหายไปจากประเทศไทย มันอยู่ในเลือดเนื้อของสังคมไทยเอง โดย กัญจนา สปินเล่อร์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง มติชนรายวัน วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10565
ถ้อยคำของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ตามหัวเรื่องบทความที่กล่าวต่อผู้คนในโลกผ่านนิตยสาร Time ฉบับล่าสุดเป็นคำกล่าวยอมรับผิด? หรือเป็นเพียงการบอกกล่าวข้อเท็จจริงเท่านั้น?
ในบรรดาถ้อยคำที่อดีตนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ปกป้องตนเองผ่านสื่อต่างประเทศในระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมไทยควรต้องใส่ใจกับถ้อยคำข้างต้นนี้เป็นพิเศษ
แม้เราจะถือว่า การที่อดีตนายกรัฐมนตรีนำเรื่องไม่งามของชาติมาบอกเล่าต่อสาธารณชนในโลก จะเป็นการยอมทำให้บ้านเมืองเสียหาย เพียงเพื่อปกป้องตนเองอันเป็นเรื่องน่าอัปยศ แต่เราก็ควรคำนึงถึงสารที่ซ่อนอยู่ในถ้อยคำของอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งคือ
"ประเทศไทยบริหารปกครองกันไม่ได้ ถ้าไม่คดโกงฉ้อฉล"
เพื่อไม่ให้ใครลืม เรื่องนี้คือ ประเด็นหลักที่ทำให้เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และทุกวันนี้ก็เป็นปัญหาท้าทายใหญ่หลวง สำหรับประชาชนคนไทย 64 ล้านคน
ถ้ายอมรับว่าถ้อยคำของคุณทักษิณถูกต้องเป็นจริง ก็เท่ากับยอมรับการพ่ายแพ้ที่จะก่อให้เกิดหายนะใหญ่หลวง ต่อประเทศชาติบ้านเมืองอันเป็นที่รัก
ถ้ายอมรับว่าถ้อยคำของคุณทักษิณถูกต้องเป็นจริง ก็เท่ากับว่าเราทอดทิ้งระบบนิติรัฐ และครรลองแห่งกฎหมาย อันเป็นลักษณะสำคัญของสังคมอารยะ
ถ้ายอมรับว่าถ้อยคำของคุณทักษิณถูกต้องเป็นจริงก็หมายความว่า เรายอมอยู่ใต้กฎเกณฑ์ของป่า คือ ยอมให้ผู้มีอำนาจปกครองโดยไร้การทัดทานท้าทายใดๆ
หรือนี่คือประเทศไทยที่เราปรารถนาจะส่งมอบเป็นมรดกให้ลูกหลานไทยในอนาคต?
ผู้เขียนรู้จักคนคนหนึ่งที่จะดื้อดึงคัดค้านไม่ยอมจำนนต่อคุณทักษิณ
คนคนนี้ยอมสละชีวิตหลังเกษียณอายุราชการที่สุขสันโดษด้วยศีลด้วยธรรมกลับมารับใช้ชาติเป็นครั้งสุดท้าย
คนคนนี้ไม่ยอมเชื่อว่าจะขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงให้พ้นไปจากแผ่นดินไทยไม่ได้
ถ้าดูเผินๆ อาจรู้สึกว่า แนวทางการปฏิบัติของคนคนนี้ เป็นภารกิจที่เป็นไปไม่ได้จริง เพราะงานของเขามีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ
ต้องปฏิรูปการเมืองให้สำเร็จ นำไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และมีเสร็จก่อนสิ้นปีนี้
ฟื้นคืนความรักสามัคคีในชาติ รักษาบาดแผลปริแตกทางสังคมที่เกิดจากความแตกแยกทางการเมืองที่คุณทักษิณสร้างขึ้น สถาปนาความยุติธรรมและความสมานฉันท์ระหว่างผู้คนพุทธและมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจเพื่อลดช่องว่างทางรายได้อันมหาศาลระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบท
สถาปนาระบอบนิติรัฐด้วยการขจัดมะเร็งร้ายแห่งการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เกาะกินทุกภาคส่วนในสังคมไทยให้สิ้นไป เพื่อช่วยให้เกิดความยุติธรรมที่เสนอหน้ากันสำหรับทุกคนในสังคมไทย
เป้าหมายแต่ละข้อก็ยากเข็ญอยู่แล้ว แต่คนคนนี้เข้าใจดีว่าเป้าหมายทั้ง 4 ข้อล้วนเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน เขายังเข้าใจด้วยว่าข้อ 4 คือ การสถาปนาระบบนิติรัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งจะทำให้ภารกิจอื่นๆ เกิดขึ้นได้จริง หากพลเมืองของเราไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างเสมอหน้ากัน เป้าหมายอื่นๆ ก็เป็นอันหมดความหมาย
แต่เป็นเช่นนี้จริงหรือ? ถ้าเราเขียนรัฐธรรมนูญที่เลิศวิจิตรมาได้ ถ้าเรารับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จริง ถ้าเราถอนรากการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เผาไหม้สังคมไทยตั้งแต่คุณทักษิณครองอำนาจจนสำเร็จ ถ้าเราปฏิรูประบบการบริหารงานยุติธรรม และกิจการตำรวจจนเป็นผล ทั้งหมดนี้จะร่วมกันสรรค์สร้าง ระบบนิติรัฐขึ้นมาได้ไม่ใช่หรือ?
น่าเสียดายที่คำตอบคือ "ไม่ใช่ และไม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้ยังไม่พอ" รัฐบาลไม่สามารถบัญชาให้เกิดระบบนิติรัฐขึ้นมาได้ โดยไม่ได้รับความเห็นพ้อง และร่วมจิตร่วมใจจากพลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศ เราทุกคนต้องตัดสินใจ เราทุกคนต้องปฏิเสธการฉ้อราษฎร์บังหลวง
เรามีเวลา 8 เดือนที่จะตัดสินใจเลือก และไม่มีทางลัดใดๆ ด้วย ก็เช่นเดียวกับที่สันติภาพที่แท้จริง ไม่อาจก่อกำเนิดขึ้นได้ด้วยการใช้วิธีการรุนแรง ระบบนิติรัฐก็ไม่อาจสถาปนาขึ้นมาได้โดยไม่ใส่ใจกับกฎหมาย
แม้ผู้คนจำนวนมากจะอยากเห็นการสอบสวนคดีทุจริตฉ้อฉลสรุปความ ตั้งข้อหาและตัดสินคดีอย่างเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ แต่ทุกสิ่งต้องดำเนินไปตามครรลองของกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า รัฐบาลนี้ก็ดำเนินรอยตามรัฐบาลทักษิณนั่นเอง
สุภาพบุรุษนายทหารคนนี้ของเราเข้าใจเรื่องนี้ดี แม้แต่เขาเองก็มีความอดทนจำกัด ในระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างก้าวไปช้ามาก ทั้งหมดนี้น่าจะเร่งร้อนเร็วขึ้นในเวลาข้างหน้า
คลื่นแห่งการปฏิรูปที่ให้น้ำหนักกับการสร้างความเข้มแข็งต่อระบบนิติรัฐน่าจะปรากฏขึ้นเร็วๆ นี้ น่าจะมีรายการเสนอทางเลือก ต่อสาธารณชนครั้งใหญ่ให้เราทุกคนมีโอกาสตัดสินใจในฐานะประชาชาติเดียวกัน
และศาลของเราคงชี้ชัดให้คนทั้งชาติให้รู้เห็นกันว่า ที่แล้วมาคุณทักษิณได้พูดความจริงหรือความเท็จ
หน้า 6
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-03-2007, 00:21 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 30-03-2007, 00:29 » |
|
ข้อคิดที่ผมเคยกล่าวไว้ช่วงที่รัฐบาลทักษิณยังอยู่ และยังคงต้องคำนึงถึงต่อไปเป็นอันดับถัดมาก็คือ
เราจะแก้ปัญหาความยากจนไม่สำเร็จ ถ้าหากแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ได้เสียก่อน
ทั้งนี้ก็เพราะว่าระบบทุกชนิดจะเป็นง่อยและเกิดสภาพสภาวะเสื่อมโทรม ไปจนถึงคุณภาพประชากรตกต่ำ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-03-2007, 00:45 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 30-03-2007, 00:49 » |
|
ปัญญาหาคอร์รัปชั่นมันฝังรากลึกลงไปในสังคมไทยจนแยกไม่ออก
เพราะพอพูดไปตั้งวงวิสัชชนาก็มาสู่ปัญหาเดิมๆอีก ถ้าใครอยากจะแก้คงต้องใช้กลยุทธ์
และแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการมากล่าวอย่างเลื่อนลอย
เพราะที่ผ่านมาชนชั้นระดับรากหญ้าถูกสังคมที่เหนือกว่าพวกเค้าและเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียน
ในสิ่งที่เค้าควรได้จากข้าราชการระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด แบบรู้เห็นแต่พูดไม่ออกและอยู่ในภาวะจำยอมตลอดเวลา
ใครจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้พวกเค้าได้บ้าง รัฐบาลไหนหรือใคร หรือแค่ป็นเพียงคำพูดลอยลมที่มองดูสวยงาม
แต่จับต้องไม่เคยได้ และไม่มีวันเป็นไปได้อีกนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 30-03-2007, 01:00 » |
|
ปัญญาหาคอร์รัปชั่นมันฝังรากลึกลงไปในสังคมไทยจนแยกไม่ออก
เพราะพอพูดไปตั้งวงวิสัชชนาก็มาสู่ปัญหาเดิมๆอีก ถ้าใครอยากจะแก้คงต้องใช้กลยุทธ์
และแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการมากล่าวอย่างเลื่อนลอย
เพราะที่ผ่านมาชนชั้นระดับรากหญ้าถูกสังคมที่เหนือกว่าพวกเค้าและเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียน
ในสิ่งที่เค้าควรได้จากข้าราชการระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด แบบรู้เห็นแต่พูดไม่ออกและอยู่ในภาวะจำยอมตลอดเวลา
ใครจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้พวกเค้าได้บ้าง รัฐบาลไหนหรือใคร หรือแค่ป็นเพียงคำพูดลอยลมที่มองดูสวยงาม
แต่จับต้องไม่เคยได้ และไม่มีวันเป็นไปได้อีกนาน
กลยุทธ ย่อมต้องรุกตีทั้งบนและล่างสลับและเสริมกันครับ ผ่านนโยบายต่างๆ ที่นำไปสู่ plublic inerest politic ซึ่งควรจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการเมืองการปกครอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 30-03-2007, 01:05 » |
|
กลยุทธ ย่อมต้องรุกตีทั้งบนและล่างสลับและเสริมกันครับ ผ่านนโยบายต่างๆ ที่นำไปสู่ plublic inerest politic ซึ่งควรจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการเมืองการปกครอง สิ่งที่กล่าวมาหากรัฐบาลไหนทำได้จะขอชื่นชมค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
gomadare
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 15
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 30-03-2007, 01:09 » |
|
รากแก้วแถวนี้ประนังนอบน้อมใครก็ตามที่มีทรัพย์สินมั่งคั่ง ทำไงดีงะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 30-03-2007, 01:12 » |
|
ถ้าได้ผู้นำที่เก่ง หนุ่ม อดทน และมีความเข้าใจ มีแรงจูงใจและวิธีการถูกต้อง มีผู้อาวุโสเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญ ก็ขับเคลื่อนตั้งต้นได้มากทีเดียวครับ
เพราะว่าการเมือง เศรษฐกิจและสังคมต้องไปด้วยกัน การที่คอร์รัปชันเข้มแข็งนั้น ก็เพราะมันลงลึกถึงระดับวัฒนธรรม
และเกือบจะเป็นจิตวิญญาณของคนในชาติไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 30-03-2007, 01:16 » |
|
รากแก้วแถวนี้ประนังนอบน้อมใครก็ตามที่มีทรัพย์สินมั่งคั่ง ทำไงดีงะ
ก็อย่าเป็นศัตรูกับคนสิครับ ถ้าเราไม่คิดจะฆ่าเขาให้ตาย อย่างมากที่สุดก็สาปให้เป็นก้อนหิน อิอิ
ทุกอย่างต้องใช้เงินพอสมควรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดอกฟ้ากับหมาวัด
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 30-03-2007, 01:18 » |
|
รากแก้วแถวนี้ประนังนอบน้อมใครก็ตามที่มีทรัพย์สินมั่งคั่ง ทำไงดีงะ
อันนี้ก็ไม่อาจทราบได้ค่ะ ว่าใครชอบอะไรแบบไหน
คงแล้วแต่ความสำนึกและจิตวิญญาณ ที่จะแยกแยะความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้มากน้อยแค่ไหน
คงแล้วแต่ปูมหลังและการอบรมสั่งสอนจากบุพการีค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
|
|
|
********Q********
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: 30-03-2007, 01:33 » |
|
รากแก้วแถวนี้ประนังนอบน้อมใครก็ตามที่มีทรัพย์สินมั่งคั่ง ทำไงดีงะ
ก็อย่าเป็นศัตรูกับคนสิครับ ถ้าเราไม่คิดจะฆ่าเขาให้ตาย อย่างมากที่สุดก็สาปให้เป็นก้อนหิน อิอิ
ทุกอย่างต้องใช้เงินพอสมควรครับ คือผมให้ข้อคิด จากประสบการ์ณชีวิตเพิ่มเติมแล้วกันครับ
ในสังคมวงกว้าง ศักดิ์ของคน อาจจะอยู่ที่เงิน
ในสังคมที่ดี และมนุษย์ต้องการอย่างแท้จริงนั้น ศักดิ์ศรีย่อมอยู่ที่ความดีหรือคุณประโยชน์ที่กระทำต่อเพื่อนมนุษย์
ซึ่งเจ้าของศักดิ์ศรีจะทราบได้เองว่าตนเองเป็นอย่างที่ตนเองรังเกียจแค่ไหนครับ หากเขาจะสำรวจแรงจูงใจและค่านิยมของตนเองอย่างระมัดระวัง
ความสุภาพถ่อมใจ จะต้องเป็นจุดยืนที่ต้องรักษาไว้ตลอดไป หากไม่อยากเป็นแบบคนอื่นๆที่เคารพกราบไหว้เงินทอง หรือโลภโดยไม่รู้จักใช้เงินให้สร้างสรรค์
จากนั้นเราก็จะส่งต่ออิทธิพลชีวิต ไปยังคนอื่นๆได้อย่างที่คาดหวังมากขึ้น
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-03-2007, 01:36 โดย ********Q******** »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
gomadare
น้องใหม่
ออฟไลน์
กระทู้: 15
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 30-03-2007, 01:35 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|