ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 19:05
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  รัฐประหารและการเลือกตั้ง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
รัฐประหารและการเลือกตั้ง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์  (อ่าน 2828 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 26-03-2007, 06:51 »

รัฐประหารและการเลือกตั้ง

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

หลายคนเชื่อว่ารัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยแบบไทย

ผมคิดว่าจริง แต่จริงภายใต้เงื่อนไขที่น่ากลัวมาก

ที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบไทยคืออะไร สรุปให้เหลือสั้นๆ ก็คือการแบ่งปันอำนาจกัน
อย่างไม่สู้ลงตัวนักระหว่างชนชั้นนำของสังคม


ในระยะแรก ชนชั้นนำได้แก่พวกอำมาตย์และเสนา ซึ่งร่วมมือกันกดดันเพื่อแบ่งปันอำนาจ
จากชนชั้นนำตามจารีต มาไว้ส่วนหนึ่ง ฉะนั้นในช่วงนั้น การรัฐประหาร (ทั้งโดยอาวุธและ
การกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ-เช่น งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา) คือเครื่องมือที่จะเพิ่มพูน
อำนาจที่แบ่งปันกันอย่างไม่ลงตัว ระหว่างเสนาอำมาตย์และชนชั้นนำตามจารีต ผลที่สุด
ดูเหมือนฝ่ายเสนาอำมาตย์จะสามารถถือไพ่ใบเหนือกว่าได้

การสละราชสมบัติของ ร.7 ในขณะที่ ร.8 ยังทรงพระเยาว์ และสภาพของสงครามมหา
เอเชียบูรพา และการเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันของ ร.8 ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ฝ่าย
ชนชั้นนำตามจารีตต้องยอมถอยออกไปจากสนามประลองกำลัง

แต่เหล่าเสนาอำมาตย์ก็หาได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แย่ง
ชิงการนำกันอย่างหนัก จนบางฝ่ายต้องหันไปร่วมมือกับกลุ่มชนชั้นนำตามจารีต ก่อการ
รัฐประหารจนสามารถปราบคู่ปรปักษ์ได้ แต่การรัฐประหารก็ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ คือ
การแบ่งปันอำนาจที่ไม่ลงตัวระหว่างเหล่าเสนาอำมาตย์ฝ่ายชนะกับฝ่ายชนชั้นนำตาม
จารีตซึ่งกลับเข้าสู่สนามประลองกำลังใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง แม้อย่างไม่เข้มแข็งเท่าเดิม
ก็ตาม

แล้วก็เกิดความแตกร้าวในหมู่เสนาอำมาตย์กันใหม่อีกรอบหนึ่ง ซึ่งต้องตัดสินกันด้วย
การรัฐประหารตามเคย ฝ่ายที่ประสบชัยชนะได้รับความร่วมมือจากชนชั้นนำตามจารีต
อย่างออกหน้า อีกทั้งต้องแสวงหาความชอบธรรมทางการเมืองจากอุดมการณ์ของ
เหล่าชนชั้นนำตามจารีตอย่างสุดตัว ทำให้ฝ่ายชนชั้นนำตามจารีตมีโอกาสสั่งสมบารมี
และอำนาจเพิ่มพูนขึ้นในสังคม

แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ถืออำนาจเด็ดขาด ยังจำเป็นต้องแบ่งปันอำนาจระหว่างชนชั้นนำด้วยกัน
อันประกอบด้วยคนที่มีความหลากหลายขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ได้แก่ ชนชั้นนำตามจารีต,
เหล่าเสนาอำมาตย์, นักธุรกิจ (ซึ่งก็แตกตัวหลากหลายเพิ่มขึ้นตลอดมา), ปัญญาชน,
เจ้าพ่อท้องถิ่น, และคนชั้นกลางระดับบน ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงยุทธศาสตร์ในสงครามเย็นของ
สหรัฐ ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญในการแบ่งปันอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำไทย

ในท่ามกลางการแบ่งปันอำนาจที่ไม่ลงตัวนี้ ชนชั้นนำใช้การรัฐประหารเป็นเครื่องมือ
ในการแก้ไขความขัดแย้ง

เหตุใดจึงไม่ใช้การเลือกตั้ง?

ก็เพราะการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันที่กลุ่มชนชั้นนำส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ทรัพยากร
ทางการเมืองที่อยู่ในมือของตนเพื่อการแข่งขันได้
การมีฐานะเป็นผู้ถือปริญญาเอกและศาสตราจารย์ ไม่มีความหมายในการเลือกตั้ง
เช่นเดียวกับการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเหล้า-เบียร์, เป็นอดีตอธิบดี หรือเป็น มรว.
ล้วนไม่ได้มีส่วนช่วยให้ชนะการเลือกตั้งเลย...
และด้วยเหตุดังนั้น การเลือกตั้งจึงถูกคนกลุ่มนี้ลดความหมายให้เหลือเพียงการซื้อสิทธิ
ขายเสียง (ซึ่งจริงเพียงส่วนเดียว)


ตรงกันข้าม การเลือกตั้งเปิดโอกาสให้บางกลุ่มในหมู่ชนชั้นนำได้เปรียบในดุลแห่ง
อำนาจที่ไม่ลงตัว เช่น เจ้าพ่อท้องถิ่น, ผู้นำท้องถิ่น, นักธุรกิจที่สามารถลงทุนสนับสนุน
นักการเมืองและพรรคการเมือง, คนที่เข้าถึงสื่อ ฯลฯ ยิ่งระบอบเลือกตั้งดำรงอยู่นาน
เท่าไร คนกลุ่มนี้จะยิ่งสั่งสมอำนาจเพิ่มพูนขึ้นและมั่นคงขึ้น จนกระทั่งยากที่กลุ่มอื่นใน
ชนชั้นนำจะต่อรองแบ่งปันอำนาจให้ "ลงตัว" แม้เพียงชั่วคราว

เพราะประชาธิปไตยแบบไทยหมายถึงการปกครองของชนชั้นนำ, โดยชนชั้นนำ และ
เพื่อชนชั้นนำ
การเลือกตั้งและการรัฐประหารจึงเป็นเครื่องมือสำหรับการแบ่งปันอำนาจ
เท่าๆ กัน
ใช้การเลือกตั้งหากสามารถแบ่งปันอำนาจกันได้ และรัฐประหารเมื่อรู้สึกว่าการแบ่งปัน
อำนาจไม่ "ลงตัว"

เป็นความเข้าใจผิดที่คิดว่า การรัฐประหารในประเทศไทยไม่มีความรุนแรง
ตรงกันข้าม การรัฐประหารสร้างความรุนแรงในสังคมมากกว่าการเลือกตั้ง (ซึ่งมีการฆ่า
หัวคะแนนและคู่แข่งกันอยู่บ้างเหมือนกัน) เสียอีก คู่ปรปักษ์ทางการเมืองต้องลี้ภัยไป
ต่างประเทศ หลายคนต้องจบชีวิตนอกประเทศไทย ไม่แต่เพียงผู้ที่เป็นหัวโจกของ
กลุ่มปรปักษ์เท่านั้น ลูกสมุนเองก็ต้องลี้ภัย หรือมิฉะนั้นก็ถูกเก็บเข้ากรุในระบบราชการ
บางครั้งผู้ทำรัฐประหารสร้างคุกพิเศษสำหรับจำขังลูกสมุน

การฆ่าก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของการขจัดปรปักษ์ทางการเมือง คณะรัฐประหารทุกชุดย่อม
แสวงหาความชอบธรรมของตนจากการสร้างภาพความสงบเรียบร้อย และวิธีที่จะได้ภาพ
นั้นมาเร็วที่สุดคือความรุนแรง ฉะนั้นจึงมีผู้คนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มชนชั้นนำต้องรับเคราะห์
จากคณะรัฐประหารอีกมาก บ้างถูกจับในข้อหาคอมมิวนิสต์, บ้างต้องทิ้งครอบครัวหนี
เข้าป่า, บ้างถูกทหารใช้กำลังขับไล่ออกจากเขตป่าสงวนฯซึ่งเคยทำกินมาหลายสิบปี,
บ้างถูกสั่ง "เก็บ" ทั้งจากคณะรัฐประหารเอง หรือจากเจ้าพ่อท้องถิ่นซึ่งคณะรัฐประหาร
ต้องการดึงมาเป็นพันธมิตร, บ้างถูกประหารชีวิตตามคำพิพากษา

ไม่แต่เพียงบุคคลที่ต้องเผชิญชะตากรรมในฐานะผู้แพ้เท่านั้น เราต้องคิดถึงครอบครัว
ญาติมิตรของคนเหล่านั้นด้วย เพราะชะตากรรมของเด็กและคนแก่อีกมากที่ตกเป็นเหยื่อ
ของการรัฐประหาร เพียงเพราะพวกเขาบังเอิญมีสายสัมพันธ์กับผู้แพ้

ถึงแม้ไม่มีการหลั่งเลือดกลางถนน แต่การเมืองไทยเป็นการเมืองที่รุนแรงตลอดมา ทั้ง
ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองแต่อย่างใด (เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแทบ
ทุกประเทศ-ไม่ว่าเราจะชอบระบอบปกครองของเขาหรือไม่)

แต่ดังที่กล่าวแล้วว่าการเมืองไทยเป็นการเมืองของกลุ่มชนชั้นนำเท่านั้น และหนทาง
สำหรับแก้ไขความขัดแย้งโดยสงบในหมู่ชนชั้นนำมีน้อย กลุ่มชนชั้นนำตามจารีตซึ่งได้
เพิ่มพูนบารมีและอำนาจขึ้นอย่างมากในช่วงสี่-ห้าทศวรรษที่ผ่านมา จะสามารถอำนวย
การนำ เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงในความขัดแย้งกันได้หรือไม่?

ผมไม่แน่ใจในคำตอบนัก
แต่เมื่อย้อนกลับไปคิดถึงสภาพการเมืองภายใต้รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อัน
เป็นช่วงที่ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองมีสูงมาก (เปลี่ยนรัฐบาลผสมหลายครั้ง,
ความพยายามรัฐประหารหลายครั้ง, ยุบสภาหลายครั้ง, กองทัพตบเท้าก็หลายครั้ง,
จนถึงที่สุดเปลี่ยนรัฐบาลได้ไม่ใช่จากผลการเลือกตั้งแต่เป็นผลของการชุมนุมใหญ่)
การนำของกลุ่มชนชั้นนำตามจารีตไม่ได้ช่วยลดความรุนแรงลงเลย

ที่ร้ายไปกว่านั้น การเมืองไทยซึ่งประกอบด้วยการเลือกตั้งสลับกับรัฐประหารในช่วง
2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้ดึงเอาคนหน้าใหม่เข้ามามีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น นับ
ตั้งแต่คนชั้นกลางระดับกลาง (นักวิชาชีพ) ลงไปถึงชาวบ้านในท้องถิ่น แต่ไม่มีพื้นที่
ในโครงสร้างชนชั้นนำเปิดให้คนกลุ่มนี้เข้าไปร่วมแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ด้วย
ฉะนั้นคนกลุ่มนี้จึงกระโดดไปมาระหว่างการเลือกตั้งและการรัฐประหาร แล้วแต่ว่าอย่างใด
จะให้อำนาจแก่ตนมากกว่าในสถานการณ์หนึ่งๆ

โดยทั่วๆ ไปอาจกล่าวได้ว่ากลุ่มคนหน้าใหม่ในการเมืองไทยเหล่านี้พอใจการเลือกตั้ง
มากกว่า
เพราะระบอบเลือกตั้งเปิดโอกาสให้กลุ่มชนชั้นนำต้องฟังเสียงของตัวมากขึ้น
ทำให้ระบอบเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ของการเมืองไทยหลัง 2520 เป็นต้นมา แต่คนกลุ่ม
นี้ก็ไม่รังเกียจที่จะสนับสนุนการรัฐประหาร หากพบว่าระบอบปกครองที่ได้มาลิดรอน
อำนาจของตน ดังเช่นการสนับสนุนคณะรัฐประหาร (ที่ล้มเหลว) หลายครั้งภายใต้รัฐบาล
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ผมเชื่อว่า การเข้ามาในเวทีการเมืองของคนกลุ่มใหม่นี้ จะมีผลต่อการรัฐประหารด้วย
นั่นก็คือจะทำรัฐประหารอย่างไรให้ได้เปรียบคู่ปรปักษ์ในหมู่ชนชั้นนำด้วยกัน และใน
ขณะเดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากคนหน้าใหม่เหล่านี้พอสมควร การรัฐประหารเริ่ม
กลายเป็น "การเมืองมวลชน" มากขึ้น

นอกจากนี้การเข้ามาของคนกลุ่มนี้ ยังทำให้การแบ่งปันอำนาจที่ไม่ลงตัวของกลุ่มชน
ชั้นนำมีความสลับซับซ้อนขึ้น ดึงให้บางกลุ่มของชนชั้นนำหันไปใช้การเลือกตั้งเพื่อ
ชิงไหวชิงพริบในการแบ่งปันอำนาจมากกว่าการรัฐประหาร

จะเหลือกลุ่มที่ต้องใช้การรัฐประหารในหมู่ชนชั้นนำน้อยกลุ่มลง (คือกลุ่มที่ไม่สามารถ
หรือมีข้อจำกัดที่จะแข่งขันทั้งทางลับหรือเปิดเผยในสนามเลือกตั้ง) ทำให้เห็นได้ชัด
แก่สาธารณชนมากขึ้น ซึ่งแปลว่ากลุ่มนี้ต้องรับผิดชอบต่อการรัฐประหารที่ตัวก่อขึ้น
อย่างเปิดเผยมากขึ้นไปด้วย
พูดอีกอย่างหนึ่งคือจะกลายเป็นเป้าให้แก่การวิเคราะห์,
วิพากษ์วิจารณ์, และโจมตีของสาธารณชนโดยตรง ท่ามกลางอำนาจเซ็นเซอร์ที่ไร้
ประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ

ดังเช่น คมช. ไม่อาจซ่อนตัวเองเบื้องหลังรัฐบาลที่ตัวตั้งขึ้นได้มิดชิดเท่ากับ รสช.
เป็นต้น

ยุคสมัยแห่งการลื่นไหลกำลังจะหมดไปแก่ประชาธิปไตยแบบไทย หรือการเมืองของ
ชนชั้นนำเสียแล้ว


มติชน วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10607

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03260350&day=2007/03/26&sectionid=0130

ขอให้เป็นอย่าง อ. ว่า นะคะ
สูญพันธุ์ไปซะที พวกไดโนเสาร์เต่าล้านปี
ที่คิดว่ารัฐประหารแก้ปัญหาได้
โลกสมัยการสื่อสารไร้พรมแดน
ไม่อาจปิดหูปิดตาประชาชนง่ายๆ
ด้วยการยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์
เหมือนในอดีตอีกต่อไป


 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26-03-2007, 07:55 »

หลายคนเชื่อว่ารัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยแบบไทย

ผมคิดว่าจริง แต่จริงภายใต้เงื่อนไขที่น่ากลัวมาก

(ไม่เห็นด้วยตั้งแต่ตรงนี้ครับ เป็นการมองในแง่ร้ายต่อผู้ที่มีอำนาจบารมี ซึ่งมีได้ตามปกติทั่วไป)

ที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบไทยคืออะไร สรุปให้เหลือสั้นๆ ก็คือการแบ่งปันอำนาจกัน
อย่างไม่สู้ลงตัวนักระหว่างชนชั้นนำของสังคม


(อำนาจบารมีเป็นสิ่งที่แม้ผ่านได้รับการเลือกตั้ง ก็มอบให้กันไม่ได้โดยตรงเช่นเดียวกับความรู้และฐานะทางเศรษฐกิจทรัพย์สินเงินทอง เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-03-2007, 09:26 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 26-03-2007, 07:56 »

ยุคสมัยเปลี่ยนไป คณะรัฐประหารก็เปลี่ยนไป
แต่นักประชาธิปไตยบางพวกยังคิดและมองเหตุการณ์แบบเดิมๆ

อ.นิธิ เขียนแบบนี้
เดี๋ยวก็โดนด่าอีกหรอกว่าไม่ออกมาต้านคณะรัฐประหาร

6 เดือนแล้วหรือเนี่ย! 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26-03-2007, 08:07 »

จะเหลือกลุ่มที่ต้องใช้การรัฐประหารในหมู่ชนชั้นนำน้อยกลุ่มลง (คือกลุ่มที่ไม่สามารถ
หรือมีข้อจำกัดที่จะแข่งขันทั้งทางลับหรือเปิดเผยในสนามเลือกตั้ง) ทำให้เห็นได้ชัด
แก่สาธารณชนมากขึ้น ซึ่งแปลว่ากลุ่มนี้ต้องรับผิดชอบต่อการรัฐประหารที่ตัวก่อขึ้น
อย่างเปิดเผยมากขึ้นไปด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งคือจะกลายเป็นเป้าให้แก่การวิเคราะห์,
วิพากษ์วิจารณ์, และโจมตีของสาธารณชนโดยตรง ท่ามกลางอำนาจเซ็นเซอร์ที่ไร้
ประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ

ดังเช่น คมช. ไม่อาจซ่อนตัวเองเบื้องหลังรัฐบาลที่ตัวตั้งขึ้นได้มิดชิดเท่ากับ รสช.
เป็นต้น

ยุคสมัยแห่งการลื่นไหลกำลังจะหมดไปแก่ประชาธิปไตยแบบไทย หรือการเมืองของ
ชนชั้นนำเสียแล้ว

มติชน วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10607

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03260350&day=2007/03/26&sectionid=0130


เมื่อสมมุติฐานตั้งต้นของบทความเป็นจริงเพียงบางส่วน ย่อมจะผิดพลาดในการวิเคราะห์และทำนาย


ผมเสนอข้อสังเกต คือประชาธิปไตยจะเจริญในสังคมที่คนอ่านหนังสือออก และมีความสามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้ดีโดยเกณฑ์ส่วนใหญ่
บันทึกการเข้า

คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26-03-2007, 08:23 »

เรียนอาจารย์ นิธิ

ผมอ่านบทความของอาจารย์แล้วก็เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่นะครับ เพียงแต่อาจารย์อาจจะลืม หรืออาจจะจงใจละเนื้อหาบางส่วน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในบทความของอาจารย์ นั่นคือ

เงื่อนไขของการรัฐประหาร

การปฏิวัติรัฐประหาร เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ชนชั้นนำอะไรต่อมิอะไรของอาจารย์ ใช้ในการช่วงชิงอำนาจ นั่นผมเห็นด้วย แต่การจะทำการปฏิวัติรัฐประหารนั้น ต้องมีเงื่อนไขสนับสนุนที่เพียงพอ ไม่อย่างนั้นแล้ว การปฏิวัติรัฐประหารนั้น จะไม่มีวันสำเร็จ มันเป็นการเมืองมวลชนอย่างที่อาจารย์ว่านั่นแหละครับ ผู้ที่กระทำปฏิวัติรัฐประหารล้มเหลว จะไม่มีที่ยืนในแผ่นดินไทย ดังนั้นผู้ที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารทุกยุคทุกสมัย จะคิดเป็นอันดับแรก ก็คือ เงื่อนไขมีเพียงพอหรือยัง

แล้วอะไรคือเงื่อนไข

ตอบได้ง่ายครับ นั่นคือกระแสความไม่พอใจของประชาชน มีถึงจุดแล้วหรือยัง การปฏิวัติรัฐประหารครั้งแรกของไทย คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ก็อาศัยเงื่อนไขนี้ ผมคงไม่ต้องเรียนให้อาจารย์กลับไปอ่านประวัติศาสตร์ เพราะอาจารย์น่าจะชำนาญกว่าผม อาจารย์คงรู้ดีอยู่แล้วว่า ยุคสมัยนั้นบรรดาเจ้า บรรดาขุนนางอำมาตย์ ต่างเบียดบังฉ้อราษฎร์บังหลวงกันขนาดใหน อันสืบเนื่องมาจากการอ่อนแอลงของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยรัชกาลที่เจ็ด ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากปัญหาในปลายรัชกาลที่หก เป็นเงื่อนไขให้คณะราษฎร์ ใช้บังคับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เจ็ด ให้ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการที่ชนชั้นนำตามจารีต (ตามภาษาของอาจารย์) อ่อนแอลงหลังจากนั้น ไม่ใช่เพราะการสละราชสมบัติ (อย่าบิดเบือนสิครับอาจารย์) แต่เป็นเพราะการตามล่า จับกุมคุมขัง และการยึดทรัพย์ ตามสูตรสำเร็จของการปฏิวัติรัฐประหารอยู่แล้ว

การที่จอมพล สฤษดิ์ โค่น จอมพล ป. ลงได้ ก็อาศัยเงื่อนไขนี้ เงื่อนไขที่ว่ากระแสความไม่พอใจของประชาชน ที่มีต่อรัฐบาลในขณะนั้น ข้ามมาจนถึงยุคสมัยของ พล.อ.เปรม คนที่พยายามจะปฏิวัติรัฐประหาร ก็ใช้เงื่อนไขนี้ แต่ทำไม่สำเร็จ ซึ่งในครั้งสุดท้าย เกิดในสมัย พล.อ.อาทิตย์ ซึ่งรอดตัวไปได้เพราะอ้างว่าไม่รู้เห็นเพราะอยู่เมืองนอก

มาถึงยุค รสช. ที่ท่านอาจารย์พูดถึง รสช. รัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จ ก็เพราะกระแสความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย มาถึงจุด ผมคงไม่ต้องทบทวนความจำของอาจารย์นะครับ ว่าฉายาเหลิมดาวเทียม เกิดขึ้นในสมัยใหน ผมจำได้ลาง ๆ ว่าเป็นยุค ที่หมักกับเหลิม ร่วมรัฐบาลเดียวกัน ไม่รู้ว่าผิดหรือถูกนะครับ และต่อมา รสช. ก็พังครืนลง ก็เพราะกระแสความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อ รสช. มาถึงจุด จนสุดท้ายต้องพึ่งพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการคลี่คลายสถานการณ์ ก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมือง

ผ่านไปนับสิบปี เราก็เจอกับการรัฐประหาร ครั้งล่าสุด โดย คมช. เงื่อนไขเดียวกันครับ คือกระแสความไม่พอใจของประชาชน มาถึงจุดสุกงอม อีกครั้ง

จริงอยู่ครับ การปฏิวัติรัฐประหาร ทุกครั้ง เกิดจากชนชั้นนำอะไรต่อมิอะไรของอาจารย์ช่วงชิงอำนาจกัน แต่เงื่อนไข ทุกครั้งเหมือนกัน

แล้วใครทำให้เกิดเงื่อนไขนั้น

ถ้ารัฐบาลปกครองประเทศ โดยธรรม ถ้าไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอย่างมโหฬารในรัฐบาล คณะปฏิวัติรัฐประหาร สักกี่คณะก็ไม่มีข้ออ้างในการทำรัฐประหาร และจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และการทำการปฏิวัติรัฐประหาร ก็จะล้มเหลว ดังที่เราได้เห็นมาจากยุคสมัยของ พล.อ.เปรม เป็นรัฐบาล

รัฐประหารครั้งล่าสุด ชัดเจนยิ่งเสียกว่าชัดเจน ที่ประชาชนให้การสนับสนุน ดังที่เราได้เห็นจากการที่ประชาชน เอาดอกไม้ไปให้ทหาร ไม่ใช่แต่เฉพาะกรุงเทพ ที่บ้านนอก ยกตัวอย่างจังหวัดที่ผมอยู่ จังหวัดที่เรียกกันว่าเมืองหลวงของทักษิณ คือจังหวัดเชียงใหม่ ประชาชนเอาน้ำหวาน เอาผ้าเย็นไปให้ทหารที่รักษาการณ์ตามจุดต่าง ๆ นี่คือภาพที่ผมเห็นกับตาตัวเอง ถ้ารัฐบาลทักษิณ บริหารปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงโกงกินกันอย่างมูมมาม ภาพเหล่านี้ไม่มีวันเกิดขึ้นหรอกครับ

ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ

ความพยายามที่จะปิดหูปิดตาประชาชน ของรัฐบาลทักษิณล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิง และรัฐบาลหลังจากนี้เป็นต้นไปก็จะพบกับฝันร้ายของอินเตอร์เน็ตกันถ้วนหน้า ตรงนี้ต้องยกความดีให้กับสหรัฐผู้คิดค้นระบบการสื่อสารที่ประกันความล้มเหลวนี้ขึ้น และแน่นอน การปฏิวัติรัฐประหาร ก็ทำได้ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่หากวันใดก็ตาม ที่เงื่อนไขของการปฏิวัติรัฐประหารสุกงอม ขึ้นอีกครั้ง วันนั้นเราก็จะได้เห็นรถถังเคลื่อนออกจากที่ตั้งเหมือนเคย

ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ?

ไม่ใช่ครับอาจารย์ ประชาธิปไตยทั่วโลกต่างหาก วันใดก็ตามที่ประชาชนหมดศรัทธาในรัฐบาล แหละหมดหนทางที่จะช่วงชิงอำนาจคืน วันนั้นเงื่อนไขการปฏิวัติรัฐประหาร ก็จะสุกงอมขึ้นมาอีกครั้ง และวันนั้นชนชั้นนำอะไรต่อมิอะไรที่กุมอำนาจทางทหารไว้ในมือ ก็จะมีเงื่อนไขทันที และการปฏิวัติรัฐประหาร เกิดขึ้นได้กับทุกประเทศทั่วโลก รวมไปจนถึงประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือฝรั่งเศส หรือประเทศตะวันตกที่เจริญแล้วทั้งหลายด้วยครับ

ไม่มีอะไรหยุดยั้งการปฏิวัติรัฐประหารได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีรัฐธรรมนูนฉบับสมบูรณ์เลิศเลอ การมีอินเตอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ ในอนาคต การเกิดใหม่ของกลุ่มอำนาจอะไรต่อมิอะไรของอาจารย์ หรือแม้แต่กระทั่งการมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ตราบใดที่รัฐบาลนั้นไม่บริหาร ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ตราบใดที่รัฐบาลนั้นยังคงโกงกินฉ้อราษฎร์บังหลวง

แล้วอะไรหยุดการก่อการปฏิวัติรัฐประหารได้?

การหยุดการก่อการปฏิวัติรัฐประหาร ทำได้โดยการป้องกันไม่ให้เกิดเงื่อนไขในการใช้เป็นข้ออ้างในการปฏิวัติรัฐประหารครับ นั่นคือการให้การศึกษากับประชาชน ให้พวกเค้ารู้ถึงสิทธิ ที่เค้ามี และรู้ถึงความรับผิดชอบที่เกิดจากสิทธินั้น เมื่อประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและพอเพียง พวกเขาจะปฏิเสธการซื้อสิทธิขายเสียง พวกเขาจะเลือกเอาคนดีเข้าสภา สภาก็จะเลือกเอาคนดีเป็นรัฐบาล รัฐบาลก็จะปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่แทรกแซงองค์กรตรวจสอบ และนั่นคือไม่มีเงื่อนไขสำหรับการก่อการปฏิวัติรัฐประหาร เหมือนกับประเทศตะวันตกหลาย ๆ ประเทศ ที่อาจารย์บูชา ไงครับ กลไกการตรวจสอบของเค้าไม่ง่อยเปลี้ยเสียขาเหมือนกับของไทยในรัฐบาลที่ผ่านมา ประชาชนยังรู้ว่าพวกเขายังมีที่พึ่ง ประชาชนยังรู้ว่าพวกเขายังสามารถทวงอำนาจคืนได้ไงครับ


ผมพูดมาถึงตอนนี้ อาจารย์ นึกออกรึยังครับ ว่าลืมใส่อะไรในบทความ?


คนในวงการ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #5 เมื่อ: 26-03-2007, 08:36 »


ไม่มีอะไรหยุดยั้งการปฏิวัติรัฐประหารได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีรัฐธรรมนูนฉบับสมบูรณ์เลิศเลอ การมีอินเตอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ ในอนาคต การเกิดใหม่ของกลุ่มอำนาจอะไรต่อมิอะไรของอาจารย์ หรือแม้แต่กระทั่งการมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ตราบใดที่รัฐบาลนั้นไม่บริหาร ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ตราบใดที่รัฐบาลนั้นยังคงโกงกินฉ้อราษฎร์บังหลวง


เมื่อก่อน ทหารรัฐประหาร ประชาชนงงตึ้บ มันทำอะไรของมันวะเนี่ย แล้วก็มองตาปริบๆ
ปัจจุบัน ทหารทำรัฐประหาร ประชาชนบอก กรูว่าแล้ววว ไอ้#*$! แล้วบางคนพยักหน้าหงึกๆ บางคนฟึดฟัด ออกมาขู่ฟ่อๆ
อนาคต ทหารไม่ต้อง ประชาชนทำรัฐประหารเอง!!! 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #6 เมื่อ: 26-03-2007, 09:58 »

ผมว่า บทความของ อาจารย์นิธิ ท่านมองในภาพรวมของการเมืองไทยมาตั้งแต่อดีตนะ

แต่ทำไมหลายๆท่านที่นับถือ ถึงได้โต้แย้งโดยยึดเอาเฉพาะสาเหตุของกรณีปัจจุบันล่ะ

หรือว่าทุกท่านมองกันแค่ ทักษิณ เท่านั้นคือปัญหาของบ้านเมืองนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าเศร้าใจอยู่

ความจริงแล้ว ระบอบทักษิณ เป็นเพียงแค่ผลผลิตจากความผิดพลาดทางโครงสร้างของสังคมไทยที่มีมานานแล้วเท่านั้น

ระบอบทักษิณ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้าสังคมนี้มีการกระจายและแบ่งปันทรัพยากรอย่างเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น
 
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26-03-2007, 10:03 »

ผมว่า บทความของ อาจารย์นิธิ ท่านมองในภาพรวมของการเมืองไทยมาตั้งแต่อดีตนะ

แต่ทำไมหลายๆท่านที่นับถือ ถึงได้โต้แย้งโดยยึดเอาเฉพาะสาเหตุของกรณีปัจจุบันล่ะ

หรือว่าทุกท่านมองกันแค่ ทักษิณ เท่านั้นคือปัญหาของบ้านเมืองนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าเศร้าใจอยู่

ความจริงแล้ว ระบอบทักษิณ เป็นเพียงแค่ผลผลิตจากความผิดพลาดทางโครงสร้างของสังคมไทยที่มีมานานแล้วเท่านั้น

ระบอบทักษิณ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้าสังคมนี้มีการกระจายและแบ่งปันทรัพยากรอย่างเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น
 

อ่า ... ผมมาบอกว่า ผมก็มองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #8 เมื่อ: 26-03-2007, 10:11 »

ผมว่า บทความของ อาจารย์นิธิ ท่านมองในภาพรวมของการเมืองไทยมาตั้งแต่อดีตนะ

แต่ทำไมหลายๆท่านที่นับถือ ถึงได้โต้แย้งโดยยึดเอาเฉพาะสาเหตุของกรณีปัจจุบันล่ะ

หรือว่าทุกท่านมองกันแค่ ทักษิณ เท่านั้นคือปัญหาของบ้านเมืองนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าเศร้าใจอยู่

ความจริงแล้ว ระบอบทักษิณ เป็นเพียงแค่ผลผลิตจากความผิดพลาดทางโครงสร้างของสังคมไทยที่มีมานานแล้วเท่านั้น

ระบอบทักษิณ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้าสังคมนี้มีการกระจายและแบ่งปันทรัพยากรอย่างเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น
 

อ่า ... ผมมาบอกว่า ผมก็มองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ



อ่า...... งั้นคุณคนในวงการ ช่วยกรุณาบอกสาเหตุของการปฏิวัติและฉีกรัฐธรรมนูญ ในช่วงหลัง 6 ต.ค. 19 หน่อยเถอะครับ

ช่วยวิเคราะห์หน่อย มีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้คุณเชื่อว่าประชาชนคนไทยผู้เป็นเพียง ฝุ่นเมือง ทั้งหลายจึงสนับสนุนการทำปฏิวัติรัฐประหาร ในช่วงเวลานั้น




บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 26-03-2007, 10:28 »

ผมว่า บทความของ อาจารย์นิธิ ท่านมองในภาพรวมของการเมืองไทยมาตั้งแต่อดีตนะ

แต่ทำไมหลายๆท่านที่นับถือ ถึงได้โต้แย้งโดยยึดเอาเฉพาะสาเหตุของกรณีปัจจุบันล่ะ

หรือว่าทุกท่านมองกันแค่ ทักษิณ เท่านั้นคือปัญหาของบ้านเมืองนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าเศร้าใจอยู่

ความจริงแล้ว ระบอบทักษิณ เป็นเพียงแค่ผลผลิตจากความผิดพลาดทางโครงสร้างของสังคมไทยที่มีมานานแล้วเท่านั้น

ระบอบทักษิณ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้าสังคมนี้มีการกระจายและแบ่งปันทรัพยากรอย่างเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น
 


สำหรับผม เป็นการโต้แย้งตามเนื้อหาบทความครับ คือ ผมมีความเห็นสรุปเองว่า

ต้องมีกลไกสร้างอำนาจให้ประชาชนและประชาชนและหรือผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดก็ต้องตระหนักในสิทธิและอำนาจของตนเอง โดยการสร้างอำนาจตามระบอบให้ตนเอง

ผ่านการศึกษา การสื่อสารและการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่หยุดอยู่เฉพาะสิทธิในการเลือกตั้ง

ซึ่งจะป้องกันเหรือจำกัดงื่อนไขการดูแลตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในสังคมที่มีบทบาทอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ ประชาชนต้องพัฒนาทางการเมืองให้เร็วและมีคุณภาพกว่านี้เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างทางสังคม

จะเป็นการลดโอกาสในการปฏิวัติรัฐประหารโดยบุคคลในเครื่องแบบได้อีกทางหนึ่ง จนสามารถปิดโอกาสและเงื่อนไขที่จะทำสิ่งเหล่านั้นได้สำเร็จลง โดยสิ้นเชิงได้ครับ

ลองอ่านสองกระทู้นี่เพิ่มเติมดูครับ


http://forum.serithai.net/index.php?topic=12403.0
http://forum.serithai.net/index.php?topic=12521.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-03-2007, 10:30 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26-03-2007, 10:29 »


อ่า ... ผมมาบอกว่า ผมก็มองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ



อ่า...... งั้นคุณคนในวงการ ช่วยกรุณาบอกสาเหตุของการปฏิวัติและฉีกรัฐธรรมนูญ ในช่วงหลัง 6 ต.ค. 19 หน่อยเถอะครับ

ช่วยวิเคราะห์หน่อย มีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้คุณเชื่อว่าประชาชนคนไทยผู้เป็นเพียง ฝุ่นเมือง ทั้งหลายจึงสนับสนุนการทำปฏิวัติรัฐประหาร ในช่วงเวลานั้น


ในช่วงปี 19 มีการรัฐประหารสองครั้งคือ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว


ผมไม่ได้วิเคราะห์อะไรหรอกครับ ผมก็อปปี้ข้ออ้างในการทำรัฐประหาร มาให้อ่านเลย อย่าลืมสิครับว่าบทความที่ผมเขียนถึงอาจารย์นิธิ ผมบอกว่า เงื่อนไขการทำรัฐประหาร คือการอ้างความไม่พอใจของประชาชน ครับ อย่าจับเอาย่อหน้าท้าย ๆ มาชูให้เด่นสิครับ ภาพรวมครับ ภาพรวม ท่องไว้ (ฮา)
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
paperjam
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


« ตอบ #11 เมื่อ: 26-03-2007, 11:15 »

การวิเคราะห์ปัญหาการรัฐประหารในเมืองไทย โดยยกเอาประชาชนออกไปจากการวิเคราะห์ เป็นการบกพร่องของการวิเคราะห์หรือเป็นเจตนาที่จะบิดเบือนกันแน่ครับ

เหมือนเป็นการปกป้องหลักการประชาธิปไตย โดยไม่ได้มองพื้นฐานปัญหาความไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทยเอาเสียเลย

การช่วงชิงอำนาจกันน่ะ ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง มันคือ หัวอกหัวใจของประชาชน คนเดินดิน กินข้าวแกง ที่อึดอัดกับการเอาประชาธิปไตยมาบังหน้า คอรัปชั่นกินบ้านกินเมือง ของกลุ่มอำนาจ
พอประชาชนออกมาสนับสนุนการรัฐประหาร ท่านที่เทิดทูนหลักการประชาธิปไตยก็เกิดอาการรับไม่ได้ขึ้นมาทันที
ทั้งๆ ที่เป็นปรากฎการณ์ที่จริงที่สุด ที่ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังใดๆ ทั้งสิ้น
แล้วท่านต้องไม่ลืมว่า ประชาชนที่ออกมาสนับสนุนรัฐประหารในช่วงเวลานั้น มีการศึกษา ติดตามข้อมูล รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย
แต่เขาไม่มีอำนาจในมือหรอกครับ จึงกลายเป็นปรากฎการณ์อึดอัด คับข้อง
พอเกิดรัฐประหาร พวกเขาจึงขอบคุณทหารจากใจจริง ด้วยดอกไม้แทนคำขอบคุณ

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจว่า ประชาชนจะเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหารไปเสียทั้งหมดสิครับ
เพราะประชาชนกลุ่มเดียวกัน อาจจะเขวี้ยงก้อนหินใส่ทหารก็ได้ในอนาคต ถ้ามีการตระบัตสัตย์เกิดขึ้น จากกุลุ่มอำนาจ

ดังนั้นการวิเคราะห์ในมุมการช่วงชิง แบ่งปันอำนาจของกลุ่มอำนาจ โดยไม่มองบริบทประชาชนเท่าที่ควร ผมว่ามองลึกๆ เหมือนการดูถูกประชาชนกลายๆ เหมือนกัน
แล้วก็ขอร้องล่ะครับ ว่าอย่าอธิบายแบบศรีธนญชัยได้มั้ย ว่าประชาชนรากหญ้า ก็เป็นเสียงประชาธิปไตย ที่สนับสนุนรัฐบาลแบบประชาธิปไตย เหมือนกัน
คิดแบบนี้ ก็คือ เอา ประชาชน มาเป็นตัวประกันสนับสนุนตวามคิดของตัวเท่านั้น
คนมีความคิด มีการศึกษาคงมองไม่ยากว่า ประชาชนกลุ่มรากหญ้าโดนเล่ห์เพทุบายการเมืองของนักการเมืองขี้ฉ้อหลอกเอาอย่างไร

ถ้ามองจากพัฒนาการจากอดีต ป้จจุบัน มาเรื่อยๆ ผมกลับเห็นแนวโน้มประชาธิปไตยที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
ประชาฺชนชนชั้นกลาง มีการศึกษา มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น
ประชาชนรากหญ้า ก็สนใจการเมือง เข้ามามีส่วนร่วมการเมืองมากขึ้น
การรัฐประหารไม่ได้ง่ายเหมือนเก่า เพราะต้องแคร์ประชาชนมากขึ้น
แต่แน่ล่ะ พอมีเรืองรัฐประหารเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา
คนชอบหลักการประชาธิปไตยจ๋า คงรับไม่ได้แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกมารัฐประหารด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
หรือจะเห็นว่า มีประชาชนออกมาสนับสนุนอยู่จะจะตาอย่างไรก็ตาม

พวกเขาก็จะออกโรงมาคัดค้านการรัฐประหาร ว่าไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย

ผมได้ยินแกนนำต้านรัฐประหารบางคนพูดว่า ระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจากประชาชน ไม่ใช่ทหาร
หลักการแบบนี้ ฟังดูดีนะครับ
แต่ถามนิดเดียว เป็นจริงได้ง่ายๆ มั้ย ในสังคมไทย
เอาง่ายๆ ตอนประชาชนเรือนแสนออกมาต้านรัฐบาลทักษิณ ก็พลังประชาชนเหมือนกัน
รัฐบาลตอนนั้น ก็เอาประชาชนของตัวเอง ออกมาสนับสนุนรัฐบาล
เลยกลายเป็นสภาพ ประชาชนจะต่อสู้กับประชาชนด้วยกันเอง

ผมอยากจะท้าทายคนที่พูดประโยคว่า การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากประชาชน ไม่ใช่ทหาร
ว่าพอมันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ จะแก้ไขอย่างไร

สรุปว่า บริบทสังคมไทยมันซับซ้อนครับ
เรืองราวมันไม่ได้มาจากการแย่งชิงอำนาจของกลุ่มอำนาจอย่างเดียว
แต่ประชาชน ก็พยายามเข้ามาสนับสนุนประชาธิปไตย ด้วยเงื่อนไขที่เขาทำได้เหมือนกัน
และประชาชน ก็เอา รัฐประหาร และไม่เอา รัฐประหาร ในเงื่อนไขที่แตกต่างออกไป

ตอนนี้สำหรับผมเอง ยังไม่เห็นทางออกดีๆ นอกจากการรัฐประหารกำจัดพวกเลวๆ ออกไปก่อน
ผมในฐานะประชาชน ขอให้โอกาสคนกลุ่มหนึ่งทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองไปก่อน
แต่ถ้าเห็นสัญญาณ ว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ ผมคนหนึ่งล่ะ ที่จะออกมาต้าน
และไม่แคร์ ถ้าจะถูกค่อนแคะว่า เห็นไหมล่ะ เห็นด้วยกับการรัฐประหารดีนัก

ปัดโธ่ ก็จะทำอย่างไรได้ล่ะครับ
กลุ่มที่ออกมาต้านตอนนี้ ผมก็ไม่เห็นจะให้คำตอบอะไรได้เลย
นอกจากต้านเพราะหลักการ ๆๆๆ
หลักการ ที่เป็นแค่หลักการ และก็กลายเป็น หลักกู ของนักการเมืองขี้โกง

แหะๆ นานๆ เขียนที เขียนยาวไปหน่อย

   
 
บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26-03-2007, 11:30 »

อย่าลืมสิครับว่าคนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการรัฐประหารครั้งนี้ แม้ภายหลังจะเปลี่ยนเป็นไม่เห็นด้วยก็ตาม

ก็เพราะคิดว่า ปัญหาบ้านเมืองที่ไม่มีทางออกจะคลี่คลายหากมีการปฏิวัติ

แต่นายกดันคิดจะไปสมานฉันท์กับพวกโจรอำนาจเก่า

เพราะมีเมตตา พวกมันก็เลยกำเริบเสิบสาน ชาวนาเลี้ยงงูก็แบบนี้แหละ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #13 เมื่อ: 26-03-2007, 12:41 »


อ่า ... ผมมาบอกว่า ผมก็มองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ



อ่า...... งั้นคุณคนในวงการ ช่วยกรุณาบอกสาเหตุของการปฏิวัติและฉีกรัฐธรรมนูญ ในช่วงหลัง 6 ต.ค. 19 หน่อยเถอะครับ

ช่วยวิเคราะห์หน่อย มีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้คุณเชื่อว่าประชาชนคนไทยผู้เป็นเพียง ฝุ่นเมือง ทั้งหลายจึงสนับสนุนการทำปฏิวัติรัฐประหาร ในช่วงเวลานั้น


ในช่วงปี 19 มีการรัฐประหารสองครั้งคือ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว


ผมไม่ได้วิเคราะห์อะไรหรอกครับ ผมก็อปปี้ข้ออ้างในการทำรัฐประหาร มาให้อ่านเลย อย่าลืมสิครับว่าบทความที่ผมเขียนถึงอาจารย์นิธิ ผมบอกว่า เงื่อนไขการทำรัฐประหาร คือการอ้างความไม่พอใจของประชาชน ครับ อย่าจับเอาย่อหน้าท้าย ๆ มาชูให้เด่นสิครับ ภาพรวมครับ ภาพรวม ท่องไว้ (ฮา)

หึ หึ แค่แขวะเล่นเฉยๆครับ ไม่ได้ต้องการคำตอบอะไรจริงจัง

ที่ผมอยากบอกก็คือ เงื่อนไขการทำรัฐประหารในแต่ละยุคสมัยมันแตกต่างกันออกไป อย่าเอาเพียงครั้งนี้เป็นบรรทัดฐาน ดูภาพรวม ไงครับ ภาพรวม

(อ้อ ไหนๆก็เจอแล้ว ก็ขอบคุณสำหรับ ฝุ่นละอองในกระแสลม ภาคของ ซาร่าห์ ไบรท์แมนด้วยเลย  เดี๋ยวจะหาว่าเป็นปลิง ดูดอย่างเดียว ไม่มีมารยาท) 



ที่จริงที่เข้ามา แค่อยากบอกคุณเจ้าของกระทู้ว่า  แค่อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งดีใจไปเลย การรัฐประหาร จะยังอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน



 

บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
СεгЪεгυŞ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 70



« ตอบ #14 เมื่อ: 26-03-2007, 13:09 »

สมมติฐานมันโดนกำหนดโดยอาจารย์ตั้งแต่ต้น ว่าการปฏิวัตินั้นถูกกระทำเพื่อรักษาสมดุลย์ของอำนาจในระดับผู้มีอำนาจ

ผมคิดว่ามันไม่ใช่เสียทีเดียว หากมองย้อนไปถึงสิ่งที่ทำให้เป็นเงื่อนไขในการปฏิวัติแล้ว เงื่อนไขดังกล่าวมันมีอยู่จริงและเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเป็นต้องมีการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

การปฏิวัติ(หรือรัฐประหาร)จึงมองได้อีกแง่ว่าเป็นเครื่องมือของการชี้นำบังคับให้สังคมกลับไปสู่สภาวะสมดุลย์เดิมอีกครั้งหนึ่งอย่างรวดเร็ว

หากมองย้อนกลับไปที่ ตุลาคม 19 กระแสคอมมิวนิสต์มีจริง กระแสปฏิวัติชนชั้นมีจริง ตัวอย่างของลาวแดง,จีนแดง,เวียดกงมีจริง

(แต่ใครโดนใส่ร้าย ใครเป็นผู้ต้องการปฏิวัติชนชั้นนั้นคงเป็นอีกเรื่องที่พูดกันครั้งต่อไป)

มองย้อนกลับไปปี 33 (จำเดือนไม่ได้) การคอรัปชั่นมีจริง ความขัดแย้งกับกองทัพมีจริง

มองกลับไปที่ปี 49 ความพร้อมเผชิญหน้าระหว่างประชาชนนั้นมีจริง

สิ่งที่ภาคประชาชน ภาคนักวิชาการมีการศึกษาหรือมีบทความน้อยจนทำให้ไม่เข้าใจในความคิดผู้มีอำนาจในการปฏิวัติรัฐประหารนั่นคือ พวกเขาเหล่านั้นมีพื้นฐานความคิดมาจากไหน จปร. หรือตท.สอนอะไรทำให้เขามีความเชื่อว่าพวกเขาสามารถจะแก้ปัญหาประเทศชาติในเวลานั้นๆได้

(ผมกำลังเข้าสู่สมมติฐานว่าคนมาปฏิวัติเพราะต้องการแก้ปัญหานะครับ Smile กลัวจะหลงทางกับข้อความยุ่งเหยิงของผม)

ก่อนหน้านี้ผมมองพวกมาปฏิวัติด้วยมุมมองของแนวคิดพวกซ้าย(ซึ่งผมนั้นเป็นแค่ noob) ผมอ่านหนังสือของคุณวาสนา นาน่วมในเรื่องความคิดของพลเอกสุจินดา แล้วผมคิดว่าพวกเราอาจขาดมุมมองในฝ่ายของพวกขวา (ซึ่งผมเป็นแค่ newbie) ซึ่งผมว่ามันจำเป็น
บันทึกการเข้า

ม้าหนุ่มแห่งชินจูกุ
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 26-03-2007, 15:34 »

อ่า.. โดยส่วนตัว..

ผมว่าไดโนเสาร์มันมีสองชนิดรึอาจะมากว่านั้น..

ดั่งเช่นว่า..

ไดโนเสาร์บางจำพวก..คิดว่ารัฐประหการแก้ได้ทุกอย่าง..

และไดโนเสาร์ที่คิดว่าประชาธิปไตยแก้ได้ทุกอย่าง..


ซึ่งผมก็คิดต่อไปว่าพวกไดโนเสาร์พวกนี้คือพวกกลุ่มย่อยที่แตกเเขนงออกมาจากไดโนเสาร์กลุ่มใหญ่..


กลุ่มใหญ่แบบไหน....

ก็คือพวกไดโนเสาร์ที่ชอบยึดมันถือมั่นที่มีอคติและอีโก้ของตนเองเป็นที่ตั้ง..โดยไม่สนใจยอมมองสถานการณ์รอบข้าง..ว่าตอนนี้มันเกิดอะไรขึ้นมามั่ง

ก็เลยจะใช้แต่วิธีการที่ตนเองนั่นยึดมั่นถือมั่นมาตลอด...



ตลอดที่ว่า....ไม่ว่าเกิดอะไรพ่อก็จะใช้การรัฐประหารแก้ปัญหา รึไม่ก็ ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นพ่อก็จะใช้ประชาธิปไตยแก้ปัญหา..

เฮ้อ....



ปล.
 
ถึงอ.นิธิครับ.. ถ้าอ.เเวะมาอ่าน..


ส่วนตัวผมก็สงสารอ.น่ะครับ ก็เวลาที่อ.เขียนชมรึเข้าข้างรัฐบาลชุดนี้ เหตุไร จึงไม่มีคนเอามาลง..
 
แต่พออ.เขียนด่ารัฐบาลชุดนี้กลับมาคนเอามาลงผมล่ะสงสารอ.จับใจครับ..
บันทึกการเข้า
^Tee^^
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 52


« ตอบ #16 เมื่อ: 26-03-2007, 22:46 »

เบื่อเจ้าแม่ตัดแปะ 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 26-03-2007, 23:37 »

อ.นิธิ เขียนบทความนี้ มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ...สงสัยรีบเขียน

อ่านแค่ 2 บรรทัดแรกก็พอ ที่เหลือไม่ต้องอ่าน...
บันทึกการเข้า

nick
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 82


« ตอบ #18 เมื่อ: 27-03-2007, 00:00 »

เหลี่ยมมันรู้จักเอาคำว่า"อารยะ"มาใช้เป็นเกราะป้องกำบังให้ตัวของมันเอง
                                   "ประชาธิปไตย ต้องมาจากการเลือกตั้ง"
ใช้เงินหว่านซื้อเสียง (เป็นความจริงที่คนไทยทุกๆคนรู้ดี พวกอาจารย์ ด็อกเตอร์ห่าเหวแม่งก็รู้กันทั้งนั้นแหละู้)
  ประชาชนลุกขึ้นมาขับไล่ด้วยความสงบแล้ว มันก็ยังหน้าด้านอยู่ได้เป็นปี ถ้าทหารไม่มาไล่มัน
ออกไป แม่งก็ยังคงจะตะแบงต่อไปไดู้่อีกแหละว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเลือกมันมา
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #19 เมื่อ: 27-03-2007, 00:41 »

อ.นิธิ เขียนบทความนี้ มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ...สงสัยรีบเขียน

อ่านแค่ 2 บรรทัดแรกก็พอ ที่เหลือไม่ต้องอ่าน...


เห็นด้วยกับลุงแคนครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 27-03-2007, 03:08 »

เห็นออกมาต้านเผด็จการได้ซัก 2 สัปดาห์ โดนด่าว่าเป็นพวก "หัวเหลี่ยม" เลยเงียบไปพักหนึ่ง

เพิ่งจะโงหัวออกมาพูดว่า ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ กับการรัฐประหารมันคู่กัน

ก็น่าจะรู้มาตั้งนาน เมื่อใดที่นักการเมืองโกงกินจนประชาชนทนไม่ไหว

ทหารก็ออกมาทุกที....

ตราบใดที่ขบวนการยุติธรรมยังไม่ทำงาน

การตรวจสอบไม่เข้าท่า ก็หลีกกันไม่พ้นหรอกครับ

แม้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ ก็ป้องกันรัฐประหารไม่ได้ เชื่อผมเต๊อะ..
บันทึกการเข้า

Body&Soul
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 370



« ตอบ #21 เมื่อ: 27-03-2007, 03:12 »

งั้นก็พายเรือในอ่างกันต่อไป "สวัสดีประเทศไทย"
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 27-03-2007, 03:51 »

ไม่อยากพายเรือในอ่าง ก็ต้องช่วยกันสร้างระบบตรวจสอบ ให้มันทำงานสิ

ไม่ใช่ตะโกนเหมือนเด็กอยากกินขนม รู้จักโม่แป้งช่วยกัน หรือ ต้มน้ำตาลทำน้ำเชื่อมช่วยกันสิ

ไม่ใช่ร้องจะกินขนมอย่างเดียว....ชาวบ้านไม่ได้โง่หรอก เค้ารู้ ปฏิวัติรัฐประหารมันไม่ดี

แต่พวกนักวิชาการบ้า ๆ พวกนี้ นอกจากไม่พายเรือในอ่างแล้ว ยังเอาเท้าราน้ำซะอีกนะสิ

นักวิชาการแบบนี้ถีบลงจากเรือไปเลยดีมะ
บันทึกการเข้า

Body&Soul
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 370



« ตอบ #23 เมื่อ: 27-03-2007, 04:03 »

เฮ้อ...........ไอ้เราก็แค่ประชาชนตาดำๆสองมือล้วงกระเป๋าสองเท้าก้าวเข้ามา

อยากจะขับเคลื่อนและแบกครกขึ้นภูเขาแล้วทุกวันนี้ทำอะไรได้บ้างเล่า

สังคมยังแตกแยกและหนีห่างความเป็นจริงตลอดเวลาหากใครชี้แนะได้ช่วยบอกที
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 27-03-2007, 04:16 »

แค่เดินไปหาชาวบ้าน แล้วก็บอกเค้าว่า "นักการเมืองที่ดี คืออะไร" แค่นี้ก็ช่วยได้เยอะแล้ว

ถ้าเจอนักการเมืองเลว ควรทำยังไง....บอกทิศทางและการปฏิบัติที่ควรทำให้ได้

แค่นี้ก็นับว่าดีมาก....ดีกว่ามาตะโกนบอกว่า รัฐประหารมันไม่ดี

ถามจริง ๆ ใครบ้างไม่รู้ว่า รัฐประหารมันไม่ดี อย่ามัวแต่เอาทองมาแปะหน้าผากตัวเองอยู่เลยครับ

มันไม่ใช่เวลามาขายสินค้ากันแล้ว
บันทึกการเข้า

Body&Soul
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 370



« ตอบ #25 เมื่อ: 27-03-2007, 04:36 »

คุยกับลุงแคนสนุกดีปัญหาทุกวันนี้ที่มันเกิดจนง่อยเปลี้ยก็เพราะขาดความจริงใจในการพัฒนาบุคคลากร

ใช่หรือไม่ นัการเมืองทุกสมัยที่ผ่านมาเคยให้ความสำคัญที่จะพัฒนาการศึกษาหรือยกระดับอาชีพฝีมือแรงงาน

ให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆเพราะเกรงว่าหากประชาชนรู้เท่าทันจะปกครองและครอบงำยากยิ่งขึ้นไช่หรือเปล่า

หรือมีจุดประสงค์แอบแฝงอย่างอื่นที่ไม่อาจคาดเดา แต่ขอบอกว่าค่อนข้างมั่นใจว่ากลัวประชาชนจะฉลาดขึ้น

และปกครองยาก เพราะพวกที่ได้รับการศึกษามีอยู่แค่หยิบมือเดียวหากเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรในเมืองไทย
บันทึกการเข้า
visitna
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209



« ตอบ #26 เมื่อ: 27-03-2007, 06:35 »

เหลี่ยมกับพวกทำตัวเป็นศรีธนนชัย  คนดีทนไม่ได้
ต้องออกมาใล่ให้พ้น  ขนาดนี้ยังไม่เข็ด ส่ง วิดีโอ
มายุยงส่งเสริมให้ชาวบ้านก่อความวุ่นวาย  นอกจากไม่มีที่อยู่ต่อไปตายไม่สวยแน่
บันทึกการเข้า
Mr. Nice Guy
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 40


« ตอบ #27 เมื่อ: 27-03-2007, 10:51 »

คุยกับลุงแคนสนุกดีปัญหาทุกวันนี้ที่มันเกิดจนง่อยเปลี้ยก็เพราะขาดความจริงใจในการพัฒนาบุคคลากร

ใช่หรือไม่ นัการเมืองทุกสมัยที่ผ่านมาเคยให้ความสำคัญที่จะพัฒนาการศึกษาหรือยกระดับอาชีพฝีมือแรงงาน

ให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆเพราะเกรงว่าหากประชาชนรู้เท่าทันจะปกครองและครอบงำยากยิ่งขึ้นไช่หรือเปล่า

หรือมีจุดประสงค์แอบแฝงอย่างอื่นที่ไม่อาจคาดเดา แต่ขอบอกว่าค่อนข้างมั่นใจว่ากลัวประชาชนจะฉลาดขึ้น

และปกครองยาก เพราะพวกที่ได้รับการศึกษามีอยู่แค่หยิบมือเดียวหากเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรในเมืองไทย

ครับ เห็นด้วยครับ ถามว่า รัฐบาลไอ้หน้าเหลี่ยมมันทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันกับการปฏิรูปการศึกษาที่คุยโม้คุยโตอยู่ 5 ปี ตราบใดที่ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา ถูกหลอกให้ขายสิทธิขายเสียง เป็นเครื่องมือของบรรดานักการเมืองโฉดชั่วที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และอำนาจ ก็ยังคงเห็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ดำเนินไปอยู่เช่นนี้ครับ 

...

มติชน วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10607

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03260350&day=2007/03/26&sectionid=0130

ขอให้เป็นอย่าง อ. ว่า นะคะ
สูญพันธุ์ไปซะที พวกไดโนเสาร์เต่าล้านปี
ที่คิดว่ารัฐประหารแก้ปัญหาได้
โลกสมัยการสื่อสารไร้พรมแดน
ไม่อาจปิดหูปิดตาประชาชนง่ายๆ
ด้วยการยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์
เหมือนในอดีตอีกต่อไป


 

ผมได้ติตตามอ่านมาระยะหนึ่ง และเห็นพ้องต้องกันกับหลายท่านว่า คุณ snowflake จัดเป็นพวกไดโนเสาร์ เต่าล้านปีต่างหากครับ สักแต่อ้าปากร้องหา "ประชาธิปไตย" โดยไม่พิจารณาว่า ประชาธิปไตยจะพัฒนาได้นั้น มีองค์ประกอบหรือปัจจัยอะไรบ้าง แต่ละประเทศมีพื้นฐาน วัฒนธรรมที่แตกต่างกันครับ คุณอย่ามัวแต่หลงวนเวียนอยู่ในหัวปี๊บสักแต่ท่องคำว่า ประชาธิปไตย โดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง

คุณเกล็ดหิมะ นี่ก็แปลกนะครับ ผมคิดว่า ถ้าเป็นผู้หญิงโดยทั่วไป ถูกคุณผู้ชายรุมด่าในเว็บบอร์ดอยู่อย่างสม่ำเสมอ คงจะลบลี้หนีหน้าหายไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้วนะครับ แต่คุณหิมะยังคงทนทานทายาดที่ยังคงวนเวียนอยู่ในเว็บบอร์ดแห่งนี้ ผมรู้สึกสมเพชเวทนาคุณจริง ๆ นะครับ คุณควรจะหาเวลาไปบำบัดอาการทางจิตที่ผิดปกติก็จะดีนะครับ

บังเอิญผมไม่ได้เป็นจิตแพทย์นะครับ ถ้าเป็นอาจจะช่วยวินิจฉัยและมีข้อแนะนำสำหรับคุณได้ครับ

บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #28 เมื่อ: 27-03-2007, 11:18 »

ทำไมไม่คิด จะทำให้ คนเป็นคนดี และ ฉลาด บ้างครับ

มีนโยบายใหนบ้าง ที่จะทำให้ ประชาชน หูตาสว่าง หรือ ฉลาดขึ้น

หาก ประเทศ มี คนชั่ว 90 คน คนดี 10 คน

ประชาธิปไตย จะพัฒนาไปได้ยังไง ก็จะปลอมแปลง แอบอ้างประชาธิปไตย ให้เป็นกฎเกณฑ์ ที่ตัวเองและพวกพ้องได้ประโยชน์

การตรวจสอบที่ดี จะมาจากคนที่กระทำผิดได้อย่างไร
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #29 เมื่อ: 27-03-2007, 20:29 »

ประเทศนี้มันตลกดีนะ

คนฝั่งรักประชาธิปไตย ต้องออกมาคอยหาเหตุผล ข้อดี เพื่อสนับสนุนการทำปฎิวัติ รัฐประหาร

แต่คนฝั่งรักเผด็จการ กลับโหยหวน เรียกร้องหา การเลือกตั้ง

แปลกแต่จริง          
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 27-03-2007, 21:01 »

ประเทศนี้มันตลกดีนะ

คนฝั่งรักประชาธิปไตย ต้องออกมาคอยหาเหตุผล ข้อดี เพื่อสนับสนุนการทำปฎิวัติ รัฐประหาร

แต่คนฝั่งรักเผด็จการ กลับโหยหวน เรียกร้องหา การเลือกตั้ง

แปลกแต่จริง          

ผมก็เหนื่อยเหมือนก้านนนน อิ อิ

เหนื่อยที่จะหาคำตอบให้ จนต้องเขียนบทความสนับสนุนเผด็จการ

แบบกระทู้นี้

...ไอ้ขี้ข้าเผด็จการ...

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=4605.0

เพราะถ้านิ่งเฉย ก็เหมือนเพื่อนโยนขี้มาให้ แล้วก็หยิบเอาทองคำไปแปะหน้าผาก...

ผมว่ามันไม่แฟร์ สำหรับคนรุ่นก่อน ๆ ที่เอาชีวิตเลือดเนื้อแลกกับประชาธิปไตยมา

จะว่าไป ผมยอมแลกกับพวกหน้าเหลี่ยม ที่ทำลายประชาธิปไตยมากกว่า

เหมือนที่ผมตอบคุณวิถีไทยในกระทู้วรเจตน์...ถ้าให้เลือกรัฐบาลเผด็จการชุดนี้กับรัฐบาลหน้าเหลี่ยม

ผมเลือกเผด็จการทหารอย่างทุกวันนี้ดีกว่า...แต่ชั่วคราวนะ อิ อิ
บันทึกการเข้า

แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #31 เมื่อ: 27-03-2007, 21:19 »

อ้าว ลุงแคนก็เหนื่อยเหรอ  ผมเห็นเข้าไปหายาโด๊ปในราชดำเนินบ่อยๆ  ยังนึกชมว่า ฟิตจริงๆ อิ อิ   

อีกนานแหละครับ กว่าคนไทยจะเข้าใจกันสักทีว่า ที่มาของอำนาจ ไม่สำคัญเท่ากับ การใช้อำนาจที่ได้มา

 ถึงจะได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนนเสียงมากมายแค่ไหน  ไม่สำคัญเท่า หัวใจที่เป็นประชาธิปไตย 

ผมเคยอ่านคำคมในพันทิปเกี่ยวกับอำนาจ จำคนโพสท์ไม่ได้แล้ว แต่รู้ว่ามาจาก สำนวนของคุณจิรนันท์ พิตรปรีชา บอกว่า

                              "อำนาจนั้น ทำลายคนที่มือไม่ถึงเสมอ"
 
 ผมว่า มันเป็นบทสรุปที่ชัดเจนสำหรับคนหน้าเหลี่ยมจริงๆ     
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 27-03-2007, 21:28 »

มันแปลกที่สุดก็คือ นักกฎหมาย - นักประชาธิปไตย ค่าย ไทยรักไทย "ตีความ" ประชาธิปไตยได้แค่ครึ่งใบ

ผมไม่อยากเชื่อว่า "ฝ่ายซ้าย" ในนั้นไปคิดวาทะกรรมหลอก ๆ ไปบอกชาวบ้านได้ยังไง

พอบอกว่า "เสียงชาวบ้านกับเสียงนักวิชาการเท่ากัน มีหนึ่งเสียงเท่ากัน"

ฟังดูเป็นวาทะกรรมที่น่าศรัทธาเป็นหนักหนา ผมเลยเขียนอีกบทความ..."การหาเสียงกับคนโง่"


พอเราพูดแบบนี้ ก็กลายเป็นเราไปดูถูกรากหญ้าเข้าไปอีก...

การเมืองเก่งจริง ๆ พรรคนี้...แต่เป็น "การเมืองแบบศรีธนญชัย"
บันทึกการเข้า

คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 27-03-2007, 21:46 »

ที่มาของอำนาจ ไม่สำคัญเท่ากับ การใช้อำนาจที่ได้มา


ที่มาของอำนาจ ไม่สำคัญเท่ากับ การใช้อำนาจที่ได้มา


ผมชอบประโยคนี้หละ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 27-03-2007, 22:00 »

อ้าว ลุงแคนก็เหนื่อยเหรอ  ผมเห็นเข้าไปหายาโด๊ปในราชดำเนินบ่อยๆ  ยังนึกชมว่า ฟิตจริงๆ อิ อิ       

เคยเห็นขอทาน แต่งตัวมอซอ แล้วถือไม้คอยไล่ตีฝูงสุนักกลางสนามหลวง...มั๊ยครับ อิ อิ

ผมมองตัวเองแบบนั้น...กลิ่นขอทานมันคงไม่เป็นที่พึงประสงค์ของส่ำสัตว์ฝูงนั้น

แต่ที่เข้ามาช่วยไล่ก็มีนะครับ ยืนดูด้วยความชอบใจก็มี ไม่ว่ากัน

เมื่อเค้าให้เราสวมบทบาทอะไร ก็เล่นให้สมบทบาท

ให้เป็นพระเอกก็เล่นไป ให้เล่นผู้ร้ายหรือ ขอทานตัวเหม็น ก็ต้องเล่นไป

คนเราจะยืนอยู่ในโลกนี้ได้อีกนานซักกี่ปีล่ะ...

****************************

อ้อ...บทความอาจารย์นิธิ ผมชอบอยู่บ้างนะครับ โดยเฉพาะเรื่อง นายกมาตรา 7...

ช่วงนั้นผมคุยกับเพื่อน ๆ ฝั่งไทยรักไทย ยังนิยมเลยครับ อ.นิธิ เขียนได้ใจความดีมาก


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: