ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-04-2024, 19:35
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ถ้ามีอะไรเชื่อมต่อระหว่างสองสนามบินจะต้องจ่ายค่าก่อสร้างเท่าไหร่กัน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ถ้ามีอะไรเชื่อมต่อระหว่างสองสนามบินจะต้องจ่ายค่าก่อสร้างเท่าไหร่กัน  (อ่าน 3024 ครั้ง)
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« เมื่อ: 10-02-2007, 17:19 »

แทนที่จะขยายสนามบินใหม่ พ่อเจ้าประคุณผู้ฉลาดในการปกครองประเทศทั้งหลาย ก็อยากให้กรุงเทพฯ เจริญทัดเทียม
ชิคาโก้ที่มีสองสนามบิน ถ้าเป็นสนามบินนานาชาติทั้งคู่ เวลาต่อไฟล์ทคนละสายการบินก็คงต้องเดินทางนิดหน่อย ถ้าไป
ทางรถที่มีอยู่ปัจจุบันก็ราวๆ ชั่วโมงนึง บวกกับความสะดวกที่น้อยกว่าชิคาโก้ จะให้มีอะไรด่วนๆ link มันสองสนามบินจะ
ต้องจ่ายเงินภาษีเราๆ ท่านๆ เท่าไหร่หว่าในการก่อสร้าง มีคำตอบกันมั่งมั้ย

คิดจากค่าก่อสร้าง รถไฟฟ้า สายสีแดงอ่อน ประกอบด้วย
Airport Link ระยะทาง 28.0 กม.
Airport Link  ส่วนต่อขยาย ระยะทาง 28.0 กม.
บางซื่อ - ตลิ่งชัน ระยะทาง 14.7 กม.
บางซื่อ - มักกะสัน ระยะทาง 7.6 กม.
กรอบวงเงินลงทุน 106,392 ล้านบาท
http://www.railway.co.th/project/redline.html
 
กิโลเมตรนึง ประมาณ 1,400 ล้านบาทเอง จิ๊บ จิ๊บ

ระยะทางห่างสองสนามบินคิดแบบเวคเตอร์ลัพท์ก็ประมาณ 30 กม. คูณแล้ว ก็ 42,000.- ล้านบาท ไม่รวมค่าที่และอื่นๆ
คุ้มค่าหรือเปล่าหว่า หรือว่าเพื่อความเท่ทัดเทียมชิคาโก้ก็ยอมจ่ายๆ หน่อย สร้างรันเวย์เพิ่มยังไงมันก็ไม่ได้ชื่อว่ามีสอง
สนามบินเหมือนชิคาโก้ ยอมรับไม่ได้อ่ะประเทศอะไรไม่รู้หลังเค้าหลังเขาเมืองหลวงดันมีแค่สนามบินเดียว
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-02-2007, 18:11 »

เพื่อความขลังก็ต้องมีภาพประกอบซะหน่อยจากเมืองต้นแบบ

สนามบินเก่าชื่อ Chicago Midway INTL (MDW) ท่าทางจะสวยนะ


สนามบินเก่าน้อยกว่าชื่อ Chicago O'Hare International Airport


แผนที่ของสองสนามบิน


ก็จะมีรถไฟฟ้าเชื่อมสองสนามบินสายสีน้ำเงินกับสายสีส้ม หน้าตาแบบนี้


แผนที่ทางเดินรถไฟฟ้า


สร้างให้ได้แบบเค้านะ ทั่นผู้บริหารประเทศไอคิวสูง จ่ายเท่าไหร่เท่ากันมารีดเอากะประชาชนอย่างผมได้
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #2 เมื่อ: 10-02-2007, 19:14 »

อันที่จริงก็ไม่ต้องสร้างให้เปลืองเงินทองอะไรเลย

ถ้าไอ้เหลี่ยมไม่โกงเสียจนสนามบินพัง

ใช่ไหมคะ ใช่ไหมคะ 
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #3 เมื่อ: 10-02-2007, 19:54 »

^
^
เค้าพิสูจน์แล้วว่าพังเพราะปาก กับเสียหายเล็กน้อยทางเทคนิคเพราะน้ำท่วม ตามข่าวมั่งนะ อย่างมงายมาก

ถ้าจะเอาประหยัดในยุคพอเพียงไม่ต้องสร้างอะไรให้เปลืองเงิน เวลาออกจากดอนเมืองก็ข้ามถนนมาขึ้นไอ้นี่

แล้วไปต่ออีกสายที่ไปลาดกระบังที่หัวลำโพง ลงแถวอ่อนนุชแล้วเรียกมอเตอร์ไซด์รับจ้างไปส่งสุวรรณภูมิ
แต่แนะนำว่าอย่าเอากระเป๋าหนักๆ ไป เพราะว่ามอเตอร์ไซด์รับจ้างจะไม่ยอมไป
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #4 เมื่อ: 10-02-2007, 20:04 »

http://www.komchadluek.net/2007/02/10/q010_87924.php?news_id=87924

'แพทย์สุวรรณภูมิ' ฟันธง สนามบินโคม่า-ปั๊มหัวใจยืดชีวิต
 
"วันที่ผมรู้สึกว่าหนัก ปัญหามันไปไกลเกิน หนักมากคือวันที่นักบิน บริษัทไทยแอร์เอเชีย รายงานจากเครื่องบินว่า รันเวย์มีจุดที่อันตราย มีรอยปริ"

 เพียงแค่ 4 เดือนหลังการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ โดยไม่ฟังเสียงทัดทาน สภาพของสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ดูไม่ต่างกับคนป่วยไข้ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบปัญหาการชำรุดบริเวณทางขับ (Runway) และทางวิ่ง (Taxi way) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้ซึ่งสวมบท "แพทย์" เข้าไปตรวจสอบอาการของสุวรรณภูมิ ที่ปรากฏรอยร้าวในหลายแห่ง ให้บทสรุปในเบื้องต้นว่า สุวรรณภูมิไม่ต่างจากคนป่วยไข้ที่ต้องเฝ้าดูแลอาการทุกชั่วโมง

+

ตอนนี้พอจะสรุปหรือรู้สาเหตุว่าความเสียหายที่รันเวย์ และแท็กซี่เวย์ เกิดขึ้นจากอะไร ?

 ที่พูดมาก่อนหน้าที่มีกรรมการทางวิชาการ เราถือว่าเราสันนิษฐาน 3-4 ข้อ เหล่านี้มาจากประสบการณ์แต่ละคน เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านดินก็บอกว่าเป็นเรื่องของดิน ดินข้างล่างไม่สามารถรับแรงได้แล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการว่าจ้างก็บอกว่าผู้รับเหมาอาจจะทำผิด อาจจะใช้ของผิดสเปค คอนกรีต ยางมะตอย อาจจะไม่ดี หรือแอสฟัลต์ไม่ได้คุณภาพ แต่มีเหตุผลอันหนึ่งที่คนนิยม คือโทษให้เป็นเรื่องดินฟ้าอากาศเลย แล้วก็นักวิชาการส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่การออกแบบเลย เป็น 3 ข้อที่ วิศวะบริหารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ที่มาตั้งหัวข้อไว้ อันที่ 4 มาจากนักประวัติศาสตร์คิดว่าอาจมาจากการถมทรายตั้งแต่ปี 2543-2544 ก็อาจเป็นได้ สันนิษฐานข้อนี้ เรากำลังเจาะสำรวจเจาะทะลุคอนกรีต 70 เซนติเมตรถึงชั้นทรายก็ได้ตัวอย่างมาแล้ว

เจาะกี่จุด ?

 ตอนนี้เราเจาะจุดแรก เป็นสี่เหลี่ยมที่มีคนเอาไปลงว่าเป็นหลุมศพ เป็นบริเวณใต้รันเวย์ จุดที่เกิดอาการ ที่เครื่องบินลงจอดแล้วบุ๋ม เราจะลงไปและจะขุดเพิ่มขึ้นด้วย เรามีข้อมูลเรื่องทรายที่ตรงนี้ อาจจะเจอหรือไม่เจอทรายที่มีคุณภาพไม่ดี แต่ชั้นแรกที่ผมเอามาดู กรรมการก็ได้ดู ทรายที่ขุดขึ้นมาบอกได้ว่า ไม่ใช่ทรายขี้เป็ด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นทรายดี ก็ต้องเอาไปเข้าแล็บ แล็บก็จะบอกว่าความละเอียดคุณภาพของทรายได้ตามที่กำหนดหรือไม่ เรามีข้อมูลซึ่งมีคนส่งมาให้ว่า เคยมีการได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีสมัยนั้น ให้เอาทรายไปตรวจเหมือนกัน เพราะมีคนพูดว่าทรายที่เอามาถมไม่ได้คุณภาพ เลยเอาไปสำรวจ พบว่าในตัวอย่างที่ได้มาประมาณ 10-20 ตัวอย่าง เป็นทรายที่ไม่ได้มาตรฐานแต่ในสมัยนั้นเรื่องก็เงียบไป แต่ตอนนี้เขาก็เอาข้อมูลมาให้ เราก็ได้ข้อมูลมาแล้วก็ไปเจาะ

หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีการถมทราย ก็ต้องใช้ทรายที่ได้มาตรฐาน ?

 ใช่ แต่ผมคิดว่าแม้กระทั่งคนรับเหมาที่ถมหรือคนที่ขายทรายก็ไม่เข้าใจว่าทรายที่ถมดินมันสำคัญอย่างไร ทรายขี้เป็ดก็ถมได้ แต่เขาไม่เข้าใจว่า ที่เราเรียกว่า ถมดิน ถมทรายๆ มันไม่ใช่เอาทรายไปถมที่ มันต้องเป็นทรายที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถให้น้ำผ่านได้สะดวก เพราะระบบที่เขาถมทรายเป็นหมื่นล้าน ถามว่าทำไมแพงมาก คิวละ 800 เกือบ 900 ขณะที่ทรายทั่วไป 200 เขาไม่เข้าใจ เพราะว่านี่เป็นเทคโนโลยีพิเศษที่จะเร่งทำให้ดูดน้ำออกจากดินเหนียวหรือดินเลนเพื่อให้ดินทรุดลง แทนที่เราจะรอ ที่ดอนเมืองมีเวลาเป็น 70-80 ปีค่อยๆ ทรุด แต่สุวรรณภูมิให้มันทรุดภายใน 3 ปี ถึงที่แล้วมันจะไม่ขยับแล้ว ถ้าเราไปใช้เลยมันก็จะทรุด

การเลือกวิธีการนี้ก็เป็นที่เข้าใจว่าจะต้องทำลักษณะนี้ ต้องใช้ทรายอย่างนี้ แล้วมันเกิดความผิดพลาดที่ตรงไหนที่ทำให้ผู้รับเหมาไม่เข้าใจ ?

 ผู้รับเหมาไม่เข้าใจไม่เป็นไร แต่คนที่เข้าใจไม่ควบคุม ไม่ดูแล ประชาชนยังไม่เข้าใจเลยว่าสำคัญยังไง แต่เรารู้ว่าในวงการทรายเขาก็บอกว่า ทรายที่ได้คุณสมบัติ ไม่ใช่แค่ทรายแม่น้ำ แต่ต้องมีความละเอียดความหยาบตรงตามสเปคเป๊ะ ต้องเอาทรายมาผสม ผ่านตะแกรงมาผสมกัน ถ้าต้องการเยอะขนาดนั้น มีคนบอกว่าต้องการทรายแบบนี้ซึ่งในธรรมชาติมีไม่มาก ไม่รู้จะหาที่ไหน ก็ทำให้เกิดการปลอม ดีบ้างไม่ดีบ้าง

ถ้าอย่างนั้นเบื้องต้นที่ทรายกว่าครึ่งไม่ได้มาตรฐาน ก็เห็นคนรับผิดชอบแล้ว ?

 คือคนที่ควบคุม

รวมทั้งบอร์ดใช่มั้ย ?

 ไม่รู้ หน้าที่ผมตอนนี้ก็คือหาว่ามันเกิดจากอะไรแล้วก็ทำไมถึงเกิดขึ้นได้

ที่มันผิดอย่างนี้ เป็นเพราะเขาเลือกวิธีนี้...ฟันธงไว้แต่แรก ?

 ไม่ใช่หน้าที่ผม ต้องตั้งคำถามว่า ถ้าการเลือกวิธีการก่อสร้าง วิศวกรไม่ควรจะคำนึงถึงแค่เรื่องเทคโนโลยี เทคโนโลยีดี แต่เราสามารถก่อสร้างให้เป็นไปตามเทคโนโลยีนั้นไหม คนที่ทำงานให้เราจะเข้าใจไหมถึงความสำคัญ เป็นเรื่องใหม่อาจจะครั้งแรกในประเทศไทย อาจจะไม่ใช่ครั้งแรกในประเทศไทยแต่เป็นโครงการใหญ่ที่รีดน้ำออกจากดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อก่อนมีการทดลองทำที่มอเตอร์เวย์ จริงๆ แล้วมีวิธีการที่จะปรับดินให้แข็ง หรือให้สนามบินไม่ทรุดอื่นๆ อีกเยอะ แต่ผู้สนับสนุนให้ใช้วิธีนี้ (พีวีดี) ต้องพูดว่า เก่ง ที่พูดให้ทำให้ใช้วิธีนี้ ...เก่งที่ทำให้คนเชื่อมาใช้วิธีนี้

เก่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง ?

 คือเก่ง ในลักษณะที่พูดให้นักการเมืองและผู้ที่มีอำนาจมาใช้วิธีนี้ แต่ในวงการวิชาการก็ถกเถียงกันมาก โดยเฉพาะที่เป็นอาจารย์บอกว่า ต้องเกิดปัญหาแน่ แต่ไม่คิดว่าจะเกิดเร็วขนาดนี้ อย่างไรก็ตาม ถึงทรายดีก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาอื่นจะหมดไป เพราะว่าที่ตั้งสันนิษฐานไว้ 4 ข้อ อาจพบว่าสาเหตุทั้ง 4 อันเป็นไปได้ทั้งสิ้น

การเร่งให้เปิดเป็นปัญหาหรือไม่ ?

 เป็นปัญหาแน่นนอน ตั้งแต่ปี 2548 ที่มีปัญหาว่ามีรอยแตกที่สนามบิน ผมในฐานะนายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ตอนนั้นก็ด้วยความที่สาธารณชนต้องการรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องการคนกลางไปดู ตอนนั้นพบว่าที่รันเวย์มีรอยร้าวซึ่งเป็นส่วนที่น่ากลัว รอยร้าวที่พูดกันอยู่ที่ไหล่ทางยาวร้อยเมตรจริง แยกใหญ่จริง ครั้งแรกก็เคลียร์ก่อนว่า ไม่ใช่รันเวย์ อันที่สอง เราก็ดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราก็พบว่าการเร่งให้ดินยุบตัวเร็วด้วยวิธีใหม่กว่าเก่าอีก

 วิธีเก่าใช้วิธีเอาหินทับ เร่งให้ดินมันยุบ วิธีใหม่นี่ใช้หินทับและใช้ปั๊มสูบ คือเอาท่อเสียบแล้วดูดน้ำออก เร่งดูดเหมือนสูบน้ำบาดาลแล้วแผ่นดินก็ทรุด แล้วเวลาในการดูดทำให้มันทรุดมันสั้นกว่าเดิมเยอะ ไม่ถึงปีด้วยซ้ำ มันก็ทรุดจริง แล้วมันไปดูดน้ำที่อื่นด้วย ซึ่งในรันเวย์ตรงนั้นก็มีการดูดน้ำกระทบกระเทือนด้วยตรงไหล่ทาง

ถ้าการเร่งให้สร้างมีปัญหาก็เป็นอีกจุดที่ต้องมีคนรับผิดชอบ ?

 ใช่ รวมทั้งเรื่องการเลือกวิธี พอตั้งเป้าเวลาก่อสร้างเวลามันเกิดปัญหามีอะไรต่างๆ ในประวัติศาสตร์สอนว่า เมื่อเร่ง พอไปถึงจุดหนึ่งมันก็ต้องใช้วิธีไม่ปกติ แล้วจะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ อย่างเช่น ตอนทำเอเชี่ยนเกมส์ ผมก็บอกว่าถ้าเร่งขนาดนี้มันอาจจะมีพลาด เพราะยิ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ ก็มีหลังคาสระว่ายน้ำพังไปทีหนึ่ง ใช้เสาเหล็กคนงานไม่รู้ แล้วไปถอดสลิงที่เรายึดไว้ มันอยู่ได้ แต่ถ้าถอดสลิงออกก่อนเสร็จสมบูรณ์ มันก็จะพับลง นี่เป็นบทเรียน คือการก่อสร้างมันไม่ใช่แค่วิศวกรรู้เรื่อง เข้าใจ แต่ต้องบอกคนก่อสร้างด้วย

 เพราะฉะนั้นการเร่งเวลา ก็ไม่เป็นไรถ้ายังอยู่ในลิมิตที่วิศวกรผู้เชี่ยวชาญรับได้ เป็นบทเรียนว่ายุคปัจจุบัน ผู้นำคิดคนเดียว ผมว่ามันใช้ไม่ได้ในยุคนี้แล้ว ตำราการบริหารต่างๆ บอกว่าการบริหารของผู้บริหาร บริษัทยุคใหม่ต้องให้มีการมีส่วนร่วม ใช้พลังสมองของคนต่างๆ เพราะข้อมูล ความรู้ มันมหาศาลเรียนทั้งชีวิตก็ไม่หมด เราจะคิดว่าผู้บริหารที่อัจฉริยะอย่างไอน์สไตน์ให้มาบริหารสุวรรณภูมิคนเดียว มันก็ไม่ดี นี่เป็นความผิดพลาดของสไตล์การบริหารตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ประธานบอร์ด ผู้จัดการ ฝ่ายต่างๆ สไตล์เหมือนกันหมด

นอกจากรันย์เวย์ แท็กซี่เวย์ แล้วตัวอาคารก็ยังทรุดด้วย ?

 ตามทฤษฎีผู้ดีไซน์เลือกวิธีการสร้างเพื่อให้สร้างได้เร็ว คือวิธีตอกเข็มเพราะเร็ว เพื่อให้ง่ายก็ตอกลงไปแค่ 20 เมตร ซึ่งยังไม่ถึงชั้นแข็ง ก็ทำให้เร็ว ผู้ออกแบบรู้ว่าจะมีการทรุด แต่หวังว่าจะทรุดไม่แตกต่าง คือ ทรุดทั้งตึกไม่เป็นไร เมื่อมีข่าวผมถามนักวิชาการว่า มันจะแตกมั้ย นักวิชาการบอกว่ามีโอกาส ก็ต้องติดตามดู

ก็เหมือนตึกลอยบนเลน ก็ไม่รู้ว่าทางไหนจะทรุดก่อน ?

 มีคนบอกว่าตอก (เสาเข็ม) แล้ว พออีกวันหาย ตอกลงไปแล้วตอกไปตอกมามันเบี้ยว มันเคลื่อนตัว พวกนี้ก็ยากต้องติดตามดู ส่วนที่เป็นโครงสร้างจะรู้ล่วงหน้านาน

รวมหมดแล้วจะประเมินได้มั้ยว่าจะใช้เงินเท่าไร เวลานานแค่ไหน ?

 ขั้นตอนต้องบอกว่า เรายังไม่รู้ว่าจะใช้เงินเท่าไร ผมเคยบอกว่า ประมาณ 300-3,000 ล้านบาท ผมบอกว่า ผมไม่รู้ ก็ต้องประเมิน ซึ่งก็ประเมินไม่ได้หรอก ตัวเลขที่ท่าอากาศยานจะเคลมจากบริษัทประกัน ผมก็เลยคูณเข้าไปสิบเท่าเลย ที่จริงอาจจะ 300-30,000 ล้านก็ได้ เรายังบอกไม่ได้ จนกว่าจะรู้สาเหตุ ถ้าเรารู้สาเหตุถึงจะรู้วิธีแก้ไข รู้วิธีแก้ไขแล้วมันยังมีอีก 10 วิธี แต่ละวิธีอาจจะแพงกว่ากันสองเท่า สามเท่า

 คนที่ตัดสินคนสุดท้ายในแง่นโยบายเป็นคนเลือกว่าจะใช้วิธีไหน ตั้งแต่รื้อสร้างใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เวลามากที่สุดจนถึงวิธีเร็วและแข็งแรงแต่อาจแพง 5 เท่า เช่น เร็วสร้าง 2 เดือนแต่แพงขึ้น 5 เท่า นี่ยกตัวอย่างนะ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินใจที่จะเอาปัจจัยอื่นมาประกอบ วิศวกรอาจจะบอกเอาวิธีแพง 5 เท่า เมื่อมองเศรษฐกิจประเทศแล้วก็บอกนักเศรษฐศาสตร์อาจจะให้เกิดความเสียหายต่อประเทศน้อยที่สุด

 เราก็จะจำกัดวงของเรา ต้องหาเหตุให้ได้ แต่ฟังดูมันเรียกว่าหนักนะ ตอนที่ผมเจอจุดเสียหายบนรันเวย์ก็ยังไม่ค่อยตื่นเต้น เพราะจากแท็กซี่เวย์เป็นอย่างนี้ รันเวย์ก็ต้องเป็น ก็ยังสงสัยว่าทำไมไม่เป็นก็เลยไปดู ก็เจอ แต่วันที่ผมรู้สึกว่าหนัก ปัญหามันไปไกลเกิน หนักมากคือวันที่นักบิน บริษัทไทยแอร์เอเชีย รายงานจากเครื่องบินว่า รันเวย์มีจุดที่อันตราย มีรอยปริ หรือมีเศษหินอะไรเนี่ย ซึ่งเราก็ยังไม่เชื่อ 100% เกิดขึ้นหลังจากวันที่ผมไปตรวจสนามบิน 1 วัน ผมไปตรวจก่อน 1 วัน พาผู้สื่อข่าวเนชั่นไปถ่ายของจริงเลย หลังจากนั้น 1 วันนักบินก็มองเห็นจากเครื่องบินบอกว่า รอยใหญ่มาก

 นักบินเขามีอำนาจและกฎการบินก็ให้อำนาจเขา สามารถสั่งได้ว่า ถ้ารายงานแล้วเขาจะส่งทั่วไปเลย บอกนักบินว่าอาจจะไม่ให้ลง ทางเราเลยต้องปิด แต่มันไม่ปิดปกติแต่ปิดฉุกเฉินเลยคือ 5 มกราคม 5 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เครื่องบินหนาแน่นที่สุด มี 2 รันเวย์ก็ยังเป็น เพราะฉะนั้น เราปิดไปประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ 3 กิโลเมตรเราก็ปิดไปส่วนหนึ่งก็ทำให้เครื่องบินจำนวนมากลงไม่ได้ ก็เข้าคิวยาวเลย เราบอกรันเวย์สั้นก็ลงสิ ก็มีเครื่องบินเล็กๆ ลง แต่เครื่องบินที่มาสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะตอนสี่-ห้าทุ่ม เป็นเครื่องบินที่บินระหว่างทวีปเลย

 เพราะฉะนั้น ก็มีเครื่องบิน โดยปกติ 1 ชั่วโมงมันมีเครื่องบินประมาณช่วงเร่งด่วนแทบจะลงทุก 1 นาที คิดง่ายๆ 50 ลำลำละ 200 คน เอาแค่ 1 ชั่วโมง 50 ลำ คูณ 200 คน เท่ากับ 1,000 คน หรือ 2,000 วนในอากาศเกือบสองชั่วโมง มีคนที่ผมรู้จักมาจากภูเก็ตวนอยู่ 2 ชั่วโมงพอดีมีน้ำมัน คนที่ไม่มีน้ำมันก็ไปลงอู่ตะเภา มันมีเหตุการณ์อย่างนี้จริงๆ แล้วภายใน 1 วันมันเปลี่ยนแปลงไม่ได้อย่างนี้ งั้นพรุ่งนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ ชั่วโมงหน้าก็เกิดขึ้นได้ เราอยากรู้ความจริง เรารู้ว่าแอร์เอเชียเที่ยวบินเท่าไร ยังไม่มีใครบอกผม ว่าผมจะคุยกับเขาได้ไง เพราะผมอยากขอข้อมูลกับเขา เพราะเขาบอกว่าเขาเห็นจริง ก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะมันเสียหายขนาดนี้ และถ้าเราต้องปิดอาทิตย์ละหนมันก็เป็นสนามบินที่ไม่ควรมีใครมาลงแล้ว

ตอนนี้ก็ไปใช้แค่รันเวย์เดียว แล้วก็ลงเยอะ ?

 ลงเยอะครับ ก็จะพังเร็ว ตอนนี้ผมยังอยากไปเฝ้า 24 ชั่วโมงว่ามันเกิดอะไรขึ้นแต่เราก็ไม่อยากกางเต็นท์นอนเหมือนคนที่เคยทำ แถวนี้มันอันตราย ต้องไปเฝ้า เราส่งคนให้ไปดู

คิดถึงความคุ้มค่าทำให้มันดีที่สุด คุ้มค่ากับการลงทุนซ่อมมากแค่ไหนเทียบกับการขยายดอนเมือง ?

 ช่วงที่ผ่านมาท่าอากาศยานไทยใช้จ่ายไปกับที่นี่จำนวนมหาศาล บางอย่างบอกได้ว่าใช้ไปอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการโฆษณาประชาสัมพันธ์เปิดลองของจริงทั้งเปิดจริง มันมีการเปิดอยู่เรื่อยและแต่ละครั้งก็ทุ่มทุนมหาศาล และมีการจัดจ้างโดยวิธีรวดเร็วไม่จำเป็นก็เยอะ ของจำเป็นกลับไม่มี เช่น เก้าอี้ไม่มีเบาะ มันประหลาด คือ ประหยัดในส่วนที่ไม่ควรประหยัด เช่นว่าพื้นใช้หินขัดแล้วมันก็สกปรก ไม่ควรประหยัดก็ประหยัด อันที่ไม่ควรต้องซื้ออย่างซีทีเอ็กซ์ก็ซื้อมาตั้งเยอะแยะ เรียกว่าเป็นการลงทุนตั้งแต่ต้นที่ใช้จ่ายเยอะ

 เพราะฉะนั้นพูดถึงที่ต้องขยายอีก เหตุผลที่แท้จริงที่ต้องกลับมาใช้ดอนเมืองก็ยังไม่เกี่ยว เพราะตอนนั้นก็ยังไม่เจอรอยแตกที่รันเวย์ เจอแต่ที่แท็กซี่เวย์ ซึ่งเราถือว่าเป็นเรื่องที่ซ่อมได้ ตอนนั้นเราคิดว่าทำไมดูตัวเลขของกิจการแล้วสำหรับปีต่อไปค่อนข้างกังวล ไม่ได้ใช้ทำอะไร กลับเป็นตัวติดลบเป็นร้อยล้าน ถามว่าดอนเมืองปิดรึเปล่าก็บอกว่ายังเปิดอยู่ มีศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการบิน แต่มีเครื่องบินมาลงเฉพาะที่ไม่ได้ห้ามลง ผมบอกเราไม่ได้ย้ายนะแต่ห้ามเครื่องบินมาลง อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นห้ามเครื่องบินมาลงดอนเมือง เครื่องบินให้มารวมที่สุวรรณภูมิทั้งหมด เพราะฉะนั้นดอนเมืองไม่ได้ปิด ในความคิดของผม เรายกเลิกคำสั่งที่มันไม่สมควรเสีย

ข้อเสนอในการแก้ไขอย่างไร ?

 ถ้ารู้สาเหตุแล้วจะมีข้อเสนอที่มีข้อมูลสนับสนุนมากขึ้น ตอนนี้เราเดาว่าปิดไปเลยแล้วมาอยู่ดอนเมือง แล้วเมื่อสุวรรณภูมิแก้ไขแต่งตัวใหม่ เปิดตัวอย่างสมบูรณ์แบบติดอันดับโลกไปเลยอีก 2 ปี หรือปีหนึ่ง ทำมันใหม่หมดหรือว่าก็เป็นไปลักษณะนี้คือเปิดสองสนามบิน คือ ในประเทศอยู่ดอนเมืองต่างประเทศอยู่สุวรรณภูมิ ซ่อมไปสร้างไปยังรับผู้โดยสารปีละ 40-50 ล้านคน ใช้เงินน้อย ยกเว้นว่าสุวรรณภูมิใช้ไม่ได้ ถ้าเราพบว่าเป็นอันตราย อัตราการการพังทรุดต้องปิดซ่อม ใช้อันเดียว อีกอันปิดซ่อม พอใช้รันเวย์เดียวไม่นานก็พัง สุดท้ายก็ใช้ไม่ได้เลย

เท่าที่เห็นก็คือพังแน่ๆ เป็นอันตรายแน่ ?

 อันตราย...ถ้าเราเผลอแป๊บเดียว ต้องคอยระวังเหมือนคนไข้ปั๊มหัวใจเรื่อย ก็ไม่ตาย ถ้าไฟดับเมื่อไร อาจหัวใจวายตาย

ดินที่ไปตรวจสอบจะประกาศผลได้เมื่อไร ?

 ถ้าทำตามวิธีซึ่งถือว่าเป็นวิจัยชิ้นหนึ่งที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยมีในโลกด้วยก็ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน แต่ผมเสนอว่าทนรอไม่ได้ถึง 6 เดือนสิ่งที่จะเกิดขึ้นที่อันตรายมากเราไม่รู้ วันต่อวัน สองอาทิตย์ต้องตอบกรรมการ กรรมการต้องตอบในสองอาทิตย์ ข้อมูลมากที่สุดใน 2 อาทิตย์ สิ้นสุดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ เพราะสนามบินก็รอไม่ได้ ผมอยากคุยกับนักบินไทยแอร์เอเชียว่าคุณเห็นอะไร

ทางบริษัท (ไทยแอร์เอเชีย) ไม่ยอมแจ้ง ?

 ถ้าเขาเห็นแล้วยินดีพูดก็เป็นประโยชน์ เพราะว่าถ้ามันเป็นงั้นเราคงต้องส่งคนไปตรวจ ลงหนึ่งลำปั๊บก็เข้าไปตรวจเหมือนเก็บลูกเทนนิส แต่เขาบอกว่าทำไม่ได้เพราะสนามบินมันกว้างมากขอเป็นตรวจทุกๆ 5 ลำ แต่ผมอยากให้ดูทุกลำ เพราะเราไม่รู้อะไรมากกว่านี้ 5 ลำ ตอนที่ 3 ลำลง จะรอลำที่ 5 ลำที่ 3 มันกระแทก 3 ลำ หินเริ่มกระเด็นออกมา  ลำที่ 4 ดูดหินเข้าไป เราจะรออีกลำจะไปตรวจก็ไม่ทัน

อย่างนี้เปรียบเป็นคนไข้ก็เข้าขั้นโคม่า ?

 ผมถึงอยากทราบว่า เขาเห็นอะไร นักบินทั่วโลกให้เกียรตินักบิน เพราะนักบินรับผิดชอบชีวิตผู้โดยสาร ประเทศไทยก็นับถือนักบินทุกคน ถ้านักบินบอกอย่างนี้บ่อยๆ สนามบินก็อยู่ไม่ได้

วันนี้-พรุ่งนี้ อาจารย์กล้าไปขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิมั้ย ?

 (หัวเราะ) ก่อนขึ้น ผมคงไปตรวจก่อน ตอนขึ้นมีปัญหาเป็นส่วนที่อันตรายที่สุด รอยแตกก็แตกที่รอยขึ้นแล้วก็จุดที่ขึ้นเป็นจุดที่ใช้แรงมากที่สุด เครื่องยนต์ทำงานหนักที่สุด ในช่วงนี้ถ้ามีอะไรดูดเข้าไป นกบินที่เขากลัวมากที่สุด นกเข้าไปในท่อ อันตรายที่สุด ขาลงเครื่องแทบจะดับแล้ว ต้องเบามากเลย แตะแล้วก็วิ่ง ปรากฏจุดที่กระแทกไม่เป็นรอยบุ๋ม แต่ส่วนที่บุ๋มเป็นส่วนที่จอดเฉยๆ กลับมีรอยบุ๋ม เขาบอกว่า เที่ยวบินที่บินระหว่างประเทศน้ำมันเต็มลำ เพราะต้องบิน 20 ชั่วโมงไม่ได้เติมมันวิ่งมาพอจอดน้ำหนักกด นี่ล่ะที่เกิด อันนี้ฟังดูก็ใช่ เวลาลงถ้าลงแรงมากยากแตกเครื่องบินพัง เพราะฉะนั้นนักบินต้องลงเบาที่สุด

 
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #5 เมื่อ: 10-02-2007, 20:15 »

ข่าวทั่วๆ ไปเรื่องการตรวจสอบก็มีให้อ่านในหนังสือพิมพ์เยอะแล้ว ลองอ่านความเห็นของพวกวิศวกรดีกว่า


อ่านบทความใน คม ชัด ลึก หน้า 5 วันเสาร์ที่ 3 กพ 2550 แล้ว อยากเตือนคุณในฐานะรุ่นพี่คนหนึ่งว่า การให้สัมภาษณ์นั้น ต้องระวัง อย่าให้คนที่ไม่หวังดี โจมตีกลับได้ เช่น
1. การถมทราย ทรายไม่ได้มาตรฐาน เพราะทรายที่ได้มาตรฐานหายากนั้น แท้จริงแล้ว ใน spec .gradation of Sand Embankment นั้น มันมี range ของแต่ละ gradtion (sieve size) ที่ค่อนข้างกว้าง ซึ่งทรายหลายๆแหล่งนั้นเข้ากับข้อกำหนดใช้ได้ อยู่ที่ว่าการคุม general test , Control test and Quality test นั้นทำกันถูกต้องจริงจังไหม
2. การ treat soft soil foundation นั้นมีหลายอย่างจริง cement column or deep soil stabilization or PVD or Geotextile  และจริงที่ว่า PVD ไม่ค่อยดี กรมทางหลวงไปใช้สาย มอร์เตอร์เวย์แล้วไม่ค่อยได้ผล แต่ก็เป็นวิธีที่ถูกกว่าอย่างอื่น
3. การเร่งถมทรายลานบินที่ 3 ที่ว่าเร่งปั้มน้ำออกแบบสูบน้ำบาดาลนั้น พูดเกินจริงไป เขามี PVD กรองน้ำ ที่ถูกน้ำหนักจาก Pre-load weight ( เขาใช้หินแทนทรายจริงหรือ เพราะ Bulk density ของทรายกับหิน ก็ไม่ต่างกันเท่าไร ไม่น่าจะมีผลอะไร) กดให้น้ำซึมผ่าน PVD ที่หุ่ม Tube เข้ามาใน tube ก่อน แล้วจึงปั้มน้ำออกจาก ท่ออีกที ไม่ใช่สูบแบบบ่อบาดาลสักหน่อย
4. อาคารสนามบินใช้เข็มตอก ยาว 20 เมตร ข้อมูลนี้ถูกต้องแน่นอนหรือไม่ ถ้าใช่ ฟันธงว่า ออกแบบผิดแน่ๆ เพราะแถบนั้น ดินอ่อนลึก 16-20 เมตร เข็มโรงงานหรืออาคารต่างๆที่ออกแบบแถว บางนา - บางปะกง อย่างน้อยๆต้อง 23-25 เมตร ช่วง กม. 26 ต้องไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพราะช่วงนี้ดินอ่อนลึกมาก วิศวกรไทยรู้ๆกันส่วนมาก และเรื่องเข็มเอียง นั้น แถวดินอ่อน ถ้าตอกเข็มไม่จัดระบบให้ดี ดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม จะดันต้นที่ตอกไปแล้วเอียงได้ 
5. นักบินไทย แอร์เอเชีย มองเห็นรอยแตกบนลานวิ่งขณะเอาเครื่องร่อนลง อันนี้คุณเชื่อได้อย่างไร ตอนลงนะ ความเร็วเท่าไร 50-10 ไมล์/ชม. และที่นั่งนักบินสูงจากพื้นผิวลานบิน5-6 เมตร ระยะมองต้องทำมุมไปข้างหน้าก็ต้องเป็นระยะไกลมาก แล้วบอกว่าเห็นรอยแตก ผมไม่เชื่อเด็ดขาด ขนาดตรวจผิวทางถนน ด้วยการเดินตรวจ visual inspection ยืนตรงไหล่ทาง ยังมองไม่ค่อยเห็นรอยแตกเลย ขอแนะนำว่าจะตรวจรอยแตก ต้องตอนหลังฝนตกใหม่ๆ ผิวแห้งบ้างแล้ว ตรงรอยแตกจะยังมีน้ำขังซึมอยู่ อย่างนี้จะเห็นรอยแตกชัด แต่ก็ต้องเดินตรวจใกล้ๆด้วยละครับ
6. การร่อนลงต้องลงเบาๆจะปลอดภัยนั้น ลองถามนักบินจริงๆดูว่าการลงแบบกระแทกลงแล้ววิ่งต่อ กับการแฉลบลงเบาๆ อย่างไหนปลอดภัยกว่าจริง ก่อนค่อยให้ความเห็นอีกทีดีกว่า
        ทั้งหมดที่เขียนมานี้ ไม่ได้ เกลียด คุณต่อฯ หรือชอบพวกที่โกงกินแล้วหนีไปแล้ว แต่อยากให้คุณต่อพูดแล้วอย่าให้ใครมาแย้ง ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง สนับสนุนที่คุณต่อออกมากล้าทำอย่างนี้ แต่ขอให้รอบคอบมี engineering มากกว่านี้ เพื่อสถาบันวิศวกรรมสถาน และวิศวกรไทย
        อยากให้ลองเอาตัวอย่างผิว แอสฟัลคอนกรีตที่เจาะ(Core) ขึ้นมาแล้วนั้นไปทำ asphalt extraction  test หาปริมาณยางแอสฟัลท์ในส่วนผสมดูทีว่าน้อยกว่า spec. หรือไม่ และระวังด้วยนะ เวลาเขาทดลองและรายงานผลออกมาแล้วบอกว่า 4.9% นั้น ต้องถามว่า actual content เท่าไร เพราะเขามีเผื่อเนื่องจาก การสูญเสียระหว่างทดลอง 0.27% ดังนั้น ค่าที่ว่า 4.9% นั้น ของจริงๆมีอยู่แค่ 4.63% เท่านั้น ก็อยากให้ลองทำดู ผมเชื่อว่าโกง rate ยาง เพราะเสียเฉพาะผิว และแตกร่วนๆรุ่ยๆ เพราะตอนปูยางปี 2548-2549 ช่วงนั้นน้ำมัน บารเรลล์ละ 70ดอลลาร์ ยาง modified asphalt ก็คงราวๆตันละ สองหมื่นกว่าละ ขนาดที่ใช้ยาง AC ธรรมดา ตันละหมื่นกว่านิด ยังโกงกันเลยครับ อย่าคิดว่านิดหน่อยนะ โกงสัก 10 กก./ตัน คิวหนึ่ง = 10x2.4 x 20 =  480 บาท /ลบ.ม.  ปูหนา 33 ซม. ก็ ได้ 3 ตร.ม.  แปลว่า ตร.ม. หนึ่งโกงได้ 160 บาท คิดดูทั้งหมดปูกี่ ตร.ม. จะเป็นเงินเท่าไร แบ่งครึ่งระหว่างคนก่อสร้างกับคนคุม จะได้เท่าไร
      สู้ต่อไปนะน้องต่อ แต่ขอให้รอบคอบหน่อย จะคอยเอาใจช่วยเหมือนตอนที่สู้เรื่อง แหลมผักเบี้ยนะ
http://www.eit.or.th/webboard/question.asp?qid=18001


ถ้าอยากอ่านมากกว่านี้ ก็ให้เข้าไปที่ webboard ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย แล้วจะรู้อะไรดีกว่านี้ เนื่องจาก
ว.ส.ท.จะเป็นกลางปลอดผลประโยชน์และการเมืองมากที่สุดแล้ว อย่างนายต่อ ยมโลก ยังไม่ใสเท่านี้เนื่องจากมีบริษัท
ที่ปรึกษาเป็นของตนเอง
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #6 เมื่อ: 10-02-2007, 20:31 »

ในฐานะที่ผมเป็นคนที่ไม่อยากให้ปิดสุวรรณภูมิ เพราะ อยู่ใกล้บ้าน ค่าแท็กซี่ ถูกลงเกือบครึ่ง....ใครพอบอกได้มั่งว่า ร้นเวย์ร้าว เพราะอะไร แท็กซี่เวย์ ที่เกิดการเสียหายแตก หรือเป็นคลื่น (จะมากหรือน้อย ก็แล้วแต่ ผมเชื่อว่าคนแถวนี้ไม่มีใครเคยเห็น) เพราะเหตุใด..........
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #7 เมื่อ: 10-02-2007, 22:29 »

เมื่อก่อนนี้ มีเรื่องลือกันว่า

๔๐ ปี สนามบินหนองงูเห่าเกิดไม่ได้ เพราะผู้นำสิงคโปร์คอยบินมาจ่ายใต้โต๊ะ

ไม่ให้รัฐบาลไทยสร้าง กลัวจะแย่งการเป็นฮับการขนส่งและการเดินทาง





เดี๋ยวนี้ มีเรื่องลือกันว่า

สิงคโปร์ไม่มาขัดขวางการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิแล้วเมื่อรู้ว่ารัฐบาลทักษิณเป็นผู้สร้าง


เพราะ





สิงค์โปร์เชื่อว่า ถ้าเป็นผลงานที่รัฐบาลทักษิณสร้าง



เมื่อสร้างเสร็จแล้ว



ก็จะใช้ไม่ได้


 

...
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #8 เมื่อ: 11-02-2007, 10:46 »

อ้างถึง
ข่าวทั่วๆ ไปเรื่องการตรวจสอบก็มีให้อ่านในหนังสือพิมพ์เยอะแล้ว ลองอ่านความเห็นของพวกวิศวกรดีกว่า

อ้างถึง
เค้าพิสูจน์แล้วว่าพังเพราะปาก กับเสียหายเล็กน้อยทางเทคนิคเพราะน้ำท่วม ตามข่าวมั่งนะ อย่างมงายมาก


หนูแถเอ๊ย มาอ่านซะ

http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9500000015613

ด้านวิศวกรรมชี้ชัดสมควรปิดสุวรรณภูมิ!
ดร.นพ สัตยาศัย Ph.D. (Harvard)



กรณีผิวจราจรทั้ง Taxi way และ Runway ของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆได้สร้างความสับสนต่อสาธารณะชนอย่างยิ่ง เนื่องเพราะในการตัดสินมีหลายมิติ ทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นวิศวกรและได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักวิชาการ และวิศวกรทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะวิศวกรจากกรมทางหลวง ที่ต่างก็เป็นช่างจึงคำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรมเป็นหลัก!
       
       ดังนั้นจุดประสงค์หลักของการนำเสนอรายงานฉบับนี้เพื่อที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาทางด้านวิศวกรรม และกระบวนการตัดสินใจด้านเศรษฐศาสตร์
       
       จากที่ปรากฏในสื่อมวลชนว่า พื้นผิวจราจร (ทั้ง Taxi way และ Runway) ได้เกิดการล่อนลอก และแตกเป็นหลุมเป็นบ่อกระจายไปทั่วพื้นที่ ซึ่งทำให้ต้องมีการปิดซ่อม Runway โดยให้เครื่องบินบางส่วนต้องไปลงที่อู่ตะเภา ซึ่งจากข้อมูลที่รับทราบมาโดยตลอดนั้น แสดงชัดว่า ปัญหาหลักของความล้มเหลว และเรียกว่า "วิบัติ" ของผิวจราจรนั้น เกิดจากการที่ฐานรากไม่มั่นคง แต่การที่จะรู้แน่ชัดว่าเหตุที่ทำให้เกิดการวิบัตินั้น ไม่สามารถจะรู้ได้แน่ชัดว่าเกิดจากเหตุใด และจะแก้ไขอย่างไรนั้น จะต้องใช้เวลาในการสำรวจและประเมินทางวิศวกรรมอย่างละเอียด และจะต้องใช้เวลา 6 - 12 เดือน
       
       ฐานรากของสนามบินสุวรรณภูมินั้น ใช้เทคนิคที่เรียกว่า PVD ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ใช้กับดินอ่อนเป็นเลน (ดินที่มีน้ำมาก) โดยการรีดน้ำออกจากชั้นเลน และระบายน้ำออกมาในชั้นทราย ซึ่งนำมาถมบนเลน และทรายนั้นจะเป็นตัวกลางระบายน้ำร่วมกับท่อพรุน (Perforated Pipe) ซึ่งในหลักการนี้จะทำให้เลนแข็งตัว (Consolidate)

รูป 1 ระหว่างก่อสร้าง
 

 
 
รูป 2 ก่อสร้างเสร็จ(ควรจะเป็น)
 

         
รูป 3 สิ่งที่เกิดขึ้น
 


       และทรุดตัวเพราะน้ำหนักของทรายกดทับเลนเพื่อรีดน้ำออก กระบวนการนี้ การเลือกใช้ทรายเม็ดโตและสะอาดเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะชั้นทรายนั้นจะใช้เป็นช่องระบายน้ำ ทั้งในช่วงก่อสร้าง และ ในช่วงที่ปฏิบัติการ ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วม น้ำจะต้องถูกระบายผ่านชั้นทราย ถ้าทรายที่ใช้เป็นเม็ดเล็ก และมีเศษดินปนเปื้อน ช่องว่างระหว่างทรายจะเล็ก และถูกอุดตัน ทำให้การระบายน้ำไม่สะดวก ในกรณีที่เกิดในระหว่างก่อสร้าง กระบวนการทำให้เลนแข็งตัว (Consolidation) ก็จะช้าเพราะน้ำระบายได้ช้า และเมื่อเร่งก่อสร้างชั้น Base และชั้นผิวจราจร ซึ่งทั้ง 2 องค์ประกอบ คือการใช้ทรายไม่ได้มาตรฐาน และการเร่งรีบก่อสร้าง ทำให้ชั้นเลนยังไม่เกิดการแข็งตัวอย่างสมมบูรณ์ ดังรูปที่ 3
       
       ในรูปที่ 3 จะเห็นเกิดการแตกแยกในชั้น Base (คอนกรีตหยาบ) ทำให้น้ำซึมขึ้นไปแทรกตัวชั้นผิวจราจร ซึ่งในการออกแบบ ชั้นผิวจราจร (Asphaltic Concrete) ที่จะเกิดการเสียหาย เมื่อมีน้ำซึมแทรกเข้ามา
       เนื่องจากทางด้านวิศวกรรมนั้น แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ว่าความวิบัติของผิวจราจรนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะซ่อมได้อย่างไร แต่สรุปได้ว่าวิบัติแน่นอน การที่จะเปิดใช้สนามบินต่อไป จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายทางเศรษกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง การที่จะตัดสินใจใช้สนามบินสุวรรณภูมิต่อไปนั้น มีมิติหลักอยู่ 2 มิติซึ่งจะต้องประเมิน
       
       1. ความเป็นไปได้ (Probability) ของการเกิดอุบัติเหตุ
       2. ขนาดของความเสียหายของอุบัติเหตุ
       
       ในข้อแรกนั้น จะประเมินโดยใช้หลักวิศวกรรมศาสตร์ ประเมินจากอาการแตกของผิวโดยทั่วๆ ไป และจากการเจาะสำรวจอย่างหยาบ ซึ่งผู้เขียนประเมิน (Educated guess) อย่างต่ำสุด Pf = 0.0001 ซึ่งแปลเป็นภาษาง่ายๆ ว่า ในเครื่องบินที่ขึ้น-ลง หนึ่งหมื่นเที่ยว จะต้องเกิดอุบัติเหตุหนึ่งครั้ง ซึ่งถ้าจะประเมินให้ใกล้เคียงความจริงที่สุด จะต้องมีข้อมูลจากการตรวจสอบรายละเอียดมากกว่านี้มากมาย หรือจะพูดในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ในช่วงเวลาที่มีการขึ้น-ลง หนึ่งหมื่นเที่ยว จะเกิดอุบัติเหตุหนึ่งครั้งแน่นอน
       
       ในข้อที่สอง ซึ่งเป็นการประเมินว่า ถ้าอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยอย่างต่ำที่สุดก็คือ เครื่องบินไถลตก Runway โดยไม่ต้องมีการสูญเสียชีวิต ก็จะเกิดผลเสียหายตามมาอย่างมหาศาล เช่น สายการบินต่างชาติปฏิเสธที่จะลงที่สุวรรณภูมิ ซึ่งนำมาซึ่งความต่อเนื่องของความเสียหายทางธุรกิจ เช่น หุ้นตก การลงทุนลด การขนส่งสินค้าทางอากาศชะงักงัน เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนประเมินว่า ในปีแรกนั้นไม่ต่ำกว่าล้านล้านบาท ซึ่งโอกาสจะกอบกู้เศรษฐกิจและภาพพจน์ของประเทศยากที่จะกอบกู้ และจากการวิเคราะห์ ว่าในการประเมินในแง่ที่ว่า จะเกิดอุบัติเหตุหนึ่งครั้งในการขึ้น-ลงหนึ่งหมื่นครั้ง จึงนำไปสู่การตัดสินใจที่เด็ดขาดที่จะเสนอว่าจะต้องปิดสนามบินสุวรรณภูมิให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
       ข้อเสนอแนะของการแก้ปัญหา คือ
       
       1. ปิดสุวรรณภูมิ และย้ายมาใช้ดอนเมือง ซึ่งเมื่อ 4 เดือนที่แล้วยังใช้อยู่
       2. ตรวจสอบหาสาเหตุการวิบัติ ซึ่งใช้เวลา 1/2 - 1 ปี
       3. หาวิธีการซ่อมแซมที่ดีที่สุด 1 - 2 ปี
       
       ซึ่งการที่จะปิดการใช้สุวรรณภูมินั้น เป็นการใช้มาตรการความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร จะไม่ทำให้ประเทศไทยเสียหายแต่อย่างใด
       
       อย่างไรก็ดีวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและผู้เกี่ยวข้องได้แถลงจุดยืนว่าควรจะศึกษาให้รู้สาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์วิบัติก่อน จึงจะตัดสินใจเกี่ยวกับการเปิด - ปิดสุวรรณภูมิ แต่ข้อเขียนนี้มีจุดยืนที่จะต้องปิดในทันที เพราะอาการที่เกิดรอยแยก แตก ต่างๆ ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด ล้วนแล้วแต่ชี้ไปว่าฐานรากของสนามบินไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องปิดสนามบินสุวรรณภูมิทันที
       
       ในท้ายสุดนี้ได้รับการบอกเล่าจากอดีตนักวิชาการของกรมทางฯ ว่า กรมทางฯ ได้ยกเลิกการใช้เทคนิค PVD กับการก่อสร้างถนนทางหลวงและทางหลวงพิเศษไปแล้ว เนื่องจากผลที่ได้รับไม่เป็นที่พอใจ แต่ความเสียหายที่เกิดจากถนนทรุดตัวลงไม่มากนัก และการแก้ไขก็กระทำได้ไม่ยาก
       
       เช่นเดียวกับกรณีของสุวรรณภูมิ ในด้านเทคนิคทางวิศวกรรมศาสตร์เชื่อได้ว่าบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิมีการทรุดตัวแน่นอน และน่าจะเกิดจากปัญหา "น้ำใต้ดิน" ที่มีการกระจายตัวไปทั่วจึงแสดงอาการที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการทรุดตัวจากแรงกดกระแทกของเครื่องบินซึ่งมีเหตุมาจากชั้นล่างของตัว Taxi way และ Runway มีลักษณะ "นิ่ม" จึงเห็นสมควรที่น่าจะปิดสุวรรณภูมิ เพื่อหาวิธีการด้านวิศวกรรมเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด เหมือนกับที่กรมทางหลวงเคยแก้ไขกับถนนทางหลวงมาแล้ว
 


บันทึกการเข้า
room5
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 573



« ตอบ #9 เมื่อ: 11-02-2007, 12:08 »

หยุดเถอะ ชอบแถ อย่ามาเกรียนแถวนี้ โง่แล่วยัง....
ดร. คนที่เขาเขียนบทความของคุณ พรรณชมพู
ชอบแถอย่าบอกนะว่า "เชื่อถือไม่ได้" ไว้ตัวเอง
เป็นดอกเตอร์ผู้เชียวชาญเมื่อไร ค่อยมาสะเออะ
หน้ามาแถวนี้ดีกว่า


กิ๊วๆหน้าไม่อาย 555
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #10 เมื่อ: 11-02-2007, 16:14 »

การพิสูจน์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ย่อมน่าเชื่อถือกว่า บทความจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า
A-NOY
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 546


« ตอบ #11 เมื่อ: 12-02-2007, 07:21 »

การพิสูจน์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ย่อมน่าเชื่อถือกว่า บทความจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
ไอ้แถเอ๋ย   ไอ้ที่เอ็งยกมาอ้างน่ะมันก็เป็นคนที่เข้ามาตอบกระทู้แล้วอ้างตัวว่าเป็นวิศวกร  ไม่มีชื่อมีนามอ้างอิงได้เลย น่าเชื่อตายล่ะไอ้เบื๊อก
บันทึกการเข้า

A-NOY
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #12 เมื่อ: 12-02-2007, 08:59 »

เดี๊ยวนี้ คนออกมาพูด ไม่มีความน่าเชื่อถือ เท่าใครก็ไม่รู้ที่มาโพสต์ในบอร์ด ใช่ไหมครับ

แถกันได้ขนาดนี้ เพื่ออะไร

หากไม่ยอมรับความจริงกัน ประเทศไทยคงเป็นประเทศแห่งการหลอกลวง

สังคมตอนนี้ ผมว่าวิบัติ มากกว่าสนามบิน มากเลยนะครับ

เพราะข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จ คนก็เชื่อได้อย่างไม่ต้องสังสัย เพราะความรักในตัวเหลี่ยมเท่านั้น
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #13 เมื่อ: 02-04-2007, 21:43 »

คค.เสนอแนวคิดสร้างรถไฟฟ้าเส้นที่6เชื่อมสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง

รมว.คมนาคม ผุดไอเดียสร้างรถไฟฟ้าเส้นที่ 6 เชื่อมตรงระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสนามบินดอนเมืองโดยตรง มีสถานีชานชาลาอยู่ในสนามบิน ไม่มีสถานีกลางทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารในการใช้บริการระหว่าง 2 สนามบิน สั่ง สนข.ศึกษา รอรัฐบาลใหม่สานต่อ เผยหากไม่คุ้มทุนอาจล้มโครงการได้ ส่วนแอร์พอร์ต ลิงก์ ชัดเจนว่าล่าช้า เลื่อนเปิดไปปีหน้า

หลังเรียกประชุมหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดที่ใช้งบประมาณของรัฐ ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแนวคิดในการสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ เพื่อเชื่อมโยงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) โดยตรง แบบไม่แวะจอดรับผู้โดยสารที่สถานีใด มีสถานีชานชาลาอยู่ภายในสนามบิน หากก่อสร้างจริงจะถือเป็นเส้นทางใหม่ เส้นที่ 6 นอกเหนือจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนใช้บริการในการเชื่อมต่อระหว่าง 2 สนามบิน และขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษาความเป็นไปได้ และสร้างในรัฐบาลชุดใหม่ เพราะไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน

พล.ร.อ.ธีระ กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่สร้างรถไฟฟ้าโดยเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีสถานีตามรายทาง ทำให้ไม่รวดเร็วแบบการเชื่อมโยงเส้นทางตรงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปท่าอากาศยานกรุงเทพ ส่วนประเด็นที่ว่า หากกระทรวงคมนาคมจะก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่จริง อาจต้องใช้เงินลงทุนสูงเกินกว่าประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับนั้น หากผลการศึกษาสรุปว่าไม่คุ้มทุน ก็อาจจะเลิกล้มโครงการนี้ก็ได้ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาเท่านั้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ

ขณะที่ความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต ลิงก์ เชื่อมสถานีมักกะสัน ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น มีความชัดเจนว่า มีความล่าช้าเกิดขึ้นจากการส่งมอบพื้นที่ และปัญหาจากผู้รับเหมา ซึ่งต้องเลื่อนการเปิดให้บริการไปในปีหน้า

สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ รายงานว่า จะสามารถประกวดราคาได้ในเดือนมิถุนายน และจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเปิดกว้างหาผู้รับเหมา แม้จะล่าช้าไปบ้าง แต่ต้องยอม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ ส่วนเงินกู้นั้น ขณะนี้กระทรวงการคลังจะเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ใหม่ สำหรับเส้นทางสีแดง จะใช้เงินกู้ภายในประเทศแน่นอน ส่วนเส้นทางอื่นจะใช้เงินกู้ภายนอกประเทศ
http://www.innnews.co.th/Breaknews.php?nid=29291


ชิคาโกมันยังไม่เป็นสายตรงเล้ย จะเจริญเกินพอเพียงไปแล้วมั้งท่าน
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #14 เมื่อ: 02-04-2007, 21:58 »

http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=10075


เอามาให้อ่าน น่ะ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #15 เมื่อ: 02-04-2007, 22:21 »

วันก่อนคุยเรื่องรันเวย์
ด็อกเตอร์แถบอกให้ไปอ่านความเห็นผู้รู้ที่เว็บ อาษา


สงสัยแยกไม่ออกว่าสถาปนิกกับวิศวกรต่างกันยังไง


ทะสิน จู้ๆ
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #16 เมื่อ: 02-04-2007, 22:29 »

^
^
วิศวกรรมสถาน เป็นเว็บอาสาหรือไงหว่า
ถ้ารู้จักยอดเยี่ยมก็น่าจะรู้จักเว็บบอร์ดที่ให้ความเห็นประจำของแกนะ
ส่วนต่อยมโลกเนี่ยสภาวิศวกรยังไม่อยากคุยเลย
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #17 เมื่อ: 02-04-2007, 22:37 »

^
^
วิศวกรรมสถาน เป็นเว็บอาสาหรือไงหว่า
ถ้ารู้จักยอดเยี่ยมก็น่าจะรู้จักเว็บบอร์ดที่ให้ความเห็นประจำของแกนะ
ส่วนต่อยมโลกเนี่ยสภาวิศวกรยังไม่อยากคุยเลย

โชว์มึนซะงั้น 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 03-04-2007, 00:01 »

ตกลงคุยเรื่องอะไรกันเนี่ย
ส่วน airport link เนี่ย ผมเห็นด้วยที่ควรจะสร้าง และที่จริงก็มีการพูดเรื่องนี้มาก่อนที่สุวรรณภูมิจะเปิดใช้ด้วยซ้ำไป...
เพราะจะได้ตัดปัญหาความไม่สะดวกสบายสำหรับคนที่มาจากต่างประเทศ แล้วจะไปเดินทางภายในประเทศ
บันทึกการเข้า

เซอร์เวย์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 168



« ตอบ #19 เมื่อ: 03-04-2007, 15:13 »

ดีดลูกคิดไปๆมาๆ งบประมาณทั้งหมดที่จะสร้างคมนาคมเชื่อมระหว่าง สุวรรณภูมิ กับ ดอนเมือง คือ เจ็ดหมื่นสามพันล้านบาทพอดีเลย

 
บันทึกการเข้า

หัวใจถูกแทงกี่ขั้ว ตามตัวถูกฟันกี่แผล
ปู่ไทยตายไปกี่คนแน่ ไทยจึงได้แผ่มาถึงแหลมทอง
กระดูกไทยกระเด็นไปกี่ท่อน เชิงตะกอนเผาไปกี่หน
คอขาดกันไปกี่คน ไทยทุกคนจึงได้ไทยครอบครอง
เสียเลือดกันไปเท่าไหร่ เสียใจกันไปกี่ครั้ง
น้ำตาของไทยไหลหลั่ง ทุกๆครั้งที่ถูกเฉือนขวานทอง
เข่นฆ่ากันทำไม เราเป็นคนไทยด้วยกันทั้งผอง
ไทยฆ่าไทย ให้ชาติอื่นครอง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจั***
ไทยฆ่าไทยให้ชาติอื่นครอง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจั***
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจั***
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #20 เมื่อ: 03-04-2007, 16:34 »

ดีดลูกคิดไปๆมาๆ งบประมาณทั้งหมดที่จะสร้างคมนาคมเชื่อมระหว่าง สุวรรณภูมิ กับ ดอนเมือง คือ เจ็ดหมื่นสามพันล้านบาทพอดีเลย

 

ููููููููู^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
เป็นความคิดเห็นที่มีวาระซ่อนเร้น
บันทึกการเข้า

eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #21 เมื่อ: 03-04-2007, 16:41 »

ถ้ามันมีสนามบินเดียว มันไม่ต้องมี airport link หรือยังไง
สงสัยว่าลืมไปว่า ทะสิน จู้ๆๆ มันก็มี ariport link ที่กำลัง
โดน คตส. เล่นงานอยู่นี่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: